The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by fonrangsiya, 2023-07-03 03:36:10

PowerPoint Presentation

คู่มือการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่


ได้รับยาเคมีบ าบัด



















































งานเคมีบ าบัด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
โทร 037-243018 ต่อ 335, 062-6361387


บันทึกเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา ส่วนสูง...................ซ.ม.






ชื่อ...................................................... อายุ.............ปี HN…………………..........

ู่
ที่อย................................................................................................................

......................................................โทรศัพท...................................................
เลขประจ าตัวประชาชน.................................................................................

ชื่อผู้ใกล้ชิดที่ติดต่อได้.....................................................................................
การวินิจฉัยโรค ..............................................................................................

ผลทางพยาธิวิทยา..........................................................................................

........................................................................................................................
การผ่าตัด........................................................................................................

........................................................................................................................

การรักษาอื่น, ผลการตรวจ U/S, Mammogram, CT
…………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………...............
ชื่อแพทย์ผู้ให้การรักษา.................................................................................

การแพ้ยา.......................................................................................................




(ผู้เก็บสมุดนี้ได้กรุณาส่งคืนเจ้าของตามที่อยู่)


ตารางการรับยาเคมีบ าบัด




ว/ด/ป ครั้งท ี่ ชนิดของยาเคมีบ าบัดที่ได้รับ วันนัด
รับยา ครั้งต่อไป

ผลข้างเคียง น้ าหนัก 1 2 3


ตารางการรับยาเคมีบ าบัด




ว/ด/ป ครั้งท ี่ ชนิดของยาเคมีบ าบัดที่ได้รับ วันนัด
รับยา ครั้งต่อไป

ผลข้างเคียง น้ าหนัก 1 2 3


ตารางการรับยาเคมีบ าบัด




ว/ด/ป ครั้งท ี่ ชนิดของยาเคมีบ าบัดที่ได้รับ วันนัด
รับยา ครั้ง

ผลข้างเคียง น้ าหนัก 1 2 3 ต่อไป


ตารางการรับยาเคมีบ าบัด




ว/ด/ป ครั้งท ี่ ชนิดของยาเคมีบ าบัดที่ได้รับ วันนัด
รับยา ครั้ง

ผลข้างเคียง น้ าหนัก 1 2 3 ต่อไป


โรคมะเร็งและการรักษามะเร็งด้วยยา





มะเร็ง เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย ท า

ให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงเจริญเติบโตหรือเพิ่มจ านวนจนไม่
สามารถควบคุมได้ เซลล์มะเร็งจะเบียดแทรกเซลล์ปกติที่อยู่รอบๆ

หรือแพร่ไปตามระบบไหลเวียนเลือดและต่อมน้ าเหลือง ส่งผลกระทบ
ต่ออวัยวะที่มะเร็งลุกลามไปถึง ท าให้ร่างกายเกิดอาการไม่สุขสบาย
ต่างๆในอวัยวะนั้นๆ เช่น เหนื่อย ไอ ปวด กระดูก เป็นต้น มะเร็งที่ตั้ง

ต้นในอวัยวะหนึ่ง แม้ว่าจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่ไกลออกไปก็
ยังคงเป็นเซลล์ชนิดเดียวกับมะเร็งต าแหน่งตั้งต้น ดังนั้นผู้ที่เป็น

มะเร็งระยะแพร่กระจายถือว่าเป็นมะเร็งชนิดเดิมแต่มีการกระจาย
การใช้ยา รักษาจะเป็นยาที่รักษาตามชนิดของโรคตั้งต้น เช่น ใช้ยา
สูตรที่รักษามะเร็งล าไส้ใหญ่ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งล าไส้ใหญ่ที่มีการ

แพร่กระจายไปตับ เป็นต้น


วิธีการรักษาโรคมะเร็ง



การรักษามีหลายวิธีผสมผสานกันขึ้นกับชนิดและระยะ

ของโรคมะเร็ง หลักทั่วไปของการรักษามะเร็ง ได้แก่ การผ่าตัด
ฉายรังสี และยาเคมีบ าบัด การผ่าตัดและฉายรังสี เป็นการรักษา
ื่
บริเวณต าแหน่งของมะเร็งเพอ ควบคุมโรคเฉพาะที่ เช่น ผ่าตัด
ก้อนมะเร็งที่เต้านม ฉายรังสีบริเวณกระดูกสัน หลังบริเวณที่มี
รอยโรคมะเร็ง เพื่อบรรเทาอาการปวด เป็นต้น ส่วนการรักษา

ทางยา เป็นการรักษาที่ครอบคลุมทั่วทั้งระบบของร่างกาย เพื่อ
ฆ่าเซลล์มะเร็งที่จุดเริ่มต้นรวมทั้งควบคุมเซลล์มะเร็งที่อาจ
แพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ เป็นการควบคุมโรคไม่ให้

แพร่กระจาย ลดโอกาส ก าเริบของโรคได้ เช่น การให้ ยาเคม ี
บ าบัดในผู้ ป่วยมะเร็งล าไส้ ใหญ่ที่แพร่กระจายไปตับ เป็นต้น


การปฏิบัติตัวส าหรับผู้ป่วยที่ได้รับ


ยาเคมีบ าบัด


เคมีบ าบัดคืออะไร





เคมีบ าบัด คือ การรักษาด้วยการใช้ยาเคมีเพื่อควบคุม หรือท าลาย
เซลล์มะเร็ง โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของ
เซลล์มะเร็งโดยตรงไม่ให้มีการกระจายหรือลุกลามมากขึ้น การบริหาร

ยาเคมีบ าบัดสามารถท าได้หลายวิธี เช่นในรูปแบบของ ยาฉีด ยา
รับประทาน เป็นต้น


วิธีการให้ยาเคมีบ าบัดแบ่งง่ายๆ เป็น 2 วิธีคือ


1. เคมีบ าบัดชนิดรับประทาน ยาเคมีบ าบัดชนิดนี้ผู้ป่วยจะต้องน ายา
กลับไปรับประทานเองที่บ้าน โดย “ ผู้ป่วยควรหยิบยารับประทาน


เองและล้างมือทุกครั้งหลังจากหยบยาเคมบ าบัด ” ผู้ป่วยต้อง

รับประทานยาอย่างต่อเนื่องและครบถ้วนตามค าสั่งของแพทย์ผู้ให้
การรักษา แผงยาที่แกะแล้วควรเก็บใส่ซองยาให้เรียบร้อย เมื่อ

รับประทานยาหมดไม่ควรทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ควรน ากลับมาส่งคืน
พยาบาลหรือเภสัชกรหรือทิ้งลงถังขยะเคมีบ าบัดที่ทางโรงพยาบาล

จัดเตรียมไว้ให้โดยเฉพาะ
2. เคมีบ าบัดชนิดฉีด พยาบาลจะเป็นผู้ท าการ บริหารยาให้แก่ผู้ป่วย
ยาฉีดเข้าสู่ร่างกาย ได้หลายทาง เช่น ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

บริเวณต้นแขน สะโพก ฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดด า อาจจะฉีดยาเข้า
หลอดเลือดโดยตรง หรือผสมกับสารละลาย แล้วค่อยๆ หยดเข้าทาง

หลอดเลือดด า ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง เพื่อให้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
อย่างช้าๆ


ระยะเวลาของการให้ยาเคมีบ าบัด


ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยเป็น รวมทั้งผลการ

ตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์จะเป็นผู้วิเคราะห์
แนะน าและ ก าหนดเวลา ตลอดจนเลือกยาที่เหมาะสมและให้

ผลการรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย

ความถี่ของการให้ยาเคมีบ าบัด

แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสูตรยาที่ ได้รับและสภาพร่างกายของผู้ป่วย
เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์หรือ ทุกเดือน ในบางครั้งแพทย์อาจต้องหยุดยา

ชั่วคราว เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยมีเวลาพักและซ่อมแซมเซลล์ปกติให้
แข็งแรงพอที่จะให้ยาในครั้งต่อไปได้
ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกท้อแท้ เนื่องจากอาการข้างเคียงที่ อาจ

เกิดขึ้น รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา หากผู้ป่วยมี ปัญหาหรือความ
กังวลใจเกี่ยวกับการรักษาควรปรึกษา แพทย์ผู้ดูแล

ควรติดตามผลการรักษาเป็นระยะ โดยผู้ป่วยควรมาตรวจ ตาม
นัด รวมถึงมาให้ยาเคมีบ าบัดให้ตรงตามแผนการรักษา การได้ยาเคมี
บ าบัดไม่ครบหรือมารับยาไม่ตรงตามก าหนด จะก่อให้เกิดผลเสียต่อ

การรักษาได้ หากมีเหตุจ าเป็นที่จะ ต้องเลื่อนระยะเวลาการให้ยา ควร
แจ้งหรือปรึกษาแพทย์ ผู้ให้การรักษาก่อนทุกครั้ง


การเตรียมตัวเมื่อต้องรับยาเคมีบ าบัด


ด้านร่างกาย

∙ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ข้าว เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก
และผลไม้

∙ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
หากเป็นไปได้ควรเพิ่มระยะเวลาในการนอนกลางวัน 1-2 ชั่วโมงต่อ
วัน

∙ หากมีโรคประจ าตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ความดัน
โลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจ า ต้องแจ้งให้แพทย์

ผู้ท าการรักษาทราบ และ น ายารักษาโรคประจ าตัวมา
โรงพยาบาลด้วยทุกครั้ง
ด้านจิตใจ

∙ ลดความกลัว ความวิตกกังวลต่างๆ
∙ เชื่อมั่นในวิทยาการสมัยใหม่ว่าสามารถลดอาการข้างเคียงต่างๆ ที่

อาจเกิดขึ้นจากการรักษาได้
∙ หากท่านรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโรคหรือการดูแลตนเอง ในขณะที่
ได้รับการรักษา ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล


การดูแลตนเองในช่วงที่รับยาเคมีบ าบัด



ผู้ป่วยเป็นบุคคลที่ส าคัญที่สุดในการดูแลรักษาตนเอง หาก
ผู้ป่วยให้ความร่วมมือและปฏิบัติตัวตามค าแนะน า จะช่วยท าให้การ
รักษาได้ผลดีและลดอาการข้างเคียงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการ

รักษาได้โดยผู้ป่วยควรดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้
∙ พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

∙ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
∙ ดื่มน้ ามากๆ 2-3 ลิตร หรือ 8-12 แก้วต่อวัน
∙ งด!!! รับประทานของหมักดอง อาหารสุกๆ ดิบๆ ยาต้ม ยาหม้อ

ยาจีน และสมุนไพรทุกชนิด
∙ สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยว่ามี

ยารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันที

∙ ผู้ป่วยทุกรายทั้งชายและหญิงควรคุมก าเนิดและป้องกันไมให้มีการ
ตั้งครรภ์ในระหว่างรับการรักษาด้วยยาเคมีบ าบัด เพราะยาเคมี

บ าบัดอาจส่งผลท าให้ทารกมีความผิดปกติหรือพิการได้ หากสงสัย
ตั้งครรภ์ให้แจ้งแพทย์ทันที


อาหาร...ปัจจัยส าคัญท าให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมสู้กับมะเร็ง




ข้าว แป้ง ควรรับประทานข้าวและแป้งเป็นหลัก และในกรณีเบื่ออาหาร

ประเภทข้าวสามารถเลือกใช้ขนมปังแทนได้ โดยหากได้รับพวกข้าวไม่ขัดสี เช่น

ข้าวซ้อมมือก็จะเป็นประโยชน์แก่ร่างกายอย่างมาก

เนื้อสัตว์ สามารถรับประทานได้ทุกชนิด โดยเน้นเนื้อสัตว์คุณภาพดีไม่ติด
มัน อาจเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น ไข่ไก่

3-6 ฟองต่อวัน หรือดื่มนมพร่องมันเนยร่วมด้วยก็ได้

ไขมัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทอดจากน้ ามันซ้ าๆ ควรรับประทานไขมัน

แต่พอดีประมาณ 5 ช้อนชา /วัน และไม่ควรใช้น้ ามันในการปรุงประกอบอาหาร

ที่มากจนเกินไปและเลือกกรดไขมันไมอิ่มตัวหนึ่งต าแหน่งแทน เช่นน้ ามันมะกอก
น้ ามันร าข้าว เป็นต้น





ความเข้าใจผิด
กินโปรตีนแล้วไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง

ท าให้มะเร็งโตขึ้น ?

เซลล์มะเร็ง และเซลล์ร่างกายอื่น ๆ
จ าเป็นต้องได้รับอาหารที่เพียงพอ เพื่อซ่อมแซมและเป็นพลังงาน
ขณะที่ให้ยาเคมีบ าบัดอยู่นั้น เซลล์มะเร็งจะถูกควบคุมโดยยาเคมีบ าบัด
แตเซลล์ร่างกายอื่น ๆ ถ้าหากได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะท าให้

ร่างกายขาดพลังงาน อ่อนเพลีย และระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจาก
เม็ดเลือดขาวไม่เพียงพอ ท าให้ค่าเลือดไม่ผ่าน ไม่สามารถรับยาตาม
ก าหนดได้ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการรักษา


ผัก รับประทานพืชผักสีเข้ม ทั้งเหลืองเข้มและเขียวเข้ม เช่นผัก
ตระกูลกะหล่ า จะมีสาร isothiocyanate ซึ่งมีฤทธิ์ด้านมะเร็ง ฟักทอง

บรอกโคลี มะเขือเทศ ผักเหล่านี้จะมีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยต่อต้าน

ปฏิกิริยาออกซเดชั่น
ผลไม้ รับประทานได้ทุกชนิดโดยเน้นผลไม้ที่มีสีสัน และผลไม้ที่มี

วิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล มะละกอ องุ่น สตรอว์เบอรี่ กล้วย
ผลไม้เหล่านี้จะมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น fiber

,phenol,flavonoid, carotenoid เป็นต้น
เมล็ดธัญพืช ข้าวกล้อง ช้าวโพด ลูกเดือย งา ถั่วต่างๆ เช่น ถั่ว
เหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วด า ฯลฯ จัดเป็นอาหารต้านมะเร็ง

โดยเฉพาะถั่วเหลืองมีปริมาณกรดอะมิโนสูงและยังมีกากใยมาก ซึ่งช่วย
ให้ระบบย่อยอาหารและดูดซึมอาหารได้ดีรวมถึงมีปริมาณแร่ธาตุหา

ยากมากกว่า อาหารประเภทอื่นๆ เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี ธาตุเซลี
เนียม ซึ่งช่วยต้านมะเร็งได้ดี









*** ควรท าความสะอาดผักและผลไม้ด้วยน้ าหลายๆครั้งก่อนน าไป
ปรุงอาหาร
*** ไม่ควรรับประทานผักสด ผลไม้พร้อมเปลือกบาง หรือน้ าปั่นผัก
สด เนื่องจากอาจได้รับสารเคมีหรือเชื้อโรคที่พบในดินติดอยู่ ท าให้
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ


การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการข้างเคียงต่างๆ



คลื่นไส้/อาเจียน

อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่หลังได้รับยาเคมบ าบัด และอาจมีอาการนานได้ถึง
48 ชั่วโมงหรือนานเป็นสัปดาห์
∙ รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
∙ หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด มันจัด กลิ่นฉุน

∙ ควรดื่มน้ าอุ่น น้ าขิง น้ าส้ม น้ ามะนาว น้ าผลไม้ หรือรับประทานผลไม้
รสเปรี้ยว

∙ บ้วนปากด้วยน้ าอุ่นหรือน้ าเกลือเจือจางหลังอาเจียน หรือหลัง
รับประทานอาหารทุกครั้ง
∙ รับประทานยาแก้อาเจียนที่แพทย์จ่ายให้ ในช่วง 3-7 หลังจากได้รับยา

เคมีบ าบัด
∙ ใช้เทคนิคผ่อนคลาย เพื่อลดความวิตกกังวลต่างๆ


ภูมต้านทานต่ าท าให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
∙ ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ปากและฟัน
∙ ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้า

ห้องน้ าทุกครั้ง
∙ หลีกเลี่ยงการพบปะบุคคลที่เป็นไข้หวัด หัด อีสุกอีใส วัณโรค รวมถึง

โรคติดเชื้ออื่นๆ
∙ หลีกเลี่ยงการไปในชุมชนที่แออัด หากจ าเป็นต้องไป ให้ใส่หน้ากาก
อนามัยด้วยทุกครั้ง

∙ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่นม เนื้อสัตว์ ไข่ ที่ปรุงสุกและ
สะอาด

*** หากมีไข้สูง เจ็บคอ ปัสสาวะแสบขัด ให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ก่อนนัด
หรือไปตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน


โลหิตจางท าให้รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียได้ง่าย
∙ รับประทานนม เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์และไข่ รวมถึงอาหารที่มีธาตุ
เหล็กสูงต่างๆ

∙ ดื่มน้ าผลไม้หรือรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง เพราะ
วิตามินซีจะช่วยท าให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี

ผมร่วงหรือบางลง
∙ ควรใช้หวีซี่ห่างๆหวีผม เวลาหวีให้หวีเบาๆ อย่ากระตุก
∙ ไม่ควรย้อมผมหรือดัดผมเพราะอาจท าให้ผมร่วงมากขึ้น


∙ ไม่ควรสระผมบ่อยและควรใช้แชมพูสระผมชนิดออน
∙ ถ้าออกไปกลางแจ้ง ควรสวมหมวกหรือผ้าโพกผม

∙ แนะน าให้จัดท าวิกผมหรือเตรียมผ้าโพกผมไว้ล่วงหน้า
∙ ผมจะขึ้นใหม่ภายใน 6-8 สัปดาห์หลังหยุดยาเคมีบ าบัด
ท้องเสีย

∙ งดรับประทานอาหารประเภทของหมักดอง
∙ ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย

∙ ดื่มผงน้ าตาลเกลือแร่เสริม
เบื่ออาหาร

∙ ควรรับประทานอาหารย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
∙ ควรจัดอาหารที่ผู้ป่วยชอบ อาหารที่ให้โปรตีนและพลังงานสูง เช่น ข้าว

เนื้อสัตว์ ไข่ นมและผักจ าพวกถั่วต่างๆ
ชามือ/ชาเท้า
∙ ถ้านิ้วมือมีอาการชา ระมัดระวังเวลาใช้ของมีคมและสัมผัสของร้อน

∙ ถ้าเป็นไปได้ควรสวมรองเท้าที่เป็นยาง เพื่อป้องกันของแหลมทิ่มต า
∙ บริหารมือและเท้าเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการชา


∙ แช่มือและเท้าในน้ าอุ่นเพื่อป้องกนและบรรเทาอาการชา


เยื่อบุช่องปากอักเสบ มักเกิดวันที่ 5-7หลังได้รับยาเคมีบ าบัด

∙ รักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างสม่ าเสมอ
∙ ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม แปรงเบาๆ

∙ รับประทานอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย รสไม่จัด
∙ งดเหล้า บุหรี่ หมาก เมี่ยง
∙ ดื่มน้ ามากๆ อย่างน้อยวันละ 8-12 แก้วต่อวัน

∙ บ้วนปากด้วยน้ าเกลือบ่อยๆ และหลังรับประทานอาหาร ทุกครั้ง (น้ า1
ลิตร ผสมเกลือ 3 ช้อนชา)

การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น สีผิวคล้ าขึ้น แห้ง แสบ หรือคัน
∙ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง หากจ าเป็นต้องโดนแดด ควรใส่เสื้อ
แขนยาว ทาครีมกันแดดหรือกางร่ม


อาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย ์


∙ มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง
∙ หัวใจเต้นผิดปกติ

∙ ปัสสาวะน้อยลง/ ไม่ออก/ มีเลือดปน
∙ ซึมลง ชักหรือมีอาการเกร็งผิดปกติ

∙ ท้องผูกหรือท้องเสียอย่างรุนแรง
∙ คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
∙ มีอาการบวมผิดปกติ

∙ ผื่นแดงคัน หายใจเหนื่อยหอบ หรือแน่นหน้าอก
∙เลือดออกง่าย/ ไม่หยุด/มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง

*** หากบ้านไกลสามารถไปพบแพทย์โรงพยาบาลใกล้บ้านได้ และให้โทร
มาแจ้งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
ห้องให้ยาเคมีบ าบัด


Click to View FlipBook Version