การศึกษาโครงสร้าง
ของดอกชวนชม
จัดทำโดย
นางสาวณัฐชยา จงโรจน์สกุล
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ห้อง335
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-
คณิตศาสตร์
เสนอ
อาจารย์วิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตำแหน่งครูชำนาญการ(คศ.2)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
สาขาชีววิทยา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ประกอบรายวิชาชีววิทยา4 (ว30244) ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2565
ก
คำนำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วน
หนึ่งของรายวิชาชีววิทยา4 (ว30244) ชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่5 ประกอบการเรียนการสอนในเรื่องส่วนประกอบของ
ดอกไม้ เพื่ อให้ผู้จัดทำได้มีความรู้และความเข้าใจใน
ประเภท ตำแหน่งของส่วนประกอบแต่ละชนิดของดอก
ชวนชม และลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดอกชวนชม
ผู้จัดทำหวังว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็น
ประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังศึกษาในเรื่องส่วนประกอบของ
ดอกไม้ หรือมีความสนใจในดอกชวนชมไม่มากก็น้อย
หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้
ณัฐชยา จงโรจน์สกุล
ผู้จัดทำ
31 พฤศจิกายน 2565
สารบัญ ข
คำนำ หน้า
สารบัญ ก
ข้อมูลทั่วไปของชวนชม ข
ข้อมูลเบื้องต้นของดอกชวนชม 1
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 3
โครงสร้างสัณฐานภายนอก 4
7
โครงสร้างสัณฐานภายใน 8
9
บรรณานุกรม 10
ภาคผนวก
1
ข้อมูลทั่วไปของชวนชม
ชื่อทั่วไป: ชวนชม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium
ชวนชมเป็นพืชที่มีเนื้อเยื่ออ่อน เปลือกของลำต้นบาง ต้นและกิ่งก้าน
กลมมียางใส จัดเป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ
ลั่นทม พืชในวงศ์นี้มีมากมายถึง 300 สกุลและมากกว่า 1,300 ชนิด มีทั้ง
ไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย ไม้พุ่มและไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วโลก โดย
เฉพาะในป่าเขตร้อน สำหรับชวนชมถูกจัดอยู่ในสกุล Adenium obesum
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชื่อ เช่น Pink Bignonia, Mock
Azalea, Desert Rose, Impala Lily, Kudu Lily และ Sabi Star
ลักษณะโดยทั่วไป
ลำต้น
เป็นไม้เนื้ออ่อน อวบน้ำ ต้นและกิ่งเป็น
ลำกลม ผิวค่อนข้างเรียบสีเขียวอมเทา
เปลือกบาง แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ
ส่วนโคนของลำต้นพองออกมีขนาดรูป
ทรงใหญ่เล็กแตกต่างกันไปเรียกว่า
“โขด” มีไว้สำหรับเก็บน้ำเพื่อรักษา
สมดุลของต้น
โขด
ของชวนชมคือรากที่ใช้สะสมอาหาร
เช่นเดียวกับ เผือก มัน หรือพืชที่มีหัว
ทั่วไป มีลักษณะบวมออกเป็นหัวขนาด
ใหญ่อยู่ใต้ดินหรือโผล่ขึ้นเหนือดินมีรูป
ทรงแตกต่างกันไป
2
ข้อมูลทั่วไปของชวนชม
ลักษณะโดยทั่วไป
ใบ
เป็นใบแบบเดี่ยว ออกเวียนรอบกิ่ง
คล้ายกังหันหลายๆ ชั้น และออกหนา
แน่นตามปลายกิ่ง ใบของชวนชมมี
หลายลักษณะแตกต่างกันขึ้นกับสาย
พันธุ์ เช่น ใบรูปไข่ ใบรูปหอก ปลายใบมี
ทั้งเว้า มน แหลมและใบตัด ขอบใบเรียบ
หยักหรือเป็นคลื่น แผ่นใบหนาแข็งเขียว
เข้มเป็นมันหรือบางพั นธุ์มีขนนุ่มคล้าย
กำมะหยี่ที่ใต้ท้องใบ มีขนาดใหญ่และเล็ก
แตกต่างกันไป
ดอก
ชวนชมจะออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
ช่อหนึ่งประมาณ 10-20 ดอก มีทั้ง
แบบบานพร้อมกันทั้งช่อและทยอยบาน
ครั้งละ 4-5 ดอก บานได้นาน 10-20
วัน ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 8-10
ซม.
ฝักหรือผล
มีลักษณะคล้ายบูมเมอแรงหรือเขาคู่เป็นฝักสองฝักอยู่ติดกัน ปลายและโคน
เรียวแหลมยาวประมาณ 10-30 ซม. ขั้วของฝักอยู่ตรงตะเข็บแนวเชื่อม
ระหว่างเขาทั้งสอง ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อฝักแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อนตะเข็บแนว
เชื่อมจะแตกออก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนเล็กๆ คล้ายเมล็ดข้าวเปลือก มี
ขนสีน้ำตาลอ่อนเป็นพู่ติดอยู่ที่ปลายแหลมทั้งสองข้าง ขนที่ปลายทั้งสองนี้จะ
ช่วยให้เมล็ดปลิวไปตามลมได้ไกล
3
ข้อมูลเบื้องต้นของดอกชวนชม
สมมาตร: เป็นดอกสมมาตรทางรัศมี
เกสร: เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ตัวดอก: เป็นดอกครบส่วน
จำนวนดอก: ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อละ10-20ดอก
ตำแหน่งรังไข่: รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ติดกับฐานรองดอก
4
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กลีบเลี้ยง
มีลักษณะเป็นกลีบเล็กๆ 5 กลีบ รูปรี ปลายแหลม ติดอยู่รอบโคนดอก
เหนือฐานรองดอก มีสีแดง เขียว ชมพู อมแดงหรือเหลืองอมเขียว เมื่อดอก
ร่วงแล้วกลีบดอกยังติดแน่นอยู่ที่ฐานรองดอก
โคนกลีบดอกหรือหลอดดอก
คือส่วนที่อยู่ต่อจากกลีบเลี้ยงขึ้นมามีลักษณะเป็นทรงกรวยกลมยาว โคน
หลอดเรียวเล็กลงติดกับกลีบเลี้ยง ปลายบานออกติดกับกลีบดอก
กลีบดอก
มี 5 กลีบ เรียงติดอยู่รอบโคนกลีบดอกหรือหลอดดอกคล้ายปากแตร
เกสรตัวผู้
อยู่ตรงส่วนโคนของหลอดดอก เป็นรูปกระโจมคลุมยอดเกสรตัวเมีย
ประกอบด้วยละอองเรณู 5 อันเรียงติดกันบนก้านชูเกสรตัวผู้ มีโคนระยางค์
เชื่อมต่อจากปลายเกสรตัวผู้ยาวขึ้นไปตลอดหลอดดอก 5 เส้น ภายในอับ
ละอองเรณูนี้เมื่อแก่พร้อมที่จะผสมเกสร
เกสรตัวเมีย
อยู่ตรงส่วนโคนของหลอดดอก ล้อมรอบด้วยเกสรตัวผู้ ประกอบด้วย
ยอดเกสรตัวเมีย ก้านชูเกสรตัวเมีย และรังไข่ ยอดเกสรตัวเมียมีรูปกลมสี
ขาวขุ่น มีท่อยาวลงไปที่รังไข่ซึ่งอยู่ติดกับฐานรองดอก ภายในรังไข่มีไข่อ่อน
5
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
วงกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง
(Calyx) (Sepal)
วงกลีบดอก ก้านดอกย่อย
(Corolla)
(Pedicel)
แฉกกลีบดอก
(Corolla lobe)
ฐานรองดอก
(Receptacle)
หลอดกลีบดอก
(Corolla tube)
6
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
วงเกสรเพศผู้
(Androecium)
อับเรณู
(Anter)
ยอดเกสรเพศเมีย
(Stigma)
ก้านชูเกสรเพศเมีย
(Style)
รังไข่
(Ovary)
วงเกสรเพศเมีย
(Gynoecium)
7
โครงสร้างสัณฐานภายนอก
กลีบดอก
กลีบเลี้ยง ฐาน
รองดอก
ก้านดอก
ย่อย
8
โครงสร้างสัณฐานภายใน
กลีบดอก
ยอดเกสร รยางค์
เพศเมีย เกสรเพศผู้
ก้านชู อับเรณู
ยอดเกสร
เพศเมีย กลีบเลี้ยง
รังไข่
9
บรรณานุกรม
การผสมเกสรชวนชม. (2565). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.gotoknow.org/posts/345063
ชวนชม. (2565). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8
A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%8A
%E0%B8%A1
ชวนชม-ลักษณะโดยทั่วไป. (2565). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จากhttps://www.panmai.com/DesertRose
/DesertRose_1.shtml
10
ภาคผนวก
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
ศึกษาโครงสร้าง
ภายนอก
ใช้คัตเตอร์ผ่าดอกชวนชม
และใช้ที่คีบจับ เพื่อดูโครงสร้างภายใน
11
ภาคผนวก
Url: https://youtu.be/-kTyrZwPtMU