The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by misakizazumi, 2022-11-16 21:03:16

STEM Education

STEM Education

STEM EDUCATION

สะเต็มศึกษา

สะเต็มศึกษา

(STEM EDUCATION)

คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจาก
ภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่
วิทยาศาสตร์ (Science: S)
เทคโนโลยี (Technology: T)
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering: E)
คณิตศาสตร์ (Mathematics: M)

SCIENCE (วิทยาศาสตร์)

วิชาวิทยาศาสตร์เน้นไปที่การศึกษาหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ ผ่านกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
(SCIENTIFIC ENQUIRY) ซึ่งได้แก่ การตั้งสมมติฐานค้นคว้าอย่างมีขั้นตอน

รวบรวมหลักฐาน ทดลองเพื่อพิสูจน์ และสรุปยอดความรู้ตามข้อมูลที่ได้

TECHNOLOGY (เทคโนโลยี)

วิชาเทคโนโลยีเน้นไปที่การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง รวมไปถึงการแก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาหรือคิดค้นสิ่ง

ใหม่ ๆ ที่ช่วยตอบสนองความต้องการของคนเรา โดยอาศัยกระบวนการทำงานทาง
เทคโนโลยี

ENGINEERING (วิศวกรรมศาสตร์)

วิชาวิศวกรรมศาสตร์เน้นไปที่การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์มาใช้พัฒนาเครื่องจักร หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ

สำหรับอำนวยความสะดวกและยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์และ
ธรรมชาติรอบตัวเรา

MATHEMATICS (คณิตศาสตร์)
นอกจากทักษะการคำนวณที่เรามักเชื่อมโยงกับวิชาคณิตศาสตร์แล้ว สาขาวิชานี้
ยังมุ่งเน้นไปที่ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบ การ
จัดกลุ่ม การจำแนก รวมถึงการบอกรูปร่างและคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นต้น และยัง
ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความคิดรวบยอด (CONCEPT) คณิตศาสตร์จึง
ถือเป็นสาขาวิชาที่ช่วยเชื่อมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์เข้าไว้

ด้วยกัน

ทำไมต้องใช้ STEM

ประเทศไทยมีคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ต่ำ

อ้างอิงจากผลการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment)
และ TIMSS (Trends in International Mathematics and Science Study)

สาเหตุ

นักเรียนไม่เข้าใจบทเรียนอย่างแท้จริง
เรียนแบบท่องจำ ทำให้นักเรียนไม่สามารถเชื่อมต่อความรู้เป็นภาพใหญ่ได้
ไม่สามารถนำบทเรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้

แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ STEM

STEM จะไม่เน้นการท่องจำองค์ความรู้หรือทฤษฎี
เน้นให้ผู้เรียนทำกิจกรรมด้วยตัวเอง (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และ
เกิดความเข้าใจจากการลงมือทำ
เน้นไปที่กิจกรรมแบบโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนรู้
แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เพื่อพัฒนาทักษะความคิดอย่าง
มีระบบและมีเหตุผล รู้จักตั้งคำถามหรือสมมติฐาน การค้นคว้าหาข้อมูล การใช้ความคิด
สร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อสรุปผลและนำไปต่อยอด

แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ STEM (ต่อ)

เน้นไปที่การบูรณาการ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาขาวิชาทั้ง 4
กับชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งท้าทายความคิดของผู้
เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ได้

เรียนรู้อย่างมีเหตุผล

ประโยชน์ของ STEM และการเรียน STEM EDUCATION

การเรียนรู้ทักษะ STEM หรือการใช้รูปแบบการเรียนแบบ STEM Education (สะเต็มศึกษา) มีประโยชน์มากมาย
ต่อการพัฒนาผู้เรียน สังคม และประเทศชาติ ผ่านการพัฒนาทักษะสำคัญต่าง ๆ ของผู้เรียน ได้แก่

ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving)
การคิดวิเคราะห์ (Critical Analysis)
การคิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking)
การคิดอย่างอิสระ (Independent Thinking)
การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ความคิดริเริ่ม (Initiative)
ทักษะการสื่อสาร (Communication)
ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy)

Thank

you!


Click to View FlipBook Version