สมุดเล่มเล็ก
กัณฑ์มัทรี
ประวัติผู้แต่ง
ผู้แต่งเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี คือ เจ้าพระยา
พระคลัง นามเดิมว่า หน เป็นเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า เดิม
เป็นหลวงสรวิชิต เคยตามเสด็จพระราชดำาเนินราชการสงคราม
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งหลวงสรวิชิตรับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี
มีความดีความชอบมากโดยเฉพาะฝีมือในการเรียบเรียงหนังสือ
รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นพระยาพิพัฒโกษา
ต่อมาตำาแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง รัชกาลที่ ๑
จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาพิพัฒโกษาขึ้นเป็นเจ้าพระยา
พระคลัง (หน) พระยาพิพัฒโกษามีบุตรชาย ๒ คนคนหนึ่งเป็น
จินตกวีและอีกคนหนึ่งเป็นครูพิณพาทย์ส่วนบุตรหญิง คือ
เจ้าจอมมารดานิ่มเป็นเจ้าจอมมารดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเดชาดิศร ในรัชกาลที่ ๒
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๔๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๑
หนังสือที่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งที่สำคัญ ได้แก่ มหาชาติกลอนเทศน์หรือเวสสันดรชาดก
กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีโดยทั้งสองกัณฑ์นี้นับได้ว่าแต่งได้ดีเยี่ยม ไม่มีสำานวนของผู้ใดสู้ได้
แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสจะได้ทรงนิพนธ์ขึ้นอีกสำานวนหนึ่งในภายหลัง
ก็ยังเว้นกัณฑ์ทั้งสองนี้ เพราะของเดิมดีเยี่ยมอยู่แล้ว
ที่มาของเรื่อง
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีที่มาจากคัมภีร์ “จริยาปิฎก”
และคัมภีร์ “ชาดก” พระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ซึ่งกล่าวถึงมูลเหตุของการตรัสเล่า
เรื่อง
มหาชาติว่า เมื่อทรงตรัสรู้แล้วจึงเสด็จไจปโปรดพระราชบิดาและพระประยูรญาติ ขณะที่ประทับ
ณ วัดนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อบรรดาพระประยูรญาติมาเฝ้าต่างมีใจกระด้างด้วยทิฐิมานะ
ถือตนมิยอมเคารพไหว้ พระพุทธเจ้าจึงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศเหนือพระประยูรญาติ
ยังให้สิ้นมานะละพยศในใจ บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสและถวายอภิวาทบังคม เมื่อเหตุเป็นดังนั้น
ก็เกิดฝนโบกขรพรรษตกลงมาเป็นเครื่องแสดงความปราโมทย์ยินดี ด้วยเหตุทรงละพยศในใจพระ
ญาติ
ทั้งปวงให้ศรัทธาเลื่อมใสได้
ภายหลังเมื่อพระราชบิดาและพระประยูรญาติทั้งปวงทูลลากลับ พระสาวกจึงได้ทูลถามถึง
ความน่าอัศจรรย์ในเหตุแห่งฝนนี้ พระองค์จึงตรัสว่าฝนโบกขรพรรษที่ตกมานี้ไม่อัศจรรย์เลย เพราะ
ในชาติก่อนเมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์เสวยพระชคาติเป็นพระเวสสันดรนั้น ฝน
ชนิดนี้
ก็เคยตกมาแล้วครั้งหนึ่ง พระสาวกทั้งหลายจึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงเล่าเรื่องนี้ พระองค์จึง
ทรงเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เพราะฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่าฝนโบกขรพรรษเป็นสาเหตุที่
ทำให้พระพุทธเจ้าทรงเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบพระชาติสุดท้ายก่อนบรรลุ
ธรรมวิเศษ
เนื้อเรื่องย่อ
กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่ ๙ จากเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่เทวบุตร ๓ องค์นิรมิต
กาย
เป็นสัตว์ร้ายขวางทางพระนางมัทรีเกิดลางแก ่พระนางมัทรี พระนางจึงทรงวิงวอนขอทาง
ต่อสัตว์ร้ายทั้งสาม เมื่อเสด็จกลับถึงอาศรม พระนางทูลถามพระเวสสันดรถึงพระกุมารทั้ง
สอง
พระเวสสันดรจึงทรงตัดพ้อต่อว่าถึงการที่กลับมาผิดเวลา พระนางมัทรีทรงเฝ้ารำาพึงรำาพัน
ถึงสองกุมาร
พลางเที่ยวเสด็จตามหาจนสลบไปครั้นพอพระนางมัทรีทรงฟื้นคืนสติแล้ว พระเวสสันดรจึง
ตรัสบอก
ความจริงว่าได้พระราชทานสองกุมารเป็นทานแก่ชูชก พระนางมัทรีจึงทรงอนุโมทนาบุตร
ทานบารมี
ลักษณะคำประพันธ์
มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นมหาชาติกลอนเทศน์มีลักษณะคำาประพันธ์เป็นร่ายยาวที่
มี
คาถาบาลีนำ
ร่ายยาว บทหนึ่งไม่จำกัดจำนวนวรรคซึ่งนิยมตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไปโดยแต่ละ
วรรคไม่จำกัด
จำนวนคำ แต่ไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ ซึ่งคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะส่งสัมผัสไป
วรรคหลังคำใดก็ได้
เว้นคำสุดท้าย และอาจจบลงด้วย “คำจำสร้อย” (คำสร้อย เช่น ฉะนี้ ดังนี้
นั้นเถิด นั้นแล แล้วแล
ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้น) ดังแผนผังและตัวอย่างบทประพันธ์
แผนผังบทประพันธ์
ถอดความจากเนื้อเรื่องมา
เป็นภาษาของตนเอง
พระเวสสันดรเอาลูกให้แก่ชูชกโดยที่พระนางมัทรีไม่รู้เรื่องเพราะนางได้ไป
เก็บผลไม้อยู่ในป่าและโดนเทวดาแปลงกายเป้นสัตว์ร้ายกันไว้ไม่ให้นาง
ไปหาลูกได้เพราะถ้านางไปหาลูกได้นางจะขัดการให้ทานของสามีเเต่เมื่อ
นางรู้เรื่องเเล้วนางก็เข้าใจสามีเเละอนุโมทนาบุญครั้งนี้ด้วย
ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้
การเป็นพ่อแม่ที่ดีเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรพึงเป็นการที่มีคนมาขอลูกตัว
เองไปเเล้วเราก้ให้ไปอย่างง่ายดายนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำเลย
เพราะเราไม่รู้ว่าเขาคือใครเเล้วเขาจะทำอะไรลูกเราบ้างอย่างที่พระ
มหาเสสันดรทำเเบบนี้ไม่เรียกว่ารักลูกเลยคำว่าพ่อเเม่นั้นคือการดุแล
ปกป้องลูก อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนเพิ่งพบเจอชูชกไม่นานก้
วางใจว่าเขาคือคนดี คนดีที่ไหนเล่าจะมาขอลุกจากคนอื่นไปง่ายๆ
Thank
you!
นางสาว วรรณวนัช ชูแก้ว เลขที่ ๓๙ ม.๕\๙