The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by คัธรียา มะลิวัลย์, 2019-06-10 09:18:21

Unit 4

Unit 4

บทท่ี 4

โรงเรือนและอุปกรณ์เลย้ี งไก่ไข่

ครคู ธั รยี า มะลวิ ลั ย์

แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา

บทท่ี 4

โรงเรือนและอปุ กรณ์เลยี้ งไก่ไข่

หวั ข้อเรื่อง
1. การเลอื กทาเลท่ีตัง้ ฟาร์มไก่ไข่
2. โรงเรือนเลีย้ งไก่ไข่
3. อปุ กรณเ์ ลี้ยงไก่ไข่

จดุ ประสงค์การเรียนรู้
1. อธบิ ายลกั ษณะภมู ปิ ระเทศหรือทาเลท่ีตงั้ ฟาร์มไก่ไข่ทด่ี ีได้
2. สามารถจาแนกรูปแบบและชนดิ ของโรงเรอื นเลีย้ งไกไ่ ข่ได้
3. บอกอปุ กรณท์ ่สี าคัญในการเลยี้ งไก่ไขไ่ ด้

เนือ้ หาการสอน
โรงเรือนเป็นองคป์ ระกอบท่ีสาคัญประการหน่ึงในการเล้ียงไก่ เป็นสถานที่ท่ีเลี้ยงไก่ตั้งแต่ แรกเกิด

จนกระทั่งปลดขาย การออกแบบโรงเรือนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะทาให้ไก่อยู่ได้ อย่างสบาย มีการ
เจริญเติบโตตามปกติ ให้ผลผลิตดี ประเทศไทยต้ังอยู่ในเขตอากาศร้อนช้ืน ดังน้ันจึง มีปัญหาเก่ียวกับ
อากาศร้อน ลักษณะการจัดสร้างโรงเรอื นเพื่อเลีย้ งไก่ไข่มีอยู่หลายรูปแบบ การจะสรา้ งแบบใดน้ันขึ้นอยู่กับ
วัตถุประสงค์รูปแบบของการเล้ียง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นน้ันๆ ปัจจัยท่ี
เกี่ยวข้องในการสรา้ งโรงเรือนประกอบดว้ ย

4.1 การเลือกทาเลในการกอ่ สร้างฟาร์มไก่ไข่
ก่อนที่เราจะลงมือเลี้ยงไก่ไข่จาเป็นท่ีจะต้องหาทาเลที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่ไข่ ทาเลท่ี

เหมาะสม หมายถึง เป็นสถานที่ที่เอื้ออานวยต่อการเจริญเติบโตของไก่ ลดความเส่ียง และช่วยลดต้นทุน
การผลิตไกไ่ ขใ่ หม้ ากทส่ี ดุ เทา่ ท่จี ะมากได้ การเลอื กทาเลจงึ ควรคานึงถึง ดงั นี้

1) พื้นที่ควรระบายน้าได้ดี ฟาร์มเลี้ยงไก่น้ันควรอยู่ในท่ีสูงเพ่ือช่วยในการระบายน้าตลอดจน
ป้องกันไม่ให้น้าท่วมในฤดูฝน ท้ังนี้เพ่ือให้พื้นคอกและบริเวณโรงเรือนแห้งและสะอาดอยู่เสมอ โรคระบาด
จะไดไ้ ม่รบกวน

2) มีน้าจืดเพียงพอ การเล้ียงไก่ไขน่ ั้นจาเป็นจะต้องอาศัยน้าจืดท่ีสะอาด และจะต้องมีปริมาณมาก
พอเพอ่ื ทจี่ ะใชก้ ินและล้างทาความสะอาดโรงเรอื นและอปุ กรณ์ต่างๆ

3) ไฟฟ้า มีความจาเป็นต่อการเล้ียงไก่ เพราะอุปกรณ์ที่จาเป็น เช่น เครื่องกก เครื่องผสมอาหาร
ตลอดจนแสงสว่างภายในโรงเรือน จาเป็นต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากกระแสไฟฟ้า ดังน้ัน ฟาร์มไก่จึงควร
ต้ังอยใู่ นทาเลทไ่ี ฟฟ้าสามารถเข้าถึง

4) การคมนาคม การที่ฟาร์มไก่อยู่ใกล้ทางคมนาคม ทาให้เกิดความสะดวกในการเล้ียงและ
การจัดการหลายอย่าง เช่น เพ่ือความสะดวกในการขนส่งอาหาร ลูกไก่ ยารักษาโรค หรือขนส่งไข่ไก่และ
ไก่ออกสู่ตลาด ถ้าสถานที่ตั้งฟาร์มอยู่ไกลจากตลาดจะทาให้การขนส่งลาบาก เสียค่าใช้จ่ายสูง หรือสูญเสีย
น้าหนักตวั ในระหวา่ งการขนสง่ มาก

5) ควรอย่หู ่างจากบา้ นพักอาศัยพอสมควร เพื่อลดความเดือดรอ้ นหรอื รบกวนผ้อู น่ื
6) สถานที่นั้นควรจะไม่เคยมีโรคสัตว์ปีกระบาดมาก่อน ผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาว่าสถานที่ที่จะใช้
เล้ียงไกไ่ ขน่ ้นั เคยมโี รคระบาดของไกม่ ากอ่ นหรือไม่
7) สถานท่ีน้ันสามารถขยายออกไปได้ หากเป็นไปได้การเลือกสถานที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ควรอยู่ในที่ที่
อาจขยายออกไปได้ ถ้าหากกิจการเลีย้ งไก่เจริญขึน้

4.2 ลกั ษณะโรงเรือนทีด่ ี
การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เพ่ือการค้านั้นจาเป็นจะต้องจัดสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบ มีความ

แข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้เล้ียงไก่ได้นานปี จาเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เล้ียงไก่ไข่จะต้องสร้างโรงเรือนให้ถูก
แบบมาตรฐาน ตามสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โรงเรือนทีด่ คี วรมลี กั ษณะ ดงั นี้

1) สามารถปอ้ งกนั แดด ลม และฝน ไดด้ ี
2) ปอ้ งกนั ศัตรตู า่ งๆ เชน่ นก หนู แมว ได้
3) รกั ษาความสะอาดไดง้ ่าย ลกั ษณะที่ดโี รงเรือนควรเปน็ ลวด ไม่รกรุงรงั น้าไม่ขงั
4) ควรห่างจากบ้านคนพอสมควร ไม่ควรอยู่ทางต้นลมของบ้าน เพราะกล่ินขี้ไก่อาจจะไป
รบกวน
5) ควรเป็นแบบท่สี รา้ งได้ง่าย ราคาถกู ใช้วสั ดกุ ่อสร้างทีห่ าได้ในทอ้ งถน่ิ
6) หากมีโรงเรือนไก่ไข่หลายๆ หลังการจัดสร้างไม่ควรให้เป็นเรือนแฝด แต่ควรเว้น
ระยะห่างของแต่ละโรงเรือนไม่น้อยกว่า 10 เมตร ท้ังน้ี เพ่ือให้มีการระบายอากาศ และความชื้นดีขึ้น
7) ความยาวของโรงเรือนอยูในแนวตะวนั ออก-ตะวนั ตก เพอื่ หลกี เลีย่ งแดดร้อนจดั

4.3 ลักษณะทั่วไปของฟาร์มไก่ไข่
การเลีย้ งไก่ในฟาร์มโดยทวั่ ไปสามารถแบ่งออกได้เปน็ 2 ประเภท คอื
1) แบบเล้ียงบนพ้ืนคอก การเลี้ยงไก่ไข่บนพ้ืนคอก พ้ืนคอกอาจเป็นพื้นดิน คอนกรีต หรือยกพ้ืน

ด้วยระแนง ลวดตาข่าย หรือพื้นสแลตซึ่งทาได้ง่ายลงทุนน้อย ประหยัดแรงงานคนเลี้ยงดูกว่า ใช้อุปกรณ์
ต่างๆ น้อยกว่าแบบขังกรง ไก่ท่ีเลี้ยงบนพ้ืนคอกยังมีโอกาสได้รับธาตุอาหารบางอย่าง เช่น กรวด แร่ธาตุ
ฟอสฟอรสั และ ไวตามินบี 12 จากพ้ืนเล้าอกี ด้วย

2) การเลี้ยงแบบขังกรง การเลยี้ งไก่ไขแ่ บบขงั กรงนน้ั นยิ มใชใ้ นการเล้ียงไกไ่ ข่ที่มีจานวนตัง้ แตห่ นึ่ง
ตัวข้ึนไปจนถึงนับสิบๆ ตัวต่อกรง โดยวางเรียงกันเป็นแถวชั้นเดียวหรือวางซ้อนกัน 2-4 ชั้น ตั้งอยู่เหนือ
พ้ืนดิน ในระดับที่สะดวกแก่การทางาน บางแห่งกรงจะถูกแขวนลอยอยู่เหนือพ้ืนโดยไม่มีคานรองรับเพ่ือ
ความสะดวกในการใชเ้ ครอ่ื งทุ่นแรงเก็บกวาดมูลไก่

4.4 รปู แบบของโรงเรอื นเล้ียงไกไ่ ข่
ลักษณะการจัดสร้างโรงเรือนเพ่ือเลี้ยงไก่ไข่มีอยู่หลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับ

วัตถุประสงค์รูปแบบของการเล้ียง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถ่ินนั้นๆ แต่โดยทั่วไป
แล้วโรงเรอื นเลี้ยงไก่เทา่ ทม่ี ีการจดั สร้างในประเทศไทยมีรูปแบบตา่ งๆ กันดังนี้

1. แบบเพิงหมาแหงน จัดเป็นโรงเรือนท่ีสร้างได้ง่ายที่สุด เพราะไม่สลับซับซ้อน ลงทุนน้อย แต่มี
ข้อเสียคือ ถ้าหันหน้าของโรงเรือนเข้าในแนวทางของลมมรสุม ฝนจะกลับเข้าไปในโรงเรือนได้ โรงเรือน
แบบนีไ้ มค่ ่อยมคี วามทนทานเทา่ ทค่ี วร เนอ่ื งจากจะถกู ฝนและแดดอยูเ่ ป็นประจา

2. แบบเพิงหมาแหงนกลาย ลักษณะของโรงเรือนแบบน้ีจะดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบหน้า
จั่ว ทั้งน้ีเพราะมีการระบายอากาศร้อน กันฝน กันแดดได้ดีกว่าและข้อสาคัญคือค่าก่อสร้างจะถูกกว่าแบบ
หนา้ จ่ัวกลาย

3. แบบหน้าจั่ว การสร้างโรงเรือนแบบนี้จะสร้างยากกว่าแบบแรก ทั้งนี้เพราะต้องพิถีพิถันในการ
จัดสร้างมากข้ึน รวมถึงความประณีตด้วย ดังนั้น ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงงานในการก่อสร้างจึงสูงกว่า
แบบแรก แต่โรงเรือนแบบนม้ี ขี ้อดีคือ สามารถปอ้ งกันแดดและฝนได้ดีกวา่ แบบเพิงหมาแหวน

4. แบบจ่ัวสองช้ัน ลักษณะของโรงเรือนแบบน้ีจะสร้างได้ยากกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อดีคือ
อากาศภายในโรงเรือนแบบน้ีจะเย็นกว่าสองแบบแรกมาก ทั้งน้ีเพราะจวั่ สองช้ันจะเป็นท่ีระบายอากาศรอ้ น
ไดด้ ี ทาใหไ้ ก่อยไู่ ดอ้ ยา่ งสบายโดยไม่เกดิ ความเครยี ด

5. แบบจั่วสองช้ันกลาย ลักษณะของโรงเรือนแบบน้ีจะสร้างได้ยากกว่าสามแบบแรก แต่มีข้อดีคือ
อากาศภายในโรงเรือนแบบนี้จะเย็นกว่าสองแบบแรกมาก ท้ังนี้เพราะจ่ัวสองช้ันกลายจะเป็นที่ระบาย
อากาศร้อนไดด้ ี ทาให้ไกอ่ ยไู่ ด้อยา่ งสบายโดยไม่เกิดความเครยี ด

ภาพที่ 4.1 ลกั ษณะของโรงเรอื นรปู แบบตา่ งๆ

4.5 ชนิดของโรงเรอื น
โรงเรือนไกไ่ ขแ่ บง่ ออกได้ 3 ชนดิ ตามอายขุ องไก่ไข่ คือ
1) โรงเรือนไก่เล็ก (Brooder house) เป็นโรงเรือนสาหรับเล้ียงไก่ไขต่ ้ังแตแ่ รกเกิดจนถึงอายุ 5-6

สัปดาห์ใช้เลี้ยงไก่ไข่ระยะไก่เล็ก ในการเล้ียงไก่ไข่เราอาจใช้โรงเรือนไก่เล็กเป็นโรงเรือนสาหรับกกลูกไก่
เพียงอย่างเดียว แต่ยังไม่เป็นท่ีนิยมเพราะเมื่อลูกไก่พ้นระยะกกเม่ืออายุ 5-6 สัปดาห์ไปแล้ว จะต้องย้ายไก่
ไปเล้ียงยังอีกโรงเรือนหนึ่ง ซึ่งจะเล้ียงเฉพาะไก่ที่พ้นระยะกกเท่านั้น ข้อดีของการใช้โรงเรือนแบบน้ีคือ
สามารถกกลูกไก่ได้จานวนท่ีมากโดยไม่ต้องคานึงถึงจานวนไก่ในระยะไก่รุ่นหรือในระยะไข่ แต่มีข้อเสียคือ
เป็นการสร้างสภาวะเครียดให้กับไก่ขณะที่ทาการเคลื่อนย้าย และยังเป็นการส้ินเปลืองแรงงาน ทาให้
ค่าใช้จา่ ยสงู ขน้ึ

2) โรงเรือนไก่รุ่น (Grower house) เป็นโรงเรือนสาหรับเลี้ยงไก่ตั้งแต่อายุ 6-7 สัปดาห์ เป็นต้น
ไปโดยทาการย้ายไก่จากโรงเรือนไก่เล็ก เมื่อไก่มีอายุ 5-6 สัปดาห์ โรงเรือนไก่รุ่นมีพ้ืนที่กว้างขวางกว่า
อุปกรณ์ให้น้าและอาหารมีขนาดใหญ่ข้ึน ไก่รุ่นจะถูกเล้ียงจนกระทั่งอายุได้ 18 สัปดาห์แล้วจึงย้ายไปยัง
โรงเรือนไก่ไข่ต่อไป โรงเรือนไก่รุ่นน้ียังสามารถใช้เล้ียงไก่ต้ังแต่ระยะแรกเกิดจนถึงอายุ 18 สัปดาห์ หรือ
กอ่ นไข่ แต่จานวนลูกไก่ท่ีนามาเลี้ยงต้องคานวณจากจานวนไก่สาวท่ีสามารถเล้ียงได้ เท่าน้ัน ดังนั้นจานวน
ลูกไกท่ ีจ่ ะนามาเลี้ยงจะน้อยกวา่ จานวนลกู ไก่ท่ีเล้ียงโรงเรือนแบบแรก

3) โรงเรือนไก่ไข่ (Laying house) โดยท่ัวไปผู้เล้ียงไก่ไข่จะย้ายไก่รุ่นไปยังโรงเรือนไก่ไข่ เม่ือไก่มี
อายุได้ประมาณ 18 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติสามารถย้ายไดต้ ้ังแต่อายุ 15-21 สัปดาห์ ตามความเหมาะสม
ในการเลี้ยงไกไ่ ข่แบบปล่อยพ้ืนสามารถเลี้ยงไก่ไข่ตง้ั แตร่ ะยะกก ระยะรุ่นและระยะไข่ในโรงเรือนเดียวกันได้
จานวนลกู ไก่ท่ีจะนามาเล้ียงต้องคานวณจากจานวนไก่ไข่ท่สี ามารถเลย้ี งได้ เทา่ น้ัน การเล้ียงแบบนี้มีขอ้ ดคี ือ
ไม่จาเป็นต้องเคล่ือนย้ายไก่จากโรงเรือนหน่ึงไปยังโรงเรือนหน่ึง เป็นการช่วยลดความเครียด ประหยัด
แรงงานและค่าใชจ้ า่ ย

4.6 การวางแผนผังฟารม์
ลักษณะของแผนผังฟาร์มสัตว์ปีกท่ีได้มาตรฐาน ได้แก่ เนื้อท่ีของฟาร์มต้องมีความเหมาะสมกับ

จานวนโรงเรอื นของฟารม์ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาส่ิงแวดล้อมและสุขภาพสตั ว์ ตอ้ งมีการแบง่ พน้ื ทีเ่ ลีย้ งสัตว์
เป็นสัดเป็นส่วน โดยมีโรงเก็บอาหารสัตว์หรือพ้ืนที่เก็บอาหารเป็นสัดส่วน มีถนนภายในฟาร์ม มีอาคาร
สานักงาน ท่ีพักอาศัยแยกเป็นสัดส่วน มีท่ีจอดรถ ซึ่งต้องมีผังแสดงการจัดวาง ขนาด ระยะห่างท่ีแน่นอน
และต้องมีรว้ั ปอ้ งกันสัตว์อน่ื เขา้ ออกได้

ภาพที่ 4.2 ลักษณะการวางแผนผงั ฟารม์ ไก่ไข่
แผนภาพที่ 4.1 แสดงแผนผังองคป์ ระกอบหลกั ฟารม์ ไก่ไข่แบบโรงเรือนเปดิ

ที่มา : กรมปศสุ ัตว์ (2547)
4.7 ประเภทของโรงเรอื น

โรงเรือนที่นิยมเล้ียงสัตว์ปีก ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ โรงเรือนระบบเปิด (open house) และ
โรงเรือนระบบเปิด (evaporative cooling system house) โรงเรือนที่ใช้เล้ียงสัตว์ปีกจะมีลักษณะและ
ขนาดท่ีเหมาะสมกับจานวนของสัตว์ปีก ระยะห่างของโรงเรือนที่ถูกต้องตามมาตรฐานฟาร์ม บริเวณหน้า
ประตูของโรงเรือนตอ้ งมอี ่างนา้ ยาฆ่าเชื้อโรค สาหรบั จมุ่ เทา้ เวลาเขา้ -ออกโรงเรือน

แผนภาพท่ี 4.2 แสดงโรงเรือนไกไ่ ข่แบบเปิดดา้ นหนา้

ท่ีมา : กรมปศสุ ัตว์ (2547)
แผนภาพที่ 4.3 แสดงโรงเรอื นไกไ่ ข่แบบปิดดา้ นหลงั

ทม่ี า : กรมปศสุ ัตว์ (2547)
ลักษณะการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อเล้ียงไก่ไข่มีอยู่หลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับ

วัตถุประสงค์รูปแบบของการเล้ียง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ท่ีมีอยู่ในท้องถ่ินน้ันๆ แต่โดยทั่วไป
แล้วโรงเรือนเล้ียงไก่เท่าท่ีมีการจัดสร้างในประเทศไทยมีการก่อสร้าง 2 ชนิด โรงเรือนแบบเปิดและ

โรงเรอื นแบบปิด ((evaporative cooling system)

ลกั ษณะภายนอก ลักษณะภายใน

ภาพที่ 4.3 โรงเรือนไกไ่ ขร่ ะบบเปิด

ลกั ษณะภายนอก

ลักษณะภายใน
ภาพท่ี 4.4 โรงเรือนไกไ่ ขร่ ะบบปดิ

โรงเรอื นระบบปิด (evaporative cooling system)
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิของอากาศค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่ผู้
เลยี้ งสัตวม์ ักสร้างโรงเรือนเป็นโรงเรือนเปดิ ท้งั น้เี พื่อต้องการใหอ้ ากาศภายในโรงเรอื นมีการ หมุนเวียนและ
ระบายอากาศเปน็ การลดความร้อนภายในโรงเรือนได้ดี โรงเรือนเปิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิไดอ้ ุณหภูมิ
ของโรงเรือนจะผันแปรไปตามสภาพของอากาศภายนอกโรงเรือน ช่วงหน้าร้อนอากาศ จะร้อนมาก สัตว์
เล้ียงบางชนิด เช่น ไก่เน้ือ อาจทนอากาศร้อนไม่ไหว เพื่อหลีกเลี่ยงจากอากาศร้อนและต้องการควบคุม
อุณหภูมิของโรงเรือนจึงได้มีการคิดค้นโรงเรือนระบบปิดข้ึนโดยใช้หลักการระบายความร้อนด้วยน้าและใช้
พัดลมเป็นตัวถ่ายเทอากาศ โดยมีแผ่นรังผ้ึง (cooling pad) ท่ปี ล่อยน้าไหลผ่านจนเปียกชุ่ม เม่ือเดินพัดลม
ซึ่งอยู่ในแนวตรงกันข้ามกับแผ่นรังผ้ึงอากาศภายนอกจะถูกดูดผ่านแผ่นรังผึ้งเข้าภายในโรงเรือน ภายใน
โรงเรือนจะเย็นสบายโดยใช้หลักการระเหยของน้า นอกจากนี้โรงเรือนระบบปิดยังสามารถป้องกันโรคได้
อย่างดโี ดยเฉพาะโรคไขห้ วัดนก ซง่ึ การตดิ ต้งั และระบบการทางานของโรงเรือนระบบปดิ มดี ังนี้
หลักการทางานของโรงเรือนระบบปดิ หรอื ระบบอแี วป
โรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวปน้ีมีหลักการทางานซึ่งไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากนัก ถ้าหาก
เข้าใจระบบการทางานแล้วผู้เลี้ยงสัตว์ก็สามารถท่ีจะติดตั้งระบบอีแวปได้ที่โรงเรือนของตนเอง ซ่ึงหลักการ
ปฏิบัตเิ กย่ี วกบั ระบบอีแวป ดังน้ี
1) ขนาดของโรงเรือน โรงเรือนมีขนาดมาตรฐานคือ กว้าง 12 เมตร และยาว 120 เมตร
2) หลังคา หลังคาเป็นแบบจั่วช้ันเดียว หลังคาจั่วสูงจากพื้น 4 เมตร โครงสร้าง ท้ังหมดทาด้วย
เหล็กฉาก ยกเว้นแปซ่ึงใช้ไม้เน้ือแข็งขนาด 2 x 4 วัสดุที่นามาใช้คลุมหลังคา โรงเรือนทาด้วยแผ่นสังกะสี
ฉาบด้วยกาลวาไนส์ (Galvanized) ภายใต้หลังคามุงด้วยฉนวนใยแก้ว (micro – fiber) กันความร้อน ใต้
ฉนวนกันความร้อนบุด้วยแผ่นพลาสติกไวนิล (Vinyl) เพ่ือป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากหลังคาไม่ให้ลง
มาในโรงเรือนได้ ถัดลงมาจากแผ่นกันความร้อนยังมีแผ่นไม้อัดที่ติดต้ังใต้เพดานขวางตามความยาวของ
โรงเรียน เรียกว่า แผ่นชิงลม (Spoiler) คิดเป็นระยะทุก 12 เมตร เพื่อดักลมด้านบนให้พัดผ่านด้านล่าง
อยา่ งสมา่ เสมอและท่ัวถึง 3) ผนังโรงเรือน ผนังด้านหน้าและท้ายโรงเรือนปิดทึบ ส่วนผนังด้านข้างทั้ง 2
ข้าง ก่ออิฐสูงประมาณ 60 ซม. เปิดช่องลมและปิดด้วยผ้าม่านพลาสติกขนาด 1.20 เมตร และมีตาข่าย
อยา่ งดีลอ้ มรอบผนงั ด้านขา้ ง เปดิ ประตูหน้า – หลัง และดา้ นกลางของโรงเรอื นด้วย
4) แผ่นรังผึ้ง แผ่นรังผึ้งเป็นส่วนสาคัญที่ปรับให้อุณหภูมิในโรงเรือนลดลง ซึ่งทาด้วยกระดาษ
สังเคราะห์พิเศษมีความทนทาน มีความหนา 2 ขนาด คือ ขนาดหนา 10 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร
ความสูงของแผ่นรงั ผึ้ง 180 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15 เมตร และ 21.6 เมตร ต่อโรงเรือน การติด
แผ่นรังผ้ึงจะติดด้านเดียวหรือ 2 ด้านก็ได้ แต่การติด 2 ด้านนั้น การไหลเวียนของอากาศจะทั่วถึงและ
สมา่ เสมอดีกวา่ ติดดา้ นเดียวและไม่ต้องตดิ พัดลมเสริมภายในอีก
5) พัดลม พัดลมท่ีใช้จะติดตั้งอยู่ในโรงเรือนด้านหลัง (ด้านท้าย) ตรงข้ามแผ่นรังผึ้ง มีขนาด
เส้นผา่ ศูนยก์ ลาง 48 น้ิว

6) ระบบควบคุมอณุ หภูมิในโรงเรือน การควบคมุ อุณหภูมิภายในโรงเรือนนั้นใช้ พัดลมและแผน่ รัง
ผง้ึ โดยมตี ัวควบคุมอณุ หภมู ิ (thermostats) อยู่ ถ้าโรงเรือนมีพัดลม 10 เคร่อื ง จะมีตวั ควบคุมอุณหภมู ิอยู่
11 ตัว เพราะอีก 1 ตัวน้ันสาหรับควบคุมอุณหภูมิ การปิดเปิด น้าของเครื่องปั๊มน้าในการปล่อยให้น้าไหล
ผ่านแผ่นรังผ้ึง โดยในสภาพที่อุณหภูมิทั่วไปพัดลมจะเปิดทางาน 1 เครื่อง อยู่ตลอดเวลาและพัดลมท่ีเหลือ
อกี จะทางานเมอื่ อุณหภมู สิ งู กวา่ ทีเ่ คร่ืองควบคุมอุณหภูมิ ดงั ตอ่ ไปน้ี

- สงู กว่า 60 o F พัดลมเคร่ืองที่ 2 จะทางาน
- สงู กว่า 72 o F พดั ลมเคร่ืองที่ 3 จะทางาน
- สงู กว่า 74 o F พดั ลมเคร่ืองท่ี 4 จะทางาน
- สูงกว่า 76 o F พัดลมเครอ่ื งที่ 5 จะทางาน
- สูงกว่า 78 o F พดั ลมเครือ่ งท่ี 6 จะทางาน
- สงู กว่า 80 o F พัดลมเครื่องที่ 7 จะทางาน
- สูงกว่า 82 o F พัดลมเคร่ืองท่ี 8 จะทางาน

ในกรณีที่โรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะต้ังตัวควบคุมพัดลมท่ีอุณหภูมิช่วงระหว่าง 60 o F –
72 o F อีก 2 เคร่ือง เม่ืออากาศเปลี่ยนแปลงไป ระบบอัตโนมัติท่ีติดตั้งไว้จะทางานเพื่อปรับสภาพอากาศ
และอุณหภูมิในโรงเรือนให้คงที่ตลอดเวลา และพัดลมจะเป็นตัวดูอากาศผ่านรังผึ้งซึ่งมีความเย็นเข้าไป
แทนท่ีอากาศร้อนภายในซ่ึงจะถูกดูดออกไปอีกทางหนึ่ง เม่ืออากาศเย็นเข้าไปแทนที่จะทาให้อุณหภูมิ
ภายในลดลงได้จากปกติถึง 7 o C หรอื มากกว่านั้น แต่ถ้าช่วงไหนอากาศเย็นสบายอยู่แล้ว พัดลมดูดอากาศ
บางตัวจะหยุดทางานไปโดยอัตโนมัติ และม่านอะลูมิเนียมที่หลังพัดลม กจ็ ะเปิดเพ่ือป้องกนั อากาศเขา้ ออก
โรงเรือน และเม่ืออุณหภูมิเร่ิมสูงข้ึนม่านอะลูมิเนียมก็จะเปิดพัดลม ก็จะทางานอีกคร้ัง ในสภาวะที่อากาศ
ภายนอกโรงเรือนเย็นอาจจะไม่จาเป็นต้องใช้น้าช่วยปรับอากาศเลยก็ได้ เพียงแค่ใช้พัดลมระบายอากาศ
อยา่ งเดยี วกพ็ อ เนอ่ื งจากอากาศภายในเย็นพอเพยี ง

7) ระบบการไหลเวียนของน้าในแผ่นรังผึง้ การไหลเวียนของน้าในแผ่นรังผึ้งนี้มคี วามสาคญั ตอ่ อายุ
การใช้งานของแผ่นรังผ้ึง น้าต้องสะอาดและไม่ทาลายแผ่นรังผ้ึง บริเวณที่น้าไหลไปไม่ท่ัวถึงจะเร่ิมอุดตัน
แนะนาให้ความเรว็ ของน้าไหล 6 ลิตร/นาท/ี พ้ืนท่ีแผ่นรงั ผึง้ 1 ตารางเมตร (ความหนา 10 เซนติเมตร) และ
9 ลิตร/นาที/พื้นที่แผ่นรังผ้ึง 1 ตารางเมตร (ความหนา 15 เซนติเมตร) การทางานของน้าจะมาจากเคร่อื ง
ป๊ัมน้าขนาด 0.75 แรงม้า 1 เครื่อง ปั๊มจากบ่อเก็บน้าด้านล่างข้าง ๆ แผ่นรังผึ้งมักทาเป็นบ่อซีเมนต์ขนาด
กว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 1.5 เมตร เมื่อสูบน้าขึ้นมาปล่อยใส่แผ่นรังผ้ึงให้น้าไหลผ่านลงมา
น้าท่ีไหลผ่านจะไหลไปรวมกนั ท่ีรางรวมน้าข้างล่างและไหลลงบ่เก็บนา้ เดิมอีกเป็นวงจรหมุนเวียนไป แผ่นรัง
ผ้ึงมีหน้าท่ีทาให้เกิดพ้ืนท่ีผิวของการระเหยของน้าหรือเพ่ิมการระเหยและเม่ืออากาศพัดผ่านก็จะหอบเอา
ความเยน็ ความชื้น เขา้ ไปในโรงเรอื นด้วยโดยอากาศที่รอ้ นเมอื่ พัดผ่านจะกลายเปน็ อากาศเย็นทันที

8) ปัญหาการอุดตันของแผ่นรังผงึ้ อายุการใช้งานของแผ่นรงั ผ้ึงขึน้ อยกู่ ับคณุ ภาพของน้าที่ใช้ ปกติ
น้าจะมีปริมาณของแร่ธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันตามแหล่งที่มาและมีแต่น้าสะอาดและบริสุทธิ์เท่าน้ันที่
สามารถผ่านแผ่นรังผึ้งและระเหยเข้าไปในโรงเรือนได้ ส่วนแร่ธาตุต่าง ๆ จะต้องตกค้างอยู่ที่แผ่นรังผึ้ง ทา
ให้แผ่นรังผึ้งอุดตนั เม่ือใช้ไปนาน ๆ โดยเฉพาะแรธ่ าตุพวกแคลเซียม (Calcium) ในส่วนของแผน่ รังผง้ึ หรือท่ี
เรยี กว่า คูลล่ิงแพด สามารถทาความสะอาดได้อยา่ งง่ายด้วยการผสมนา้ ยาฆ่าเช้ือเข้าไปในน้า ทป่ี ล่อยลงมา
จากท่อพีวีซีเพ่ือให้สัมผัสกับแผ่นแพดและพ่นฆ่าเชื้อโรคให้ท่ัวอีกคร้ังก็ใช้ได้แล้ว ไม่จาเป็นต้องถูด้วยแปรง
หรือทาความสะอาดละเอียดนัก เน่ืองจากแผ่นรังผึ้งนี้ทาด้วยกระดาษสังเคราะห์ที่ค่อนข้างจะบอบบาง
อาจจะฉีกขาดได้และถ้าหากน้าที่ใช้ในฟาร์มไม่สะอาดพอจะมีหินปูนมาเกาะตามแผ่นรังผ้ึงมาก จึงต้องทา
ความสะอาดด้วยกรดไฮโดรคลอริก

ภาพที่ 4.5 แสดงลกั ษณะของอากาศทีเ่ ขา้ ไปในโรงเรอื นโดยผ่านแผน่ รังผ้ึง

ภาพท่ี 4.6 แสดงการหมุนเวียนของอากาศในโรงเรือน

9) น้า เป็นปจั จัยสาคัญตอ่ ระบบน้ี นอกจากตวั พัดลมสาหรบั ระบายอากาศแล้ว นา้ จะขาดเสยี ไมไ่ ด้
หากไม่มีน้าระบบนี้ก็ไม่เกิดขึ้น และน้าที่นามาใช้จาเป็นน้าที่ไม่มีตระกรันต่าง ๆ หรือมีพวกธาตุเหล็กมาก
เกินไป ถ้าน้ามตี ะกรันหรอื ธาตุเหล็กมาก ๆ จะต้องนามากรองก่อนที่จะนามาผ่านรังผงึ้ เพราะถ้าตะกรนั ไป
จบั แผ่นรงั ผงึ้ จะทาให้แผ่นรงั ผ้งึ ตัน

10) อุณหภูมิ ภายในโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือน ตามปกติอุณหภูมิที่วัด
ได้ภายในโรงเรือนอแี ว็ปโปเรตีฟคลู ลง่ิ ซิสเตม จะต่ากว่าอณุ หภูมภิ ายนอก 3 – 5 o C

ขอ้ ดแี ละขอ้ เสยี ของโรงเรอื นระบบปิด
ท้ังโรงเรือนเปิดและโรงเรือนระบบปิดก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป ผู้เลี้ยงสัตว์จะต้องตัดสินใจว่า
ควรจะเลือกใช้โรงเรือนระบบใด แต่ในภาพรวม ๆ แล้วโรงเรือนระบบปิดจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอากาศร้อน
และป้องกนั โรคไดด้ กี ว่าโรงเรอื นเปดิ ขอ้ ดีและข้อเสยี ของโรงเรอื นระบบปดิ มีดังน้ี
1) ข้อดขี องระบบทาความเย็นด้วยแผน่ รังผ้ึงในโรงเรือนระบบปิดมีดังน้ี

ก) ลดความเครยี ดที่เกิดจากความรอ้ นและทาให้ไก่สุขภาพดีขน้ึ
ข) ในพอ่ – แม่พนั ธุไ์ กก่ ระทงจะให้ผลผลิตสูงขึ้น
ค) ลดอัตราการตาย โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในช่วงอากาศรอ้ นจดั
ง) ใช้พดั ลมนอ้ ยกว่าเมื่อเทียบกับโรงเรียนแบบเปดิ และเป็นการประหยดั ค่ากระแสไฟฟ้า
จ) สามารถใช้ร่วมกับระบบทึบแสง (dark – out) เพ่ือเลี้ยงไก่พ่อ – แม่พันธ์ุได้อย่างมี
ประสทิ ธภิ าพมากกวา่ โรงเรอื นแบบเปิด
ฉ) การหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือนสม่าเสมอมาก อากาศบริสุทธ์ิจากภายนอกจะ
ผ่านแผ่นรังผ้ึงเข้ามาภายในโรงเรือนและระบายเอาอากาศเสียออกไปภายนอกโรงเรือนโดยพัดลมใช้เวลา
สัน้ ๆ เทา่ นน้ั เป็นการลดปญั หาระดบั แอมโมเนยี ในโรงเรอื นได้
ช) อัตราการเจริญเติบโตดีกวา่ และประสทิ ธภิ าพการเปลยี่ นอาหารเปน็ เน้อื ดใี นไก่กระทง
ซ) ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
ฌ) สามารถเลย้ี งไกไ่ ดม้ ากขึ้นกวา่ โรงเรือนแบบเปดิ เมอื่ เทียบกับพ้ืนท่ีเทา่ กัน
ฎ) สามารถควบคมุ อุณหภมู ิ ความช้ืน การระบายอากาศและแสงสวา่ งในโรงเรือนได้
2) ขอ้ เสยี ของระบบทาความเยน็ ด้วยแผ่นรังผ้ึงในโรงเรือนระบบปิดมดี ังนี้
ก) การลงทุนในระยะเร่มิ ต้นสูงและมีค่าใชจ้ ่ายที่ตอ้ งตามมาอกี ได้แก่ ค่าไฟ คา่ น้า และค่า
สึกหรอของอปุ กรณ์ (ข้ึนอยู่กับประสทิ ธภิ าพในการดูแลของแต่ละฟาร์ม)
ข) เนื่องจากระบบควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนข้ึนอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายชนิด เช่น
ชนิดและขนาดของแผ่นให้ความเย็น ระดับความช้ืนภายนอกและภายในโรงเรือน พ้ืนที่และความหนาแน่น
ของการเลี้ยง จานวนพัดลมและการวางผังตาแหน่งของพัดลม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนอากาศในระดับ
ความเร็วลมท่ีเหมาะสมและทั่วถึงทั้งโรงเรือน การไม่เข้าใจในระบบและการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องจะนาไปสู่
ความเสยี หายท่มี ากกว่าการเลยี้ งในโรงเรือนระบบเปดิ

ค) การเล้ียงสัตว์ท่ีหนาแน่นเกินขอบเขตความสามารถในการจัดการเลี้ยงดู สภาพของ
โรงเรือนและจานวนอปุ กรณ์ กอ่ ใหเ้ กิดปญั หาสขุ ภาพและการใหผ้ ลผลติ ที่ต่ากว่า มาตรฐานได้

ง) การพิจารณาถึงขนาดของโรงเรอื นในระบบปิดของฟารม์ นั้นต้องคานึงถึงความสามารถ
ในการจัดการแบบเขา้ หมดออกหมด (all-in all-out) ของฟาร์มได้ โรงเรอื นทม่ี ีขนาดใหญ่เกนิ ไปไมส่ ามารถ
ท่ีจะย้ายสัตว์ออกได้หมดภายในระยะเวลาหน่ึง และทาให้ต้องมีการนาสัตว์ รุ่นต่อมาทยอยเข้าไปใน
โรงเรือน ในขณะที่สัตว์ชุดก่อนยังมีการเล้ียงอยู่ในโรงเรือนที่จะส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์ในรุ่นใหม่อย่าง
แน่นอน

จ) โรงเรือนในระบบปิดถูกออกแบบให้ช่วยในการเพิ่มผลผลิตของสัตว์ ส่วนการป้องกัน
โรคหรือการติดเช้ือของสัตวค์ วรเน้นทกี่ ารปอ้ งกันฟาร์มในระบบเปิดมากกว่า

3) ข้อควรระมดั ระวังในการใช้โรงเรือนระบบอแี วปโปเรตีฟคูลลง่ิ
ก) ต้องมีเคร่ืองกาเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ไว้สารองทุกฟาร์มและระบบสัญญาณเตือนต่าง ๆ

ในกรณีไฟฟา้ ดับ ถ้าไม่มีเครอื่ งกาเนดิ ไฟฟ้าสารองไก่อาจตายอยา่ งรวดเรว็ ถา้ ไฟฟา้ ดับเปน็ เวลานาน
ข) ต้องตรวจสอบเป็นประจาและทาความสะอาดพัดลม สายพาน ระบบอากาศเข้า

การระบายอากาศเสียและทางานเตม็ ประสิทธิภาพ
ค) ในพื้นที่ท่ีน้ามีแคลเซยี มมากจะตอ้ งล้างและทาความสะอาดแผ่นรงั ผึ้งและแท็งค์เกบ็ น้า

ตอ้ งป้องกนั การเกาะตวั ของแคลเซียมบนแผน่ รังผงึ้
ง) ใชย้ าฆ่าแมลง เพือ่ ควบคุมแมลงในแผน่ ฉนวนใต้หลงั คา
จ) ตอ้ งควบคมุ พวกตะไครน่ ้า เพอ่ื รักษาประสทิ ธภิ าพการทางานของแผน่ รงั ผง้ึ
ฉ) มตี น้ ทุนการสร้างทส่ี ูงกว่าระบบเปดิ
ช) มตี ้นทนุ ค่าไฟฟา้ ที่สงู กว่า
ซ) ไม่เหมาะที่จะนาไปใช้ในพ้ืนที่ท่ีมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศค่อนข้างสูง เนื่องจากแผ่น

รงั ผ้งึ จะระบายน้าไดน้ ้อย และไมส่ ามารถลดอุณหภมู ิภายในโรงเรือนได้

4.8 อปุ กรณ์ทสี่ าคญั ในการเลยี้ งไกไ่ ข่

อุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ปีกมีหลายชนิดให้เลือกใช้โดยเฉพาะในระบบการเลี้ยงแบบปล่อยพ้ืนส่วน
การเล้ียงในกรงตับน้ันอุปกรณ์ต่างๆ จะขายพร้อมกับกรงตับ เช่น ระบบให้น้าและรางอาหารยกเว้น
อปุ กรณเ์ สริมสาหรับสปั ดาห์แรก เช่น ถาดอาหารลกู ไก่และทใ่ี ห้นา้ ลูกไก่

การเลยี้ งสัตว์ปีกเป็นอาชีพหรือเพื่อการค้าจาเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์การเล้ียงที่จาเป็นและที่สาคัญ
นบั ตงั้ แต่ระยะของการเล้ียง ดังน้ี

1) อปุ กรณ์การใหอ้ าหาร มีอยู่หลายแบบแต่ที่นยิ มใชก้ ันมากมี 4 ชนิด ดงั น้ี
(1) ถาดอาหาร ขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) จานวน 1 ถาด

ใช้กับลกู ไกอ่ ายุ 1-7 วนั ไดจ้ านวน 100 ตัว วางไวใ้ ตเ้ คร่อื งกก เพ่อื หัดไกก่ นิ อาหารเปน็ เร็วข้นึ

ภาพที่ 4.7 ถาดให้อาหารไก่เลก็

ภาพที่ 4.8 ถาดใหอ้ าหารไก่เลก็ อตั โนมัติ
(2) รางอาหาร รางอาหารทาดว้ ยไม้ สังกะสีเอสล่อนหรอื พลาสติกทาเป็นรางยาวให้ไก่ยืน
กนิ ไดข้ า้ งเดียวหรือสองข้าง ทมี่ ีจาหนา่ ยโดยท่ัวไปมี 2 ขนาดคอื ขนาดเล็กสาหรับลูกไก่และขนาดใหญ่ใช้กับ
ไกอ่ ายปุ ระมาณ 2 สปั ดาหข์ ้นึ ไป นอกจากนร้ี างอาหารอาจทาจากปลอ้ งไมไ้ ผท่ ี่มขี นาดใหญก่ ็ได้

ภาพท่ี 4.9 รางอาหารไกเ่ ล็ก ภาพที่ 4.10 รางอาหารไก่ไข่

(3) ถังอาหาร ถังอาหารไก่ทาด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็น
มาตรฐาน มีขนาดเสน้ ผา่ ศนู ย์กลาง 16 น้ิว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นว้ิ หลังจากลกู ไกอ่ ายุได้ 15 วัน อาจ
ใชถ้ ังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถงั ตลอดไป การให้อาหารดว้ ยการใชถ้ ังแขวนนี้ ต้องปรับให้อยู่
ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ากว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่า
ถงั บอ่ ยๆ เพ่ือไมใ่ ห้อาหารตดิ คา้ งอยภู่ ายในถัง สาหรับจานวนถังสาหรับถังท่ใี ชจ้ ะแตกต่างไปตามอายุของไก่

ภาพที่ 4.11 ถงั อาหาร

ภาพท่ี 4.12 ถงั อาหารอัตโนมัติ
(4) รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกวา้ งประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2
แถว แล้วเพ่มิ ถังอาหารแบบแขวนจานวน 6-8 ถงั ต่อไกจ่ านวน 1000 ตวั แต่ถ้าโรงเรือนที่มคี วามกว้างเกิน
12 เมตร ควรต้งั รางอาหารเกนิ 4 แถว

ภาพท่ี 4.13 รางอาหารอตั โนมัติ
2) อุปกรณ์ให้น้า อุปกรณ์ให้น้าไก่จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุของไก่ อุปกรณ์ให้น้าที่นิยม
มีอยู่ 3 แบบ ดังน้ี

(1) แบบรางยาว รางน้าอาจทาด้วยสงั กะสี พลาสติกหรือเอสล่อน การเลยี้ งลูกไก่อายุ 1-3
สัปดาห์ ถ้าใช้รางน้าที่เข้าไปกินได้ด้านเดียว ควรใช้รางยาว 2-2.5 ฟุตต่อลูกไก่ 100 ตัว สาหรับไก่อายุ 3
สัปดาห์ขึ้นไปให้เพ่ิมอีก 3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรเพิ่มขึ้นอีก สาหรับไก่ในระยะไข่ควรให้มี
เนอ้ื ทร่ี างประมาณ 1 นว้ิ ตอ่ ไก่ 1 ตวั

ภาพท่ี 4.14 รางน้าท่ีทาจากสังกะสี ภาพท่ี 4.15 รางนา้ ทที่ าจากพลาสติกหรือเอสลอ่ น
(2) แบบขวดมีฝาครอบ เป็นภาชนะให้น้าที่นิยมใช้กันมากเพราะใช้สะดวกมีขายอยู่ท่ัวไป

มีหลายขนาด เช่น ถังให้น้าขนาด 1 ลิตร 4 ลิตร 8 ลิตร ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอายุของไก สาหรับถัง
นา้ ลูกไกมีลักษณะพิเศษคือฐานที่รองรับน้าจะมีขอบสงเพ่ือป้องกันลูกไกลงไปเล่นน้า เลี้ยงลูกไก่ในระยะ 1-
2 สัปดาห์แรกใช้ขวดน้าขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ในอัตราส่วน 2 ใบ ต่อลูกไก่ 100 ตัว เมื่อไก่อายุ 3-6
สปั ดาห์ ใชข้ วดนา้ ขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ควรใช้ 2 ใบตอ่ ลูกไก่ 100 ตวั

ภาพที่ 4.16 ทใ่ี หน้ า้ แบบขวดมฝี าครอบ
(3) ทีใ่ ห้นา้ อตั โนมตั ิ มี 2 ชนดิ คือ แบบถังแขวน จะมีวาลวสามารถปรับจานวนน้าไดตาม
ความเหมาะสมของขนาด และจานวนไก และแบบหยด (น๊ิปเปิล)

ภาพที่ 4.17 ท่ีให้นา้ อัตโนมัติแบบถังแขวน ภาพท่ี 4.18 ท่ใี ห้นา้ อัตโนมตั แิ บบแบบหยด (น๊ิปเปิล)
3) เคร่ืองกกลูกไก่ เคร่ืองกกลูกไก่เป็นอุปกรณ์ท่ีมีความสาคัญมากในการเล้ียงลูกไก่ ทาหน้าที่ให้

ความอบอนุ่ แทนแมไ่ ก่ในขณะที่ลกู ไก่ยงั เล็กอยู่ซ่งึ มีหลายแบบ ดงั น้ี
(1) เคร่ืองกกไฟฟ้าแบบฝาชี เป็นเคร่ืองกกท่ีนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าเครื่องกกแบบ

อ่ืน มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ส่วนมากมีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ทาด้วยโลหะช่วยให้สะท้อนลงสู่
พ้ืนกก ขนาดของกกแบบฝาชีโดยท่ัวไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เมตร สามารถกกลูกไก่ได้
ประมาณ 500 ตัว เครื่องกกแบบฝาชีอาจจะเป็นห้อยแขวนกับเพดานสามารถปรับให้สูงต่าได้ตามความ
ต้องการ เม่ือไม่ต้องการใช้ก็สามารถดึงข้ึนเก็บไว้หรืออาจเป็นแบบมีขาวางกับพ้ืนคอกที่สามารถปรับให้สูง
ต่าได้ และยกออกจากบรเิ วณกกเมื่อไมต่ ้องการใช้ เคร่อื งกกแบบนี้สว่ นมากจะใช้ไฟฟ้า น้ามันหรือแก๊ส เป็น
แหล่งใหค้ วามรอ้ น

ภาพที่ 4.19 เครอื่ งกกแบบฝาชแี ผงล้อมไม้ไผ่ ภาพที่ 4.20 เครือ่ งกกแบบฝาชแี ผงล้อมสงั กะสี

ภาพท่ี 4.21 เคร่อื งกกฝาชแี บบใชข้ ดลวดไฟฟา้
(2) เครื่องกกไฟฟ้าแบบหลอดอินฟราเรด การกกด้วยเครื่องกกแบบนี้โดยใช้หลอดไฟ
อินฟราเรด ซ่ึงหลอดไฟอินฟราเรดขนาด 250 วัตต์ 1 หลอดแขวนไว้เหนือพื้นดินประมาณ 45.60
เซนติเมตร จะสามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 60-100 ตัว แต่โดยท่ัวไปแล้วจะใช้หลอดอินฟราเรด จานวน
4 หลอดต่อกก ความร้อนที่ได้จากหลอดไฟจะมาช่วยให้อากาศรอบๆ อุ่น แต่จะให้ความอบอุ่นโดยตรงแก่
ลูกไก่

ภาพท่ี 4.22 เครือ่ งกกแบบหลอดอินฟราเรด

(3) เครื่องกกแก๊ส ในฟาร์มที่เล้ียงไกเป็นการค้าปัจจุบันนิยมใช้เครื่องกกแบบกกแกส
เนื่องจากสามารถกกลูกไก่ได้จานวนมาก ๆ และไมมีปัญหาเร่ืองไฟฟ้าดับ นอกจากน้ีการกกอาจเป็นแบบ
ปลอ่ ยความร้อนออกมากระจายไปทวั่ ทง้ั คอก

ภาพที่ 4.23 เคร่ืองกกแกส๊ อินฟราเรด

ภาพท่ี 4.24 เคร่ืองกกแกส็ แบบโบลวเ์ วอร์
4) อปุ กรณเ์ ล้ียงไกไ่ ขอ่ ่นื ๆ

(1) วัสดุรองพ้ืน วัสดุท่ีใช้รองพ้ืนคอกเลี้ยงไก่ควรหาได้ง่ายในท้องถ่ิน ราคาถูก และเม่ือ
เลิกใช้แล้วสามรถนาไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี วัสดุรองพ้ืนที่เหมาะสาหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กัน
ท่ัวไปได้แก่ แกลบ ขี้กบ ข้ีเลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถ่ัวลิสง
เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้าและราง
อาหาร

ภาพท่ี 4.25 วัสดุรองพนื้ (แกลบดิบ)

(2) อุปกรณ์การให้แสง เนื่องจากแสงสว่างมีความจาเป็นต่อการมองเหน็ ของไก่ ไมว่ า่ เวลา
กินอาหาร กินน้า หรืออนื่ ๆ นอกจากนี้แสงยังมีความสาคัญตอ่ การให้ไข่ของไก่ ดงั นั้นภายในโรงเรือนจะต้อง
มีอปุ กรณ์การให้แสงสวา่ งอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปนิยมตดิ ตั้งหลอดไฟ หลอดไฟทน่ี ิยมใช้กันมากคือ หลอด
กลมธรรมดา และหลอดฟลูออเรสเซ็นต์หรือหลอดนีออน

ภาพท่ี 4.26 อปุ กรณ์การให้แสงสว่าง
(3) ผ้าม่าน ในระยะกกลูกไก่รอบๆ คอกมีผ้าม่านไว้เพื่อป้องกันลมพัดแรงโดยเฉพาะ
ในช่วงฤดูหนาว การปิดผ้าม่านจะทาให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนและอุณหภูมิใต้เครื่องกกอยู่ในสภาพที่
ค่อนข้างคงท่ีไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สาหรับการกกลูกไก่ในฤดูร้อนควรเปิดม่านข้ึนเล็กน้อยใน
เวลากลางวัน เพือ่ ใหล้ มพดผา่ นภายในโรงเรอื น และปดิ มา่ นในตอนเยน็

ภาพท่ี 4.27 ผ้าม่านโรงเรอื นระบบปิด

ภาพท่ี 4.28 ผา้ ม่านโรงเรอื นระบบเปิด

ภาพที่ 4.29 เครื่องตัดปากไก่
(4) เครอ่ื งฉีดน้าแรงดนั ใชใ้ นการล้างทาความ สะอาดโรงเรือนและใช้พน่ ยาฆ่าเช้อื

ภาพที่ 4.30 เครอื่ งฉดี นา้ แรงดัน

ภาพที่ 4.31 ไม้กวาด ภาพที่ 4.32 พล่ัว


Click to View FlipBook Version