บทท่ี 6
การขนสง่ ทางน้ำ
ความมุ่งหมายของบทเรยี น
1. เพื่อใหผ้ ู้เรียนสามารถอธบิ ายประเภทการขนส่งทางน้ำ
2. เพ่ือใหผ้ ู้เรียนสามารถอธบิ ายความสำคัญของท่าเรือ
3. เพื่อให้ผูเ้ รยี นสามารถอธบิ ายรูปแบบของเรอื ท่ีใชใ้ นการขนส่งระหวา่ งประเทศ
4. เพื่อใหผ้ เู้ รียนสามารถอธิบายประเภทของสินค้าทข่ี นส่งทางทะเล
เน้อื หาบทเรยี น
1. บทนำ
2. ประเภทของการขนสง่ ทางน้ำ
3. การขนส่งทางทะเลระหวา่ งประเทศ
4. ประเภทของสินคา้
5. ประเภทของเรอื
6. บริการขนสง่ ทางทะเล
7. เอกสารทใี่ ชใ้ นการขนสง่ ทางทะเลระหวา่ งประเทศ
8. ท่าเรอื
9. การขนถ่ายและความปลอดภยั ในการขนถ่ายสนิ คา้
10. คลองสเุ อซ
กิจกรรมและวิธีการสอน
1. การบรรยายพรอ้ มยกตวั อยา่ งประกอบ
2. มอบงานและทดสอบดว้ ยแบบทดสอบท้ายบทเรยี น
สือ่ การสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. ส่อื วดี ิทศั นอ์ อนไลนเ์ พือ่ การศกึ ษา
การวดั และประเมินผล
1. สงั เกตพฤติกรรมของผู้เรียน จากการมีส่วนร่วมและการซกั ถามในชั้นเรียน
2. ประเมนิ ความเข้าใจจากการทำงานทีม่ อบหมาย และแบบทดสอบ
3. ประเมนิ ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นโดยการสอบปรนัยและอัตนยั
76
1. บทนำ
ประเทศที่พัฒนาแล้วมีอุตสาหกรรมขนส่งที่ยั่งยนื เนื่องจากกิจกรรมทางพาณิชย์ทั้งหมดหรือผลิตภัณฑ์ที่
ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่มาจากการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ เนื่องจากธุรกิจการขนส่ง
ทางน้ำหรอื การขนส่งโดยใช้เรือเป็นพาหนะ เปน็ รปู แบบการขนส่งท่ีโดดเดน่ เรื่องความสามารถในการบรรทุกสินค้า
และรองรับน้ำหนักบรรทุกมาก ค่าระวางถูกกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น อีกทั้งการเดินเรือเป็นรูปแบบการขนส่งที่ใช้
พลังงานได้อย่างประหยัด เหตุผลเหล่าน้ีเป็นสาเหตุให้การขนส่งทางน้ำเป็นรูปแบบการขนส่งที่ผู้ประกอบการ
นำเข้า-ส่งออกเลือกใช้ ตัวอย่างในประเทศจีน (สุมาลี สุขดานนท์, 2559) อธิบายว่า แม่น้ำส่วนใหญ่ในประเทศจีน
เกดิ จากท่รี าบสงู ในภาคตะวันตกและไหลลงสู่ทะเลในภาคตะวันออก เชน่ แมน่ ้ำเหลอื งหรือฮวงโหไหลลงสู่ทะเลป๋อ
ไห่ แม่น้ำเว่ย แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำจูจียง แม่น้ำหลายสายในจีนถูกกั้นทำเขื่อนเผื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และเป็น
ประโยชน์ต่อการขนถ่ายลำเลียงสินค้าไปยังเมืองต่างๆภายในประเทศ นอกจากน้ีรัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการ
เชื่อมโยงเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในเอเชียกับกลุ่มประเทศในยุโรป และแอฟริกา จึงมีนโยบายเส้นทางสายไหม
ใหม่ (New Silk Road) แบ่งเป็นเส้นทางสายไหมทางบก (Silk Road Economic Belt : One Belt) และเส้นทาง
สายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road : One Road) เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างจีนกบั ประเทศต่างๆ
สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการขนส่งทางทะเลเนื่องจากการขนส่งทางทะเลทำให้เศรษฐกิจเติบโต
(Fratila, et al., 2021) ได้ยืนยันผลของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือมีความสัมพันธ์กับการเติบโตของ
เศรษฐกิจในทิศทางบวก ทุก 10% ของการลงทุนโครงสร้างการขนส่งทางทะเลทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่าง
แทจ้ รงิ ในอตั รา 1.6% หรือกลา่ วปัจจยั ขับเคลือ่ นการคา้ โลกทส่ี ำคญั มาจากการขนสง่ ทางทะเล (BitNautic, 2020)
เนื้อหาในบทนี้ ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) ประเภทของการขนส่งทางน้ำ 3) การขนส่งทางทะเลระหว่าง
ประเทศ 4) ประเภทของสนิ ค้า 5) ประเภทของเรอื 6) บริการขนสง่ ทางทะเล 7) เอกสารท่ใี ช้ในการขนส่งทางทะเล
ระหว่างประเทศ 8) ท่าเรือ 9) การขนถ่ายและความปลอดภัยในการขนถ่ายสินค้า 10) องค์กรและหน่วยงานที่
เกีย่ วกบั การขนส่งสนิ คา้ ทางทะเลระหวา่ งประเทศ 11) บทสรุป 12) กจิ กรรมทา้ ยบทเรียน 13) อ้างองิ
2. ประเภทของการขนส่งทางน้ำ
การขนส่งทางน้ำแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ การขนส่งทางน้ำภายในประเทศ (Inland Waterway)
การขนส่งชายฝั่ง (Coastal Freight Transport) และการขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ International
Transports/Maritime transport)
การขนส่งทางน้ำภายในประเทศ (Inland Waterways) คือ การเคลื่อนย้ายผู้โดยสารหรือสิ่งของโดยใช้
เส้นทางน้ำภายในประเทศ เช่น คลอง แม่น้ำ เป็นต้น ในประเทศไทยการขนส่งสินค้าทางน้ำภายในประเทศมี
สัดส่วนเพียง 17% จากปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 1) การขนส่งทางแม่น้ำ ซึ่งมี
เสน้ ทางหลักคอื ระหวา่ งแมน่ ำ้ ป่าสกั และแมน่ ้ำเจ้าพระยา บรเิ วณ จ. อยุธยา ไปยัง จ. ชลบรุ ี และ 2) การขนส่งทาง
77
ชายฝั่งทะเล ซึ่งมีเส้นทางหลักคือระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง, ท่าเรือในกรุงเทพฯ, และท่าเรือใน จ. สมุทรปราการ
(ปุญญภพ, 2562) ในต่างประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรป มีเส้นทางน้ำยาวกว่า 37,000 กิโลเมตรเชื่อมต่อเมือง
หลายร้อยเมืองและเขต อีกทั้งการขนส่งทางน้ำภายในประเทศมีศักยภาพการขนส่งมากกว่าการคมนาคมรูปแบบ
อืน่ ในดา้ นความสามารถในการบรรทกุ สินคา้ ที่มีน้ำหนักมาก การจราจรทางในเส้นทางน้ำไมแ่ ออัด และเป็นรูปแบบ
การขนส่งที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมาธิการแหง่ สหภาพยุโรปมเี ป้าหมายส่งเสริมการคมนาคม
ขนสง่ ทางน้ำภายในประเทศ เพื่ออำนวยความมสะดวกในการเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศดว้ ยการขนส่งหลาย
รปู แบบ โดยให้การขนสง่ ทางน้ำภายในประเทศกระจายสินคา้ ในแผน่ ดิน การขนส่งทางนำ้ ภายในประเทศมีบทบาท
สำคัญในการขนสง่ สนิ ค้าของยุโรป
ภาพท่ี 6-1 Share the countries (TKM) in total transport performance and yearly inland waterway
transport performance in European Countries.
ทีม่ า: Central Commission for the Navigation of the Rhine (2020)
การขนส่งชายฝั่ง (Coastal Freight Transport) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยณาวี;
(2544 อ้างใน ปรียา และ พงษ์ชัย, 2562) การขนส่งสินค้าชายฝั่ง (Coastal Freight Transport) หมายถึง การ
เคลื่อนย้ายสินค้าชายฝั่ง ได้แก่ สินค้าที่มีการขนส่งระหว่างเขตท่าเรือภายในแนวชายฝั่งของไทยด้วยเรือยนต์
ขับเคลื่อนในตัวเอง ที่มีขนาดตั้งแต่ 20 ตันกรอสส์ขึ้นไป แต่ไม่รวมการขนส่งโดยเรือเฟอร์รี่ที่เดินทางจากท่าเรือ
หนึ่งในประเทศไปยังอีกท่าเรือหนึ่งในประเทศ ณ ท่าเรือชายฝั่ง (ท่าเรือชายฝั่ง ได้แก่ ท่าเรือสินค้า ท่าเรือประมง
และท่าหิน ดิน ทราย เท่านั้น ไม่รวมถึงท่าเรือท่องเที่ยว) ที่เรือค้าชายฝั่งสามารถ เข้าไปรับและส่งสินค้าชายฝั่งได้
ได้แก่ เรอื กลเดนิ ทะเลใกล้ฝั่ง เรอื กลเดินทะเลเฉพาะเขต และเรือกลเดนิ ทะเลชายแดน
78
การขนส่งทางน้ำหระหว่างประเทศ (International Transports/Maritime transport) คือ การขนส่ง
ของหรือคนโดยสาร โดยเรือจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศมายังประเทศไทย หรือจากท่ี
หนึ่งไปยงั อกี ท่ีหนงึ่ นอกราชอาณาจักร
3. การขนสง่ ทางทะเลระหว่างประเทศ
United Nations, (2021) รายงานสถานการณ์การขนส่งทางทะเลในปี 2020 พบว่าปริมาณการขนส่ง
สินค้าทางทะเลลดลง เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ครึ่งปีแรกของปี 2020 การค้าและการ
ขนส่งทางทะเลหดตัวร้อยละ 3.8% แต่ในครึ่งปีหลังการเติบโตของอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและ
สภาวะทางเศรษฐกิจของหลายประเทศฟื้นตัว ปริมาณการขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเพิ่มข้ึน ซึ่งเหตุการณ์น้ีแตกต่าง
จาก วกิ ฤตการเงินโลกในปี 2009 ทท่ี ่ัวโลกตอ้ งเผชญิ กับภาวะถดถอยพร้อมกนั
ภาพที่ 6-2 อตั ราสสว่ นการคา้ ทางทะเลตอ่ GDP ปี 2006-2021
ทม่ี า: United Nations (2021)
ภาพรวมเรอื ขนสง่ สินค้าในปี 2020 กองเรือพาณชิ ยท์ ว่ั โลกเติบโต 3% หรือ 99,800 ลำ เพราะปัญหาหลัก
มาจากการขาดแขลนแรงงานในธุรกิจเรือ ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการล็อกดาวน์ เรือขนส่งสินค้าส่วนใหญ่เป็น
สินค้าประเภทเทกอง รองลงมาคือแทงเกอร์บรรทุกน้ำมัน สินค้าทั่วไป และคอนเทนเนอร์ ปริมาณการขนส่งทาง
ทะเลกลุ่มประเทศในเอเชียมีสัดส่วนการขนส่งทางทะเลสูงที่สุดถึง 54% รองลงมาคือ อเมริกา ยุโรป โอเชียเนีย
และแอฟรกิ า โดยช่วงปลายปี 2020 เป็นต้นมา ค่าระวางเรือมีราคาเพิ่มสูงขน้ึ เน่ืองมาจากการแพร่ระบาดโควิด-19
และ ความต้องการใช้ตู้คอนเทนเนอรม์ ีจำนวนมากกว่าอุปทาน แต่ในระยะยาว โครงสรา้ งต้นทนุ ค่าขนส่งทางทะเล
79
ผนั ผวนตามโครงสรา้ งพน้ื ฐานของทา่ เรือ ปจั จยั ทางเศรษฐศาสตร์ การอำนวยความสะดวกทางการคา้ โครงขา่ ยการ
ขนส่งที่เชื่อมโยงแบบไม่มีข้อจำกัด และกฎหมายข้อบังคับเกี่ยวกับการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะมีผลกระทบ
โดยตรงทำให้ต้นทุนการขนส่งสงู ข้นึ
ภาพที่ 6-3 สดั สว่ นประเภทสินคา้ ที่ขนส่งทางทะเล
ท่มี า: United Nations (2021)
ภาพที่ 6-4 สัดสว่ นการขนสง่ สินค้าท่ัวโลก
ที่มา United Nations (2021)
อตุ สาหกรรมเดินเรือไดร้ ับผลกระทบโดยตรงจากการเปล่ียนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ในการดแู ล
รกั ษาความปลอดภยั ของสนิ ค้าทข่ี นสง่ ทางทะเลจากสภาพอากาศแปรปรวนและระดับน้ำทะเลที่สูงขึน้ เป็นอปุ สรรค์
ในการเดินเรือ ในปี 2021 องค์การทางทะเลระหวา่ งประเทศ (International Maritime Organization: IMO) ได้
ปรบั ปรุงอนสุ ญั ญาระหวา่ งประเทศวา่ ดว้ ยการปอ้ งกนั มลพิษจากเรือ (MARPOL) ในภาคผนวกเรอื่ งกฎระเบียบใหม่
การบังคับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่ง เพอ่ื สนับสนนุ ให้อตุ สาหกรรมเดินเรอื ให้มสี ว่ นรว่ มต่อสู้
และยับยงั้ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
80
4. ประเภทของสินค้า
สินค้าทีท่ ำการบรรทุ กและขนถา่ ยในธรุ กิจการขนสง่ ทางเรือ มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกนั คอื สินคา้ เทกอง
สินค้าท่ัวไป และสินค้าตู้
สนิ คา้ เทกอง
สินค้าเทกอง หมายถึง สินค้าแห้งซึ่งทำการบรรทุกขนถ่ายโดยเรือแบบดั้งเดิม (Conventional Vessel)
ซึ่งไม่ใช่สายการเดินเรือประจำ สินค้าเทกองนับเป็นสินค้าที่มีปริมาณการขนส่งทั่วโลกมากที่สุด สินค้าเทกอง
โดยท่ัวไปจะถกู แบง่ ออกเปน็ 5 ประเภท คอื
1. แรเ่ หลก็ (Iron Ore) และสินแร่ (Ore Concentrates)
2. เมลด็ พืช (Grain)
3. ถา่ นหิน (Coal)
4. ฟอสเฟต (Phosphate)
5. บอกไซต์ และอะลมู นิ า (Bauxite & Alumina)
สินค้าเทกองทุกประเภทต่างมีปัจจัยสำคัญร่วมกันในเรื่องของการบรรทุกขนถ่าย คือ เรื่อง
Stowage Factor หมายถึง ปริมาตรในหน่วยลูกบาศก์เมตร ซึ่งสินค้า 1 ตันหรือ 1,000 กิโลกรัมจะใช้พื้นที่ในการ
จัดวาง (Stow) ตัวเลขดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากสภาพทางกายภาพของ
สินค้า ความแตกต่างในวิธีการจัดวาง เนื่องมาจากข้อกำหนดในการระบายอากาศ ความต้องการในการรองพื้น
(Dunning) รูปร่างของเรือและอื่นๆ การบรรทุกขนถ่ายส่งสินค้าเทกอง จะแบ่งการพิจารณาออกตามประเภทของ
สินคา้ ดังนี้
แรเ่ หลก็ และสนิ แร่
แร่เหล็กเปน็ สนิ คา้ เทกองที่มคี วามสำคญั ทงั้ นีเ้ นอ่ื งจากความต้องการในการผลติ เหลก็ กล้าทัว่ โลกท่ี
เพิ่มขึ้นทุกวันนับตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อนเป็นต้นมา ในการบรรทุกแร่เหล็กและสินแร่นี้ มักจะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก
หากได้รับการบรรทุกและจัดวางที่ดี ณ จุดต้นทาง แร่เหล็กไม่ต้องการการระบายอากาศเป็นพิเศษและไม่มีความ
เสียหายท่ีเกิดจากความสกปรกจากสนิ คา้ อ่ืน
สำหรบั สินแร่บางชนดิ ท่ีอาจมีลักษณะพเิ ศษ เช่น มีการเผาไหมไ้ ดด้ ว้ ยตนเอง เชน่ Sulphide
Concentrates ทุกชนิดควรมีการบรรทุกในระวางท่ีมีอณุ หภมู ิตำ่ กว่า 32 องศาเซลเซยี ส นอกจากน้ีสนิ แรบ่ างอย่าง
อาจเกิดความเสียหายข้ึนไดจ้ ากความชื้น เช่น สินแร่พวก Thixotrophic commodity ซึ่งต้องมีการควบคมุ ระดับ
ความชนื้ ให้อยู่ในอัตราที่กำหนด
81
เมลด็ พืช
เมลด็ พืชในทน่ี หี้ มายถงึ ขา้ วสาลี ข้าวโพด ข้าวเจา้ ข้าวบาร์เลย์ ขา้ วโอต๊ ขา้ วไรย์ (Rye) และเมล็ด
พชื อื่นๆ เมลด็ พืชเคยเป็นสนิ คา้ เทกองทมี่ ขี นาดการบรรทุกขนถ่ายขนาดใหญท่ ส่ี ุดในโลก
ถา่ นหนิ
ถ่านหินเคยเป็นสินค้าเทกองที่มีปริมาณการขนส่งมากที่สุดในโลก แต่ได้ลดปริมาณลงเนื่องจากมี
การค้นพบแหล่งพลังงานอ่นื ข้นึ ทดแทนถา่ นหนิ การขนสง่ สว่ นใหญจ่ ะอยู่ในเส้นทางออสเตรเลีย-อเมรกิ า
ปัญหาการขนส่งถ่านหิน คือ โอกาสการเผาไหม้ได้ในตัวเอง จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมระดับ
อณุ หภมู ติ ลอดระยะเวลาการเดินทาง
ฟอสเฟต ปยุ๋ เคมีและปุ๋ยธรรมชาติ
แหล่งผลิตฟอสเฟตทส่ี ำคัญของโลกอยู่ทโี่ มรอคโค สหรฐั อเมริกา รัสเซยี และแถบบรเิ วณมหาสมทุ ร
แปซิฟกิ ฟอสเฟตในรปู ของกอ้ นหิน โดยตัวเองแลว้ ไม่มีปญั หาความยุ่งยากในการบรรทุกขนถ่าย ยกเวน้ ในกรณีของ
ฝุ่นละอองซงึ่ เปน็ เรอื่ งปกติ นอกจากน้กี ็คอื เรอ่ื งของการซึมซบั ความช้นื ซงึ่ ฟอสเฟตสามารถซึมซบั ความชน้ื ได้ง่าย
และปุ๋ยนั้นมีปัญหาในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปและมีความยุ่งยากมากกว่าฟอสเฟต ปุ๋ยจากธรรมชาติหรือปุ๋ย
คอก เช่น กระดูกสัตว์ มูลค้างคาว ปลาป่น เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดความร้อนและเน่าเปื่อยหรือบูดเน่าได้ใน
ระหว่างการขนส่ง
บอกไซต์และอะลูมินา
ของสนิ ค้าเทกองน้ี คือ การกระจายน้ำหนกั ของสินค้า และการบรรทกุ ขนถา่ ย (Load/Discharge)
สินค้าทวั่ ไป
สินค้าทั่วไป หรือ General Cargo ได้แก่ สินค้าที่บรรจุอยู่ในถุง (Bag) กล่อง (Cases) ลัง (Crates)
หรือถัง (Drums) หรือแม้แต่สินค้าที่อยู่รวมกันเป็นมัดหรือเป็นก้อน หรือแยกกันเป็นชิ้นๆ (Bailing/Bundle) เช่น
เคร่อื งยนต์ ท่อ เครอ่ื งสขุ ภณั ฑ์ หรอื แม้แต่บรรจรุ วมกนั ในภาชนะขนาดใหญ่ เชน่ ตู้สนิ คา้ (Container)
สินค้าตู้
สินค้าตู้ คือ สินค้าทั่วไปหรือสินค้าเทกองที่บรรจุอยูใ่ นตูส้ ินค้าหรือ Container ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่
ของการบรรจุหบี หอ่ สนิ ค้า เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว และปลอดภยั
ตู้สินค้าหรอื ตู้ Container คือต้เู หล็กทีม่ ีขนาดมาตรฐาน คือ กว้าง 8 ฟตุ สูง 8 ฟตุ และยาว 20 ฟุต
เรียกว่าขนาด 1 TEU (Twenty Equivalent Unit)
แบบของตคู้ อนเทนเนอร์ (Type of Containers)
82
ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางทะเล หมายถึง ตู้สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 ฟุต สูง8.5 ฟุต
ยาว 20, 35, 40 หรือ 45 ฟุต ทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม ใช้บรรทุกสินค้าที่เป็นหีบห่อ ชิ้น ลัง พาล์เลต กล่อง
หรือไม่มีหีบห่อ เพื่อป้องกันการสูญหายและเสียหายระหว่างการขนส่ง เพื่อความสะดวก รวดเร็วต่อการเปลี่ยน
วิธีการขนส่ง ซึ่งจะแตะต้องเฉพาะตัวตู้ ปราศจากการแตะต้องสินค้าที่บรรจุภายใน ตู้คอนเทนเนอร์สามารถแบ่ง
ออกอย่างกวา้ ง ๆ ได้ 3 แบบ ตามประเภทหรอื ความเหมาะสมของสินค้าท่จี ะบรรทุก เชน่
1. ตแู้ หง้ หรอื สนิ ค้าทว่ั ไป (Dry and General Cargo Container)
2. ตู้ควบคมุ อณุ หภมู ิ (Thermal Container) ซง่ึ แยกได้อีก 3 แบบ เชน่
1.1 ต้หู ้องเยน็ (Reefer Container)
1.2 ตู้ฉนวน (Insulated Container)
1.3 ตู้ระบายอากาศ (Ventilated Container)
2. ต้พู ิเศษ (Special Container) แยกออกเป็น
2.1 ตูแ้ ทงเกอร์ (Tank Container)
2.2 ตเู้ ปดิ หลงั คา (Open Top Container)
2.3 ตแู้ พลตฟอร์ม (Platform Based Container)
2.4 ตเู้ ปดิ ขา้ ง (Side Open Container)
2.5 ตู้บรรทกุ รถยนต์ (Car Container)
2.6 ตบู้ รรทุกหนงั เคม็ (Hide Container)
2.7 ตสู้ ูงหรือจัมโบ้ (High Cube Container)
2.8 ตู้อน่ื ๆ
ประโยชนข์ องการขนส่งด้วยระบบตสู้ ินค้า มีหลายประการ ดงั น้ี
1. สะดวกในการบรรทกุ และขนถ่าย เพราะมีตูข้ นาดมาตรฐานเดยี วกนั มหี ลายขนาดและ
ประเภทใหเ้ ลือกใชต้ ามความเหมาะสมของสนิ ค้า
2. สนิ ค้าทบ่ี รรจุอยู่ภายในมีโอกาสเสยี หายน้อยมาก เพราะอยใู่ นต้เู หล็กท่แี ขง็ แรงและมีการ
เคลอ่ื นยา้ ยน้อยครง้ั สินค้าจึงไม่บอบช้ำ
3. สนิ ค้าปลอดภัยจากการถกู ขโมย
4. ประหยดั คา่ ใชจ้ า่ ยในการทำหีบห่อ
5. ประหยดั เวลาและค่าใชจ้ ่ายในการขนส่ง เพราะการขนสง่ ด้วยระบบตสู้ นิ คา้ น้ี คา่ ใชจ้ า่ ยในการ
83
ยกขนและขนส่งคิดต่อตู้ ซึ่ง 1 ตู้สั้น คือ ตู้ขนาด 8′8′20′ สามารถบรรทุกสินค้าได้ประมาณ 18-20 ตัน หรือ
ประมาณ 35.3 ลกู บาศกเ์ มตร ในขณะท่ีตยู้ าว คือ ตู้ขนาด 8′8′40′ จะสามารถบรรทุกสนิ คา้ ไดป้ ระมาณ 30-32 ตัน
หรือประมาณ 70 ลูกบาศก์เมตร
6. ตูส้ ินคา้ ยงั สามารถเคล่อื นย้ายไปมาระหว่างรปู แบบการขนส่งแบบต่างๆไดอ้ ยา่ งสอดคล้องกนั
ท้ังทางเรือ ทางบก ทางรถไฟ และแม้แต่ทางอากาศ
สินค้าเหลว
สินค้าเหลว ได้แก่ น้ำมัน ทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันที่กลั่นแล้ว สารเคมีต่างๆ สินค้าเหลวประเภทน้ี
จัดเป็นสินค้าอันตราย และเนื่องจากสินค้าดังกล่าวมีสถานภาพที่เป็นของเหลว ดังนั้นจึงมีการเคลื่อนย้ายหรือ
เคลื่อนไหวไปมาตลอดเวลาตามลักษระของการเคลื่อนที่ของเรือ และมีบริเวณพื้นผิวหน้า (Surface) ที่กว้างมาก
โดยแผ่ขยายเต็มความกว้างของแต่ละถัง (Tank) การบรรทุกขนถ่ายสินค้าเหลวนี้จะไม่ทำการบรรทุกสินค้าเต็ม
กำลังความจุของถงั ท้ังนพี้ นื้ ที่ที่เหลืออยู่จะทำการใส่แกส๊ เฉอ่ื ย (Inert Gas) เข้าไปเพอ่ื ปอ้ งกนั การลุกไหมข้ องน้ำมนั
5. ประเภทของเรอื
โดยปกติแล้วประเภทของเรือจะแยกตามลักษณะของสินค้าที่เรือบรรทุก เช่น เรือบรรทุกสินค้าเทกอง
(Bulk carrier), เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป (General cargo ship), เรือบรรทุกรถยนต์ (RORO) RO-RO, เรือบรรทุก
สินค้าแช่เย็น/แช่แข็ง (Reefer Cargo Ship), เรือบรรทุกสินค้าที่เป็นของเหลว (Tankers), เรือคอนเทนเนอร์
(Container ship) เป็นต้น
เรอื แต่ละประเภทสามารถแบง่ ตามขนาดของเรือหรือนำ้ หนักบรรทกุ ของสนิ ค้า ดังนี้
1) เรือบรรทุกสินค้าเทกอง (Bulk carrier) แบบแหง้ จำแนกตามน้ำหนักบรรทกุ ของเรอื ได้ดงั นี้
• Capesize Class น้ำหนกั บรรทกุ ไม่เกิน 200,00 DWT
• Panamax Class (Supramax, Ultramax, Panamax, Kamsarmax) นำ้ หนกั บรรทุก 60-
100,00 DWT
• The Handy Class (Handysize น้ำหนกั บรรทุกไม่เกนิ 40,00 DWT, Handymax น้ำหนัก
บรรทุกไมเ่ กิน 60,000 DWT)
2) เรอื คอนเทนเนอร์ (Container ship) จำแนกตามขนาดของเรือและความสามารถการบรรทุกตู้ ดงั นี้
• Early containerships บรรทกุ สนิ คา้ ไดป้ ระมาณ 1,000 TEU
• Panamax บรรทุกสินค้าได้ประมาณ 4,000 TEU
• Post Panamax I and II บรรทุกสินคา้ ได้ประมาณ 4,500 – 8,000 TEU
84
• Very Large Containership (VLCS) บรรทุกสินคา้ ไดป้ ระมาณ 11,000 – 14,500 TEU
• New-Panamax, or Neo-Panamax (NPX) เปน็ เรือท่ถี กู ออกแบบมาเพ่ือให้สามารถบรรทุกผ่าน
คลองปานามาได้พอดี บรรทุกสนิ ค้าไดป้ ระมาณ 12,500 TEU
• Ultra Large Containership (ULCV) บรรทุกสนิ คา้ ได้ประมาณ 27,000-30,000 TEU
ภาพที่ 6-5 ขนาดเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์
ท่มี า Rodrigue. J. P., (2020)
85
การวดั ขนาดเรอื (Tonnage Measurement)
มีระบบการคำนวณนำ้ หนักบรรทกุ ของเรอื การวัดขนาดเรือ หรือ Tonnage Measurement วัดได้หลาย
แบบ คอื
1. Light Displacement คือ นำ้ หนกั (หน่วยเป็นตนั ) ของเรอื เปลา่ คือไม่มีระวางบรรทกุ
(Empty) เป็นหน่วยที่นิยมใช้ โดยเฉพาะ เมื่อต้องการคำนวณน้ำหนักของเรือสำหรับการกำหนดราคาซาก
(Scrapping Price)
2. Load Displacement คือ นำ้ หนัก (หนว่ ยเป็นตนั ) ของเรือเมือ่ มีนำ้ มนั เสบยี ง (Store) และ
สนิ คา้ บรรทกุ ในระดับสูงสุด ณ เส้น Summer Loadline และมกั นิยมใช้ในกรณีเรือรบ
3. Deadweight คือ นำ้ หนัก (หนว่ ยเปน็ ตัน) ของ Load Displacement ลบดว้ ย Light
Displacement หรือเท่ากับน้ำหนักของสินค้า น้ำมัน น้ำ และเสบียง เมื่อเรือลอยอยู่ในระดับของเส้น Summer
Loadline เป็นหน่วยท่ีนิยมใช้มากที่สุดในกรณีของเรอื สินคา้
4. Grainspace เปน็ ปริมาตร (หน่วยเปน็ ลูกบาศกฟ์ ุตหรือลูกบาศก์เมตร) ของระวาง (Holds)
และพนื้ ท่ีบรรทุกสินคา้ (Cargo Spaces) ของเรอื วดั ถึงผิวเรือ (Ship’s Skin)
5. Bale space เป็นปริมาตร (หนว่ ยเป็นลกู บาศกฟ์ ุตหรอื ลูกบาศกเ์ มตร) ของระวาง (Holds)
และพื้นที่บรรทุกสินค้า (Cargo Spaces) ของเรือ วัดเป็นปริมาตรภายในคือ วัดถึงกรอบ (Frames) เพดาน
(Ceiling) ฯลฯ
6. Gross Tonnage เป็นปริมาตร (หน่วยเปน็ ลกู บาศกฟ์ ตุ หรอื ลูกบาศก์เมตร) ภายในของเรือ คณู
ด้วยค่าคงทโ่ี ดยเฉลย่ี ของเรือ หรือ K1 นยิ มใช้ในการพิจารณาระดับกำลงั คนประจำเรือ
7. Nett Tonnage เปน็ ปรมิ าตร (หน่วยเป็นลูกบาศกฟ์ ตุ หรอื ลกู บาศกเ์ มตร) ทก่ี ่อใหเ้ กดิ รายได้
(Earning Space) ของเรือคูณด้วยคา่ คงที่ เป็นหน่วยท่นี ิยมใช้ในการคำนวณค่าภาระทา่ เรอื คา่ ภาระเรือผา่ นรอ่ งน้ำ
และอ่นื ๆ
6. บริการขนส่งทางทะเล
บริการขนส่งทางทะเล แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ บริการแบบประจำเส้นทาง (Liner Shipping
Service) และบริการแบบไมป่ ระจำเส้นทาง (Tramp Shipping Service) ดงั นี้
1) บริการแบบประจำเสน้ ทาง (Liner Shipping Service) เป็นบรกิ ารการเดินเรอื ในเสน้ ทางใด
เส้นทางหนึ่งเป็นประจำอย่างต่อเนื่องกัน ผู้ประกอบการหรือ สายเรือจะกำหนดตารางการเดินเรือ (Sailing
Schedule) ตั้งแต่ท่าเรือต้นทาง (Origin Port) ท่าเรือระหว่างทาง (Port of Call) และท่าเรือปลายทาง
(Destination Port) เมื่อถึงกำหนดเวลา (ETD: Estimated Time Departure) ตามตารางที่กำหนดไว้ เรือก็จะ
ออกจากท่าเรือ และจะเดินทางไปถึงท่าเรือปลายทางตามกำหนดเวลา (ETA: Estimated Time Arrival) ที่ได้
86
แสดงไว้บริการขนส่งแบบนี้สายเรือจะประกาศอัตราค่าขนส่งหรือค่าระวาง (Freight Rate)รวมทั้ง ค่าธรรมเนียม
พิเศษอน่ื ๆ (Surecharges) ไวล้ ว่ งหนา้
2) บริการแบบไมป่ ระจำเส้นทาง (Tramp Shipping Service) เปน็ ธรุ กจิ การรับจา้ งขนสง่ สินคา้
เหมาลำ โดยเจา้ ของเรือจะเสนอเรือเพ่ือขนส่งสินค้ากับเจา้ ของสนิ ค้า ในรูปแบบของการเช่าเรือ การเช่าเรืออาจทำ
ไดห้ ลายวธิ ีดว้ ยกัน คอื
• การเช่าแบบเปน็ เท่ยี ว (Voyage Charter)
• การเชา่ แบบเปน็ ระยะเวลา (Time Charter) และแบบ Trip Time Charter
• การเชา่ แบบเรือเปล่า (Bareboat Charter)
7. เอกสารท่ีใช้ในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ
สำหรับกิจการสายการเดินเรือที่เป็นเรือบรรทุกสินค้าตู้ (Container Ship Line) สรุปดังตาราง
6-1
ตารางท่ี 6-1 เอกสารการขนสง่ สินค้าทางทะเล
เอกสาร ผขู้ าย ผูซ้ ้ือ
ใบจองเรือ (Shipping Particulars) ✓
ใบสง่ั นำสินค้าลงเรือ (Shipping Order) ✓
ใบรับสินคา้ ลงเรือ (Mate's Receipt) ✓
ใบรบั สินค้าท่ที ่าเรอื (Dock Receipt) ✓
หนงั สือยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย (Letter of Indemnity) ✓
หนังสือรับรองการออกของโดยไม่มีใบตราส่ง (Letter of Guarantee ✓
Delivery Without Bill of Lading)
ใบแจ้งหมายกำหนดเรือเข้า (Arrival Notice) ✓*
ใบสง่ั ปล่อยสนิ ค้า (Delivery Order) ✓*
ใบตราส่งทางทะเลของเรือ Conventional Ship (Bill of Lading) ✓**
ใบตราสง่ ทางทะเลของเรือ Convention Ship (Combined ✓*
Transport Bill of Lading)
บญั ชีสนิ ค้าของเรอื (Cargo Manifest) ✓* ✓*
บญั ชีค่าระวาง (Freight Manifest) ✓
แผนผังการบรรจุสินคา้ ในตู้ (Container Load Plan) ✓
เอกสาร 87
ใบจองเรอื (Shipping Particulars)
ผ้รู ับสนิ คา้ (Notify Party) ผู้ขาย ผซู้ ้อื
✓
✓*
หมายเหตุ ✓* คือ เอกสารระหวา่ งผซู้ อ้ื หรอื ผู้ขายกบั สายเรอื
✓** คือ เอกสารระหว่างผ้ซู อื้ หรือผขู้ ายกบั ธนาคาร
ประยกุ ต์จาก: กมลชนก สุทธิวาทนฤพฒุ ิ (2553)
เอกสารท่ใี ชใ้ นการดำเนนิ การทางการเงนิ
การซอ้ื ขายสินคา้ ทเี่ กี่ยวข้องกบั ธนาคาร คอื การซอื้ ขายท่ีมีการเปิด Letter of Credit (L/C) กับ
ธนาคาร ดังนั้น เอกสารที่บริษัทเรือเกี่ยวข้องกับธนาคารอาจแยกกล่าวได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีเป็นการส่ง
สนิ ค้าออก และ กรณีเป็นการนำสินค้าเข้า
เอกสารของเรือที่เก่ียวขอ้ งกับธนาคารทสี่ ำคญั ได้แก่ ใบตราส่งทางทะเล (Marine Bill of
Lading; B/L) หรือ ตั๋วเรือ ใบตราส่งเป็นเอกสารที่บริษัทเรือออกให้เมื่อได้รับสินค้าจากผู้ส่งสินค้า (Shipper)
เรยี บรอ้ ยแลว้ ใบตราสง่ นมี้ ีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เป็นเอกสารแสดงการได้รบั สนิ ค้าหรอื สงิ่ ของ (Receipt) ของบรษิ ทั เรือ แสดงให้ทราบจำนวน
สนิ คา้ หรือส่งิ ของตามสภาพหบี ห่อทีส่ ง่ อาทิเชน่ ก่กี ลอ่ ง ก่ลี งั ฯลฯ
2. เป็นสญั ญา (Contact) ระหว่างผ้สู ง่ สินคา้ กบั บรษิ ัทเรอื ซ่ึงเปน็ ผู้รบั ขนสินค้าวา่ ผูร้ ับสนิ ค้าจะสง่
สินคา้ ไปยังจดุ หมายปลายทางและจดั มอบสนิ คา้ ใหแ้ กผ่ รู้ บั ตามคำส่งั ของผสู้ ง่ สนิ ค้า
3. เป็นตราสารแสดงสทิ ธข์ิ องผทู้ รง (Document of Tile) หรือผู้ทมี่ ีสิทธใ์ิ นสนิ ค้านน้ั สิทธิน์ ี้
สามารถเปล่ยี นมือได้ (Negotiable) คอื สามารถโอนสทิ ธิต์ ่อ ๆ กันไปได้
8. ท่าเรือ
ท่าเรือเป็นสถานที่อำนวยความสะดวกในการเปล่ียนถ่ายการขนส่งระหว่างการขนส่งทางบกกับการขนส่ง
ทางน้ำหรือทางทะเล มีโครงสรา้ งพื้นฐานและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการยกขนเปลีย่ นถ่ายสินคา้ (บทที่ 7)
ท่าเรือเปน็ ส่วนหน่งึ ของกลุ่มกจิ กรรมทางเศรษฐกจิ เป็นพืน้ ทีท่ เี่ ชื่อมกับทะเลและพื้นที่หลงั ท่าเรือเป็นสถานที่ใช้ขน
ถ่ายสินคา้ เปลี่ยนรปู แบบการขนส่ง
โครงสร้างพืน้ ฐานของท่าเรอื ประกอบด้วย
• ท่ีสำหรับจอดเรือ หรือทสี่ ำหรบั ทอดสมอเรือ
• พน้ื ทีห่ น้าทา่ เรอื ที่ขนานไปกับน้ำ
88
• เครอ่ื งมือ อปุ กรณ์ขนถ่ายสนิ คา้ เชน่ เครน หรือ ท่อ สำหรบั เคล่อื นย้ายสินคา้ จากเรอื มาไวท้ ี่
หน้าทา่ หรือจากหน้าทา่ เรอื ไปยงั เรือ
• อาคารสำนักงาน
• พ้นื ท่ีสำหรบั เกบ็ สนิ ค้ากอ่ นหรือหลังจากการเดินทางทางทะเล พนื้ ทด่ี ังกลา่ วอาจเป็นคลังสนิ คา้ ที่
เปดิ โลง่ ไม่มีหลังคากไ็ ด้
• ร่องน้ำ ประตูทางเขา้ ทา่ เรอื เพื่อนกันคลืน่ ประตูระบายน้ำทะเล ถนนเช่ือมต่อกบั ทา่ เรอื
บรกิ ารของท่าเรอื ได้แก่
• บรกิ ารนำร่อง
• บริการลากจงู
• บริการขนถา่ ยสนิ ค้า
• บรกิ ารคุณค่าเพ่มิ ของทา่ เรอื เช่น คลงั สนิ ค้าทัณฑบ์ น การบรรจุหีบห่อใหม่
รปู แบบของการบริหารทา่ เรือ
• การบรหิ ารท่าเรอื โดยรฐั (Nationalized Ports)
• การบรหิ ารท่าเรอื โดยเทศบาลเมือง (Municipal Ports)
• การบรหิ ารท่าเรอื โดยการทา่ เรือ (Autonomous Port Authority)
• การบรหิ ารทา่ เรือโดยเอกชน (Private Owned Ports)
หนว่ ยงานต่าง ๆ ท่เี ก่ยี วขอ้ งในท่าเรือ ได้แก่
• สายเรอื เปน็ ผทู้ ีต่ อ้ งการใชท้ ่าเรอื เพื่อการขนสง่ สนิ ค้าระหว่างทา่ เรือหนงึ่ ไปยังอีกท่าเรอื หนึ่ง
ปัจจุบัน สายเรือเหล่านี้มักต้องการบริการโลจสิ ติกสอ์ ื่นๆ สำหรับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับเจ้าของ
สนิ คา้
• ผจู้ ดั การท่าเรอื เป็นผทู้ ่รี ับผดิ ชอบในการบริหารงาน และพัฒนาทา่ เรือ เพ่ือให้บรกิ ารกับ
ผู้ใช้บรกิ ารของทา่ เรือ
• ผ้ปู ระกอบการท่าเทยี บเรอื เปน็ ผู้ที่รบั ผิดชอบในการเคล่อื นยา้ ยสินคา้ ระหวา่ งทา่ เทียบเรือและ
เคลื่อนยา้ ยสนิ ค้าไปเกบ็ รกั ษา หรือเตรยี มไว้เพ่ือสง่ มอบ หรอื ขนสง่ โดยรถบรรทุกหรอื รถไฟ
• ผู้ใหบ้ รกิ ารขนสง่ ทางบก เปน็ ผทู้ รี่ ับผิดชอบในการเคลื่อนยา้ ย หรือขนส่งสนิ คา้ ระหว่างจุดต้นทาง
ของสินคา้ ไปยงั ท่าเรอื หรอื จากทา่ เรือไปยงั คลงั สนิ คา้ ที่อยภู่ ายในแผน่ ดนิ
• เจ้าของสินคา้ เปน็ ผ้ทู ีม่ คี วามต้องการวา่ จา้ งตวั แทนหรือผใู้ หบ้ ริการโลจสิ ติกส์สำหรับบริการขนสง่
และบรกิ ารโลจสิ ตกิ สใ์ นหว่ งโซก่ ารขนสง่ หรอื เครือขา่ ยการขนสง่
89
9. การขนถ่ายและความปลอดภัยในการขนถา่ ยสนิ ค้า
ส่ิงอำนวยความสะดวกในทา่ เทยี บเรอื
1) ทา่ เทยี บเรือ (Wharf) สำหรบั ใชเ้ ทยี บเรอื สนิ ค้าบรรจตุ ู้
2) หนา้ ท่า (Apron) คอื พ้ืนที่ตอนหนา้ ของทา่ เทียบเรือซึ่งหนั หนา้ ออกส่ทู ้องนำ้
3) ลานต้สู นิ ค้า (Container Yard/CY) คอื บริเวณที่ใช้รับและส่งมอบตสู้ นิ ค้า บรรจุ
สินคา้ เขา้ ตู้ บางครงั้ รวมถงึ การใช้เก็บตูส้ ินคา้ เปล่า รถพ่วง (Chassis/Trailer) ลานวางเรียงตู้สนิ คา้ และพน้ื ทีห่ นา้ ทา่
4) ลานวางเรียงตู้สินค้า (Marshalling Yard) คอื บรเิ วณซึ่งสินค้าถกู นำมาวางเรียงกนั เพื่อบรรทุก
หรือขนถา่ ยโดยตรงจากเรือสินค้า บริเวณนีจ้ ะอยตู่ ดิ กบั พ้นื ทหี่ น้าทา่ ก่อนทเ่ี รือจะเขา้ เทยี บท่า
5) สถานีตู้สินค้า (Container Freight Station/CFS) เป็นสถานีที่ที่รับและเก็บรักษาตู้สินค้าท่ี
ขนส่งแบบ LCL ตลอดจนนำสินคา้ ออกจากและบรรจุสินคา้ เข้าตู้
6) ศูนย์ควบคุม (Control Centre) เป็นจุดที่ทำการควบคุมและอำนวยการปฏิบัติงานของลานตู้
สินค้าทั้งลาน การบรรทุกขนถ่ายสินค้าในเรือ และวางแผนจัดเก็บตู้สินค้า การติดต่อสั่งการอาจกระทำโดยใช้วทิ ยุ
ติดตอ่ กับผู้ปฏบิ ตั ิงานบนป้ันจั่นหนา้ ท่าและผปู้ ฏิบัติงานอน่ื ๆ ในลานตู้สนิ คา้
7) ประตู (Gate) เปน็ จดุ ท่ีรบั มอบหรอื ส่งมอบตู้สนิ ค้า จดุ นเ้ี ปน็ จุดทีผ่ ทู้ ำการบรรทกุ ขนถ่ายสินค้า
และผขู้ นสง่ สง่ มอบความรับผิดให้แก่ผู้รบั ตราส่ง (Consignee) หรอื ผู้ทำการขนสง่ ทางบก
8) โรงซอ่ มตู้สนิ ค้า (Maintenance Shop)
เป็นที่ท่ีใช้ตรวจสภาพตู้สินค้า ซ่อมแซม ทำความสะอาดท้ังก่อนและหลงั การใช้ตู้ นอกจากนี้ยังใชท้ ำการซอ่ มบำรุง
อุปกรณย์ กขนทีใ่ ชท้ ่าเทยี บเรอื
9) ลานสำหรับตสู้ นิ ค้าประเภทต้เู ย็น (Electric Power for Reefer Containers)
เพื่อให้ตู้สินค้าประเภทตู้เย็นทำงานได้ตลอดเวลาก่อนที่จะทำการบรรทุกลงเรือ หรือหลังการขนถ่ายขึ้นจากเรือ
จนกระทัง่ ทำการสง่ มอบสินคา้
ระบบการปฏิบัตงิ านบรรทุกขนถ่ายสนิ คา้
ระบบในการบรรทุกขนถ่ายและเคลือ่ นยา้ ยตู้สนิ คา้ ทน่ี ิยมใชก้ ันมอี ยู่ 4 ระบบ คือ
1) Trailer Storage System
ตสู้ นิ ค้าขาเขา้ จะถกู ยกขน้ึ จากเรือและวางลงบนรถพว่ ง ซึ่งจะถกู ลากไปไว้ในบริเวณลานต้สู ินค้าท่ี
กำหนดไว้เพื่อรอให้รถบรรทุกมาขนย้ายตู้สนิ ค้าออกจากทา่ เรือ ในขณะเดียวกนั รถพว่ งจะบรรทุกตู้สินค้าขาออกซ่ึง
วางเรยี งอยูบ่ รเิ วณลานต้สู ินคา้ มาไว้บรเิ วณหน้าท่าเพ่อื ทำการบรรทุกลงเรือในระบบนต้ี ้สู ินค้าจะไม่สามารถวางซ้อน
กันได้ โดยปกติระบบนี้จะใช้เมื่อบริษัทเรือเป็นผู้จัดหารถพ่วงเองและทำการบรรทุกขนถ่ายในท่าเทียบเรือที่การ
ทา่ เรอื ให้บรษิ ัทเชา่ หรือท่าทต่ี ดิ ต่อกบั บริเวณท่ใี ช้วางรถพ่วงโดยเฉพาะ
2) Fork-Lift Truck System
90
ตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต ซึ่งบรรจุสินค้าเต็มถูกยกขึ้นไปวางซ้อนกันได้ 2-3 ตู้ ระบบนี้ลานตู้สินค้า
จะต้องรบั น้ำหนกั อยา่ งมาก
3) Straddle-carrier System
ใช้ปั้นจั่นหน้าท่ายกตู้ขึน้ จากเรือแล้ว Staddle carrier เคลื่อนย้ายตู้ไปไว้ลานตู้สนิ ค้าเพื่อทำการ
ขนสินคา้ ออกจากตูห้ รือเคล่ือนย้ายต่อไปโดยรถบรรทุก โดยต้สู ินค้าสามารถวางซอ้ นกนั ไดถ้ ึง 2-3 ตู้
4) Gantry-Crane/Transtainer System
ระบบนต้ี ู้สินคา้ จะถกู เคล่อื นยา้ ยและวางเรียงในบรเิ วณเกบ็ เรียงตสู้ ินค้าโดย Gantry Crane ซง่ึ
เคลื่อนที่ไปบนล้อยาง (Rubber Tyred) หรือบนรางเหล็ก Gantry Crane ที่เคลื่อนที่ไปบนรางเหล็ก (Rail
Mouted) สามารถวางเรียงซ้อนกันได้สูงถึง 5 ชั้น นอกจากนี้มีระบบผสม (Mixed System) เป็นระบบที่สามารถ
เลือกใช้อุปกรณ์ยกขนได้เหมาะสมกับการปฏบิ ัติงานได้มากท่สี ดุ
10. คลองสเุ อซ
มีการสำรวจเส้นทางการขนส่งทางทะเลจากแนวคิดการหาทางลดั เพื่อให้เป็นทางลดั ในการเช่ือมเส้นทาง
การขนส่งทางทะเล จึงเกิดเป็น ‘คลองสุเอซ’ คลองขุดที่มีความสำคัญต่อการขนส่งทางท ะเลและการค้า
ตา่ งประเทศ คลองสเุ อซเชอ่ื มตอ่ ทะเลแดงกบั ทะเลเมดเิ ตอรเ์ รเนียน เป็นเส้นทางขนสง่ สนิ ค้าสดั ส่วนประมาณ 10%
ของสนิ ค้าทีม่ กี ารจดั สง่ ทางน้ำท่ัวโลก คลองสุเอซ มรี ะยะทางท้ังหมดโดยประมาณ 77 ไมลท์ ะเล ใช้เวลาในการเดิน
ทางผ่านคลองโดยประมาณ 12-18 ชั่วโมง เป็นเส้นทางเดนิ เรอื จากทวปี ยุโรปไปยงั ทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกาฝง่ั
ตะวนั ออกทีส่ ัน้ ทส่ี ดุ จากเดมิ ท่กี ารเดินเรอื เพอื่ ขนสง่ สนิ คา้ จากทวปี ยุโรปสู่ทวีปเอเชยี ต้องเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป
ทางใตส้ ดุ ของทวีปแอฟรกิ า ซึ่งเป็นไปดว้ ยความยากลาํ บาก ใชเ้ วลาเดนิ ทางนานและเสียค่าใชจ้ ่ายมาก
ตัวอย่าง หากเริ่มต้นทางมุมไบของอินเดียไปลอนดอน หากผ่านคลองสุเอซมีมีระยะทางประมาณ 6,328
ไมล์ทะเล หรือประมาณ 20 วัน มีส่วนต่างเวลา 15 วัน ขณะที่หากอ้อมไปทางแหลมกูดโฮปมีระยะทาง 10,918
ไมล์ทะเล จะใช้เวลาถึง 35 วัน แต่การผ่านคลองสุเอซต้องเสียค่าผ่านคลองที่คิดตามขนาดเรือ รวมทั้งค่า ARM
GUARD หรือ ค่าจ้างเจ้าหน้าที่มารักษาความปลอดภัยบนเรือ และอาจมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ขณะที่การเช่า หาก
เป็นการเช่าแบบ Time charter คือเป็นการเช่าเหมาเรือแบบระยะเวลา ผู้เช่าเหมาเรือจะได้สิทธิในการใช้เรือ
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เจ้าของเรือมีหน้าที่จะต้องทําให้เรืออยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้เท่านั้น ดังนั้นการเช่าเรือใน
ลักษณะ Time charter ระยะเวลาการเดินทางจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะไม่ได้กำหนดเที่ยว นั่นหมายความว่าผู้
เชา่ อาจจะจ่ายค่าย่นระยะเวลา คอื การตดั สินใจผา่ นคลองเพอื่ ให้ระยะทางสัน้ ลง
91
11. บทสรุป
การขนส่งทางน้ำมี 3 ประเภท คอื การขนส่งทางนำ้ ภายในประเทศ (Inland Waterway) การขนสง่ ชายฝั่ง
(Coastal Freight Transport) และการขนส่งทางน้ำหระหว่างประเทศ International Transports/Maritime
transport) ปจั จบุ นั กลมุ่ ประเทศในเอเชยี มีสัดส่วนการขนสง่ ทางทะเลสูงทสี่ ุดถงึ 54% รองลงมาคือ อเมริกา ยโุ รป
โอชิเนีย และแอฟริกา เมื่อจำแนกเป็นกลุ่มประเภทสินค้าปี 2020 มีปริมาณการขนส่งสินค้าเทกองมากที่สุด
รองลงมาคือแทงเกอร์ สินค้าทั่วไป และคอนเทนเนอร์ โดยประเทศออสเตเลียของสง่ สินคา้ เทกองมากท่ีสุด ท่าเรือ
ทม่ี กี ารขนสง่ ตู้คอนเทนเนอรส์ ูงสดุ คือท่าเรือเซยี งไฮ้ สนิ ค้าท่ีทำการบรรุทกและขนถ่ายในธรุ กิจการขนสง่ ทางเรือ มี
3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ สินค้าเทกอง สินค้าทั่วไป และสินค้าตู้ บริการขนส่งทางทะเล แบ่งออกได้เป็น 2
ประเภท ได้แก่ บรกิ ารแบบประจำเส้นทาง (Liner Shipping Service) และบริการแบบไมป่ ระจำเส้นทาง (Tramp
Shipping Service) และท่าเรือเป็นสถานที่อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายการขนส่งระหว่างการขนส่งทาง
บกกับการขนส่งทางน้ำหรือทางทะเล มโี ครงสร้างพ้ืนฐานและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการยกขนเปลี่ยนถ่าย
สินคา้
92
11. กิจกรรมทา้ ยบทเรยี น
1. การขนส่งทางน้ำมกี ี่ประเภท
2. ทา่ เรอื มคี วามสำคญั อย่างไรตอ่ การพฒั นาเศรษฐกิจ
3. เรือทใ่ี ชใ้ นการขนสง่ ทางทะเลมีกป่ี ระเภท
4. สินคา้ แต่ละชนิดตอ้ งขนสง่ ด้วยเรอื ประเภทใด
93
อา้ งอิง
กมลชนก สุทธวิ าทนฤพุฒิ. (2553). การขนสง่ ทางทะเล. กรงุ เทพ: สำนักพมิ พท์ อ้ ป.
กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยน์ าว.ี (2548). โครงการศกึ ษาเพ่ือพัฒนาศูนย์กลางการขนสง่ สินค้าทางนำ้ เพ่ือ
ส่งเสริมระบบการขนส่งชายฝั่งและการขนส่งระหว่างประเทศ. สืบค้นจาก https://www.tci- thaijo.
org/index.php/NDJ/article/download/163888/118680
ปุญญภพ ตันติปฎิ ก. (2562). พลิกฟ้นื ขนส่งสนิ ค้าทางนำ้ ชูศกั ยภาพโลจิสติกส์ไทย. สืบค้นจาก https://www.
scbeic.com/th/detail/product/4403
ปรยี า มีบุญ, และ พงษช์ ัย อธคิ มรัตนกุล. (2562). การพฒั นาระบบขนส่งชายฝ่งั ในอ่าวไทยโดยเทคนคิ เดลฟาย.
NIDA Development Journal, 58(3), 198-220.
สนั ตชิ ัย คชรนิ ทร.์ 2560. การขนสง่ ระหว่างประเทศ: เชอ่ื มโยงการค้าโลก. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
สุมาลี สขุ ดานนท.์ (2559). การขนส่งทางลำน้ำของประเทศจีน. สืบค้น http://www.cuti.chula.ac.th/articles/467/
BitNautic. (2020). Why is Maritime Shipping Important?. Retrieved from https://medium.com/
@bitnautic/why-is-maritime-shipping-important-6a1cd7cc99ef
Central Commission for the Navigation of the Rhine. (2020). ANNUAL REPORT 2020 INLAND
NAVIGATION IN EUROPE MARKET OBSERVATION. Retrieved from https://inland-navigation-
market.org/wp-content/uploads/2020/09/CCNR_annual_report_EN_2020_BD.pdf
Fratila, A., Gavril, I. A., Nita, S. C., & Hrebenciuc, A. (2021). The importance of maritime transport
for economic growth in the European Union: a panel data analysis. Sustainability, 13(14),
17-40.
SME SOCIAL PLANET. (2021). รจู้ ัก ‘คลองสเุ อซ’ เส้นเลอื ดใหญข่ องการค้าโลก. สบื ค้นจาก
https://www.bangkokbanksme.com/en/get-to-know-suez-canal-world-trade
United Nations, (2021). REVIEW OF MARITIME TRANSPORT 2021. Retrieved from https://unctad.
org/system/files/official-document/rmt2021_en_0.pdf