The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กลุ่ม 5 ปูไข่ดอง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thezero_dear, 2022-04-12 15:54:03

กลุ่ม 5 ปูไข่ดอง

กลุ่ม 5 ปูไข่ดอง

การกำหนดค่าตอบแทน
และสวัสดิการ

นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนของบริษัทใช้กับพนักงานทุกคน โดย
นโยบายนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจะสามารถดึงดูดใจ พัฒนา
ศักยภาพ และรักษาพนักงานผู้มีผลการปฏิบัติงานสูงและมีแรงจูงใจ
ในการทำงานไว้ได้ในตลาดที่มีการแข่งกัน พนักงานจะได้รับการ
เสนอค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นไปตามแนวทางของ
ตลาดซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของค่าตอบแทน ผลที่ได้รับ ก็คือ
พนักงานรู้สึกมีกำลังใจในการทำงานเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและ
ทำให้บริษัทคงการเติบโตไว้ได้

วัตถุประสงค์ของการกำหนดค่าตอบแทน

1.เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง
2.เพื่อดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามาสู่หน่วยงานและคง
อยู่ในหน่วยงานตลอดไป
3. เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงาน
4. ส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
5. อำนวยความสะดวกในการบริหารงานบุคคล

อัตราค่าตอบแทน

อัตราเงินเดือนพนักงาน อัตราการขึ้นของเงินเดือนขึ้นอยู่ที่กิจการมีรายได้หรือมีกำไรเพิ่มมากขึ้นมากน้อยขนาดไหน และผลการประเมินจะอยู่ที่
อัตราร้อยละ 5 ต่อปี
1. ประกันสังคม กิจการจะทำการหักจากเงินเดือนพนักงานร้อยละ 4 ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท เพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคมในทุกๆ
เดือน โดยเงินที่ถูกหักไปนั้น ถูกหักไปสมทบในกองทุนประกันสังคมในส่วนประกันเจ็บป่วย ส่วนของประกันการว่างงาน และส่วนของประกัน
ชราภาพ
2. สวัสดิการพนักงานร้อยละ 3 ของเงินเดือน ได้แก่ โบนัส,วันหยุด-วันลาตามกฎหมาย,ประกันสังคม, ค่าล่วงเวลา และเบี้ยขยัน

บทที่7

การวางแผนด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์

ร้ า น ปู ไ ข่ ด อ ง สู ต ร นั ว นั ว

แหล่งเงินทุน

ธุรกิจของเรามีแหล่งเงินทุนมาจาก 2 แหล่ง ประกอบด้วย เงินลงทุนจากการร่วมทุนส่วนตัวและผู้ร่วมทุน
จำนวน 500,000 บาท ซึ่งเป็นสัดส่วน 33.3% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่ต้องการ และเป็นเงินลงทุนที่ขอ
กู้ยืมจากธนาคารจำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นสัดส่วน 66.7% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่ต้องการ ซึ่ง
ธนาคารที่เลือกขอยื่นกู้ยืมเป็นลำดับแรก คือ ธนาคารออมสิน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว 9.63%
ระยะเวลาการใช้คืนเงินกู้คือ 2 ปี

ต้นทุนของโครงการ
จากการประมาณงบกำไรขาดทุนรายปี สามารถแสดงต้นทุนของโครงการได้เป็นดังนี้
-ต้นทุนขาย คาดการณ์ว่าต้นทุนขายจะเพิ่มขึ้นปีละ 5%

-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ประกอบไปด้วย ค่าต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ เช่น ค่าโฆษณา
ค่าการตลาด ค่าสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมอุปกรณ์และค่าปรับปรุงสถานที่ เป็นต้น

-ต้นทุนสำหรับทำสินค้า/บริการ

ผลตอบแทนโครงการ

จากการประมาณงบกำไรขาดทุนรายปี สามารถแสดงผลตอบแทนโครงการได้เป็นดังนี้

ผลตอบแทนโครงการ

ผลตอบแทนโครงการ

งบการเงิน กระแสเงินสดรับสุทธิในการดำเนินการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 10 อัตราผล
ตอบแทน (IRR) คือ. รายรับรวมของธุรกิจนำไปเปรียบเทียบกับอัตราเงินกู้ของสถาบันธนาคารการเงินอยู่ที่
9.63% มีผลตอบแทนอยู่ที่ 277.0% แสดงว่าธุรกิจมีรายรับอยู่ที่ 267.4% มีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 0.46 ปี

งบกำไรขาดทุน

อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่อง

อัตราส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Activity Ratios)อัตราการหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (Receivable Turnover) และระยะเวลาลูก
หนี้การค้า (Receivable Day) ธุรกิจไม่สามารถคำนวณได้ เนื่องจากเงื่อนไขการขายของธุรกิจขายเป็นเงินสด 100% ทำให้ไม่มีลูกหนี้การค้า

ในการวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการกู้ยืม ธุรกิจจะศึกษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนหนี้สินต่อ
สินทรัพย์ และอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นดังนี้

อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวัดความ
สามารถในการทำกำไรของธุรกิจ โดยจะทำการศึกษาอัตราผลตอบแทนขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงาน อัตราผลตอบแทน
สุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ มีรายละเอียดเป็นดังนี้

บทที่8

เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนของโครงการ

ร้ า น ปู ไ ข่ ด อ ง สู ต ร นั ว นั ว

ระยะเวลาคืนทุน

ระยะเวลาคืนทุนของธุรกิจประมาณ 0.46 ปี หรือโดยประมาณ 5 เดือน 17 วันซึ่งถือเป็นระยะเวลาคืน
ทุนที่เร็ว เนื่องจากธุรกิจที่มีระยะเวลาทุนที่มีระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี ถือเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน เพราะระยะ
เวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดีสามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังแสดงให้เห็นว่า
ธุรกิจมีความเสี่ยงทางการเงินที่น้อย ดังนั้นควรตัดสินใจลงทุน

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ

ธุรกิจของเราได้มีการวางแผนธุรกิจในทุกๆ ภาคส่วน ซึ่งล้วนมีค่าใช้จ่าย โดยในธุรกิจต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 1,425,580 บาท ใน
การลงทุนเริ่มธุรกิจและมีกระแสเงินสดรับสุทธิต่อปี 10 ปีอัตราผลแทนในขณะนั้นร้อยละ 5 การคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิคำนวณดังนี้

อัตราผลตอบแทนส่วนลด

อัตราผลตอบแทนคิดลดหรือ IRR ของธุรกิจ มีค่าผลตอบแทนจากการลงทุน 277.0% ซึ่งเป็นอัตราคิดลดที่
ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิที่ได้รับจากการทำธุรกิจที่เท่ากับกระแสเงินสดจ่ายสุทธิหรือ
เงินสดจ่ายลงทุนสุทธิพอดี กล่าวคือ เป็นอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของธุรกิจเท่ากับศูนย์อัตราผล
ตอบแทนคิดลดที่ได้คือ 277.0% ซึ่งเป็นค่า IRR ที่มีค่ามากกว่าต้นทุนทางการเงิน ซึ่งมีผลต่างระหว่างผล
ตอบแทนกับต้นทุนทางการเงิน (IRR-WACC) ถึง 267.4% การที่ค่า IRR มีค่ามากกว่า WACCแสดงให้
เห็นว่าการลงทุนในธุรกิจนี้จะได้ผลกำไร หมายความว่าธุรกิจจะสามารถให้ผลกำไรได้และควรแก่การลงทุน

ดัชนีในการทำกำไร

ดัชนีกำไร (Profitability Index) คือ การคำนวณสัดส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันของกระแส
เงินสดรับและมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย ในบางครั้งจึงเรียกดัชนีกำไรว่า
Benefit/Cost Ratio หรืออัตราส่วนระหว่างประโยชน์และต้นทุน

จากการนำอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมาคำนวณเป็นร้อยละ พบว่า ดัชนีการทำกำไรมีค่าเท่ากับ 2,908.16
ซึ่งมากกว่า 100 อธิบายได้ว่า หากโครงการลงทุนด้วยเงิน 100 บาท คาคว่า โครงการจะได้รับผลตอบแทน
2,908.16 บาท ดังนั้น จึงควรลงทุนในโครงการนี้เพราะคาดว่าจะได้รับกำไร

บทที่9

การวิเคราะห์แผนธุรกิจ

ร้ า น ปู ไ ข่ ด อ ง สู ต ร นั ว นั ว

การวิเคราะห์ SWOT ANALYTICS

Strength Analytics จุดแข็ง S
TW
การวิเคราะห์หาจุดแข็งที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตก
ต่าง และสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร สินค้าและบริการ O

Weakness Analytics จุดอ่อน

การวิเคราะห์ข้อด้อยที่ทำให้ธุรกิจเสียเปรียบในการแข่งขัน แล้วคิด
หากลยุทธ์มาแก้ไขจุดด้อยที่พบเพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นจุดเด่น

Opportunity Analytics โอกาส

การหาทางค้นพบโอกาสทางธุรกิจที่จะส่งผลดีต่อการ
ดำเนินงาน การสร้างรายได้และการทำกำไรเพิ่มขึ้น

Threat Analytics

การคาดการณ์ผลกระทบเชิงลบทางธุรกิจที่เกิดจาก
ปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
ที่เสี่ยงเกิดอุปสรรคต่อการดำเนินงาน

S STRENGTHS จุดแข็ง
W
1. ทำเลที่ตั้งของร้านตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าเมกาบางนาใกล้สนามบิน ซึ่งบริเวณ
นี้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีกำลังซื้อสูง และถือได้ว่าเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ดี
2. การสร้างความหลากหลายของเมนูอาหาร ทั้งสูตรดองปูไข่และน้ำจิ้มสูตรเพื่อ
สุขภาพให้มีความอร่อยต่างไปจากเมนูอาหารทั่วๆ ไป
3. วัตถุดิบมีคุณภาพ ความสดใหม่ ทำให้รสชาติอาหารดีจึงมั่นใจได้ว่า ร้านปูไข่ดอง
สูตรนัวนัว สามารแข่งขันในด้านรสชาติอาหารได้อย่างแน่นอน
4. การรักษาและพัฒนาคุณภาพของการให้บริการลูกค้าให้ดีอยู่เสมอ
5. รักษาคุณภาพของอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตรงตามมาตรฐาน

WEAKNESSES จุดอ่อน

1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายค่อนข้างจำเพาะ
2.เป็นร้านอาหารทะเลปูไข่ดองที่เพิ่งเปิดใหม่ จึงอาจทำให้ลูกค้ายังไม่เห็นถึงความ
แตกต่างจากร้านอื่นๆ

O OPPORTUNITIES โอกาส
T
1. แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ จะทำผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้นทำให้มี
อำนาจการซื้อและความต้องการในการรับประทานอาหารทะเลมากขึ้น
2. สัดส่วนของคนที่ชอบอาหารทะเลสูงขึ้น
3. การดำเนินชีวิตในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปและมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา
ทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านหรือการซื้ออาหารสำเร็จรูป
ไปทานที่บ้านมีแนวโน้มสูงขึ้น

THREATS อุปสรรค

1. ภาพลักษณ์ของอาหารทะเลดองที่ผู้บริโภคมักคิดว่ามีรสชาติไม่อร่อย ไม่
น่ารับประทาน เพราะอาจจะมีกลิ่นคาว เค็ม หรือส่งผลเสียต่อสุขภาพและ
อาจจะมีราคาที่แพง
2. สินค้าทดแทนมีจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมีการสร้างความแตกต่างของ
ร้าน ให้โดดเด่นจากร้านอื่น
3. ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงขึ้น ส่งผล
ให้ราคาต้นทุนสินค้าสูงขึ้นตาม

การวิเคราะห์ TOWS
หมายถึง กลยุทธ์เชิงรุก คือ ใช้จุดแข็งคว้าโอกาส การนำเอาจุดแข็งและโอกาสภายนอกขององค์กรที่มีมาโฉบฉวยใน
SO Strategy ด้านที่ส่งผลประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้เป็นองค์กรเข้มแข็งและสามารถทำให้ธุรกิจมีรายได้ เป็น
กลยุทธ์ที่ธุรกิจทุกธุรกิจควรมี

WO Strategy หมายถึง กลยุทธ์ชิงแก้ไข คือ ใช้โอกาสมาขจัดจุดอ่อนจำเป็นจะต้องการกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขการจะกำหนด
กลยุทธ์ได้นั้นเราต้องนำจุดอ่อนภายในองค์กรและมองหาโอกาสภายนอกองค์กรเพื่อนำมาแก้ไขในการดำเนินงานของ
กิจการให้ไปในแนวทางที่ดีขึ้น

ST Strategy หมายถึง กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ ใช้จุดแข็งเพื่อป้องกันอุปสรรค์ ทุกองค์กรต้องเจออุปสรรคภายนอกองค์กร เราจึง
ต้องนำจุดแข็งภายในองค์กรมากำหนดกลยุทธ์เพื่อป้องกันในสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้แต่สามารถลดความเสียหายที่จะ
เกิดขึ้นได้

WT Strategy หมายถึง กลยุทธ์เชิงรับ คือ มีทั้งจุดอ่อนทั้งอุปสรรคต้อง
สร้างสรรค์กลยุทธ์ใหม่ๆผลด้านลบที่ส่งผลต่อองค์กรก็คือ จุดอ่อนภายในองค์กรเองและอุปสรรคที่อยู่ภายนอกองค์กร
เราต้องนำสองสิ่งนี้มาพิจารณาเพื่อกำหนดกลยุทธ์เชิงรับ เพื่อรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและเพื่อแก้ไขจุดอ่อน

กลยุทธ์เชิงรุกหรือกลยุทธ์จุดแข็ง
กับโอกาส (SO)

1.เน้นการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดออนไลน์ผ่านโซเชียลมิเดียในแพลตฟอร์มต่างๆ
เช่น เพจร้าน ไลน์ ไอจี และอาจจะประชาสัมพันธ์ในตึก ออฟฟิศบริเวณใกล้ๆ ด้วยการแจก
ใบปลิว เป็นต้น

2.แนวโน้มที่คนชอบทานอาหารทะเลเพิ่มขึ้น ทำให้กิจการสามารถสร้างความประทับใจให้ผู้
บริโภค เช่น การทำอาหารรสชาติที่อร่อยจับใจผู้บริโภคได้

3.จากการสร้าง มาตรฐานและคุณภาพของ อาหารให้สูงขึ้น ทำให้ราคาของสินค้าสูงขึ้น
ตามไปด้วยแต่ด้วยโอกาสที่มีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจทำให้ กลุ่มเป้าหมายมี
กำลังในการซื้อสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น

กลยุทธ์เชิงแก้ไขหรือกลยุทธ์ จุด
อ่อนกับโอกาส (WO)

เนื่องจากการเปิดร้านใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้าทำให้ความ
น่าเชื่อถือน้อย ดังนั้นจำเป็นต้องใช้ กลยุทธ์ในการ
ประชาสัมพันธ์ร้าน โดยเน้นให้ลูกค้าได้ทดลองอาหารของทาง
ร้าน ในราคาพิเศษช่วงเริ่มแรก

Presentations are communication tools
that can be used as demonstrations.

กลยุทธ์เชิงป้องกัน หรือกลยุทธ์
จุดแข็งกับอุปสรรค (ST)

เนื่องจากเป็นร้านเปิดใหม่ยังไม่มีความน่าเชื่อถือมากนัก ทำให้
ต้องเริ่มต้นที่กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในการบริโภคปูไข่
ดองจริงก่อนแล้ว จึงขยายสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆได้

BCG 1.ส่วนแบ่งตลาดเชิงเปรียบเทียบ (Share) 2.ความน่าสนใจของตลาด (Growth) หรือ
Matrix ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับคู่ แข่งว่าส่วน อัตราการเติบโตของตลาดสินค้า โดยวัด
แบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นกี่เท่า อัตราการขยายตัวของตลาดสินค้าทั้งตลาด
คือ แบบจำลอง เพื่อใช้วิเคราะห์ เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญ
ว่าตลาดสินค้านั้นๆ ว่า มีความ
น่าสนใจมากน้อยเพียงใดโดยใช้
เกณฑ์ในการพิจารณา 2 เกณฑ์
คือ

BCG Matrix แบ่งออกเป็น 4 ช่อง ได้แก่

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นดาวดวงเด่น (Star) ผลิตภัณฑ์ที่ทำเงิน (Cash ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา (Question Mark) ผลิตภัณฑ์ที่ตกต่ำ (Dogs)
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญ Cows)เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรา เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการ
เติบโตของยอดขายสูง และส่วนครอง การเจริญเติบโตของยอดขาย เติบโตของยอดขายสูงแต่ส่วนครอง เจริญเติบโตของยอดขายต่ำ
ตลาดเปรียบเทียบสูง ควรใช้กลยุทธ์ ต่ำ ส่วนครองตลาดเปรียบ ตลาดเปรียบเทียบต่ำ ควรใช้กลยุทธ์ และส่วนครองตลาดเปรียบ
ส่งเสริมการลงทุนใหม่และการส่งเสริม เทียบสูง โดยสาเหตุที่อัตราการ การสร้างส่วนครองตลาดซึ่งหาก เทียบต่ำ ผลิตภัณฑ์ที่ตกต่ำ
การตลาดเพื่อรักษาตลาดที่มีการเจริญ เจริญเติบโตของยอดขายลดลง สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้จนประสบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรต่ำ
เติบโตสูงและต่อสู้กับคู่แข่งขันที่จะเข้า เพราะผลิตภัณฑ์เข้าสู่ขั้นเจริญ ความสำเร็จก็จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ หรือขาดทุน
มาแข่งขัน เติบโตเต็มที่และตลาดเข้าสู่ เป็นดาวดวงเด่นต่อไป

จากการวิเคราะห์ BCG

MODEL ของร้าน ปูไข่ดอง

สูตรนัวนัว

ปูไข่ดอง จัดอยู่ในกลุ่ม Question Mark เพราะมีผู้บริโภครู้จักน้อยเนื่องจากเป็น
ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่ตลาด อีกทั้งยังเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เป็นร้านปูไข่ดองที่เป็น
อาหารทะเลดอง จึงถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวมีอัตรา
การเจริญเติบโตของตลาดสูงแต่ทางร้าน ปูไข่ดองสูตรนัวนัว มีส่วนแบ่งการตลาด
ที่ต่ำเนื่องจากมีคู่แข่งมากมายที่เปิดร้านมาแล้วเป็นเวลานานทำให้มีส่วนแบ่งการ
ตลาดที่มากกว่าอาจต้องเน้นการโฆษณาอย่างหนักในช่วงแรกที่เปิดกิจการเพื่อให้
ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น และพยายามปรับตัว และพัฒนาให้ตอบสนองกับความ
ต้องการของผู้บริโภคซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้เวลา 1-2 ปี ในช่วงแรกที่เปิดกิจการ

บทที่10

สรุป ปัญหา อุปสรรค
และข้อเสนอแนะ

ร้ า น ปู ไ ข่ ด อ ง สู ต ร นั ว นั ว

สรุป

ร้านปูไข่ดอง เป็นกิจการเกี่ยวกับอาหารทะเล ที่ก่อตั้งและบริหารโดยหุ้นส่วน 7 คน
เนื่องจากในปัจจุบันเทรนอาหารทะเลดองเป็นที่นิยมอย่างมาก รวมถึงหนึ่งในผู้ถือหุ้นมีความ
ชอบทานส่วนตัว ทำให้ได้ลองทำรับประทานเองบ่อยครั้งและมีสูตรน้ำดองที่พัฒนาปรับปรุง
จนได้สูตรที่อร่อยถูกใจที่สุด จึงได้ริเริ่มชักชวนหุ้นส่วนมาร่วมหุ้นกิจการร้านปูไข่ดอง
ธุรกิจร้านปูไข่ดองตั้งขึ้น โดยใช้ทรัพยากรบุคคลทางการตลาด การบริหารบุคคล การจัดซื้อ
การผลิต และการจัดการบัญชี จากการคัดเลือกจากหุ้นส่วน โดยจ่ายค่าตอบแทนให้
พนักงานทุกตำแหน่งจะได้รับการฝึกงาน ด้านการผลิต ออกบูธ และการบริการหน้าร้าน มีผู้
ไปตรวจสอบการให้บริการอยู่เสมอ เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและลูกค้าได้รับบริการที่จากทาง
ร้าน ด้านการตลาดผู้ประกอบการได้ดำเนินการตลาดด้วยตนเองกับหุ้นส่วน

การจัดตั้งร้านปูไข่ดอง ใช้เงินลงทุน 1,500,000 บาท แบ่งเป็นนำไปซื้อ
สินทรัพย์ถาวร จำนวน 563,580 บาท ประกอบด้วย ค่าออกแบบและตกแต่งร้าน
มูลค่า 270,000 บาท ค่าอุปกรณ์มูลค่า 93,580 บาท ค่าเครื่องจักรมูลค่า
200,000 บาท แบ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 862,000 บาท ประกอบด้วย
ค่าวัตถุดิบมูลค่า 650,000 บาท เงินเดือนพนักงานมูลค่า 113,000 บาท ค่า
สาธารณูปโภคมูลค่า 9,000 บาท ค่าเช่าพื้นที่หน้าร้านมูลค่า 30,000 บาท ค่า
เช่าโรงงานผลิตมูลค่า 50,000 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ 10,000 บาท โดยมีส่วนที่
ร่วมทุน 500,000 บาท และวงเงินที่ขอสินเชื่อ 1,000,000 บาท ระยะเวลาการ
ใช้คืนเงินกู้ 2 ปีและความสามารถในการใช้หนี้เงินกู้ 45,000 บาทต่อเดือน

สรุป

ปัญหาและอุปสรรค

1. ธุรกิจปูไข่ดองเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งจำนวนมาก ทำให้ทางร้านต้องมีการสร้างความแตก
ต่างจากร้านอื่นๆ
2. ธุรกิจปูไข่ดองของทางร้านมีต้นทุนด้านวัตถุดิบที่ค่อนข้างสูง ทางร้านมีความเสี่ยงที่
จะขาดทุนหากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้
3.เนื่องจากปูเป็นของสด หากมีการเก็บวัตถุดิบที่ไม่ดี หรือมีการส่งของล่าช้า ก็จะทำให้
ทางร้านไม่สามารถขายสินค้าในวันนั้นได้ หรือเสียรายได้ในวันนั้นไป
4.เนื่องจากปูไข่ดองมีสินค้าทดแทนจำนวนมาก ลูกค้าอาจเลือกซื้อสินค้าที่คล้ายกันแต่
ราคาถูกกว่ามาทดแทน เช่น กุ้งดอง
5. จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงขึ้น ส่งผลให้
ราคาต้นทุนสินค้าสูงขึ้นตาม
6.ปูไข่เป็นสินค้าตามฤดูกาล บางช่วงวัตถุดิบอาจหายากหรือขาดตลาด

ข้อเสนอแนะ 1.ธุรกิจปูไข่ดองนั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายค่อนข้างจำเพาะ เนื่องจากทางร้านขายเฉพาะอาหาร
ทะเลที่เป็นปูไข่ดอง ทางร้านอาจมีการเพิ่มเมนูเพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า
2.ในสถานะการณ์ Covid-19 ทางร้านอาจต้องมีมาตราการที่รัดกุมสำหรับลูกค้าที่นั่งกิน
ภายในร้านเพื่อความปลอดภัย
3.หากทางร้านจะมีการเพิ่มเมนูควรมีการทำแบบสอบถามความสนใจหรือความชอบของ
กลุ่มลูกค้าก่อน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
4.เนื่องจากธุรกิจปูไข่ดองของทางร้านเป็นธุรกิจเปิดใหม่ อาจต้องมีการโปรโมทอย่างต่อ
เนื่องเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและสร้างการจดจำ
5.การแก้ปัญหาปูไข่ขาดตลาด การเพิ่มเมนูโดยใช้วัตถุดิบที่มีตลอดทั้งปี เป็นทางออกของ
ปัญหาและธุรกิจก็ไม่ขาดรายได้ตอนที่ปูไข่ขาดตลาด อาจต้องมีการประชุมหุ้นส่วนเพื่อ
ปรึกษาความคิดเห็นและหาข้อสรุป

Group Member

1.62100365 นางสาว จีรนันท์ ไพโรจน์
2.62100371 นางสาว ชลธิชา สละกลาง
3.62100515 นางสาว รดา บุญถึง
4.62100524 นางสาว ละอองเทียน สอนสุระ
5.62100534 นางสาว วันวิสา จุลวิถี
6.62100540 นาย วีรภัทร งามประวัติดี
7.62100569 นางสาว สิริปรียา มะหะหมัด


Click to View FlipBook Version