The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

งานประเพณีล่องสะเปา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by vb4win, 2021-10-19 02:52:14

งานประเพณีล่องสะเปา

งานประเพณีล่องสะเปา

งานประเพณีล่องสะเปา

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

22 ต.ค. 2564 แรม 1 ค่ำ เดือน 11
(หลังวันออกพรรษา 1 วัน)

ชุมชนบ้านฟ่อน และ ชุมชนบ้านชมพู

ติดต่อกับเทศบาลเขลางค์นครโดยตรงผ่านทางระบบ
E-MAIL: [email protected],
[email protected]

FACEBOOK – FANPAGE: เพจเทศบาลเมืองเขลางค์นคร

WEBMASTER : [email protected]

ง า น ป ร ะ เ พ ณี ล่ อ ง ส ะ เ ป า

ประเพณีล่องสะเปาเป็นประเพณีที่เก่าแก่
ของจังหวัดลําปางที่สืบทอดมาอย่างช้านาน
สมัยโบราณชาวลําปางจะเรียกการลอย
ประทีปทางน้ำว่า “ล่องสะเปา”

คําว่า “สะเปา” สะกดตามเสียงสําเนียง
ล้านนา หากจะให้ถูกต้องต้องสะกดเป็น
“สะเพา” หมายถึงเรือสําเภา

“เรือสําเภา” โดยคําเรียกดังกล่าวนั้น
ได้เรียกตามเอกลักษณ์ของสะเปาที่ชาวบ้าน
ได้จัดทําขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์ และคติความเชื่อ
ตามประเพณีว่าการล่องสะเปาเป็นการ
ทําทานแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

โดยเชื่อว่าการสร้าง “สะเปา” จะก่อ
ให้เกิดอานิสงส์หรือสร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วน
กุศลไปให้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ
หรือ อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลเพื่อให้เกิด
ความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองในภพหน้า
เป็นการขอขมาและบูชาพระแม่คงคา
รวมทั้งเป็นการลอยทุกข์โศกในปีที่แล้ว
ให้ผ่านพ้นไป

การล่องสะเปา
ชุมชนบ้านฟ่อน และบ้านชมพู

จะจัดขึ้นในช่วงหลังออกพรรษา 1 วัน
(เดือนเกี๋ยงแรม 1 ค่ำ) กลุ่มชาวบ้านชุมชนที่
อาศัยอยู่ริมแม่น้ำวังตั้งแต่บ้านต้า บ้านฟ่อน
ล่องไปจนถึงอำเภอเกาะคา จะมีประเพณี
ลอยสะเปา หรือปูจาน้ำ โดยในอดีตจะมีการทำ
สะเปาของชุมชนเพียงลำเดียวนิยมทำจาก
ต้นกล้วย เอาไม้มาเสียบแล้วนำใบมะพร้าว
มาประกอบถักสานเป็นตัวเรือ มีเสากระโดง
เรือคล้ายๆ เรือสำเภา ซึ่งชาวบ้านจะช่วยกัน
ทำให้เสร็จภายในวันเดียว นิยมมารวมตัวกัน
ตรงใต้ต้นโพธิ์ลานหน้าวัดบริเวณประตู
ค้างหงส์ เมื่อทำเสร็จแล้วตอนพลบค่ำ
ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่วัด

เมื่อชาวบ้านมารวมตัวกันที่วัดแล้ว
จะช่วยกันหามแห่สะเปาดังกล่าวรอบหมู่บ้าน
โดยจะตีกลองสิ้งหม้อง เมื่อมาถึงท่าน้ำแล้ว
ชาวบ้านจะนำข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน
รวมถึงเหรียญใส่ลงไปในสะเปา

เมื่อพร้อมแล้วพ่อหนานจะกล่าวคำ
สูมาครัวตาน เวนตานสะเปาแล้วกล่าวคำ
ขอขมาแม่น้ำคงคา เสร็จแล้วจึงช่วยกัน
นำสะเปาไปลอยแม่น้ำเป็นอันเสร็จพิธี

ประเพณีล่องสะเปานี้มีความเชื่อว่า
เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ที่เสด็จลงมาจาก
ดาวดึงส์ หลังจากไปเทศนาอภิธรรม 7 คัมภีร์
แทนค่าน้ำนมคุณมารดา และอีกนัยยะหนึ่ง
เพื่อบูชาแม่น้ำคงคา ที่ได้ใช้อุปโภคบริโภค

ในยุคหลังมีการเข้าใจผิดว่า
การล่องสะเปาต้องหาวันดี แท้ที่จริงแล้ว
โบราณจารย์ได้กำหนดชัดเจนแล้วว่า
ล่องสะเปาจะต้องเป็นเดือนเกี๋ยงแรม 1 ค่ำ
จะต้องปูจาน้ำในขณะเดียวกันถือเป็นการ
สะเดาะห์หรือส่งเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง
ไม่สำคัญว่าวันนั้นจะเป็นวันดีหรือวันเสีย
ของเดือน พระสงฆ์ หรืออาจารย์วัด บางคน
ไม่เข้าใจจารีตประเพณีก็เลื่อนออกไปเพื่อหา
วันดี จึงกลายเป็นผิดเพี้ยนไปจากจารีตเดิม
โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือประวัติศาสตร์
ชุมชนวัดชมภูหลวง

ประเพณีล่องสะเปา
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา

เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปีก่อนที่พระพุทธองค์
ทรงสําเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิใหญ่ใกล้ฝั่ งแม่น้ำ
เนรัญชรา

วันหนึ่งนางสุชาดาอุบาสิกาผู้ใจบุญได้ให้
สาวใช้นําข้าวมธุปายาธ (ข้าวทิพย์) จํานวน
๔๙ ก้อน ใส่ถาดทองไปถวายพระพุทธเจ้า
เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว พระองค์ทรงตั้ง
สัตยาธิษฐานว่า...

"ถ้าหากวันใดที่พระองค์สําเร็จเป็น
พระพุทธเจ้า ขอให้ถาดนี้ลอยทวนน้ำ"

ด้วยบุญญาภินิหาร หรือ สัตยานิษฐาน
ก็เหลือที่จ ะทราบได้ ถาดนั้นได้ลอยทวนน้ำ
สร้างความอัศจรรย์ใจให้แก่สาวใช้ของ
นางสุชาดา

เมื่อถาดนั้นลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล
และจมดิ่งลงไปถูกหางพญานาคผู้รักษา
บาดาล ซึ่งกําลังนอนอย่างสบาย

ครั้นถาดนั้นได้ถูกขดหางพญานาคก็
ตกใจตื่น

เมื่อเห็นว่าเป็นอะไรแล้วก็ประกาศก้อง
ในท้องสมุทรว่า....

"บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



อุบัติขึ้นในโลกอีกพระองค์หนึ่งแล้ว"

เมื่อบรรดาเทพารักษ์ทั้งหลายในโลก
ทราบเรื่องต่างก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์

ส่วนพญานาคก็ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
เหมือนกัน พร้อมกันนั้นก็ทูลขอร้องให้พระองค์
ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่ งแม่น้ำเนรัญชรา
เพื่อเขาจะได้มาถวายความเคารพ
ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้กระทําตาม

ฝ่ายสาวใช้นางสุชาดาก็ได้นําความไป
แจ้งให้นายของตนทราบ ครั้นถึงวันนั้นของ
ทุกๆ ปี นางสุชาดาก็จะนําเอาเครื่องหอมและ
ดอกไม้ใส่ถาดไม้ไปลอยน้ำเพื่อนมัสการ
รอยพระพุทธบาทเป็นประจําจนกระทั่ง
ได้กลายเป็นประเพณีแพร่หลาย

จึงเป็นเรื่องของชาดก ซึ่งสันนิษฐานว่า
ประเพณีการล่องสะเปา มีประวัติความเป็นมา
ดังกล่าว

ความเชื่ อ
ป ร ะ เ พ ณี ล่ อ ง ส ะ เ ป า




๑. การลอยเคราะห์ลอยบาป ต้องการ
ลดเคราะห์เสนียดจัญไรในตัวให้ไหลล่องไป
ตามน้ำ
๒. การลอยสะเปาเพื่อส่งของแก่บรรพบุรุษ
ตามคติความเชื่อของคนโบราณที่ส่งให้แก่
ญาติพี่น้องในครอบครัว ในสมัยต่อมา
ประชาชนยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันจนถึง
ทุกวันนี้

ความเชื่ อ
ป ร ะ เ พ ณี ล่ อ ง ส ะ เ ป า




๓. การลอยสะเปาเพื่อสักการะบวงสรวง
ไปยังพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ คือ
พระนารายณ์ซึ่งบรรทมในเกษียรสมุทร
ตามคติความเชื่อของพราหมณ์

บางแห่งใช้น้ำมันไขข้อของโคบูชาด้วย
ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และมีผลมากในการ
บูชา คือการทําอย่างนั้นเป็นการโปรดปราน
ของเทพเจ้า

ความเชื่ อ
ป ร ะ เ พ ณี ล่ อ ง ส ะ เ ป า




๔. การบูชาพระพุทธบาทที่ประทับไว้
เหนือหาดทรายแม่น้ำ เป็นความเชื่อว่า
การล่องสะเปานั่น คือ การบูชาพระพุทธบาท
ที่พระพุทธองค์ประดิษฐานไว้ปรากฏใน
ตํานานการล่องสะเปา แต่ยังไม่ปรากฏว่า
พระพุทธบาทแห่งแม่น้ำอยู่ที่ไหน และ
มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร

๕. การล่องสะเปาเพื่ออธิฐานถึงเป้าหมาย
ของตนเองโดยตรง คือ อธิฐานเอาตาม
ความคิดของตนที่ปารถนาแล้วก็ไปลอย
ในแม่น้ำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำสะเปา

โดยจะใช้กาบกล้วย มะละกอ ไม้ไผ่ หรือ
กระดาษแก้วใสมาประดิษฐ์เป็นสะเปาตกแต่ง
ประดับประดาด้วยดอกไม้ หรือ ใช้กระดาษสี
ตัดเป็นลวดลายต่าง ๆ ติดด้านข้างสะเปา และ
ก็มีสิ่งของอื่น ๆ ที่ใส่ลงไปในสะเปาด้วย เช่น
ข้าวสุก กล้วย อ้อยควั่น น้ำตาล เกลือ ยาสูบ
หมาก พลู ดอกไม้ ธูป เทียน และรูปสัตว์ต่าง ๆ
เพราะเชื่อกันว่าผู้ล่วงลับที่เราอุทิศส่วนกุศล

หรือทําทานไปให้จะได้นําสิ่งของเหล่านั้นไปใช้

ในอีกภพหนึ่ง

รูปแบบสะเปา

สะเปารูปนก นิยมใช้วัสดุจากกาบกล้วย
และมะพร้าวทั้งเปลือก (ผาครึ่ง) วิธีการทํา
แล้วแต่สล่าแต่ละคนจะสร้างสรรค์ให้มีความ
สวยงาม ข้างในสะเปามีของคาวหวาน และ
ข้าวตอกดอกไม้

ชาวล้านนามีความเชื่อว่าถ้าได้ล่อง
สะเปารูปนก เปรียบเสมือนได้บูชาแม่กาเผือก
ผู้ให้กําเนิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ตามเรื่อง
เล่าในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

รูปแบบสะเปา

สะเปาเรือ ลักษณะเหมือนเรือใช้วัสดุ
ในการทําเป็นไม้แผ่นบางพอประมาณ
ตกแต่งตามความพอใจ เช่น ใช้กระดาษสี
ต่างๆ ตัดเป็นเส้นทากาวติดรอบสะเปา

มีความเชื่อกันว่าถ้าได้ทำสะเปารูปเรือ
ถ้าเราเสียชีวิตไปก็จะได้ขี่ส ะเปาใหญ่ส่งเรา
ข้ามแม่น้ำใหญ่สู่สวรรค์ หรือ เปรียบเสมือน
ล่องเรือข้ามพ้นวฏัฏะสงสารไปสู่นิพพาน

ป ร ะ จํ า ปี 2 5 6 3

ง า น ป ร ะ เ พ ณี ล่ อ ง ส ะ เ ป า
เ ท ศ บ า ล เ มื อ ง เ ข ล า ง ค์ น ค ร

( ชุ ม ช น บ้ า น ฟ่อ น แ ล ะ ชุ ม ช น บ้ า น ช ม พู )

ล่องสะเปา ประจําปี 63

ล่องสะเปา ประจําปี 63

ล่องสะเปา ประจําปี 63

ล่องสะเปา ประจําปี 63

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

ติดต่อกับเทศบาลเขลางค์นครโดยตรงผ่านทางระบบ

E-mail: [email protected], [email protected]
Facebook – FanPage: เพจเทศบาลเมืองเขลางค์นคร
webmaster : [email protected]


Click to View FlipBook Version