The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by คัธรียา มะลิวัลย์, 2019-06-10 08:09:43

Unit 2

Unit 2

บทท่ี 2

ปจั จัยพื้นฐานและการวางแผนการผลติ ไกไ่ ข่

ครูคัธรยี า มะลวิ ัลย์

แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา

บทท่ี 2

ปัจจยั พื้นฐานและการวางแผนการผลิตไก่ไข่

หัวข้อเรื่อง
1. ปัจจยั พ้นื ฐานทส่ี าคญั ในการผลติ ไกไ่ ข่
2. การวางแผนการผลติ ไก่ไข่

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกปัจจัยพืน้ ฐานทส่ี าคัญในการผลิตไก่ไข่ได้
2. วิเคราะหข์ ้อมูล วางแผนการผลิตและคาดการณ์ผลลพั ธ์ทจ่ี ะเกิดข้นึ ได้

เนื้อหาการสอน
ปัจจัยพ้ืนฐานในการผลิตสัตว์ปีก ได้แก่ พันธุ์สตั ว์ปีก อาหาร เวชภัณฑ์ โรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ

ผู้เล้ียงไก่ไข่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการเลือกใช้ปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ให้สอดคล้องและเหมาะสม
กับการผลิตไก่ไขข่ องตนเอง และเป็นการเตรียมความพร้อมสาหรบั การวางแผนการผลิตไก่ไขต่ ่อไป

2.1 ปัจจัยพืน้ ฐานที่สาคญั ในการผลติ ไกไ่ ข่
2.1.1 พันธ์ุไกไ่ ข่
พันธ์ุไก่ไข่นับเป็นปัจจัยท่ีสาคัญในการผลิตไก่ไข่ พันธ์ุไก่ไข่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไก่ไข่

พันธ์ุแท้และไก่ไข่ลูกผสม ผู้เล้ียงไก่ไข่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในลักษณะประจาพันธ์ุ เพื่อท่ีจะ
สามารถเลือกพนั ธ์ุไก่ไขม่ าเล้ยี งได้อย่างเหมาะสม

1) ไก่ไข่พันธ์ุแท้ (pure breed) คือ ไก่ไข่ท่ีได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธ์ุมาอย่าง
ต่อเนื่องและมีลักษณะประจาพันธุ์ท่ีคงท่ี โดยไก่ไข่ในรุ่นลูกหลานจะมีลักษณะเช่นเดียวกับรุ่นพ่อและแม่
พนั ธุ์

2) ไก่ไข่ลกู ผสม (hybrid breed) คือ ไก่ไข่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพการ
ผลติ ท่ีสงู ขึน้ มากกว่าร่นุ พ่อแมพ่ ันธ์ุ ไก่ไขล่ ูกผสมเกิดจากการนาเอาไก่ไขร่ ุ่นพ่อพันธุ์และแม่พนั ธุ์แทต้ ั้งแตส่ อง
พันธุ์มาผสมร่วมกัน ซ่ึงลักษณะท่ีแสดงออกของพันธุกรรมท่ีได้ในรุ่นลูกนี้ อาจจะมีลักษณะที่เหมือนหรือ
แตกต่างจากรุ่นพ่อแม่พันธ์ุได้ แต่โดยปกติรุ่นลูกผสมท่ีเกิดขึ้นจะได้ลักษณะท่ีดีจากพ่อและแม่พันธ์ุรวมกัน
รวมทง้ั มีลกั ษณะท่แี ตกตา่ งโดด เด่นกว่าร่นุ พ่อแม่พันธุ์ ลักษณะดงั กล่าวนี้ เรียกวา่ Hybrid vigor

2.12 อาหารและเวชภัณฑ์ไกไ่ ข่
ปัจจัยด้านอาหารและเวชภัณฑ์ไก่ไข่ มีความจาเป็นท่ีผู้เลี้ยงต้องให้ความสาคัญมาก เน่ืองจากมีผล
ต่อ ต้นทุนการผลิตและสุขภาพของไก่ไข่ท่ีเล้ียง เม่ือไก่ไข่ได้รับอาหารท่ีดี มีคุณค่าทางโภชนะเหมาะสม
ร่วมกับมีการจัดการด้านเวชภัณฑ์ท่ีถูกต้องก็จะทาให้ไก่ไข่มีการเจริญเติบโตได้อย่างปกติและให้ผลผลิตที่ดี
อาหารจะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนตามความต้องการของไก่ไข่ในระยะ ต่างๆ และตรงกับ

ลักษณะการให้ผลผลิตของไก่ไข่ อาหารนับเป็นต้นทุนหลักในการผลิตสัตว์ ดังนั้นผู้เล้ียงไก่ไข่จึงต้องควร
คานึงถึงคุณภาพของอาหาร โดยจัดหาอาหารท่ีมีคุณภาพเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ เมื่อสัตว์กิน
แล้วสามารถให้ผลิตได้เป็นอย่างดี ใช้ระยะเวลาการเล้ียงส้ันรวมทั้งมีต้นทุนในการผลติ ต่าและให้ผลกาไรสูง
นอกจากน้ีความปลอดภัยและความสะอาดของอาหารกเ็ ป็นสิง่ จาเป็นท่ีตอ้ งคานึงถึงเพราะการปนเปื้อนของ
จุลินทรีย์ท่ีมากับอาหารย่อมส่งผลต่อการให้ผลผลิตของสัตว์ด้วยเช่นกัน อาหารไก่ไข่แบ่งออกเป็น 2
ประเภท ใหญ่ๆ คือ อาหารสาเร็จรูปหรืออาหารผสมเสร็จ (complete ration feeding) และอาหารผสม
เองโดยผู้เล้ียงไก่ไข่ควรจะเลือกใช้อาหารแต่ละประเภทให้เหมาะสมตามการจัดการเล้ียงของแต่ละฟาร์ม
เวชภัณฑ์และชีวภัณฑ์ไก่ไข่ การจัดเตรียมด้านเวชภัณฑ์และชีวภัณฑ์สาหรับไก่ไข่มีความสาคัญต่อ
ประสิทธิภาพการผลิตไก่ไข่เช่นเดียวกับการเลือกพันธ์ุไก่ไข่และการจัดการด้านอาหารไก่ไข่ เพราะการเกิด
โรคในไก่ไขม่ ผี ลต่อการกนิ อาหาร การเจรญิ เตบิ โตและการใหผ้ ลผลิตของไก่ไข่

- เวชภัณฑ์ หมายถึง ยา วัสดุ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ที่ใช้เพ่ือใช้ในการรักษาสัตว์ป่วย
เช่น ยาสัตว์ และยาฆ่าเช้ือ เป็นต้น ผู้เลี้ยงจาเป็นต้องมีการจัดเตรียมเวชภัณฑ์ท่ีต้องใช้ในฟาร์มไก่ไข่ และ
ต้องมีการเก็บรักษาและการจัดการท่ีดีท้ังในเรื่องของอุณหภูมิท่ีจัดเก็บ บรรจุภัณฑ์และวันเดือนปีท่ีผลิต
เพราะมีผลตอ่ ประสทิ ธภิ าพของเวชภณั ฑแ์ ละการจัดเกบ็ ที่ไม่ เหมาะสมจะส่งผลให้เวชภณั ฑเ์ ส่ือมสภาพได้

- ชีวภณั ฑ์ หมายถึง วัคซีน ท่ีใชใ้ นการสร้างภมู ิคมุ้ กันใหแ้ ก่สัตว์ไกไ่ ข่ เปน็ วธิ ีในการป้องกันก่อนเกิด
โรค มิใช่ยาท่ีรักษาเม่ือเป็นโรคแล้ว โดยการที่จะป้องกันโรคต่างๆ ของไก่ไข่ได้น้ัน จาเป็นต้องมีการจัดการ
ฟาร์มที่ดีร่วมด้วย ได้แก่ มีมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคที่อาจจะเข้าสู่ฟาร์มโดยคน พาหนะและ
อุปกรณ์ต่างๆ และมีการจัดการของเสียที่เกิดจากในฟาร์ม ได้แก่ ขยะ มูลไก่ และวัสดุรองพื้น อย่าง
เหมาะสม เพ่ือเป็นการป้องกันการสะสมและการแพร่ ของเชื้อโรค อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงจะต้องมีแผนการ
ป้องกันโรคและการบาบดั โรคตามคาแนะนาของสัตวแพทย์ผคู้ วบคุมฟาร์มไก่ไข่อย่างเคร่งครัด

2.1.3 โรงเรือนและอุปกรณ์
ประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนช้ืน ประกอบกับการเลี้ยงไก่ไข่จะมลี ักษณะการเลี้ยงที่ต้อง
เล้ียงสัตว์จานวนมากภายในโรงเรือน ดังนั้นการสร้างโรงเรือนสาหรับไก่ไข่จึงต้องคานึงถึงสภาพแวดล้อม
ของพ้ืนที่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และส่ิงสาคัญคือ การระบายอากาศท่ีดีเพ่ือให้มีการหมนุ เวียนและถ่ายเท
อากาศอย่างเหมาะสม ภายในโรงเรือนควรจะมีอุปกรณ์และวัสดุสาหรับการเลี้ยงไก่ไข่ท่ีจาเป็น ได้แก่
อปุ กรณก์ ารให้นา้ อุปกรณก์ ารให้ อาหาร อปุ กรณ์กกลูกไก่ไข่ กรงตับ รงั ไข่ และวสั ดรุ องพื้น
นอกจากโรงเรือนเล้ียงไก่ไข่แลว้ สาหรับฟาร์มไก่ไข่ท่มี ีการเล้ียงไกไ่ ข่พ่อแม่พันธุก์ ็จะมีโรงฟักสาหรับ
การฟักไขท่ ี่ผลิตในฟาร์ม ซ่ึงต้องมีการจดั เตรยี มรปู แบบและขนาดของโรงฟกั ให้เหมาะสมกับการผลิต มีการ
วางแผนผังของโรงฟักให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวมท้ังมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สาหรับโรงฟักไข่
ทสี่ าคัญ ได้แก่ ตู้ฟักไข่และตเู้ กดิ ซ่ึงในปัจจบุ ันมีการผลิตตู้ฟักไข่และตู้เกิดหลายยหี่ ้อ ผู้ใช้งานสามารถเลือก
ซือ้ ได้ตามความเหมาะสมของพ้ืนท่ีใช้งาน จานวนไข่ทฟ่ี ักและตน้ ทุนท่ีมอี ยู่ ท้ังนี้ ควรเลือกตู้ฟักท่สี ามารถใช้
งานได้อย่างสะดวก มี ความแขง็ แรง และมบี รกิ ารหลงั การขายทด่ี ี

2.2 การวางแผนการผลติ ไกไ่ ข่
การวางแผนการเลี้ยงไก่ไข่ ผู้เลี้ยงสัตว์จะต้องพิจารณาหลักการวางแผนและวัตถุประสงค์
ของการวางแผนเพื่อจะใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการ นอกจากน้ีผู้เล้ียงต้องพิจารณาถึงปัจจัย
ในการวางแผน ได้แก่ ตลาด ทุน ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เช่น การเลือกสถานที่ต้ังฟาร์ม การจัดวางผังฟาร์ม
รูปแบบโรงเรือนและอุปกรณ์ พันธ์ุไก่ไข่ อาหาร เวชภัณฑ์ และแรงงาน รวมทั้งการจัดการส่ิงแวดล้อม
ภายในฟาร์ม การทาประชาพิจารณ์และความรู้ในการเลย้ี งไก่ไข่
2.2.1 หลกั การและปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนการเล้ียงไกไ่ ข่
ในการเร่ิมต้นเลี้ยงไก่ไข่ ผู้เล้ียงจะต้องมีการวางแผนการเล้ียงเพ่ือใช้เป็นแนวทางในการผลิต
มีแผนการเล้ียงไก่ไข่ท่ีชัดเจนโดยคานึงถึงปัจจัยด้านต่างๆ ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกฟาร์มท่ี
เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเล้ียงไก่ไข่ให้มีประสิทธิภาพและป้องกันความผิดพลาดท่ีอาจจะเกิดข้ึน
ได้ การทาแผนการเล้ียงไก่ไข่ ผู้เลี้ยงจะต้องมีหลักการสาหรับการวางแผนในด้านต่างๆ ท่ีเก่ียวข้องกับการ
เลี้ยงไก่ไข่ โดยท่ัวไปผูเ้ ลี้ยงควรพจิ ารณาหลกั การท่ีสาคญั ดงั นี้

1) ความต้องการของตลาดและความสม่าเสมอของผลผลิตในแต่ละรอบการผลิต เพ่ือใช้
เป็นแนวทางในการวางแผนการเลี้ยงไกไ่ ขใ่ ห้สอดคล้องกบั ความต้องการของตลาด

2) สถานท่ีต้ังฟาร์มและโรงฟัก ต้องเลือกโดยคานึงถึงด้านการป้องกันโรคและการขนส่ง
รว่ มด้วย

3) ประเภทของไก่ไข่ที่ต้องการเล้ียง เพื่อจะได้จัดเตรียมปัจจัยต่างๆ ท่ีเก่ียวข้องกับการ
เลยี้ งไกไ่ ขช่ นิดน้นั ๆ ไดอ้ ย่างเหมาะสม

4) พนั ธุ์ไก่ไขท่ นี่ ามาเล้ยี งตอ้ งมคี ุณภาพและทราบแหล่งทม่ี า
5) การแบ่งพื้นท่ใี นการเล้ียงไก่ไขใ่ ห้มีประสทิ ธภิ าพมากที่สุด โดยไม่มีพื้นทีว่ ่างหรอื ใช้พื้นท่ี
มากจนเกนิ ไป ทั้งในส่วนของพืน้ ที่การฟักและพ้นื ที่ของโรงเรอื นเลยี้ งไกไ่ ข่
6) ตอ้ งใช้ข้อมลู ทีถ่ ูกต้อง น่าเชื่อถือและมีความแม่นยามาใช้ในการวางแผนเลี้ยงไก่ไข่ เช่น
ขอ้ มูลการเลี้ยงไกไ่ ข่ และข้อมลู การตลาดไก่ไข่ เป็นต้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นทั้งในด้านการ
ผลิตและการตลาด ท้ังนี้ในการวางแผนการผลิตไก่ไข่ ผู้เล้ียงจะต้องคานึงถึงปัจจัยต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับการ
ผลิตไก่ไข่ที่สาคัญ ได้แก่ ตลาด ทุนในการดาเนินการ และปัจจัยพ้ืนฐานต่างๆ เช่น การเลือกสถานท่ีต้ัง
ฟาร์ม การจดั วางผังฟารม์ พันธ์ุสตั ว์ อาหาร เวชภัณฑ์ แรงงาน การจัดการสง่ิ แวดล้อมภายในฟาร์ม การทา
ประชาพิจารณ์ในพื้นท่ีๆ จะทาฟาร์ม รวมท้ังความรู้และประสบการณ์ของผู้ที่ต้องการทาฟาร์มไก่ไข่ด้วย
เพราะมผี ลต่อประสทิ ธิภาพการผลิตและความสาเรจ็ ในการเลยี้ งไก่ไข่
2.2.2 การวางแผนดา้ นปจั จัยการผลติ ไกไ่ ข่
วางแผนการเลี้ยงไก่ไข่จาเป็นต้องมีการวางแผนเป็นลาดับขั้นตอนท่ีชัดเจน เพื่อผู้เลี้ยงจะสามารถ
ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ ซึ่งจะทาให้มองเห็นภาพรวมของการวางแผนและคาดการณ์ผลลัพธ์ท่ีจะ
เกิดขึ้น รวมท้ังหากพบความผิดพลาดระหว่างการดาเนินการตามแผนการผลิต ผู้เล้ียงสามารถที่จะ
ย้อนกลับเพ่ือตรวจสอบความผิดพลาดได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ขั้นตอนในการวางแผนการเล้ียงไก่ไข่

ประกอบด้วยขนั้ ตอนหลักๆ ไดแ้ ก่
1) การวางโครงการเล้ียงหรือการผลิตล่วงหน้า เพ่ือเป็นแผนอนาคตว่าต้องการผลิตอะไร โดย

พิจารณาจากพ้ืนที่ๆ มีอยู่ โดยต้องวางโครงการเล้ียงไก่ไข่ให้สามารถใช้พื้นท่ีๆ มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมาก
ที่สุด รวมท้ังได้ปริมาณผลผลิตท่ีเหมาะสมกับการผลิตและตลาดท่ีรองรับผลผลิตน้ันๆ ในขั้นตอนนี้
ผู้เล้ียงจะต้องวางแผนในด้านพันธุ์สัตว์ และจานวนสัตวท์ ่ีจะนามาเล้ียง, การสร้างฟาร์ม, การสร้างโรงเรอื น,
การเลือกอาหารสาหรบั ไก่ไข่, การจดั โปรแกรมยาและวคั ซีน และการวางแผนดา้ นการจาหน่ายผลผลิต ซง่ึ ผู้
เล้ียงจาต้องทราบข้อมูลสาหรับใช้ในการวางแผนการผลิตไก่ไข่ โดยข้อมูลที่นามาใช้จะต้องเป็นข้อมูลท่ี
ถูกตอ้ งและเชื่อถอื ได้ ข้อมูลท่ีตอ้ งใช้ในการวางแผนการผลิตไก่ไขม่ ดี งั น้ี

- จานวนพื้นท่ีสาหรบั เลี้ยงไก่ไข่ เช่น จานวนไก่ไขท่ ี่สามารถเลีย้ งได้ในพ้ืนที่ 1 ตารางเมตร
- ข้อมูลของฝูงไก่ไข่ที่เคยอยู่ในฟาร์ม กรณีฟาร์มท่ีเคยเลี้ยงไก่ไข่มาแล้วอาจจะใช้ข้อมูล
เดมิ เพ่อื ช่วยในการวางแผน
- รอบการผลิตหรือระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่ 1 รอบการผลิต ได้แก่ ระยะเวลา
การเล้ียงไก่ไข่ ในระยะรุ่น ระยะไข่หรือระยะให้ผลผลิต และระยะเวลาในการพักโรงเรือน หลังจากสิ้นสุด
การเลี้ยงในแต่ละรอบการผลิต ซึ่งปกติจะใช้เวลาพักประมาณ 14-21 วัน ทั้งน้ี ข้ึนอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น
โรคระบาด และฤดูกาลในชว่ งเวลานัน้ ๆ
- มาตรฐานการเลย้ี งไกไ่ ข่ ต่อพื้นท่ีในการเลี้ยง
- การประมาณการณ์ผลผลิตท่ีคาดว่าจะผลิตได้ว่าจะมีค่าเป็นเท่าไรของค่ามาตรฐานของ
ไก่ไขแ่ ต่ละพันธุ์ตามช่วงฤดกู าล (Seasoning value หรอื SV) ในรูปของค่ารอ้ ยละ
- แนวโน้มราคาขายผลผลิต ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ราคาลูกไก่ไข่ รวมท้ังแนวโน้มด้าน
การตลาด
2) การติดตามการผลิตและผลผลติ หลังจากท่ีผู้เลี้ยงได้เร่ิมดาเนินการวางแผนการผลิตเรียบร้อย
แล้ว ผู้เล้ียงจะต้องเตรียมติดตามการผลิตและผลผลิต โดยการบันทึกข้อมูลการผลิตต่างๆ เช่น น้าหนักตัว
เฉล่ียของไก่ไข่ ปริมาณอาหารท่ีกิน อัตราการตาย และผลผลิตไข่ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทาให้ผู้เล้ียง
ไก่ไข่ทราบว่าการผลิตเป็นไปตามแผนท่ีวางไว้หรือไม่ และยังสามารถใช้ในการตรวจสอบผลผลิตของฟาร์ม
ได้เช่นกัน ดังน้ันหากผู้เล้ียงไก่ไข่ไดม้ ีการติดตามผลการผลิตและผลิตไก่ไข่ของตนเองแล้วก็จะทาให้มีข้อมูล
สาหรบั ในการนาไปวเิ คราะห์ผลการปฏิบตั งิ านได้ในลาดับตอ่ ไป
3) การวิเคราะห์ข้อมูลผลการปฏิบัติงาน เมอื่ ผเู้ ลีย้ งไก่ไข่ได้ทาการเก็บข้อมูลการผลิตและผลผลิต
ต่างๆ แล้ว ผู้เล้ียงสัตว์ปีกสามารถใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้จากการผลิตท้ังหมดมาคานวณเพ่ือหาค่าท่ีแสดง
ประสิทธิภาพการ ผลิต เช่น อัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้อาหารของไก่ไข่ เป็นต้น เพ่ือ
นาผลการคานวณไปวิเคราะห์และสรุปผลการผลิต สาหรับใช้ในการวิเคราะห์การดาเนินงานและเป็น
แนวทางในการวางแผนการผลิต ต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซ่ึงหากผู้เล้ียงไก่ไข่พบว่าประสิทธิภาพ
การผลิตและผลผลติ มีปญั หา ผ้เู ลยี้ งไกไ่ ขก่ ็สามารถไปตรวจดูข้อมลู ย้อนหลงั ตา่ งๆ ทที่ าการบันทึกไว้ได้

2.2.3 ข้อมลู และการวิเคราะห์ข้อมูลในการผลติ ไก่ไข่
การบันทึกข้อมูลการเล้ียงไก่ไข่ ตั้งแต่เร่ิมต้นเล้ียง ระหว่างเลี้ยง และระยะสิ้นสุดการเลี้ยงมี
ความสาคัญต่อการนาข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มไก่ไข่ ทั้งในด้านการ
เจริญเติบโต ด้านการใช้อาหาร ด้านสุขภาพ และด้านผลผลิต เพ่ือผู้เล้ียงไก่ไข่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการ
วางแผนการผลิตครั้งต่อไป รวมทั้งหากเกดิ ปัญหาในการผลิตก็สามารถตรวจสอบจากข้อมูลท่ไี ด้บันทกึ ไว้ได้
การวางแผนการผลิตไก่ไข่จาเป็นตอ้ งมกี ารบันทึกข้อมูล โดยมีจดุ ประสงค์เพ่ือให้ผ้เู ล้ียงทราบข้อมูล
ต่างๆ ในการผลิตไก่ไข่ เช่น ข้อมูลวันท่ีรับลูกไก่ไข่เข้าเลี้ยง จานวนไก่ไข่ที่เลี้ยงทั้งหมด น้าหนักเม่ือเริ่มต้น
เลี้ยง น้าหนักตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ปริมาณอาหารท่ีกินในแต่ละวัน ราคาอาหาร จานวนและน้าหนัก
ไก่ไข่ท้ังหมดที่ขาย เป็นต้น และนาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประกอบการคานวณวิเคราะห์ประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของการทาฟาร์มไก่ไข่ เช่น อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อตัวต่อวัน และประสิทธิภาพการ
แลกเปล่ียนอาหาร เป็นต้น รวมทั้ง ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตล่วงหน้าของฟาร์ม โดยผู้เลี้ยง
จะต้องมีการทาบันทึกท่ีชัดเจนและสมบูรณ์ เพ่ือท่ีจะได้นาข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบันทึก
ข้อมูลควรมีการจัดทามีท้ังข้อมูลแบบรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนเพ่ือทาสรุปตลอดระยะเวลาการ
เลยี้ งของไก่ไข่

สตู รทใี่ ช้ในการคานวณ
สูตรการคานวณระยะห่างระหว่างฝูง ค่าเฉล่ียมาตรฐานการผลิตไข่ต่อไก่ 1 ตัวต่อสัปดาห์
คา่ คาดการณผ์ ลผลิตตามฤดกู าล และจานวนไข่ทผ่ี ลติ ได้ตอ่ สปั ดาห์ ดังตอ่ ไปนี้

1) ระยะหา่ งระหว่างฝูง
กรณีท่ี 1 การเล้ยี งไก่เล็กจนถงึ ระยะไข่

ระยะการเลี้ยงไก่เล็ก ไก่รนุ่ + ไก่ไข่ + ระยะพักโรงเรอื น
= จานวนฝูง

กรณีที่ 2 การเล้ยี งไกเ่ ล็กจนถึงระยะไกส่ าว แล้วยา้ ยข้ึนกรงตบั หรือขายไกส่ าว
ระยะการเล้ียงไก่เล็ก ไก่รุ่น + ระยะพกั โรงเรอื น

= จานวนฝูง

กรณีท่ี 3 การซอื้ ไก่รุ่นมาเลยี้ ง
ระยะการเลี้ยงไก่ไข่ + ระยะพกั โรงเรอื น

= จานวนฝูง

ในกรณีท่ีฟาร์มมีขนาดใหญ่พอสมควร และต้องการความสม่าเสมอท้ังปริมาณและขนาดไข่ที่
จาหน่ายให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด ผู้ประกอบการจะแบ่งไก่ภายในฟาร์มออกเป็นฝูง แต่ละฝูงเล้ียงไก่อายุ
เดยี วกัน จานวนฝูงขนึ้ อยกู่ ับการตดั สนิ ใจของผ้บู ริหาร

2) ค่าเฉลีย่ มาตรฐานการผลิตไขต่ อ่ แมไ่ ก่ 1 ตัวตอ่ สัปดาห์

จานวนไข่ทผี่ ลิตไดท้ งั้ หมดตอ่ แม่ไก่ 1 ตวั ในช่วงอายุ
= ระยะเวลาการใหไ้ ข่ (สัปดาห์)

3) ค่าคาดการณ์ผลผลิตตามฤดกู าล
การกาหนดค่าคาดการณ์ผลผลิตตามฤดูกาล เป็นประมาณการว่าฟาร์มจะผลิตไข่ได้เป็น
สัดส่วนเท่าไรของมาตรฐานของไก่แต่ละพันธ์ุ โดยท่ัวไปมักผลิตไข่ได้ต่ากว่ามาตรฐานของพันธุ์เล็กน้อย
ขน้ึ อยูก่ ับลักษณะโรงเรอื น อาหาร อณุ หภูมิ การจดั การ คาโดยท่ัวไปควรอยู่ระหวา่ ง 90-95 เปอรเ์ ซ็นต์

คา่ เฉล่ยี มาตรฐานการผลติ ไขต่ อ่ แม่ไก่ 1 ตวั ต่อสปั ดาห์ X เปอรเ์ ซน็ ตค์ าดการณก์ ารผลติ ตามฤดู
= 100

4) จานวนไขท่ ่ีผลติ ไดต้ ่อสัปดาห์

จานวนไกเ่ ร่ิมไข่ X คา่ คาดการณ์ผลผลิตตามฤดู X ระยะเวลาการให้ผลผลิต
= ระยะเวลาการเลย้ี งไก่เลก็ ไก่รนุ่ ไก่ไข่ และพกั โรงเรือน

ตวั อยา่ งการคานวณ
ตัวอย่างท่ี 1 เกษตรกรรายหน่ึงต้องการสร้างฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยพื้น ต้ังแต่ไก่เล็กจนถึง
ระยะไก่ไข่ จานวนเมอ่ื เรม่ิ ไข่ 20,000 ตวั ทมี่ ขี ้อมลู มาตรฐานประจาพนั ธ์ุ ดังต่อไปน้ี

1. อายุเมื่อเร่มิ ไข่ฟองแรก (3 เปอรเ์ ซ็นต์ของฝูง) = 20 สปั ดาห์
2. ชว่ งอายุเม่ือเร่ิมไข่ฟองแรกจนถงึ ปลด = 52 สัปดาห์
3. จานวนไขส่ ะสมตอ่ ตวั = 304 ฟอง
4. เปอร์เซ็นตก์ ารเล้ยี งรอดช่วงไกเ่ ลก็ ถึงไก่รนุ่ = 96 เปอร์เซ็นต์
5. ความต้องการพ้นื ท่กี ารเล้ียงช่วงไก่ไข่ = 5 ตัวต่อตารางเมตร
6. ระยะพักโรงเรอื น = 4 สัปดาห์

จงวางแผนการผลิตไขไ่ ก่ โดยคานวณคา่ ต่างๆ ดังตอ่ ไปนี้
1. ขนาดโรงเรือน กาหนดให้สรา้ งโรงเรอื น 5 หลงั มคี วามกว้างของโรงเรอื น 10 เมตร
2. จานวนลกู ไก่ไข่อายุ 1 วนั ทสี่ ่งั เข้ามาเลีย้ ง กาหนดใหล้ กู ไก่ทสี่ ่ังซอ้ื 100 ตวั แถม 2 ตวั
3. คาเฉลยี่ มาตรฐานการผลติ ไขต่ ่อแมไ่ ก่ 1 ตวั ต่อสปั ดาห์
4. ค่าคาดการณ์ผลผลิตตามฤดูกาล กาหนดให้เปอร์เซ็นตค์ าดการณ์ผลผลติ ตามฤดูกาลเท่ากบั 92

เปอรเ์ ซน็ ต์
5. ประมาณการผลผลติ ไข่ท่ีผลติ ไดต้ ่อสปั ดาห์
6. ระยะหา่ งระหวา่ งฝงู กาหนดให้เลย้ี งไก่ 5 ฝงู

วธิ ีทำ

1. ขนาดโรงเรอื น ประกอบด้วยการคานวณพื้นท่กี ารเลย้ี ง และขนาด ดงั ต่อไปนี้

พืน้ ทีก่ ารเลีย้ งไกไ่ ข่ จานวน 20,000 ตวั

ไก่ไข่ 5 ตวั ต้องการพื้นทก่ี ารเล้ยี ง 1 ตารางเมตร

ไก่ไข่ 20,000 ตวั ต้องการพื้นทก่ี ารเลีย้ ง (20,000 X 1)/5 ตารางเมตร

= 4,000 ตารางเมตร

โรงเรอื น 5 หลัง มพี ้นื ท่ี = 4,000 ตารางเมตร

โรงเรือน 1 หลงั มพี ้ืนที่ = 4,000/5 ตารางเมตร

= 800 ตารางเมตร

คานวณหาความยาวของโรงเรือนจากพื้นท่ี 800 ตารางเมตร โดยกาหนดให้โรงเรือนมีความกว้าง

10 เมตร จากสูตรคานวณ พ้ืนที่ = กว้าง X ยาว ได้ความยาวของโรงเรือนแต่ละหลังดังนี้ ความยาวของ

โรงเรือน = 800/10 เมตร = 80 เมตร ดังนั้นต้องสร้างโรงเรือนเล้ียงไก่ 5 หลัง แต่ละหลังกว้าง 10 เมตร

ยาว 80 เมตร

2. จานวนลูกไก่ไข่อายุ 1 วัน ที่ต้องส่ังมาเลี้ยง จานวนไก่เริ่มไข่ท่ีต้องการคือ 20,000 ตัว หมายถึง

ตอ้ งมลี ูกไก่รอดตาย 20,000 ตวั คานวณจานวนลกู ไก่ทีต่ อ้ งสง่ั เขา้ มาเลีย้ งได้ดังน้ี

ลกู ไก่รอดตาย 96 ตวั จากลูกไก่ = 100 ตวั

ลูกไก่รอดตาย 20,000 ตวั จากลกู ไก่ = (20,000 X 100)/96 ตวั

= 20,833 ตวั

ต้องมีลูกไก่เข้าเลย้ี ง 20,833 ตวั เพ่ือให้ไดไ้ ก่เมือ่ เรมิ่ ไข่ 20,000 ตวั

ลกู ไก่ 102 ตวั ไดจ้ ากการสั่งซอื้ = 100 ตวั

ลูกไก่ 20,833 ตวั ได้จากการสงั่ ซอ้ื = (20,833 X100)/102 ตวั

= 20,425 ตวั

ดังนนั้ ต้องสง่ั ซ้อื ลกู ไกไ่ ข่ 20,425 ตวั เพื่อให้ไดไ้ กเ่ มอ่ื เริ่มไข่ 20,000 ตวั

3. คานวณคา่ เฉลยี่ มาตรฐานการผลิตไข่ต่อแม่ไก่ 1 ตวั ต่อสัปดาห์ ค่าเฉลยี่ มาตรฐานการผลิตไข่ต่อ
แม่ไก่ 1 ตวั ต่อสปั ดาห์ คานวณไดจ้ ากสูตร

จานวนไข่ที่ผลิตได้ทงั้ หมดต่อแมไ่ ก่ 1 ตวั ในชว่ งอายุ
= ระยะเวลาการให้ไข่ (สัปดาห์)

304
= 52
= 5.85 ฟอง

4. คา่ คาดการณ์การให้ผลผลติ ตามฤดกู าล คานวณโดยใช้สูตร

ค่าเฉลี่ยมาตรฐานการผลติ ไข่ตอ่ แม่ไก่ 1 ตัวต่อสปั ดาห์ X เปอรเ์ ซน็ ตค์ าดการณผ์ ลผลิตตามฤดู
= 100

5.85 X 2 ฟองต่อสปั ดาห์
= 100

= 5.382 ฟองต่อสปั ดาห์

5. การประมาณผลผลิตไข่ท่ีผลิตได้ต่อสัปดาห์ เป็นการเฉล่ียผลผลิตไข่เท่า ๆ กันทุกสัปดาห์
คานวณโดยใชส้ ูตร

จานวนไกเ่ ริ่มไข่ X คา่ คาดการณ์ผลผลิตตามฤดกู าล X ระยะเวลาการใหผ้ ลผลิต
= ระยะการเลี้ยงไกเ่ ล็ก ไก่รุ่น + ไก่ไข่ + ระยะพกั โรงเรือน

20,000 X 5.382 X 2 ฟองต่อสปั ดาห์
= 20 +52+4

= 73,648 ฟองตอ่ สปั ดาห์

กรณีที่ต้องการความใกล้เคียงของผลผลิตไข่ต่อวันที่ผลิตได้ แทนการประมาณค่า ให้ใช้ค่า
มาตรฐานผลผลติ ไข่ของพันธุ์ไกใ่ นแต่ละสปั ดาห์คูณด้วยค่าคาดการณ์ผลผลิตตามฤดู เพ่ือใหท้ ราบจานวนไข่
ทสี่ ามารถส่งขายจริง โดยกาหนดใหฟ้ ารม์ สามารถผลิตได้ 92 เปอรเ์ ซ็นตข์ องมาตรฐาน

6. ระยะห่างระหว่างฝงู มีสตู รท่ีใช้ในการคานวณระยะห่างระหวา่ งฝูง คอื

ระยะการเลย้ี งไก่เลก็ ไก่รุ่น + ไก่ไข่ + ระยะพกั โรงเรือน
= จานวนฝงู

จากข้อมูลในโจทยต์ คี วามไดด้ ังน้ี

อายไุ กเ่ ลก็ - ไก่รนุ่ = 20 สปั ดาห์

อายุไกไ่ ข่ = 52 สปั ดาห์

ระยะพกั โรงเรือน = 4 สัปดาห์

จานวนฝูง = 5 ฝูง

ระยะห่างระหว่างฝงู = 20+52+4 สัปดาห์
5

= 15.2 สปั ดาห์

ระยะห่างของการนาลูกไก่ไข่อายุ 1 วัน เข้าเล้ียงของแต่ละฝูงห่างกัน 15.2 สัปดาห์ หรือ 106 วัน

จากการคานวณสรุปได้ว่าเกษตรกรท่ีต้องการเล้ียงไก่ไข่ 20,000 ตัว มีเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอด 96

เปอร์เซ็นต์ ลูกไก่ท่ีซื้อมีไก่แถม 2 เปอร์เซ็นต์ ต้องส่ังจองท้ังหมดเท่ากับ 20,425 ตัว แบ่งเป็น 5 ฝูง แต่ละ

ฝูงนาไก่เข้าเลี้ยงห่างกัน 106 วัน แต่ละฝูงส่ังจองลูกไก่ 20,425/5 เท่ากับ 4,085 ตัว ในทางปฏิบัติต้องสั่ง

ลกู ไก่ 4,100 ตวั และเกษตรกรจะไดร้ บั ผลผลติ เต็มจานวนเมอ่ื ไกเ่ ข้าครบทุกฝงู

ตัวอย่างท่ี 2 เกษตรกรรายหน่ึงสร้างฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่บนกรงตับ จานวน 10 โรงเรือน โดยมีพ้ืนที่

กรงตับบรรจุไก่ไข่สาวได้โรงเรือนละ 6,000 ตัว เกษตรกรต้องการแบ่งไก่ออกเป็น 5 ฝูง โดยซ้ือไก่รุ่นมา

เลยี้ งไกด่ ังกล่าวใหไ้ ข่ไดห้ ลงั จากนาเข้าเลี้ยง 3 สัปดาห์ โดยกาหนดให้

1. ค่าเฉล่ียมาตรฐานการผลติ ไข่ต่อแม่ไก่ 1 ตัวต่อสัปดาห์ = 5.85 ฟอง

2. ค่าคาดการณก์ ารผลผลติ ตามฤดกู าล = 5.382 ฟอง

3. อายุเมื่อเริม่ ไข่ฟองแรก = 20 สัปดาห์
4. ชว่ งอายุเม่ือไขฟ่ องแรกถึงปลด = 52 สปั ดาห์

5. ระยะพกั โรงเรือน = 4 สปั ดาห์

จงวางแผนการผลิตไก่ไขโ่ ดยคานวณคา่ ต่างๆ ดงั น้ี

1. จานวนไข่ที่ผลติ ไดต้ ่อสัปดาห์

2. ระยะห่างระหวา่ งฝงู

วธิ ีทา

1. จานวนไข่ทผ่ี ลติ ไดต้ ่อสปั ดาห์ คานวณ โดยใช้สตู ร

จานวนไก่เริ่มไข่ X คา่ คาดการณ์ผลผลติ ตามฤดู X ระยะเวลาการให้ผลผลติ
= ระยะการเล้ยี งไก่เลก็ ไกร่ ุน่ + ไกไ่ ข่ + ระยะพกั โรงเรือน

= 60,000 X 5.382 X 2 ฟองต่อสัปดาห์
20 +52+4

= 220,945 ฟองต่อสัปดาห์

2. ระยะหา่ งระหว่างฝูง คานวณโดยใช้สตู ร

ระยะการเล้ยี งไก่รนุ่ + ไก่ไข่ + ระยะพักโรงเรอื น
= จานวนฝงู

จากข้อมลู จากโจทย์ตีความได้ดงั นี้

อายุไก่รุ่นที่ซ้ือมาก่อนไข่ (17 สัปดาห์) จนถงึ ระยะไข่ = 3 สปั ดาห์
52 สปั ดาห์
ช่วงอายุไก่ไข่ = 4 สปั ดาห์
5 ฝงู
ระยะพักโรงเรือน =

จานวนฝูง =

ระยะห่างระหว่างฝูง = 3 +52+4 สปั ดาห์
5

= 11.8 สปั ดาห์ หรือ 83 วนั

ตัวอย่างที่ 3 เกษตรกรรายหนึ่งต้องการสร้างฟาร์มเล้ียงไก่ไข่บนกรงตับ ให้มีจานวนไข่ส่งตลาด

สัปดาหล์ ะ 50,000 ฟองต่อสปั ดาห์ จงคานวณหาจานวนไกไ่ ข่รนุ่ ที่ตอ้ งสงั่ เขา้ มาเลย้ี ง กาหนดให้

1. ค่าคาดการณ์ผลผลิตตามฤดู = 5.382 ฟองต่อสปั ดาห์

2. ช่วงอายุเม่อื ไขฟ่ องแรกถึงปลด = 52 สปั ดาห์

3. อายุเมือ่ เริม่ ไขฟ่ องแรก = 20 สัปดาห์

4. ระยะพกั โรงเรอื น = 4 สัปดาห์

การคานวณจานวนไกไ่ ข่รนุ่ ท่ตี ้องสั่งเข้ามาเลย้ี ง คานวณโดยใชส้ ูตร

ผลผลิตไข่ต่อสปั ดาห์ = จานวนไกเ่ ร่มิ ไข่ X ค่าคาดการณ์ผลผลิตตามฤดู X ระยะเวลาการให้ผลผลิต
5,000 = ระยะการเลยี้ งไก่เล็ก ไกร่ ุน่ + ไก่ไข่ + ระยะพักโรงเรอื น

จานวนไกเ่ รมิ่ ไข่ = จานวนไกเ่ ร่มิ ไข่ X 5.382 X 52
= 20 +52+4

50,000 X 76
5.382 X 52
13,578 ตวั

2. การคานวณตน้ ทนุ การผลิตไข่ไก่
การลงทุนทาฟาร์มไก่ไข่ จาเป็นต้องคานึงถึงต้นทุนการผลิต และรายได้ เพราะผลการประกอบ

กิจการฟาร์มไก่ไข่ท่ีจะได้กาไรหรือขาดทุนมากน้อยเท่าใด ข้ึนอยู่กับต้นทุนและรายได้จากการผลิต ดังน้ันผู้
เล้ียงไก่ไข่ควรทราบชนิดของต้นทุนการผลิต วิธีการคานวณต้นทุนการผลิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการ
วเิ คราะห์ถงึ ความสาเร็จหรือล้มเหลวของการทาฟาร์มไก่ไข่ ตลอดจนเป็นแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต
ให้ต่าลง เพอื่ เพ่มิ ผลกาไรให้มากข้ึน

2.1 ชนดิ ของตน้ ทนุ การผลิต
ต้นทนุ การผลิตไข่ไก่ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนดิ คอื ตน้ ทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร

1) ต้นทนุ คงท่ีรวม (total fixed cost, TFC)
ต้นทุนคงท่ีรวม หมายถึง ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตท่ีเกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิต
คงที่ กล่าวคือ ปริมาณการผลิตเพ่ิมข้ึนหรือลดลง หรือไม่ทาการผลิต ต้นทุนคงที่จะคงที่ตายตัวเสมอไป
ผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ปัจจัยคงท่ีในช่วงระยะเวลาการผลิต ต้นทุนคงท่ีท่ีพบเสมอใน
การผลิตไข่ไก่ คือ ค่าเส่ือมหรือค่าสึกหรอ (depreciation) ค่าดอกเบี้ยของเงินลงทุน (interest on
investment) ค่าภาษี (tax) ค่าประกัน (insurance) ค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น ซึ่งสามารถจาแนกต้นทุนคงท่ี
ออกเปน็ อีก 2 ชนิด คือ
(1) ต้นทุนคงที่ที่เป็นเงินสด หมายถึง ค่าใช้จ่ายท่ีเกษตรกรต้องจ่ายในรูปของเงินสดใน
จานวนทค่ี งทีต่ อ่ ปี เช่น คา่ เช่าทด่ี นิ ค่าภาษี คา่ ประกนั คา่ ดอกเบ้ียของเงินลงทุน เป็นต้น
(2) ต้นทุนคงท่ีท่ีไม่เป็นเงินสด หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกษตรกรไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด แต่ถือ
เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาหรือค่าสึกหรอของโรงเรือน เคร่ืองมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่ง
มูลค่า มีการเปล่ียนแปลงเน่ืองจากการใช้งานหรือความล้าสมัย การคานวณค่าเสื่อมราคาหรือค่าสึกหรอ
ส่วนมากเป็นทรัพย์สินประกอบการประเภท เครื่องจักร เคร่ืองมือ เช่น เครื่องผสมอาหาร เครื่องให้อาหาร
อัตโนมัติ เคร่ืองสูบน้า รถยนต์ จอบ เสียม เป็นต้น และทรัพย์สินประเภทถาวร เช่น โรงเรือน โรงผสม
อาหาร แทงค์น้า เป็นต้น ซ่ึงทรัพย์สินเหล่านี้มีอายุการใช้งานนาน จึงนามาคานวณค่าใช้จ่ายในปีท่ีซ้ือมาปี

เดียวไมไ่ ด้ ซง่ึ สามารถจาแนกต้นทนุ คงทใ่ี นการเล้ียงไก่ไข่ไวด้ งั น้ี
- ค่าใช้ท่ีดิน หมายถึง ค่าเสียประโยชน์จากการใช้ที่ดิน อาจคานวณได้จากอัตราค่าเสีย

โอกาสเงนิ ลงทนุ คูณด้วยราคาที่ดนิ หรือราคาค่าเชา่ ทด่ี นิ
- ค่าเส่ือมโรงเรือนและอุปกรณ์ หมายถึง มูลค่าท่ีสูญเสียไปเนื่องจากการใช้งานของ

โรงเรือนเลี้ยงไก่ และอุปกรณ์ โดยคดิ ในอตั ราท่แี ตกต่างกันตามอายกุ ารใชง้ านของทรัพย์สินแต่ละชนิด และ
มูลค่าซาก

- ค่าเสียโอกาสโรงเรือนและอุปกรณ์ หมายถึง จานวนรายได้ท่ีสูญเสียไปเนื่องจากการนา
เงินมาลงทุนในการสร้างโรงเรือน และซื้ออุปกรณ์แทนท่ีจะนาไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นซ่ึงคานวณได้จาก
อตั ราค่าเสยี โอกาสคูณดว้ ยตน้ ทนุ โรงเรอื นและอุปกรณ์

2) ต้นทนุ ผนั แปรรวม (total variable cost, TVC)
ต้นทุนผันแปรรวม หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิต อันเกิดจากการใช้ปัจจัยผันแปร เช่น
พนั ธ์ุไก่ไข่ อาหารไก่ไข่ วัคซนี ยา เป็นต้น ค่าใช้จ่ายผันแปรนี้ข้ึนอยู่กับปริมาณการผลิต ถ้าเกษตรกรทาการ
ผลิตมากตอ้ งใชป้ จั จัยผันแปรมากขึน้ ด้วย ซง่ึ สมารถจาแนกตน้ ทนุ ผันแปรออกเป็น 2 ชนิด คือ

(1) ต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสด คือ ต้นทุนท่ีเกษตรกรจ่ายออกไปจริงเป็นเงินสด ให้แก่
ผู้อ่ืนจากการใช่ปัจจัยผนั แปรต่างๆ เช่น คา่ พนั ธไ์ุ ก่ไข่ ค่าอาหารไก่ไข่ ค่ายา คา่ วคั ซนี คา่ แรงงาน

(2) ตน้ ทุนผันแปรท่ีไม่เป็นเงนิ สด คือ ต้นทุนทเี่ กษตรกรไม่ได้จา่ ยจริงๆ ในการผลิต แต่ถือ
วา่ เป็นส่วนหน่ึงของต้นทุนการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงานของคนในครอบครัว ดอกเบ้ียเงินลงทุนส่วนตัวของ
เกษตรกร ต้นทุนผันแปรท่ีกาหนดโดยสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกอบด้วยค่าใช้จา่ ย ดังต่อไปนี้

- ต้นทุนคงทที่ ีเ่ ปน็ เงินสด หมายถงึ ค่าใช้จ่ายทเ่ี กษตรกรต้องจ่ายในรูปของเงนิ สด
ในจานวนท่ีคงท่ตี อ่ ปี เชน่ คา่ เชา่ ท่ีดิน ค่าภาษี ค่าประกัน คา่ ดอกเบี้ยของเงินลงทุน เปน็ ต้น

- ต้นทุนคงท่ีท่ีไม่เป็นเงินสด หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกษตรกรไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
แต่ถือเป็นส่วนหน่ึงของต้นทุน ได้แก่ ค่าเส่ือมราคาหรือค่าสึกหรอของโรงเรือน เคร่ืองมือและอุปกรณ์ต่างๆ
ซึ่งมูลคามีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการใช้งานหรือความล้าสมัย การคานวณค่าเสื่อมราคาหรือค่าสึกหรอ
ส่วนมากเป็นทรัพย์สินประกอบการประเภท เครอื่ งจักร เครื่องมือ เช่น เครื่องผสมอาหาร เคร่ืองให้อาหาร
อัตโนมัติ เครื่องสูนน้า รถยนต์ จอบ เสียม เป็นต้น และทรัพย์สินประเภทถาวร เช่น โรงเรือน โรงผสม
อาหาร แทงค์น้า เป็นต้น ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้มีอายุการใช้งานนาน จึงนามาคานวณค่าใช้จ่ายในปีที่ซื้อมาปี
เดยี วไมไ่ ด้ ซง่ึ สามารถจาแนกตน้ ทุนคงทใี่ นการเลยี้ งไก่ไข่ไวด้ งั น้ี

- ค่าพันธ์ุสัตว์ ในกรณีท่เี กษตรกรผู้เลี้ยงไกไ่ ข่ซอ้ื ลูกไก่ไข่อายุ 1 วนั มาเลี้ยงจนกระทั่งให้ไข่
และปลดขายเป็นไก่ปลด ค่าพันธ์ุสัตว์หมายถึงราคาลูกไก่อายุ 1 วัน ส่วนในกรณีท่ีเกษตรกรซื้อไก่ไข่สาว
อายุ 18 สปั ดาหม์ าเลีย้ ง ค่าพนั ธ์สุ ัตวห์ มายถงึ ราคาของไกไ่ ข่สาวทซี่ ื้อมารวมคา่ ขนสง่

- คา่ อาหารไก่ เปน็ คา่ อาหารไกท่ ้ังในรปู ของอาหารสาเรจ็ รปู หรือวัตถดุ บิ อาหาร

- คา่ แรงงาน ประกอบด้วยค่าแรงงานเฉพาะสว่ นที่เก่ียวข้องโดยตรงกับการเลี้ยงไก่ไข่ เช่น
คา่ แรงงานผสมอาหารไก่ คา่ แรงงานเลยี้ งไก่ ค่าแรงงานคัดขนาดไข่ คา่ แรงงานชา่ งประจาฟารม์

- ค่ายาป้องกันและรักษาโรค ประกอบด้วยค่ายารักษาโรค และเคมีภัณฑ์ที่เก่ียวกับไก่ทุก
ชนดิ เช่น ค่าวัคซนี ป้องกนั โรค คา่ ยารกั ษาเม่ือไกป่ ่วย คา่ ยาฆา่ เชือ้ โรค

- ค่าน้า ไฟฟ้า และอื่นๆ โดยท่ัวไปแล้วค่าใช้จ่ายหลักคือค่าไฟฟ้า เน่ืองจากน้าท่ีใช้ใน
ฟารม์ เลี้ยงไก่สว่ นใหญเ่ ป็นน้าบาดาลซง่ึ สบู นา้ ด้วยไฟฟา้ ดงั นน้ั ค่าน้าจึงมักแฝงอยใู่ นค่าไฟฟา้

- ค่าอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานสั้นหรือสูญส้ินได้ง่าย เช่น ถาดไข่
รองเทา้ บทู สายยาง

- ค่าน้ามันเช้ือเพลิง เป็นน้ามันเช้ือเพลิงที่เก่ียวกับการผลิตไข่ไก่เท่าน้ัน เช่น น้ามัน
เชื้อเพลิงเคร่อื งปน่ั ไฟในกรณที กี่ ระแสไฟขัดข้อง คา่ น้ามนั เชื้อเพลิงรถยนตเ์ กยี่ วกับธุรกจิ ฟาร์ม

- ค่าซ่อมแซมเคร่อื งมือและอุปกรณ์ เป็นคา่ ใชจ้ ่ายเพื่อทาให้อุปกรณ์ที่มีอยู่สามารถใช้งาน
ได้เป็นปกติ ซง่ึ อาจจะมีหรอื ไมม่ ีก็ได้ เชน่ ค่าซอ่ มเคร่ืองผสมอาหาร ค่าซ่อมกรงตับ

- ค่าเสียโอกาสเงินลงทุน หมายถึง ค่าเสยี โอกาสของเงินลงทุนเฉพาะสว่ นที่เป็นต้นทุนผัน
แปร เชน่ คา่ เสยี โอกาสเงินลงทนุ ในส่วนต้นทนุ คา่ พันธ์ไุ ก่

- ราคาเมื่อปลดไก่ไข่ขาย เป็นรายได้ที่ได้จากการขายไก่เน่ืองจากไก่ไข่อายุมาก รายการนี้
ไม่จัดเป็นค่าใช้จ่ายแต่เป็นรายการเพ่ือหักต้นทุนผันแปร ที่ไม่แสดงเป็นรายได้โดยตรงเน่ืองจากจะทาให้
ตน้ ทนุ ผนั แปรสงู เกนิ จรงิ อนั เนอื่ งมาจากคาพันธุส์ ัตว์

2.2 ต้นทุนรวมทั้งหมด

ต้นทุนรวมคานวณได้จากผลรวมของต้นทุนคงท่ีกับต้นทุนผันแปรรวม หรือคานวณโดยใช้สูตร

ตน้ ทนุ รวมทั้งหมด (total cost, TC) = TFC + TVC

จากค่าต้นทุนรวมทั้งหมดเกษตรกรสามารถคานวณต้นทุนการผลิตเฉล่ีย (average total cost,

ATC) ต่อหนว่ ยของผลผลติ (yield,Y) โดยใช้สตู ร

ATC = TC
Y

ซ่ึงมีประโยชน์ช่วยให้เกษตรกรทราบวา่ การขยายหรือเพิม่ ขนาดการผลิต มผี ลทาให้ตน้ ทนุ การผลิต

ทั้งหมดต่อหน่วยเปล่ียนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด และยังเป็นค่าที่บอกให้ทราบถึงระดับการผลิตที่เสีย

คา่ ใชจ้ า่ ยตา่ ท่สี ุดได้

2.3 รายไดส้ ทุ ธแิ ละกาไร

การคานวณผลตอบแทนของการผลิตไข่ไก่ อาจแสดงเป็นผลตอบแทนสุทธิหรือรายได้สุทธิและ

กาไร

รายได้สุทธิ หมายถึง ส่วนแตกต่างระหว่างรายได้รวม (total income, TI) จากการขายผลผลิต

และค่าใช้จ่ายผันแปรในการผลิต โดยที่รายได้รวมคานวณได้จากจานวนผลผลิต (Y) คูณด้วยราคาของ
ผลผลติ (PY)

ส่วนกาไร หมายถึง ส่วนแตกต่างระหว่างรายได้รวมจากผลผลิตและค่าใช้จ่ายท้ังหมดในการผลิต
สรปุ ความแตกต่างระหวา่ งรายไดส้ ทุ ธิและกาไร ได้จากสูตรการคานวณต่อไปน้ี

รายไดส้ ุทธิ = รายได้รวม – ตน้ ทนุ ผนั แปร
= (จานวนผลผลิต X ราคาผลผลิต) – ต้นทนุ ผนั แปร

กาไร = รายได้รวม – ตน้ ทนุ ท้ังหมด
= (จานวนผลผลิต X ราคาผลผลิต) – (ต้นทุนคงท่ี X ต้นทนุ ผนั แปร)

ส่วนในกรณีท่ีเกษตรกรไม่ทราบราคาผลผลิตไข่ล่วงหน้า เพราะตลาดไข่ไก่เป็นตลาดแข่งขัน
สมบูรณ์ กล่าวคือ สินค้าที่ขายในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงทาให้ไม่มีผู้ซื้อ และผู้ขายรายใด
สามารถกาหนดราคาของสินค้าในตลาดได้ ดังน้ันผู้ซ้ือผู้ขายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จึงต้องยอมรับราคาท่ี
ตลาดกาหนด เป็นผลให้เกษตรกรผู้ผลิตไข่ไก่ไม่สามารถคานวณกาไรหรือผลตอบแทนได้ การผลิตต้อง
คานึงถึงค่าใช้จ่ายต่อหน่วยท่ีต่าท่ีสุด เกษตรกรที่เสียค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ต่าที่สุดจะเป็นผู้ท่ีได้รับ
ผลตอบแทนสงู ทส่ี ุด

แต่ถ้าเกษตรกรรายย่อยท่ีลงทุนเล้ียงไก่ไข่ด้วยเงินทุนของตนเอง ใช้แรงงานในครอบครัว บนที่ดิน
ของตนเองที่มีโรงเรือนละส่ิงอานวยความสะดวกต่อการเล้ียงไก่ไข่ การผลิตควรคานึงถึงรายได้สูงสุดเป็น
อนั ดับแรก ซึ่งรายได้สูงสุดคานวณได้จากสตู ร

รายได้ = จานวนผลผลติ X ราคาผลผลิต
2.4 การคานวณค่าเสือ่ มราคาแบบเส้นตรง
ทรัพย์สินบางประเภทที่มีอายุการใช้งานได้นานหลายปี เช่น โรงเรือน เครื่องสูบน้า เคร่ืองให้
อาหารไก่อัตโนมัติ เคร่ืองผสมอาหาร มูลค่าของทรัพย์สินจะเปล่ยี นแปลงตามสภาพเน่ืองจากการใช้หรอื ใน
กรณีท่ีไม่ถูกใช้เมื่อระยะเวลาผ่านไปทรัพย์สินน้ันเกิดความล้าสมัย เพราะความก้าวหน้าของวิทยาการ
สมัยใหม่ประดิษฐ์ทรัพย์สินที่คล้ายคลึงกับชนิดน้ันออกมาใหม่ การคานวณค่าเส่ือมของทรัพย์สินมี
วัตถุประสงค์เพ่ือคานวณหามูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สิน การคานวณค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรงเป็นการ
คานวณคา่ เสื่อมแบบงา่ ยในอตั ราคงทเ่ี ท่ากันทกุ ปี มสี ูตรในการคานวณดงั น้ี

ค่าเสอ่ื มราคาต่อปี = ราคาทรพั ยส์ ินทซ่ี ือ้ มา – มูลค่าซากของทรัพยส์ นิ
อายกุ ารใช้งาน (ปี)


Click to View FlipBook Version