The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความสุโขทัยในหลวงพระบาง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Aum Ruchu-on, 2022-11-29 02:01:24

บทความสุโขทัยในหลวงพระบาง

บทความสุโขทัยในหลวงพระบาง

Keywords: บทความ,สุโขทัย,ใน,หลวงพระบาง

สุโขทัยในหลวงพระบาง : ความสมั พันธ์ทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรม

พทิ กั ษ์ชยั จตั ุชยั *

จากชวาถึงหลวงพระบาง

เมืองหลวงพระบาง ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง (ของ) มีพัฒนาการมาจากการรวมตัวของ
กลุ่มตระกูลมอญ - เขมร ที่มีการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนสังคมเมืองบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนบน
และลำน้ำสาขา ทัง้ ลำน้ำทา ลำน้ำคาน ลำนำ้ อู และลำนำ้ งมึ

พงศาวดารเมืองล้านช้าง (นิทานขุนบรมราชา) กล่าวถึง ขุนลอ โอรสขุนบรม เจ้าเมืองแถง
(เดียนเบียนฟ)ู ยกไพรพ่ ลลงมาตามถึงปากน้ำอูทางเหนือเมืองชวา และขับไลล่ กู หลานขุนชวาเมืองเชียงดง
เชียงทอง ขุนลอจงึ สถาปนา “ศรสี ัตนาคนหุตกุญชรบวรราชธานี” เป็นปฐมกษตั รยิ ์แห่งอาณาจกั รล้านชา้ ง

ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ด้านที่ ๔ จารึกในปี พ.ศ. 1835 สมัย
สุโขทัย ยังได้ออกชื่อเมืองชวา ไว้ในบรรทัดที่ ๒๔ - ๒๖ ระบุว่า “เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพร่ เมืองม่าน
เมอื งน...(น่าน) เมืองพลวั พน้ ฝ่ังของเมืองชวา เปน็ ท่แี ลว้ ” ตรงกับรชั กาลพระยาลงั ซ่งึ แสดงถงึ สถานะของ
เมืองชวา หรือเมืองเชยี งดงเชียงทอง ที่อยูภ่ ายใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทยั และตอ่ มาภายหลังจากการ
สิ้นรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง แห่งอาณาจักรสุโขทัย เมืองชวา (เมืองเชียงดงเชียงทอง) ก็แยกตัวเป็น
อสิ ระนับแตน่ ั้นมา

ตอ่ มา ในรัชกาลพระยาฟา้ งมุ่ ปรากฎรายละเอียดในพงศาวดารเมอื งล้านชา้ ง (นทิ านขุนบรม
ราชา) ว่า เจ้าพระยาฟ้างุ่มได้ปราบปรามบ้านเมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจแล้ว “คนทั้งหลายในเมืองล้านช้าง
ท้ังมวล เอาผฟี า้ ผีแถน ผีพอ่ ผแี ม่เปน็ ท่ีตั้งทีเ่ พ่ิง เขากฮ็ ้ายนกั เขากบ็ ่ฮู้จกั คณุ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เจ้าสักอัน” จึงได้ส่งคนไปยังเมืองอินทปัตนคร ซ่ึงหมายถึงเมืองพระนคร ของอาณาจักรเขมร เพื่อนำ
พระพุทธศาสนา พระบาง และพระธรรมคัมภีร์มาประดิษฐานยังเมืองชวา (เมืองเชียงดงเชียงทอง) ซ่ึง
นับว่าเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาขึ้นครงั้ แรกในอาณาจักรลา้ นชา้ ง

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเมืองอินทปัตนคร ซึ่งได้อัญเชิญพระบางที่มี
ลักษณะศิลปะแบบหลังบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นเมืองพระนครหลวงในประเทศกัมพูชา
หรือไม่ เพราะเนอื่ งจากเวลานนั้ อาณาจกั รเขมรโบราณ ได้เส่ือมอำนาจลงไปแล้ว และเกดิ บ้านเมืองต่าง ๆ

* นักศกึ ษาปรญิ ญาเอก สาขาวจิ ยั วฒั นธรรม ศลิ ปกรรมและการออกแบบ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ที่มีอำนาจทางการเมืองขึ้นมาทดแทน ทั้งนี้เมืองอินทปัตนคร ซึ่งมีพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรม
เขมรที่ใกล้เมืองชวา (เมืองเชียงดงเชียงทอง) มากที่สุดอาจจะหมายถงึ เมืองละโว้ (ลพบุรี) มากกว่าจะเปน็

เมืองพระนครหลวงในประเทศกัมพูชา ทั้งนี้อาจจะมีอาณาจักสุโขทัยเป็นจุดเชื่อมกึ่งกลางระหว่างเมือง
ละโวก้ ับเมอื งชวา (เมอื งเชยี งดงเชียงทอง) ทงั้ น้สี อดคล้องกับการพบจารึกที่กลา่ วถึงความสัมพันธ์ระหว่าง

อาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจกั รล้านช้าง ประกอบกับอาณาจักรสุโขทัยยังเปน็ เส้นทางการคา้ ออกสู่ทะเลท่ี
สำคญั ในช่วงเวลาดังกลา่ วดว้ ย รวมถึงในชว่ งปลายรชั กาลพระยาฟา้ งุ่ม พระองค์ได้ทรงลีภ้ ยั ไปยงั เมืองน่าน
ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรสุโขทัยเช่นเดียวกัน (สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ๒๕๕๐. ๑๐๓ -
๑๐๗ และ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ๒๕๕๕. ๔๐ - ๔๑)

ในรัชกาลพระไชยเชษฐาธิราช พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมอื งชวา (เมืองเชียงดงเชียง

ทอง) มายังบริเวณเมืองเวียงจันทน์ (นครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานี) เพื่อป้องกันบ้านเมืองจาก

การอิทธิพลและการรุกรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ในปี พ.ศ. ๒๑๐๓ และเรียกเมืองชวา (เมือง
เชียงดงเชียงทอง) ใหม่ตามชื่อพระบาง พระพุทธรูปสำคัญว่า “กรุงศรีสัตนาคนหุตร่มขาวหลวงพระบาง”

หรือ “นครหลวงพระบาง” นบั แต่บดั นนั้ (ศักดิช์ ัย สายสงิ ห์. ๒๕๕๕. ๑๓)

ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งสุโขทยั และหลวงพระบาง

ศิลาจารึกหลกั ที่ ๑ (จารกึ พ่อขนุ รามคำแหง) ด้านท่ี ๔ ซึง่ จารึกขึน้ ในปี พ.ศ. 1835 สมัยพ่อ
ขุนรามคำแหง แหง่ อาณาจักรสุโขทัย มขี อ้ ความระบใุ นบรรทดั ที่ ๑ – ๓ ว่า “พอ่ ขนุ รามคาํ แหงลูกพ่อขุน
ศรอี นิ ทราทติ ยเ์ ป็นขุนในเมืองศรีสัชชนาลัยสโุ ขทัยทั้งมากาวลาว แลไทยเมอื งใต้หล้าฟา้ ฏ ... ไทยชาว
อูชาวของมาออก” ซึ่ง ศ.ยอร์ช เซเดส์ อธิบายวา่ “ชาวอูชาวของ” หมายถึง ผูท้ อี่ ยู่ตามริมแม่น้ำอูและน้ำ
ของ (แมน่ ำ้ โขง) (ยอรช์ เซเดส์, “หลักท่ี 1 ศิลาจารกึ พ่อขุนรามคำแหง,” ใน ประชมุ ศลิ าจารกึ ภาคที่ 1 :
เป็นจารึกกรุงสุโขทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2467 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสาร
ทางประวตั ศิ าสตร์ สำนกั นายกรัฐมนตรี, 2521), 27-36.)

ในบรรทัดที่ ๑๗ - ๑๙ ระบุว่า “ปราบเบ้ืองตะวันออกรอด สรลวง (สระหลวง) สองแคว ลุม
บาจาย สคา เท้าฝ่ังของเถีงเวยี งจนั ทน์ เวียงคํา เปน็ ทีแ่ ล้ว”

และ ในบรรทัดที่ ๒๔ - ๒๖ ระบุว่า “เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน...(น่าน)
เมอื งพลวั พน้ ฝง่ั ของเมอื งชวา เป็นที่แล้ว”

จากขอ้ ความในศลิ าจารกึ หลกั ท่ี ๑ ดงั กลา่ ว แสดงใหเ้ หน็ อยา่ งชัดเจนว่าในชว่ งระยะเวลานั้น
เมืองชวา หรือเมืองหลวงพระบาง ซึ่งตรงกับสมัยพระยาลัง มีสถานะเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย
ก่อนที่บ้านเมืองต่าง ๆ จะแยกแตกออกเป็นบ้านเล็กเมืองน้อยภายหลังจากการสิ้นรัชกาลของพ่อขุน
รามคำแหง และบรรดาขุนนางก็สถาปนาพระยาสุวรรณคำผงขึ้นเป็นกษัตริย์แทนในปี พ.ศ. ๑๘๕๙ (สุร
ศักดิ์ ศรีสำอาง. ๒๕๔๕. ๓๘)

หลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่ง คือ จารึกเขาสุมนกูฏ ซึ่งจารึกขึ้นในปี พ.ศ. 1912 ตรงกับรัชกาล
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) แห่งอาณาจักรสุโขทัย ที่ระบุในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๒ - ๒๓ ว่า “เบื้อง
ตะวันออก ... เถงิ ของ (โขง) พระยาทา้ วฟ้างอ้ ม...” เปน็ หลกั ฐานทแ่ี สดงให้เห็นอย่างชัดเจนถงึ ความเป็น
เอกราชของหลวงพระบางที่ไม่ได้ขึ้นตรงต่ออาณาจักรสุโขทัยดังแต่ก่อน (ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย
ศนู ย์มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร (องคก์ ารมหาชน). ๒๕๕๐. ออนไลน์)

นอกจากนี้ พงศาวดารเมืองล้านช้าง (นิทานขุนบรมราชา) กล่าวถึงการสถาปนา
พระพุทธศาสนาที่เมืองเชียงดงเชียงทองในสมัยพระยาฟ้างุ่ม ด้วยการทูลของ “พระบาง” จากพระยา
อินทปัตนคร และตามพงศาวดารล้านช้างตามถ้อยคำในฉบับเดิม (ฉบับเดิม) ที่ระบุว่า ต่อมาในช่วงปลาย
รัชกาล พระยาฟ้างุ่มไม่ต้ังอยู่ในศีลธรรม กระทำผิดทุจริต ชาวเมืองและขุนนาง จึงรวมกันขับไล่ออกจาก
ราชสมบัติ ตอ้ งทรงลี้ภยั ไปพำนกั กบั พระยาคำตนั เมืองน่าน ได้ ๒ ปี จงึ สิ้นพระชนม์

จากพงศาวดารล้านช้างทั้ง ๒ ฉบับ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลวงพระบางกับ
ดินแดนอื่นทอี่ ยใู่ กล้เคียง ซงึ่ ในประเด็นของการอัญเชิญพระบางจากเมืองอินทปัตนครน้นั โดยทวั่ ไปมกั เชื่อ
กันว่าหมายถึงเมืองพระนครหลวง ของอาณาจักรเขมร แต่หากพิจารณาถึงช่วงระยะเวลาดังกล่าวแล้ว
เมืองพระนครหลวงนั้นได้เสื่อมอำนาจและสญู เสียความเป็นศนู ย์กลางทางการปกครองลงไปแล้วนับต้ังแต่
ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แต่หากพิจารณาถึงบ้านเมืองที่ก่อตัวขึ้นในช่วงระยะเวลานั้นและมีพื้นฐาน
วัฒนธรรมจากอาณาจักรเขมรโบราณ ก็คงจะมีแต่อาณาจักรสุโขทัยเท่านั้น ดังนั้นก็อาจจะเป็นไปได้ว่า
เมืองอินทปัตนครที่พระยาฟ้างุ่มทรงรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานยังหลวงพระบางน้ัน
หมายถงึ อาณาจกั รสโุ ขทัย

ประกอบกับในช่วงปลายพระชนมช์ ีพของพระเจ้าฟ้างุ้มยังถูกระบุว่าทรงลี้ภัยไปยังเมืองน่าน
ซึ่งหากพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรมแล้ว ก็จะพบว่าเมืองน่าน ก็ได้รับ
อิทธพิ ลทางศลิ ปกรรมจากสุโขทยั เช่นเดียวกัน

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าเมืองเชียงดงเชียงทอง หรือหลวงพระบาง มีความสัมพันธ์ทาง
ประวัติศาสตร์กับอาณาจักรสุโขทัยอย่างชัดเจนมานับตั้งแต่ช่วงแรกของการก่อตั้งบ้านเมือง และ
ความสมั พันธ์ดังกลา่ วก็ไดส้ ง่ อทิ ธิพลทางศิลปกรรมของสุโขทยั ให้กบั หลวงพระบางด้วยเชน่ เดยี วกนั

ศิลปกรรมสโุ ขทัยทพี่ บในเมืองหลวงพระบาง

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ศิลปะสุโขทัยได้เข้ามามีอิทธิพลต่อหลวงพระบางผ่านทางเมือง

นา่ น ซึง่ มีความใกล้ชดิ กับอาณาจักรสุโขทัยท้ังดา้ นระยะทางและทางเครือญาตริ าชวงศ์ (ศกั ด์ิชยั สายสิงห์.

๒๕๕๕. ๑๖๖)

รัชกาลพระยาสามแสนไท (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๓๖ - ๑๙๕๙) โปรดฯ ให้สร้างวัดมะโนรม

เมืองหลวงพระบาง ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบางที่อัญเชิญมาจากเมืองเวียงคำ โดยพระองค์ทรงสร้าง

พระพุทธรูปสำรดิ ปางมารวิชยั พระประธานภายในวหิ าร ทม่ี ีพุทธลกั ษณะพระพกั ตร์รปู ไข่ พระขนงโก่งทำ
เป็นเส้นนูนแบบสุโขทัย พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งและงุ้ม ทรงแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย ขอบพระ
โอษฐ์โค้งเป็นแบบคลื่น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ สังฆาฏิเป็นเส้นเล็กยาวลง
มาจรดพระนาภีปลายแยกคล้ายเขี้ยวตะขาบ ซึ่งตรงกับรูปแบบศลิ ปะสุโขทัย หมวดใหญ่ กำหนดอายุราว
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งสอดคล้องกับพงศาวดารล้านช้างที่กล่าวถึงการสร้างวัดมโนรมในราวปี พ.ศ.
๒๐๓๔ - ๒๐๓๙ นอกจากนี้พระประธานวัดมโนรมองค์นี้ ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระเจ้าทองทิพย์ วัด
สวนตาล จังหวัดนา่ น อันแสดงให้เหน็ ถึงการรบั เอาอทิ ธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามายังเมืองหลวงพระบางผา่ น
ทางเมืองน่านได้อย่างชัดเจน ซึ่งนักวิชาการก็ได้สนับสนุนว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีความงดงามคล้าย
พระพุทธรูปสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลจากสกุลช่างเมืองน่าน หรือที่เรียกว่า “พระพุทธรูปสุโขทัย สกุลช่าง
เมอื งน่าน” (สงวน รอดบญุ . ๒๕๔๕. ๖๘, ศกั ดชิ์ ยั สายสงิ ห.์ ๒๕๕๕. ๑๖๖)

ภาพท่ี ๑ พระพทุ ธรปู สำริดปางมารวิชัย พระประธานภายในวิหารวัดมะโนรม
ท่ีมา : ถ่ายเม่ือวันท่ี ๑๐ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ณ วดั มะโนรม เมืองหลวงพระบาง

ต่อมา ในรัชกาลพระยาวิชุนราชาธิบดีศรีสัตนาคนหุต (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๔๔ - ๒๐๖๓)
นับว่าเป็นช่วงทีพ่ ระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในเมืองหลวงพระบาง (สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ๒๕๔๕.
๗๕) โดยโปรดฯ ให้สร้างวัดวชิ ุนนะราด และพระธาตุหมากโม (ธาตุปทุม) ซึ่งตามตำนานระบุว่า พระธาตุ

องค์นสี้ ร้างขน้ึ โดนพระนางพันตนี เซียง พระมเหสขี องพระยาวิชนุ ราช เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๐๕๗ โดยพระธาตุองค์
มมี ีลักษณะคล้ายเจดีย์ล้านนา แต่สรา้ งเป็นพระธาตุฐานสีเ่ หลย่ี มจตั ุรสั รองรับองคร์ ะฆัง ขยายท้องไม้ให้ยืด
สูงข้ึน มีลูกแก้วอกไก่ประดับ ๒ เส้น และเชื่อว่าแต่เดิมยอดพระธาตุคงมีลักษณะเป็นปล้องไฉนและปลี
ยอด แต่ต่อมามีการบูรณะในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ และ พ.ศ. ๒๕๘๐ และเปลี่ยนยอดให้เป็นลักษณะรัศมี เป็น
เปลวเหมือนเศียรพระพุทธรูปศลิ ปะสโุ ขทยั

ทั้งนี้แม้ว่าพระธาตุหมากโมจะมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบศิลปะล้านนา แต่จากการบูรณะ
พระธาตุทำให้พบพระพุทธรูปขนาดเล็กเป็นจำนวนมากที่มีลักษณะศิลปะล้านนาและศิลปะสุโขทัย ทั้ง
พระพุทธรูปลีลาและพระพุทธรูปมีรัศมีเป็นเปลว ซึ่งปัจจุบันพระพุทธรูปขนาดเล็กเหล่านั้นจัดแสดงอยู่
ภายในพิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวงพระบาง อันเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่เด่นชัดว่าพระธาตุหมากโม
องคน์ ี้ได้รบั อทิ ธิพลทางศลิ ปกรรมทง้ั ศลิ ปะล้านและศลิ ปะสุโขทัย ในชว่ งราวตน้ พุทธศตวรรษท่ี ๒๑

ภาพที่ ๒ พระประธาน (พระองค์หลวง) ภายในสิมวัดวชิ ุนนะราด
ท่ีมา : ถา่ ยเม่ือวนั ที่ ๑๐ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ณ วัดวิชุนนะราด เมืองหลวงพระบาง

นอกจากพระพุทธรูปขนาดเล็กที่พบภายในพระธาตุหมากโมยังมีอายุท่ีสอดคล้องกับพระ
ประธาน (พระองค์หลวง) ภายในสิมวัดวิชุนนะราด ที่มีลักษณะศิลปะสุโขทัย กล่าวคือ พระพุทธรูปปาง
สมาธิ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่งทำเป็นเส้นนูนแบบสโุ ขทัย พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งและงมุ้
ทรงแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย ขอบพระโอษฐ์โค้งเป็นแบบคลื่น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระ
องั สาใหญ่ สงั ฆาฏเิ ป็นเสน้ เลก็ ยาวลงมาจรดพระนาภีปลายแยกคลา้ ยเขี้ยวตะขาบ รวมถึงพระพุทธรูปลีลา
๒ องค์ท่ปี ระดิษฐานดา้ นหนา้ พระประธาน ก็มลี ักษณะเป็นศลิ ปะสโุ ขทัยอย่างชดั เจน

นับได้ว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ เป็นช่วงเวลาทีเ่ มอื งหลวงพระบาง ปรากฎพบงาน
ศิลปกรรมประเภทพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอย่างแพร่หลาย ทั้งที่ได้กล่าวมาแล้ว และในอารามต่าง ๆ
เช่น พระประธานภายในวิหาร และพระพุทธรูปปางมารวิชัยด้านหลังพระประธานภายในวิหาร วัดทาด
หลวง เมืองหลวงพระบาง ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสุโขทัยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ สังฆาฏิเป็นเส้น
เล็กยาวลงมาจรดพระนาภีปลายแยกคล้ายเขีย้ วตะขาบ กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ รวมถึง
พระพุทธรูปลีลา วัดใหม่สุวรรณภูมาราม เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแต่มีการดัดแปลงพระพักตร์เป็น
แบบศิลปะล้านชา้ ง กำหนดอายรุ าวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ต้นพทุ ธศตวรรษที่ ๒๑ (ศกั ดชิ์ ัย สายสิงห์.
๒๕๕๕. ๑๗๑ - ๑๗๒)

นอกจากนี้ ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ พระพุทธรูปในเมืองหลวงพระบางจะมี
ลักษณะเป็นแบบศิลปะล้านช้างอย่างชัดเจน แต่ก็ยังคงนำเอาลักษณะหลายอย่างที่สืบทอดมาจาก
พระพุทธรูปศิลปะลา้ นนาและพระพุทธรปู ศิลปะสุโขทัย แต่มีการพัฒนารปู แบบอันเป็นเอกลักษณข์ องตน
ขึ้น เช่น การสร้างพระพุทธรูปอย่างศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ห้าม
สมุทร) ที่มีชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่อย่างอยุธยา หรือการสร้างพระพุทธรูปที่มีพระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่
ขมวดพระเกศาแหลมเล็ก แต่มีสังฆาฏิปลายแยกคล้ายเขี้ยวตะขาบและมีพระรัศมีเป็นเปลว ก่อนที่จะ
พัฒนารูปแบบจนเป็นพระพุทธรูปแบบล้านช้างแท้ หลังรัชกาลพระไชยเชษฐาธิราช เช่น พระประธาน
ภายในวิหารวดั สีบนุ เรอื งสิริมาราม เมอื งหลวงพระบาง เปน็ ตน้

ภาพที่ ๑ พระประธานภายในวิหารวดั สีบุนเรืองสริ ิมาราม
ท่มี า : ถา่ ยเมื่อวันที่ ๑๐ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ณ วัดสบี ุนเรอื งสริ ิมาราม เมืองหลวงพระบาง

สรุป

เมืองหลวงพระบาง ริมฝั่งแม่น้ำโขง (ของ) มีพัฒนาการมาจากเมืองชวา หรือเมืองเชียงดง
เชียงทอง อันเป็นราชธานแี หง่ แรกของอาณาจักรล้านชา้ งนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยรัชกาลพระยา
ลัง หลวงพระบางมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะแยกตัวออกมาเป็นอิสระภายหลัง
จากการสนิ้ พระชนมข์ องพ่อขนุ รามคำแหง แหง่ อาณาจักรสโุ ขทยั

ในรัชกาลพระยาฟ้างุ่ม พระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐานยังหลวงพระบางจากการ
อัญเชิญ “พระบาง” พระพุทธรูปสำคัญจากเมืองอินทปัตนคร ซึ่งอาจจะหมายถึงอาณาจักรสุโขทัยที่มี
รากฐานจากวฒั นธรรมเขมรและมีความใกลช้ ิดกับเมอื งหลวงพระบางเปน็ อย่างมาก

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ศิลปะสุโขทัยได้เข้ามามีอิทธิพลต่อหลวงพระบางผ่านทางเมือง
น่าน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัยทั้งด้านระยะทางและทางเครือญาติราชวงศ์ ดังจะเห็นได้จาก
พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ภายในวิหารวัดมะโนรม ซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลพระยาสามแสนไท โดยเป็น
พระพุทธรปู ศลิ ปะสโุ ขทัยทีไ่ ด้รับอิทธิพลจากสกลุ ช่างเมอื งน่าน อนั แสดงใหเ้ หน็ ถงึ การรบั เอาอิทธพิ ลศิลปะ
สุโขทัยเข้ามายังเมืองหลวงพระบางผ่านทางเมืองน่าน รวมถึงพระพุทธรูปขนาดเล็ก ที่พบภายในพระธาตุ
หมากโม และพระประธาน (พระองค์หลวง) ภายในสมิ วัดวชิ ุนนะราด ที่มีลักษณะศิลปะสุโขทัย ทำให้เห็น
ถึงการรบั เอาศลิ ปะสโุ ขทยั เขา้ มาประดิษฐานภายในเมืองหลวงพระบาง ซง่ึ เป็นช่วงระยะเวลาเร่ิมแรกของ
การกอ่ ต้งั อาณาจักรลา้ นชา้ ง

อย่างไรก็ตาม อิทธิพลสุโขทัยก็เริ่มผ่อนคลายลงภายหลังจากที่อาณาจักรล้านช้างได้พัฒนา
รูปแบบศิลปะล้านช้างอันเป็นเอกลักษณ์ของตนในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ แต่ก็ยังคงนำเอา
ลักษณะบางอย่างจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนาและพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยบ้างเล็กน้อย และหลังจาก
พทุ ธศตวรรษท่ี ๒๒ อาณาจกั รล้านชา้ งกไ็ ด้พฒั นารูปแบบเปน็ ศิลปะลา้ นช้างแทใ้ นทส่ี ุด

บรรณานุกรม

ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (๒๕๕๐). จารึกเขาสุมนกูฏ.
สืบคน้ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕. จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/201

ยอรช์ เซเดส์. (2521). “หลกั ท่ี 1 ศลิ าจารึกพ่อขุนรามคำแหง,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคท่ี 1 : เป็น
จารึกกรงุ สโุ ขทัยทีไ่ ด้พบก่อน พ.ศ. 2467. (กรงุ เทพฯ : คณะกรรมการพจิ ารณาและจัดพมิ พ์
เอกสารทางประวตั ิศาสตร์ สำนกั นายกรฐั มนตรี. หน้า 27-36.

ศักด์ิชัย สายสงิ ห.์ (๒๕๕๕). เจดีย์ พระพทุ ธรูป ฮปู แตม้ สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรงุ เทพฯ : มิวเซยี ม
เพรส.

สงวน รอดบญุ . (๒๕๔๕). พทุ ธศิลปลาว. พิมพ์คร้งั ท่ี ๒. กรุงเทพฯ : สายธาร.
สุรศักด์ิ ศรีสำอาง. (๒๕๔๕). ลำดับกษัตริย์ลาว. พมิ พ์คร้ังท่ี ๒. กรงุ เทพฯ : สำนักโบราณคดแี ละ

พพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ กรมศิลปากร.
________. (๒๕๕๐). เรือ่ งของแม่ และรวมบทความทางวิชาการ ล้านนา : ล้านช้าง. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์

การพิมพ์.


Click to View FlipBook Version