The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by คัธรียา มะลิวัลย์, 2019-06-04 10:37:07

๊Unit 3

Unit 3

กล้องจุลทรรศน์
Microscope

คัธรียา มะลวิ ัลย์

วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชงิ เทรา

ใบความร้ทู ่ี 3
กล้องจลุ ทรรศน์

หวั ขอ้ เรื่อง
1. ประเภทและชนิดกลอ้ งจุลทรรศน์
2. สว่ นประกอบของกล้องจุลทรรศน์
3. การใช้และบารุงรกั ษากล้องจลุ ทรรศน์

จดุ ประสงค์การเรยี นร(ู้ นาทาง)
1. เพอ่ื ให้มคี วามรแู้ ละเข้าใจเกี่ยวกับกล้องจลุ ทรรศน์
2. เพ่ือให้มีความรู้และเขา้ ใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของกลอ้ งจลุ ทรรศน์
3. เพอื่ ใหม้ คี วามร้แู ละเข้าใจเกี่ยวกบั การใช้และบารงุ รักษากลอ้ งจุลทรรศน์

จุดประสงค์การเรยี นรู้(ปลายทาง)
1. บอกชนิดกลอ้ งจลุ ทรรศน์ได้
2. อธิบายสว่ นประกอบของกล้องจลุ ทรรศน์ได้
3. อธิบายวธิ ีการใช้และบารุงรกั ษากลอ้ งจลุ ทรรศน์ได้

เนื้อหาการสอน

1. กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสาคัญในการศึกษาจุลชีววิทยาเป็นอย่าง

มาก เน่ืองจากจุลินทรีย์มีขนาดเล็กจาเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
เพื่อใช้ในการศึกษาสัณฐานวิทยา สรีรวิทยาของจุลินทรีย์ โดยทั่วไปกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงท่ีใช้ใน
หอ้ งปฏิบัติการมักมกี าลงั ขยายประมาณ 100 - 1000 เท่า เพ่ือทจ่ี ะสามารถมองเห็นจลุ ินทรีย์ท่มี ีขนาดเล็ก
ประมาณ 1 ไมโครเมตรได้ นอกจากนี้จะต้องมีเทคนิคและวิธีการท่ีจะศึกษาจุลินทรีย์แต่ละชนิดด้วย
เช่น การย้อมสีอย่างง่าย การย้อมสีแกรม การย้อมสีเอนโดสปอร์เป็นต้น กล้องจุลทรรศน์มีหลายชนิด
แตล่ ะชนิดมจี ุดมุง่ หมายในการใช้แตกตา่ งกนั ไป ในปัจจุบนั กล้องจุลทรรศนแ์ บง่ ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
คอื

1.1 กลอ้ งจลุ ทรรศนแ์ บบใชแ้ สง (optical microscopes)
กล้องจลุ ทรรศน์ที่ใช้แสงแบบธรรมดา ประกอบดว้ ยเลนส์ 2 ชนิดคือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้
ตา เป็นกล้องจุลทรรศน์ท่ีใช้แสง ร่วมกับเลนส์เพื่อทาให้เกิดภาพ โดยใชแ้ สงผ่านวัตถุแล้วข้ึนมาที่เลนส์จน
เห็นภาพท่บี นวัตถุอยา่ งชดั เจน แบง่ ตามลกั ษณะการใชง้ าน ดงั นี้
1) กล้องจุลทรรศน์ชนิดไบรท์ฟิลด์ (Bright-field microscope) หลักการของกล้องจุลทรรศน์
ชนิดน้ี เมื่อวางวัตถุไว้บริเวณตาแหน่งหน้าเลนส์ใกล้วัตถุ อยู่ระหว่างจุด F และ 2F ของเลนส์ใกล้วัตถุ

ทาให้เกิดภาพแรกเป็นภาพจริงหัวกลับ ขนาดขยายภาพแรกท่ีเกิดจากเลนส์ใกล้วัตถจุ ะทาหน้าท่ีเป็นวัตถุ
ของเลนส์ใกล้ตา โดยมีระยะวัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัส ของเลนส์ใกล้ตา ทาให้เกิดภาพสุดท้ายเป็น
ภาพเสมือนขนาดขยายหัวกลับเม่ือเทียบกับวัตถุจรงิ กาลังขยายขยายกล้องจุลทรรศน์เท่ากับกาลังขยาย
เลนสใ์ กล้วตั ถุคณู ดว้ ยกาลังขยายเลนสใ์ กลต้ า

2) กล้องจุลทรรศน์ชนิดดาร์คฟิลด์ (Dark-field microscope) หลักการทางานของกล้องจะ
เหมือนกับชนิดไบรทฟ์ ิลด์ ภายในลากล้องทแ่ี สงเคลือ่ นที่ผ่านเลนส์รวมแสง (Condenser) จะมแี ผ่นปิดก้ัน
การเดินทางของแสง (Dark field plate) แผ่นโลหะนี้จะสกัดลาแสงไม่ให้เข้าเลนส์วัตถุโดยตรงทาให้
มองเห็นฉากหลัง เม่ือแสงผ่านวัตถุท่ีต้องการศึกษา แสงบางส่วนจะตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนออกและ
หักเหเข้าสู่เลนส์ใกล้ตาเพียงบางส่วน ส่วนวัตถุจะเกิดการสะท้อนและหักเหแสงเข้าสู่เลนส์ จึงเกิดภาพ
สว่างในท่ีมืด กล้องจุลทรรศน์ชนิดน้ีสามารถใช้ศกึ ษาเซลล์จุลินทรีย์ท่ีมชี ีวิตหรือไม่มีชีวิตโดยไม่ต้องย้อมสี
หรือตดิ ฉลากด้วยสารเรอื งแสงใดๆ มักใช้ในการศึกษาจลุ นิ ทรยี แ์ บบไม่ย้อมสี และการศึกษาแบบ Hanging
drop รวมถึงใช้ในการวิินจิ ฉัยโรค

3) กล้องจุลทรรศน์ชนิดเฟส-คอนทรัสต์ (Phase-contrast microscope) เป็นกล้องที่ใช้ศึกษา
เซลล์สิ่งมีชีวิต อาศัยหลักการ Phase contrast objective และคอนเดนเซอร์พิเศษ (Annular stop)
ติดเข้าไปในกล้องจุลทรรศนแ์ บบใช้แสงธรรมดา หรอื โดยการการบรรจุแผ่นเฟส (Phase plate) ซ่ึงเป็น
แผ่นแก้วโปร่งใสติดต้ังอยู่ตรงระนาบโฟกัสด้านหลังของเลนส์วัตถุ โดยการท่ีแสงผ่านวัตถุหรือเซลล์ที่มี
ความหนาแน่นต่างกันหรือมีดัชนีหักเหเพียงเล็กน้อย แสงจะหักเหไปมากน้อยแตกต่างกันจึงทาให้กล้อง
ชนิดน้ีแยกรายละเอียดของลักษณะภายในของจุลินทรยี ์ได้ ซึ่งโครงสร้างต่างๆ ภายในเซลล์แตกต่างกนั ท้ัง
ขนาด รปู ร่าง การเคลื่อนไหวของสารภายในเซลล์

4) กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต (์ Fluorescence microscope) หลักการของกล้องชนิดนี้
ตัวอย่างจุลินทรีย์จะถูกย้อมด้วยสารท่ีมีคุณสมบัติในการเรืองแสง (Fluorochromes) ยกตัวอย่างเช่น
Fluorescein isothiocyanate มีสีเขียว เมื่อถูกกระตุ้นด้วยรังสีอุลตร้าไวโอเลท (Ultraviolet; UV)
โดยอิเลคตรอนของสารสีจะเคลื่อนที่ภายหลังการถูกกระตุ้น ทาให้มีพลังงานสูงข้ึนและปล่อยพลังงาน
ออกมาในรูปของสารสีต่างๆ ซ่ึงสีที่ปรากฏเห็นจะขึ้นอยู่กับช่วงความยาวคลน่ื แสงท่ีถูกกระตุ้น เชน่ สารสี
เขียว มีความยาวคล่นื ประมาณ 480 นาโนเมตร เป็นต้น ท้ังนเี้ นือ่ งจากรังสี UV มีผลกระทบต่อดวงตาของ
มนุษย์ กล้องชนิดนี้มีการติดต้ังระบบระบบแผ่นกรองแสงที่สกัดคล่ืนแสงในช่วง UV ออก ปล่อยเฉพาะ
คล่ืนแสงในช่วง Visible range ให้ผ่านเลนส์ใกล้ตาเข้าสู่นัยน์ตาโดยไม่มีอันตราย กล้องจุลทรรศน์นี้นิยม
นามาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคในห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาล ซึ่งจะใช้วิธีการติดฉลากสารสีลงบน
แอนติบอดีที่จาเพาะต่อเช้ือ เรียกเทคนิคนี้ว่า Fluorescent antibody technique เทคนิคน้ีมีความไว
และความจาเพราะต่อการวนิ จิ ฉัยเชือ้ สงู และใชเ้ วลาในการตรวจวินิจฉยั เร็วขน้ึ

ภาพท่ี 3.1 กลอ้ งจลุ ทรรศนใ์ ช้แสง

1.2 กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ (Stereo Microscopes) เป็นกล้องท่ีประกอบด้วยเลนส์ท่ีทา
ให้เกิดภาพแบบ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุท่ีมีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้
กล้องชนิดน้ีช่วยขยาย เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายส่วนมากจะใช้ด้านอุตสาหกรรม
ท้ังอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่จิวเวอร์รี่ และการตรวจสอบชิ้นงานท่ัวๆไป กล้องจุลทรรศน์
แบบสเตอริโอมีทั้งแบบปรับซมู ได้ แบบปรบั สองกาลังขยาย หรือแบบฟิกกาลังขยาย โดยทั่วไปแล้วกล้อง
จุลทรรศน์ชนิดน้ี จะเป็นกล้อง Low Magnification หรือกล้องจุลทรรศน์ที่มีกาลังขยายไม่สูงมาก ซึ่ง
โดยทั่วไปแล้ว กล้องจลุ ทรรศนแ์ บบสเตอรโิ อนั้น จะมีกาลงั ขยายไม่เกิน 100 แตว่ ่ามนั สามารถปรบั ซูมเพ่ือ
ขยายได้ แตย่ งั สามารถตอ่ เข้ากับกลอ้ ง CCD Camera ไดอ้ ีกดว้ ย กลอ้ งชนดิ นมี้ ขี อ้ แตกตา่ งจากกล้องกลอ้ ง
จุลทรรศน์ทว่ั ๆ ไป คอื

1) ภาพทีเ่ หน็ เป็นภาพเสมือนมคี วามชัดลกึ และเป็นภาพสามมิติ
2) เลนส์ใกล้วตั ถมุ กี าลังขยายตา่ คือ น้อยกว่า 1 เท่า
3) ใชศ้ ึกษาไดท้ ั้งวตั ถโุ ปร่งแสงและวตั ถทุ ึบแสง
4) ระยะหา่ งจากเลนส์ใกล้วตั ถกุ ับวตั ถุท่ีศกึ ษาอย่ใู นช่วง 63-225 มลิ ลเิ มตร

ภาพที่ 3.2 กล้องจลุ ทรรศน์แบบสเตอริโอ (Stereo Microscopes)

ชนดิ ของกล้องจลุ ทรรศน์ Stereo Microscope จะแบ่งออกเปน็ 3 ชนิด คอื
1. กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอชนิด Fix กาลังขยาย ส่วนใหญ่กาลังขยายของกล้อง

จุลทรรศน์ชนิด Fix กาลังขยาย Objective Len จะถูก Fix ไว้ท่ี 1X หรือ 2X ตามสเปคของกล้อง
จลุ ทรรศน์นัน้ ๆ และไมส่ ามารถทาการปรับกาลงั ขยายเพิม่ อีกได้

2. กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอรโิ อชนิด Dual Zoom จะเป็นการปรับหมุนท่ี Objective
Len เพื่อเปลี่ยนค่ากาลังขยาย แต่มันสามารถปรับกาลังขายได้เพียงแค่ 2 ค่าเท่านั้น เช่น 0.5x, 1x /1x,
2x /1x, 3x /1x, 4x / 2x, 4x

3. กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอชนิด Zoom (Zoom Stereo Microscope) จะ
สามารถทาการปรับกาลังขยายได้ โดยการปรับหรือหมุนตรงปุ่มปรับกาลังขยายที่อยู่ตรงด้านข้างของ
Body Microscope ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะบอกมาเป็นสเกล 0.7X – 4.5X ซ่ึงเราจะสามารถทาการปรับ
กาลงั ขยายไดอ้ ย่างตอ่ เน่ืองทเี่ ราต้องการที่อยูใ่ น สเกล 0.7X – 4.5X นี้เทา่ น้นั

1.3 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะใช้
พลังงานไฟฟ้าไปแตกตัวให้คล่ืนอิเล็กตรอน (Electron beam) เคล่ือนท่ีผ่านสนามแม่เหล็ก และผ่าน
ตัวอย่างท่ีติดฉลากด้วยโลหะ การเคล่ือนที่ของอิเล็กตรอนทาให้เกิดภาพแทนการใช้แสงสว่าง และ
ใช้สนามแม่เหล็กแทนเลนส์ การเคลื่อนท่ีของอิเล็กตรอนมีความยาวคลื่นส้ันกว่าความยาวคล่ืนแสงมาก
ทาให้ค่ากาลังจาแนก (Resolving power) มีค่าน้อยกว่า ทาให้เพ่ิมกาลังขยายได้เป็นหมื่น หรือแสนเท่า
การปรากฏของภาพจะถูกประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลักษณะภาพจะ แสดงเป็นภาพขาวดา
เท่าน้ัน กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน (electron microscopes) เป็นกล้องจุลทรรศน์ท่ีมีกาลังการ
ขยายสูงมาก เพราะใช้ลาแสงอิเล็กตรอนแทนแสงปกติและใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว สามารถ

ขยายได้ถึง 500,000 เท่า เป็นกล้องที่ใช้ในการศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์ได้อย่าง
ละเอียด แต่ด้วยความสามารถขยายที่สูงราคาจึงสูงตาม โดยท่ัวไปกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีทั้งหมด
2 ชนดิ ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่งผ่าน และกล้องจลุ ทรรศน์อเิ ล็กตรอนแบบสง่ กราด

1) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission electron microscope: TEM)
เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดที่ส่องผ่านวัตถุ สามารถมองเห็นโครงสร้าง ภายในของวัตถุได้
กล้องจุลทรรศน์ TEM มีเลนส์เป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic lens) โดยแหล่งผลิต
อิเล็กตอนมาจากไส้ทังสะเตนท่ีถูกให้ความร้อนด้วยกระแสไฟฟ้าแรงสูง ลาแสงอิเล็กตรอนจะว่ิงผ่านการ
ปรับโฟกสั จาก Electromagnetic lens กล้องจุลทรรศน์เป็นกล้องท่ีใช้ระบบสุญญากาศ ตัวอย่างท่ีศึกษา
จะถูกเคลือบดว้ ยโลหะหนักซ่ึงนิยมใช้ทองคา (Gold) ภาพที่เกดิ ข้นึ จะอาศยั การประมวลผลดว้ ยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์เป็นภาพชนิดขาว-ดา และเป็นภาพ 2 มิติ เท่านั้น โดยท่ัวไปกาลังขยายของกล้องจลุ ทรรศน์
แบบส่องผ่าน จะมีกาลังขยายสูงถึง 400,000 เท่า เครื่อง TEM เหมาะสาหรับศึกษารายละเอียดของ
องค์ประกอบภายในของตัวอย่าง เช่น องค์ประกอบภายในเซลล์ ลักษณะของเยื่อหุ้มเซลล์ ผนงั เซลล์ เป็น
ต้น ซ่ึงจะให้รายละเอยี ดสูงกว่ากล้องจุลทรรศนช์ นิดอ่ืนๆ เน่ืองจากมีกาลังขยายและประสิทธภิ าพในการ
แจกแจงรายละเอยี ดสูงมาก (กาลงั ขยายสูงสุดประมาณ 0.1 นาโนเมตร)

ภาพท่ี 3.3 กล้องจลุ ทรรศนอ์ ิเลก็ ตรอนชนิดสอ่ งผ่าน
(Transmission Electron microscope : TEM)

2) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscope: SEM)
เปน็ กลอ้ งจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดหรือส่องกาดภาพภายนอกของวัตถซุ ่ึงใช้ศกึ ษาลักษณะภาพ
นอกเซลล์โดยจะไม่สามารถมองเห็นลักษณะภายในเซลล์ได้ ภาพที่ปรากฎสามารถประมวลผลโดย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นภาพ 3 มิติ ดังนั้นเครื่อง SEM จึงถูกนามาใช้ในการศึกษาสัณฐานและ
รายละเอียดของลักษณะพื้นผิวของตัวอย่าง เช่น ลักษณะพื้นผิวด้านนอกของเน้ือเย่ือและเซลล์ หน้าตัด
ของโลหะและวัสดุ เป็นต้น

ภาพท่ี 3.4 กลอ้ งจุลทรรศนอ์ ิเล็กตรอนชนิดส่องกราด
(Scanning Electron microscope : SEM)

2. สว่ นประกอบของกล้องจลุ ทรรศน์

สาหรับการปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการท่ัวๆ ไป นิยมใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงชนิดไบรท์

ฟลิ ด (์ Bright-field microscope) มากทีส่ ุด ซึ่งในรายวชิ าจลุ ชีววทิ ยาเบ้ืองต้นจะขอกล่าวถึงส่วนประกอบ

ของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงชนิดไบรท์ฟิลด์ โดยแสงที่ใช้มักมีความยาวคล่ืน ประมาณ 400 - 900

นาโนเมตร (nm) เปน็ กลอ้ งทเ่ี ห็นพืน้ สวา่ งตดั กบั วตั ถทุ ึบแสง กล้องจลุ ทรรศน์ ชนิดนี้ มีส่วนประกอบดงั น้ี

1. เลนส์ใกล้ตา หรือ Ocular (eyepieces) ทาหน้าท่ีขยายภาพท่ีเกิดจากเลนส์วัตถุกาลังขยาย

ของเลนส์ใกล้ตา มีตัวเลขบอก เช่น 10x,15x,20x ซึ่งหมายความว่ามีกาลังขยาย 10 เท่า, 15 เท่า และ

20 เท่า ตามลาดับ เลนสใ์ กลต้ านร้ี วมอยู่ท่ีส่วนปลายของ body tube ท่ีตดิ อยู่กับแป้นหมนุ น้ีและสามารถ

หมุนให้ body tube หมุนไปมาได้ ทาให้สามารถดูกล้องรวมกันได้โดยไม่ต้องเคล่ือนย้ายกล้อง Thumb

wheel กล้องจลุ ทรรศน์บางแบบจะมีปมุ่ ปรับช่องห่างของเลนส์ใกล้ตา ท้ังสองให้ได้ระยะห่างพอดกี ับช่อง

หา่ งของตาผใู้ ช้กลอ้ งมองภาพไดส้ ะดวกขนึ้

2. จานหมุน (Nosepiece) ทาหน้าเปล่ียนเลนสใ์ กล้วตั ถุตามความต้องการของผู้ใช้ โดยการใชม้ ือ

หมนุ ที่จาน

3. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) คือเลนส์ใกล้วัตถุทาหน้าที่ขยายภาพในขั้นแรก เลนส์ใกล้

วัตถุ 1 ชุด มี 3 หรือ 4 อันติดอยู่ที่ revolving-nosepiece ซ่ึงสามารถหมุน ได้รอบตัวเปลี่ยน

objective ตามกาลังขยายท่ตี ้องการ

Ocular Objectives magmification at eye point

10X 4 X (low power) 40X

10X 10 X (low power) 100X

10X 40 X (high power or high dry) 400X

10X 100 X (oil immersion) 1000X

4. เลนส์รวมแสง (Condenser) เป็นตวั รวมแสงส่องใตแ้ ผ่นสไลด์
5. Stage เป็นแท่นวางสไลด์ที่จะส่องดู ตรงกลางมีช่องให้แสงผ่านมา ด้านข้างจะมี spring
clip หรือ slide holder ช่วยยึดสไลด์ให้แน่น และมี mechanical stage ควบคุมการเคล่ือนที่ไปมาของ
แผน่ สไลด์จากซ้ายไปขวาหรือหนา้ มาหลงั
6. ปรับปริมาณแสง (Condenser) เป็นตัวควบคมุ ปรมิ าณแสงผ่านเข้ากลอ้ ง ประกอบด้วยเลนส์ท่ี
ใช้รวมแสงอยู่ใต้ stage โดยรวมแสงผ่าน diaphragm มารวมกนั ท่ีตรงกลาง stage พอดี แลว้ ให้แสงผ่าน
วตั ถุมาเข้าตา กล้องสว่ นใหญ่มเี ลนส์ 2 อนั สามารถปรับใหเ้ ล่อื นขนึ้ ลงได้
7. ปรับเล่ือนสไลด์ (Mechanical stage controls) เป็นตัวเล่ือนสไลด์ แกน X แกน Yสาหรับ
เลือกตาแหนง่ ของภาพที่ตอ้ งการดู
8. แหล่งกาเนิดแสง (Light Source) เป็นแหล่งกาเนิดแสงของกล้อง อาจเป็นกระจกเงาหรือ
หลอดไฟ และมกี ระจกกรองแสงเพ่ือใหไ้ ด้แสงเหมือนแสงธรรมชาติ บางกล้องอาจมที ี่ปรับแสงเข้ามากหรือ
นอ้ ยตามต้องการ
9. หวั กลอ้ ง (Head) ชนิดกระบอกตาคู่มมุ เอน 45 องศา หวั กลอ้ งหมุนไดร้ อบตัว 360 องศา และ
มี ปุ่มลอ็ คตรึงให้อยู่กบั ท่ี ทาด้วยโลหะที่แขง็ แรง ปรับระยะห่างของตาได้
10. ท่ีหนีบสไลด์ (Stage Clip) คือส่วนที่เลื่อนปรับสไลด์ให้อยู่ในตาแหน่งโฟกัสของเลนส์
objective
11. ปรับความเข้มแสง (Brightness Control Knob) เป็นตัวควบคุมแหล่งกาเนิดแสงของกล้อง
ใหส้ วา่ งมากหรอื นอ้ ยตามต้องการ
12. ปรับภาพหยาบ (Coarse Focus) ปุม่ ปรับระยะโฟกัสอยา่ งหยาบ ทาให้ระยะโฟกัสเปลี่ยนได้
เรว็
13. ปรับภาพละเอียด (Fine Focusing Knob) ปุ่มปรับระยะโฟกัสอย่างละเอียด ทาให้ระยะ
โฟกัสเปลี่ยนช้าๆ ทาให้ภาพคมชัดย่ิงข้ึน fine adjustment บางชนิดมีจานวนรอบจากัด เมื่อหมุนจนถึง
จุดทีห่ มุนไมไ่ ดอ้ ีกต่อไปจะต้องหยุด ถ้าพยายามหมุนตอ่ ไปจะทาให้เฟอื งของล้อหมนุ เสยี หายได้
14. ฐาน (Base) คือ ส่วนล่างสุดของกลอ้ งจุลทรรศน์ เป็นฐานรองรับส่วนต่างๆ และรับน้าหนัก
ท้ังหมดของกล้อง

ภาพท่ี 3.5 ส่วนประกอบของกลอ้ งจลุ ทรรศน์

3. การใช้กล้องจลุ ทรรศน์
การใช้กลอ้ งจุลทรรศน์เป็นเร่อื งปกตสิ าหรบั ผู้ศึกษาทดลองเก่ียวกับชีววิทยา ฉะน้ันผู้ใชก้ ล้องควร

ศึกษาวิธีการใช้กล้องให้ถูกต้องด้วย กรณีที่จะกล่าวต่อไปนี้ ผู้ใช้บางคนอาจคิดว่าไม่สาคัญหรืออาจถือว่า
ตัวเองใช้เป็นแล้วจะข้ามข้ันตอนไปก็ได้ แต่เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้เอง การใช้กล้องควรปฏิบัติตามข้ันตอน
ดังนี้

1. ให้ใช้กล้องจลุ ทรรศน์ท่ีห้องปฏบิ ัตกิ ารมใี ช้อยู่ ยกกลอ้ งอย่างถกู วิธี
2. วางกลอ้ งไว้ตรงหน้า ปรบั กลอ้ งใหอ้ ย่ใู นลักษณะทีส่ ามารถทางานได้สะดวก
3. ควรศึกษาระบบการทางานของกลอ้ งและส่วนประกอบใหเ้ ข้าใจกอ่ นลงมือใช้จริง จาก
ค่มู ือหรอื ถามผู้ดูแลหอ้ งปฏิบัติการ
4. ใหห้ มนุ รโี วลวิงโนสพิชเอาเลนส์ใกล้วัตถอุ ันกาลังขยาย 4x หรือ 10x เข้าตรงช่อง
กง่ึ กลางของแท่นวางวัตถุ สาหรับผูเ้ ริ่มใช้ ขอแนะนาใหใ้ ชอ้ นั 4x ก่อน เพราะหาภาพได้งา่ ยกว่าขณะหมนุ
เมื่อได้ยนิ เสยี งดังกริ๊ก หมายความว่าเลนส์เข้าที่ถกู ตอ้ งแล้ว
5. ปรบั เลนสร์ วมแสงให้ข้ึนอย่ใู นระดับสงู สุด
6. เปดิ ไอริสไดอะเฟรมของเลนส์รวมแสงออกให้กวา้ งทส่ี ุด

7. กรณีท่ีใชก้ ระจกเงา ใหเ้ ปิดสวิตช์ของหลอดไฟฟ้าจากแหลง่ แสง หากแหล่งแสงอยู่ท่ี
ฐานก็ให้เสียบปลก๊ั เปดิ สวติ ชไ์ ดเ้ ลย แสงที่ใช้ควรเป็นแสงขาวนวล

8. ดึงเลนสใ์ กล้ตาออกจากกล้องวางในทีส่ ะอาด หากเป็นแบบสองกระบอกตาให้ดึงด้าน
ทถ่ี นดั ออกเพียงอันเดยี ว

9. มองดทู ีป่ ากลากล้องด้านที่ถอดเลนสใ์ กล้ตาออก มือทั้งสองจับทีก่ ระจกเงาหันเอาด้าน
ราบเขา้ หาแสงสวา่ ง พยายามปรับใหแ้ สง สะทอ้ นเข้าส่กู ลอ้ งมากท่ีสดุ โดยใหส้ งั เกตดังนี้

ถา้ เห็นแสงขาวนวลเต็มพ้ืนที่รับแสงลักษณะเช่นน้ีถอื ว่าแสงสว่างถูกตอ้ งดีแล้ว หากแสง
ไม่เต็ม หรอื ต้องการมากกว่านี้ใหใ้ ช้กระจกด้านเว้า แต่ควรระวังเพราะแสงมากจะมีผลต่อนัยน์ตาเมื่อแสง
ถูกตอ้ ง ก็ใหด้ าเนนิ การขนั้ ต่อไป

10. ปิดไอริสไดอะเฟรมให้มากท่ีสุด ขณะปิดให้สังเกตความเข้มของแสงไว้ด้วย แล้วก็
ค่อยๆ เปิดให้กว้างอีกครั้ง หลังจากนั้นปรับความ เขม้ ของแสงสว่างให้เข้าสู่กล้องประมาณ 2/3 หรอื 60-
75 เปอร์เซ็นต์เมอื่ ทกุ อยา่ งเรียบรอ้ ยใหส้ วมเลนส์ใกลต้ ากลับเข้าทีเ่ ดมิ

11. ในกรณีกล้องใช้ระบบการส่องสว่างของโคเลอร์ อย่างเช่น กล้องจุลทรรศน์แบบ
แทรกสอดหรือเฟสคอนทราส หากปรับวงแหวนไม่ตรงทาให้การแทรกสอดของแสงไม่ถกู ต้องภาพท่ีไดไ้ ม่ดี
ในกรณใี ชใ้ นการถ่ายภาพ ภาพทีอ่ อกมามดื ดา้ นสว่างดา้ นต้องจัดระบบสอ่ งสว่างใหม่

12. นาตัวอย่างที่ต้องการศึกษาใหส้ ่วนท่ีจะดูอยู่ตรงจุดกงึ่ กลางตรงส่วนบนสุดของเลนส์
รวมแสง แทน่ ธรรมดาต้องใช้สปรงิ คลบิ หนีบตวั อย่างใหแ้ น่น วิธีการโดยยกป่มุ ข้ึนกอ่ นแลว้ หมุนสปรงิ มาอยู่
ตรงขอบสไสด์จากนั้นกค็ ่อยๆ กดลงจนแนน่

13. การปรบั หาภาพหรือโฟกัสต้องคานึงถงึ ระยะทางานของเลนส์ใกล้วัตถทุ ุกครั้ง กล้อง
เลนสป์ ระกอบทั่วๆ ไป เร่มิ ต้นด้วยการใชก้ าลังขยายต่าก่อนทุกคร้ังแลว้ จงึ ค่อยเปลีย่ นเม่ือภาพชัดเจนไปสู่
กาลงั ขยายที่สงู ข้ึนอันตอ่ ๆ ไป ตามลาดับ ยกเวน้ กล้องสเตอริโอต้องใช้กาลังขยายสงู สุดกอ่ น

14. เลือ่ นภาพตรงตาแหน่งทต่ี อ้ งการศึกษาเข้าก่ึงกลางของพน้ื ที่ หรือตรงเขม็ ชี้ปรับภาพ
ให้ชดั เจนอีกครัง้ ก่อนเปลี่ยนเป็นกาลงั ขยายทส่ี ูงอนั ตอ่ ไป

15. ในกรณีท่ีแสงมีสีค่อนไปทางแดงหรือมีแสงมากเกินไป ให้ใช้แว่นกรองแสงสีฟ้าหรือ
ขาวมัวๆ ลดแสงหรืออาจจะหรี่ไอริสไดอะเฟรมกไ็ ด้

16. กรณีกล้องเป็นแบบหน่ึงกระบอกตาขณะมองภาพต้องลืมตาท้ัง 2 ข้าง ไม่ควร
หลับตาข้างใดข้างหน่ึง แม้ว่าคร้ังแรกๆ ทาไดอ้ ยาก แต่คร้ังตอ่ ไปจะชนิ ไปเอง ท้ังนี้เพ่อื ป้องกันสายตาเอยี ง
หรือปวดเหม่อื ยในตามีผลทาใหป้ วดศรีษะได้ ขณะทางานต้องสลับทั้งข้างขวาและข้างซา้ ยเทา่ ๆ กัน

17. กรณีกลอ้ งแบบสองกระบอกตา ท่ีกระบอกตาจะมีที่ปรับระยะห่างของเลสน์ใกล้ตา
ผู้ใช้ตอ้ งปรับใหต้ รงกบั ความต้องการของนยั น์ ตาก่อนทกุ ครง้ั

18. กรณีใช้กาลังขยาย 100x ต้องใช้นา้ มัน วิธีการหยดทาไดท้ ั้งท่ีตัวอย่างและหน้าเลนส์
กล่าวคือ หมุนหน้าเลนส์อันกาลงั ขยาย 100x ข้นึ ด้านบน เมอื่ หยดนา้ มันแลว้ หมุนกลบั เขา้ ที่เดิม เม่ือเลกิ ใช้
งานต้องการเช็ดนา้ มันออกกก็ ระทาแบบเดียวกนั หากเปลยี่ นกาลงั ขยายหรือ เปลยี่ นสไลด์ ให้เปลยี่ นจาก

อนั 100x ไปหาอัน 4x ไม่ใชเ่ ปลี่ยนจาก 100x ไปหา 40x ซึง่ ระยะทางานใกล้เคียงกันมาก บางคร้งั น้ามัน
อาจโดนเลนส์ อนั 40x ได้

19. การใช้กลอ้ งสาหรับงานเฉพาะอย่าง กล้องจุลทรรศน์แบบเรืองแสง หากไม่มีความรู้
เกี่ยวกับวิธีการใช้ห้ามใช้เด็ดขาด เพราะนอกจากจะทาให้กล้องเสียหายแล้วผู้ใช้เองอาจมีอันตรายถึงกับ
นัยนต์ าบอด

4. ข้อควรระวงั ในการใชก้ ลอ้ งจุลทรรศน์
เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูงและมีส่วนประกอบท่ีอาจ เสียหายง่าย

โดยเฉพ าะเลนส์ จึงต้องใช้และเก็บรักษาด้วยความระมัดระวังให้ถูกวิธี ซ่ึงมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1) ในการยกกล้องและเคล่ือนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหน่ึงจับท่ีแขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของ

กล้อง
2) สไลดแ์ ละกระจกปิดสไลด์ทใี่ ชต้ ้องไม่เปยี ก เพราะอาจจะทาให้แท่นวางวัตถุเกดิ สนิม และเลนส์

ใกล้วัตถอุ าจขนึ้ ราได้
3) เมื่อต้องการหมุนปมุ่ ปรับภาพหยาบต้องมองด้านข้างตามแนวระดบั แท่นวางวัตถุ เพ่ือป้องกัน

การกระทบของเลนสใ์ กล้วตั ถุกบั กระจกสไลด์ ซึง่ อาจทาใหเ้ ลนส์แตกได้
4) การหาภาพต้องเร่มิ ด้วยเลนส์ใกล้วัตถทุ ม่ี ีกาลงั ขยายต่าสุดก่อนเสมอ
5) เมื่อต้องการปรับภาพให้ชัดข้ึนให้หมุนเฉพาะปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น เพราะถ้าหมุนปุ่ม

ปรับภาพหยาบจะทาให้ระยะภาพหรือจุดโฟกสั ของภาพเปลย่ี นไปจากเดมิ
6) ห้ามใชม้ อื แตะเลนส์ ควรใช้กระดาษเช็ดเลนส์ในการทาความสะอาดเลนส์
7) เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องเอาวัตถุท่ีศึกษาออก เช็ดแท่นวางวัตถุและเช็ดเลนส์ให้สะอาด หมุนเลนส์

ใกล้วัตถุกาลังขยายต่าสุดให้อยู่ตรงกลางลากล้อง และเล่ือนลากล้องลงต่าสุด ปรับกระจกให้อยู่ใน
แนวตงั้ ฉากกบั แทน่ วางวตั ถเุ พอ่ื ปอ้ งกันไมใ่ หฝ้ ุน่ เกาะ แลว้ เก็บใส่กล่องหรอื ตใู้ ห้เรียบรอ้ ย

5. การบารุงรักษากล้อง
1) ควรดูแลรักษากล้องให้สะอาดอยเู่ สมอ และเมื่อไม่ไดใ้ ช้กล้องควรใชถ้ ุงคลุมกล้องไวเ้ สมอ เพื่อ

ปอ้ งกันฝนุ่ ละอองและสิ่งสกปรกเข้าไปสมั ผัสกบั เลนสข์ องกลอ้ ง
2) ในการทาความสะอาดหรือการประกอบกล้อง ควรทาด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ชิน้ ส่วนถูก

กระแทกหรือหลุดตกหล่น กรณีท่ีกล้องหรือส่วนประกอบใดๆของกล้องตกหรือกระแทก จะมีผลให้เม่ือ
ประกอบกล้องแล้วภาพท่ีเห็นไม่คมชัด เป็นเพราะระบบภายใน (ปรซิ ึม) อาจเกิดการคลาดเคล่ือนได้ ซ่ึง
กรณีน้ี ควรส่งให้กบั บริษัทซ่อม เพราะการตั้งศูนย์ของปริซึมและระบบเลนส์ภายในน้ันต้องใชเ้ ครือ่ งมือที่
ซบั ซ้อนและความชานาญของชา่ ง

3) ห้ามใช้มือหรือสว่ นใดๆของร่างกาย สัมผัสถูกส่วนท่ีเป็นเลนส์ และหลีกเล่ียงการนาเลนส์ออก
จากตวั กล้อง

4) ในกรณีที่ถอดเลนส์ออกจากตัวกล้อง ควรใช้ฝาครอบด้วยทุกครั้งเพ่ือป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง

เข้าไปข้างใน ซึง่ อาจทาใหเ้ กิดความไม่ชดั ของการมองภาพ
5) สาหรับเลนส์ใกล้วัตถุ 100x ที่ใชก้ ับ Oil immersion หลังจากใช้แล้ว ควรทาความสะอาดทุก

ครั้ง โดยการเชด็ ด้วยกระดาษเชด็ เลนส์ cotton bud หรอื ผา้ ขาวบางที่สะอาด และนมุ่ ชุบด้วยน้ายาไซลีน
หรือส่วนผสมของแอลกอฮอล์และอีเทอร์ ในอตั ราส่วน 40:60 ตามลาดบั

6) ควรหมุนปรับปุ่มปรับความฝืดเบาให้พอดี ไม่หลวมเกินไป ซ่ึงจะทาให้แท่นวางสไลดเ์ ล่ือนหมุด
ลงมาได้ง่าย หรอื ฝดื จนเกินไปทาใหก้ ารทางานชา้ ลง

7) ปุ่มปรับภาพหยาบนั้น ควรหมุนในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาอย่างช้าๆ จนกว่าจะได้ภาพ ห้าม
ปรับปุ่มปรับภาพท้ังซ้ายและขวาของตัวกล้องในลักษณะสวนทางกัน เพราะนอกจากจะไม่ได้ภาพตาม
ตอ้ งการแลว้ ยงั จะทาให้เกิดการขัดข้องของฟนั เฟอื ง

8) ในกรณตี ้องการใชแ้ สงมากๆควรใช้การปรบั ไดอะเฟรม แทนการปรับเรง่ ไฟไปตาแหน่งท่ีกาลัง
แสงสวา่ งสุด (กรณีหลอดไฟ) จะทาใหห้ ลอดไฟมอี ายยุ าวข้นึ

9) กอ่ นปิดสวิตชไ์ ฟทุกครั้งควรหร่ีไฟกอ่ นเพื่อยืดอายุการใช้งาน และเม่ือเลิกใชก้ ็ควรปิดสวติ ช์ทุก
ครัง้

10) การเสียบปล๊ักไฟของตวั กล้องไม่ควรใช้รวมกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอ่นื เพราะจะทาให้หลอดไฟ
ขาดง่าย

11) หลังจากเช็ดสว่ นใดๆของกล้องก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจว่าแห้งหรอื ปราศจากความช้ืนแล้ว ควรเป่า
ลมให้แห้ง โดยใช้พัดลม หรือ ลกู ยางเปา่ ลม (หา้ มเปา่ ดว้ ยปากเพราะจะมีความชน้ื )

12) เมือ่ แน่ใจว่าแห้งและสะอาดแลว้ จึงคลุมด้วยถงุ พลาสติก
13) เก็บกลอ้ งไวใ้ นทีท่ ค่ี อ่ นขา้ งแห้งและไม่มคี วามช้นื

6. การทาความสะอาดเลนส์
1) เป่าหรือปัดเศษผงหรือวัสดุอื่นๆที่อาจจะก่อให้เกิดรอยขูดขีดบนพ้ืนผิวเลนส์ โดยใช้ลูกยางบีบ

หรือปัดด้วยแปรงขนอ่อนๆ แต่ถ้ายังไม่สามารถเอาออกได้ให้ใช้ผ้าขาวบางท่ีสะอาดและนุ่มชุบด้วยน้าเช็ด
เบาๆ

2) เตรยี มนา้ ยาเชด็ เลนส์ (อเี ทอร์:แอลกอฮอล์ = 60:40)
3) ทาความสะอาดท้ังเลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้วัตถุ ใช้ cotton bud หรือ กระดาษเช็ดเลนส์
พันรอบปลายคีบ แล้วชุบด้วยนา้ ยาเช็ดเลนส์เพียงเลก็ น้อย แล้วจึงเริ่มเชด็ เลนส์จากจดุ ศูนย์กลางของเลนส์
แลว้ หมุนทารัศมีกว้างขึ้นเรอ่ื ยๆไปสขู่ อบเลนส์อย่างช้าๆ
4) ในการใช้น้ายาเช็ดเลนส์ต้องระวังด้วยว่าน้ายาน้ันสามารถละลายสีของกล้องและละลายกาว
ของเลนสไ์ ด้
5) ในการผสมน้ายาเช็ดเลนส์อาจเปล่ียนแปลงได้ตามอุณหภูมิและความช้ืน หากอีเทอร์มาก
เกินไปอาจทาใหม้ ีรอยการเช็ดอยู่บนเลนส์ได้ แต่ถ้าแอลกอฮอล์มากเกนิ ไปจะมีรอยเป็นคราบอยู่บนเลนส์
เช่นกัน


Click to View FlipBook Version