The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by achara4912, 2022-02-24 04:52:12

ตำราศิลปะไทย

ตำราศิลปะไทย

ตำราวชิ าศิลปะไทย

3 หนว ยกิต
บทท่ี 1 ประวัตศิ าสตรและความเปน มาของศิลปะไทย : ศลิ ปะแตล ะยุค
บทที่ 2 จติ รกรรมไทย

1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
2. จติ รกรรมไทยแนวประเพณี
3. จติ รกรรมไทยรวมสมัย
บทที่ 3 ประตมิ ากรรมไทย

1. ประติมากรรมประเทศไทยในยุคสมัยตางๆ
2. ความหมายของประติมากรรม
3. ประเภทของประติมากรรม
4. รูปแบบทางประติมากรรม
๕. เทคนคิ กระบวนการสรา งสรรคผลงานประตมิ ากรรม

5.1 สวนประกอบของงานประตมิ ากรรม
5.2 หลักการสรา งมติ ิในงานประตมิ ากรรม
5.3 หลักการจัดภาพประติมากรรม
๖. หลักความสำคญั และประโยชนของประตมิ ากรรม
6.1 หลักการสรา งงานประตมิ ากรรม
6.2 คณุ คา งานประติมากรรม
บทที่ 4 สถาปต ยกรรมไทย
บทท่ี 5 การศึกษางานวจิ ยั และผลงานสรางสรรค : หางานวจิ ัย ผลงานดา นศิลปะไทยของศิลปน
/ วิเคราะห และตวั อยา งงานจริงของนักศกึ ษา

ารพิมพภ าคภาษาไทย ใหใ ชต ัวพมิ พ (Font) เดียวกันท�งั ฉบบั โดยเลอื กใชต ัวอกั ษร Angsana
UPC หรอื Cordia UPC อย�างใดอย�างหนงึ ส�วนภาษาอังกฤษ ทม่ี แี ทรกในเน�อื หาทเ่ี ป
นภาษาไทย ใหใ ชแบบพมิ พช นดิ เดยี วกัน
ขนาดตัวอกั ษรในการพมิ พภาษาไทย
ปกนอก ปกใน บทท่ี ช่ือบท ใช 18 จุด ตัวหนา หัวขอใหญ� และหวั ขอ รอง ใช 16 จดุ หนา
ขอความทั่วไปใช 16 จุด ตัวปกติ

บทท่ี 1
ประวัตศิ าสตรและความเปน มาของศลิ ปะไทย

ศลิ ปะ หมายถึง ส่งิ ซงึ่ มีคณุ สมบัติ มีคณุ คาเกย่ี วเนื่องดวยความสวย ความงาม อันนามาซงึ่

ความพงึ ตาพึงใจ ยังใหเกดิ ความสขุ แกค นทั่วไป ศลิ ปะจงึ มีคณุ คาปรากฏใหเห็นและรสู ึกไดด ว ยความ

สวย ความงามเปนพืน้ ฐาน

การศกึ ษาศลิ ปะในประเทศไทย ในปจจุบันมีการศกึ ษาคนควา และนาเสนอ 2 ทฤษฎี กลา วคือ

ทฤษฎีแรก เปนการศกึ ษาศิลปะในประเทศไทยตามระยะเวลาทางประวัตศิ าสตร ซึ่งกาหนดตามชอ่ื

ของอาณาจักรหรือเมอื งสาคญั ที่รุงเรืองในระยะเวลา ซง่ึ อาณาจักรสถาปนา และมีความเจริญรงุ เรือง

ถอื เปนตนแบบของศลิ ปะทแ่ี พรหลายในดนิ แดนสวนตา งๆ ของประเทศไทยในขณะนั้น ในทฤษฎนี ี้ผทู ี่

รเิ ริ่มคือ ศาสตราจารย หมอ มเจา สภุ ัทรดศิ ดศิ กลุ ทรงแบงศลิ ปะตามสมยั ประวตั ศิ าสตรใ นประเทศ

ไทยออกเปน 2 สมัย สมยั กอ นที่ชนชาตไิ ทยเขา ปกครองหรอื สมยั กอนประวัตศิ าสตรก ับสมยั ทชี่ นชาติ

ไทยเขาปกครองอาณาเขตในประเทศไทยแลว

ศิลปะในประเทศไทยซงึ่ ศาสตราจารย หมอ มเจา สุภัทรดิศ ดศิ กลุ ทรงเสนอไวใ นหนงั สือศิลปะ

ในประเทศไทย (พ.ศ. 2528) มดี งั น้ี

สมัยกอนประวัตศิ าสตร หมายถึง ระยะเวลาในอดีตท่มี นุษยยังไมม ภี าษาเขยี น เพ่อื บันทึก

เรือ่ งราวตางๆ ของตน แมว าจะปรากฏมงี านศลิ ปกรรม เครอ่ื งมอื เครื่องใชห ลงเหลอื เปน พยานแสดง

หลักฐานของกลุม คนท่มี คี วามเจริญอยกู ็ตาม ซงึ่ แบงออกเปน 2 ยคุ คอื ยคุ หนิ และยคุ โลหะ

สมัยประวตั ิศาสตร หมายถึง ระยะเวลาทีม่ นษุ ยเ ร่มิ รูจักใชต วั หนังสือบนั ทึกเร่ืองราวของตนใน

งานทเี่ รยี กวา ศิลาจารกึ และตัวหนงั สอื นัน้ สามารถอา นเขา ใจและทราบความเปนไปของชมุ ชนนั้นๆ

ไดเ ปนอยางดี

ศิลปะสมยั ประวัติศาสตรใ นประเทศไทย สวนใหญเ ปน ศิลปะเนอ่ื งในศาสนาพทุ ธ ลัทธิ

พราหมณ ซึง่ งานประติมากรรม สถาปตยกรรม และจติ รกรรมของไทยที่ปรากฏสรปุ ไดว า

- งานประติมากรรม ทรงใหค วามเห็นเกี่ยวกบั พระพทุ ธรปู เทวรูปตา งๆ

- งานสถาปตยกรรม ทรงใหค วามเหน็ เก่ยี วกบั สถปู เจดีย โบสถ วิหาร เทวสถานตางๆ

- งานจติ รกรรม สว นใหญเปนภาพชาดกหรอื พระพทุ ธประวัตเิ ปน สาคัญ

ศิลปกรรมทั้ง 3 สาขาดงั กลาว แบงออกเปน 2 สมัย กลาวคือ

ก. ศลิ ปะสมยั กอนที่ชนชาติไทยเขา ปกครองประเทศ มี 5 แบบ คอื

1. วัตถรุ นุ เกาท่คี น พบในประเทศไทย มอี ายรุ าว พ.ศ.400-1200

2. แบบทวารวดี (มอญ) มอี ายรุ าว พ.ศ.1100-1600

3. แบบเทวรูปรนุ เกา มีอายรุ าว พ.ศ.1100-1400

4. แบบศรวี ิชัยหรือศลิ ปกรรมภาคใต มีอายุราว พ.ศ.1200-1800

5. แบบลพบรุ ี มอี ายุราว พ.ศ.1500-1800

ข. ศิลปะสมยั ทชี่ นชาติไทยเขา ปกครองประเทศมี 5 แบบ คือ

1. ศิลปะแบบเชยี งแสน หรอื ศลิ ปกรรมทางภาคเหนือ

มีอายรุ าว พ.ศ.1500-2200

2. ศลิ ปะแบบสุโขทัย มอี ายรุ าว พ.ศ.1780-2000

3. ศลิ ปะแบบอทู อง มอี ายรุ าว พ.ศ.1600-2000

4. ศิลปะแบบอยุธยา มอี ายรุ าว พ.ศ.1893-2310

5. ศลิ ปะแบบรตั นโกสนิ ทร มีอายุราว พ.ศ.2325-ปจ จุบัน

ศิลปะไทยไดรับอิทธิพลจากตางชาติมาชานานและไดพัฒนาสืบเนื่องผสมกับความเชื่อ
ทองถิ่นจนกลายเปนศิลปะที่เปนเอกลักษณของตนเอง ราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1111
พระพุทธศาสนานำเขา มาโดยชาวอินเดีย แสดงใหเหน็ อิทธิพลท่ีมตี อศิลปะไทยในยุคหลังท้ังดานภาษา
วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเปนกลุม ศิลปะสมัยตาง ๆ เริ่มตั้งแตสมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี
เมื่อกลุมคนไทยตั้งตัวเปนปกแผนแลว ศิลปะดังกลาวจึงมีอิทธิพลตอศิลปะไทย ชางไทยพยายาม
สรางสรรคใหมีลักษณะพิเศษกวางานศิลปะของชาติอื่น ๆ มีการประดิษฐลวดลายไทยเปนเครื่อง
ตกแตงทำใหลักษณะศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะ และไดสอดแทรกวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี
และความรูสึกของคนไทยไวในงานเหลานั้น ดังจะเห็นไดจากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามตาง ๆ
ปราสาทราชวัง ตลอดจนเคร่อื งประดับและเครอื่ งใชท ่วั ไป

( https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8
%9B%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)

ศิลปะไทยไดรับอทิ ธิพลจากประเพณแี ละวัฒนธรรมในสังคมไทย เชน ความเปน อยูแ ละการ
ดำรงชีวิตของคนไทยที่ไดสอดแทรกไวในผลงานที่สรางสรรคขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับ
พระพุทธศาสนา อาจกลาวไดวาศิลปะไทยสรา งขึ้นเพื่อสงเสริมพุทธศาสนา เปนการเชื่อมโยงและโนม
นา วจิตใจของประชาชนใหเ กิดความเล่ือมใสศรัทธาในพุทธศาสนา

สนั ติ เลก็ สขุ มุ (2560) ไดก ลา ววา อดีตอันยาวนานของดินแดนแหงน้ีผา นมาจนเมื่อกวาพัน
ปกอน จะเปนประเทศไทย มีความเปนมาเชนเดียวกับดินแดนอื่นในเอเชีย อาคเนย คือชวงการ
แปรเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ไมเคยมีมากอน จากสังคมยุคกอนประวัติศาสตรเขาสูสังคมยุคประวัติศาสตร
โดยรบั วฒั นธรรม ศาสนาอนั มีบอเกิดในประเทศอินเดีย ซึ่งไดก อใหเกดิ ระบบกษตั ริย มี พัฒนาการดา น

ระบบระเบียบการปกครองเชื่อมโยงเครือขายแวนแควน มาโดยลำดับจนถึงปจจุบัน พระราชอำนาจ

ขององคพระมหากษัตริยไดกอใหเกิดงานชาง หรือ ศิลปกรรมในศาสนา ไมโดยตรงก็

โดยออม ในที่นี้ไดแบงงานชางดังกลาว ออกเปน ๒ สวนคือ กอนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และตั้งแตพุทธ

ศตวรรษ ท่ี ๑๙ ลงมา

สว นที่ 1 กอ นพทุ ธศตวรรษที่ 19 (กอน พ.ศ. ๑๘๐๐) ไดแก 1) ศลิ ปะรนุ เกา 2) ศลิ ปะ

ทวารวดี 3) ศลิ ปะศรวี ชิ ยั 4) ศลิ ปะขอมในประเทศไทย 5) ศิลปะลพบุรี และ 6) ศลิ ปะหรภิ ุญชยั

สวนท่ี 2 ต้งั แตพ ุทธศตวรรษที่ 19 (ราว พ.ศ. ๑๘๐๐ เปนตนมา) ไดแก 7) ศลิ ปะสโุ ขทยั

8) ศิลปะลานนา 9) ศลิ ปะอทู อง 10) ศิลปะอยุธยา และ 11) ศลิ ปะรัตนโกสนิ ทร

สวนที่ 1 กอ นพทุ ธศตวรรษที่ 19 (กอ น พ.ศ. ๑๘๐๐)
ยคุ ประวตั ศิ าสตรเ ร่ิมตนเมือ่ วัฒนธรรมศาสนาแพรห ลายเขา มา คงประเดิมจาก

พอ คา หรอื นกั ผจญภยั ชาวอินเดยี ทีเ่ ดนิ ทาง ไปมาคา ขายในภมู ิภาคนี้ สว นพระภกิ ษหุ รอื นกั บวชอาจเขา
มาเผยแพรศาสนาในภายหลัง และไดกอใหเกิดการถายทอดเทคโนโลยีทางภาษาหนงั สือ ไดแก คัมภีร
อันศักดิ์สิทธิ์ อักษรปลลวะใช เขียนในภาษาบาลีหรือสันสกฤต ตอมาจึงใชตัวอักษรนั้นเขียน เปน
ภาษาถ่นิ เชน ภาษามอญโบราณ หรือภาษาเขมรโบราณ ดังกลา วนค้ี งเริ่มต้งั แตพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มา
เปนอยางชาๆ จดจาร อานเขียนกันเฉพาะในหมูพระภิกษุ พราหมณ ดาบส ดังมีปรากฏ หลักฐาน
ทางดา นศลิ าจารกึ (ภาพท่ี ๒)

ภาษาหนังสือหรือภาษาพดู ทแ่ี พรหลายเขามาใชสือ่ คำ สั่งสอนทางศาสนา ยอ มตอ ง
ใชระยะเวลาในการเรียนรู ทำความเขาใจสำหรับเหลานักบวชหรือผูศรัทธาในทองถิ่น ทั้งนี้แตกตาง
จากการรับรูจากงานชางที่เพิ่มพูนศรัทธา แมเมื่อแรกพบเห็นโนมนำใหรูสึกถึงบรรยากาศศักดิ์สิทธิ์
ของศาสนสถาน หรือรูป เคารพที่ประดิษฐานอยูภายในศาสนสถานนั้น รวมทั้งงานประกัน ประดาทั้ง
ภายในและภายนอกศาสนสถาน เชน ลวดลายปูนปน หรือสลักอยางงดงามใหความรูสึกอันเปนมงคล
หรือภาพเขยี น ประดับผนงั อันวจิ ิตร ใหความเพลิดเพลนิ ดวยภาพนิทานสั่งสอน ทางศาสนา ซึ่งชี้นำให
เกิดปญ ญาอนั เปน จดุ หมาย

พระพุทธรูปสรางขึ้นเพื่อเปนสัญลักษณแหงพระพุทธองค คือ พระพุทธเจาศากยมุนี และ
เพื่อระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอน เชนเดียวกับการสรางสถูปเจดีย และสรางพระพิมพอันเปนการ
ทำบุญกุศล เชน เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาดวย เปนกิริยานุญที่ผูคนทุกระดับชั้นกระทำกันได
ดังจารึกอักษรปลลวะ ภาษามอญ โบราณ ที่ดานหลังของพระพิมพสมัยทวารวดี พบที่อำเภอนาดูน
มหาสารคาม “บุญอันนี้ในกอมระตาญง พรอมไปดวยสหายของตน ผูเปนสามัญชนไดรวมกันสรางไว
(สันติ เล็กสุขุม 2560 จารึกในประเทศไทย ๒/2529 : 81) ศิลาจารึกอักษรปลลวะใชภาษาขอม

โบราณได พบมากมีรายละเอียดมากเมื่อกลาวถึงในการสรางศาสนสถาน เชน การอุทิศถวายสิ่งของ
เครื่องใช ทาสหรือขาพระ เพื่อปรนนิบัติ รับใชนักบวชในศาสนสถาน และดูแลงานบางอยาง
ในศาสนสถาน นั้น ที่มักขาดไมไดคือ การสรรเสริญบุญบารมีของพระราชาอัน เทียบเทาพระโพธิสัตว
ห ร ื อ พ ร ะ พ ุ ท ธ เ จ  า ต า ม ค ต ิ พ ุ ท ธ ศ า ส น า ห ร ื อ เ ท ว ร า ช ผ ู  ท ร ง ศ ั ก ด า น ุ ภ า พ ต า ม ค ติ
ของศาสนาฮนิ ดู

คติความเชื่อเชื่อทางพุทธศาสนาฝายเถรวาทในสมัยทวารวดี ใหความสำคัญในดานปญญา
ดังจารึกคาถาเยธัมมาฯ อักษรปลลวะ ภาษาบาลีจารึกไวที่กงลอธรรมจักรศิลา หรือจารึกเนื้อ ความ
แหงอริยสัจ ไดแก ทกุ ขหมายถึงความจรงิ ทเี่ ปนทุกข สมุทัย หมายถึงเหตใุ หเกิดทกุ ข นโิ รธคือความดับ
ทุกข และมรรคคือ ทางดำเนินไปใหถึงความดับทุกข (สันติ เล็กสุขุม 2560 อางถึงจารึกในประเทศ
ไทย ๑/ ๒๕๒๙ : ๕๙) สอดคลองกับรูปแบบและสุนทรียภาพอันเกิดจาก ความสมสวนอยางเรียบงาย
ของพระพุทธรปู ตามอุดมคติของ ฝา ยเถรวาท ซึ่งแตกตา งจากอุดมคติฝา ยมหายานท่ีมเี วทมนตร คาถา
อนั ล้ลี ับ กราบไหวบูชาพระโพธสิ ัตวผ ทู รงเปย มดวยพระ มหากรณุ าอันยงิ่ ใหญ สว นคติทางศาสนาฮินดู
น้ันมีเทพเจา ทรง ศักดานภุ าพสูงสดุ ไดแก พระพรหม พระนารายณ และพระอศิ วร

ภาพที.่ .......ภาพเขยี นสีของมนษุ ยโ บราณต้งั แตก อนยคุ ประวัติศาสตร ราว 3,000-4,000 ป
ปรากฏบนหนา ผาสูงชนั อำเภอโขงเจียม จังหวดั อบุ ลราชธานี

ที่มา https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/98955

ภาพท.่ี ....จารกึ อักษรปล ลวะ ภาษสนั สกฤต พุทธศตวรรษท่ี 12
พบทช่ี องแจง ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จงั หวัดสระแกว

ทมี่ า https://shorturl.asia/2YOiC

1. ศิลปะรุน เกา

ในเขตจังหวัดกาญจนบรุ ไี ดพบศิลปะรุน เกา ไดแก ตะเกยี ง โรมันหลอดวยสำรดิ (ภาพที่ 3 คง
หลอ ทเี่ มอื งอเลก็ ซานเดรีย ในประเทศอียปิ ต ตงั้ แตราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๖ สมัยท่ชี าวโรมัน ครอบครอง
ประเทศนน้ั (สภุ ทั รดิศ ๒๕๓๘ : ๒) ปจจบุ นั ไดพบตะเกียงสำริดท่ีคลายคลึงกันเพิ่มข้นึ ท้ังยัง ไดพ บ
ตะเกียงท่ที ำดว ยดนิ เผาเลียนแบบตะเกียงโรมันซ่ึงทำขนึ้ ภายในทองถน่ิ ตะเกียงดงั กลา วคงมไิ ด
เก่ียวเน่อื งเปนวัตถทุ าง ศาสนา แตนับวา คือศิลปะรุนเกาท่เี ปดภาพของการเดนิ ทางไปมา คาขายของ
ชาวตา งถนิ่ จากดินแดนอนั ไกลโพน โดยเฉพาะจาก ประเทศอนิ เดีย แหลง กำเนิดของศาสนา ในสว น
ของศลิ ปะทางศาสนาทีม่ ผี ูนำเขา มา เชน พระพุทธรูปขนาดเล็ก หลอดว ยสำริด แบบศิลปะอมราวดี
ของอนิ เดยี ใน พทุ ธศตวรรษที่ ๙-10 ศิลปะอินเดียสมัยหลังลงมา คอื ศลิ ปะคปุ ตะ (พทุ ธศตวรรษที่ ๙
๑๑) เชน พระพุทธรปู แบบคปุ ตะ สลัก จากศิลา (ภาพที่ ๔) และพระพทุ ธรปู แบบศิลปะหลงั คปุ ตะ สงู
๒๐.๕ ชม. หลอดว ยสำรดิ ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๑-๑๓ (สุภัทรดศิ ๒๕๓๘ : ๒-๓) รวมท้งั พระพุทธรูป
แปดปาง หรอื พระพิมพแบบ พุทธคยา ในศลิ ปะปาละของอนิ เดียราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑ ๕ ภาพที่
๕, ๖) เปน ตน

ภาพ ตะเกียงโรมนั สำรดิ สูง ๒๗ ซม. พบที่ตำบลพงตึก อำเภอทามะกา กาญจนบรุ ี
กอนพทุ ธศตวรรษท่ี ๖ พพิ ธิ ภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร

พระพทุ ธรูปแปดปาง ศิลาปด ทอง สูง ๑๕.๕ ซม. พบในกรุปรางค
ซงึ่ เปนเจดียป ระธานวัดราชบูรณะ พระนครศรอี ยธุ ยา ศิลปะอินเดยี สมัยปาละ

พุทธศตวรรษท่ี ๑๔-๑๕ พิพธิ ภัณฑสถาน แหง ชาติ พระนคร

พระพทุ ธรูปในพระอิริยาบถยนื ตรภิ งั ค พระหตั ถ ขวาแสดงปางประทานพร ศิลา สงู ๑๖.๕ ชม.
พบที่อำเภอเวียงสระ สรุ าษฎรธานี ศิลปะอินเดีย สมัยคปุ ตะ พุทธศตวรรษท่ี ๙-๑ ๑
พิพธิ ภัณฑสถานแหง ชาติ พระนคร

2. สมยั ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ (2547 : 321) สมัยทราวดีไดรับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียโบราณ

และศาสนาพราหมณ- พุทธศาสนานัน้ ไดม ีบทบาทสำคัญจนทำใหบรเิ วณภาคกลางนั้นและบริเวณท่ีอยู
ใกลทะเล ที่มีชุมชนหรือเมือง ใหญนอยนั้นไดรับเอาศาสนาและวิทยาการตางๆ ไปใชประโยชนในการ
สรางบานเมือง และ พัฒนาจนเติบโตเปนเมืองขนาดใหญหรืออาณาจักรที่นับถือทั้งศาสนาฮินดู-
พราหมณแ ละ พระพุทธศาสนา ในระยะแรกนั้นชุมชนเลก็ ๆ ที่มอี ยูกอนแลวนนั้ ไดค อยๆ เตบิ โตและมี
บทบาทสำคัญ ทางการคาอยูบริเวณชายฝงทะเลดานตะวันตก (เขตจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา) และ
ฝงทะเล ดานตะวันออก (เขตปตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎรธานี ชุมพร รวมไปถึงจันทบุรี
ปราจีนบุรี) จากความมั่งคั่งในการคาขายนั้นไดทำใหชุมชนแถบนั้นเปนชุมชนสถานการคาขาย
แลกเปล่ยี นสินคา สำหรับบรเิ วณท่ีราบลมุ แมน ำ้

สำหรับบริเวณที่ราบลุมแมน้ำ ที่เติบโตเปนเมืองใหญหลายแหงเชน เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ-
ลพบุรี) ทาง ลุมน้ำปาสัก เมืองจันเสน (อ.ตาคลี จ.นครสวรรค) ทางลุมแมน้ำลพบุรี และ เมืองละโว
(ลพบรุ )ี เมืองอูต ะเภา (อ.มโนรมย จ.ชยั นาท) เมืองบน (บา น โคกไมเดน อ.พยหุ ะ จ.นครสวรรค) เมือง
ดงแมน างเมอื ง (จ.นครสวรรค ทางลมุ แมน ้ำเจาพระยาเมืองบงึ คอก ชา งเมืองบา นใต (จ.อทุ ัยธาน)ี ทาง
ลุมแมน้ำสะแกกรัง เมืองอูทอง (อ.อูทอง จ.สุพรรณบุรี) เมืองนครชัย ศรี (อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)
ทาง แมน้ำทาจีนและแมกลอง เปนตน จากบริเวณที่ราบลุมแมนำ้ ภาคกลางนัน้ ยังสามารถติดตอผาน
ชองเขาและแมน้ำขึ้นไปถึง ยังชุมชน โบราณในบริเวณที่ราบสูงทางลุมน้ำ มูล-แมน้ำชี (นครราชสีมา-
ชัยภูมิ และยังเชื่อมโยงตอเนื่องไปจนถึงปลาย แมน้ำโขง (อุบลราชธานี) ซึ่งบริเวณ ดังกลาวนี้เปน
แหลง ทีม่ มี นุษย (กอ น ประวตั ิศาสตร) ตัง้ หลกั แหลง อยกู อน แลวเมื่อราว ๓,000 ป

ภาพประกอบที่ 1 ภาพอาณาจกั รทราวดี

ภาพประกอบท่ี 2 ภาพแผนทอี่ าณาจกั รทราวดี
การจัดตั้งอาณาจักรหรือสรางรัฐปกครองนั้นในสมัยทวาราวดีนั้นไดนำแบบอยางมา จาก
อนิ เดีย กลา วคอื พบคำจารกึ ในเหรยี ญเงนิ คำวา “ศรที วารวดศิ วรปูณยะ” แปลวา พระเจา ศรีทวาราว
ดี ผูมีบุญ อันประเสริฐหรือ การบุณยของพระเจาศรีทวาราวดีพบวาอยู กระจัดกระจายตามชุมชน
โบราณในบริเวณภาคกลางตอนลางของไทยและยังพบวามีการสรางเงินระบบเงินตราโดยทำ เหรียญ
รปู สญั ลักษณมงคลมาใชเ ปนสื่อกลางการซื้อขายดวย ตลอดจนไดมกี ารสรางศรัทธาความเช่อื และสราง
ระบบชนะดวยทำโดยมีการสรางธรรมจักรกับกวางหมอบ พระพุทธรูปสลักจากหินและหลอดวย
สำรดิ สรางสถปู เจดยี  วหิ ารข้นึ มากมาย พรอมกับนำหลักธรรมโดยเฉพาะคาถา เย ธมมฺ า และจารกึ
คำสั่งสอน ที่ทำใหอาณาจักรทราวดีมีเปนศูนยกลางของพระพุทธศาสนาที่มีแตความเชื่อศรัทธาใน
พระพทุ ธศาสนา

ภาพที่…….
ป 2486 มีการคน พบเหรยี ญเงินทจ่ี ารึกดว ยภาษาสนั สกฤต (อนิ เดยี เหนือ) มีขอความวา

"ศรที วารวดี ศวรปณุ ยะ"แปลวา "พระเจาศรที วารวดีผมู ีบญุ อันประเสริฐ“
และนคี่ อื จุดเรม่ิ ตน ของช่ือ "ทวารวด"ี อันเปนทีย่ อมรับกันในประเทศไทย
ทมี่ า http://52010113225.blogspot.com/2012/04/3_05.html

และนอกจากนี้ยังพบหลักฐานสำคัญท่ีผูเปนกษัตริยไดประกอบพิธีราชสูยะ (พิธีเสกใหเปน
กษัตริย) ณ พระปฐมเจดีย ท่ีไดพบแผนดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผาลักษณะสมบูรณ ตรงกลางมีหลุมตื้น
ลอมรอบดวยกลีบบัว 2 ชั้น ดานบนนั้นสลักเปนรูปการอภิเษกของศรีหรือคชลักษมี ถัดลงมาน้ัน
เปนรูปแสขนจามรวัชระ ขอสับชาง (อังกุศะ) พัดโบก (วาลวิชนี) ฉัตรปลาและสังข อยางละคู
และมีหมอกลศ (ปรู ณกลศ-หมอ น้ำ) อยสู ว นลางและตรงมุมทั้งส่ีนั้นสลกั เปนรูปดอกบวั เส้ียว

ภาพที.่ ....แผน หนิ จุณจิม สมยั ทวารวดี พทุ ธศตวรรษท่ี 12-16 เปน แผนหินสลกั สัญลกั ษณมงคล พบที่
พระปฐมเจดยี  ขนาด 15*21 ชนตมิ ตร มีเบากลมตรงกลางลอ มรอบดว ยสญั ลกั ษณตา ง ๆ โดยมีรปู คช

ลักษมเี ปนประธาน อยดู น บน ปจ จบุ ันเกบ็ รกั ษาในพิพิธภัณฑสถานแหงชาตพิ ระนคร
ท่มี า: วารสารวชิ าการ มหาวทิ ยาลัยหอการคา ไทย มนุษยศาสตรแ ละสงั คมศาสตร

นอกจากนี้ยังพบวาสมัยทวาราวดีไดรับเอาอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายานท่ี
เจริญรุง เรือง จึงไดมีการสรางสถูป เจดียทรงกลมตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสช้ันโดยลดหลั่นกันหรือสราง
ชั้นเดียวแลวมีบันไดทางขึ้นดานหนึ่ง (ดานตะวันออก ไปยังฐานชั้นบนนั้น บริเวณฐานนั้นมี ชองหรือ
ซุมสำหรับประดับดวยแผนดินเผาภาพนูนต่ำพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ พบวามี การสรางสถูป
เจดียแบบนี้ที่แหลงโบราณคดีบานคูบัว ในราชบุรี ซึ่งเปนอิทธิพลรูปแบบ สถูปในพุทธศตวรรษที่ ๙-
๑๓ สมยั ราชวงศคปุ ตะหรอื หลงั คปุ ตะ แบบเดียวกับมหาสถูป ที่เมอื งเดฟนโิ มริ

ภาพท.่ี .....สถปู เจดียแ บบนีท้ ่แี หลงโบราณคดบี า นคูบัว ในราชบรุ ี
ท่มี า : http://chaiprah2553.blogspot.com/2010/11/blog-post_05.html
ภาพจำหลักที่ประดับในซุมหรือชองบนฐานสถูปเจดียชั้นบนนั้น ตอมาไดมีการสรางเปน
ภาชนะดินเผาหรือภาพปูนปนบาง เลาเรื่องตามพุทธตำนาน ประกอบภาพเทวดา ภาพอมนุษย
และสัตวตางๆ ในจินตนาการ (สัตวหิมพานต) ประดับลวดลายใบไมหรือลายจำหลัก แบบเดียว
กับแผนภาพที่พุทธสถานปหรรปุระที่เมืองไมนามติ ในแควนเบงกอล (บังคลาเทศหรือปากีสถาน
ตะวันออก) ซึ่งเปนรูปแบบที่นิยมในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ และผังเจดียที่วัดพระเมรุ จ.นครปฐมน้ัน
รูปแบบใกลเคยี งกับพทุ ธสถานปหรรปรุ ะ

ภาพท่.ี .....ใบเสมาจำหลกั จากเมอื งฟา แดดสงยาง จ.กาฬสินธุ
ทม่ี า : หอ งสมดุ ดจิ ติ อล ศ.ม.จ.สภุ ทั รดิศ ดศิ กุล

สันติ เล็กสุขุม (2560 : 25) พระพุทธรูปแบบทวารวดีที่ลักษณะใกลเคียงกับตนแบบ คือ
ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ตามทฤษฎีแลวกำหนดวา เกากวา ลักษณะพื้นเมืองซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลัง
อนึ่งลักษณะพื้นเมือง มิไดหมายความถึงคุณคาที่ดอยลง แตกลับตรงขามคือ คุณคาเพิ่ม มากข้ึน
เพราะแสดงลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะพระพุทธรูป ในศิลปะทวารวดี ที่อาจกลาวไดวาคือ
พระพุทธรปู รนุ แรกของศลิ ปะ ในดนิ แดนเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่มลี ักษณะเฉพาะอันเดนชัดยิง่

พระพทุ ธรูปในพระอิรยิ าบถยืนในอาการตรภิ งั ค คอื เอยี งพระโสณี (สะโพก) แสดงถงึ ลกั ษณะ
ที่ยังใกลชิดกับตนแบบ (ภาพที่ ๗) พระอิริยบถยืนเอียงพระโสณีเปนสุนทรียภาพแบบอินเดีย โดยแท
ไมสอดคลองกับรสนิยมในทองถิ่น จึงจะเห็นไดวา ภายหลัง เมื่อลักษณะของทองถิ่นชัดเจนยิ่งขึ้น ทา
ยืนดังกลา วกห็ ายไป กลายเปนพระอริ ิยาบถทย่ี ืนตรงแบบสมดุล (ภาพท่ี ๔)

ภาพที่......พระพทุ ธรปู ในพระอริ ิยาบถยืนในอาการตรภิ งั คศ ลิ า
พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง ชาติ พระนคร

ท่มี า http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/156

ภาพท่.ี ....พระอริ ิยาบถทย่ี นื ตรงแบบสมดลุ ปางแสดงธรรม
พิพธิ ภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร

ทมี่ า http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/158
นอกเหนือจากพระพุทธรูป ชางสมัยทวารวดีไดสรางรูป พระโพธิสัตวอวโลกิเตศวรดวย ตาม
คติความเชอ่ื ใน พทุ ธศาสนาฝายมหายาน พระโพธสิ ตั วพ ระองคน ีท้ รงประจำอยูในยุคของพระพุทธเจา
ศากยมุนี

ภาพประกอบท่.ี .....รปู พระโพธสิ ตั วอ วโลกเิ ตศวรสำริด

พระพทุ ธรปู ศิลาสลักนนู ต่ำ เบ้อื งขวาของพระองค คือ รปู ธรรมจกั รต้งั อยเู หนือเสา เบ้ืองซาย
เปนรูปเจดีย คือหลักฐานที่ยนื ยนั รปู แบบเจดยี ของสมยั ทวารวดี และธรรมจกั รของสมยั น้นั ดวย (ภาพ
ที่ ๑๐) รูปเจดียม ีอยอู กี ไดพบสลักประกอบอยูทาง เบือ้ งซา ยและขวาของพระพุทธรูปนคปรก การ
สรางพระพุทธรูปนาคปรกคงเปนคติความเชอื่ เร่อื งพทุ ธประวตั ิในสปั ดาหท หี่ ก หลงั จากการตรัสรู
สัปดาหน้นั เกดิ อากาศวิปรติ มพี ายุ นำ้ ทว ม พญานาคตนหนึ่งชอ่ื มุจลนิ ทข นึ้ จากน้ำมาขดกาย แผ
พังพานปกปอ ง พระพุทธองค (ภาพที่ ๑๑)

ภาพท่ี....พระพุทธรูปอยใู นอริ ยิ าบถน่งั ขัดสมาธแิ บบหลวม พบภายในเจดียเ มอื งคบู วั
อำเภอเมือง จงั หวดั ราชบรุ ี พพิ ิธภณั ฑสถานแหง ชาติ ราชบุรี

ทมี่ า http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/286

ภาพที.่ ...พระพุทธรปู นาคปรก พระพุทธรปู นูนสูงองคน้ที ำเปนปางนาคปรก
ที่มา : http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/276

ศิลปะทวารวดีในภาคอีสาน เปนตนวาจังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ คือแหลงสำคัญของ
วัฒนธรรมทวารวดี และที่บุรีรัมย ซึ่งไดพบพระพุทธรูปสำริด พระอิริยาบถยืน พระหัตถทั้งสองแสดง
ปางเทศนา (ภาพที่ ๑๒)

ไดกลาวมาแลว ศิลปะทวารวดีในภาคใตพบมากใน จังหวัดสุราษฎรธานี เชน ประติมากรรม
ดนิ เหนยี วปน นนู สูง เรือ่ งราวพุทธประวัตอิ ยภู ายในถ้ำคหู า อำเภอกาญจนดษิ ฐ ซง่ึ แสดงวารับอิทธิพล

ศลิ ปะปาละ (น ณ ปากนำ้ ๒๕๓๗ : ๓oo) ประตมิ ากรรมติดผนังถำ้ แหงนี้ปนเร่อื งพทุ ธประวัติ หน่ึงใน
พระพุทธรูป องคหนึ่งมีขนาดใหญ ประทับนั่งหอยพระบาท พระหัตถขวาหักหาย พระหัตถซายวาง
ควำ่ บนพระเพลา (ภาพท่ี ๑๓)

ธรรมจักร (บางแหอาจคนพบรวมกับรูปกวางหมอบ) เปนสัญลักษณของการประกาศพุทธ
ศาสนาครง้ั แรก คือ ปฐมเทศนาสัญลักษณดังกลาว มีมากอนในสมยั อนิ เดียโบราณ ตงั้ แตรัชกาล พระ
เจาอโศก แตเกาเกินกวาสมัยทวารวดีมากนัก ธรรมจักรสลัก จากศิลาพบมากในศิลปะทวารวดีทาง
ภาคกลาง (ภาพท่ี ๑๔) สว นภาคอีสานและภาคใตก พ็ บแตนอ ยกวา

ภาพที.่ ....ธรรมจกั รและกวางหมอบ ศลิ ปทวารวดี
ทม่ี า : https://shorturl.asia/vNY4o

เจดยี จ ุลประโทน ตำบลพระประโทน จงั หวัดนครปฐม
http://thamsala-sm.go.th/publ1ic/landmark_upload/backend/pics_19_2.jpg

3) ศิลปะแบบเทวรปู รุนเกา (พทุ ธศตวรรษที่ 12 – 14)

ประติมากรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่บงวาวัฒนธรรมศาสนาจาก อินเดียไดแพรกระจายมาสูเมือง
ตา งๆ ตามชายฝงคาบสมุทร ภาคใตของไทย คอื เทวรูปรุน เทา สรางข้นึ ในศาสนาฮินดโู ดยรว ม สมัยกับ
ศิลปะทวารวดีทางภาคกลางหรือภาคตะวันออก ซึ่งสรางขึ้น ในพุทธศาสนาและมักคนพบรวมกันดวย
เชนที่ดงศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี หรือที่เมืองโบราณศรีเทพ เพชรบูรณ แตเนื่องจากเทวรูป เหลานี้พระ
พักตรไมเหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดี จึงแยก ตางหากเปนศิลปะแบบเทวรูปรุนเกา (สุภัทรดิศ
๒๕๓๘ : ๑๑) ผูทอ่ี ยใู นศาสนาฮินดู หากนับถือกราบไหวบูชาพระนารายณ เปน เทพเจา สูงสุด จัดวาอยู
ในคติของไวษณพนิกาย สวนผทู ี่กราบ ไหวบชู าพระอิศวรผูเปนใหญสูงสุด คอื ผูอยูใ นไศวนิกาย เทวรูป
พระนารายณสลักจากศิลา มีอายุเกาท่ีสุดทีร่ ูจักกันคือราวพุทธ ศตวรรษที่ ๙- ๑0 พบในภาคใต ซึ่งคง
เปนแหลงที่สลักประติมา กรรมรูปนี้ เพราะลักษณะพื้นเมืองเดนชัดยิ่งกวาสุนทรียภาพของ ตนแบบ
คือศิลปะอินเดียเกากอนสมัยคุปตะ (ภาพที่ ๒๕) ศาสนาและแบบอยางรูปเคารพในศาสนาฮินดูคง
แพรหลาย ระลอกตอมาตรงกับสมัยอิทธิพลศิลปะหลังคุปตะราวระหวาง พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ได
กอใหเกิดลักษณะใหมคือ เทวรปู พระนารายณ ซง่ึ รับแรงบนั ดาลใจจากสนุ ทรยี ภาพของตน แบบไวมาก
พอใช (ภาพที่ ๒๖, ๒๗) จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ คงเปน ชวงที่ศาสนาฮินดูเจริญขึ้นอยางมาก
ทางภาคใต ควบคูกับพัฒนาการของชางที่ขึ้นถึงระดับสูง (ภาพที่ ๒๘) สำหรับผูที่เชื่อมั่นในลัทธิไศว
นกิ าย กราบไหวบูชารูปพระ อิศวร ซึ่งนยิ มสรา งในรูปสัญลักษณค อื ศวิ ลึงค ไดพ บท้งั ในภาคใต (ภาพที่
๒๙) และภาคกลาง รวมทั้งภาคตะวันออก เชนที่เมืองโบราณศรีเทพ เพชรบูรณ และเมืองโบราณใน
เขตจังหวดั ปราจีนบุรี เปน ตน

ภาคกลางตอนบนอันเปนแหลงของศิลปะทวารวดีในพุทธศาสนา ซึ่งไดพบเทวรูปฮินดู
รวมอยูดวยคือ เมืองโบราณศรีเทพ เพชรบูรณ (ภาพที่ ๓0, ๓๑) หลักฐานทางดานโบราณวัตถุสถาน
ของเมืองโบราณแหงนี้แบงออกได ๒ สมัย สมัยแรก คือวัฒนธรรม อินเดียและทวารวดี อายุคงเริ่ม
ตั้งแตร าวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ สมัยที่สอง คอื วัฒนธรรมขอมตั้งแตร าวพุทธศตวรรษท่ี ๑๖ เมอื ง น้ี
ตั้งอยูบนเสนทางโบราณตอเชื่อมภาคกลางกับภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทยไปจนถึง
ประเทศกัมพูชา และคงถูกทอดทิ้งหลังจากที่ขอมเสื่อมอำนาจลงแลวตั้งแตกลางพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘
ลงมา (สภุ ทั รดศิ ๒๕๓๘ : ๖๕)

ในภาคอีสานไดพบเทวรูปประหลาดซึ่งสรางขึ้นในศาสนา ฮินดูเชนกัน คือ อรรธนารีศวร
(ภาพที่ ๓๒) ศาสตราจารย หมอม เจาสุภัทรดิศ ดิศกุล (๒๕๓๘ : ๔๔) ทรงจัดไวในศิลปะแบบเทวรปู
รุนเกา กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ แตศาสตราจารย ฌอง บวสเซอลีเยร (Boisselier
1987 : 229) จัดวาเปนศิลปะลพบุรี (ศิลปะขอมในประเทศไทย) โดยตั้งขอสังเกตวาคือแบบอยาง
พิเศษ ในทองถิ่น ซึ่งแตกตางจากประติมากรรมในศิลปะขอมท่ีแทจริง อนึ่งในทองถิ่นที่พบ
ประติมากรรมพิเศษนี้คือ อุบลราชธานี รูป คารพในศาสนาฮินดูที่ไดพบเพียงชิ้นเดียว ทามกลางการ
ถา ยเท ผสมผสานทางวัฒนธรรมจากแหลง ตางๆ ในภูมภิ าค การศกึ ษา จึงมปี ระเดน็ กำ้ กึง่ ไดเ สมอ

เทวรปู รุน เกาสรา งขน้ึ ในศาสนาฮินดูรว มยุคกับศลิ ปะ ทวารวดีท่สี รางข้ึนในพุทธศาสนาใน
บางพืน้ ท่ีไดพ บควบคูกัน แตคตคิ วามเชอื่ ในศาสนาฮนิ ดูอยใู นชว งเวลาและพ้ืนท่ีอัน จำกัด ในท่ีสุด
ก็กลายเปนสวนประกอบทางพิธกี รรมบางอยา ง ในพุทธศาสนา
******************************************************************************

พระวษิ ณจุ ากเขาพระนารายณ อำเภอกะปง จังหวดั พังงา
ท่ีมา : shorturl.asia/AElZf

เทวรปู พระนารายณหรอื วษิ ณสุ ่ีกร
พบท่ี เขาศรีวชิ ยั อำเภอพุนพิน สรุ าษฎรธ านี ปจจบุ นั จดั แสดงทพ่ี พิ ิธภณั ฑสถานแหงชาติ พระนคร

ที่มา : shorturl.asia/COszw
4. ศลิ ปกรรมสมัยศรวี ชิ ยั ( พทุ ธศตวรรษที่ 13 – 18 )

พระพุทธศาสนานกิ ายมหายานไดแ พรหลายเขา สูดินแดนทางคาบสมทุ รภาคใตของไทย

โดยมเี มอื งสรุ าษฎรธานี และนครศรธี รรมราชเปนสำคัญแตบางหลักฐานนักปราชญโ บราณคดีกลับเช่ือ
วานาจะมีอาณาจักรนี้ อยูแถวหมูเกาะสุมาตรา ชวา บาหลี และบอรเนียว แลวจึงขยายอิทธิพลผาน
ข้นึ มา มาเลเซียและรวมทง้ั ดนิ แดนอำเภอไชยา จงั หวัดสรุ าษฎรธานี

จากบันทึกของหลวงจีนอี้จิง ซึ่งเดินทางเขามาสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดีย ในพุทธ
ศตวรรษที่ 13 กลาวถงึ ความเจรญิ รงุ เรอื งของอาณาจกั รเชลิไฟชี กห็ มายถงึ อาณาจกั รศรวี ชิ ัยเอง
ศิลปกรรมสมัยศรีวิชัย ที่คนพบที่สำคัญไดแก รูปพระโพธิสัตวอวโลกิเตศวรสำริด ที่พบ ณ
วัดพระมหาธาตุ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎรธานี เปนพระพุทธรูปแบบมหายาน และอีกองคหนึ่ง
คือพระพุทธรูปนาคปรก ทำดวยสำริดปางมารวิชัย นอกจากนี้ยังพบพระพิมพดินดิบ ซ่ึงทำโดยนำเอา
สวนกระดูกพระสงฆที่เคารพนบั ถือในสมัยนั้น ไดมรณภาพแลว มาคลุกกับดินเหนียวแลวทำเปนพระ
พิมพข ้นึ มา หรือไมก็ทำเปน รปู พระโพธสิ ัตวแ ละพระพทุ ธรปู

ภาพประกอบท่.ี .....รูปพระโพธิสตั วอวโลกิเตศวรสำรดิ

ภาพประกอบท่.ี ..... พระพทุ ธรปู นาคปรก สมยั ศรวี ิชยั
สถาปตยกรรมท่ีสำคัญไดแ ก พุทธเจดยี หรือเจดียพ ระบรมธาตุทว่ี ดั พระมหาธาตุ

อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎรธานีเปนเจดียที่มีลักษณะใกลเคียงกับ “จันทิ” หรือ “จันดิ” ของศิลปะ
ชวาภาคกลางในอนิ โดนีเซยี

ภาพประกอบท่ี......พทุ ธเจดยี ห รือเจดียพระบรมธาตุทว่ี ดั พระมหาธาตุ
5. ศิลปะขอมในประเทศไทย หรอื ศลิ ปะสมยั ลพบรุ ี

ผศ. รุงโรจน ธรรมรุงเรือง กลาววา ศิลปะลพบุรี หรือ ศิลปะขอมในประเทศไทย อายุเวลา
ของศิลปะกลุมนี้ประมาณ พ.ศ. 1100 หรือพุทธศตวรรษท่ี 12 จนถึงประมาณ พ.ศ. 1700 กวา หรือ
พุทธศตวรรษที่ 18 โดยมีลักษณะเดียวกัน หรือใกลเคียงกันกับศิลปะในประเทศกัมพูชา คือ หนาตา
อาจจะเหมอื นกนั ไมผ ิดเพ้ยี นหรอื ผดิ เพีย้ นเล็กนอ ย ชอ่ื เรยี กแบบตางๆ ทีป่ จ จบุ ันมคี นเรยี กกัน

เมืองลพบุรี คือ ในชวงที่วัฒนธรรมเขมร หรืออาณาจักรกัมพูชาสมัยโบราณเรืองอำนาจและ
แพรเขามาถึงประเทศไทย เมืองลพบุรีที่เปนจังหวัดลพบุรีในปจจุบัน เปนดินแดนสำคัญในเขตภาค
กลาง จึงเรยี กวา ศิลปะลพบุรี ในสมัยรชั กาลท่ี 4 - 6 ในประเทศไทยเรมิ่ ศกึ ษา ดานโบราณคดี
ประวัติศาสตร และศิลปกรรมอยางจริงจังในชวงรัชกาลท่ี 4 , 5 และ 6 ในชวงเวลานั้นเกิดลัทธิท่ี
เรียกวา “ลาอาณานิคม” โดยมีการครอบครองเขมร พมา ลาว อินโดนิเชีย ซึ่งอยูรอบขางเรายกเวน
ไทยที่ไมตกอยูในอำนาจการครอบครองของใคร ถานักประวัติศาสตรของเราในเวลานั้นเรียกศิลปะ
กลมุ นวี้ า ศิลปะเขมร

ศิลปะในประเทศเขมรกบั ในประเทศไทย มรี ปู แบบทเ่ี หมอื นกันอาจมีอายุเทา กนั หรือ
เหล่ือมกนั เล็กนอยกไ็ ด หมายถึงในสิ่งทเี่ กดิ ข้ึน ความนยิ มในดานแบบศิลปะ การสรางศาสนสถาน วัตถุ
แบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในกัมพูชากวาที่จะสงอิทธิพลมาถึงประเทศไทยตองใชระยะเวลาเล็กนอย ซึ่งจะ
กำหนดอายุจากรูปแบบศิลปะ เชน ลักษณะลวดลาย โดยเฉพาะอยางยิ่งบนทับหลังคือแผนหินที่วาง
อยูเหนือประตูทางเขา และเสาประดับกรอบประตู คือเสาที่ตั้งอยูสองขางทางเขา ซึ่งทั่งทับหลังและ
เสาประดับกรอบประตจู ะเปนสถาปตยกรรมทใี่ ชหนิ

แผนที่ทีเ่ ปนรองรอยของศาสนสถาน และเมอื งในวฒั นธรรมเขมร ซ่ึงประกอบดวยทะเลสาบเขมร
เปน ทะเลสาบนำ้ จดื ทีใ่ หญม าก ทิศเหนือของทะเลสาบเขมรข้ึนไป 20 กิโลเมตร เปนทต่ี ง้ั ของเมอื งพระ
นครมีเทอื กเขาพนมดงรกั กั้นระหวา งไทยกับกัมพชู า พบหลกั ฐานทางวตั ถทุ ่เี ก่ียวของกบั เขมรเหนอื ข้ึน
ไป คือ เทือกเขาพนมรุง จังหวัดบุรรี มั ย

ภาพถา ยดาวเทยี มของเมอื งพระนคร เมืองพระนครมีชือ่ เรยี กตามจารึกวา ยโสธรปุระ
การสรางเมืองของเขมรจะเปนส่ีเหลย่ี ม ในดินแดนประเทศไทยเมอื งท่ไี ดวัฒนธรรมจากเขมรก็
จะสรา งเมอื งเปน สีเ่ หลี่ยม สุโขทัย สง่ิ ที่กษตั ริยเ ขมรตอ งทำหลังจากท่ีสรา งเมอื ง แลวจะตอ งสรา ง
สระนำ้ สำหรบั การชลประทาน สระนำ้ จะเรยี กวา บาราย ชื่อทางการของบารายหรอื สระนำ้
คือ ยโสธรตฏากะ เมืองยโสธรปุระ สรางโดยพระเจายโสวรมัน และลมสลายโดยคนชนชาติจาม
ทำลายและตีแตกในป 1720 ตอมา ป 1724 มีกษัตริยขึ้นครองราชยและปราบจามได นครวัดเปนศา
สนสถานไมใ ชเมอื งแตดวยความกวางใหญถึง 1 กิโลเมตร จึงทำใหคนรนุ หลงั คิดวาเปนเมืองจึงเรียกวา
นคร และในสมัยหลังประมาณ 300 ถึง 400 ปที่ผานมาเปนวัดทางพระพุทธศาสนาจึงเรียกนครวัด
เมอื งพระนครหลวงหรือนครธม นครวดั คอื ศาสนสถานทสี่ รางใหพ ระวิษณแุ ตเ มืองพระนครหลวงหรอื

นครธมเปน เมอื งอีกเมอื งหนงึ่ เน่อื งจากเมอ่ื เมืองพระนครถูกตีแตก กษตั ริยอ งคท ีก่ อบกไู ดจ งึ สรา งเมือง
นครธมมาแทน เชน เดียวกับกรุงเทพฯ ท่ยี า ยมาจากธนบุรี คอื เมอื งพระนคร
และเมืองพระนครหลวงอยูในพื้นที่เกี่ยวกันแตยายวัง และยายกำแพงเมือง กษัตริยที่สรางเมืองพระ
นครหลวงคือ พระเจาชัยวรมันท่ี 7 ในการสรางเมืองของกัมพูชาในอดีต คือ การจำลองจักรวาลมาสู
พื้นโลก ความเชื่อที่ถายทอดมาจากอินเดียคือศูนยกลางของจักรวาลคือภูเขา ดังนั้นตัวเมืองพระนคร
จงึ มภี ูเขาหรือ พนมบาแค็ง ตัง้ อยู เปรียบเหมือนเขาพระสุเมรุ ผังเมอื งเปน รปู จำลองจักรวาล มีกำแพง
เปรียบเสมือนเขาสัตตบริภัณฑ หรือ เขาลอมจักรวาล สวนคูน้ำ เปรียบเสมือน มหาสมุทร ที่นครวัดมี
ภาพสลักทเี่ ก่ยี วของกับไทยและมชี ื่อเสียงมากเพราะเปนภาพทีม่ จี ารึกวา เสยี มกุ

ดินแดนอาณาจักรลพบุรี คำวา “ลพบุรี” มาจากศัพทวา ลวะปุระ เปน ละโวปุระ
เปน ลพบุรี ตามลำดับแหงการเพี้ยนมาตามยุคสมัย อยูที่บริเวณจังหวัดลพบุรีปจจุบันและลุมแมน้ำ
เจาพระยาตลอดไปจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปจจุบันดวย และยังมีสิ่ง-
ศักดิ์สิทธทิ์ ี่ยังเหลอื มาถงึ ปจ จุบนั นั้นคือ ทะเลชบุ ศร ซึ่งมีอทิ ธพิ ลมาจาก เรื่องรามยณะ(รามเกยี รต)์ิ

ศลิ ปกรรมอาณาจกั รลพบุรี มลี กั ษณะศิลปะคลายกับของเขมรและของทวาราวดี เชน ศลิ ปะ
นครวัด เปนตน ปรากฏอยูมากมาย เชน ปราสาท, พระปรางค ฯลฯ เปนตน สวนมากในยุคนี้จะ
กอสรางดวย อิฐ เกาแกที่สุด รองลงมาคือ ศิลาแลง และรองมาอีกคือ หิน ที่ปรากฏหลักฐาน ก็มีท่ี
ปราสาทหินพิมาย, ปราสาทเขาพนมรุง, พระปรางค 3 ยอด ลพบุรี, ปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งเปน
ศิลปกรรมที่สรางไดอัศจรรยมาก เพราะ สรางโดยไมมีโครงเหล็กและปูนโบก จากการสันนิษฐาน ใน
ยุคน้นั นาจะใชย างไมช นิดหนงึ่ ท่เี รยี กวา “ยางบงมา” เพราะเปน ยางทีเ่ หนยี วมาก

ภาพประกอบท่.ี .....ไมย างบง
สถาปตยกรรมสมัยอาณาจักรลพบรุ ี ไดแ ก ปราสาทศิลาหรืออฐิ สรางเปน ศาสนสถานและ
เทวาลยั ไดร บั คตกิ ารสรา งปราสาทมาจากขอม เชน พระปรางคส ามยอดเมืองลพบุรี วดั กำแพงแลง จ.
ราชบุรี มกี ำแพงเปนพระพุทธรปู ท่ีกาญจนบรุ ีพบปราสาทแบบขอม ทเี่ มืองสโุ ขทัย มีปราสาทที่วดั พระ
พายหลวง เปนตน

ภาพประกอบท.่ี .......พระปรางคสามยอดเมอื งลพบุรี

ภาพประกอบท.่ี ......กำแพงพระพทุ ธรูปท่ีวัดกำแพงแลง จ. ราชบุรี

ภาพประกอบที่.......ปราสาทท่ีวดั พระพายหลวง
ประตมิ ากรรม สมยั ลพบรุ ีชอบสรา งพระพทุ ธรปู นาคปรก และมกั จะสรางสลกั ดวยศิลา
ทราย ถา หลอดว ยสำรดิ จะเปนพระพุทธรปู ขนาดเล็ก มลี ักษณะเฉพาะคือ สรางเปน พระพุทธรูปองค
เดียวหรือหลายองคอ ยบู นฐานเดียวกนั พระพิมพจ ะสรา งดว ยดินเผาและโลหะมลี ักษณะเดนพเิ ศษคอื
พระพิมพส มัยน้มี ักมรี ูปปรางคประกอบดว ยเสมอ

ภาพประกอบที.่ .......พระพุทธรปู นาคปรกท่สี รา งจากแบบดนิ เผาและโลหะ
อาณาจกั รลพบรุ ี นบั ถอื ศาสนาพราหมณและศาสนาพทุ ธปนกนั ไป ศาสนาพราหมณส ว น
ใหญนับถือลัทธิศิวเวท สวนพระพุทธศาสนานั้นนับถือลัทธิมหายาน จะพบวารองรอยเกี่ยวกับ
โบราณสถานของขอมในยคุ น้ี เกีย่ วกับลัทธมิ หายานทง้ั นนั้ เชน พระพทุ ธปฏมิ าของขอม มักทรงเครื่อง
อลังการวิภูษาตาภรณ มีกระบัง มงกุฏบนพระเศียร ที่เรียกวาเทริด พระโอษฐห นา ดวงพระเนตรใหญ
พระกรรณยาวลงมาจดพระอังสะ ลักษณะใกลไปทางเทวรูปมาก พระปฏิมาที่วานี้ คือ รูปพระอาทิ
พุทธะ ในคตมิ หายาน

ภาพประกอบที่......พระพุทธปฏมิ าของขอม

ถาเปนรูปพระศากยมุนี ก็มักจะมีรูปพระโพธิสัตวซายขวา แทนรูปพระอัครสาวก มีพระอว

โลกิเตศวรโพธิสัตว รูปพระปรัชญาปารมิตาโพธิสตั ว รูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตวนัน้ บางที่ทำเปน 4

กร บาง 6 กร บาง คนชั้นหลังไมรูนึกวาเปนรูปพระนารายณ หรือพระพรหมไปก็มี เชน นักเลนพระ

เคร่ืองตระกูลลพบรุ ี เรยี กพระเครือ่ งชดุ หน่ึงวา นารายณท รงปน ความจริงเปนรปู พระอว

โลกิเตศวร พระเครอ่ื งแบบมหายานทว่ี า นี้ ขดุ ไดท ี่จงั หวัดลพบรุ ี รวมทงั้ พระเครอ่ื งที่เรยี กพระหูยาน ที่

จริงเปนพิมพของพระอักโษภยพุทธะ พระพุทธเจาประจำทิศบูรพา ปราสาทของสามหลังที่ลพบุรีเดิม

เปน ทปี่ ระดิษฐานพระพุทธเจาตรีกาลตามคตมิ หายาน มาแปลงเปน เทวสถานในชนั้ หลัง ปราสาทหินพิ

มายที่โคราชก็เปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกองคมหึมา ที่เรียกกันวา ชยพุทธมหานาค และ

ประดิษฐานรูปปฏิมา พระไตรโลกวิชัย อันเปนปางหนึ่งของพระอมิตาภพุทธเจา พระพุทธรูปในยุคน้ี

สวนมากสรา งจากหิน หาสำรดิ ไดนอ ย

ภาพประกอบท.่ี .......พระอวโลกเิ ตศวร

พระพุทธรูปที่สรางในสมัยลพบุรี มีทั้งศิลา พระหลอ และพระพิมพ เกิดมีพระทรง
ราชาภรณ หรือที่เรียกกันเปนสามัญวา พระทรงเครื่อง สังเกตดูพระพิมพที่สรางสมัยลพบุรี

สรางตามคติมหายานเปน พื้น มีมากมายหลายอยาง ทำเปนพระพทุ ธรูปน่ังในปรางค 3 องคหมายเปน
พุทธกาย ทำเปนพระอาทิพุทธเจาเปนประธานมีรูปมนุษยพุทธเจา 4 องค 7 องคเปนบริวารก็มี
ทำพระพุทธรูปอยางกลาง รูปพระโพธิสัตวอยูข างก็มี จะพบวาพระพุทธรูปปางตา ง ๆ ซึ่งสรางในสมัย
ลพบุรี มีปางเหลา นเี้ ปน พื้นฐาน คือ

ปางขัดสมาธิ ปางมารวชิ ยั ปางยืน
กรีดนว้ิ พระหตั ถ

ปางยนื ตงั้ พระหตั ถป างประทานอภยั ปางปาเลไลยก (ปฐมเทศนา)
ทเ่ี รียกกนั วา พระหา มสมทุ ร (มลี งิ กับชา ง)คลา ยกับยุคทวาราวดี

ภาพประกอบท.่ี ......ภาพพระพุทธรปู างพ้ืนฐานสมยั ลพบรุ ี

7. ศิลปกรรมสมัยสโุ ขทยั (พทุ ธศตวรรษที1 19 – 20 )

ราชธานีสุโขทัย เริ่มขึ้น ประมาณ พ.ศ.1778 มีพอขุนศรีอินทราทิตย เปนพระปฐมกษัตริย
แหงราชวงศพระรวง ตอมาก็มีพอขุนรามคำแหงมหาราชไดแผขยายอาณาจักรออกไปไดดินแดน
ใกลเคียงอีกมาก และไดมีพระมหากษัตริยสืบราชสมบัติตอมาอีกจนถึง พ.ศ.1920 เปนสมัยท่ี
อาณาจกั รกรงุ ศรีอยุธยากำลังเจรญิ รงุ เรอื งและมีอำนาจมากไดร วมเอาสโุ ขทยั เขามาเปนสว นหนึง่ สวน
เดียวกนั ในสมยั สุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยมีศูนยกลางอำนาจอยูบริเวณลุมน้ำยมและสุมแมน้ำนาน บริเวณเขต
ภาคเหนือตอนลางอันเปนที่ราบลูกฟูกสลับกับที่สงู และเทือกเขาดานทิศตะวันออกและตะวันตก ผูนำ
ชุมชนที่เปนชาตินักรบจะรวบรวมแวนแควนมารวมกันจนเปนศูนยกลางอำนาจ ศาสนาและ
ศิลปวัฒนธรรม เชน การสรางกำแพงเมือง ปอมปะตู คูน้ำ คันดิน ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนา ซึ่งมี
การผสมผสานกับคติความเชื่อดั้งเดิม เชน ความเชื่อขอม อินเดียหรืออินเดียที่รับผานขอม ขอบเขต
ของอาณาจักรสุโขทัยครอบคลุมเมืองฉอด ลำพูน นาน พิษณุโลก เมืองสุโขทัยมีกำแพง เมืองรูป
สี่เหลี่ยมผืนผา กวาง 1,400 เมตร ยาว 1,800 เมตร เปนกำแพงดิน 3 ชั้น พื้นดินที่ขุดเปน คูน้ำขังน้ำ
ไวใช และเปนกำแพงน้ำอีก 2 ชั้น มีประตูเมือง 4 ประตู ประตูดานเหนือเรียกวา ประตู หลวง ดานใต
เรียกวา "ประตูนโม" ดานตะวันออกเรียกวา ประตูแพงหักและดานตะวันตก เรียกวา "ประตูออ"
ภายในตระพังหรือสระน้ำที่มีขนาดใหญ 4 ตระพัง คือ ตระพังเงิน ตระพัง ทอง ตระพังสอ ตระพัง
ตระกวน เมื่ออาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุงเรืองขึ้น จึงมีการสราง ศิลปวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อแสดง
ถึงความศรัทธาและความเชื่อในศาสนา ที่สะทอนภาพของความ อุดมสมบูรณ ความสุขสงบรมเย็นท่ี
เกิดขึ้นในชวงสมัยของกษัตริยองคตางๆ ของสุโขทัย วัฒนธรรมและวถิ ีชีวิตความเปนอยู การปกครอง
ของชาวสุโขทัยระหวางกษัตริยและประชาชนมี ความสัมพันธกันอยางใกลชิด ดังปรากฎในหลักศิลา
จารึกที่ 1 อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุงเรืองใน สมัยพอขนรามคำแหงมหาราช โดยสามารถขยายอำนาจ
ไปถึงลานนาและแหลมมาลายู ดังนั้น สุโขทัยจึงตั้งอยูบริเวณศูนยกลางของอาณาจักรที่มีวัฒนธรรม
รุงเรืองดังเชน อาณาจักรพุกาม อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรศรียโสธรปุระ (เขมร) ชาวสุโขทัยจึง
ผสมผสานวัฒนธรรมตาง ๆ เขากับวัฒนธรรมของตนเองอยางเปนเอกลักษณ (ไทยโรจน พวงมณี,
2554 : 419 อางถึงใน วิบลู ย ลส้ี วุ รรณ, 2548)

เมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 เริ่มตนแตสมัยพอขุนศรีอนิ ทราทิตยป ระกาศตั้งกรุงสุโขทัยเปน ราช
ธานี ศิลปะสมัยสุโขทัย จัดไดวาเปนศิลปะที่งามที่สุด เปนตัวของตัวเองมากที่สุด สมัยสุโขทัยนับถือ
ศาสนาพุทธแบบเถรวาท นิกายลังกาวงศจากเกาะลังกา ดวยเหตุนี้เองอิทธิพล ของศิลปะลังกาจึงมอี ยู
ในงานศิลปะของสุโขทัยมากที่สุด ทั้งทางดานสถาปตยกรรม ประติมากรรมและจิตรกรรม โดยเฉพาะ
การปนพระพุทธรูป สถาปตยกรรมสมัยสุโขทัยมิไดรับอิทธิพลจากลังกาเพียงแหงเดียว แตไดรับ
อิทธิพลจาก ศิลปะใกลเคียงดวย คือศิลปะสมัยศรีวิชัย ลานนา และพุกาม โดยเฉพาะ การสรางเจดีย
(เสนอ นิลเดช, 2540 หนาจ่ัว)

สถาปตยกรรมแบบสุโขทยั สามารถแบงออกเปน 3 แบบ คือ
1. อาคารที่เปน โบสถ วหิ าร
2. อาคารทรงมณฑป
3. อาคารทรงเจดยี 

อาคารที่เปนโบสถ วิหาร นิยมสรางเปนอาคารโถง วิหารมีลักษณะ ใหญกวาโบสถ ใชเปนที่
ประชุมฟงธรรม เสาเปนเสากลมหลังคาซอนทลาย ชั้น กระเบื้องที่ใชมุงเปนกระเบื้องเคลือบแบบสังค
โลก ไมมีการใชชอฟา ใบระกาหางหงสเชนสมัยปจจุบัน ชอฟาเปนสังคโลกชนิดปานลม ทางหงส เปน
สิงหหรือมกรปน ดูไดรอบดาน เปนสังคโลกเขียนลายสีดำ อาคารทรง มณฑปมีลักษณะเปนอาคาร
เหล่ียม มีหลังคาเปนเครื่องไม มุงกระเบื้อง ซอนเปนชั้น ๆ ประมาณ ๓ ชั้น อาคารทรงมณฑปที่มีชื่อ
คอื มณฑปพระอจนะ วดั ศรีชมุ จังหวดั สุโขทัย สว นอาคารทรงเจดยี น้ันแบง ไดออกเปน ๓ แบบ คือ

1. เจดียแ บบสุโขทยั แท เรยี กกันวา เจดยี ทรงพุม ขา วบณิ ท หรือ ทรงดอกบวั มฐี าน
สี่เหลยี่ ม 3 ชั้น องคเ จดยี ยอ เหลี่ยมไมยส่ี ิบ ยอดทำเปน ดอกบัวตูม เจดยี ช นดิ น้ีสรางเปนหลักประธาน
ของวดั ท่สี ำคญั เชน วัดมหาธาตุ เมอื งสุโขทัย และที่เมอื งศรีสัชนาลยั

ภาพเจดียเ จดยี ท รงยอดดอกบวั ตมู หรือเจดยี พ ุมขาวบณิ ฑ ณ วดั มหาธาตุ เมอื งสุโขทัย
ทมี่ า : https://bit.ly/2Q5NjY6

2. เจดยี แ บบทรงลงั กา โดยการนำแบบอยา งมาจากลงั กา พรอมกบั พทุ ธศาสนานิกาย
ลังกาวงศ แตสมัยสุโขทัยไดเปลี่ยนฐานใหสงู ขึ้น องคระฆังไมตั้งตรงอยางของลังกา กลับทำเสน รอบ
นอกองคระฆังใหชะลูดขึ้น เจดียแบบนี้ใชสรางเปนหลกั ประธานของวัดเชนกัน เชน วัดชางลอมเมือง
สโุ ขทัย วดั ชางลอ มเมอื งศรีสชั นาลัย

ภาพพระเจดยี ชา งลอม ที่ศรสี ชั นาลัย
ทมี่ า : https://bit.ly/3lnYAyw

3. เจดยี แบบศรวี ิชัยผสมลังกา เจดยี สรางเปนแบบฐานสูง เปนฐาน 4 เหลย่ี มมซี มุ จรนำ ท่ี
ยอดเปนเจดยี ท รงกลมแบบลังกา และที่มมุ มเี จดยี เล็ก ๆ หรือบางแบบมเี จดียครง่ึ วงกลมชอนกนั เปน
ช้นั ๆ เชน พระเจดียร าย วดั เจดียเ จด็ แถว เมืองศรสี ัชนาลยั

ภาพพระเจดียราย วดั เจดียเจด็ แถว เมอื งศรีสชั นาลัย
ท่ีมา : https://bit.ly/3tHWQU3

ประติมากรรมสำรดิ ไดแ ก พระพทุ ธรปู พระพุทธรปู สมยั สโุ ขทัยจดั เปน รูปประตมิ ากรรม
ที่งามที่สุด อยูในประเภทนามธรรม ซึ่งเปนการจินตนาการที่อยูเหนืออุดมคติ จีวรบางแนบเนื้อ มีเสน
ออนหวาน ผิดแปลกแตกตา งจากธรรมชาติ ซง่ึ พระพุทธรูปสมยั นแ้ี บงออกเปน ๔ หมวดใหญๆ คือ

1. หมวดใหญ สรางทั่วไปตั้งแตยุคตนสุโขทัย พระพักตร กลมเปนแบบผลมะตูม
น้ิวพระหัตถไมเ สมอกัน บางองคช า งปน ปนเลน น้วิ สนั พระบาทและปลายพระบาทใหก ระดก

ภาพพระพุทธรปู แบบหมวดใหญ
ท่มี า : https://bit.ly/38RHfJn

๒. หมวดกำแพงเพชร วงพระพักตรตอนบนกวางกวาตอน ลางมาก พระหนุแหลมเสี้ยม
ศนู ยก ลางศลิ ปะแบบนี้อยูท เี่ มอื งกำแพงเพชร

๓ หมวดพระพุทธชินราช พระพักตรกลมแบบรูปไขแบน ๆ นิ้วพระหัตเเสมอกัน ศิลปะยุคนี้
ศูนยก ลางอยทู เ่ี มืองพิษณุโลก ทีทำของ ประตมิ ากรรมแขง็ กระดางกวาหมวดใหญ

๔. หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน หมวดนี้เปนหมวด ที่มีศิลปะตางสมัยเขามาปะปน
เชน สมัยเชยี งแสน พระพุทธรปู บางองค พระนลาฎแคบ สังฆาฏสิ น้ั การท่เี รียกวา แบบวัดตะกวน น้ัน
เพราะเร่ิมแรก ขดุ พบพระพุทธรูปแบบแปลก เหลา นไ้ี ดท ว่ี ัดตะกวนในเมอื งสุโขทัยเปนอันมาก

ภาพพระพทุ ธรปู หมวดวดั ตะกวน
ทมี่ า : https://bit.ly/3lpu0Vi
นอกจากนม้ี ีการสรางรอยพระพทุ ธบาทและเทวรปู ในศาสนาพราหมณ เชน พระอิศวร พระนารายณ
พระหรหิ ระ พระพรหม และพระอมุ า ดวย และยงั ผลติ เครือ่ งปน ดินเผาเคลอื บ ท่ีเรียกวา เครอื่ งสังค
โลกไดอ ยางงดงามอกี ดว ย โดยพบแหลงเตาทั้งส่ที อี่ ำเภอเมอื งเกาสโุ ขทัย และท่เี กาะนอ ย อำเภอศรสี ชั
นาลัย จังหวัดสโุ ขทยั

8. ศลิ ปะลา นนาหรือศิลปะเชยี งแสน ราวพุทธศตวรรษท่ี 18 – 23
ศิลปะลานนาเดิมเรียกกันวา ศิลปะเชียงแสน ตามชื่อ เมืองเชียงแสน เพราะเคยเชื่อกันวา

เมอื งนเี้ กาแกต ้ังแตร าว พ.ศ. ๑๖๐๐ ลงมา ช่ือศลิ ปะเชยี งแสนยัง อนโุ ลมใชเ รยี กสถาปตยกรรมของวัด
ดว ย มาภายหลังเมือ่ มี การตรวจสอบทางโบราณคดี ปรากฏวาเมอื งเชยี งแสนมี ความสำคัญไมเกากอ น
พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๙ ทั้งศิลปกรรมทีม่ ี รูปแบบทำนองเดยี วกันกไ็ ดพบตามเมอื งอน่ื ในเขตแควน ลานนา
ดวย ชื่อศิลปะลานนาจึงครอบคลุมกวา อยางไรก็ดี สำหรับพระพุทธรูปยังนิยมเรียกกันตาม
ความคนุ เคยวา พระพุทธรปู เชยี งแสน (สันติ เลก็ สขุ ุม 2560 : 123)

ศลิ ปะเชยี งแสน เปน ศิลปะไทยอยา งแทจรงิ ศลิ ปะสมัยเชียงแสน หมายถงึ ศิลปะที่กำเนิดข้ึน
ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยคำวาเชียงแสนเปนชื่อเมืองเกาที่สำคัญเมืองหนึ่ง ในจังหวัด
เชียงราย และการที่ไดพบประติมากรรมบางชิ้นที่งดงาม เมืองเชียงแสนจึงไดเรียกศิลปะที่คนพบวา
ศิลปะแบบเชียงแสน เจริญรุงเรืองแพรกระจายไปทั่วภาคเหนือ ตลอดถึงเมืองเชียงใหม เมื่อเมือง
เชียงใหมมีอำนาจขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีพอขุนเม็งรายเปนผูนำ หลังจากนี้ทรงมีอำนาจ
ครอบคลุมทั่วภาคเหนือเรยี กวา “อาณาจักรลานนา” มีศูนยกลางอยทู เี่ มอื งเชียงใหม

ประตมิ ากรรมไทยสมัยเชียงแสน เปนประตมิ ากรรมในดนิ แดนสุวรรณภูมทิ ี่นบั วา สรางขึ้นโดย
ฝมือชางไทยเปนครั้งแรก เกิดขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๒๑ มีปรากฏแพรหลายอยูตามหัวเมือง
ตางๆ ทางภาคเหนือของไทย แหลงสำคัญอยทู ี่เมืองเชียงแสน วสั ดุทนี่ ำมาสรางงานประติมากรรมมีทั้ง
ปูนปน และโลหะตางๆ ทีม่ ีคา จนถงึ ทองคำบริสุทธิ์ ประตมิ ากรรมเชยี งแสน แบงไดเปน ๒ ยุค คอื

ภาพประกอบ.....
พระศากยสงิ ห พระพทุ ธรปู สำริดปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชยี งแสน ประดิษฐานทพ่ี ระระเบยี ง

วัดเบญจมบพติ ร ดสุ ติ วนาราม กรงุ เทพมหานคร

1) เชียงแสนยคุ แรก
มที ้ังการสรา งพระพุทธรปู และภาพพระโพธิสัตว หรอื เทวดาประดบั ศิลปสถาน

พระพุทธรูปโดยสว นรวม มีพุทธลักษณะคลา ยพระพุทธรปู อินเดีย สมัยราชวงปาละ มีพระวรกายอวบ
อวน พระพักตรกลมคลายผลมะตูม พระขนงโกง พระนาสิกโคงงุม พระโอษฐแ คบเล็ก พระหนุเปนปม
พระรัศมีเหนือเกตุมาลาเปนตอมกลม ไมนิยมทำไรพระสก เสนพระสกขมวดเกษาใหญ พระอุระนูน
ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษณะเปนชายธงมวนเขาหากัน เรียกวา เขี้ยวตะขาบ สวนใหญ
นัง่ ขดั สมาธิเพชร ปางมารวชิ ยั ฐานที่รององคพระทำเปน กลบี บวั ประดบั มที ัง้ บวั ควำ่ บัวหงาย และทำ
เปนฐานเปนเขียง ไมมีบัวรองรับ สวนงานปนพระโพธิสัตวประดับเจดียวัดกูเตา และภาพเทวดา
ประดับหอไตรวัดพระสิงห เชียงใหม มีสัดสวนของรางกายสะโอดสะอง ใบหนายาวรูปไข ทรงเครื่อง
อาภรณเ ชน เดียวกบั พระโพธิสตั วใ นศลิ ปะแบบปาละเสนะของอนิ เดีย หรอื แบบศรวี ิชัย

2) เชยี งแสนยุคหลัง
มีการสรางพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ จากสุโขทัย เขามาปะปนรูปลักษณะ

โดยสวนรวมสะโอดสะองขึ้น ไมอวบอวนบึกบึน พระพักตรยาวเปนรูปไขมากขึ้น พระรัศมีทำเปนรูป
เปลว พระศกทำเปนเสนละเอียด และมีไรพระศกเปนเสนบางๆ ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี
พระพุทธรูปโดยสวนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับวาสวยที่สุด และถือเปนแบบอยางของ
พระพุทธรูปยุคนี้คือ พระพุทธสิหิงค ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ กรุงเทพฯ
พระพุทธรูปเชยี งแสนนี้มกั หลอ ดวยโลหะทองคำ และสำริด

ทม่ี า : สารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชนฯ / เลมที่ ๑๔ / เร่ืองท่ี ๓ ประติมากรรมไทย / ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน

https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=14&chap=3&page=t14-3-infodetail06.html

ศิลปะแบบสมัยเชียงแสนที่รูจักกันดีที่สุดก็คือพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ซึ่งกำหนดเรียกกัน
เปนสามัญวา สิงหหนึ่ง สิงหสอง และสิงหสาม ตามคติความเชื่อแตเ ดิมเชื่อกันวาศิลปะแบบสมัยเชียง
แสนไดรับอิทธิพลจาก ศิลปะอินเดียสมัยราชวงศปาละ (พุทธศตวรรษ ๔ - ๑๘) ซึ่งผานทางประเทศ
พมาโดยพระเจาอุณรฑุ มหาราชกษัตริยแหงเมืองพุกาม แตในปจจุบันไดมี การพิสูจน ทางศิลปะ และ
จากการพบพระพุทธรูปหลาย ๆ องคพบวาพุทธปฏิมา สมัยนี้มีลักษณะเปนแบบคุปตะของอินเดีย
(พุทธศควรรษ ๑๑) มากกวา ศิลปะ เชียงแสนเปนศิลปะของไทยแท ๆ เปนแบบแรก และมีลักษณะ
เปนของตัวเอง ถึงแมจะไดรับอิทธิพลจากอินเดีย เชน รูปปฏิมากร โดยเฉพาะพระพุทธรูป ที่เรียกวา
สิงหหนึ่ง หรือ พระสิงห ไดแกพระพุทธสิหิงค มีลักษณะหระอุระงาม ดังราชสีห พระวรกายอวบอวน
พระนาภีเปนลอน พระเศียรกลม พระเนตร มองต่ำไมเบิกโพลง คือมองเปนระยะทอดประมาณ ๕๕
องศา พระนาสิกงุม พระหนุเปนรอยแบบหยิก ที่เรียกกันสามัญวา คางหยิก เม็ดพระศกทำเปน กัน
ทอยใหญ ยอดรัศมีไมทำเปนเปลวแตทำเปนดอกบัวตู ชายผาสั่งมาฏิ ที่พาดบนพระพาหาดานซายทำ
เปนแบบเขี้ยวตะขาบ เปนการแสดงที่ทาทาง ศิลปะอีกแบบหนึ่ง เพราะจะสรางใหแบนเรียบ ๆ ก็ได

แตเปนลูกเลนในเชิงชางชายจีวรที่พาดจากพระกรดานซายก็เชนกัน แทนที่จะทำเปนจีวรริ้วก็ทำเปน

เสนพาดแบบเขีย้ วตะขาบ ชายสงั ฆาฏิทพ่ี าดลงน้ัน พาดอยเู หนอื พระดนั เรียกกนั วาสิงหหนึ่ง ถาเรียก
สิงหสองจะอยูระหวางพระถันและพระนากี ถาอยูจรดพระนาภีก็ เรียกวาสิงหสาม พระพุทธรูปแบบ
สิงหสามนี้เปนพระพุทธรูปแบบศิลปะ เชียงใหม โดยมีเชียงใหมเปนราชธานี ไดรับอิทธพิ ลจากสุโขทัย

บัวที่รองรับ ฐาน เปนบัวชอนกลีบใหญ มีเกสรบัว กลีบบัวมีกลีบเล็กแชม ประติมากรรมท่ี ปน เปน

ภาพบุคคลโดยเฉพาะภาพเทาดาหญงิ หรอื ชาย มลี กั ษณะการนุงผา เปน ผาชนดิ ยาว สวมเครื่องประตับ

ทางดา นหนา (หนา จ่ัว ฉบบั ที่ 14, 2540 : 1)

สิงห์หนง่ึ สิงห์สอง สิงห์สาม

ทีม่ า
https://www.facebook.com/1880368592287798/posts/2043007272690595/

ลักษณะสถาปต ยกรรมแบบเชียงแสน ท่เี กย่ี วกบั ศาสนาพทุ ธ คอื การสรา งโบสถ วหิ าร และ
เจดยี โ บสถและวหิ าร

เจดยี สมยั ลานนาแทบทง้ั หมดกอ อฐิ ฉาบปูน บางองคห ุม จังโกแลวลงยางรัก เพื่อปด
ทองคำเปลว เจดียท รงตา งๆ สว นใหญ ยงั เหลือเคาโครงเดิมใหศ กึ ษา รปู แบบของเจดยี สมยั ลานนาอาจ
แบงอยางกวางๆ ออกได ๓ แบบ คือแบบที่เรยี กวา เจดียทรงปราสาทยอด เจดียทรงระฆัง และเจดยี 
ทรงเบ็ดเตล็ด

1) เจดียทรงปราสาทยอด มีสวนเกี่ยวของกับอิทธิพล ศิลปะหริภุญชัย แตตัวอยางเจดียของ
หริภุญชัยก็มีอยูอยางจำกัด และผานการบูรณะปรับปรุงมาแลว ไดแก เจดียทรงปราสาทที่มีหายอด
ของวัดปาสัก เชียงแสน มีฐาน ซอนลดหลั่นรองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยมยกเก็จ จระนำประจำดาน ทั้งส่ี
ของเรือนธาตุประดษิ ฐานพระพทุ ธรปู ยืน เหนอื เรอื นธาตุมี ยอดหา ยอด ยอดกลางคือประธานของยอด
บรวิ ารทง้ั ส่ีซึ่งประจำทีม่ ุม

ภาพ เจดียท รงปราสาทท่ีมีหา ยอดของวดั ปาสัก เชียงแสน
https://www.xn--l3cni1bycd0k.com/th/story/category/detail/id/9/iid/58

2) เจดียทรงระฆงั ทวี่ ดั พระธาตุหริภุญชยั จังหวดั ลำพูน คอื พระธาตุหริภญุ ชัย นบั วา เปน
แบบฉบับอนั สมบรู ณและงดงามทส่ี ดุ ของเจดียท รงน้ี โดยกอไวเ ปนทรงปราสาทมากอน ภายหลัง กอ
ครอบหรอื เปลี่ยนแปลงใหเปน เจดียทรงระฆงั แบบลานนาดงั ทีเ่ ห็นอยูในปจจบุ นั ที่บง ถึงแบบอยางอัน
ควรเปนงานในรชั กาล พระเจาติโลกราช รวมถงึ พระธาตุลำปางหลวง วดั พระธาตุลำปางหลวง จังหวดั
ลำปาง คือเจดียท รงระฆงั ของลานนาอกี แบบหน่งึ ทม่ี ลี ักษณะ บางประการของเจดยี ทรงระฆงั ของ
ศิลปะสุโขทัยเขา ผสม คอื ชดุ บวั ถลาทร่ี องรับทรงระฆงั แทนท่จี ะเปนชดุ ฐานตามแบบเฉพาะของ เจดีย
ทรงระฆงั ของลานนา

ภาพเจดยี พ ระธาตหุ ริภุญชัย ภาพพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปาง
จงั หวดั ลำพนู หลวง จงั หวดั ลำปาง

3) เจดยี แบบเบด็ เตล็ด ตวั อยา งเจดยี แบบเบด็ เตล็ดของลา นนา เชน เจดียท รงสูงประกอบจาก
ชั้นซอนลดหลน่ั แตล ะชน้ั มแี ถวจระนำ เพ่อื ประดษิ ฐานพระพทุ ธรูป คอื เจดียว ดั ตะโปทาราม จังหวัด
เชียงใหม

ภาพเจดยี ว ัดตะโปทาราม จงั หวดั เชยี งใหม
ท่มี า : https://1th.me/j3xhX

สำหรับงานปนปูนประดับ ไดร บั ความนิยมมาตงั้ แตเรม่ิ แรก ของแควนลานนา ภายหลงั จึง
นยิ มใชป นู นำ้ มัน งานปูนปน ประดับ เจดยี ใ นระยะแรกของลานนาภายในราชธานีเชียงใหมท ีค่ วรกลาว
ถงึ คอื งานประดับเจดียแ ปดเหล่ยี ม วดั สะดอื เมอื ง (ราง) ปจ จุบนั

อยูภายในบรเิ วณศาลากลางเกา คอื ปูนปน ทซ่ี ุมจระนำของเจดยี  ขนาดเลก็ องคน ี้มีลายกระหนกมว น
โคง แตล ะตัวเรยี งชิดกนั เปน แผง กรรมวธิ ีของงานปน ที่แสดงความนนู มากนอ ยสัมพนั ธก ับการ เรยี ง
ตอ เน่ืองของตัวลายคอื ฝม ือเกา เช่อื วาทำขนึ้ คราวเดียวกับ งานสรา งเจดยี ใ นสมัยแรกของราชธานี
(ภาพที่ ๙๗) ลกั ษณะและ กรรมวธิ ีปนลายทกี่ ลา วแตกตา งจากงานประดบั จระนำของเหลียม ขา งเคียง
ซง่ึ ปน เปนลายโปรงคลายฉลุตวั ลาย มที ง้ั ทีพ่ ลกิ พลวิ้ อยาง เต็มทีแ่ ละมที ้งั ตดั แตง อยางครา วๆ ลักษณะ
และกรรมวธิ ดี ังกลา ว ไมพ บในระยะแรกของราชธานี จึงสรปุ วา คืองานบูรณะเชนกัน (ภาพท่ี ๙๘)
ลวดลายประดับของศิลปะลานนายังหลงเหลอื อยูมากและ ยงั มที ่นี าจะศกึ ษาคน ควา เชน งานประดับ
ประตโู ขงวัดพระธาตุ ลำปางหลวง แตง านประดบั สมบรู ณแ บบแหง นม้ี ีประเดน็ ของการ
บูรณะปฏิสังขรณ เชน การปน ข้ึนใหมแทนสวนทชี่ ำรดุ ไมว า จะ โดยเลียนแบบเดมิ หรือนำแบบเกามา

ปรับปรงุ ใหมยอ มมอี ยูดวย งานบูรณะปฏสิ งั ขรณของชาวลานนาในอดีตและในปจจบุ นั ซึ่งยงั มีอยเู สมอ
มา เพราะพื้นฐานของศรทั ธาในการทำบุญสรางกศุ ลและ รวมท้ังประการสำคัญคอื ความผกู พนั กับอดตี
อนั ยาวนานและยัง มชี วี ติ อยแู หงนี้ จติ รกรรมสมยั ลานนาหลงเหลืออยนู อยมาก คงเพราะสว น ใหญ
เขียนประดับผนังวหิ าร ผนงั ไม หรอื ปูนกต็ าม เมือ่ ซำรุด ทรดุ โทรมไดร ับการปฏิสังขรณห รือรื้อ
สรางใหม หลกั ฐานดา นนี้ จึงเหลอื เฉพาะงานรนุ หลงั สำหรับทว่ี าเกา แกทส่ี ดุ ของลา นนา ทร่ี ูจ ักกนั คอื
จิตรกรรมฝาผนังในกรุเจดียวัดอุโมงคเ ชิงดอยสเุ ทพ เชยี งใหม เคาของภาพพระอดตี พทุ ธเจาและ
ลักษณะลวดลาย ที่เขยี นประดบั ใตภ าพ ชวนใหเ ชื่อวา เกีย่ วขอ งกบั ลวดลายแบบ กรุงศรอี ยธุ ยาตอนตน
ในพุทธศตวรรษท่ี ๒0 (สนั ติ ๒๕๓๘ : l๒๓๓- ๒๓ ๕) หลงั จากน้ันก็มจี ติ รกรรมบนแผงไมข องวหิ ารนำ้
แตม วดั

พระธาตลุ ำปางหลวงซงึ่ ชำรดุ มากแลว วาดภาพนทิ านประวัติ มฆมานพ (ประวตั พิ ระอนิ ทร)
นอกจากนี้ก็มีภาพภูเขาสตั บริภณั ฑ เราอาจศกึ ษาลักษณะของบา นเรอื นทา มกลางภูมปิ ระเทศ ปาไม
ขนุ เขา รวมทั้งเครอ่ื งแตงกายของชายหญิงไดจ ากภาพเขยี นแหงนี้ เภาพท่ี ๙๙) ขอ สันนษิ ฐานกำหนด
อายุ หากองิ ปท ีม่ กี ารปฏสิ งั ขรณ เจดยี พ ระธาตลุ ำปางหลวงกอ็ ยูใน พ.ศ. ๒๐๗๕ (พงศาวดารโยนก
๒๕๑๕ : ๓๗๕) จติ รกรรมลานนาท่ีผนงั วิหารของวดั ตา งๆ ในเชยี งใหม เชน ทวี่ หิ ารลายคำ วดั พระสงิ ห
ที่มีชื่อเสยี ง ผนงั ดา นขวาพระประธาน เขียนภาพเรือ่ งสวุ รรณหงส ดวยแบบอยางอิงทางภาคกลาง
ผนัง ดา นซา ยของพระประธานคือเรอ่ื งสงั ขท อง สงั เกตลกั ษณะทอ งถ่นิ ไดซ ัดเจน จิตรกรรมฝาผนงั
ของวหิ ารแหงน้สี ะทอ นการรบั อิทธิพล วฒั นธรรมทงั้ จากพมา และจากกรงุ เทพฯ ในปลายรัชกาลท่ี ๔
หรือ ตนรชั กาลที่ ๕ อนั เปนระยะทเี่ ขียนภาพ ดงั นั้นบางดานของสงั คม ชาวเชยี งใหมในระยะนน้ั จงึ
ศึกษาไดจ ากจติ รกรรมฝาผนังของ วิหารลายคำนี้ (ภาพท่ี ๑๐๐) จติ รกรรมลานนาท่ีผนังวหิ ารจัตรุ มขุ
ของวดั ภูมนิ ทร นา น เภาพท่ี ๑๐๑) คงเขียนขนึ้ ในระยะไลเลย่ี กับจติ รกรรมทีว่ ัดพระสงิ ห เชยี งใหม แต
จิตรกรรมของเมอื งนานยงั รักษาลกั ษณะทอ งถน่ิ ได มากกวา เชียงใหม ประวัตศิ าสตรอ นั ยาวนานของ
ราชธานเี ชยี งใหม สวน หนง่ึ คืองานชางภายในวดั วาอารามทเ่ี คยี งคูอ ยูก บั อาคาร พาณิชยใ นปจ จบุ นั
บรรยากาศพเิ ศษของอดตี ราชธานีทีย่ งั มี ชีวติ แหง น้จี งึ ตอ งการสมดุลระหวา งความเปน หลักฐานของ
อดีตกับปจจบุ นั ที่ไมเคยหยดุ นิง่

9. ศิลปะอูทอง (พุทธศตวรรษท่ี 17 - 20)
ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยแถบ เมืองลพบุรีและสุพรรณบุรีในชวงกอนการ

กอตั้งกรุงศรีอยุธยา ที่เรียกวา "อูทอง” นั้น เพราะเขาใจวา เปนเมืองของพระเจาอูทอง กอนที่จะทรง
ยา ยราชธานมี าสรางเมอื งใหมท ี่กรุงศรอี ยธุ ยา แตจ ากหลกั ฐานทางโบราณคดี ไดพ สิ จู นใหเห็นวา เมือง

อูทองเปนเมืองสมัยทวารวดีที่รางไปแลวตั้งแตก อ นสรางกรุงศรีอยุธยาประมาณ 300 ป อยางไรก็ตาม
ไดพ บ หลักฐานทางศลิ ปกรรมบรเิ วณภาคกลางของประเทศไทยระหวา งพทุ ธศตวรรษท่ี 17 – 19 ท่ีมี
อทิ ธิพลของศิลปะทวารวดแี ละศลิ ปะขอมปะปนอยู นักวชิ าการจึงอนโุ ลมเรยี กศลิ ปะนีว้ า "แบบอูทอง”
โดยเปน ท่ีเขา ใจกนั ท่ัวไป แลว วา หมายถึงศิลปะในภาคกลางทเ่ี กดิ ข้ึน กอนสมยั อยธุ ยา โดยมีหลกั ฐาน
ดานงานชา ง คอื ศิลปะอทู อง ซ่ึงเปนแบบอยางพระพุทธรูปเปนหลกั สำคัญ ซึ่งพระพุทธรูปแบบอูทอง
แบงเปน 3 รนุ (สันติ เล็กสขุ ุม 2560 : 151 – 153) คือ

1) พระพุทธรปู แบบอูทองรุนที่ 1 พบไดในเขตเมืองสรรคบุรี ชัยนาท โดยมลี ักษณะ
ที่เกี่ยวของกับอิทธิพลศิลปะในวัฒนธรรมขอม (ศิลปะลพบุรี) ไดแก พระพักตรคอนขางเหลี่ยม
พระนลาฎกวา ง มไี รพระศก ความกวา งของพระนลาฎรับกบั แนวพระขนงท่ีตอ กัน คลายรปู ปก กา พระ
รัศมีเหนืออุษณีษะรูปคลายดอกบัวตูม ทรงครองจีวรเฉียง ชายจีวรเปนแผนยาวปลายตัด ประทับ
ขัดสมาธิราบ พระหัตถแ สดงปางมารวชิ ยั

ภาพพระพุทธรปู ปางมารวชิ ัย สำรดิ พบที่อำเภอสรรคบุรี จงั หวดั ชยั นาท
พระพทุ ธรูปแบบอูทองรนุ ที่ 1
ที่มา : shorturl.asia/3nCBb

2) พระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 2 พระรัศมีเปลี่ยนมาเปนรูปเปลวบางองคมีพัฒนาการ
เดนชัดของชาย จีวรที่แยกออกคลา ยเขยี้ วตะขาบ ซึ่งมอี ยกู อนในพระพทุ ธรปู แบบสโุ ขทยั พระพุทธรูป
แบบอูทองรุนที่ 2 นี้ ควรเปนแบบอยางใน พุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ดังพระราชพงศาวดารฯ
(2515 : 553) ระบุการสรางพระพุทธรูปกอนการสถาปนาราชธานี 26 ป คือ พระเจาพนัญเชิง
พระพทุ ธรูปสำริดขนาดมหมึ าองคน้ีหลอดว ย สำรดิ ประดษิ ฐานอยภู ายในวิหารวดั พนัญเชงิ ทางฝง
ใตนอก เกาะเมือง คอื แบบอยางของพระพุทธรปู แบบอทู องรุนท่ี ๒ อีก องคห นงึ่

ภาพพระพทุ ธรูปปางมารวิชยั สำรดิ พบท่ีวดั เสาธงทอง จงั หวดั ลพบรุ ี
พระพทุ ธรูปแบบอูทองรุนท่ี 2
ท่มี า : shorturl.asia/3nCBb

3) พระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 3 อิทธิพลศิลปะสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น พระพักตรรูปไข เกิด
จากพระนลาฏแคบเชนเดียวกับพระพักตรรูปไขของพระพุทธรูปแบบสุโขทัย พระวรกายเพรียวบาง
กวารุนกอน จึงดูวาเกี่ยวของกับความงาม ของพระพุทธรูปแบบสุโขทัยยิ่งขึ้น กำหนดอายุความนิยม
สราง พระพุทธรูปรุนนี้อยางชาก็กลางพุทธศตวรรษที่ 20 ไดพบจำนวนมากในกรุปรางคประธานวัด
ราชบูรณะ พระนครศรีอยธุ ยา ซึ่ง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจาสามพระยาโปรดใหส รา งขึ้น ใน
พ.ศ. 1967 จึงนับวาพระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 3 เปนพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนตนไดดวย
รูปแบบพระพุทธรูปแบบ อูทองรุนที่ 2 และรุนที่ 3 ฐานมักมีฐานเต้ีย เรียบงายในทรงบัวหงาย –
บัวควำ่ (ปทมาสน) โดยไมประดับรายละเอียดรปู กลีบบัว

ภาพพระพุทธรูปปางมารวิชยั สำรดิ พบภายในกรุปรางควดั ราชบรู ณะ พระนครศรอี ยธุ ยา

พระพทุ ธรปู แบบอูท องรนุ ที่ 3
ท่มี า : shorturl.asia/3nCBb

กอนสถาปนากรุงศรอี ยุธยาราว 100 ป คงมีการสรางวดั พระศรีรตั นมหาธาตุ ลพบุรี ซึ่งมีพระ
ศรีรัตนมหาธาตุทรงปรางค คือ เจดียประธานของวัด และนับวาเปนเจดียทรงปรางคในระยะแรก
ปรับปรงุ จากเคา โครงของปราสาทแบบขอม รวมท้งั ลักษณะทคี่ ล่คี ลายมาของงานปูนปน ประดับปรางค
สำคญั องคน ้ดี ว ย การทีป่ รางคพระศรรี ัตนมหาธาตอุ งคน ้ี สรางข้นึ ในชวงเวลารว มสมัยกับพระพุทธรูป
แบบอูทอง จึงอนุโลมวาอยูในศิลปะอูทอง และเปนตนแบบของปรางคที่จะสรางขึ้นในกรุงศรีอยุธยา
ดวย (สนั ติ เล็กสุขุม 2560 : 153 อางถึงสภุ ทั รดศิ 2538 : 31)

ภาพพระศรรี ัตนมหาธาตทุ รงปรางค วดั พระศรีรตั นมหาธาตุ จงั หวัดลพบุรี
ทีม่ า : https://www.touronthai.com/article/2164

10. สมยั อยุธยา (ปลายพทุ ธศตวรรษที่ ๑๙ - ตนพุทธศตวรรษที่ ๒๔)
ตามความเชอ่ื ในศาสนาฮนิ ดทู ่ปี ะปนผสมผสานกบั พทุ ธศาสนามมี าแลว ตั้งแตแรกเร่มิ ราชธานี

ดังลลิ ติ โองการแชงน้ำ คำอา นในพระราชพธิ ีถือน้ำพระพิพัฒนส ตั ยา ซึ่งอางถงึ เทพเจาตางๆ ในศาสนา
ฮนิ ดเู พอื่ เสริมพระราชอำนาจทาง การเมอื ง ทำใหพ ระมหากษตั ริยท รงเสมอื นเทวราช ผทู รง อำนาจ
เด็ดขาด และทรงความศกั ด์ิสิทธใ์ิ นปรมิ ณฑลท่มี ีเมืองหลวงในฐานะศนู ยก ลางปกครองของเมอื งบรวิ าร
ท่อี ยูโดยรอบ (สันติ สุขเลก็ 2560 : 159 – 160)

พระเจา อทู อง (สมเด็จพระรามาธิบดที ่ี 1) ทรงสถาปนากรงุ ศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1893 กองทัพ
ของกรุงศรีอยุธยาก็ขึ้นไปคุกคาม สุโขทัยเปนระยะ จนผนวกเอาสุโขทัยและเมืองบริวารไวในอำนาจ
โดยที่การยึดครองอยางเบ็ดเสร็จจะเกิดขึ้นในตนพุทธศตวรรษที่ 21 คือหลังจากกรุงศรีอยุธยาชนะ
สงครามอันยืดเยื้อ กองทัพเมือง เชียงใหมที่ลงมายึดเมืองศรีสัชนาลัยตองคืนทัพกลับไป การถายเท
ศิลปวัฒนธรรมครัง้ สำคัญระหวา งราชธานีทาง ภาคกลางกับราชธานภี าคเหนือเพ่ิมมากขึ้นหลงั สงคราม

ครั้ง สำคัญนั้น ยิ่งกรุงศรีอยุธยาเปนเมืองทา มีการติดตอคาขายกับตางประเทศทั้งชาวตะวันตกและ
ชาวตะวันออกดวยกันเอง กรุง ศรีอยุธยาจึงยิ่งมีความหลากหลาย ยืดหยุนในการเลือกรับปรับ เอา
ลักษณะใดๆ ทางวัฒนธรรมที่แพรหลายจากภายนอกเขามาผสมผสานการเผชิญหนาและความเปน
พันธมิตรกับเชียงใหมยัง สลับกันมาเปนระยะ เกี่ยวโยงจนกลายมาสูกรณีพิพาทกับพมา ซึ่งตอมากรงุ
ศรีอยุธยาก็พายแพเสียกรุงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2112 แตไมนานนักสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงกอบกูเอก
ราชกลับคืนมาได และผานมาถึง พ.ศ. 2310 จึงเสียกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งเปนครั้ง สุดทาย
โบราณสถานรางในอดีตราชธานีกรุงศรีอยุธยา ไดรับ ยกยองวาเปนมรดกโลกคราวเดียวกับอุทยาน
ประวัติศาสตร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร โดยกำหนดชื่อวา นครประวัติศาสตร
พระนครศรีอยุธยา สวนวัดโบราณสมัย กรุงศรีอยุธยาในจังหวัดใกลเคียง เชน เพชรบุรี ราชบุรี และ
กรุงเทพฯ ที่มีพระภิกษุจำพรรษา จึงหลงเหลืองานชางโบราณ มาถึงปจจุบัน โดยเฉพาะจิตรกรรมฝา
ผนงั ซึ่งยงั มีสภาพดีกวา วัดทีอ่ ยใู นจังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยาเอง

ศลิ ปะอยุธยาเร่ิมต้งั แตพ ระเจา อทู องสรา งกรุงศรอี ยุธยา พ.ศ. 1893 จนถงึ เสียกรุงครั้งที่ ๒
พ.ศ. 2310 ศิลปะสมยั อยธุ ยาน้นั แบง ออก เปน 4 ระยะ (หนา จว่ั ฉบบั ที่ 14 , 2540 : 73 – 81) คือ

1) ศลิ ปะอยธุ ยาระยะท่ี 1 นับตงั้ แตพ ระเจา อทู องสรางกรงุ ศรอี ยธุ ยา เมื่อป พ.ศ. 1843 -
พ.ศ. 1991 รวมระยะเวลาประมาณ 94 ป ศลิ ปะอยุธยาในยุคนน้ี ิยมศิลปะแบบลพบรุ ี จะเห็นไดจ าก
สถาปตยกรรมโดยเฉพาะการสรางวดั นิยมการสรา งปรางคเ ปน หลกั ประธานของวัด มพี ระวิหารอยู
หนาปรางค มรี ะเบียงคดลอ มรอบปรางค ไมมีหนา ตา ง จะมีแต ชองลมแบบชลี กู กรง เรยี กวา
แบบเสามะหวค หรือบางแหง ทำเปนแบบสนั เหลี่ยมมอี กเลา วัสดุทใ่ี ชใ นการกอ สรา งสว นใหญเปน อฐิ
รูปประตมิ ากรรม มที ัง้ รปู เทพเจา และพระพทุ ธรปู พระวรกายทง้ั หนาและบาง มลี ักษณะ ทา ทางขึงขัง
บวั รองฐานทำเปนฐานแอนโคง การประดบั ตกแตง สถาปตยกรรม นั้นตกแตงดวยลาดลายปนู ปน
ลักษณะลวดลายท่ปี นเปนลายแบบเครือเถา ตามธรรมชาตแิ ละลายประดษิ ฐ

2) ศลิ ปะอยุธยายุคทีส่ อง นบั ต้ังแตส มัยพระบรมโตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 ถึงสมยั พระเจา
ทรงธรรม พ.ศ. 2171 ระยะเวลาประมาณ 180 ป อยุธยาระยะที่สองนก้ี ลบั ไปนยิ มศิลปะแบบสโุ ขทยั
เพราะสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเปน กษตั รยิ ทมี่ เี ชือ้ สายราชวงศส ุโขทัย พระองคไ ดยา ยราชธานีไป
อยู ณ เมอื งพิษณุโลกดว ยเหตุผลทางการเมืองระหวางอยธุ ยากับเชียงใหม เพราะ ในขณะน้ัน
พระเจาติโลกราชกำลังแผพ ระบรมเดชานภุ าพลงมาทางใต

ศิลปะสถาปตยกรรมในยุคที่สองน้ีนิยมสรางสถาปตยกรรมแบบสุโขทัย โดยเฉพาะการ
สรางเจดียทรงกลม ที่เรียกกันโดยสามัญวา ทรงลังกา การสรางอาคารโดยเฉพาะโบสถ วิหาร
มีลักษณะแนน บึกบึน กวางใหญ ลักษณะ อาคารโบสถหรือวิหารก็ดีจะมีลักษณะยกฐานสูง นิยมมี
พะไลทางดานขาง เชน วัดหนาพระเมรุ วัดเหยงค ฯลฯ ลักษณะประติมากรรมในยุคนี้เปนลักษณะ
ท่ีตอเน่ืองกบั ศลิ ปะอยธุ ยายุคตน ซ่ึงคล่คี ลายมาจากศลิ ปะแบบอโยธยา โดยเฉพาะงานประติมากรรม

ที่เกี่ยวกับพระพุทธรูป มีลักษณะออนโยนไมกราวเหมือน ยุคแรก ๆ นิยมเรียกกันวา แบบหนานาง
การสรางเจดียนิยมสรางเปนเจดีย ทรงกลมแบบเจดียสุโขทัย เชน เจดียที่วัดพระศรีสรรเพชญ และ
เจดียวัดใหญช ัยมงคล งานดานประณตี ศิลป มีการแกะไมและเคร่ืองทองที่แสดงถึงความ อลังการตาง
ๆโดยเห็นไดจากการขุดพบที่กรุปรางคประธานวัดราชบูรณะ เมื่อป พ ศ. 2500 ในสมัยอยุธยายุดที่
สองนี้ ไทยไดมีความสัมพันธกับจีนเปนอยางมาก พวกเครื่องใชโดยเฉพาะเครื่องถวยสังคโลก แตเดิม
ทำกันเองท่ี เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ตอมาเปลี่ยนเปนการสั่งจากประเทศจีนเขามาใช และจาก
ครั้งนี้เองศลิ ปะตาง ๆ จากประเทศจีนโดยเฉพาะเครื่องถวยชามที่เรียกวา ถวยชามสมัยราชวงศเหม็ง
(พ.ศ. 1911 - 2187) ไดก ลายเปน สนิ คา ขาเขา ในประเทศไทยอยา งมากมาย

3) ศลิ ปะอยธุ ยายดุ ทส่ี าม นับแตพระเจาปราสาททอง พ.ศ. 2173 ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจา
ทายสระ พ.ศ. 2251 ระยะเวลาประมาณ 78 ป สมยั นพ้ี ระเจาปราสาททองทรงแผพระบรมเดชานุ
ภาพไปตปี ระเทศกมั พชู าไว ไดในพระราชอาณาจกั รกรุงศรอี ยธุ ยา ทรงโปรดศิลปกรรมแบบเขมร โดย
โปรดเกลาฯ ใหจ ำลองพระนครวดั มาสรางไว ณ ตำบลวดั เทพจันทร รมิ แมน ้ำปา สกั แลว โปรดเกลาฯ
ใหเรียกวา ตำหนกั พระนครหลวง เพอื่ ใชเ ปนทีป่ ระทบั พักรอนในขณะเสด็จไปนมสั การพระพุทธบาท
สระบรุ ี แตก ารกอสรา งทำไดไมใ หญโต จึงแปลงเปน วดั ไป ทั้งยงั โปรดเกลา ฯ ใหส ถาปนาที่ดนิ ทพ่ี ระ
นวิ าสสถานเดิมขึ้นเปนวัดพระราชทานนามวา วดั ไชยวฒั นาราม ศิลปกรรมอยธุ ยา ยุคนีก้ ารกอสรา ง
เรมิ่ มหี นาตางเปด ปดได ดังจะเห็นไดจ ากการกอสรางอาคารบางหลงั ในจงั หวัดลพบุรี

ซึง่ กอสรา งในสมยั พระนารายณ อิทธพิ ลทางสถาปต ยกรรม แบบยโุ รปไดเ รม่ิ แผเขา มามี
อิทธพิ ลอยใู นสถาปตยกรรมไทยตัง้ แตน ัน้ มา การกอสรา งซุมประตหู นาตา งโคง แหลมแบบ Gothic ก็
เริ่มมอี ิทธพิ ลในยคุ นี้ เชน ซุมประตูทางเขาพระบรมมหาราชวงั ท่ีลพบรุ ี และวดั บางวดั ท่ีอยุธยา เชน
วดั กุฎดี าว

สถาปต ยกรรมโตยเฉพาะอาคารตาง ๆ เริ่มนิยมทำเปนเสน โคงทฐ่ี าน และหลังคา ลกั ษณะเสน
โคงในสถาปต ยกรรมอยธุ ยาน้ี คงจะเปน ลักษณะ สืบเนื่องมาแตครั้งศลิ ปะสมัยสโุ ขทัยแลว โดยเฉพาะ
ชายคาชัน้ ปกนกนน้ั ศลิ ปะอยุธยาไมนิยมสรา งยนื่ ออกมามาก การมงุ หลงั คานยิ มใชกระเบื้องชนิดหาง
ตัด และกระเบอื้ งชนดิ กาบ มีกระเบ้อื งเชงิ ขายประกอบ กระเบอ้ื งทใ่ี ชม งุ ทเ่ี ปน กระเบอ้ื งเคลือบน้ันมี
ใชเปน ครง้ั แรกในแผน ดินพระเพทราชา โดยใชม งุ ท่วี ดั บรมพทุ ธาราม ตรงพระนวิ าสสถานเดมิ กอ น
เสวยราชย ซ่งึ ชาวอยธุ ยาเรียก ตดิ ปากเปน สามัญวา วดั กระเบ้อื งเคลอื บ ศิลปะอยุธยายุคท่ีสามนีย้ งั มี
ลักษณะ เจดยี ท ี่เปนแบบฉบับอกี ลักษณะหน่งึ คือ เจดียย อ เหลย่ี มไมสบิ สอง ซงึ่ สราง ในสมยั พระเจา
ปราสาททอง เชน ท่ีวดั ชมุ พลนิกายาราม อำเภอบางปะอนิ จังหวดั อยธุ ยา

4) ศิลปะอยธุ ยายคุ ทส่ี ี่ นบั ตง้ั แตส มัยพระเจาบรมโกศ พ.ศ. 2275 ถงึ เสียกรุงครงั้ ท่ี 2 พ.ศ.
2310 ศิลปะอยธุ ยาสมยั น้เี ปน สมยั ทม่ี กี ารซอ มแซม มากวา ทจ่ี ะสรา งข้ึนใหม พระเจา บรมโกศทรงมี
พระราชศรัทธาที่จะปฏสิ งั ขรณม ากกวา จะทรงสรา งใหม โดยเห็นไดจ ากวดั ตา ง ๆ ทั้งในกรุงและ

หัวเมือง เชน เจดยี ภ ูเขาทองท่อี ยุธยา ฯลฯ และศิลปกรรมช้นั เยย่ี มที่มอี ยตู ามหัวเมอื งเปน ศลิ ปะที่
สรางข้นึ ในสมัยน้ที งั้ สิน้ เชน บานประตมู ุก ธรรมาศนเทศนใ นวิหารพระพุทธชินราชท่พี ษิ ณโุ ลก
สถาปต ยกรรมในยุคทสี่ น่ี ้ี นิยมเสนฐานและเสนหลงั คาออนโคง เปนแนวขนาน ประณตี ศิลปท ข่ี น้ึ ชื่อ
อีกอยา งหนึ่งของศิลปะอยธุ ยาในยุคนี้ คือ เครอื่ งเบญจรงค โดยไทยเปน ผใู หแบบอยางสัง่ ทำจากเมอื ง
จีน พน้ื ภายใน ชามเปนสเี ขยี ว ภายนอกเปนภาพและสายดอกไม ฯลฯ จติ รกรรมของศิลปะอยธุ ยายุค
น้ี แตกตางกบั จติ รกรรมอยุธยาแรก ๆ โดยที่เปล่ียนคตินิยมจากภาพเขียนทน่ี ยิ มแบบซมุ เรอื นแกว
เปลีย่ นเปน ภาพเลา เร่ือง สีกเ็ พม่ิ มากสีขึน้ แตยังไมคำนงึ ถึงหลกั สถาปตยกรรมและภาพบุคคล
ประกอบในภาพทีจะตองมีความสมั พนั ธกนั ตามสดั สวนซงึ่ เปนจริง

11. สมัยรตั นโกสนิ ทร (พุทธศตวรรษ ท่ี ๒๔ - ปจจุบัน)
ในสมยั รัตนโกสนิ ทรตอนตน (โดยเฉพาะในรชั กาลท่ี ๑ และรชั กาลที่ ๒) มกี ารสรา ง

พระพทุ ธรูปข้นึ ใหมไ มมากนกั เพราะถือเปน สมัยแหงการสรางบา นแปงเมอื ง มกี ารสรา งพระราชวงั
และวดั วาอาราม สว นพระพุทธรปู นนั้ โปรดเกลาฯ ใหไ ปชะลอมาจากราชธานเี กา โดยเฉพาะจากกรุง
สโุ ขทัย และพระราชทานไปตามวดั ตา งๆ พระพทุ ธรปู ทม่ี กี ารสรา งขนึ้ ใหมส วนใหญเปนพระพทุ ธรูป
กออิฐถือปูน ลักษณะทสี่ ำคัญซ่งึ สบื ทอดมาจากพระพุทธรูป สมัยอยธุ ยาคอื พระพกั ตรสเี่ หล่ยี มเครง
ขรมึ ขมวดพระเกศาเลก็ พระรศั มีเปนเปลว สังฆาฏิ เปน แผนใหญ ตวั อยา งเชน พระประธาน ในพระ
อโุ บสถวัดมหาธาตยุ วุ ราชรงั สฤษดิ์ราชวรมหาวหิ าร ในรชั กาลที่ ๓ ไดมีพระพทุ ธรปู แบบใหมเกดิ ขึ้น
พระพทุ ธรูปดังกลาวมีลกั ษณะ พระพักตรค ลายกบั หนุ ละคร รวมทงั้ พระราชนิยมในการสรา ง
พระพทุ ธรปู ทรงเครอื่ งใหญ พระพทุ ธรปู ทส่ี ำคญั ไดแ ก พระพุทธยอดฟา -จฬุ าโลก และพระพทุ ธเลศิ
หลานภาลยั ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรตั น-ศาสดารามในรชั กาลที่ ๔ นิยมสราง
พระพทุ ธรปู ใหเ หมือนจรงิ มากข้ึน โดยพระพุทธรปู ไมมพี ระ-เกตมุ าลา และการครองจีวรมรี วิ้ แบบ
สมจรงิ แตใ นรชั กาลที่ ๕ ไดยอนกลับไปสรา งพระพทุ ธรปู แบบมีพระเกตุมาลาตามเดิม จนเขา สู สมยั
แหง งานศิลปกรรมรว มสมยั จงึ ไดนำรปู - แบบพระพทุ ธรปู ทีเ่ คยมีมากอ น มาสรา งใหม หรอื
ปรับเปล่ียนบางอยางทเ่ี ปน ความนิยมสมยั ใหมเพ่มิ เขาไป รูปแบบท่ีมกี ารนำกลบั มาสรา งเปน อยา งมาก
ไดแ ก พระพุทธรปู สมยั สโุ ขทยั เชน พระพทุ ธรปู ลลี า ซงึ่ เปนพระ-ประธานที่พุทธมณฑล มชี ือ่ วา พระ
ศรีศากยะ-ทศพลญาณประธานพทุ ธมณฑลสทุ รรศน ซึ่ง ออกแบบโดย ศาสตราจารยศ ิลป พรี ะศรี
นาม เดมิ คอื คอราโด เฟโรจี (Corado Feroci)

ศิลปะสมัยรตั นโกสินทร เริม่ ตนตั้งแตสมัยพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา จุฬาโลกสถาปนา
กรุงเทพฯ ในป พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงสมยั ปจจบุ นั ศลิ ปกรรมสมัยรชั กาลที่ ๑-๒ เปน ศลิ ปะท่ถี ายแบบจาก
ศิลปะสมัยอยุธยายุคปลาย การสรา งเมอื ง การสรา งพระบรมมหาราชวงั กส็ รา งเลียนแบบพระราชวังท่ี
กรงุ ศรอี ยธุ ยา โดยมกี ารสรางเอาวดั ไวใ นวังเฉกเชน พระราชวงั ท่กี รงุ ศรอี ยุธยา กำแพงเมืองเปน
กำแพงกอ อฐิ ถอื ปนู มีปอมปราการเปนระยะ การสรา งวดั กพ็ ยายามสรา งเลยี นแบบอยธุ ยา แมแตช ื่อ
วดั หรอื ชอื่ สถานทส่ี ำคญั กพ็ ยายามลอแบบกรงุ ศรอี ยธุ ยา

สถาปต ยกรรมของรตั นโกสนิ ทรยุคตนั ตัง้ แตรัชกาลท่ี ๑-เ๒ น้ี ยังคงมีลักษณะท้ังฐานและ
หลงั คาแอน โคง แบบอยุธยา ลวดลายโดยเฉพาะหนา บันโบสถ วหิ าร คติในการกอ สรา งยงั ละมา ยศิลปะ
อยุธยายุคปลาย อาทิ วัดพระศรรี ัตนศาสดาราม วดั สระเกศวดั สุทัศน ฯลฯ ในสมยั ยคุ ตน นี้ไดพยายาม
สรางศลิ ปกรรมตา ง ๆ ขนึ้ มาเพ่ือทดแทนศิลปะท่สี ูญหายไป โดยมคี ตวิ า จะใหเ หมอื นเมอ่ื ครั้งบานเมอื ง
ยงั ดี เชน ราชรถทรงพระบรมศพ เรือพระท่นี ง่ั ตา ง ๆ เครอื่ งราชูปโภค เครอื่ งประดบั ตกแตง ทีเ่ ปน
ประณีตศลิ ขเ กี่ยวกับวัด เชน บานประตมู ุก ณ วดั พระศรรี ตั ศาสดาราม และวดั พระเชตพุ น การ
ประดับตกแตงโดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนงั ตงั้ แตส มยั รัชกาลท่ี 1-๓ ทใ่ี ชป ระดบั ภายใน คตนิ ิยมยัง
เหมอื นกับอยธุ ยายุคปลาย คอื ไมค ำนึงถงึ ภาพบุคคลและสถาปตยกรรม สที ี่ใชม มี ากสขี ึ้น นิยมการปด
ทองมากข้นึ พื้นของภาพมคี วามหนักแนนมากกวา สมัยอยุธยา ลายทใี่ ชป ระกอบก็เปนลายทเ่ี ริ่มอยูใน
แบบแผน จะเหน็ ไดจากภาพจติ รกรรมฝาผนงั ณ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม ฝงพระนคร หรือวดั
สุวรรณาราม วัดดสุ ติ ดาราม วดั ราชสิทธาราม ฝง ธนบุรี ฯลฯ

ศลิ ปะสมยั รตั นโกสนิ ทรต อนตน นี้ นิยมสั่งถว ยชามเบญจรงคจ ากประเทศจนี แตเ บญจรงค
ของชวงสมัยรชั กาลท่ี 1 – 2 แตกตางจากอยุธยาตอนปลาย คือพ้ืนภายในชามนิยมพ้นื สีขาว ลาย
ภายนอกมีความประณตี และอยูในระเบยี บมากกวา ศิลปะอยุธยา ในสมยั รชั กาลท่ี 1 นยิ มสั่งชามชนิด
น้ำทองทีเ่ รียกกันวา กหุ ลาบนำ้ ทอง ลายนำ้ ทองในสมัยอยธุ ยาก็มีแตเปน ชนดิ สอดเสน สีทอง ซง่ึ
แตกตา งกับสมยั รตั นโกสนิ ทร และในสมยั นีไ้ ดมกี ารฟน ฟูการทำเครอ่ื งถมข้นึ ท้ังยังไดข ยายลงไปยัง
เมอื งนครศรีธรรมราช ประตมิ ากรรมสมัยรัตนโกสนิ ทรต อนตนโดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ .ไมนยิ มสรา ง
พระพทุ ธรูปเพราะไดโปรดเกลาฯ ใหอัญเชิญพระพุทธรปู งาม 1 จากหวั เมืองเขา มาเปน พระประธาน
และพระตามระเบยี งคดเสยี เปนสวนใหญ จะมีบา งก็แตป ระตมิ ากรรมบางชิน้ ท่ปี ระดบั อยูในพิพธิ ภณั ฑ
เชน รูปทณั ฑมิ า (ครงึ่ ครทุ ครึง่ นก) และรูปยกั ษ กนิ นร กนิ รี ในวดั พระศรรี ตั นศาสดาราม

ลายกหุ ลาบนำ้ ทอง

ทมี่ า https://1th.me/4DJB2

สถาปต ยกรรมสมัยตนกรงุ รตั นโกสนิ ทรท่นี บั เปนช้ินเยยี่ ม ๆ ก็คอื พระท่ีน่งั ดุสติ มหาปราสาท
ในพระบรมมหาราชวงั มณฑป โบสถ หอมณเฑยี รธรรม ในวัดพระศรีรตั นศาสดาราม พทุ ธปฏิมาสมยั
รัตโกสนิ ทรยุคตัน โดยเฉพาะในสมยั รชั กาลท่ี 2 การปนพระพทุ ธรูปมีแบบอยา งพิเศษอยอู ยางหน่งึ คือ
การวางพระหตั ถข วา ตง้ั เปนฉาก จะเหน็ ไดจ ากพระประธานในโบสถวัดอรณุ และพระตามพระ
ระเบยี งคด ซ่ึงเปน ฝม อื ของชา งหลวงศิลปกรรมสมยั รชั กาลท่ี ๓ ไดเปล่ียนโฉมหนา จากแบบประเพณี
นิยมเปนแบบผสม โดยผสมท้งั แบบยรุ ปและน แตศ ลิ ปะสถาปด ยกรรมสวนใหญจะเปนศลิ ปะผสม
ระหวา งไทยและจีน เชน การสรา งอาคารที่เปน

กระเบ้ืองเคลือบสตี ามหนาบันช้นั หลงั คา ไมนยิ มมชี อ ฟาใบระกาหางหงส ซุม ประตูหนา ตา งจะเปลย่ี น
จากแบบเตมิ ที่นยิ มซุม บัณแถลงและทรงมณฑปเปล่ยี นเปน ซมุ ทรงดอกไม แตขบวนการผกู ลายยงั คง
รกั ษาใหเ หน็ เปนซมุ แบบหนาบันอยซู มุ ในสมยั รชั กาลท่ี ๓ ท่จี ดั กันวา งามก็มีอยหู ลายวัด เชน ซุม ประตู
หนาตา งวิหารพระพทุ ธไสยาสนั วดั พระเชตพุ น และอโุ บสถวัดบวรนเิ วศ (กอ นซอ มใหญใ นป พ.ศ.
๒๕๑๕) อาคารทก่ี อ อฐิ ถอื ปนู จะเกดิ ขึน้ ในสมยั น้อี ยา งมากมาย เชน หมตู ำหนักนอยใหญใน
พระบรมมหาราชวงั และหมูกฏุ ติ กึ ที่วดั มหาธาตุ วดั สระเกศ วดั สทุ ัศน วัดอรณุ ซ่งึ เปนผลจากการ
เปล่ยี นรสนยิ มจากการสรา งดว ยไมแ บบฝาปะกนเปน แบบผนังกอ อฐิ ถือปูน การประดับตกแตง
สถาปต ยกรรมนิยมสั่งรปู ประตมิ ากรรมแบบนเขา มาประดับ รวมทัง้ ใหต วั อยางประติมากรรมแบบไทย
แลวใหช า งนจำหลกั เปนภาพเกีย่ วกบั สัตวในปาหมิ พานต ซงึ่ จะดูไดจากวดั อรณุ วัดเชตุพน ฯลฯ
รวมทั้งภาพคนไทยในยคุ นัน้ ก็จะดูไดจ ากวัดเทพธิดาราม แตอ ารมณใ นการจำหลกั ยงั ออกเปนจนี
มากกวา เปนไทยท้ังมีการยกั ยา ยถายเทคตแิ บบไทย ( ไปแสดงออกทางภาพจีน เชน ภาพมารแบกฐาน
เจดียจ ะยักยา ยเปน ภาพตาแปะจนี ทอ งพลุย ทที าท่แี สดงออกเปน ภาพท่ีเรยี กกันสามัญวา จบั โปยแบก

ฐานถะ (ถะหมายถงึ เจดียมหี ลงั คาแบบจนี ชอ นหลาย ๆ ช้ัน) ในสมยั รัชกาลที่ ๓ นี้ ไดเ กิดซมุ แบบทรง
มงกฎุ ตอยอดบัณแถลง เชน ซุม พระอโุ บสถวัดพระเชตุพน และวัดสทุ ศั นเทพวราราม ซ่งึ เปนการ
ประดิษฐซมุ ขึ้นอยา งใหม

สถาปต ยกรรมทที่ ำใหเ กดิ การกอ สรา งแบบใหมทีเ่ ปนคตนิ ยิ มอกี แบบหนึ่ง คือ โลทะปราสาท วดั ราช
นดั ดา รปู เรือสำเภาจนี วดั ยานนาวา และปรางค วดั อรณุ ราชวราราม เฉพาะปรางคท ่ีวดั นี้เปนแบบ
พิเศษของรัตนโกสินทรทมี่ ที รวดทรงแปลกและสมบูรณทส่ี ดุ โดยการกอ ขยายฐานใหกวางออกเพือ่ รบั
องคปรางค จึงเปนแบบพิเศษไป การตกแตงภายในโดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรชั กาลที่ ๓ จดั
วา เปน จิตรกรรมทส่ี มบูรณท ้ังดาน การจัดภาพ สคี วามวจิ ิตรบรรจง ความสมั พนั ธร ะหวา งบุคคลภายใน
ภาพและสถาปตยกรรมทีไ่ มเ กดิ ความขัดหรอื เคอะเขนิ มีภาพจิตรกรรมดีเดน อยหู ลายวัดวดั สุทศั น
เทพวราราม วดั ราชสิทธาราม วดั สวุ รรณาราม ในคลองบางกอกนอย เชน ธนบรุ ี วัดสวุ รรณดารา
ราม อยธุ ยา

ศลิ ปกรรมสมยั รัชกาลท่ี ๕ กลับนิยมแบบดั้งเดมิ อยา งคตินิยมสมัยอยธุ ยา เชน การสรา งวัด
นยิ มมวี หิ ารอยทู างดา นหนา มีระเบยี งคดตอจากวหิ ารลอมรอบเจดีย โบสถต งั้ ขวางอยทู างดา นหลงั
เปนงานสถาปต ยกรรมอีกลักษณะหนงึ่ หนา มนั ประดับกระเบือ้ ง ชอ ฟา ใบระกาทางหงสเปนปูนปน จะ
เหน็ ตัวอยางของสถาปตยกรรมยคุ น้ีไดจากวัดมกฏุ กษัตรยิ ารามและวดั โสมนสั วหิ าร การสรา งเจดยี ใ น
ยคุ น้นี ยิ มเจดียท รงกลมมากกวา เจดยี เ หล่ียมประตหู นา ตางมกั ทำเปน รปู พระปรมาภไิ ธย เชน ซมุ ณ
ปราสาทพระเทพบิดร หรอื วัดราชประดษิ ฐ อันเปน วัดประจำรชั กาล โดยทำเปน ทรงมงกฎุ
สถาปต ยกรรมที่ยอดเยยี่ มท่สี ุดในยคุ น้คี อื ปราสาทพระเทพบิดร และพระท่นี ่ังอาภรณภ โิ มกข
ปราสาทพระเทพบดิ รอยใู นบริเวณวดั พระแกว เปนปราสาทยอดปรางคท ่ีงามทงั้ ทรวดทรง สดั สวน
ความสมั พันธระหวา งสขี องตวั ปราสาทและสีของยอดอาคาร ชั้นทีร่ ับยอดปรางคแทนทีจ่ ะทำเปน ชั้น
ไขรารบั หลงั คาเชน ยอดปราสาททว่ั ไป กลบั ทำเปน ชน้ั อสั ดงรับยอดปรางคแทน สว นพระที่นัง่ อาภรณภิ
โมกขเ ปน พลับพลายอดหลังเลก็ เปน พลบั พลาโถงใชเ ปน ทเ่ี สดจ็ ข้ึนประทับพระราชยานในงานพระราช
พิธี สำหรับซมุ ประตูหนาตา งท่ีเปน แบบพนื้ ๆ ใชท ัว่ ๆ ไปก็คือ ซมุ บณั แถลงประดบั ดว ยดอกไม

ปราสาทพระเทพบิดร
ทม่ี า https://1th.me/qjfG8

พระทนี่ ง่ั อาภรณภโิ มกข
ท่มี า พระที่นั่งอาภรณภ ิโมกขป ราสาท - วิกิพีเดยี (wikipedia.org)
สถาปตยกรรมแบบยโุ รปไดเ รมิ่ แพรห ลายเขา มาในเมืองไทยก็ในสมัยน้ี คอื การสรางอาคารที่
เปน ตึก และมีการสรา งตามอยางยุโรป เชน พระทน่ี ัง่ ตาง ๆ ในพระบรมมหาราชวงั และตามหวั เมือง
ทพ่ี ระนครครี ี จังหวดั เพชรบุรี พระนารายณร าชนเิ วศน จงั หวัดลพบุรี

การสรา งอาคารทเ่ี ปนตกึ สถาปตยกรรมแบบยุโรป ณ พระนารายณร าชนเิ วศน จังหวดั ลพบุรี
ที่มา : https://i.ytimg.com/vi/_-ePFbn6uYA/maxresdefault.jpg
จติ รกรรมและประตมิ ากรรม จิตรกรรมและประตมิ ากรรมสมยั รัชกาลที่ 4 ไดเ ปลยี่ นแปลง
รสนิยมแบบเดิมโดยนำเอาวธิ กี ารแบบตะวนั ตก มาใช เชน โครงรา งของภาพกระเดยี ดไปทางตะวนั ตก
แมแ ตว รรณะสีกเ็ ปนแบบฝน ๆ นยิ มระยะใกลไ กลในภาพ ผูท่ีนำเอาวธิ ีการเชน นี้เขามาใชใ นภาพแบบ
ไทย ๆ กค็ อื ขรัวอินโขง เปนชาวเพชรบุรี จำพรรษาอยวู ดั เลียบ (วดั ราชบรู ณะ) ผลงานยังมเี หลืออยู
เชน ที่วัดบวรนิเวศ วัดบรมนิวาส สว นการเขยี นภาพแบบไทยแท ๆ กย็ งั คงมีอยแู ตค วามประณตี บรรจง
ลดนอ ยไป สีทีใ่ ชเ ปนสแี บบกระดา งมากกวาความนุมนวล

ภาพวาดทว่ี ดั บรมนวิ าสราชวรวิหาร
ทม่ี า : https://1th.me/SJOxW

สิง่ ของเคร่ืองใชน ิยมแบบยโุ รป สมัยน้ีมีการส่ังถว ยชามแบบชนิดลายครามเขามาอยาง
มากมาย และมกี ารตงั้ เตาเผาถว ยชามข้ึนในประเทศไทย โดยเฉพาะถว ยชามลายน้ำทองท่เี ปนชาม
แบบลายพมุ ขาวบณิ ฑ ลว นเปน ชามท่เี ขยี นข้นึ ในประเทศไทยทง้ั สน้ิ

ประติมากรรมในสมยั รัชกาลท่ี ๔ ก็นยิ มการปนรปู ตามแบบยโุ รป เชน พระบรมรปู ฉลอง
พระองคเ ต็มยศ ทรงพระมาลาแบบสก็อต ปน โดยชางชาวไทยพระพทุ ธรูปท่ีนิยมในสมยั นีน้ ยิ มไมมีพระ
เมาพีเปนจอม จะมแี ตพระเศียรกลมและรัศมี จีวรท่ที รงเปนจีวรรวิ้ ถอื เปน งานพุทธปฏมิ าทกี่ าวหนา
ออกไปอีก ช้นั หนง่ึ ในศลิ ปะไทย

ศลิ ปกรรมสมยั รัชกาลท่ี ๕ ในสมัยรชั กาลท่ี ๕ ถือเปนชวงที่ประเทศชาติไดเปล่ียนโมหนาใน
การพัฒนาบา นเมอื งเพือ่ ใหเ จรญิ รุดหนาและเปนการสกดั กน้ั การลา เมอื งขึ้นของชาตมิ หาอำนาจ สมยั น้ี
ไทยไดป ฏิวตั หิ มดจากการแตงกาย การปกครอง สถาปตยกรรม เปล่ียนเปนแบบยโุ รปเรือนฝากระดาน
แบบฝาปะกนคอ ย ๆ หมดไป อาคารแบบยโุ รปและอเมรกิ าเขา มาแทนที่ สถานท่ีราชการไดเปล่ียนเปน
สรา งแบบยโุ รป ตลอดจนวงั เจา นายชนิดทีเ่ ปนทอ งพระโรงมชี อ ฟา ใบระกาไดเ ปลยี่ นเปนตึกแบบฝร่ัง
สมัยรชั กาลท่ี ๕ มกี ารสรา งศิลปะสถาปตยกรรมทมี่ ีชอ่ื เสียงก็คอื พระทนี่ ัง่ จกั รมี หาปราสาทแตเ ปน
แบบผสมกับยโุ รป วดั ราชบพิชอนั เปน วดั แบบไทยและเปนวดั ประจำรชั กาล วดั นี้บดุ วยกระเบื้องเบญจ
รงคท้ังวดั บานประตูโบสถ วิหาร ประดับมุก วดั เบญจมบพิตรเปน การออกแบบท่ีเอาศิลปะดัง้ เดมิ มา
ดดั แปลง มีระเบยี งคดอยูรอบนอก ดา นหลังพระอโุ บสถปลอ ยพ้ืนทีเ่ ปน ลานกวางอยูภายใน เปน การ
กา วไปขา งหนา อกี อยา งหนึง่ ของศลิ ปะสถาปต ยกรรมไทย ภาพจติ รกรรมและประตมิ ากรรมไดใช
วิธีการแบบสากล โดยคำนงึ ถึงสัดสวนระยะใกลไ กลและโครงสรา งของรา งกาย ะนนั้ จติ รกรรมและ
ประตมิ ากรรมในสมัยรชั กาลท่ี ๕ จงึ เปน การเปลีย่ นจากยุคโบราณมาเปนตนสมัยของศลิ ปกรรมอยาง
ปจจบุ ัน


Click to View FlipBook Version