The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Arm Y Jiraphan, 2022-11-30 22:33:16

พระราชประวัติ ร.๙

ร9-final-rev1

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร



ทรงสถติ ในดวงใจ
ตราบนริ นั ดร์

-1-

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์รัชกาลท่ี ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระโอรสในสมเด็จพระมหิตราธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ
สมเด็จพ ระศรีน คริน ท ราบ รมราชช น นี เสด็ จพ ระบ รมราช สมภ พ
เม่ือวันจันทร์ท่ี ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์
ออเบอร์น เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts)
ประเทศสหรัฐอเมริกา มีพระบาทสมเด็จพระปกเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิ วัตนา กรมหลวงนราธิวาส
ราชนครินทร์ เป็นสมเด็จพ ระเชษฐภคินี เสด็จดำรง สิริราชสมบัติ
เม่อื วันท่ี ๙ มิถนุ ายน พทุ ธศักราช ๒๔๘๙

-2-

ท รงป ระกอบ พิ ธีราชาภิ เษ กสม รส กับ ห ม่ อ ม ราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร
เม่ือวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ แล้วสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินี
ต่อมาสถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชนิ นี าถ ตามลำดบั

ทรงรับการพระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก เมือ่ วันท่ี ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่ประชาชนชาวไทยว่า “เราจะครองแผ่นดิน
โดยธรรม เพือ่ ประโยชน์สุขแหง่ มหาชนชาวสยาม”

พระราชโอรสและพระราชธิดา ๔ พระองค์ คอื
๑. ทลู พระหมอ่ มหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสริ วิ ฒั นาพรรณวดี
๒. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว
๓. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณี
พรี ยพฒั น รฐั สมี าคณุ ากรปิยชาติ สยามบรมราชกมุ ารี
๔. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรสี วางควัฒน วรขตั ตยิ ราชนารี

- 3-

-4-

พุทธศักราช ๒๔๙๙ มีพระราชศรัทธาทรงพระผนวช ตามคติ
ของพทุ ธศาสนิกชนไทย เป็นเวลา ๑๕ วนั

นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติปกครองอาณาจักรไทย ตราบถึง
วันที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เป็นเวลา ๗๐ ปี ๔ เดือน ๗ วัน
กล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ท่ีทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานท่ีสุด
ในประวัติศาสตร์ไทย ทรงต้ังมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงอุทิ ศกำลัง
พระวรกายและกำลัง พระสติปัญญาปฏิบัติพระราชกรณียกิจอเนกอนันต์
เพ่ือประโยชน์สุขของปวงอาณาประชาราษฎร์

-5-

ด้ าน ศิ ล ป วั ฒ น ธรรม มี พ ระ อั จฉ ริย ภ าพ แ ล ะ พ ระ ป รีช าส าม ารถ
ในการสร้างสรรค์ศิลปะทุกสาขา ทรงสนพระราชหฤทัยในศิลปวัฒนธรรมของชาติ
ทุกแขนง ทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์มรดกของชาติ ทรงส่งเสริมให้คนในชาติ
ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ มีพระราชดำริฟื้นฟูการถวายผ้า
พระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เม่ือพุทธศักราช ๒๕๐๒ และ
พุทธศักราช ๒๕๐๓ ทรงฟ้ืนฟูพระราชพิธีราชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวั ญ
นอกจากน้ียังมีพระราชดำริบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างพระท่ีนั่ง
บรมราชสถิตยมโหฬารในพระบรมมหาราชวัง แทนองค์เดิมที่ชำรุด โปรดให้เขียน
จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถานในพระราชฐานชั้นใน ทรงอุปถัมภ์การแสดง
โขนละคร และศิลปะการแสดงอันเป็นจารีตแบบแผนของชาติ ทรงพระปรีชา
ปราดเปร่ืองในการดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่กล่าวได้ว่าเป็นอมตะเพื่อปวงชน
จำนวนมาก เช่น เพลงพรปีใหม่ สายฝน ใกล้รุ่ง แสงเทียน ฯลฯ พระราชนิพนธ์
วรรณกรรมเรื่องพระมหาชนก ทรงแปลเรอ่ื งตโิ ตและ นายอินทรผ์ ้ปู ดิ ทองหลงั พระ



-7-

ด้ าน ศ าส น า ท รงเค ร่งค รัด แ ล ะท ำนุ บ ำรุงพ ระพุ ท ธศ าส น า
ทรงเป็นแบบอย่างที่ล้ำเลิศในการผดุงรักษาพระพุทธศาสนาให้ประดิษฐาน
ถาวรเจริญรุ่งเรืองในแผ่นดิน ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก พระราชทาน
พระบรมราชูปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่น ๆ ในพระราชอาณาจักรให้พสกนิกร
ทุกศาสนาอยรู่ ว่ มกันอยา่ งสนั ตสิ ุข

มีพระราชดำริสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ให้เป็นวัดแบบอย่าง
คำนึงถึงประโยชน์ท่ีสานสัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง วัด บ้าน และโรงเรียน
ที่เรียกว่า “บวร” ให้มีความเรียบง่าย และประหยัด เมื่อใช้ประโยชน์
และจัดกจิ กรรมร่วมกนั

-8-

ด้านเกษตรกรรม ทรงคิดค้นทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรเพื่อพ่ึงพา
ตนเองอย่างเข้มแข็ง เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ด้วยแนวพระราชดำริ
ใช้ท่ดี ินให้ได้ประโยชน์สูงสุด

พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
ทรงวางแนวทางการดำเนินชีวิตให้ราษฎร เป็นผลให้เกิดการพัฒนาสังคม
และทรัพยากรบุคคลอย่างม่นั คง ย่ังยืน

-9-

ด้านการศึกษา ทรงมุ่งม่ันพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร ซึ่งเป็นทรัพยากร
ของประเทศทุก ๆ ระดับ มีพระราชดำริส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาทุกสาขา
แก่เยาวชน และประชาชนอย่างทั่วถึง การศึกษาในระบบโรงเรียนท่ัวประเทศ
ต้ังแต่ในเมืองไปถึงถ่ินทุรกันดาร เช่น โรงเรียนจิตรลดา ในภูมิภาค
เช่น โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนราชประชา
นุเคราะห์ ฯลฯ จัดโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพ่ือแก้ปัญหา
ขาดแคลนครแู ละเพ่ิมแหล่งศึกษาให้เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มีโอกาสเล่าเรยี น
ได้อย่างต่อเน่ือง การศึกษานอกระบบ ได้แก่ โรงเรียนพระดาบส และ
การศึกษาตามอัธยาศัย คือ โครงการตามพระราชดำริสาขาต่าง ๆ จำนวนมาก
จัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และพระราชทานทุนการศึกษาอย่าง
กวา้ งขวาง เชน่ ทุนอานันทมหิดล ทนุ มลู นธิ ิภมู ิพล เป็นต้น



สำนักงานวฒั นธรรมจงั หวัดลำปาง

เลขที่ ๔๐๙ ถนนพระเจา้ ทันใจ ตำบลตน้ ธงชัย อำเภอเมอื งลำปาง จงั หวัดลำปาง
โทรศพั ท์ ๐ ๕๔๒๒ ๘๗๖๓ โทรสาร ๐ ๕๔๘๒ ๔๑๘๒


Click to View FlipBook Version