The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2564 ฉบับสมบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kanmanee.ghai, 2022-05-28 01:07:56

รายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดปี 2564

รายงานประจำปี 2564 ฉบับสมบูรณ์

รายงานประจำปี 2564

โทร.052- 020-420
เ ว็ บ ไ ซ ต์ : h t t p : / / w w w . c r b . m c u . a c . t h
วิ ท ย า ลั ย ส ง ฆ์ เ ชี ย ง ร า ย ( บ้ า น น้ำ ลั ด ) ตำ บ ล ริ ม ก ก
อำ เ ภ อ เ มื อ ง จั ง ห วั ด เ ชี ย ง ร า ย

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

รายงานประจำปีการศึกษา 2564

จัดทำโดย
กลุ่มงานห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักวิชาการ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

57100 โทร 052-020-420
http://crb.mcu.ac.th/lib/

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

คำนำ

การจัดทำรายงานประจำปี 2564 เป็นการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนิน

งานต่อมหาวิทยาลัย เป็นการสรุปข้อมูลการดำเนินของห้องสมุดวิทยาลัยสงฆ์

เชียงรายตามภารกิจหลัก อันได้แก่ การสนับการเรียนการสอนและการวิจัยของ

มหาวิทยาลัย และการบริการวิชาการ โดยจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้อง

กับหลักสูตร ส่งเสริมการเรียนการสอน การผลิตผลงานวิจัยและผลงานทาง

วิชาการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในมหาวิทยาลัย

ทางกลุ่มงานห้องสมุดและเทคโนโลยี วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย หวังเป็นอย่าง

ยิ่งว่า ข้อมูลรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์และ

พัฒนางานให้ได้มาตราฐานยิ่งขึ้นสืบต่อไป

นางสาวกานต์มณี ใจเพชร
บรรณารักษ์

พฤษภาคม 2565

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

สารบัญ หน้า

เรื่อง 1
ประวัติห้องสมุด
โครงสร้างการบริหาร 2


บุคลากรในกลุ่มงานห้องสมุดและเทคโนโลยี 3
4
ภาระงานและบทบาทหน้าที่ 6
การใช้งานห้องสมุด 7
การดำเนินงานห้องสมุด 12
จำนวนทรัพยากรสารสนเทศ 13
ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ 14
รายงานประเมินความพึ่งพอใจในการบริการห้องสมุด 27
การพัฒนางานด้านบรรณารักษ์

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

ห้องสมุดวิทยาลัยเชียงราย เดิมมีชื่อว่า ห้องสมุดห้องเรียน วัดพระแก้ว

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาตั้งอยู่บนชั้น ๑

อาคารศาลากลางหลังเก่าดอยจำปี จังหวัดเชียงรายเป็น ศูนย์บริการสารสนเทศ

เพื่อการศึกษาค้นคว้า และงานวิจัย ได้เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗

และในปีพ.ศ. ๒๕๖๒ ห้องสมุดได้ย้ายมาประจำอยู่ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย(ส่วน

แยกบ้านน้ำลัด) ดำเนินงานทางห้องสมุดได้ยึดตามหลักงานภาระงานหลักของ

สำนักหอสมุดกลาง

ห้องสมุดวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย เป็นกลุ่มงานหนึ่งของสำนักวิชาการ ใน

การดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวิทยาลัย ซึ่งเน้นการ

ศึกษาค้นคว้าวิจัยวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา และสาขาอื่นๆที่เปิดสอน

ตามหลักสูตรของวิทยาลัย รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสนองแผน

พัฒนาของวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

ปรัชญา



ปญฺญา นรานํ รตนํ




ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย



ปณิธาน

“มุ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านพระพุทธศาสนา ศาสนวิทยา

ปรัชญา และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศ

ทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
และสร้างภูมิปัญญาให้แก่สังคม”

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

โครงสร้างการบริหาร

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

บุคลากรในกลุ่มงานห้องสมุดและเทคโนโลยี

พระพุทธิญาณมุนี
รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

พระครูสุธีสุตสุนทร,ดร.

รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ / อาจารย์พัสกร อุ่นกาศ
อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาภาษาต่างประเทศ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

พระครูสังฆรักษ์เรวัฒน์ เรวโต อาจารย์วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ
ผู้อำนวยการสำนักงานวิชาการ รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการ /
อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สำนังานวิชาการ

นางสาวกานต์มณี ใจเพชร นายอนุพงศ์ ยอดยา
บรรณารักษ์ นักวิชาการพัสดุ / ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

จากโครงสร้างงานในฝ่ายห้องสมุดกลางที่ประกาศใช้ พร้อมทั้งมีการ

กำหนดภาระงาน ขอบข่ายการปฏิบัติเอาไว้ของสำนักหอสมุดกลาง ทางห้องสมุด

วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย จึงได้มีการนำมาจัดเป็นแนวทางในการดำเนินการและ

ปฏิบัติ

ในที่นี้จะแยกงานเทคโนโยีสารสนเทศออกต่างหาก กล่าวเฉพาะส่วนงาน

ห้องสมุด โดยแบ่งออกเป็นอยู่ 2 ส่วนดังนี้
1.งานทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งงานออกเป็น

1.1) งานทรัพยากรห้องสมุด
- จัดทำแผนปฏิบัติงานและโครงการ
- รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนและโครงการ

1.2) งานด้านงบประมาณ
- พิจารณาจัดสรรงบประมาณค่าวัสดุทางการศึกษาห้องสมุด
- พิจารณาจัดหาวัสดุ/ครุภัณฑ์ห้องสมุด

1.3) งานวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุด
- วิเคราะห์เลขหมู่และลงทะเบียนหนังสือภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ
- วิเคราะห์เลขหมู่และลงทะเบียนหนังสือวิจัย, วิทยานิพนธ์,ปริญานิพนธ์
- ลงทะเบียน CD-ROM
- ตรวจ/แก้ไข รายงานในฐานข้อมูล MATRIX ตามระบบ MAPA
- เก็บสถิติข้อมูลต่างๆ
- เข้าเล่ม/ซ่อมหนังสือ

1.4) งานคัดเลือกและจัดหาทรัพยากร
- คัดเลือกหนังสือ/สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- จัดหาเพื่อขอรับหนังสือบริจาคและแลกเปลี่ยน
- ตรวจรับหนังสือที่ได้รับบริจาคและทำหนังสือขอบคุณ

1.5) งานประชาสัมพันธ์
- จัดทำรายงานประจำปี
- จัดทำและเผยแพร่ข่าวสารห้องสมุด รายงานประจำปีการศึกษา
- ติตต่อประสานงานห้องสมุดหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

1.6 งานบันทึกข้อมูล/เตรียมความพร้อมของเล่ม
- ประทับตราห้องสมุด ในหน้าลับหนังสือ
- พิมพ์สันหนังสือแต่ละเล่ม ติดบาร์โค้ดหนังสือใหม่ทุกเล่ม
- เก็บสถิติข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

2.งานสารสนเทศห้องสมุด

2.1) งานสารสนเทศห้องสมุด
- ประสานงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ศึกษาวิเคราะห์โปรแกรมระบบอัตโนมัติที่ใช้ในการทำงาน
- ดูแลบริการให้คำแนะนำการใช้ Internet
- บริการคอมพิวเตอร์และเครืิอข่ายระบบอินเทอร์เน็ตภายในห้องสมุด
- ดูแลให้คำปรึกษาเรื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการ

2.2) งานบริการ
- บริการให้ยืมและรับคืนหนังสือ
- บริการตอบคำถามเพื่อการค้นคว้า
- บริการสืบค้นจากฐานข้อมูลสำเร็จรูประบบห้องสมุดอัตโนมัติ
- บริการนำชมห้องสมุด
- บริการงานวิจัย, วิทยานิพนธ์,ปริญญานิพนธ์
- บริการ CD-ROW ที่ีมาพร้อมกับหนังสือ
- จัดแสดงหนังสือใหม่ / หนังสือที่น่าสนใจ
- สำรวจหนังสือประจำปี

2.3) งานสารบรรณ หรือธุรการ
- ลงทะเบียนรับสิ่งพิมพ์ทั้งหน่วยงานภายใน/ภายนอก
- ร่างและตอบรับเพื่อขอบคุณที่บริจาคสิ่งพิมพ์ / นำเสนอให้ผู้มีอำนาจลง


นาม
2.4) งานวารสาร/นิตยสาร/หนังสือพิมพ์
- ประทับตราและลงทะเบียนข้อมูลในสมุดทะเบียน
- จัดวางให้บริการ และเก็บสถิติข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
2.5) งานโสตทัศนศึกษา
- บริการสื่อโสตทัศนศึกษา / ดูแลรักษาและซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2.6) งานหนังสือพิเศษ
- งานจัดหา / รวบรวมหนังสือเอกสารต่างๆของท้องถิ่น/หนังสือที่ระลึก
2.7) อื่นๆ ตามผู้บังคับบัญชามอบหมาย

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

ระเบียนการใช้บริการ

๑. เวลาทำการเปิดทำการวันจันทร์ – วันอาทิตย์เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
เว้นวันพระ, วันศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ

๒. ผู้ที่เข้าใช้ห้องสมุดต้องวางย่าม – กระเป๋าไว้ที่ชั้นวางที่ทางห้องสมุดเตรียม

ไว้
๓. ไม่สูบบุหรี่ภายในห้องสมุด
๔. ไม่ส่งเสียงดัง
๕. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จให้วางรวมกันไว้ที่บนโต๊ะที่จัดเตรียมไว้
๖. ห้ามนำวัสดุที่ไม่ได้ยืมออกจากห้องสมุด
๗. คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสืบค้นทางห้องสมุดไม่อนุญาตให้ใช้ในการทำงาน

อย่างอื่นเพราะจะทำให้ระบบโปรแกรมมีปัญหา
๘. การยืม – คืนจะต้องใช้บัตรของตัวเองและยืมด้วยตนเอง
๙. หนังสือที่นำออกจากห้องสมุดได้จะต้องใช้บัตรในการยืมทุกครั้ง
๑๐. ไม่ฉีกหรือตัดหนังสือวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดของห้องสมุดโดยเด็ดขาด

สมาชิกมีสิทธิยืมได้ดังนี้




หนังสือทั่วไป

๑. อาจารย์เจ้าหน้าที่ ๕ เล่ม / ๑๕ วัน

๒. พระนิสิต/นิสิต หลักสูตรปริญญาตรี ๕ เล่ม / ๗ วัน

- เทปวิดีทัศน์,เทปคาสเซ็ท สมาชิกทุกประเภท ๓ ชิ้น /๕ วัน

อัตราค่าปรับกรณีส่งเกินกำหนด
– ปรับวันละ ๑ บาท /เล่ม

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

จากการดำเนินงานที่ผ่านของกลุ่มงานห้องสมุดเป็นไปด้วยความ

เรียบร้อย ซึ่งมีบางภาระงานที่ต้องการปรับปรุงแก้ไขและดำเนินการให้แล้วเสร็จ

อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปฏิบัติงานดังนี้

ค่าใช้จ่ายงบประมาณที่ได้จัดสรร 2564

รายการ จำนวนเงิน

จัดซื้อหนังสือ,ตำราเรียน, 33,435

วารสาร / นิตยสาร / หนังสือพิมพ์ 19,964

รวม 53,399

จำนวนคอมพิวเตอร์

รายการ จำนวน หมายเหตุ

คอมพิวเตอร์สำหรับเจ้าหน้าที่ 2


คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้บริการในห้องสมุด 9


คอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นระบบVTLS 2


คอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน 40


รวม 53

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

จำนวนทรัพยากรสนเทศห้องสมุด ประจำปี 2564

สรุปสถิติตามประเภททรัพยากร

รายงาน จำนวนเรื่อง จำนวนเล่ม

1.Audiovisual Media 471 632

2. ฺBook 5,641 11,567

3. Non-Circulation
408 592
(ไม่อนุญาตให้ยืมออก)

4. Research 126 148
5. Thesis
285 313

6.สื่อที่มากับหนังสือ 18 34

5.หนังสืออนุสรณ์งานศพ 5 15
รวม 6,954 13,298

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

สาขาวิชา จำนวน
การจัดการเชิงพุทธ 499
58
การพัฒนาสังคม 353
การสอน / การศึกษา 248
353
จิตวิทยา 248
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว 585
587
ชีวิตและความตาย 107
ธรรมนิเทศ 560
นิติศาสตร์ 529
4122
ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต 53
ปรัชญา 468

พระไตรปิฏกศึกษา
พระพุทธศาสนา

พุทธจิตวิทยา
พุทธบริหารการศึกษา

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

สาขาวิชา จำนวน
ภาษาอังกฤษ 880
77
ภาษาไทย 347
559
รัฐประศาสนาศาสตร์ 233
รัฐศาสตร์ 4302
58
วิปัสสนาภาวนา 78
ศาสนา 79
2583
ศาสนาเปรียเทียบ 44
เศรษฐศาสตร์ 638

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 18,648
สังคมศึกษา

สังคมสงเคราะห์
เทคโนโลนีสารสนเทศ

รวม

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

หมวดหมู่หนังสือ จำนวน
หมวด 000เบ็ตเตล็ด,ความรู้ทั่วไป 708

หมวด 100 ปรัชญา 512
หมวด 200 ศาสนา
หมวด 300 สังคมศึกษา 3,625
หมวด 400 ภาษา
หมวด 500 วิทยาศาสตร์ 2,365
หมวด 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์
หมวด 700 ศิลปะและ
968
43
นันทนาการ 671
หมวด 800 วรรณคดี,วรรณกรรม
317
หมวด 900 ภูมิศาสตร์และ
269
ประวัติศาสตร์ 864
หมวดอัางอิง 780
1,097
หนังสือเรียน มจร. 185
นวนิยาย/เรื่องสั้น

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

จำแนกตามหนังสือพระไตรปิฎก

๑. พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ
9/406 ชุด/เล่ม

๒. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง 1/45 ชุด/เล่ม

๓. พระไตรปิฎก ฉบับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 1/91 ชุด/เล่ม

๔. พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา 1/45 ชุด/เล่ม

๕. พระไตรปิฎก ฉบับบาลีอรรถกถา 4/180 ชุด/เล่ม

๖. พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน 20 เล่ม

๗. พระไตรปิฎก ฉบับภาษาพม่า 2/80 ชุด/เล่ม

๘. พระไตรปิฎก ฉบับอังกฤษ 1/4เล่ม ชุด/

เล่ม

9. พระไตรปิฏกฉบับอัขระบาลี อักษรล้านนา 3/240 ชุด/

เล่ม









จำนวนวารสาร

– วารสารบริจาค 9 ชื่อเรื่อง
– จำนวนวารสารที่สั่งซื้อ 11 ชื่อเรื่อง

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

1. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
2. ฐานข้อมูลวิจัย มจร
3. ฐานข้อมูลบทความวิชาการ มจร
4. E-Book : 2 ล้านเล่ม
5. ฐานข้อมูลข่าว IQNews Clip
6. MCU E-BooK ศูนย์รวมตำรา มจร
7. สืบค้นวิทยานิพนธ์ThaiLIS
8. สืบค้นวิทยานิพนธ์ไทย
9. สืบค้นวิทยานิพนธ์ CHE
10. สืบค้นฐานข้อมูล มธ.
11. สืบค้นฐานข้อมูล จุฬาฯ

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

รายงานผลการประเมินความพึงพอใจ
การให้บริการของงานเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีการศึกษา 2564
วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย




***********************




1. หลักการและเหตุผล

ตามที่วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้

ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของนิสิต ในส่วนงานของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในปีการศึกษา 2564 และได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาการให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต

ต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ตามที่นิสิตต้องการไปแล้วนั้น เพื่อให้การ
ดำเนินการในการให้บริการแก่นิสิตและคณาจารย์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ

เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้มีการประเมินความพึงพอใจจากนิสิตว่ามีความ

พึงพอใจต่อการปรับปรุง แก้ไขงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัยสงฆ์

เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มากน้อยเพียงใด เพื่อนำ

ข้อมูลไปประกอบการพิจารณาในการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการของงาน

เทคโนโลยีสารสนเทศ






2. วัตถุประสงค์ของการประเมิน

เพื่อประเมินการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่นิสิตและคณาจารย์ของ

วิทยาลัยสงฆ์เชียงรายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงราย




3. วิธีดำเนินการประเมิน

3.1 ประชาชนและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นิสิตและคณาจารย์ของวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงรายและบุคคลทั่วไปที่มา

ใช้บริการของวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย

จังหวัดเชียงราย จำนวน 250 รูป/คน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหา

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้

ตาราง Kejcie and Morgan จำนวน 150 รูป/คน

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจการ

ใช้บริการของเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น ด้านคือ ด้านการบริการของ

เจ้าหน้าที่ จำนวน 2 ข้อ ด้านการบริการสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 3 ข้อ

ด้านบริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ข้อ และด้านกระบวนการทำงาน

จำนวน 3 ข้อ ได้รับแบบสอบถามคือมาทั้งหมด 150 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100

ถือว่าเป็นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้และแบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ

ระดับ 5 หมายถึง ดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง ดี
ระดับ 3 หมายถึง พอใช้
ระดับ 2 หมายถึง ปรับปรุง
ระดับ 1 หมายถึง ปรับปรุงเร่งด่วน

3.3 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม

สำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้

ตารางและการพรรณนาความ โดยเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินดังนี้ (กำหนด

เกณฑ์การประเมินจาก คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับ

อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2554 : 36)

4.51 – 5.00 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด หรือการดำเนินงานระดับดีมาก
3.51 – 4.50 หมายถึง พึงพอใจมาก หรือการดำเนินงานระดับดี
2.51 – 3.50 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง หรือการดำเนินงานระดับ

พอใช้
1.51– 2.50 หมายถึง พึงพอใจน้อย หรือการดำเนินงานระดับต้องปรับปรุง
0.00 – 1.50 หมายถึง พึงพอใจน้อยมาก หรือการดำเนินงานระดับต้อง

ปรับปรุงเร่งด่วน

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

4. สรุปผลการประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของงานเทคโนโลยี

สารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564

ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ

ที่ เพศ จำนวน ร้อยละ

1 ชาย 100 66.67

2 หญิง 50 33.33


รวม 150 100

ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ ด้านสถานภาพ

สภาพ จำนวน ร้อยละ
อาจารย์ 30 20.0
เจ้าหน้าที่ 10 6.7
นิสิตบรรพชิต 60 40.0
นิสิตคฤหัสถ์ 50 33.33

รวม 150 100

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการด้านความถี่ของผู้ใช้บริการ



ความถี่ จำนวน ร้อยละ


50 33.33
น้อยกว่า 10 ครั้ง




10-20 ครั้ง 20 13.33

มากกว่า 20 ครั้ง 30 20.00

ไม่เคยรับบริการ 50 33.33

รวม 150 100

ผลวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ สรุปได้ดังนี้
1. ผู้ใช้บริการ

กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในภาพรวมจำนวนทั้งสิ้น 150 รูป/คน ส่วนใหญ่

เป็น เพศชาย จำนวน 100 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 รองลงมาเป็นผู้ใช้บริการ

เพศหญิง จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33

2. สถานภาพของผู้ใช้บริการ
กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในภาพรวม ส่วนใหญ่เป็นนิสิตบรรพซิตจำนวน 60


รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 รองลงมาเป็นนิสิตคฤหัสถ์ จำนวน 50 คน คิดเป็น

ร้อยละ 33.33

3. ด้านความถี่ของผู้ใช้บริการ
กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในภาพรวม ด้านความถี่ของผู้ใช้บริการมากที่สุด


คือ น้อยกว่า10 ครั้งและ ไม่เคยใช้บริการ จำนวน 50 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 33.33

รองลงมามากกว่า 20 ครั้ง จำนวน 30 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 20.00

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อบริการต่างๆ
เกณฑ์การพิจาณาระดับความพึงพอใจ
เกณฑ์การแบ่งช่วงคะแนนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการให้บริการของ


ห้องสมุดวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายความว่า การดำเนินงานระดับดีมาก
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายความว่า การดำเนินงานระดับดี
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายความว่า การดำเนินงานระดับพอใช้
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายความว่า การดำเนินงานต้องปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย 0.00 – 1.50 หมายความว่า การดำเนินงานต้องปรับปรุงเร่ง

ตารางที่ 4 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการงานเทคโนโลยี

สารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

เปรียบเทียบเกณฑ์การประเมิน ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่

ด้านการบริการ X S.D. ระดับเกณฑ์

การประเมิน

ให้คำปรึกษา และตอบข้อซักถามได้อย่าง
3.62 0.98 ดี

ชัดเจน


3.56 0.83 ดี
ให้บริการด้วยความสุขภาพ สะดวกรวดเร็ว


กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ



รวม 3.59 0.90 ดี

จากตารางที่ 4 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีดสารเทศด้านการ

บริการของเจ้าหน้าที่ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็น อยู่ในระดับ ดี ( 3.59)

เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือให้คำปรึกษา และตอบข้อซัก

ถามได้อย่างชัดเจน อยู่ในระดับ ดี (3.62) รองลงมาคือ ให้บริการด้วยความสุขภาพ

สะดวกรวดเร็ว กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ อยู่ในระดับ ดี (3.56)

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

ตารางที่ 5 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการเทคโนโลยี

สารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

เปรียบเทียบเกณฑ์การประเมิน ด้านการบริการสิ่งอำนวยความสะดวก

ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก x S.D. ระดับเกณฑ์


การประเมิน

ความพร้อม ความสมบูรณ์ของโปรแกรม 3.56 0.96 ดี
เครื่องคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการ

ความพร้อมของโสตทัศนูปกรณ์ที่ให้บริการ เช่น
3.48 0.95 พอใช้
เครื่องเสียง จอภาพ เป็นต้น

ความสะอาดของห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3.67 1.04 ดี

รวม 3.57 0.98 ดี

จากตารางที่ 5 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ


ด้านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็น อยู่ในระดับ ดี


(3.57)

เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความสะอาดของห้องปฏิบัติการ


คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับ ดี (3.67) รองลงมาคือ ความพร้อม ความสมบูรณ์ของโปรแกรม

เครื่องคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการ เป็นต้น อยู่ในระดับ ดี (3.56)

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

ตารางที่ 6 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการเทคโนโลยี

สารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน

มาตรฐาน เปรียบเทียบเกณฑ์การประเมิน ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก X S.D. ระดับเกณฑ์


การประเมิน

ระบบเครือข่ายครอบคลุมทั่วถึง 3.48 0.95 พอใช้

ความเร็วของสัญญาณในการใช้งาน
3.46 1.10 พอใช้
อินเตอร์เน็ต

ความสะดวกในการเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ต 3.49 1.04 พอใช้

ความปลอดภัยในระบบเครือข่าย 3.58 1.00 ดี

ระบบเครือข่ายช่วยอำนวยความสะดวกในการ
3.66 1.04 ดี
ทำงาน



รวม 3.53 1.02 ดี

จากตารางที่ 6 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้าน

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็น อยู่ในระดับ ดี ( 3.53)

เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือระบบเครือข่ายช่วยอำนวยความ

สะดวกในการทำงาน อยู่ในระดับ ดี (3.66) รองลงมาคือ ความปลอดภัยในระบบเครือข่าย

เป็นต้น อยู่ในระดับ ดี (3.58)

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

ตารางที่ 7 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการเทคโนโลยี

สารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน

มาตรฐาน เปรียบเทียบเกณฑ์การประเมิน ด้านกระบวนการทำงาน/ขั้นตอนการ

ให้บริการ

ด้านกระบวนการทำงาน/ขั้นตอนการให้บริการ X S.D. ระดับเกณฑ์

การประเมิน

มีขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน 3.67 0.89 ดี

ได้รับความสะดวกในการติดต่อขอรับบริการ 3.60 0.86 ดี

ได้รับความสะดวกในการติดต่อขอรับบริการ 3.67 1.06 ดี

รวม 3.64 0.9 ดี

จากตารางที่ 7 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านด้าน

กระบวนการทำงาน/ขั้นตอนการให้บริการ อยู่ในระดับ ดี ( 3.64 )

เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน /ได้รับ

ความสะดวกในการติดต่อขอรับบริการอยู่ในระดับ ดี (3.67) และ รองลงมา คือ ได้รับความสะดวก

ในการติดต่อขอรับบริการอยู่ในระดับ ดี (3.67)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. ควรเพิ่มความเร็วของอินเตอร์ให้เร็วมากขึ้น
2. ควรมีจุดบริการคอมพิวเตอร์ภายในห้องสมุดให้มีมากขึ้น
3. เพิ่มพื้นที่ในการจัดอ่านหนังสือให้มีบริการเพิ่ม
4. ควรมีการจัดมุมสำหรับนิสิตในการพักผ่อนภายในห้องสมุด

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

หลักการและเหตุผล/เหตุผลความจำเป็น
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ปรัชญา


ปณิธานที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติจึงได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา

ระดับอุดมศึกษาฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔) เพื่อให้วิทยาลัยสงฆ์เชียงรายได้

พัฒนาตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของบุคลากร ในด้านระบบเทคโนโลยีจึงมี

ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถศึกษา

ค้นหาจากแหล่งเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ทางห้องสมุดจึงได้มีการจัดอบรมการใช้ห้องสมุดและการสืบค้นในระบบ OPAC

เพื่อนิสิตสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางแห่งการ

เรียนรู้ของคณาจารย์ บุคลากร และนิสิต ในด้านระบบเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญเป็น

อย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถศึกษาค้นหาจากแหล่งเรียน

รู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นห้องสมุดจึงได้มีการจัดอบรมนิสิตชั้นปี1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ซึ่งได้บรรยายร่วมกับรายวิชา ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการเรียน หน่วยที่ 1 การบริการ
พื้นฐานห้องสมุด (อบรในรูปแบบออนไลน์)

[ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ] รายงานประจำปี 2564

รายการ วัน/เดือน/ปี อบรม หมายเห

ตุ

1. อบรมการใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วันที่ 30 ตุลาคม 2564


2. อบรมเชิงปฏิบัติการ "ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
วันที่ 22- 23 กุมภาพันธ์ 2565

สำหรับบรรณารักษ์ / เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
มจร ครั้งที่ 1

3. อบรมเชิงปฏิบัติการออกรายงานสถิติ
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 265

สารสนเทศห้องสมุดด้วย Google Data Studio


Click to View FlipBook Version