The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Suwannee Fernfang, 2022-10-06 14:03:23

หนังสือที่ระลึกงานกฐินมทร.ล้านนา65

หนังสือที่ระลึกงานทอดกฐิน65

“กฐินรม่ บญุ สามคั คี 1

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา”

หนงั สอื ทร่ี ะลกึ งานพิธถี วายผา้ กฐนิ
ประจำปี ๒๕๖๕

มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา

วนั เสารท์ ี่ ๒๙ ตลุ าคม ๒๕๖๕

ณ วดั มง่ิ เมอื งมูล ตำบลพชิ ยั อำเภอเมอื งลำปาง

2

หนงั สอื ทรี่ ะลกึ งานพธิ ถี วายผา้ กฐนิ ประจำปี ๒๕๖๕
มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา

ทป่ี รกึ ษา

ผศ.ดร.จตั ตฤุ ทธ์ิ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธกิ ารบดี
ผศ.ดร.วรวธุ ชยั เนตร ผชู้ ว่ ยอธกิ ารบดี ลำปาง

รศ.ดร.วนั ไชย คำเสน รองคณบดคี ณะวศิ วกรรมศาสตร์
ผศ.ดร.ปยิ มาสฐ์ ตณั ฑเ์ จริญรตั น์ รองคณบดคี ณะวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยกี ารเกษตร
ดร.พวงทอง วงั ราษฎร์ รองคณบดคี ณะบรหิ ารธรุ กจิ และศลิ ปศาสตร์
ผศ.จรญู สนิ ทววี รกลุ รักษาราชการแทนผอู้ ำนวยการกองการศึกษา

นางสาวปภาวรนิ ทร์ บญุ มาก ผอู้ ำนวยการกองบรหิ ารทรพั ยากร

คณะผจู้ ดั ทำ

นายไพโรจน์ ไชยเมอื งชนื่
นายพงษเ์ ทพ ไพบลู ยห์ วงั เจรญิ
นางนติ ยา เอกบาง
นางสวุ รรณี เจยี รสวุ รรณ

นางสาวเพียงกานต์ นามวงศ์
นายวสพุ ล ดอกพกิ ลุ
ดร.จนั ทกานต์ ฉตั รสงู เนนิ

ดร.ศริ ขิ วัญ ปญั ญาเรยี น
นางพรพิมล อริยะวงษ์
นางสาวแสงจนั ทร์ วงคข์ ัดนนท์

ปที พี่ มิ พ์ ตลุ าคม ๒๕๖๕
สถานทพี่ มิ พ์ มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา ลำปาง

3

คำนำ

หนังสือเล่มนี้จัดทำข้ึนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นท่ีระลึกในงานพิธถี วายผ้ากฐิน ประจำปี
๒๕๖๕ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยกำหนดการทอดถวาย ในวันเสาร์ท่ี ๒๙
ตลุ าคม ๒๕๖๕ ณ วัดมิ่งเมืองมูล ตำบลพิชยั อำเภอเมอื งลำปาง จังหวัดลำปาง

ภายในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเร่ืองราวของการท่องเที่ยวในเมืองเก่านครลำปางซึ่ง
เปน็ เมืองเกา่ ท่สี ำคัญและมปี ระวตั ศิ าสตร์อนั ยาวนานแห่งหน่ึงของล้านนาหรือภาคเหนือตอนบนใน
ชื่อ “ลำปางบนเส้นทางเมืองเก่า” เขียนโดยอาจารย์ไพโรจน์ ไชยเมืองช่ืน อาจารย์ประจำ
หลักสูตรการท่องเท่ียวและการบริการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยรี าชมงคลล้านนา ลำปาง และประวัตขิ องวัดมิ่งเมืองมลู

คณะผู้จัดทำหวังว่า หนังสือเล่มน้ีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไป และนักเรียนนักศึกษา
ทต่ี ้องการศึกษาขอ้ มูลเกย่ี วกับเมืองเก่านครลำปางและการทอ่ งเทย่ี วเชิงวัฒนธรรมที่กำลังเป็นที่
สนใจอยา่ งยิง่ ในปัจจบุ ัน

มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา
๒๙ ตลุ าคม ๒๕๖๕

สารบญั 4

คำนำ ๓
ประวัติศาสตร์ในเมอื งเก่านครลำปางโดยสงั เขป ๖
สถานท่ีท่องเทีย่ วสำคญั ในเมอื งเก่านครลำปาง ๑๙
ประวัติวัดม่ิงเมอื งมลู ๔๐
ประวัติมหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลล้านนา ลำปาง

5

ลำปางบนเสน้ ทางเมืองเกา่

6

ประวัตศิ าสตร์ในเมอื งเก่านครลำปางโดยสงั เขป

เมืองเก่านครลำปางเป็นพื้นท่ีต้ังของแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และ
สำคัญแห่งหน่ึงของภาคเหนือตอนบน จากการศึกษาเอกสารประเภทตำนานและห ลักฐาน
โบราณคดีพบว่า เมืองเก่านครลำปางแห่งนี้ประมาณอายุได้กว่าหน่ึงพันปีและได้รับการประกาศ
จากคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเม่ือปีพ.ศ.๒๕๕๓ ให้เป็น
เมื อ งเก่ าท่ี ส ำคั ญ แ ห่ ง ห น่ึ งข อ งป ร ะเท ศ ไท ย ท่ี ส ม ค ว ร อ นุ รั ก ษ์ ไว้ เพ่ื อ เป็ น แ ห ล่ ง เรี ย น รู้ ท า ง
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนในชุมชนและประชาชนทั่วไปมีเนื้อที่ ๓,๘๐๔ ตาราง
กิโลเมตร เมืองเก่านครลำปางในปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัด
ลำปาง ครอบคลุมพื้นที่ ๕ ตำบลได้แก่ ตำบลสวนดอก ตำบลหัวเวียง ตำบลรอบเวียง ตำบล
เวียงเหนือ และตำบลสบตุ๋ย พัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงสังคมในเมืองเกา่ นครลำปาง แบ่ง
ออกเป็น ๔ ยคุ ด้วยกันคอื ยคุ เมืองโบราณพันปี ยุคชุมชนนานาชาติ ยคุ รถไฟมาถึงนครลำปาง
และยคุ หลังสงครามโลกคร้ังที่ ๒ ถงึ ปัจจุบัน พฒั นาการของเมืองเก่านครลำปางมีดังน้ี

ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองเกา่ นครลำปาง

7
แผนท่ีเมืองเก่านครลำปาง (เมืองเขลางค์) รุ่นที่ ๑
แผนท่เี มืองเกา่ นครลำปาง (เมอื งเขลางค์) รุ่นท่ี ๒

8

แผนท่ีเมอื งเก่านครลำปาง (เมืองเขลางค์) รุ่นที่ ๓

ยคุ เมอื งโบราณพนั ปี

ในพื้นท่ีเมืองเกา่ นครลำปางแบ่งออกเป็นเมืองถึง ๓ รุ่นโดยมีการสร้างคนละชว่ งเวลากัน
ไดแ้ ก่ เมืองรนุ่ ที่ ๑ เปน็ เมอื งในยคุ อาณาจักรหริภญุ ไชยซ่ึงมีวัดพระแกว้ ดอนเต้าสชุ าดารามเปน็
ศูนยก์ ลาง ส่วนเมืองเก่ารุ่นท่ี ๒ เปน็ เมืองทสี่ ร้างในยคุ ของอาณาจักรลา้ นนาโดยมีศูนย์กลาง
บรเิ วณวัดปงสนกุ และเมืองรุน่ ท่ี ๓ มศี ูนย์กลางอยทู่ วี่ ดั บญุ วาทยว์ หิ ารสร้างในช่วงตน้ กรุง
รัตนโกสนิ ทร์

เมืองเก่านครลำปางรุ่นที่ ๑ เดิมชอ่ื “เมืองเขลางค์นคร” ซ่ึงจากเอกสารประเภทตำนาน
และหลักฐานโบราณคดียืนยันว่าเปน็ เมืองร่วมสมัยกบั อาณาจกั รหรภิ ุญไชยถอื เป็นเมืองใหญ่แห่ง
หนึ่งในล้านนาหรือภาคเหนือตอนบน เมืองเขลางค์นครถือเป็นเมืองรุ่นแรกของจังหวัดลำปาง
ต้ังอยู่ริมแม่น้ำวัง ตามตำนานจามเทวีวงศ์เล่าว่า พระนางจามเทวี กษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญ
ไชยได้โปรดให้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่๑๔ เพ่ือให้พระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสองค์ที่ ๒
ของพระองค์มาปกครอง ในขณะที่อาณาจักรหริภุญไชยมีอำนาจ (พระโพธิรังสี,๒๕๕๕) เมือง
เขลางค์นครจึงเปน็ เมืองสำคญั รองจากอาณาจกั รหริภญุ ไชย

ภายในเมอื งเกา่ นครลำปางรุ่นท่ี ๑ หรือเมืองเขลางค์นคร มีกำแพงเมอื งที่มไิ ด้เป็นรูป
ส่ีเหล่ยี ม แตเ่ ป็นรูปคดเค้ียวมลี กั ษณะคลา้ ยรูปหอยสังขอ์ นั เป็นรูปแบบเมอื งโบราณแตเ่ ดิมวัด
โดยรอบราว ๔,๔๐๐ เมตร ครอบคลุมพ้นื ท่ปี ระมาณ ๖๐๐ ไร่ (ศกั ดิ์ รตั นชยั ,๒๕๑๒) มปี ระตู
เมอื งสำคัญหลายแหลง่ ท่ียังคงหลงเหลือรอ่ งรอยมาถึงปจั จบุ นั เช่น ประตูม่า เปน็ ต้น เป็นพืน้ ท่ี
ท่ีชาวชมุ ชนนับถือผอี ย่างหนาแน่นกว่าบรเิ วณอื่นไดป้ รากฏประเพณีฟอ้ นผซี ึ่งเป็นประเพณีที่
เป็นอัตลกั ษณ์สำคัญของลำปาง สนั นิษฐานว่า เมืองเขลางค์นครมีเจา้ เมืองปกครองสบื มาราว
๕๐๐ ปี ก่อนท่ีจะลดบทบาทพร้อมกบั การล่มสลายของอาณาจกั รหริภญุ ไชยที่ตอ่ มาได้ถกู พญามัง

9
รายแหง่ อาณาจกั รลา้ นนาซ่งึ มีศูนย์กลางทเี่ มืองเชยี งใหมย่ ึดครองจนกลายเปน็ สว่ นหน่งึ ของ
อาณาจกั รลา้ นนา (ภิญญพันธ์ุ พจนะลาวณั ย์,๒๕๕๙)

กำแพงเมอื งเก่านครลำปางรุน่ ที่ ๑ บรเิ วณประตมู า่ (มา้ )
เมอื งลำปางเก่านครลำปางรนุ่ ท่ี ๒ มีชอื่ วา่ “เมืองนคร หรอื เวยี งละคร” ตัง้ อยู่ด้านทิศ
ใต้ของเมืองเขลางค์นคร มกี ำแพงยาวประมาณ ๑,๑๐๐ เมตรและพน้ื ทีป่ ระมาณ ๑๘๐ ไร่
สนั นิษฐานว่าเป็นเมอื งท่ีสร้างขึน้ ในสมยั ที่อาณาจักรลา้ นนาไดแ้ ผ่อทิ ธิพลเข้ามา ทำใหห้ ลายเมืองใน
ภมู ิภาคนี้รวมท้งั เมืองนครไดย้ กอยู่ภายใตอ้ ิทธพิ ลของอาณาจกั รล้านนา โดยมีศูนยก์ ลางอยทู่ ว่ี ัด
ปงสนกุ เมืองนครไดม้ ีเหตกุ ารณ์สำคญั เช่น ในปี พ.ศ.๑๙๗๙ ชว่ งที่พญาสามฝง่ั แกนปกครอง
อาณาจกั รล้านนาซง่ึ ตรงกบั ช่วงท่หี มื่นโลกนครเป็นเจ้าเมืองลำปาง พญาสามฝงั่ แกนไดท้ ราบข่าว
การพบพระแกว้ มรกตหรอื พระพทุ ธมหามณีรัตนปฏิมากรซึง่ ปจั จบุ นั ประดิษฐานอยทู่ ่วี ดั พระศรี
รตั นศาสดารามหรอื วดั พระแกว้ กรงุ เทพมหานคร จึงโปรดใหอ้ ัญเชิญพระแก้วมรกตมา
ประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ ในตำนานพน้ื เมอื งเชยี งใหมก่ ล่าวถงึ เรือ่ งน้ีวา่ แตค่ รั้นออก
เดินทางช้างที่อญั เชญิ พระแก้วมรกตก็มาหยุดที่เมืองนคร หม่นื โลกนคร เจ้าเมืองลำปางจึงขอทลู
ขอใหพ้ ระแกว้ มรกตมาประดิษฐาน ณ วดั พระแกว้ ดอนเต้าสุชาดารามในปัจจบุ นั และอยทู่ ่ีนี่นาน
กวา่ ๓๒ ปี (อรณุ รัตน์ วเิ ชียรเขยี วและเดวดิ เค.วัยอาจ,๒๕๔๓) ซ่ึงสะท้อนถงึ อำนาจทาง
การเมอื งของเมืองนครทีส่ ามารถต่อรองกับเชยี งใหมไ่ ด้ เพราะเป็นทที่ ราบกันดีว่า พระแกว้ มรกต
เปน็ พระพุทธรูปทีเ่ ปน็ สญั ลักษณท์ างการเมอื งสะท้อนถงึ อำนาจของเมอื งท่เี ปน็ ทีป่ ระดิษฐานของ
พระแก้วมรกต
เมอื่ พม่าและกรุงศรีอยุธยาไดแ้ ผ่อิทธิพลเข้ามาแทนทอ่ี าณาจกั รล้านนา ต้ังแต่ราว พ.ศ.
๒๑๐๑ เมืองนครกส็ ลบั ไปอย่ภู ายใตอ้ ำนาจของมหาอำนาจทง้ั สองฝา่ ย โดยเฉพาะเป็นเมอื งขึ้น
ของพมา่ กว่า ๒๐๐ ปี และในช่วงต้นกรุงธนบรุ นี ัน้ เมอื งนครก็ได้รบั ความช่วยเหลอื จากสยามใน
การต้งั ตัวเป็นอิสระออกจากอำนาจของพม่า โดยมี “หนานทพิ ย์ชา้ ง” หรือ “พ่อเจา้ ทพิ ยช์ ้าง”
ต่อมาได้รบั การสถาปนาเป็น “พญาสุลวฤาไชยสงคราม” ถอื เป็นวรี บรุ ษุ คนสำคญั ทีท่ ำให้เมอื ง

10

นครพน้ จากอำนาจของพม่า และเป็นตน้ สกุล “เจา้ เจ็ดตน้ ” ซง่ึ เป็นกลมุ่ ผปู้ กครองใหม่ทปี่ กครอง
เมอื งสำคัญของภาคเหนอื ตอนบนในสมยั รัตนโกสนิ ทร์ ได้แก่ เมอื งเชียงใหม่ เมืองลำปาง และ
เมอื งลำพนู (มงคล ถูกนกึ , ๒๕๕๕) จนต่อมาได้รบั พระราชทานนามสกุลเป็น ณ เชยี งใหม่ ณ
ลำปาง และ ณ ลำพนู
ภายหลังจากทีพระยากาวลิ ะ หรอื ต่อมาไดร้ ับการแต่งตงั้ จากสยามให้เปน็ พระเจา้ กาวลิ ะ
ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปางและภายหลังไดร้ ับแตง่ ตั้งให้เปน็ เจา้ ผู้ครองนครเชยี งใหม่ได้
เขา้ สวามภิ ักดิ์ต่อสยามในสมัยกรงุ ธนบรุ แี ละกรงุ รตั นโกสินทร์ตอนต้นตามลำดบั ทำใหเ้ มือง
ลำปางและเมอื งอ่ืนๆ ในภาคเหนือตอนบนตกเป็นประเทศราชหรือเมอื งขึ้นของสยามไปดว้ ย ใน
สมยั พระยาคำโสม ดำรงตำแหน่งเปน็ เจ้าผ้คู รองนครลำปางตอ่ จากพระเจา้ กาวิละ ตรงกบั สมัย
รัชกาลท่ี ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทรไ์ ดย้ า้ ยเมืองนครไปต้งั ใหมย่ งั ฝ่งั ตะวันออกของแมน่ ้ำวงั โดยมี
วัดหลวงกลางเวยี งหรอื วัดบญุ วาทยว์ ิหารในปจั จบุ นั เป็นศูนย์กลาง มีเน้ือทีป่ ระมาณ ๓๕๐ ไร่
ในชว่ งต้นรัตนโกสนิ ทรจ์ ะรู้จักกนั ในช่ือของ “เมอื งนครลำปาง” และช่วงทีเ่ จริญทสี่ ดุ คอื สมัยของ
พระเจ้าดวงทพิ ย์ หรือพระเจา้ หอคำดวงทพิ ย์ได้มกี ารสร้างกำแพงเมืองและหอคำอนั เปน็
สัญลกั ษณ์สำคัญเป็นเกยี รตยิ ศของเจ้าผู้ครองนครซึ่งพระเจา้ ดวงทพิ ยถ์ ือเป็นเจ้าผู้ครองนคร
ลำปางเพยี งคนเดียวทไ่ี ดร้ ับการสถาปนาบรรดาศกั ดเ์ิ ปน็ ช้นั “พระเจา้ ” จากสยามซึง่ มีฐานะเทียบ
ไดก้ ับขนุ นางช้ัน “เจ้าพระยา” (ภูเดช แสนสา, ๒๕๕๖)
จะเห็นได้ว่าเมืองนครลำปางนับตั้งแต่สมยั พระเจ้ากาวลิ ะ เป็นต้นมาถือเป็นเมืองประเทศ
ราชหรือเมืองข้ึนของสยาม เจ้าผู้ครองนครจึงมีฐานะเป็นขุนนางหรือข้าราชการของสยาม มิได้มี
ฐานะเป็นกษัตริย์แต่ประการใด การแต่งตั้งบรรดาศักด์ิของเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายช้ันผู้ใหญ่
ในระดับรองลงมาต้องได้รับความเห็นชอบและแต่งต้ังโดยสยามทั้งสิ้น เมืองนครลำปางและ
เมืองน้อยใหญ่ในล้านนาได้ค่อยถูกผนวกรวมกันเข้าเป็นส่วนหน่ึงของสยามโดยกระบวนการทุก
รูปแบบทงั้ ทางการเมือง เศรษฐกจิ สังคมและการศกึ ษา ทำให้อำนาจที่เจ้าผคู้ รองนครมีแต่เดิม
กลายมาเป็นข้าราชการซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐสยาม จนกระทั่งเกิดการปฏิรูปการปกครองแบบ
มณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลท่ี ๕ ทำให้เมืองนครลำปางมีฐานะเป็น “เมือง” ท่ีเป็นส่วนหนึ่ง
ของมณฑลพายัพหรือมณฑลลาวเฉียง จนกระท่ังในเวลาต่อมาทำให้ระบบเจ้าเมืองถูกยกเลิกไป
ในท่ีสุด โดยมีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางคนสุดท้าย และมีการแต่งตั้งให้
ผู้ว่าราชการจังหวดั ซงึ่ เปน็ ข้าราชการจากสยามมอี ำนาจสงู สดุ ในการบริหารบ้านเมอื ง

ยคุ ชมุ ชนนานาชาติ
ล้านนาหรอื ภาคเหนอื ตอนบนเปน็ พ้นื ทซ่ี ึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้
โดยเฉพาะมีไม้สักท่มี ีมูลคา่ สูงทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก มีทำใหเ้ กิดธุรกิจการสมั ปทานป่าไม้
เริ่มขึ้นหลังจากท่อี งั กฤษได้ยึดหวั เมืองมอญในพมา่ ราวปพี .ศ.๒๓๘๓ แล้วขยายมาสภู่ าคเหนือ
ตอนบนเพราะความอดุ มสมบูรณข์ องทรพั ยากรป่าไม้ในบรเิ วณนี้ได้ดึงดดู ให้ชาวองั กฤษและคนใน
บงั คับองั กฤษเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในระยะแรกของการทำสมั ปทานปา่ ไม้น้ันไม่มี
กฎหมายแนน่ อนเพราะทรัพยากรปา่ ไมม้ ิใชท่ รัพยากรทมี่ ลู คา่ ในทางเศรษฐกจิ การอนุญาตให้เข้า
มาทำป่าไม้จึงข้นึ อยู่กบั เจ้านายในล้านนาเปน็ สำคญั ต่อมาไดเ้ กิดปัญหาการอนญุ าตให้ทำป่าไมม้ ี
การทบั ซอ้ นพ้นื ที่กนั จนเกิดการฟอ้ งรอ้ งถึงรัฐบาลสยามท่ีกรงุ เทพมหานคร จึงเกิดขอ้ ตกลงที่
ชัดเจนเรียกว่า “สนธสิ ัญญาเชยี งใหม่” ในปี พ.ศ.๒๔๒๖ (สรสั วดี ออ๋ งสกลุ ,๒๕๕๙)

11

การชุมนมุ ของเจา้ หนา้ ทกี่ งสุลองั กฤษและคนในบังคับอังกฤษ
ณ สถานกงสลุ องั กฤษประจำนครลำปาง (ในอดีต)
เอ้อื เฟอ้ื ภาพ : ทายาทของคณุ หญงิ วลยั ลีลานชุ

เมืองนครลำปางนับเป็นเมืองใหญ่ท่ีสุดแห่งหน่ึงของธุรกิจทำไม้ในภาคเหนือตอนบน
ไดม้ ีชาวอังกฤษและคนในบังคบั อังกฤษเขา้ มาทำธุรกิจปา่ ไม้ ตลอดจนมผี ู้คนหลากหลายชาตพิ ันธ์ุ
เช่น พม่า มอญ ไทใหญ่ กำมุ (ขะมุ) จีน อินเดีย และคนพื้นเมือง เข้ามาทำการค้าขายทั้งทางน้ำ
การคา้ วัวต่าง และทำธุรกจิ ปา่ ไม้อยา่ งคึกคัก ขณะนั้นมีศูนย์กลางการค้าที่สำคัญอยทู่ ่ีตลาดจนี หรือ
กาดกองต้า นอกจากนี้ยังมีมิชชันนารีจากอเมริกาเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาอีกด้วยทำให้เมือง
ลำปางในช่วงเวลานั้นกลายเป็นชุมชนนานาชาติกว็ า่ ได้

กลุ่มคนองั กฤษถือเป็นชนช้นั สูงท่ีมีอำนาจ อิทธิพลและสถานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งมัก
มตี ำแหนง่ เป็นผ้จู ดั การบรษิ ทั ปา่ ไม้และผชู้ ่วยผ้จู ดั การบรษิ ทั โดยมบี รษิ ทั ธุรกจิ ป่าไม้ขององั กฤษ
มาตง้ั ที่เมอื งนครลำปางถึง ๔ แหง่ ได้แก่ บริษัทบรติ ิชบอร์เนียว จำกดั บริษทั บอมเบย์เบอร์มา
จำกัด บริษัทสยามฟอเรสต์ จำกัด และบริษัทหลุยส์ ทีเลียวโอโนเวนส์ จำกัด บริษัทเหล่าน้ีมีทุน
และอำนาจทางการเมืองมหาศาล ถึงขั้นมีการต้ังสถานกงสุลอังกฤษประจำนครลำปางเพื่อดูแล
ผลประโยชน์จากการทำธุรกิจป่าไม้และช่วยเหลือชาวอังกฤษและคนในบังคับองั กฤษในเรื่องต่างๆ
ซึ่งสะท้อนถึงฐานะและความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของเมืองนครลำปางอย่างมาก
(กนกวรรณ อู่ทองทรพั ย์,๒๕๕๘)

นอกเหนือจากกลุ่มคนอังกฤษยังมีกลุ่มคนพม่าและไทใหญ่ท่ีเป็นกลุ่มคนสำคัญท่ีมี
บทบาทไม่น้อยในสังคมลำปาง กลุ่มคนพม่าและไทใหญ่มีฐานะเป็นคนในบังคับของอังกฤษ
เน่ืองจากประเทศพม่าในขณะนั้นได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ กลุ่มคนพม่าและไท
ใหญ่จึงมาทำงานในฐานะของลูกจ้างในบริษัทป่าไม้และด้วยความขยันขันแข็งต่อมากลุ่มคนพม่า
และไทใหญ่ได้รับการแบ่งงานในการทำสัมปทานป่าไม้จากบริษัทป่าไม้ให้ไปรับผิดชอบเอง จึงได้มี
โอกาสสัง่ สมทุนจนกระทั่งมีฐานะกลายเปน็ “พ่อเล้ียงไม้” บุคคลสำคญั ทางเศรษฐกิจและสังคม
ของเมืองนครลำปางจำนวนหลายคน เช่น พ่อเลยี้ งหมอ่ งจนั โอง ต้นสกลุ จนั ทรวิโรจน์ ผู้สร้างบ้าน
เสานัก สถานท่ีท่องเท่ียวที่มีชื่อเสียงในย่านท่ามะโอ พ่อเล้ียงหม่องส่วยอัตถ์ ต้นสกุลสุวรรณ

12
อัตถ์ ผู้นำในการสร้างวัดป่าฝาง พ่อเลี้ยงหม่องโพมินทร์ ต้นสกุลวงศ์พรหมมินทร์ ผู้นำในการ
สร้างวัดป่ารวก เป็นต้น เกิดชุมชนของชาวพม่าขึ้นบริเวณย่านท่ามะโอ เกิดชุมชนไทใหญ่ย่านป่า
ขาม และเกิดการสร้างวัดศิลปกรรมแบบพม่าและไทใหญ่ข้ึนจำนวนกว่า ๑๐ แห่ง เช่น วัดศรีชุม
วัดท่ามะโอ วัดศรีรองเมอื ง วัดปา่ ฝาง วัดจองคา วัดม่อนจำศลี วัดม่อนปูย่ ักษ์ วดั ป่ารวก เป็น
ต้น จนเมืองนครลำปางได้ช่ือว่าเป็นเมืองที่มีวัดศิลปกรรมแบบพม่าและไทใหญ่มากที่สุดใน
ประเทศไทย

ทอ่ นซงุ หลายหมนื่ ทอ่ นลอยอยู่กลางแม่น้ำวงั
เอ้อื เฟ้ือภาพ : อาจารย์สุวภรณ์ ชโู ต

ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีมีความสำคัญในธุรกิจป่าไม้อีกลุ่มหน่ึงคือ กลุ่มคนกำมุ หรือคน
พ้ืนเมืองในเมืองนครลำปางเรียกกันว่า “ขะมุ” เป็นชนกลุ่มน้อยในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาวท่ีเข้ามาเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อมารับจ้างเป็นแรงงานในการทำธุรกิจป่าไม้ในบริษัทป่าไม้
ของอังกฤษและประเทศเจ้าอาณานิคม โดยมีนายหน้าพาเข้ามาเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่มักมีสัญญา
เป็นรายปีและจะกลับถิ่นฐานเดิมเมื่อหมดสัญญาหรือบางคนก็แต่งงานกับคนพ้ืนเมืองและตั้ง
รกรากอาศัยอยู่ในเมืองนครลำปางจนมีเชื้อสายสืบถึงปัจจุบัน กลุ่มคนกำมุมีความอดทนสูงต่อ
ความยากลำบากจึงเหมาะแก่การทำป่าไม้ในป่าลึกและที่สำคัญมีค่าแรงถูกกว่ากลุ่มคนอื่นๆ เป็นท่ี
น่าสังเกตว่ามีธุรกิจการทำป่าไม้เป็นการดำเนินงานของกลุ่มคนอังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
ตลอดจนมีกลุ่มคนกำมุมาช่วยเป็นแรงงาน โดยมิได้มีคนพื้นเมืองเข้ามาร่วมในธุรกิจนี้เลย
เนื่องจากเป็นธุรกิจท่ีต้องทำงานหนักและเผชิญต่อความยากลำบาก จึงไม่เป็นท่ีนิยมของคน
พ้ืนเมอื ง (ภญิ ญพันธ์ พจนะลาวัณย,์ ๒๕๕๘)

ในสังคมลำปางช่วงเวลานั้นยังมีกลุ่มคนจีนซ่ึงอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่ หรือ
สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาค้าขายทางน้ำโดยเดินทางมาพร้อมกับเรือสินค้า คนจีนรุ่นแรกท่ีเข้า
มาในเมืองนครลำปางเป็นจีนไหหลำ ถัดมาเป็นจีนแคะ และกลุ่มอ่ืนๆ เมื่อการคมนาคมเร่ิมเจริญ
ข้ึนได้มีกลุ่มคนจีนจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาในประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมากหลายระลอก

13
ด้วยกัน โดยเฉพาะกล่มุ คนจนี แต้จ๋วิ เขา้ มาค้าขายในเมืองนครลำปางและส่วนมากก็จะอยู่บริเวณ
ตลาดจีนหรอื เรยี กอีกชอื่ หนงึ่ วา่ กาดกองต้า

จึงเห็นได้ว่าชว่ งรอ้ ยกว่าปที ี่ผา่ นมาสงั คมลำปางได้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาอยู่
รว่ มกัน มีความสัมพันธ์ในเรื่องการดำเนินชีวิต การค้าขาย และการทำธุรกิจป่าไม้ เกิดมีตลาดจีน
หรือกาดกองต้าเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เรายังพบเห็นร่องรอยของอดีตได้จากอาคารเก่า
หลายหลังในบริเวณตลาดจีนท่ีมีทั้งศิลปะแบบตะวันตกผสมผสานแบบจีนและพม่าอย่างลงตัว
และฝั่งตรงกันข้ามของตลาดจีนก็ยังมีชุมชนชาวคริสเตียนที่ได้สร้างโรงพยาบาลและโรงเรียน
แบบต่างประเทศไว้ให้กับเมืองนครลำปาง จึงกล่าวได้ว่า เมืองนครลำปางในช่วงร้อยกว่าปีท่ีผ่าน
มาเปน็ เมอื งชุมชนนานาชาตซิ ึง่ เปน็ ผู้กำหนดทศิ ทางและความเป็นไปของเมืองนครลำปาง

ยคุ รถไฟมาถงึ นครลำปาง

ความเจรญิ จากกรุงเทพมหานครไดเ้ ข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองนครลำปางอย่างขนานใหญท่ ั้ง
ทางเศรษฐกจิ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ในวันท่ี ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๙ รถไฟสายเหนอื
ไดม้ าถงึ สถานีปลายทาง “นครลำปาง” ซงึ่ เปน็ สถานีปลายสดุ ของภาคเหนือตอนบนในขณะนัน้
เน่อื งจากการสรา้ งเสน้ ทางรถไฟยังไปไม่ถงึ เมอื งเชียงใหม่เพราะติดขดั ในเรอื่ งการเจาะอุโมงค์ขุน
ตานซง่ึ ใช้เวลานานมากถึงกวา่ ๖ ปี โดยสถานเี ชียงใหมเ่ ปิดให้บริการในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ทำใหใ้ น
ชว่ งเวลา ๖ ปีกอ่ นท่ีรถไฟจะไปถงึ เมอื งเชยี งใหม่น้ัน เมืองนครลำปางกลายเป็นเมอื งทมี่ ีความ
คกึ คักทางเศรษฐกิจ สงั คมและวัฒนธรรมมากท่ีสุดในภาคเหนอื ตอนบน เมืองนครลำปางจงึ เปน็
เมืองทันสมัยแบบบางกอกหรอื กรุงเทพมหานคร จนเกิดเป็นสำนวนวา่ “คนงามลำพนู คนใจบุญ
เชยี งใหม่ คนทนั สมยั ลำปาง”

เมอื งนครลำปางในชว่ งเวลานี้ความเจริญและคึกคกั ของผคู้ น และการคา้ ขายไปเคลอ่ื นย้าย
ทางตลาดจีนหรอื กาดกองต้ามาท่บี ริเวณสบตยุ๋ หรือกค็ ือยา่ นหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง สบตยุ๋
จงึ กลายเปน็ พืน้ ทที่ างเศรษฐกิจแหง่ ใหม่ของลำปางในช่วงปพี .ศ.๒๔๕๙ นอกจากรถไฟจะนำความ
เปลี่ยนแปลงท่ีสำคัญทางเศรษฐกิจ สงั คม การเมืองและวฒั นธรรมแล้วได้นำสัญลักษณท์ ีส่ ำคัญ
ของเมืองนครลำปางจากกรุงเทพมหานครมาให้กับเมืองนครลำปางนั่นกค็ อื “รถม้า” ซึ่งในช่วง
เวลาน้นั กรงุ เทพมหานครไมเ่ ป็นนยิ มแลว้ เพราะมีรถยนต์เข้ามาใช้ รถม้าจงึ ถกู ส่งไปตามหัวเมอื ง
ต่างๆ มขี ้อสนั นษิ ฐานอยู่ ๒ ทาง ทางแรกบอกวา่ กอ่ นรถไฟจะมาถงึ เมอื งนครลำปาง รถมา้ เปน็
ของใชส้ ว่ นตัวของหมู่เจา้ นาย ฝร่งั ทำปา่ ไม้ หรือผ้มู ฐี านะ เชื่อกนั วา่ รถมา้ คันแรกคือ รถม้าของเจ้า
บญุ วาทยว์ งศ์มานิต เจา้ ผู้ครองนครลำปางคนสุดทา้ ย แตอ่ กี ข้อสนั นิษฐานหนงึ่ เหน็ ว่า รถมา้ มา
พร้อมกบั รถไฟ และมชี าวปากีสถานมาเปน็ สารถแี ละผู้ดูแลม้า ต่อมาชาวปากสี ถานได้ขายรถม้าตอ่
ให้คนในเมอื งนครลำปาง (ชยั วฒั น์ ศภุ ดิลกลักษณ์, ๒๕๕๑)

ในระยะแรกรถม้าได้เปน็ รถมา้ แท็กซ่ีใช้รับจา้ งวงิ่ รบั สง่ ผคู้ นและสินค้าจากสถานีรถไฟนคร
ลำปางไปสูต่ วั เมืองในระยะทางราว ๔ กโิ ลเมตร รถม้าบรรทุกของได้มากและเดินทางได้รวดเรว็
กวา่ ม้าต่าง วัวต่าง และเกวียน ตอ่ มารถม้าได้ขยายบริการรับส่งผู้คนระหวา่ งผ้คู นจากชมุ ชนตา่ งๆ
จนได้กลายมาเป็นเอกลกั ษณ์ทเ่ี ด่นของเมอื งนครลำปางในทกุ วันนี้ แต่รถมา้ ในปัจจบุ นั เป็นพาหนะ
เพือ่ การทอ่ งเท่ียว มากกว่าการใชเ้ ดินทางตามปกติเหมือนเชน่ ร้อยกว่าปีท่ผี ่านมา

14

บริเวณหนา้ สถานรี ถไฟนครลำปาง ราวปี พ.ศ.๒๔๕๙
เออ้ื เฟ้ือภาพ : หอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ

ก่อนหนา้ ปี พ.ศ.๒๔๕๙ ที่รถไฟจะมาถึงเมอื งนครลำปางนัน้ มยี า่ นการคา้ ขายอย่ทู ต่ี ลาด
จนี หรอื กาดกองตา้ เชงิ สะพานรัษฎาภิเศกฝ่ังตะวันออกของแมน่ ำ้ วัง โดยจะมีเรือสินคา้ จากปากนำ้
โพ จงั หวัดนครสวรรค์มาจอดเทียบท่าเพอื่ แลกเปลย่ี นสินค้ากบั พอ่ คา้ ววั ตา่ งจากทางเหนือของ
ไทย เช่น เชยี งตงุ จีนตอนใต้ เปน็ ต้น และเรอื สินค้าจากเมอื งลำปางก็ลอ่ งไปแลกเปล่ียนสินค้าท่ี
ปากนำ้ โพและขนสินค้ากลับมาขายในเมืองลำปาง ทำใหต้ ลาดจีนเปน็ ทา่ เรือที่มคี วามคึกคกั ทีส่ ุด
แหง่ หนึ่งในภาคเหนือตอนบน นอกเหนอื จากท่าเรือหน้าวดั เกตุการามท่ีเมอื งเชียงใหม่ เมื่อรถไฟ
มาถงึ ลำปางไดน้ ำสนิ คา้ เป็นจำนวนมากซง่ึ ขนส่งไดง้ า่ ยและรวดเร็ว จึงเกดิ ตลาดริมทางรถไฟ
บริเวณต้นขะจาวใหญ่ เป็นทีร่ ู้จักกันในนามของ “กาดเก๊าจาว” และบรเิ วณใกล้สถานีรถไฟมีพอ่ ค้า
แมค่ า้ ปลูกสร้างบา้ นเรือนและอาคารพาณชิ ย์เป็นสถาปัตยกรรมรว่ มสมัยไทยผสมตะวนั ตกถอื
เปน็ ยา่ นการคา้ ทีส่ ำคญั ของเมอื งลำปาง รูจ้ กั กันในช่ือของ ยา่ นสบต๋ยุ

อย่างไรกต็ ามความคึกคักของย่านสบตุ๋ยเกิดขนึ้ ในชว่ งระยะเวลาหนึ่งท่กี ารสร้างเส้นทาง
รถไฟสายเหนือไปยงั ไมถ่ ึงเชียงใหม่ เนือ่ งจากใช้เวลาเจาะอุโมงคข์ ุนตาน ภายหลงั เมอื่ อโุ มงคข์ นุ
ตานเจาะสำเรจ็ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ และได้มกี ารเปิดใชส้ ถานีรถไฟนครเชยี งใหม่ไดท้ ำใชป้ ลายทาง
ของสถานรี ถไฟสายเหนือไปถึงยงั เมอื งเชยี งใหมซ่ งึ่ เปน็ เมืองใหญท่ ่สี ดุ ทางเศรษฐกจิ สงั คมและ
การเมืองของภาคเหนอื ตอนบนมาตั้งแตอ่ ดีต สง่ ผลใหค้ วามคกึ คกั ทางเศรษฐกิจของยา่ นสบตุย๋
คอ่ ยลดลงตามลำดบั จนหลายสงิ่ หลายอยา่ งทเี่ คยอยู่ทเี่ มอื งนครลำปางได้ย้ายไปยังเมอื ง
เชียงใหม่ในท่ีสุด

นบั ตั้งแตป่ ี พ.ศ.๒๔๗๐ เปน็ ต้นมา บรรยากาศของเมอื งลำปางมีความร่นื รมย์ การ
ชมภาพยนตรถ์ ือเป็น“แฟชน่ั ”อยา่ งหน่ึง โรงภาพยนตร์สมยั แรกในเมอื งลำปางมี ๒ โรงคือ โรง
ภาพยนตร์ตงก๊ก เจ้าของเปน็ ชาวแต้จิว๋ ฉายหนังจนี และหนงั ฝรัง่ และโรงภาพยนตร์พัฒนากร
เจ้าของเป็นคนไทย ฉายหนังไทยและหนังคาวบอยที่วยั รุ่นชนื่ ชอบ โรงภาพยนตรท์ ้ัง ๒ แห่งตง้ั อยู่
บนถนนเจริญนคร (เชอื่ มระหวา่ งถนนบญุ วาทย์กบั ถนนทิพช้าง) ซง่ึ ถือเปน็ ยา่ นท่ที ันสมัยท่ีสดุ ใน
เมืองลำปางยุคนั้น มีร้านคา้ ชนั้ นำสารพัดชนิดไมเ่ ว้นแมแ้ ต่รน่ ถา่ ยรปู และอซู่ ่อมรถซึง่ ถือเป็นสิ่ง

15
ท่พี เิ ศษสำหรับผ้มู ีฐานะในสมัยน้นั เรียกไดว้ า่ มีผคู้ นพลุกพลา่ นอยใู่ นย่านนต้ี ลอดทง้ั วนั ต่อมา
นายทองเข็ม สทิ ธิพงศ์ ไดซ้ ้ือกิจการโรงภาพยนตรแ์ ละเปล่ียนชือ่ โรงภาพยนตรต์ งก๊กมาเป็น
“เฉลมิ วัฒนา” และโรงภาพยนตร์พัฒนากรเปน็ “เวียงเหนือ” กิจการโรงภาพยนตรด์ ำเนินมา
จนถึงราว พ.ศ.๒๕๓๐ จึงขายใหน้ กั ธรุ กจิ รายหน่ึงตอ่ มาไดส้ รา้ งเปน็ หา้ งสรรพสินค้าเสรี (ภิญญ
พันธ์ุ พจนะลาวัณย์,๒๕๕๙)

ความเจริญทางเศรษฐกิจของเมืองลำปางในช่วงเวลานนั้ ทางธุรกิจปา่ ไม้ ยาสูบ และ
การคา้ ฝนิ่ ทำใหเ้ กดิ ธนาคารแห่งแรกในเมืองลำปางในปี พ.ศ.๒๔๗๓ คอื บริษัทแบงก์สยามกมั
มาจล ทุนจำกัด สาขาลำปาง หรอื ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำปางในปัจจบุ ัน
ตงั้ อยบู่ นถนนฉตั รไชยเพือ่ รองรับเงินหมุนเวียนสะพัดจากธรุ กจิ ต่างๆ ในจังหวัดลำปาง ช่วงแรก
ผ้จู ดั การธนาคารเป็นชาวต่างประเทศตอ่ มาหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดตี นายกรัฐมนตรี
ของไทยมาเป็นผู้จัดการชาวไทยคนแรกได้เป็นผู้จดั การในยุครอยตอ่ ชว่ งสงครามโลกครง้ั ที่ ๒
ยาวนานถงึ ๘ ปี (พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๘๖)

อาคารสำนักงานของบริษทั แบงกส์ ยามกมั มาจล ทุนจำกดั สาขาลำปาง
หรอื ธนาคารไทยพาณชิ ย์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำปางในปัจจุบนั

เอ้ือเฟ้อื ภาพ : อาจารย์สุวภรณ์ ชโู ต
ในชว่ งการเปล่ียนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รชั กาลที่ ๗ ได้พระราชทานรฐั ธรรมนูญฉบับแรกใหแ้ ก่ชาวไทย จงึ ไดม้ กี ารจดั งานฉลอง
รฐั ธรรมนญู ขึ้นที่บริเวณสวนสราญรมย์ กรงุ เทพมหานครในปเี ดยี วกนั ต่อมาในปพี .ศ.๒๔๗๗
รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีไดจ้ ัดงานฉลองรฐั ธรรมนญู อย่างย่งิ ใหญ่
มีการิเร่ิมจดั การประกวดนางงามขึ้นครง้ั แรก ในชื่อ “นางสาวสยาม” ตอ่ มาเมื่อประเทศสยาม
เปลย่ี นไปใชช้ อื่ วา่ “ประเทศไทย” ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พบิ ลู สงคราม ช่ือของการ
ประกวดก็เปลี่ยนเปน็ “นางสาวไทย” ซง่ึ เปน็ ตน้ แบบของการจดั งานฉลองรัฐธรรมนญู และงาน
ฤดหู นาวทวั่ ประเทศ จังหวัดลำปางไดม้ กี ารจัดงานฉลองรัฐธรรมนญู และงานฤดหู นาว ณ สนาม
กีฬาโรงเรียนบญุ วาทย์วทิ ยาลยั ในงานมกี ารออกรา้ น ประกวดนางสาวลำปาง และประกวดชาย

16

งามอย่างคกึ คัก ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ จงั หวัดลำปางมีนางสาวลำปางคนแรก ชอ่ื นางสาวตว้ิ หล่ัน แซ่
จาง (เตียวตระกูล) การประกวดนางงามนับเปน็ สัญลักษณ์ของการเข้าสู่ยคุ ประชาธปิ ไตยของ
ผหู้ ญงิ ลำปางทเ่ี คยมีธรรมเนียมปฏิบัตวิ ่า “คนธรรมดาจะงามสู้เจ้านายไม่ได”้ ลงอย่างสน้ิ เชงิ
(กนกวรรณ อ่ทู องทรัพย์, ๒๕๕๖)
เมื่อประเทศไทยเข้าสรู่ ะบบการปกครองในระบอบประชาธปิ ไตย การกระจายอำนาจใน
ลักษณะการบริหารราชการสว่ นทอ้ งถน่ิ จงึ เกิดข้นึ ในทุกภูมิภาคของประเทศ เทศบาลเมืองลำปาง
ได้ถกู ตั้งข้นึ ในพ.ศ.๒๔๗๘โดยการยกฐานะจากสุขาภิบาลอำเภอเมอื งลำปาง ระยะแรก
ครอบคลมุ พน้ื ที่ ๑๐.๘๖ ตารางกิโลเมตร อาศัยศาลาว่าการจังหวดั ในพื้นทีข่ องคุ้มเจ้าหลวงเดิม
เปน็ ทีท่ ำการ มีขุนมลารักษ์ระบิน (แพ อนิ ทภ่)ู เปน็ นายกเทศมนตรีเมอื งลำปางคนแรก ต่อมา
ได้เชา่ ตกึ หา้ งบตั เล่อรเ์ ปน็ ทีท่ ำการจนถึง พ.ศ.๒๕๐๐ จงึ ไดส้ รา้ งท่ที ำการใหม่บรเิ วณห้าแยก
เชยี งราย เป็นอาคารคอนกรีตสองชน้ั ในปจั จุบันมฐี านะเป็นเทศบาลนครลำปาง นบั ได้ว่าใน
ชว่ งเวลาทร่ี ถไฟสายเหนือมาถึงเมอื งลำปางไดท้ ำใหเ้ มอื งลำปางเกดิ ความเปล่ยี นแปลงทาง
เศรษฐกจิ สังคมวฒั นธรรมและการเมืองอยา่ งขนานใหญ่ไดร้ ับอทิ ธพิ ลทางเศรษฐกิจ สงั คม
วัฒนธรรมและการเมืองจากกรงุ เทพฯโดยผา่ นการคมนาคมบนเสน้ ทางรถไฟ อาจจะเรียกยุคน้วี ่า
“สสี ันจากบางกอก” กไ็ ด้

ยคุ สงครามโลกครงั้ ที่ ๒ จนถงึ ปจั จบุ นั
เม่ือประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรโดยมีประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นผู้นำในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ในอีกไม่กี่วันต่อมาญ่ีปุ่นได้ยกพลขึ้นบกท่ีจังหวัด
สมุทรปราการและหลายจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทยก่อนจะกลายไปท่ัวทุกภูมิภาค โดย
รฐั บาลไทยยนิ ยอมให้ทหารญ่ีปุ่นเดินทางทพั ผา่ นประเทศไทยเพ่อื ไปโจมตีประเทศพมา่ และมลายู
ซง่ึ อย่ภู ายใต้รฐั ในอาณานคิ มขององั กฤษในขณะน้ัน
เมืองลำปางไดก้ ลายเป็นเมอื งหนงึ่ บนเส้นทางไปของกองทัพญ่ีป่นุ ที่จะผา่ นไปสู่
ประเทศพมา่ เมืองลำปางจงึ อย่ใู นสภาวะของสงครามโลกครง้ั ท่ี ๒ ด้วย โดยมีกองทัพญ่ีปนุ่ เข้า
มาต้งั ฐานทพั อยู่หลายแห่ง อาทิ ทท่ี ำการบริษทั บอมเบยเ์ บอร์มา่ จำกัด (เชงิ สะพานพัฒนา
ภาคเหนือในปัจจบุ ัน) โรงเรยี นบุญวาทยว์ ิทยาลัย วัดศรีรองเมือง เป็นตน้ เมืองลำปางได้
กลายเป็นฐานทพั ของญ่ีป่นุ จึงหลกี เล่ียงไมไ่ ด้ทจ่ี ะถูกฝา่ ยสมั พนั ธมิตรท้ิงระเบิด โดยปี พ.ศ.
๒๔๘๖ เมอื งลำปางไดถ้ กู ฝ่ายสมั พันธมติ รท้งิ ระเบิดอยา่ งหนกั จนชาวลำปางท่อี ยใู่ นตวั เมอื งตอ้ ง
อพยพไปแอยู่นอกเมืองช่ัวคราว ถ้าหากยงั หลงเหลือกจ็ ะอยู่ในหลมุ หลบภัยเมือ่ ได้ยนิ เสียง
สญั ญาณเตือนภัย ทำให้สถานทีส่ ำคญั ซึง่ เป็นจดุ ยุทธศาสตร์หลายแห่งต้องพรางตาจาก
เคร่อื งบินทิง้ ระเบิด เช่นสะพานรัษฏาภเิ ศกตอ้ งทาสีให้กลมกลืนกบั สภาพแวดล้อมโดยรอบ
บา้ นเรือนหลายแหง่ ด้วยสีดำ ในช่วงเวลาน้ันตัวเมืองลำปางไดก้ ลายเปน็ เมืองรา้ ง
ต่อมาเมือ่ กองทพั ญป่ี นุ่ ประกาศยอมแพ้สงครามเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ภายหลงั จากที่
กองทัพของสัมพันธมิตรได้ทงิ้ ระเบดิ นิวเคลยี รท์ เี่ มืองฮโิ รชิมาและเมอื งนางาซากิ ประเทศญป่ี ุน่
ส่งผลให้ประเทศญปี่ ุน่ กลายเป็นประเทศแพส้ งคราม ตอ้ งถูกควบคมุ มใิ หม้ กี องกำลังทหารและ
ชดใชห้ นี้สินแกน่ านาประเทศเปน็ จำนวนเงนิ มหาศาล สภาพของเมืองลำปางภายหลังสงครามโลก
คร้งั ท่ี ๒ ได้เกิดการโจรกรรม ทะเลาะเบาะแวง้ และอาชญากรรมอยา่ งแพร่หลาย เน่ืองจาก
ภายหลงั สงครามโลกไดเ้ กิดการแพรร่ ะบาดอยา่ งรนุ แรงของการคา้ ฝ่นิ ทวั่ ภาคเหนอื และมี
ผลกระทบตอ่ เมืองลำปาง โดยเมอื งลำปางอยบู่ นเสน้ ทางของการลำเลียงฝ่นิ จากระหวา่ งรัฐฉานใน
ประเทศพมา่ กบั ภาคกลางของไทย จึงเกิดการค้าขายฝิ่นในลำปางเสมอ มีเงนิ หมนุ เวียนสะพัดใน

17

เมืองลำปางเปน็ จำนวนมหาศาล ไดม้ ีผู้รำ่ รวยจากกระบวนการค้าฝิน่ เกดิ เปน็ “พ่อเล้ยี งฝน่ิ ”คน
สำคัญและตามมาด้วยสถานบนั เทงิ เรงิ รมยน์ านาชนิด
เมอื งลำปางในชว่ งหลังสงครามโลกครงั้ ท่ี ๒ ถึงกอ่ น พ.ศ.๒๕๐๐ กลายเป็นประดจุ บา้ นปา่ เมอื ง
เถอื่ นมีการก่ออาชญากรรมเป็นประจำเนื่องจากการขัดผลประโยชนจ์ ากธรุ กิจการคา้ ฝิ่น จนมีเสียง
กล่าวขานวา่ ลำปางเปน็ “เมอื งเทก็ ซัส” แบบเดียวกับในประเทศสหรัฐอเมรกิ าทม่ี ักตกั สนิ ปัญหา
ด้วยการใชอ้ าวุธปืนยิงกนั (ชัยวัฒน์ ศุภดิลกลักษณ์,๒๕๔๑)
ในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ เมืองลำปางได้เตบิ โตข้นึ เป็นทีห่ มายปองของหน่วยราชการ
ตา่ งๆ ในฐาน “ศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบน” ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๐๙) มีแนวคิดที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยระดบั ภูมภิ าคแห่งแรกของ
ประเทศที่ลำปาง ต่อมาธนาคารแหง่ ประเทศไทยสาจาภาคแหง่ แรกมาตง้ั ขึ้นทเี่ มืองลำปาง
รวมถงึ ศูนยร์ าชการระดบั ภูมิภาค เชน่ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ (ปัจจุบันเปลยี่ นช่ือเปน็
กองบัญชาการตำรวจภธู รภาค ๕ อยู่ทเ่ี ชยี งใหม)่ สำนกั งานประชาสัมพนั ธเ์ ขต ๓ สถานีโทรทัศน์
ชอ่ ง ๘ (ปัจจุบันคือสถานโี ทรทศั น์ช่อง ๑๑ ตั้งอยูท่ เ่ี ชียงใหม)่ ตลอดจนโรงไฟฟา้ และเหมืองแม่
เมาะของการไฟฟ้าฝา่ ยผลิตแห่งประเทศไทย โรงงานอตุ สาหกรรมนำ้ ตาลท่อี ำเภอเกาะคา ทำให้
เมืองลำปางมเี ศรษฐกจิ ทคี่ ึกคกั จากคนต่างถ่นิ ท่มี าพำนักและจับจ่ายซือ้ สนิ ค้า
ขณะเดยี วกันคนตา่ งถิ่นทีเ่ ข้ามาทำงานในศนู ย์ราชการระดบั ภมู ิภาคและองค์กรต่างๆคือ ผู้
มรี ายได้จากการรับเงินเดอื นประจำและมักจบั จ่ายใช้สอยในชว่ งตน้ เดือนเปน็ สำคัญ ทำใหม้ เี งิน
หมนุ เวยี นในจงั หวัดลำปางไม่สะพัดเทา่ เดมิ เศรษฐกจิ โดยรวมของเมืองลำปางจงึ นิ่งสงบ ยกเวน้
ในช่วงรับเงนิ เดือนเทา่ นน้ั หลังยุคการคมนาคมทางนำ้ ผ่านพ้น การเดนิ ทางไปมาหาสู่กนั ใน
ภมู ิภาคล้านนามเี สน้ ทางเชื่อมตอ่ สำคญั คอื เส้นทางเชียงราย-ลำปาง-เชียงใหม่ คนทางเชยี งราย
จะเดนิ ทางมาสู่เมอื งลำปางดว้ ยเสน้ ทางทีต่ ่อมาคอื ถนนพหลโยธนิ (ทางหลวงหมายเลข ๑) และ
ลงไปทางใตส้ ู่กรุงเทพมหานครได้ตามเส้นทางสายนี้ สว่ นคนเชยี งใหมจ่ ะตดิ ต่อกับเมืองลำปาง
และภาคกลางไดโ้ ดยใช้รถไฟเป็นพาหนะสำคญั
ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ รัฐบาลเริ่มโครงการสรา้ งทางหลวงแผ่นดนิ หมายเลข ๑๑ (อินทรบ์ ุรี-
เชียงใหม)่ เชื่อมจังหวัดในภาคกลางในภาคเหนอื ด้านตะวันออกและจงั หวดั ในภาคเหนอื ด้าน
ตะวันตก โดยเริ่มสร้างทางจากเชยี งใหม่-ลำปางในระยะแรก ทำให้การคมนาคมระหวา่ งลำปางสู่
เชยี งใหม่สะดวกมากขึ้น คนลำปางเดินทางโดยรถยนต์ไปถงึ เชียงใหมไ่ ด้ในเวลาไมถ่ ึง ๒ ช่วั โมง
เมอ่ื ถนนสายนี้ได้ก่อสร้างเสรจ็ ตลอดสาย การเดนิ ทางจากกรงุ เทพมหานครสู่จังหวดั เชียงใหม่
และเมอื งสำคัญในภาคเหนือกง็ า่ ยขนึ้ เมอื งลำปางจงึ กลายสถานะเปน็ เพียง “เมืองผา่ น”
ความหวงั ทเี่ มอื งลำปางจะกลายเป็นศูนย์กลางภาคเหนอื ในทกุ ๆ ทางเร่ิมรางเลอื น เม่ือ
โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของภาคเหนอื เกดิ ข้ึนเป็นมหาวิทยาลยั เชียงใหม่ ตัง้ ขึ้นทจ่ี ังหวัด
เชียงใหมม่ ิใช่จังหวัดลำปางแต่ประการใดผูค้ นในภูมภิ าคน้ีและจากทั่วประเทศไดเ้ ข้าไปศึกษาใน
มหาวิทยาลยั เชยี งใหมเ่ ป็นจำนวนมากรวมถงึ คนลำปางดว้ ย ในอีกทางหนง่ึ มหาวทิ ยาลัยใน
กรุงเทพมหานครก็เป็นทางเลือกอนั ดับต้นๆ ที่ชาวลำปางสง่ ลกู หลานไปศกึ ษา เชน่ จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ เปน็ ต้น แต่เม่อื สำเรจ็
การศกึ ษาไมว่ ่าจะเปน็ มหาวิทยาลยั ในเชยี งใหมห่ รือกรุงเทพมหานครเกอื บทัง้ หมดก็มกั จะทำงาน
ในตา่ งถิ่น โอกาสท่คี นลำปางจะมาทำงานในท้องถิ่นของตนเองมีน้อยมาก
ในชว่ งเวลาใกลเ้ คยี งศูนย์ราชการระดับภูมิภาคเริ่มยา้ ยจากจงั หวัดลำปางไปยงั จังหวดั
เชียงใหม่ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยในจงั หวัดลำปางไดล้ ดระดับเปน็ เพียงสาขาในระดับ
จังหวดั กองบญั ชาการตำรวจภูธรภาค ๓ ก็ยา้ ยไปตั้งใหม่เป็นกองบญั ชาการตำรวจภธู รภาค ๕ ท่ี

18
จงั หวดั เชียงใหม่ สำนักงานประชาสมั พันธเ์ ขต ๓ (สถานโี ทรทัศนช์ ่อง ๘) กย็ ้ายไปด้วยต่อมา
เปลี่ยนช่ือเปน็ สถานโี ทรทัศน์ชอ่ ง ๑๑ แผนพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาตฉิ บับท่ี ๕-๖
(พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๓๔) กำหนดให้จังหวัดลำปางเป็นแหล่งอตุ สาหกรรมระดับทอ้ งถ่ิน ในขณะท่ี
จงั หวดั เชียงใหม่เปน็ ศนู ย์กลางธุรกจิ การคา้ การบรกิ าร และการท่องเทย่ี ว การกำหนดของ
นโยบายภาครฐั ส่งผลให้เมืองลำปางนิง่ และซบเซาลงอย่างเห็นไดช้ ัด

เสยี งสะทอ้ นจากการสญู เสียบทบาทของความเปน็ ศูนย์กลางภาคเหนอื ตอนบนเริ่มมี
มากขึ้นทงั้ ในลกั ษณะของการพดู คุยในกลุ่มยอ่ ยและงานเขยี นหลายช้นิ ความร้สู ึกคับข้องใจท่ถี กู
แย่งเชิงความเจรญิ สะสมจนก่อตัวข้ึนเปน็ ความต้องการหาเหตผุ ลมาอธบิ าย แตเ่ มื่อไมม่ เี หตุผล
และคำอธิบายที่เหมาะสมถึงสภาพของเมืองลำปางทเ่ี ริ่มนงิ่ และซบเซา จงึ เริ่มมีคนพูดถึง “คำ
สาป” มากข้ึน ความเชือ่ เรอื่ งคำสาปมาจากตำนานพระแกว้ ดอนเตา้ ท่มี ีนางสุชาดาเปน็ ตัวเอกของ
เรือ่ ง เดมิ เคยมอี ยู่เฉพาะในหมู่เจา้ นายและผู้สบื เช้ือสายกระจายสู่วงกวา้ ง (สุจิรา หาผล, ๒๕๕๖)
ในตำนานพระแก้วดอนเต้ามีข้อความตอนหน่ึงกล่าวถงึ ว่า เจ้าเมืองลำปางในขณะนน้ั ได้สัง่ ประหาร
ชวี ติ ของนางสุชาดาทั้งทไี่ มม่ คี วามผิด จนส่งผลใหบ้ ้านเมืองไมเ่ จรญิ กลับมาหลอกหลอนคน
ลำปางครง้ั แลว้ ครัง้ เลา่

สถานทท่ี อ่ งเทย่ี วสำคญั ในเมอื งเกา่ นครลำปาง

การเดินทางชมเมืองเก่านครลำปางสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การน่ังรถม้า
การนั่งรถรางซึ่งชุมชนท่ามะโอมีบริการจัดให้พร้อมมัคคุเทศก์ การป่ันจักรยาน การเดินเท้าชม
เมืองเก่า การวิ่งอออกกำลังกายรอบเมืองเก่า และการใช้รถยนต์เป็นพาหนะ เป็นต้น ในท่ีนี้
ผู้วิจัยแนะนำให้ท่องเท่ียวโดยการป่ันจักรยานซ่ึงอาจจะใช้จักรยานส่วนบุคคลหรือหากเป็น
นักท่องเท่ียวสามารถเช่ายืมจากโรงแรมท่ีพัก หรือศูนย์บริการท่องเท่ียวของเทศบาลนครลำปาง
ได้มีการให้บริการจักรยานจำนวนกว่า ๕๐ คันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่นักท่องเที่ยวต้องนำบัตร
ประจำตัวประชาชนมาเป็นหลักประกันในการยืมจักรยานของเทศบาลนครลำปาง การป่ัน
จักรยานเป็นกระแสของการท่องเท่ียวที่กำลังมาแรงเพราะได้ทั้งการออกกำลังก ายและการชม
เมืองเกา่ อยา่ งช้าๆ คอ่ ยๆ สัมผัสบรรยากาศของบ้านเมืองโดยไมจ่ ำเปน็ ต้องเรง่ รีบแต่อย่างใด

รถรางท่ีใหบ้ ริการนกั ท่องเทยี่ วรอบเมืองเกา่ นครลำปาง

19

โดยเริ่มต้นจากศูนย์บริการการท่องเท่ียว เทศบาลนครลำปาง แล้วปั่นไปตามถนนบุญ
วาทย์ข้ามไปยังสะพานเขลางค์นครเพื่อไปยงั ยา่ นท่ามะโอและไปยังวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองเก่านครลำปางรุ่นท่ี 1 ต่อด้วยบ้านเสานัก บ้านหลุยส์ วัดประตูป่อง
ถนนสายวัฒนธรรม ชุมชนท่ามะโอ กู่เจ้าย่าสุตตา และเดินทางไปตามถนนพระแก้วผ่านสะพาน
รัษฎาภิเศก ไปยังวัดพระปงสนุก แล้วข้ามมายังกาดกองต้าหรือตลาดจีน จนท้ายที่สุดกลับไปท่ี
ศูนยบ์ รกิ ารการทอ่ งเทยี่ ว เทศบาลนครลำปางเชน่ เดิม

วดั พระแกว้ ดอนเต้าสชุ าดาราม

วดั พระแกว้ ดอนเต้าสุชาดารามเป็นปชู นียสถานสำคัญของเมืองลำปาง เดิมชื่อวดั พระ
แกว้ ชมพู เปน็ วัดสำคัญในฐานะวัดหลวงกลางเวียงของเมอื งเก่านครลำปาง รุ่นท่ี ๑ (เมืองเขลางค์
นคร) มพี ้ืนท่ีกว้างใหญ่ ในเขตพุทธาวาสจะประกอบไปดว้ ยพระบรมธาตุ วิหารหลวง มณฑป
ศลิ ปะแบบพม่า วหิ ารพระนอนเป็นต้น นบั เปน็ วดั สำคญั ทเ่ี ป็นตน้ กำเนิดของพระเจ้าแก้วดอนเต้า
พระพุทธรูปคบู่ า้ นคเู่ มอื งลำปางจากตำนานพระแก้วดอนเตา้ ซง่ึ มีเร่ืองราวของนางสุชาดาเป็นตวั
เอกของเรื่อง และเร่อื งราวนเ้ี ปน็ ทั้งเนอ้ื เร่อื งในตำนาน และเร่ืองเลา่ ของชาวบา้ นพรอ้ มกันไปดว้ ย
ในการรับรูข้ องชาวลำปางทอี่ ยใู่ นเขตเมอื งเกา่ นครลำปางรุ่นที่ ๑ นั้น ต่างเชอื่ กนั วา่ เร่อื งราวของ
นางสชุ าดาเสมือนเปน็ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ท่ีเปน็ เร่ืองจริงเพราะมีสถานทเี่ ก่ียวกับนาง
สชุ าดา เชน่ วัดพระแกว้ ดอนเต้า วดั สุชาดาราม วดั นางเหลยี ว วังย่าเฒ่า เปน็ ต้น แตอ่ ยา่ งไรก็
ตามในทางวชิ าการถือวา่ นางสชุ าดาเป็นเพยี งเร่อื งราวในตำนานทสี่ ร้างข้นึ เพอ่ื ก่อใหเ้ กดิ ความชอบ
ธรรมแก่พระเจา้ แก้วดอนเต้า พระพุทธรปู ค่บู ้านคู่เมอื งลำปางท่สี นั นิษฐานวา่ เปน็ พระพทุ ธรูป
ท่ีมาจากเชียงแสน และเม่อื มาอยู่มาอยู่ทีเ่ มืองลำปางจึงมคี วามพยายามสรา้ งประวัติศาสตรใ์ ห้
สมั พันธก์ ับบริบทของเมอื งแห่งนี้มากยง่ิ ขึน้ (ไพโรจน์ ไชยเมอื งช่นื ,๒๕๕๗)

ภ า ย ใน วั ด แ ห่ ง นี้ มี พ ร ะบ ร ม ธ า ตุ ข น า ด สู ง ให ญ่ ซ่ึ ง เช่ื อ ว่ า บ ร ร จุ พ ร ะเก ศ า ธ าตุ ข อ ง
พระพุทธเจ้า (เส้นผมของพระพุทธเจ้า) พระบรมธาตุมีลักษณะเป็นทรงระฆังคว่ำศิลปะแบบ
ลังกา อันเป็นศนู ย์กลางของวัดทใ่ี ชป้ ระกอบพธิ ีสำคญั เช่น การสรงน้ำพระบรมธาตปุ ระจำปี วัด
พระแก้วดอนเต้าสุชาดารามถือเป็นวัดสำคัญท่ีเก่ียวข้องกับพระพุทธรูปสำคัญระดับชาติ โดยใน
คร้ังหน่ึงเมื่อกว่า ๖๐๐ ปีท่ีแล้วเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต (หรือชื่ออย่างเป็น
ทางการคือ “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร”) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย
ปัจจุบันพระแก้วมรกตประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการ
ว่า“วัดพระแกว้ ”) ตง้ั อยู่ในพระบรมมหาราชวงั กรุงเทพมหานคร

ในวัดแหง่ น้ีจะมีรูปปัน้ ช้างแห่พระแกว้ มรกตเปน็ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ว่า เม่อื
กวา่ ๖๐๐ ปที แี่ ลว้ คร้ังเมืองลำปางเป็นส่วนหนึง่ ของอาณาจกั รล้านนา พระเจา้ ติโลกราช กษตั ริย์
แหง่ เมอื งเชียงใหมไ่ ด้อญั เชญิ พระแกว้ มรกตจากเมอื งเชยี งรายเพอื่ มายังเมอื งเชียงใหม่แตพ่ ระ
แกว้ มรกตไปไม่ถึงเมอื งเชียงใหม่ ในเอกสารประวตั ศิ าสตรก์ ล่าววา่ ชา้ งทแี่ หพ่ ระแก้วมรกตมา
หยุดทีเ่ มืองลำปางและไมย่ อมไปไหน จงึ ทำให้พระแกว้ มรกตไดม้ าประดิษฐานอย่ทู ่ีวัดพระแก้ว
ชมพู (วดั พระแกว้ ดอนเต้าสชุ าดารามในปัจจบุ ัน) เป็นเวลานานถงึ ๓๒ ปี เร่อื งน้ีวเิ คราะหก์ ันว่า
เป็นการสะท้อนถึงอำนาจและความสำคญั ทางการเมอื งของเจ้าเมอื งลำปางทสี่ ามารถตอ่ รองกับ

20

กษตั รยิ ์แหง่ เชยี งใหม่ได้ เพราะพระแกว้ มรกตจะประดษิ ฐานอยู่ ณ เมืองสำคัญท่มี ีอำนาจใน
ชว่ งเวลานนั้ (สุรพล ดำรหิ ์กุล, ๒๕๔๒)

สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นภายในวัดอีกแห่งหน่ึง คือ มณฑปศิลปะแบบพม่า (มณฑป
หมายถึงอาคารขนาดใหญ่รูปสี่เหล่ียมจัตุรัส ทรงสูงเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป) มณฑป
หลังน้ีมีความสวยงามแปลกตาโดยเป็นศิลปะแบบพม่า ทั้งท่ีวัดพระแก้วดอนเต้าฯมิใช่วัดศิลปะ
พมา่ แต่ประการใด ตามประวตั ิบอกว่าเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานติ ย์ เจา้ ผู้ครองนครลำปางคนสุดทา้ ย
ได้ให้ช่างชาวพม่า (หรือ “สล่า”) มาสร้างมณฑปอยู่ทางทิศใตข้ องพระบรมธาตุ การท่ีวัดแห่งน้ีมี
มณฑปศิลปะแบบพมา่ ได้สะท้อนถึงความสำคัญท่ีเมืองลำปางเคยเป็นเมืองอุตสาหกรรมป่าไม้ท่ี
มีชาวพม่ามาประกอบอาชีพทำป่าไม้เม่ือ ๑๕๐ กว่าปีมาแล้ว จะสังเกตเห็นว่า มีสัญลักษณ์รูป
เทวดาฝรั่ง (เทพเจ้าแห่งความรัก “คิวปิด”) ติดอยู่บนเพดานในมณฑปแห่งนี้ ทั้งที่เป็นอาคาร
ในทางพุทธศาสนา แต่มีความน่าสนใจที่มีสัญลักษณ์แบบฝรั่งท่ีมักพบเห็นในโบสถ์ของคริสต์
ศาสนา

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามเป็นการรวมเอา ๒ วัดคือวัดพระแก้วดอนเต้ากับวัด
สุชาดามารวมกัน ในส่วนของวัดสุชาดาเดิมยังมีสถาปัตยกรรมท่ีสำคัญคือ วิหารลายคำท่ี
สวยงามเป็นวิหารแบบเชียงแสนจัดเป็นวิหารที่งดงามแห่งหน่ึงในเมืองลำปางเช่ือว่าคงสร้างโดย
กลุ่มชาวเชียงแสนท่ีถกู กวาดตอ้ นมาต้ังแต่สมัยพระยากาวิละ เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง เม่ือกว่า
๒๐๐ ปมี าแลว้ จงึ เห็นไดว้ ่าพน้ื ท่ีเมืองเกา่ นครลำปางร่นุ ที่ 1 จะพบสถาปัตยกรรมแบบเชยี งแสนใน
วัดหลายแห่ง เช่น วัดหัวข่วง วัดแสงเมืองมา (เดิมน่าจะชื่อ “วัดแสนเมืองมา”) เป็นต้น
ปัจจุบันวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามใช้เป็นสถานท่ีสำคัญในการประกอบพิธีการสำคัญข อง
จังหวัดลำปาง เช่น พิธีการท่ีเก่ียวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ การจัดพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุ
ประจำปี การทอดกฐินพระราชทาน เป็นต้น

วัดพระแก้วดอนเต้าสชุ าดาราม

21

บา้ นเสานกั

ท่ามะโอเปน็ ยา่ นถิ่นฐานของชาวพม่าที่มาประกอบอาชีพทำป่าไมเ้ มอื่ กว่า ๑๕๐ ปีมาแล้ว
ในยุคที่เมืองลำปางเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมป่าไม้ของภาคเหนือ ช่วงเวลานั้นเมืองลำปางมีป่า
ไม้ มีช้างที่ลากซุงเป็นจำนวนมาก นับเป็นเมืองป่าไม้ท่ีใหญ่ท่ีสุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน
ชาวพม่าส่วนมากเดินทางมาพร้อมกับบริษัททำธุรกิจป่าไม้ของต่างประเทศ เช่นอังกฤษ เป็นต้น
ตอ่ มาได้รบั ความไว้วางใจจากผจู้ ัดการบริษทั ปา่ ไม้ให้แบ่งพื้นทใ่ี นการสมั ปทานปาไม้ในพนื้ ทีต่ า่ งทั่ว
ภาคเหนือ จนสามารถสร้างฐานะจนร่ำรวย กลายมาเป็น “พ่อเล้ียงไม”้ คนสำคัญของเมืองลำปาง
และต้ังถ่ินฐานบริเวณท่ามะโอ ทำให้ชุมชนท่ามะโอเป็นพื้นท่ีของชาติพันธุ์พม่าโดยมีวัดท่ามะโอ
เปน็ ศูนยก์ ลางของชมุ ชน

ชาวพม่าได้ท้ิงมรดกไว้คือ วัดศิลปะแบบพม่าคือ วัดท่ามะโอ และบ้านไม้หลายหลัง
โดยเฉพาะบ้านที่ใหญแ่ ละสวยทส่ี ดุ ในย่านนค้ี ือ “บา้ นเสานกั ” ผู้สรา้ งคอื หม่องจันโอง ต้นตระกูล
จันทรวิโรจน์ เป็นชาวพม่าที่เคยมาทำงานกับห้างหลุยส์ (บริษัทหลุยส์ ที.เลียวโอโนเวนส์ จำกัด)
และท่านได้สร้างฐานะจนร่ำรวย อีกท้ังได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษให้เป็นหัวหน้าคนใน
บังคับอังกฤษคนแรกในเมืองลำปาง บ้านเสานักเป็นสถาปัตยกรรมแบบพ้ืนถ่ินภาคเหนือ
ผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบฝรั่ง มีชานบ้าน มีห้องโถงกว้าง มีพื้นท่ีพักผ่อนหน้าบ้าน ใต้ถุน
บ้านเสานักประกอบด้วยเสาบ้านถึง ๑๑๖ ต้น เดิมทีเดียวเป็นเสาไม้ แต่ภายหลังผุกร่อนจึงได้
ปรับโดยการเสริมปูนท่ีฐานรากเพื่อความแข็งแรง ทำให้พ้ืนบ้านถูกยกสูงข้ึนจึงมีที่ว่างถูกปรับ
เป็นพ้ืนท่ีสำหรับการใช้สอย

เดิมทีเดียวบ้านเสานักหลังนี้ไม่ได้มีชื่อว่า “บ้านเสานัก” แต่เป็นชื่อที่ถูกต้ังขึ้นมา
ภายหลังโดยหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ นักพูด พิธีกรและนักร้องชื่อดังของเมืองไทย
เจา้ ของฉายา “เชลลช์ วนชมิ ” ผู้มีความคุ้นเคยเป็นอยา่ งดีกับทายาทเจ้าของบ้านเสานกั แห่งนี้เป็น
ผ้ตู ั้งชื่อให้ ด้วยเหตุท่ีบ้านหลังนี้มีเสาบ้านจำนวนมากถึง ๑๑๖ ต้น ตลอดจนมีต้นสารภีต้นใหญ่ท่ี
ปลูกมาพร้อมกับบา้ นหลังน้ีอยู่หนา้ บา้ น ทำให้บ้านเสานักหลังนี้มีบรรยากาศที่งดงามและร่ืนรมย์
ยิ่งนัก จนได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในช่วงที่คุณหญิง
วลยั ลีลานุช เจ้าของบ้านรุ่นท่ี ๓ ยังมีชีวิตอยู่น้นั บ้านเสานักไดเ้ ป็นท่ีรจู้ ักอย่างแพร่หลายในฐานะ
สถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนเมืองลำปาง คุณหญิงวลัย ลีลานุชเป็นหลานตาของ
หม่องจันโอง จนั ทรวิโรจน์ และเป็นอดีตผู้อำนวยการโรงเรยี นลำปางกัลยาณี โรงเรียนสตรีประจำ
จังหวัด ท่านมคี วามสนใจดา้ นวัฒนธรรมทอ้ งถน่ิ เป็นพิเศษจึงไดใ้ ช้บา้ นเสานกั หลงั นเี้ ปน็ สถานท่จี ัด
งานสำคัญเคยเป็นที่ถวายการต้อนรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง อาทิ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๑๐ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เม่ือครั้งเสด็จเมืองลำปาง
โดยได้ถวายพระกระยาหารแบบพื้นเมืองแด่พระองค์ทา่ นด้วย

ในปัจจุบันบ้านเสานักได้เปิดให้นักท่องเท่ียวท่ัวไปเข้ามาชมโดยเก็บค่าเข้าชมในอัตราที่
เหมาะสมท้ังชาวไทยและชาวต่างประเทศ และยังใช้เปน็ สถานที่เลี้ยงขันโตกสำหรับเลี้ยงแขกบ้าน
แขกเมือง สถานท่ีจัดงานแต่งงานให้บุคคลทั่วไปที่สนใจและชื่นชอบบรรยากาศแบบวัฒนธรรม
ลา้ นนา โดยมีการจดั บริการอาหารแบบขนั โตกและมีอาหารพื้นเมืองอย่บู นขันโตกใหผ้ ู้มาเยือนได้
รบั ประทาน บา้ นเสานกั เป็นสถานท่ที อ่ งเทีย่ วท่มี ชี อ่ื เสียงแห่งหนงึ่ ของเมอื งลำปาง

22

บา้ นเสานกั ในชมุ ชนทา่ มะโอ

บ้านหลยุ ส์

บา้ นหลยุ ส์ หรอื บริษทั หลยุ ส์ ทเี ลยี วโอโนเวนส์ จำกัด เป็นหนงึ่ ในบริษทั ที่ทำธรุ กจิ ป่า
ไม้ของต่างประเทศซึ่งมาตั้งอยู่ในเมืองนครลำปาง บริษัทหลุยส์ ทีเลียวโอโนเวนส์ จำกัด ตาม
ประวัติน้นั เมอื่ ร้อยกวา่ ปีที่แล้วเมืองลำปางเป็นเมอื งทีม่ ีอตุ สาหกรรมป่าไม้ทีส่ ำคญั ของภาคเหนือ
ได้มีบริษัทป่าไม้จากต่างประเทศหลายแห่งเข้ามาทำธุรกิจในเมืองลำปาง หนึ่งในนั้นก็คือ บริษัท
หลุยส์ ทีเลียวโอโนเวนส์ จำกัดซึ่งมีนายหลุยส์ ทีเลียวโอโนเวนส์ (Louis T. Leonowens,
๑๘๕๖-๑๙๑๙) เป็นผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลุยส์ฯ น้ันแยกตัวมาจากบริษัทบริติชบอร์เนียว
จำกัด และมีสำนักงานสาขาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ บริษัทหลุยส์ในเมืองลำปางจัด
ว่าเป็นสาขาที่มีความสำคัญอย่างมากเนอื่ งจากเป็นพื้นทข่ี องการสัมปทานป่าไม้ท่ีมีขนาดใหญ่ท่ีสุด
แห่งหน่ึงในภาคเหนอื

นายหลุยส์ ทีเลียวโอโนเวนส์ หรือชาวลำปางเรียกว่า “พ่อเล้ียงหลุยส์” หรือ
“มิสเตอร์หลุยส์” เป็นชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงในช่วงสมัยรัชกาลท่ี ๕ นอกเหนือจากเป็นนัก
ธุรกิจด้านป่าไม้ยังเป็นพระสหายร่วมชั้นเรียนภาษาอังกฤษกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยหู่ ัว รัชกาลท่ี ๕ โดยมมี ารดาของนายหลุยส์ ช่ือ “นางแอนนา ทีเลียวโอโนเวนส”์ หรือรูจ้ ัก
กันในนามของ “แหม่มแอนนา” เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยามซ่ึงพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ว่าจ้างให้มาสอนภาษาอังกฤษให้แก่พระราชโอรส พระราช
ธิดาและเจ้านายต่างๆ ในราชสำนกั สยาม (จิระนันท์ พิตรปรชี า,๒๕๔๒)

นายหลุยส์ได้เข้ามาทำอาชพี ธรุ กิจปา่ ไม้ในพืน้ ท่ภี าคเหนอื และเดนิ ทางไปในทอ้ งทตี่ า่ ง
ๆในสยาม มาพำนักท่ีบรษิ ัทหลุยส์ฯ สาขาลำปาง หรอื ชาวชุมชนท่ามะโอเรียกกันในภายหลังว่า
“บ้านหลุยส์”บ้านหลุยส์จงึ เปน็ ท้งั สำนกั งานป่าไม้และบ้านพักในตัวเอง โดยช้ันบนใช้เป็นบ้านพัก

23
ของผู้จดั การบรษิ ัทส่วนชั้นล่างเป็นสำนักงานธุรการ จนกระท่ังเมื่อเร่ิมเกิดสงครามโลกคร้ังที่ ๒
พ.ศ.๒๔๘๔ ผู้จัดการบรษิ ัทซึ่งเป็นชาวอังกฤษและผู้เก่ียวข้องท่เี ป็นชาวต่างประเทศท้ังหมดต้อง
ล้ีภัยหนีออกจากประเทศไทยทำให้สำนักงานบริษัทแห่งนี้ได้ถูกท้ิงร้าง และต่อมากลายเป็น
ทรัพย์สนิ ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) โดยใช้เปน็ บ้านพกั ของพนักงานมาเป็นเวลากว่า
๕๐ ปี

ใน ภ าย ห ลั ง จั ง ห วั ด ล ำป าง แ ล ะ ชุ ม ช น ท่ าม ะโอ ได้ เห็ น ค ว าม ส ำคั ญ ข อ ง บ้ าน เก่ า ท่ี
ทรงคุณค่าและมีสถาปัตยกรรมครี่งตึกครง่ึ ไม้ศิลปะผสมผสานไทยกับตะวนั ตกท่ีงดงาม แปลก
ตา นำไปสู่การเป็นสถานท่ีท่องเที่ยวจึงได้ประสานงานกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ขอใช้พื้น
ที่มาจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในช่ือ “ท่ามะโอ เรโทรแฟร์” มีการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรม
การแสดงดนตรีร่วมสมัย กิจกรรมสำหรับเด็ก การจำหน่ายสินค้าของชุมชน มีบริการรถรางนำ
เที่ยวชมเมืองเก่านครลำปาง เป็นต้น โดยมีการเปิดชั้นล่างของบ้านหลุยส์จัดเป็นนิทรรศการ
ถ่ายภาพเก่า และภาพวาดเกี่ยวกับบ้านหลุยส์และชีวิตของฝรั่งทำป่าไม้ในลำปาง กิจกรรม
ดังกล่าวจัดขึน้ ทุกวนั เสาร์ท่ี ๓ ของเดือน การจัดกิจกรรมท่ามะโอเรโทรแฟร์ แม้ว่าจะเป็นช่วงระย
เวลาหนึ่ง แต่ก็ทำให้ให้บา้ นหลุยส์ทเ่ี คยเป็นที่รจู้ ักเฉพาะคนในชุมชนท่ามะโอเท่าน้ัน ได้กลายเป็น
สถานที่ท่องเท่ียวซ่ึงคนลำปางและนักท่องเท่ียวทั่วไปอยากจะมาเย่ียมชมเม่ือเดินทางมาเยือน
เมอื งลำปาง

กจิ กรรมทา่ มะโอเรโทรแฟร์ท่ีบา้ นหลุยส์

24

วดั ประตปู อ่ ง

วดั ประตูป่อง เปน็ วัดทตี่ งั้ อยู่ติดประตเู มืองโบราณร่นุ ท่ี ๒ ของเมืองเก่านครลำปาง ที่
ช่อื ว่า “ประตูป่อง” คำว่า “ป่อง” ในภาษาเหนือหมายถึง “คาดแคล้วหรือปลอดภัย” ซ่ึงเป็นชื่อ
ท่ีเป็นมงคล ความโดดเด่นของวัดแห่งน้ีคือมีวิหารแบบล้านนาขนาดเล็ก ด้านหน้าวิหารเป็นลาย
ไส้หมซู ่ึงถือเป็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณะของเมอื งลำปาง ภายในวิหารจะมีภาพวาดตามฝาผนัง
อายุราว ๑๐ กว่าปีเป็นภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวเหนือหรือชาวล้านนาในอดีต เช่น การฟ้อนผี
การเข้าวัดทำบุญ ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น ภาพวาดแบบน้ีซ่ึงถือว่าแปลกว่าวัดโดยท่ัวไปที่
มกั จะเปน็ เรื่องราวในทางพุทธศาสนา

วัดประตูป่องแห่งน้ีมีซุ้มประตูโขงท่ีงดงามและโดดเด่น ตามคติความเชื่อของล้านนา
ในอดีต ถือว่า วัดใดที่มีซุ้มประตูโขงมักจะเป็นวัดที่มีความสำคัญ เช่นเป็นวัดที่เจ้านายเป็นผู้
อุปถัมภ์ หรอื วัดสำคัญของชุมชน แต่อย่างไรก็ตามซุ้มประตูโขงของวดั ประตูป่องเปน็ ซุ้มประตู
ที่สร้างขึ้นมาใหม่ (ไม่สอดคล้องตามคติแบบเดิม ซุ้มประตูโขงเป็นเสมือนตัวแทนประตูสู่
สวรรค์ (แทนป่าในสวรรค์ตามคติของพุทธศาสนา) จึงทำให้บนซุ้มประตูประกอบไปด้วยรูปป่า
ไม้และสัตว์ต่างๆ ซุ้มประตูโขงของวัดประตูป่องแม้จะเป็นซุ้มประตูที่ถูกสร้างข้ึนมาใหม่มาราว
๒๐ ปี แต่ก็มีความงดงามและเพ่ิมเสน่ห์ให้กับวัดประตูป่องมากย่ิงข้ึน มีนักท่องเที่ยวมาสนใจ
ถา่ ยภาพเปน็ จำนวนมาก

วัดประตูป่องเป็นวัดที่อยู่ติดกับกำแพงเมืองโบราณรุ่นที่ ๒ ของเมืองเก่านครลำปาง
ทำด้วยอิฐปนดิน ตรงบริเวณที่เรียกว่า “ประตูป่อง” กำแพงเมืองโบราณในบริเวณแนวนี้เป็น
กำแพงเก่าท่ียังคงหลงเหลือร่องรอยท่ีชัดเจนท่ีสุดแห่งหนึ่งของเมืองลำปาง เน่ืองจากอยู่ติดกับ
สถานท่ีราชการ บริเวณน้ันยังพบมีซากของหอรบหรือป้อมปราการในยุคสมัยของพระยากาวิละ
ขณะเป็นเจา้ ผู้ครองนครลำปาง นับได้ว่าเป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่ายิ่งแหง่ หนึง่ ของเมอื งลำปาง
แม้ว่าวัดประตูป่องจะเป็นวัดขนาดเล็กแต่มีความงดงามแห่งหนึ่งและสัญลักษณ์อันหน่ึงของ
ชุมชนท่ามะโอที่เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสังคมของชุมชน ใน
ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้มาเยือนที่รู้จักและมีการทำถ่ายทำสารคดีเชิงวัฒนธรรม
ภายในวัดประตปู ่องแห่งน้ีมากข้ึน

25

ซุ้มประตโู ขงของวดั ประตูปอ่ ง

ชมุ ชนทา่ มะโอ ถนนสายวัฒนธรรม และก่เู จ้าย่าสุตตา

ชมุ ชนทา่ มะโอเป็นชมุ ชมเก่าแก่ท่ีมบี รรยากาศแห่งความรน่ื รมณ์ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่า
นครลำปาง ชื่อของ “ท่ามะโอ”มขี ้อสันนิษฐานอยู่ ๒ ทาง ทางแรกหมายถึง ท่าน้ำท่ีมีการปลูกส้ม
โอกันมาก เน่ืองจากบริเวณน้ันมีสถานที่ในชื่อคล้ายคลึงกัน เช่น ท่าเก๊าม่วง (ท่าต้นมะม่วง) อีก
ข้อสันนิษฐานหนึ่งบอกว่า “มะโอ” เป็นคำเพี้ยนมาจาก “ปะโอ” ซ่ึงเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุหน่ึงใน
ประเทศสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) พบว่า ชาวพม่าท่ีมีเช้ือสายปะโอจำนวนหนึ่งได้เข้ามาประกอบ
อาชีพทำป่าไม้เม่ือกว่า ๑๕๐ ปีมาแล้วและมาต้ังรกรากในชุมชนท่ามะโอ ท่ามะโอถือเป็นย่านเก่า
ของชาวพม่าทเี่ ข้ามาประกอบอาชพี ทำปา่ ไม้เม่ือกว่า ๑๕๐ ปีมาแล้ว พบว่ามวี ัดท่ามะโอ และบ้านไม้
เก่าแก่ที่สวยงามอยู่หลายหลัง เช่น บ้านเสานัก บ้านหลุยส์ เป็นต้น ปัจจุบันชุมชนท่ามะโอเป็น
ชุมชนดา้ นการท่องเที่ยวเชงิ วัฒนธรรมท่มี ีช่อื เสียงในระดบั ประเทศ

ถนนสายวัฒนธรรมเป็นชือ่ เรยี กในเชิงการทอ่ งเท่ยี วของถนนคนเดินที่เพิ่งเกดิ ขึ้นใหมร่ าว
๑๐ ปที ี่ผ่านมาโดยเป็นถนนคนเดินในช่วงของเย็นวันศุกรเ์ กดิ ขน้ึ ท่ามกลางการทอ่ งเทีย่ วในกระแส
โหยหาอดีต ในเวลาท่ีไลเ่ ลี่ยกบั การเกิดกองกองต้า ถนนคนเดนิ ทม่ี ีชอ่ื เสยี งอีกแหง่ หนงึ่ ของเมือง
ลำปาง เป็นการริเร่ิมของชาวชุมชนท่ามะโอเพื่อใช้พ้ืนที่นี้เป็นแหล่งพบปะ จำหน่ายสินค้าและ

26

แสดงงานทางวัฒนธรรมของชุมชน ในระยะแรกยังไม่เป็นท่ีรู้จักมากนัก แต่ในปัจจุบันถนนสาย
วัฒนธรรมของชมุ ชมทา่ มะโอได้กลายเป็นแหลง่ พักผ่อนหย่อนใจและจำหนา่ ยสนิ คา้ ของผู้คนในตัว
เมืองลำปาง ถนนสายวัฒนธรรมแห่งน้ีจัดขึ้นบนถนนป่าไม้ ในตำบลเวียงเหนือซ่ึงมีกู้เจ้าย่าสุตตา
(ซุ้มประตูโขงของวัดกากแก้ว) เปน็ จดุ หมายทีน่ ่าสนใจของถนนแห่งน้ี ความโดดเด่นของถนนสาย
วัฒนธรรมคือสินค้าที่นำมาขายเป็นพืชผักพ้ืนบ้านและอาหารพ้ืนเมืองในท้องถ่ินที่หลากหลายให้
เลือกซ้ือ นอกจากน้ียังมีอาหารหวานคาวโดยทั่วไปให้ซ้ือในบรรยากาศยามค่ำของทุกวันศุกร์ที่ให้
ผู้คนและนกั ทอ่ งเที่ยวมาเทยี่ วชมและพกั ผอ่ น

ในถนนสายวัฒนธรรมยังมสี ถานท่โี ดดเดน่ เป็นจดุ ท่ีนักทอ่ งเทยี่ วนิยมมาถ่ายภาพกันมาก
คือ กเู่ จา้ ยา่ สตุ ตา เปน็ ช่ือเรียกของซุ้มประตูโขงของวดั กากแก้วซ่ึงเปน็ วัดรา้ ง ในที่นกี้ ู่มไิ ด้หมายถึง
สถูปสำหรับการบรรจุกระดูกของมนุษย์แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีความเชื่อของชาวบ้านอยู่บ้างตาม
ตำนาน แต่ยังไม่เป็นที่เข้าใจและมีหลักฐานชัดเจน กรมศิลปากรได้มาทำการบูรณะและขึ้น
ทะเบียนเป็นโบราณสถาน กู่เจ้ายา่ สุตตาเปน็ ซุ้มประตูโขงขนาดกลางท่ีมีความสวยงาม สะทอ้ นถึง
ความเปน็ วัดที่สำคัญของชุมชน มีลายปูนปั้นรูปเทวดา และลายไม้ดอกแบบล้านนาซึ่งคลา้ ยคลึง
กบั ลายปูนปั้นของวิหารในวัดเจ็ดยอดท่ีเมืองเชียงใหม่อันเป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
กู่เจา้ ยา่ สุตตาเปน็ โบราณสถานที่โดดเด่นและเปน็ สัญลกั ษณส์ ำคญั ของถนนสายวัฒนธรรมแห่งน้ี

กเู่ จ้าสตุ ตา (ซุ้มประตูโขงของวดั กากแก้ว) บนถนนสายวฒั นธรรม

วดั ปงสนกุ

วดั ปงสนุกเปน็ วัดสำคัญที่เช่ือว่าเป็นวัดหลวงกลางเวียงของเมืองเก่านครลำปาง รุ่นท่ี
๒ ในสมยั ท่ีเมืองลำปางเป็นสว่ นหน่ึงของล้านนา และเปน็ วัดที่มีลักษณะพเิ ศษโดยมพี ระธาตแุ ละ
วิหารหลังเล็กตั้งอยู่บนม่อนดอยที่มนุษย์สร้างข้ึนตามคติความเช่ือในทางพุทธศาสนา โดยมี
บนั ไดนาคเป็นทางนำไปสู่ซุ้มประตูโขงอันเปรียบเหมือนประตูสู่สวรรค์ ในอดีตวัดปงสนุกอยู่ติด

27

กบั ริมฝั่งของแม่น้ำวัง ตอ่ มาแม่น้ำวังเรม่ิ เปลย่ี นทิศทางทำให้วัดอยู่ไกลออกจากแม่น้ำ วดั แห่งนี้
เคยเป็นท่ีต้ังของเสาหลักเมืองหลักแรกตามคติความเช่ือของสยาม (ไทยภาคกลาง) ในสมัย
รัชกาลท่ี ๔ เพราะถือว่าวัดปงสนุกเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของเมืองเก่านครลำปางรุ่นท่ี ๒
(เกรียงไกร เกดิ ศริ ิ,๒๕๕๐)

แม้ว่าจะเป็นวดั สำคัญแต่วัดปงสนุกยังไม่เป็นที่รจู้ ักของชาวลำปางและนักท่องเท่ียวมาก
นัก เพ่ิงมาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้าง จนกระท่ังภายหลังจากท่ีได้รับรางวัล Award of Merit ปี
๒๐๐๘ (พ.ศ.๒๕๕๑) จากองค์การยูเนสโกประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอันเป็นผลงานการ
อนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ โดยความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิหารพระเจ้าพันองค์เป็นจุดเด่นท่ีสำคัญของวัดปงสนุก ด้วย
ความเป็นวิหารที่มีหลังคาทรงสูงสวยงามแปลกตา เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานล้านนา จีน
พม่า และไทยภาคกลาง อายุกว่า ๑๓๐ ปีเชื่อกันว่าสร้างโดยชาวเชียงแสนท่ีอพยพเข้ามาในเมือง
ลำปาง โดยนำแบบมาจากวิหารในเมืองสิบสองพันนา ประเทศจีนซึ่งวิหารลักษณะนี้เหลือเพียง
แห่งเดียวในประเทศไทย เหตุทเ่ี รียกว่า “วิหารพระเจ้าพันองค์” เพราะภายในวิหารมีพระพิมพ์
ทำด้วยดินเผาติดตามด้านในของหลังกว่า ๑,๐๘๐ องค์ นอกจากน้ีในตัววิหารเป็นแหล่งรวมคติ
หรือความเชื่อทางพุทธศาสนามากมาย เช่น มีพระพุทธรูปส่ีองค์ แทนความหมายของ
พระพุทธเจ้าท่ีตรัสรู้แล้ว ๔ องค์และกำลังรอคอยพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ในกัป (จำนวนชาตินับไม่
ถ้วน) น้ี

วัดปงสนุกเป็นวัดท่ีมีของเก่ามากมายแห่งหน่ึงในตัวเมืองลำปางและชาวบ้านจึงต้องการ
จะอนุรักษ์เพ่ือเก็บรักษาและเป็นการให้ความรู้แก่คนรุ่นต่อมา จึงจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์
โดยใช้กุฏิ และศาลาวัด มีสิ่งของต่างๆ เช่น หีบธรรม (กล่องเก็บพระธรรม) พระพุทธรูปไม้
ของเก่าต่างๆ เป็นต้น มีป้ายข้อความอธิบายให้ความรู้แก่ประชาชน พิพิธภัณฑ์ในรูปแบบน้ี
เรียกว่า “พิพิธภัณฑ์จัดแสดงส่ิงของ” ถือเป็นการเรียนรู้ในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นทั้งการรักษา
ส่ิงของโบราณและการให้ความรู้ไปพร้อมกันด้วย ในปัจจุบันวัดปงสนุกจึงเป็นอีกวัดหนึ่งที่มี
ความน่าสนใจของเมืองลำปาง และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองลำปางได้ให้ความสนใจเข้ามา
เย่ยี มชมอยอู่ ยา่ งสมำ่ เสมอ

28

วิหารพันองค์ วหิ ารทีง่ ดงามและโดดเด่นเปน็ สญั ลักษณ์ของวัดปงสนกุ

สะพานรัษฏาภเิ ศก

สะพานรัษฎาภิเศกเป็นสะพานเก่าแก่อายุกว่าร้อยปีและมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาคู่
กับการเปลี่ยนแปลงสังคมลำปางเขา้ สู่ยุคสมัยใหม่ตั้งแต่มีการสัมปทานป่าไม้และการเข้ามาของ
รถไฟสายเหนือ ตามประวัติบอกว่าเดิมเป็นสะพานไม้ที่ใช้ข้ามลำน้ำวัง สร้างเม่ือปี พ.ศ.๒๔๓๖
รัชกาลที่ ๕ ต่อมาสะพานที่ทำด้วยไม้ได้พังลงไปจึงถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งด้วยคอนกรีตเสริม
เหล็ก เป็นรูปคันธนูมี ๔ โค้ง และหวั สะพานมีสัญลักษณเ์ ปน็ ตราครุฑซง่ึ แทนความหมายของตรา
ประจำของพระมหากษัตริย์ไทย และด้านข้างมีรูปไก่ขาวเปน็ สัญลักษณแ์ ทนเมืองลำปาง โดยสร้าง
เสร็จเม่ือปี พ.ศ.๒๔๖๐ ให้ชื่อเพ่ือเป็นการถวายพระเกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๕ ในโอกาสท่ีทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ ๒๕ ปี ว่า “สะพาน
รัษฏาภิเศก” (ในความเป็นจริงน่าจะเขียนว่า “รัชดาภิเษก”) แต่เปล่ียนไปเขียนว่า “รัษฎา
ภเิ ศก” ซ่ึงขณะนีย้ งั ไม่พบหลกั ฐานวา่ ทำไมถงึ ใชช้ ่ือเช่นนี้

ในอดีตสะพานรัษฎาภิเศกเป็นเพียงสะพานที่ประชาชนสองฝ่ังแม่น้ำวังใช้สัญจรไปมา
เท่าน้ัน แต่ปัจจุบันคุณค่าและความสำคัญของสะพานแห่งน้ีกลายเป็นจุดเด่นสำคัญหรือ Land
Mark ของตวั เมอื งลำปาง นักทอ่ งเทีย่ วมักจะนิยมมาถา่ ยภาพหรอื ค่บู า่ วสาวก่อนพธิ แี ต่งงานก็จะ
มาถา่ ยภาพทสี่ ะพานแห่งน้ี ในระยะหลงั เทศบาลนครลำปางและการทอ่ งเทีย่ วแห่งประเทศไทยได้
ร่วมมือกนั จัดงานเฉลิมฉลองสะพานรัษฎาภิเศกครบรอบในวาระต่างๆ เช่น ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี มี
กิจกรรมด้านศิลปวัฒธรรม การแสดงละครเวที การจำหน่ายสินค้าเพ่ือทำให้สะพานรัษฎาภิเศก
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมกันด้วย สะพานรัษฎาภิเศกจึงเป็น
สถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเมืองลำปางที่น่าชมด้วยความงดงามแปลกตาของโค้ง
สะพานท่มี เี พยี งไมก่ ่ีแห่งในประเทศไทย

29

ภาพเก่าของสะพานรษั ฎาภเิ ศกในอดีต
เออื้ เฟือ้ ภาพ : อาจารย์สวุ ภรณ์ ชูโต

ตลาดจนี หรือกาดกองตา้

ตลาดจีนหรอื ปจั จุบันนิยมเรียกว่า “กาดกองต้า” เป็นสถานที่ทอ่ งเท่ียวแบบคนคนเดิน
ยอดนิยมในยามค่ำคืนของเมืองลำปางท่ีทั้งคนในเมืองลำปางและนักท่องเท่ียวนิยมมาเท่ียวชม
จดุ เด่นของกาดกองต้า ก็คืออาคารหรือสถาปัตยกรรมไทยผสมตะวันตกรวมถึงจีนและพม่าซึ่งมี
อยู่จำนวนมากและทรงคุณค่าให้ความงดงามทางศิลปกรรมอย่างย่ิง โดยเฉพาะอาคารที่อยู่ใจ
กลางของกาดกองต้าต้ังอยู่โดดเด่นเป็นสง่า ช่ือ “อาคารหม่องโง่ยซ่ิน” ถือเป็นสถาปัตยกรรม
ตะวันตก ผสมไทยและพม่า เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิก
สยาม

กาดกองต้านั้นเป็นพ้ืนท่ีในการค้าขายแลกเปลี่ยนมาแต่อดีต เดิมที่เดียวก่อนหน้าที่รถไฟ
สายเหนอื จะมาถึงนครลำปางในปี พ.ศ.๒๔๕๙ พื้นทแ่ี หง่ นี้เป็นทา่ เรอื ในการขนสง่ สินค้าจากปากน้ำ
โพ จังหวัดนครสวรรค์เข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนยังเมืองลำปาง มีการแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งของ
ทางภาคเหนือและภาคกลางไปมาโดยทางเรือ ทำให้กาดกองต้าเป็นที่พบปะของผู้คนหลายหลาย
ชาติพันธ์ุ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในช่วงเวลานั้นเมืองลำปางมีธุรกิจการทำป่าไม้ท่ีรุ่งเรืองที่สุดของ
ภาคเหนือตอนบน จึงมีชาวอังกฤษ พม่า อินเดีย จีน ไทยใหญ่เข้ามาในเมอื งลำปางเป็นจำนวนมาก
เพื่อการค้าในธรุ กิจการทำปา่ ไม้ และการคา้ ขายในรูปแบบอื่นๆ (กติ ศิ ักดิ์ เฮงษฎกี ุล, ๒๕๕๒)

ในกาดกองต้าจะมีคนจีนเป็นกลุ่มใหญ่ท่ีอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่หลายระลอก ทำให้
เรียกชื่อตลาดแห่งนว้ี ่า “ตลาดจีน” หรือคนทอ้ งถ่ินเรียกเป็นการภายในว่า “กาดกองต้า” มรดก
ท่ีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เข้ามาพักอาศัยหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนในบริเวณกาดกองต้า คือ อาคาร
บ้านเรือน สถาปัตยกรรมไทยผสมตะวันตกที่ทรงความงดงาม ทำให้กาดกองต้าจัดเป็นถนนคน
เดินท่ีสวยงามท่ีสุดแห่งหน่ึงของประเทศไทย กิจกรรมคนคนเดินจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์และวัน
อาทิตย์มีการจำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆ เช่น อาหาร ของใช้ ของท่ีระลึก รวมท้ังกิจกรรม

30

กลางแจ้งต่างๆ เช่นดนตรีสด การจัดแสดงภาพวาด การแสดงดนตรีพ้ืนเมืองของนักเรียนเป็น
ตน้ ในปัจจุบันกาดกองต้าได้เกิดถนนศิลปะ (Street Art) บริเวณริมน้ำวังซึ่งวาดภาพ
ติดตามกำแพงบ้านและอาคารซึ่งเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจให้แก่กาดกองต้าให้นักท่องเท่ียวได้เข้ามา
เท่ยี วชมและถา่ ยภาพเป็นจำนวนมาก

ภาพเก่าของอาคารเก่าในบรเิ วณตลาดจีนหรือกาดกองต้า
เออ้ื เฟือ้ ภาพ : อาจารย์วสิ ฐิ ตรี ณวัฒนากูล

สถานรี ถไฟนครลำปาง

การเกิดขึ้นของสถานีรถไฟนครลำปางในปี พ.ศ.๒๔๕๙ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของ
เมอื งลำปาง
ยุ ค ส มั ย ท่ี ส ำคั ญ เพ ร าะรถ ไฟ ส าย เห นื อ ท่ี มุ่ งสู่ เมื อ งล ำป างได้ น ำ ค วาม เป็ น สั งค ม เมื อ งแ บ บ
กรงุ เทพฯ ท้ังวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคมหรือสินค้าท่ีแปลกตาในสมัยน้ัน รวมถึงรถม้าอันเป็น
เอกลกั ษณะของเมืองลำปางในปัจจุบันกเ็ ข้ามาในยุครถไฟ รถไฟถึงเปรียบประดุจยานพาหนะท่ีนำ
ความเจริญแบบสมัยใหม่มาสู่เมืองลำปางหรือสีสันจากบางกอกเข้ามา ย่านการค้าบริเวณกาด
กองต้าท่ีเคยเจริญรุ่งเรืองในฐานะท่าเรือสินค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสองของภาคเหนือตอนบนได้เร่ิม
ซบเซาลง แตบ่ ริเวณสถานีรถไฟนครลำปางหรือย่านสบตุ๋ยกลับกลายเป็นยา่ นเศรษฐกิจที่คึกคัก
และสำคัญแห่งใหม่ในยุคนั้น เกิดร้านค้า โรงแรม รถม้าขนส่งสินค้า และผู้คนท่ีหลากหลายใน
บริเวณยา่ นสถานีรถไฟโดยเฉพาะไดม้ ีชาวจนี อพยพมาจากรุงเทพฯโดยทางรถไฟและการตั้งรกราก
อย่ทู ี่เมอื งลำปางหลายระลอก (กนกวรรณ อทู่ องทรพั ย,์ ๒๕๕๖)

สถานีรถไฟนครลำปางจึงเป็นจุดในการเดินทางจากลำปางถึงกรุงเทพฯได้รวดเร็วท่ีสุดใน
ยุคน้ัน ยังเป็นชุมชนการค้าขาย การแลกเปล่ียนทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญของภาคเหนือ
ตอนบน ดว้ ยเหตทุ ่ีรถไฟสายเหนอื มาหยุดอยู่ที่เมอื งลำปางนานเกอื บ ๑๐ ปีเพราะอุโมงค์ขุนตาน
ยังอยู่ระหว่างการขุดเจาะ จนกระทั้งต่อมาเม่ือได้ขุดอุโมงค์ขุนตานสำเร็จ รถไฟสายเหนือก็ย้าย
ปลายทางไปท่ีเมืองเชียงใหม่ แม้ว่าความเจริญทางเศรษฐกิจที่ย้ายไปยังเมืองเชียงใหม่ แต่

31

สถานีรถไฟนครลำปางก็ยังคงความสำคัญโดยเฉพาะอาคารสถานีรถไฟท่ีเป็นสถาปัตยกรรมไทย
ผสมตะวันตกอันงดงามและทรงคุณค่า จนได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิก
สยามในพระบรมราชปู ถัมภ์ ในปัจจบุ ันแม้วา่ ย่านการค้าบริเวณสบตุ๋ยจะไม่ได้คึกคักดังเช่นในยุค
รถไฟ พ.ศ.๒๔๕๙ แต่เม่ือใครมาเยือนเมืองลำปางก็แวะไปชมสถานีรถไฟท่ีสวยงามและเป็น
สญั ลักษณ์แห่งหนึ่งของเมืองลำปาง ในต้นเดือนเมษายนของทกุ ปีทางจงั หวัดได้จัดกจิ กรรมรำลึก
ประวัติศาสตร์รถม้ารถไฟขึ้นท่ีสถานีรถไฟนครลำปางเพื่อระลึกถึงความสำคัญที่รถไฟมาถึงเมือง
ลำปางเม่ือร้อยกว่าปีท่ีแล้วและได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองและ
วฒั นธรรมอยา่ งขนานใหญใ่ ห้แก่เมอื งลำปาง

กจิ กรรมรำลึกประวตั ิศาสตร์รถมา้ รถไฟที่สถานรี ถไฟนครลำปาง

กาดเก๊าจาว

ตลาดพื้นบ้านยามเช้าในช่ือ “กาดเก๊าจาว” ต้ังอยู่บริเวณย่านสบตุ๋ย ใกล้กับสถานีรถไฟ
นครลำปางซ่ึงเป็นย่านการค้าเก่าแก่ของเมืองลำปางในอดีตมีอายุกว่าหนึ่งร้อยปีบริเวณรายรอบ
เต็มไปด้วยหอ้ งแถวไมก้ วา่ ๓๐ คูหา สรา้ งราวปี พ.ศ.๒๔๕๙ ซึ่งพรอ้ มกับการมาถึงของรถไฟสาย
เหนือ แต่เดิมมีต้นเก๊าจาวหรือต้นขะจาวขนาดใหญ่ขวางแนวทางรถไฟอยู่ต้นหน่ึงและมีความ
จำเป็นต้องตัดทิ้ง ต่อมาชาวบ้านในบริเวณน้ันได้นำส่ิงของมาวางขายจนเกิดเป็นตลาดเล็กๆ ริม
ทางรถไฟข้ึน ชาวบา้ นจึงเรียกตลาดเล็กๆ แห่งนี้ตามช่อื ของต้นขะจาวต้นนั้น เม่อื เกดิ สงครามโลก
ครง้ั ที่ ๒ ราว พ.ศ.๒๔๘๖ เกิดไฟไหม้ในตลาด หลงั จากนน้ั จึงไดเ้ ร่มิ สร้างอาคารห้องแถวไม้ ทำให้
พ้ืนท่ีบริเวณน้ีได้ขยายตัวกลายเป็นชุมชนที่มีการซ้ือขายแลกเปล่ียนกันมากข้ึนและพัฒนา
กลายเปน็ ตลาดมกี ารตัง้ ชอื่ วา่ “ตลาดรตั น”์ แต่ผู้คนนิยมเรียกวา่ ”กาดเก๊าจาว” มากกว่า

32

ในยามเช้าของทุกวนั ในกาดเก๊าจาว ตลาดเกา่ พ้นื บ้านจะมีพ่อค้าแม่คา้ นำของมาจำหนา่ ยเป็น
ผัก ผลไม้ ของสดนานาชนิด โดยเฉพาะผักพื้นเมืองท่ีไม่ค่อยได้พบเห็นโดยทั่วไป เป็นลักษณะ
ตลาดแบบแบกะดินซ่ึงก็ทำให้ดูมีเสน่ห์ไม่น้อย นอกจากนี้ยังมอี าหารเช้าแบบไทย-จีนให้เลือกอีก
มากมาย เช่น ข้าวมันไก่แม่ละมัย กาแฟโบราณเฮียฮวด แคบหมู น้ำพริกหนุ่ม ก๋วยจั๊บ
ปาท่องโก๋ ขนมครก และขนมไทยทีอ่ ร่อยมากมาย คณุ คา่ ของกาดเก๊าจาวคือตลาดพ้ืนบ้านยามเช้า
ที่ได้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนลำปางซ่ึงนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาสัมผัสได้ในยามเช้าของทุกวัน

ความเป็นตลาดพ้ืนบ้านท่ีทรงเสน่ห์รายรอบด้วยห้องแถวไม้และมีสินค้าท้องถิ่นที่เป็น
เอกลักษณ์ได้สรา้ งความสนใจให้กับนักท่องเท่ียวท่ามกลางกระโหยหาอดีตท่ีอยากจะมาเยี่ยมชม
และหาซ้ือสินคา้ ในเวลาทมี่ าเยอื นเมืองลำปาง

กาดเก๊าจาวในยา่ นสบตยุ๋

วัดศรีรองเมือง

วัดศรีรองเมืองเป็นหน่ึงในจำนวนวัดท่ีมีศิลปะพม่าและไทใหญ่ในเมืองลำปาง ได้สะท้อน
ถงึ ความร่งุ เรืองทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมป่าไม้ในเมอื งลำปางในชว่ งราวปี พ.ศ.๒๔๓๘ ที่นำ
โดยบริษัทป่าไม้จากต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ได้นำผู้ร่วมงานจากพม่าเข้ามาอาทิ ชาวพม่า ชาวไท
ใหญ่ เป็นต้นซึ่งมีหน้าท่ีเป็นหัวหน้าแรงงานในการทำป่าไม้ ต่อมาบริษัทป่าไม้ซึ่งมีชาวตะวันตก
เป็นผู้จัดการบริษัทได้ขยายธุรกิจเข้ารับทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในพื้นที่กวา้ งใหญ่มากข้ึน จึงได้แบ่ง
ให้หัวหน้าแรงงานท่ีมีความไว้วางใจรบั ช่วงไปทำต่อ ด้วยความอดทนและขยันขันแขง็ ของชาวพม่า
และชาวไทยใหญ่ทำให้ธุรกิจการค้าไม้ประสบความสำเร็จและได้สั่งสมทุนจนมีฐานะร่ำรวย หลาย
คนมฐี านะเป็นคหบดีคนสำคัญของเมืองลำปางในยุคน้ัน จนมจี ิตศรทั ธาสรา้ งวัดหรือบูรณะวัดท่ีมี
มาแต่เดิมให้เป็นศิลปะแบบพม่าและไทใหญ่ข้ึนจำนวนกว่า ๑๐ แห่ง อาทิวัดศรีชุมนำโดยหม่องยี
บริบูรณ์ ชาวพม่า วัดป่าฝางนำโดยหม่องส่วยอัต สุวรรณอัตถ์ ชาวพม่า วัดท่ามะโอนำโดย

33

หม่องจันโอง จันทรวิโรจน์ ชาวพม่า ในส่วนของวัดท่ีสร้างโดยชาวไทใหญ่ อาทิเช่น วัดศรีรอง
เมือง วดั มอ่ นจำศีล วัดมอ่ นปู่ยักษ์ เปน็ ต้น

วัดศรรี องเมือง หรือมชี ่อื เดิมว่า “วัดท่าคราวน้อยพมา่ ” สรา้ งโดยคหบดีชาวไทใหญ่นำโดย
พ่อเฒ่าอินต๊ะ ศรีรองเมือง ผู้ถวายที่ดิน และสร้างราว พ.ศ.๒๔๔๗ ความโดดเด่นของวัดศรีรอง
เมืองคือ วิหารศิลปะพม่าแบบมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นนิยมในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา มีลักษณะเป็น
หลังคาจ่ัวซ้อนเป็นซุ้มเรือนยอดและมีสังกะสีแดงสวยงาม ภายในมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะแบบพม่า ๓ องค์ วัดศรีรองเมืองเป็นวัดที่เคยผ่านห้วงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ท่ี
สำคัญ เช่น ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๗ ได้เสด็จ
ประพาสมณฑลพายัพเป็นคร้ังแรกและเป็นพระมหากษัตริยข์ องสยามพระองค์แรกท่ีเสด็จมาถึง
ล้านนา เม่ือครั้งทีพ่ ระองค์ท่านได้เสดจ็ มาถึงเมืองลำปาง วัดศรีรองเมอื งก็เปน็ วัดหน่ึงทีเสด็จมา
เยี่ยมชม และทรงถวายพระบรมสาทศิ ลกั ษณ์ของพระองค์ทา่ นไวใ้ นวิหาร ในช่วงปี พ.ศ.
๒๔๘๕ เกิดเหตุการณ์สงครามโลกคร้ังท่ี ๒ เม่ือกองทัพของญี่ปุ่นเข้ามาถึงเมืองลำปาง วัดศรี
รองเมืองก็กลายเป็นหนึ่งในที่ต้ังกองกำลังของทหารญี่ปุ่นซ่ึงได้เข้ามาพักไว้วิหารหลังใหญ่อันงาม
สง่าน้ีจึงนับเป็นวัดหน่ึงมีมีความน่าสนใจท้ังทางประวัติศาสตร์และศิลปะอันงดงามแบบพม่าท่ี
เกิดขึน้ ในเมืองลำปางจากยคุ อุตสาหกรรมป่าไม้

วดั ศรรี องเมือง หนง่ึ ในวัดศิลปะแบบพม่าและไทใหญ่ในเมืองลำปาง

หา้ แยกหอนาฬกิ า และหอปมู ละกอน

ห้าแยกหอนาฬิกาจัดเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของตัวเมืองลำปาง เป็นห้าแยกที่กว้างใหญ่มี
หอนาฬิกาขนาดใหญ่ที่สวยงามต้ังตระหง่านอยู่ตรงกลาง บริเวณรอบข้างเป็นลานกิจกรรมช่ือ
“ข่วงนคร” และสวนสาธารณะ ในโอกาสสำคัญจะใช้เป็นสถานท่ีจัดกิจกรรมระดับจังหวัด เช่น
งานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมือง หรืองานสงกรานต์ งานเทศกาลเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่

34

เป็นต้น ตัวหอนาฬิกาแห่งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์อันหนึ่งของเมืองลำปางที่ใครมาเยือนลำปางแล้ว
จะมาถ่ายภาพบริเวณนี้ด้วย สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นราว พ.ศ.๒๔๙๗-๒๔๙๘ ตามนโยบายของ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะน้ัน เพ่ือเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ
(ชยั วฒั น์ ศุลดิลกลกั ษณ์,๒๕๕๑)

ในบรเิ วณใกลเ้ คียงจะมีสำนกั งานเทศบาลนครลำปางซงึ่ ได้จดั ทำพพิ ิธภัณฑเ์ ทศบาลนคร
ลำปาง หรือเรียกอีกช่ือหน่ึงกว่า “หอปูมละกอน” เป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์เล่าเรอ่ื งของ
สังคมเมืองลำปาง (ในเขตเทศบาลนครลำปาง) โดยเล่าเรอื่ งราวผ่านนิทรรศการถาวรตงั้ แต่อดีต
ของการสร้างเมืองเก่าเขลางค์นคร สู่ยุคสมัยล้านนา รัตนโกสินทร์เรื่อยมาจนกระทง่ั เข้าสู่ยุคสมัย
ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมตามแบบกรุงเทพฯ
ในชว่ งทรี่ ถไฟสายเหนือมาถึงเมอื งลำปางในปี พ.ศ.๒๔๕๙ จนมาถงึ ปัจจบุ ัน

การสร้างหอปูมละกอนมีจดุ มุ่งหมายเพื่อให้คนลำปางและนักท่องเที่ยวไดร้ ู้จักเร่อื งราว
อันเป็นภูมิหลังของตัวเมืองลำปางในอดีตโดยสังเขปก่อนท่ีจะไปเยี่ยมชมสถานท่ีท่องเที่ยวแห่ง
อน่ื ในตัวเมืองลำปางหรือในเขตเมืองเก่านครลำปาง หอปูมละกอนจงึ เป็นสถานที่ซ่งึ นักท่องเที่ยว
ไมค่ วรพลาดอย่างยิ่ง

หา้ แยกหอนาฬิกาและขว่ งนคร

อาคารศาลากลางจงั หวดั ลำปางหลงั เก่า

พื้นที่ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเก่า เป็นสถานที่สำคัญทางการเมืองการปกครองใน
อดีตระหว่างสยามและเมืองลำปาง ประกอบด้วย เคยเป็นที่ต้ังของหอคำยุคสมัยของพระเจ้า
ดวงทิพย์เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง และคุ้มหลวงซ่ึงเป็นท่ีอยู่ของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้
ครองนครลำปางคนสุดท้ายถือเป็นหัวใจสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองลำปาง มีศาลหลักเมือง
ของลำปางขนาดใหญ่ซงึ่ มเี สาหลักเมืองถงึ ๓ เสาดว้ ยกัน

35
อาคารศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเก่าท่ีเห็นอยู่ในปัจจุบันน้ีสร้างขึ้นในราว พ.ศ.๒๕๐๗
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา
ทรงเปิดอาคารแห่งนี้เมื่อวันท่ี ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๙ นับเป็นอาคารศาลากลางหลังท่ีสอง
ภายหลังจากทีร่ ื้อศาลารฐั บาลหลักแรกท่เี คยใชม้ าต้งั แตส่ มยั ยุคการเปล่ียนแปลงการปกครองใน
สมยั รัชกาลท่ี ๕
ในปัจจุบันอาคารศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเกา่ ไดพ้ ัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองในช่ือ
“พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง” หรือเรียกโดยย่อว่า “มิวเซียมลำปาง” เป็นพิพิธภัณฑ์
ทันสมัยแห่งหนึ่งในส่วนภูมิภาคซึ่งดำเนินการโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมกับ
เทศบาลนครลำปางเพื่อสร้างแหลง่ เรียนรทู้ างประวตั ิศาสตรใ์ หแ้ ก่คนลำปางโดยเฉพาะเยาวชนรุ่น
ใหม่ใหร้ ู้จกั รากเหง้าของบ้านเมอื งของตนเอง
น อ ก จ าก น้ี ยั ง มี ศ าล แ ห่ ง นี้ เป็ น ที่ ป ร ะดิ ษ ฐ า น พ ร ะพุ ท ธ รู ป ส ำ คั ญ ป ร ะจ ำ พ ร ะอ ง ค์ ข อ ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี ๙ ซึ่งมีอยู่เพียง ๔ องค์เท่าน้ันใน
ประเทศไทย ต้ังอยู่ตามทิศทงั้ ส่ี ทิศเหนือตง้ั อยู่ที่ลำปาง ทิศใต้อย่ทู ่ีพัทลุง ทิศตะวันออกอยู่ที่
สระบุรี และทิศตะวันตกอยู่ท่ีราชบุรี มีนามเป็นทางการว่า “พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์
จตรุ ทศิ ” แตช่ าวบ้านท่ัวไปเรียกชอ่ื วา่ “หลวงพอ่ ดำ” เปน็ พระพทุ ธรูปปางสมาธศิ ลิ ปะสโุ ขทัย

อาคารศาลากลางหลังเก่าจงั หวัดลำปาง

36

ประวัติวดั ม่ิงเมอื งมูล

37

ประวตั คิ วามเปน็ มา

วัดม่ิงเมืองมลู เดิมต้ังอยู่ริมแม่น้ำวังต่อมาน้ำเซาะตล่ิงเข้าถึงบริเวณวัดจึงยา้ ยมายงั ท่ีต้ัง
ปัจจุบัน สร้างวัดข้ึนใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ไม่มีการระบุและหลักฐานปรากฏแน่ชัดถึงเวลาก่อต้ัง
และสร้างในเวลาใด เดิมมีวัดช่ือว่า “วัดดอนมูล” ได้ถูกแม่น้ำวังกัดเซาะตล่ิงพังในหมู่บ้านซึ่ง
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวัง หรือ บ้านท่าส้มป่อย หมู่ที่ ๑ ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
(สถานท่ีปัจจบุ ัน คือ หมทู่ ี่ ๑๗ ต.พิชยั อ.เมือง) และในพ้ืนที่น้ันมีประชากรอยู่หนาแน่น ชาวบา้ น
จึงไดแ้ บง่ แยกเป็น ๓ กลุม่ กระจายตง้ั ถนิ่ ฐานในแหลง่ ที่เหมาะสม ดงั น้ี

กลุ่มที่ ๑ ได้พากันมาต้ังถ่ินฐานบริเวณวัดม่ิงเมืองมูลในปัจจุบัน โดยสร้างวัดข้ึนมาใหม่
ทางทิศตะวันออกของวัดเดมิ และต้ังช่อื วัดแหง่ นี้วา่ “วัดม่งิ เมืองมูล” ปัจจบุ ันต้ังอยู่ ณ หมู่ที่ ๑๗
ต.พิชยั อ.เมืองลำปาง ถนนซุปเปอรไ์ ฮเวย์ ลำปาง – เชยี งราย หลกั กโิ ลเมตรท่ี ๑๗

กลุม่ ท่ี ๒ ไดพ้ ากนั มาตง้ั ถ่ินฐานบริเวณ คอื บ้านดอนมลู ริมนำ้ ในปัจจุบัน

กลุ่มที่ ๓ ได้พากนั มาตั้งถ่ินฐานบริเวณฝั่งตรงข้ามกับวดั เดิม ซ่ึงเม่ือแม่น้ำวังได้เซาะตล่ิง
พังพัดเอาวัดไป แม่น้ำแห่งนี้ได้เปล่ียนสายทางเดินของน้ำเกิดเป็นเกาะ และมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น
พ้นื ทอี่ ดุ มสมบรู ณ์ ชาวบ้านจงึ ไดอ้ พยพไปสร้างหมูบ่ ้านแล้วตัง้ ชอื่ ขน้ึ ใหม่ว่า “บ้านปงดอนมูล”

จากการจดบันทึกของ หลวงพ่อสม ท่านได้บันทึกถึงปัจจัยสำคัญการเปล่ียนชื่อมาเป็น
“บ้านท่าส้มป่อย” ซึ่งมีข้อความว่ามีพระเถระ ๒ รูปเดินทางมาสืบหาดอนพง ได้แก่ วัดพระธาตุ
เสด็จในปัจจุบัน ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดทราบมาก่อน ซึ่งเม่ือท่านได้เดินทางมาถึงแม่น้ำวังทางทิศเหนือ
ของบ้านท่าส้มป่อย ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดพระธาตุเสด็จ ท่านได้หยุดพักริมแม่น้ำนั้น ซ่ึงตรงริม
ฝ่ังท่ีย่ืนออกไปทางตรงกลางของแม่น้ำได้มีโขดหินอันหน่ึงซึ่งใหญ่โตกว้างกั้นทางประมาณของ
พื้นท่ีเปรียบไก้กับพ้ืนท่ที ่ีประชาชนประมาณ ๓-๔ คนสามารถจะนั่งวงล้อมกนั ได้ โดยมีต้นไม้แดง
ต้นใหญ่หนาทบึ ปกคลมุ เปน็ ร่มเงาอยา่ งกวา้ งขวาง เหมาะเป็นสถานท่พี ักผ่อนของคนไปมาไดอ้ ยา่ ง
สะดวกสบาย รวมทั้งพระมหาเถระท้ัง ๒ รูป ได้ลงอาบน้ำสระเกล้าดำหัว ด้วยขมิ้นส้มป่อยที่ท่าน
ได้เตรียมมา เม่ือท่านสรงน้ำเรียบร้อยแล้ว ได้นำเมล็ดส้มป่อยท่ีใช้แล้วท้ิงลงข้างริมฝ่ังแม่น้ำ
ใกล้ๆกับต้นไม้แดง และได้เกิดเป็นรม่ ไม้ใหญ่เพ่ิมขึ้นในเวลาต่อมา ต้นไม้ได้แผ่ปกคลุมไปยังโขด
หนิ ท่รี ิมฝ่ังแม่น้ำ ผู้คนท่ีเดินทางผ่านไปมาใชเ้ ปน็ สถานทพ่ี ักผอ่ น จงึ เป็นท่ีรู้จักกนั และเรยี กกันติด
ปากว่า “ท่าส้มป่อย” ตอ่ มาเมื่อทา่ สม้ ป่อยมีคนรู้จกั และกล่าวขานกนั มากขึ้น ชื่อเดมิ ของหมู่บ้าน
คือ “ปงดอนมูล” จึงค่อยๆจางหายไป กลายเป็น “บ้านท่าส้มป่อย” จนถึงปัจจุบัน และใน
ขณะเดียวกันพระเถระทั้งสองรูปได้สรงน้ำอยู่ท่านได้ทำออม หรือผอบ ท่ีเป็นภาชนะ บรรจุขม้ิน
ส้มป่อยหลุดมือตกลงท่ีแห่งนัน้ ชาวบ้านจึงขนานนามพื้นทีแ่ หง่ น้นั ว่า “วงั ออม”

ในขณะท่ีแม่จี๋ ปาวงค์ อายุ ๙๑ ปี เกดิ เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๖๙ และเหตกุ ารณ์ในตอนนั้นยายจ๋ี
อายุประมาณ ๑๐ ขวบเศษ ได้บอกเล่าของประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านมิ่งมงคล ว่าในสมัย

38

อดีตชาวบ้านเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “ม่อนเสือแผ้ว” เนื่องจากเป็นเนินป่าละเมาะมีเสืออาศัยอยู่
คาดว่าได้มาจากท่ีเคยมีประวัติว่าพระชื่อยอดเคยโดนเสือคาบไปจากคำบอกเล่าเม่ือก่อนเสือชุม
มาก แค่สุนัขที่นอตามกองไฟยังไม่ได้ต้องถูกเสือคาบไปทุกตัว บางคร้ังก็คาบเอาไก่หรือสุนัข
ชาวบ้านไปกินตลอด

ในเริม่ แรกพ่อเฒ่าสุดใจ ปาวงค์ บิดาของแม่จ๋ี ปาวงค์ คอื ผู้ที่เขา้ มาต้ังหลักปักฐานเป็นรุ่น
แรกและให้ลุงก๋วนมาอาศัยอยู่ด้วย เดิมทีพ่อเฒ่าสุดใจ อาศัยอยู่บ้านปงดอนมูล หรือบ้านท่า
ส้มป่อยในปัจจุบัน ต่อมาย้ายมาอยู่ป่าอยู่บริเวณหนองข้ีลืม บนพื้นที่ริมไร่ทางเหนือของห้วยเขา
ห่ม โดยท่านก็ได้ชวนอาป๋ันมาอาศัยอยู่ด้วย โดยหากใครอยากมาอาศัยอยู่ก็ต้องมาจัดการจับจอง
ถากถางพ้ืนท่ีจับจอง ในขณะนนั้ น้ันไดเ้ กิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าชาวบา้ นตายจำนวนสองคน ขณะน้นั ยังไม่
มีวัดในบริเวณนี้ ยังคงมีวัดเดิมตั้งอยู่ ณ ริมน้ำวัง หมู่ ๑๑ ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง โดยวัสดุ
ต่างๆของทางวัด ไม่ว่าจะเป็นอาสนะจำนวนหลายผืน รวมไปถึงรูปป้ันแม่ธรณีบีบมวยผม
พระพุทธรูปปางยืน หรือพระพุทธรูปท่ีสร้างด้วยไม้ได้ถูกนำมากองรวมไว้บริเวณใต้ต้นลาน และ
เหตุผลในการมาจัดต้ังวัดณ แห่งน้ีเนื่องมาจากวัดเดิมต้ังอยู่ริมฝ่ังแม่น้ำวังเกิดน้ำเซาะตล่ิงทุกปี
ทำให้วัดวาอารามได้รับความเสียหายและไม่มั่นคง จึงย้ายมาตั้งในสถานที่ปัจจุบัน และสันนิษฐาน
ว่าจะเกิดหลงั จากการมาของพอ่ เฒา่ สขุ ใจ เนื่องจากสมัยกอ่ นพื้นท่ียังเป็นปา่ ไม่มีบา้ นหรอื แม้แตว่ ัด
วาอาราม จากเหตุผลดังกล่าวจึงสันนิษฐานได้ว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างหลังจากการย้ายถ่ินฐานมา
ของพอ่ เฒ่าสขุ ใจ

พ้ืนที่หมู่บ้านในอดีตช่วงสงครามโลกคร้ังท่ี ๒ จากคำบอกเล่าในช่วงน้ันพ้ืนท่ียังคงเป็น
พ้ืนที่ป่า มีพวกม้าของทหารญ่ีปุ่นซ่ึงนำมาพักไว้อาศัยอยู่ในพ้ืนท่ีหมู่บ้านม่อนเสือแผ้วน้ี ชาวบ้าน
จึงต้องขุดหลุมเพื่อสร้างหลุมหลบภัยจากการท้ิงระเบิดของเคร่ืองบินรบ แต่ไม่มีผู้ใดในหมู่บ้าน
ผู้เสียชีวิต จากคำบอกเล่าเห็นว่าแม้แต่แสงไฟก็มีพวกทหารมาควบคุมไม่ให้มีเพราะเห็นว่าหากมี
แสงไฟอาจถูกเครื่องบินรบโจมตีได้ ชาวบ้านในสมัยน้ันพ้ืนท่ีแห่งน้ียังมีน้อยมีไม่กี่หลังคาเรือน
เม่ือพ้ืนท่ีแถบน้ีเต็มไปด้วยไม้ยืนต้นหลากหลาย เช่น ต้นง้ิว พ่อเฒ่าสุดใจเป็นบุคคลแรกที่มา
บกุ เบิกพ้ืนทแี่ ห่งน้ี หลงั จากนนั้ ชาวบ้านก็ตามมาทีหลัง เพื่อมาสร้างเส้นทางและสร้างพื้นที่วัด ใน
ปี พ.ศ.25....หมู่บ้านดอนมูล หมู่ 11 ได้แบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้าน หมู่บ้านหมู่เดิมชื่อบ้านดอน
มูล หมู่ 11 ตั้งอยู่พ้ืนท่ีใกล้ริมแม่น้ำวัง มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 70 ครอบครวั และต้ังเป็น
หมู่บ้านใหม่อยู่พื้นที่ใกล้ถนนพหลโยธิน สายลำปาง-งาว ตั้งชื่อหมู่ว่า บ้านมิ่งมงคล หมู่ 17 มี
ประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 200 ครอบครัว การขยายต้ังหมู่บ้านใหม่เพื่อการกระจาย
งบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้าน และวัดมิ่งเมืองมูลตั้งอยู่ในเขต บ้านม่ิงเมืองมูล หมู่ 17 จึง
เปล่ยี นสถานท่ีต้ังวัดตามหม่บู า้ นในปัจจุบนั

สำหรับเจ้าอาวาสของวัดรุ่นแรก สันนิษฐานว่าจะเป็น “หนานมูล” ซึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน
และเป็นลูกของพ่อเฒ่าหนานเขียว แม่เฒ่าหมูบ แล้วได้ลาสิกขาไปมีครอบครัวที่ทุ่งโฮ้ง ปัจจุบัน
เครอื ญาติที่เหลืออย่ขู องหนานมลู คอื ผใู้ หญ่ไชยวุธ หลักฐานเปน็ การสบื ค้นในรุ่นหลาน

ต่อมาพระครูอาทรพิพัฒนกิจ (หลวงปู่สุคำ สาธโร) น้องชายแม่จ๋ี ปาวงค์ สมัยตอนบวช
เป็นสามเณรได้ลาสิกขาไป เม่ือลาสิกขาไปเป็นฆราวาสไปทำงานประมาณ ๑-๒ ปี แต่ก็ทำไม่ไหวก็
เกิดไม่สบายจึงได้กลับมาบวชอีกครั้ง ในวัดม่ิงเมืองมูลในสถานท่ีปัจจุบัน ท่านได้สร้างเสนาสนะ
จนเป็นที่ม่ันคงถาวร และได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ สิริอายุได้ ๘๓ ปี
ศรัทธาญาติโยมจึงได้อาราธนาพระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ. (พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี)

39

นักธรรมเอก, เปรียญธรรม ๕ ประโยค , M.A. (ภาษาศาสตร์), ค.ม. (การบริหารการศึกษา)
อาจารย์ประจำ และผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นนครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วทิ ยาลยั มาดำรงตำแหน่งเจา้ อาวาสวัดมงิ่ เมืองมูล ตัง้ แต่ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ จนถงึ ปจั จบุ นั

การบรหิ ารและการปกครองโดยเจา้ อาวาสจำนวน ๗ รปู มรี ายนามดงั นี้
พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔๕๘ พระจ๋อย จนตฺ สีโล
พ.ศ. ๒๔๕๙ – ๒๔๖๕ พระอนิ ตา จนฺทวโํ ส
พ.ศ. ๑๓๖๖ – ๒๔๖๙ พระศรีมูล ตธมฺโม
พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๖ พระนกิ ร คมฺภีโร
พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๔๙๗ พระอินปน๋ั มนุ ิวํโส
พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๕๕๕ พระครอู าทรพิพฒั นกิจ (สุคำ สาธโร)
พ.ศ. ๒๕๕๖ – ปจั จุบนั พระครูสิรธิ รรมบณั ฑติ ,ผศ.ดร. (ภาณวุ ัฒน์ ปฏภิ าณเมธ)ี

ปจั จุบนั
ปัจจุบันพระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร. (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ) เจ้าอาวาสพร้อม

คณะศรัทธาวดั มิ่งเมืองมูลกำลงั ดำเนินการกอ่ สร้าง จำนวน ๒ รายการ
๑. พ.ศ. ๒๕๖๐ สร้างกุฏิสงฆ์ขึ้น ๑ หลัง ๒ ช้ัน ขนาด กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร ทรง
ลา้ นนาประยุกต์
๒. พ.ศ. ๒๕๕๘ สร้างพระพุทธม่งิ มงคลมุนีศรเี ขลางค์ (พระเจ้าเศรษฐี) หน้าตัก ๘ เมตร
พร้อม อาคารฐานพระช้ันล่าง ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ด้วยวัดมิ่งเมืองมูล
บา้ นมิ่งมงคล หมู่ ๑๗ ถนนพหลโยธนิ ลำปาง-งาว ตำบลพิชยั อำเภอเมอื ง จงั หวัดลำปาง
ตั้งอยู่บนเนินเล็กๆ ติดกับถนนพหลโยธิน สายลำปาง-เชียงราย ทุกๆ วัน หน้าวัดมีรถ
สญั จรไปมามากมาย พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี เจ้าอาวาสพร้อมคณะศรัทธาวัดมิ่ง
เมืองมูลได้ปรึกษากันที่จะสร้างพระพุทธม่ิงมงคลมุนีศรีเขลางค์ (พระเจ้าเศรษฐี) เป็น
พระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี ทรงเคร่ืองล้านนา หน้าตัก ๗ เมตร พร้อมกับสร้าง
อาคารฐานพระฯ โดยได้ปรกึ ษาและได้รับความเมตตาการให้คำแนะนำจากพระเดชพระคุณ
พระราชวรมุนี รองเจ้าคณะภาค ๖ (ปัจจุบัน พระเทพเวที เจ้าคณะภาค ๖) การสร้าง
พระพทุ ธรูปฯ ในครัง้ น้ี มีวัตถปุ ระสงค์ ดงั นี้
๑. เพ่อื เปน็ การจรรโลงไวซ้ ่ึงสัญลักษณ์ทางพระพทุ ธศาสนา
๒. เพ่ือเป็นพุทธานุสสติควรสักการะแก่พุทธศาสนิกชนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อ
เหน็ แล้ว

จะไม่ก่อให้เกิดความประมาทในการขับยวดยานพาหนะ อีกท้ังสามารถแวะพักริมทางเข้ากราบ
สกั การะ

๓. เพื่อให้เกิดสพั พะมิ่งมงคลแกต่ นเอง สง่ เสริมให้สงั คมยึดถือและน้อมนำเอา
หลักคำ

สอนทางพระพุทธศาสนาเป็นเคร่ืองยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติอย่างมี
สตสิ ัมปัชชญั ญะ

40

๔. และเพื่อสร้างจิตสำนึกรักและห่วงแหนประเทศชาติบ้านเมืองของตน
สอดคลอ้ ง

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำปาง ด้านการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนและสังคมลำปางให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้มีความเข้มแข็งมีภูมิคุ้ มกันสามารถ
ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความรักและ
ภาคภูมิใจในท้องถนิ่ การอนรุ ักษแ์ ละเผยแพร่ศาสนาประเพณีศิลปวฒั นธรรมทอ้ งถน่ิ ใหเ้ ปน็ ท่ีรูจ้ ัก
อย่างกว้างขวาง ขับเคลื่อนนโยบายจังหวัดลำปางไปสู่เป้าหมาย ลำปางเมืองน่าอยู่ นครแห่ง
ความสขุ

๓. พ.ศ. ๒๕๖๔ สรา้ งห้องสุขา จำนวน ๑๑ ห้อง
๔. พ.ศ. ๒๕๖๔ ซอ้ื ทีด่ ินขยายวดั จำนวน ๒ แปลง ๑ ไร่

เอกสารอา้ งอิง
ประวตั ทิ ว่ั ราชอาณาจักร เลม่ ๘ องพทุ ธศาสนสถาน กรมการศาสนา
กระทรวงศึกษาธกิ าร
การสมั ภาษณ์ของ แมจ่ ี๋ ปาวงค์

ผู้เผยแพรข่ ้อมลู
พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร. (พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ป.ธ.๕) เจ้า

อาวาส โทรศพั ท์ ๐๖๔ ๙๔๙ ๕๙๙๙

41

ประวตั ิความเปน็ มา
มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา

ลำปาง

42

ประวตั คิ วามเปน็ มา มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา ลำปาง

พ.ศ. ๒๕๑๕
มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพนื้ ท่ีลำปาง ตัง้ อยกู่ ิโลเมตรที่ ๗๑๙ ถนน

พหลโยธิน หมู่ที่ ๑๗ ตำบลพิชยั อำเภอเมอื ง จงั หวดั ลำปาง ห่างจากตวั เมืองลำปางประมาณ ๑๒
กิโลเมตร สภาพพน้ื ที่เดมิ ของสถานท่ีแหง่ น้ี เปน็ ทีด่ อน เป็นป่าละเมาะ การบกุ เบิกพื้นทีใ่ นระยะ
เร่ิมต้นนน้ั ใชแ้ รงงานของนกั ศึกษาเปน็ ส่วนใหญ่ ต้นสังกัดเดิม คือ กรมอาชวี ศกึ ษา ไดจ้ ัดสรร
งบประมาณเพื่อบกุ เบิกพน้ื ทแ่ี ละสรา้ งอา่ งเก็บนำ้ อาคารเรียน และอาคารบา้ นพักครู – อาจารย์
ตามงบประมาณท่ีได้รบั โดยเปดิ รบั นกั ศึกษา เข้าเรยี นตง้ั แต่ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๕ เปน็ ต้น
มา วทิ ยาเขตลำปางมพี ้นื ท่ที ง้ั หมด ๑,๓๘๑ ไร่ ใช้ประโยชน์รว่ มกบั สถาบนั วจิ ัยและฝึกอบรม
การเกษตรลำปาง ซ่งึ เปน็ หนว่ ยงานในมหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

พ.ศ. ๒๕๑๘
กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดต้ังวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ตามประกาศราชกิจจา

นุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม ๙๒ ตอนท่ี ๑ หน้า ๑ ลงวันท่ี ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยมีฐานะ
เปน็ กรมหน่ึงในกระทรวงศกึ ษาธิการ และได้แบ่งสถานศึกษาจากกรมอาชีวศึกษา จำนวน ๒๘ แห่ง
มาขึน้ ต่อวทิ ยาลยั เทคโนโลยีและอาชีวศึกษาในการรวมหน่วยงานมาสงั กัดวทิ ยาลัยเทคโนโลยแี ละ
อาชีวศึกษาน้ีได้รวมเอาโรงเรียนเกษตรกรรมลำปางมาด้วยและได้เปล่ียนชื่อใหม่เป็น“วิทยาลัย
เทคโนโลยีและอาชวี ศึกษา วิทยาเขตเกษตรลำปาง”

พ.ศ. ๒๕๓๑
เม่ือวันท่ี ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับ

พระราชทานนามใหม่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๙ เป็น “สถาบันเทคโนโลยีราช
มงคล”

พ.ศ. ๒๕๔๘
เม่ือวนั ท่ี ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ไดท้ รงพระปรมาภไิ ธย

พระราชบญั ญัตมิ หาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซ่ึงมผี ลบงั คบั ต้ังแต่วนั พุธที่ ๑๙ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา ดงั น้นั สถาบันแหง่ นจี้ งึ ไดร้ บั พระราชทานนามใหม่วา่ “มหาวิทยาลยั
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพืน้ ที่ลำปาง” จนถงึ ปจั จบุ ันนี้

43

ปณธิ าน
มหาวิทยาลยั แหง่ การเรยี นรู้ที่มปี ัญญา มคี วามเจริญร่งุ เรือง แจ่มใส เบิกบาน มีความ

บรสิ ุทธิแ์ ละคุณงามความดี ท่ีสามารถบูรณาการ ผสานการบรหิ ารจดั การรว่ มกับเขตพ้นื ที่ในการ
สรา้ งบณั ฑิต นกั ปฏิบตั ทิ ่ถี งึ พรอ้ มดว้ ยคุณธรรม จริยธรรม มคี วามรู้ ความเชี่ยวชาญ ท่ีจะไป
พัฒนาสงั คมและประเทศชาติ ใหเ้ จรญิ รงุ่ เรืองอย่างย่ังยืนและดำเนนิ ชวี ติ อย่างเปน็ สขุ พ่ึงพา
ตนเองได้
วสิ ยั ทศั น์

“มหาวทิ ยาลัยชัน้ นำดา้ นการผลิต บัณฑิตนักปฏิบตั ิ บนฐาน สร้างสรรค์ นวัตกรรม วิจัย
วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพอ่ื ชุมชน สสู่ ากล”
พนั ธกจิ

๑. จดั การศกึ ษาระดับอดุ มศกึ ษาเฉพาะทางดา้ นวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี โดยมุ่งเนน้ ผลิต
บณั ฑติ นกั ปฏิบตั ทิ ี่มีคุณธรรม และพ่ึงพาตนเองได้

๒. สรา้ งตน้ แบบการเป็นนักปฏบิ ตั ิ บนพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

๓. ให้โอกาสผ้สู ำเร็จอาชีวศกึ ษาไดศ้ กึ ษาตอ่

๔. สร้างงานวจิ ยั บริการวชิ าการ ท่ีเน้นองค์ความร้แู ละนวัตกรรม

๕. ทำนุบำรงุ ศิลปวัฒนธรรมและอนรุ ักษส์ ิ่งแวดลอ้ ม

๖. สร้างระบบบริหารจดั การที่ดมี ุ่งสูก่ ารพงึ่ พาตนเอง
อตั ลกั ษณ์
"บณั ฑิตนักปฏบิ ัติ มีความเปน็ มอื อาชีพ มเี ทคโนโลยเี ป็นฐาน"

เอกลกั ษณ์
"เกษตรอตุ สาหกรรม"
ตราประจำมหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลา้ นนา ลำปาง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หมายความว่า มหาวิทยาลัยอันเป็น
มงคลแห่งพระราชา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีเคร่ืองหมาย
เป็นรูปตราวงกลม ภายใต้มหาพิชัยมงกฎุ ภายในวงกลมเป็นรูปดอกบัวบาน ๘
กลีบล้อมรอบ ดอกบัวบาน ๘ กลีบ หมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ มรรค ๘
และความสดชื่น เบิกบาน ก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปท่ัวสารทิศภายในดอกบัว
เป็นตราพระราชลัญจกรบรรจุอยู่ หมายถึง สัญลักษณ์และเคร่ืองหมายประจำ

44

องค์ พระมหากษัตริย์ ของรัชกาลท่ี ๙ ซ่ึงพระองค์เป็นผู้พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” บนตรารปู วงกลมมพี ระมหาพิชัยมงกุฎครอบและสัญลกั ษณ์ ๙ อยู่
หมายถึง รัชกาลท่ี ๙ ด้านล่างของตราวงกลมทำเป็นกรอบโค้งรองรับช่ือ “มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” คั่นปิดท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้ทิพย์ประจำยามทั้งสอง
ข้าง หมายถึง ความเจรญิ รุ่งเรอื ง แจ่มใส เบกิ บาน
สมี หาวทิ ยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลล้านนา ลำปาง

สมี ่วง #๘๐๐๐๘๐

ดอกไมป้ ระจำมหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา ลำปาง
ดอกหางนกยงู ไทย หรือดอกซอมพอ ดอกไมป้ ระจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ล้านนา ลำปาง ชอื่ สามญั Pride of Barbados, Peacock's Crest ชอื่ วิทยาศาสตร์
Caesalpinia pulcherrima Sw. ลกั ษณะตน้ เป็นไมพ้ ุม่ มลี ำตน้ ขนาดเลก็ เรือนยอดโปร่งกิ่ง
ออ่ นสีเขยี ว กิง่ แก่สีนำ้ ตาล มใี บรวมออกเปน็ แผงปลายใบมนโคนใบแหลมดอกเปน็ ชอ่ ตามปลาย
กง่ิ ช่อดอกยาวมสี ีแดง เหลือง ชมพู ส้ม ดอกมี ๕ กลบี

สถานทตี่ งั้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นท่ีลำปาง ต้ังอยู่กิโลเมตรที่ ๗๑๙ ถนน

พหลโยธิน หมู่ท่ี ๑๗ ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวดั ลำปาง

45

สถานทตี่ ิดตอ่
เลขท่ี ๒๐๐ หมทู่ ี่ ๑๗ ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวดั ลำปาง ๕๒๐๐๐
โทรศพั ท์ ๐-๕๔๓๔-๒๕๔๗-๘ โทรสาร ๐-๕๔๓๔๒๕๔๙
เว็บไซต์ : https://lpc.rmutl.ac.th

46
บรรณานกุ รม
กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์. (๒๕๕๘). “นครลำปาง : การค้าไม้ การเตบิ โตของบริษทั อังกฤษแล
ชาวพม่า(๑๙๐๐-๑๙๑๔)” ใน สำนกั ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภัฏลำปาง.
เลา่ เรอื่ งเมอื งลำปาง. ลำปาง : สำนกั ศิลปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ลำปาง.
กนกวรรณ อูท่ องทรัพย์.(๒๕๕๖). มองเขลางคจ์ ากอดตี ถงึ ปจั จบุ นั และชมุ ชนวฒั นธรรมเข
ลางค.์ ลำปาง : ป๊กุ ๊อบป.ี้
กิติศกั ดิ์ เฮงษฎกี ลุ . (๒๕๕๒). กาดกองตา้ : ยา่ นเกา่ เลา่ เรอื่ งเมอื งลำปาง. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์
มติชน.
เกรยี งไกร เกดิ ศิริ.(๒๕๕๐). ปงสนกุ : คนตวั เลก็ กบั การอนรุ กั ษ.์ กรุงเทพมหานคร :
อุษาคเนย์.
จีระนนั ท์ พิตรปรีชา. (๒๕๔๒).ลูกผชู้ ายชอื่ นายหลยุ ส.์ พิมพค์ รั้งท่ี ๓. กรงุ เทพมหานคร :
ประพนั ธส์ าส์น.
ชัยวฒั น์ ศภุ ดลิ กลกั ษณ.์ (๒๕๔๑) พอ่ คา้ กบั การพฒั นาเศรษฐกจิ : ลำปาง พ.ศ.๒๔๕๙-
๒๕๑๒. ภาคนพิ นธป์ รญิ ญารฐั ศาสตรมหาบัณฑติ . มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์.
กรงุ เทพฯ.
ชยั วัฒน์ ศภุ ดลิ กลักษณ.์ (๒๕๕๑).“รถไฟ รถมา้ รษั ฎา นาฬิกา” ใน ไพโรจน์ ไชยเมืองชนื่
บรรณาธิการ. ๒ ฟากแมว่ งั ๒ ฝง่ั นครลำปาง. ลำปาง : เทศบาลนครลำปาง.
ไพโรจน์ ไชยเมอื งชน่ื .(๒๕๕๑). (บรรณาธกิ าร). ๒ ฟากแมว่ ัง ๒ ฝง่ั นครลำปาง. ลำปาง :
เทศบาลนครลำปาง.
โพธิรังส,ี พระ. (๒๕๕๕). คำแปลจามเทววี งศ์ พงศาวดารเมอื งหรปิ ญุ ไชย. พมิ พค์ รั้งท่ี ๕.
นนทบรุ ี : มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช.
ภเู ดช แสนสา. (๒๕๕๖). คุม้ หลวง หอคำ เวียงแกว้ สญั ญะขตั ยิ ะลา้ นนา. พิมพค์ ร้ังที่ ๒.
เชยี งใหม่ : แม๊กซ์พรนิ้ ต้ิง.
ภิญญพันธ์ุ พจนะลาวณั ย.์ (๒๕๕๙) .ทวนกระแสประวตั ศิ าสตรล์ มุ่ นำ้ วงั : พลวตั ของผคู้ นลุ่ม
นำ้ วงั สมยั กอ่ นประวตั ิศาสตร์-กอ่ นการปฏริ ูปหวั เมอื งลาวเฉยี ง พ.ศ.๒๔๒๗. เชยี งใหม่
: แมก๊ ซพ์ ร้ินต้ิง.
ภิญญพนั ธุ์ พจนะลาวณั ย์. (๒๕๕๘).ชาตพิ นั ธ์ใุ นชนั้ ประวตั ิศาสตร์. ลำปาง : สำนักศิลปะและ
วัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยราชภฏั ลำปาง.
มงคล ถูกนกึ . (๒๕๕๕). ไทยวน คนเมอื งแห่งลมุ่ แมน่ ำ้ วงั . ลำปาง : บรรณากจิ พริ้นต้ิง.
สรัสวดี ออ๋ งสกุล. (๒๕๕๙) ประวตั ศิ าสตร์ลา้ นนา. พิมพค์ รัง้ ที่ ๑๔ . กรงุ เทพมหานคร :
อมรนิ ทรพ์ รนิ้ ติ้ง,
สรุ พล ดำริห์กลุ . (๒๕๔๒) ลา้ นนา : สง่ิ แวดลอ้ ม สงั คมและวฒั นธรรม. กรงุ เทพมหานคร :
โครงการสบื สานมรดกวัฒนธรรมไทย.
สุจริ า หาผลและคณะ. (๒๕๕๖). องค์ความรเู้ กี่ยวกบั เรอ่ื งเลา่ ชมุ ชนเพอื่ สรา้ งจดุ เดน่ ของแหล่ง
ทอ่ งเทย่ี วในจงั หวดั ลำปาง. รายงานการวิจยั ไดร้ ับทนุ สนับสนุนจากสำนกั งานกองทุน
สนบั สนุนการวิจยั .
ศักด์ิ รัตนชัย. (๒๕๑๒). “ประวัตินครลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง. ลำปาง : กิจเสรีการ
พิมพ.์

47
อรุณรตั น์ วเิ ชียรเขียวและเดวดิ เค. วยั อาจ. (๒๕๔๓). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ :

สุริวงศ์บคุ๊ เซ็นเตอร์.

48


Click to View FlipBook Version