The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

37. social 2. 11002

37. social 2. 11002

หลกั การสําคญั ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช
รัฐธรรมนญู ฉบบั ปจ จุบันมหี ลกั การและเจตนารมณทจ่ี ะธาํ รงรักษาไวซ ง่ึ เอกราชและความมั่นคง
ของชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย ซึ่งหลักการสําคัญของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไดระบุไวในหมวด 1
บททั่วไป สรปุ ไดด งั น้ี
1. ประเทศไทยเปน ราชอาณาจกั รอนั หนงึ่ อนั เดียว จะแบงแยกมไิ ด
2. มีการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั ริยทรงเปน ประมขุ
3. อาํ นาจอธิปไตยเปนของปวงชนชาวไทย
4. ศักด์ศิ รีความเปนมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลตองไดร ับความคุม ครอง
5. ประชาชนชาวไทยทุกคนไมแ ยกเพศ ศาสนา และยอ มไดร บั ความคมุ ครองเทา เทยี มกัน

โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แบงโครงสรางออกเปน 15 หมวด และ
มีบทเฉพาะกาล สรปุ สาระสาํ คญั แตละหมวดดังน้ี

หมวด บททัวไป
ประเทศไทย เปนราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบงแยกออกมิได มีการปกครองแบบ
ประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตริยเปนประมุข พระมหากษัตริยทรงใชอาํ นาจทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
และศาล
หมวด พระมหากษตั ริย์
ทรงอยูในฐานะอนั เปนทเี่ คารพ ผูใดจะละเมดิ มไิ ด ทรงเลอื กและแตงตงั้ ประธานองคมนตรี และ
องคมนตรีไมเ กิน 18 คน
หมวดที สิทธแิ ละเสรีภาพของชนชาวไทย
การใชอํานาจโดยองคกรของรัฐ ตองคํานึงถึงศักด์ิศรีความเปนมนุษย สิทธิและเสรีภาพของ
บุคคล ท้ังดานการประกอบอาชีพ การสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น ความเปนธรรมดานการศึกษา
การสาธารณสุข และสวัสดกิ ารของรัฐ เสรภี าพในการชุมนมุ ท่ีไมล ะเมิดสทิ ธผิ อู ื่นและกฎหมาย
หมวด หน้าทีของชนชาวไทย
บุคคลมีหนาที่พิทกั ษร ักษาชาติ ศาสนา พระมหากษตั ริย และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมพี ระมหากษัตริยเปนประมุข และมีหนาท่ีปองกันรักษาผลประโยชนของชาติ ปฏิบัติตามกฎหมาย
โดยเฉพาะหนาที่ไปใชส ิทธิเลอื กตงั้
หมวด แนวนโยบายพนื ฐานแห่งรัฐ
เนนใหประชาชนมีสวนรวม การกระจายอํานาจ การดําเนินการ มุงเนน การพัฒนา คุณภาพ
คุณธรรม มีประสิทธิภาพ โปรงใส ใหค วามคมุ ครอง และพฒั นาเดก็ เยาวชน สง เสรมิ ความรูรกั สามคั คี
หมวด รัฐสภา
รัฐสภามีหนาท่ีบัญญัติกฎหมาย และควบคุมการปฏิบัติงานของฝายบริหาร ประกอบดวย 2 สภา คือ
สภาผูแ ทนราษฎร (ส.ส.) และวฒุ สิ ภา (ส.ว.)

43

หมวด การมสี ่วนร่วมทางการเมอื งโดยตรงของประชาชน
ประชาชนผูม ีสทิ ธเิ ลอื กตงั้ มีสิทธเิ ขา ชื่อรอ งขอตอวฒุ ิสภาใหถอดถอนบุคคลออกจากตําแหนงได
เพราะมสี ทิ ธิออกเสียงประชามติ
หมวด การเงนิ การคลงั และงบประมาณ
เพ่อื กาํ หนดหลักเกณฑเกี่ยวกับการจัดหารายได การกําหนดรายจาย การกอหนี้หรือการดําเนินการท่ี
ผกู พนั ทรพั ยสนิ ของรัฐ หลักเกณฑการกําหนดวงเงินสาํ รองจา ยเพ่ือกรณีฉกุ เฉินหรือจําเปน ซ่ึงเปน กรอบ
ในการกาํ กับการใชจา ยเงนิ ตามแนวทางการรกั ษาวนิ ัยการเงนิ การคลงั และรกั ษาเสถยี รภาพทางเศรษฐกจิ
อยางย่งั ยืน และเปน แนวทางในการจดั ทํางบประมาณรายจา ยของแผน ดิน
หมวด คณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญกาํ หนดใหม นี ายกรัฐมนตรี 1 คน และมีรฐั มนตรอี ืน่ อกี ไมเกิน 35 คน โดยไดร ับการแตงตั้ง
จากพระมหากษตั รยิ 
หมวด ศาล
กาํ หนดใหศ าลหรืออาํ นาจตลุ าการ แบง เปน
1. ทว่ั ไป
2. ศาลรฐั ธรรมนญู
3. ศาลยตุ ิธรรม
4. ศาลปกครอง
5. ศาลทหาร
หมวด องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
กําหนดใหมีองคกรที่จะดําเนินการตรวจสอบ ติดตามการทํางานของบุคคล คณะบุคคล และ
หนว ยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดงั นี้

1. องคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประกอบดวย คณะกรรมการการเลือกต้ัง ผูตรวจการแผนดิน
คณะกรรมการการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหง ชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผนดนิ

2. องคกรอันตามรัฐธรรมนูญ ประกอบดวย องคกรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แหงชาติ และสภาท่ีปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแหง ชาติ

หมวด การตรวจสอบการใช้อาํ นาจรัฐ
กําหนดใหมีการตรวจสอบขาราชการประจาํ และขาราชการการเมือง
หมวด จริยธรรมของผ้ดู ํารงตาํ แหน่งทางการเมอื ง และเจ้าหน้าทีของรัฐ
การพิจารณา สรรหา แตงตั้งบุคคลเขาสูตําแหนง ตองเปนไปตามระบบคุณธรรม และคํานึงถึง
พฤติกรรมทางจรยิ ธรรมดวย
หมวด การปกครองส่วนท้องถนิ
ใหค วามเปนอิสระแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น มีสภาพทองถ่ินในการบริหารงาน เนนการ
กระจายอํานาจ ใหการสนบั สนนุ กําหนดนโยบายการบริหาร

44

หมวด การแก้ไขเพมิ เตมิ รัฐธรรมนูญ
ใหมีการแกไขเพ่ิมเติมได แตหามแกไขท่ีมีผลตอการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ
ประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ เ ปนประมขุ หรือเปล่ยี นแปลงรูปของรัฐ
บทเฉพาะกาล
ใหองคมนตรดี าํ รงตําแหนงอยูในวนั ประกาศใชร ฐั ธรรมนญู

เรืองที ความรู้เบอื งต้นเกียวกับกฎหมาย

1. ความหมายของกฎหมาย
ไดมผี ใู หความหมายของกฎหมายไวด งั น้ี
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแหงกฎหมายไทย ไดใหคาํ จํากดั ความไววา “กฎหมาย คือ

คําสัง่ ท้งั หลายของผูปกครองวา การแผนดินตอราษฎรทั้งหลาย เม่ือไมทาํ ตาม ธรรมดาตองลงโทษ ”
ดร.สายหยุด แสงอุทัย ไดใหความหมายไววา “กฎหมาย คือ ขอบังคับของรัฐซ่ึงกําหนด

ความประพฤติของมนุษย ถา ฝาฝน จะไดร บั ผลรา ยหรอื ถูกลงโทษ”
สรุป กฎหมาย คือ ขอบังคับของรัฐที่ใชควบคุมความประพฤติของคนในประเทศ โดยมี

จุดมุงหมายท่ีจะคุมครองประโยชนรักษาความสงบเรียบรอยในการอยูรวมกันในสังคม ผูใดฝาฝนจะตอง
ถูกลงโทษ

2. ความสําคญั ของกฎหมาย
1. มีความเกี่ยวของกบั มนุษยตั้งแตเ กดิ จนตาย เชน
เกิด เก่ียวขอ งกับกฎหมายบุคคล กฎหมายทะเบียนราษฎร
โตขน้ึ เกีย่ วขอ งกับ พ.ร.บ. การศึกษาแหงชาติ
แตง งาน เกยี่ วขอ งกับกฎหมายครอบครวั
ตาย กฎหมายมรดก กฎหมายทะเบียนราษฎร
2. เปนเครอื่ งมือสรา งระเบียบใหสังคมและประเทศชาติ
3. กอ ใหเ กิดความเปนธรรมในสงั คม

3. ลกั ษณะทวั ไปของกฎหมาย
3.1 กฎหมายมลี ักษณะเปน ขอบงั คบั ดงั น้ี
3.1.1 บังคบั ใหทํา เชน ชายไทยตองเกณฑทหาร ผูมีรายไดตองเสียภาษี เด็กตองเขาเรียนตาม

พ.ร.บ. การศกึ ษา ฯลฯ
3.1.2 บังคบั ไมใหทาํ เชน หา มทาํ รายรา งกาย หามลกั ทรพั ย ฯลฯ

3.2 กฎหมายมีลักษณะเปนคําสั่งท่ีมาจากผูมีอํานาจสูงสุดในประเทศ เชน ประเทศท่ีมี
การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย มรี ฐั สภาเปนผอู อกกฎหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเปนผูออก
พระราชกําหนด พระราชกฤษฎกี า และกฎกระทรวง

45

3.3 กฎหมายเปน ขอ บงั คบั ท่ีใชไดทว่ั ไปกับทกุ คน โดยไมเ ลือกปฏบิ ัติ
3.4 ผูท ฝ่ี า ฝน กฎหมายตองไดร บั โทษ
4. ความจาํ เป็ นทตี ้องเรียนรู้กฎหมาย
ในฐานะที่เราเปนสมาชิกของสังคมจึงมีความจําเปนตองศึกษาและเรียนรู ทําความเขาใจใน
กฎหมายตา ง ๆ ท่ีเกีย่ วของกับตวั เรา และสังคมที่เราอยู ท้ังนีก้ ็เพื่อกอเกิดประโยชนตอตนเอง ซึง่ ไดแ ก
4.1 รูจักระวงั ตน ไมเ ผลอ หรือพลั้งกระทาํ ความผิดโดยไมร ตู ัว เนือ่ งมาจากเพราะไมรูกฎหมาย
และเปนเหตุใหตอ งไดร ับโทษตามกฎหมาย
4.2 ไมใหถกู ผูอน่ื เอาเปรียบและถกู ฉอ โกง โดยท่ีเราไมม คี วามรูเ รอื่ งกฎหมาย
4.3 กอเกดิ ประโยชนใ นการประกอบอาชพี ถา หากรูหลักกฎหมายที่เก่ียวกับการประกอบอาชีพของ
ตนเอง แลวยอ มจะปองกนั ความผดิ พลาดอันเกิดจากความไมรกู ฎหมายในอาชีพได
4.4 กอใหเกิดประโยชนทางการเมืองการปกครองของประเทศ เพราะเม่ือประชาชนรูจักใช
สทิ ธแิ ละหนา ทข่ี องตนเองตามกฎหมายแลว ยอ มทาํ ใหส ังคมเกดิ ความสงบเรียบรอ ย
5. ประเภทของกฎหมาย
ในชีวิตประจําวันบุคคลมีเสรีภาพในการดํารงชีวิตตามระบบการเมืองการปกครอง ระบบ
กฎหมาย และระบบเศรษฐกิจ เราจะตองรูจักสิทธิและหนาที่ของตนเอง และรูจักใชสิทธิที่มีอยูไป
ประกอบอาชีพ และสรางความสัมพันธกับบุคคลตาง ๆ โดยมีสิทธิเลือกไดวาจะดําเนินชีวิตสวนตัว
อยา งไร แตตอ งอยูภายในขอบเขตท่ีกฎหมายกําหนด บุคคลจึงตองขวนขวายหาความรูเก่ียวกับกฎหมาย
เพื่อใชติดตอสื่อสาร การดําเนินวิถีชีวิตประจําวัน ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวของกับชีวิตประจําวัน สามารถ
แบงไดเปน
. กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา (Criminal Law) เปนกฎหมายมหาชนที่บัญญัติถึงความสัมพันธระหวางรัฐ
กับเอกชนท่ีอยูใตอํานาจปกครองของรัฐ ผูที่ฝาฝนจะตองไดรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา และ
พระราชบัญญัติอื่นที่บัญญัติถึงการกระทําท่ีเปนความผิดและโทษทางอาญา เชน ความผิดตาม
พระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก อาวธุ ปน เคร่อื งกระสุนปน วตั ถรุ ะเบดิ ยาเสพติดใหโทษ ความผิดอันเกิดจาก
การใชเชค็ ศุลกากร การพนนั ปาไม ปาสงวน เปนตน

เนื่องจากกฎหมายอาญามีสภาพบังคับ คือ มีโทษท่ีจะทําใหบุคคลไดรับผลถึงแกชีวิต
รางกาย เสรีภาพ ทรพั ยสิน เชน ประหารชวี ิต จาํ คกุ กักขงั ปรับรบิ ทรัพยสิน ดงั นั้น จึงตองมีหลักประกัน
แกบคุ คลดงั ที่บญั ญัติไวใ นกฎหมายรัฐธรรมนญู วา บุคคลจะไมต องรบั โทษอาญา เวน แตจ ะไดกระทําการ
อันกฎหมายที่ใชอยูในเวลาที่กระทํานั้น บัญญัติเปนความผิดและกําหนดโทษไว และโทษที่จะลงแก
บคุ คลนนั้ จะหนักกวา โทษท่ีกําหนดไวใ นกฎหมายที่ใชอ ยูในเวลาท่ีกระทําความผดิ มิได กลาวคือ บุคคล
จะไดรับโทษทางอาญาจะตองไดกระทําการใดที่มีกฎหมายขอหามไว ถาไมมีกฎหมายก็ไมมีความผิด
ไมม โี ทษ เชน ความผิดฐานสูบบุหรี่ในท่ีท่ีกําหนด เดิมไมมีความผิดแตเมื่อประกาศใชพระราชบัญญัติ
คมุ ครองสุขภาพของผูไมสูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 แลวผูท่ีสูบบุหร่ีในเขตปลอดบุหรี่ หรือสูบบุหร่ีในที่สาธารณะ

46

ท่ีกําหนดยอ มมีความผิดและจะตองไดรับโทษ โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มี 5 สถาน คือ ประหารชีวิต
จาํ คุก กักขัง ปรับ รบิ ทรัพยสิน

นอกจากน้ียังมีการรอการลงโทษ หรือรอการลงอาญา เมื่อบุคคลกระทําความผิดและ
จะไดรับโทษจาํ คกุ ไมเ กนิ 2 ป ผนู น้ั อาจไดรับความกรณุ าจากศาลไมตองไดรับโทษจําคุกในเรือนจํา เพราะ
ผูนั้นไมเคยไดรับโทษจําคุกมากอน เมื่อไดพิจารณาถึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปญญา การศึกษา
อบรม สขุ ภาพ ภาวะแหงจติ นิสัย อาชีพ สิ่งแวดลอม สภาพความผิด หรือเหตุอ่ืนอันควรปรานีแลว ศาลจะ
กาํ หนดโทษไว หรือรอการลงโทษไว ทีเ่ รียกกนั วา “รอการลงอาญา”

. กฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพง คอื กฎหมายทีบ่ ัญญัตถิ งึ ความสัมพนั ธข องบุคคล เปนกฎหมายสารบัญญัติ

และเปน กฎหมายเอกชนทีม่ ีความสําคัญแกช วี ติ ของบุคคลตงั้ แตแ รกเกิดจนสนิ้ สภาพบคุ คลไป
กฎหมายพาณชิ ย คือ กฎหมายทบ่ี ญั ญัติถึงความสัมพันธของบุคคลท่ีมีอาชีพคาขาย และ

นกั ธรุ กิจกลาวถึงระเบยี บหลกั ปฏบิ ตั ใิ นทางการคา ที่บุคคลในอาชพี คาขายและนักธุรกิจจะตองปฏิบัติใน
การเกย่ี วขอ งสัมพันธก นั เชน กฎหมายเกีย่ วกับหุน สวนบริษทั ต๋วั เงิน ประกันภัย การขนสงสินคา

ประเทศไทยไดรวมบัญญัติกฎหมายพาณิชยเขาไวในประมวลกฎหมายแพง จึงรวม
เรียกวา “ประมวลกฎหมายแพง และพาณิชย”

สภาพบังคับในทางแพ่ง โทษหรือสภาพบังคับในทางแพงท่ีจะใหผูฝาฝนไมปฏิบัติตาม
กฎหมาย คือ การใชคาสินไหมทดแทนหรือคาเสียหาย หรือใหชําระหน้ีดวยการสงมอบทรัพยสินให
กระทําการ หรอื งดเวนกระทําการอยางใดอยางหน่ึงตามมูลหนี้ที่มีตอกันระหวางเจาหน้ีและลูกหนี้ เชน
บังคบั ใหชาํ ระหนเ้ี งินกูพรอมดวยดอกเบ้ยี บังคับใหผ ขู ายสงมอบหรือโอนทรัพยสนิ ใหแกผ ูซอื้ ตามสญั ญา
ซื้อขาย หรือใหใชคาสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดขับรถยนตชนผูอ่ืนบาดเจ็บ หรือทําใหทรัพยสิน
เสยี หาย

เรืองที กฎหมายทีเกียวข้องกับตนเองและครอบครัว

กฎหมายในชวี ิตประจําวันที่เก่ยี วของกับตนเอง และครอบครวั ไดแก กฎหมายดังตอไปน้ี
1. กฎหมายเกยี วกบั ชือบุคคล

พระราชบัญญัติขอมูลสวนบุคคล กําหนดไววา (มีสัญชาติไทย ตองมีช่ือตัวและชื่อสกุล
สวนชื่อรองมีหรอื ไมม กี ็ได)

การต้ังช่ือตัวตองไมใหพองกับพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริยและพระนามของ
พระราชนิ ี หรอื ราชทินนาม และตอ งไมม คี ําหยาบคาย ชอ่ื ตัวมีกพ่ี ยางคกไ็ ด และมคี วามหมายดี

การต้ังชือ่ สกุลไมเกิน 10 พยัญชนะ (ยกเวนราชทนิ นามเกา )
ในเร่ืองช่ือสกุล เดิมกฎหมายกําหนดใหหญิงท่ีมีสามีตองเปล่ียนชื่อสกุลของตนมาใช
ชื่อสกุลของสามี แตปจจุบันกฎหมายไดมีการแกไขใหมมีผลตามพระราชบัญญัติช่ือบุคคล (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2548 ดังนี้

47

1. คูสมรสมสี ิทธใิ ชช ือ่ สกุลฝายใดฝายหน่ึงไดต ามท่ตี กลง หรอื ตางฝายตา งใชนามสกุลเดิม
ของตนได

2. เมอ่ื การสมรสสน้ิ สุดลงดว ยการหยา หรอื ศาลมีคาํ พพิ ากษาใหเพกิ ถอนการสมรส
ใหฝายที่ใชชอ่ื สกลุ ของอกี ฝายหน่งึ กลบั ไปใชช ื่อสกลุ เดิมของตน

3. เมอ่ื การสมรสสนิ้ สุดลงดวยความตาย ฝา ยที่มีชีวิตอยูใชชื่อสกุลของอีกฝาย คงมีสิทธิ
ใชไ ดตอ ไป แตเ ม่ือจะสมรสใหมใหกลบั ไปใชชอื่ สกลุ เดมิ ของตน

4. หญิงท่ีมีสามี ซ่ึงใชช่ือสกุลสามีอยูแลว กอนการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหมีสิทธิใช
ตอไป หรือจะมาใชส ทิ ธิกลบั ไปใชช อ่ื สกุลเดิมของตนได

. กฎหมายทะเบียนราษฎร์
“กฎหมายทะเบยี นราษฎร” เกิดข้นึ มาเพ่ือการจัดระเบียบคนในสังคม และการที่จะเปน

ประชาชนไทยที่ถูกตองไมใชเพียงแคลืมตาดูโลกบนแผนดินไทยแลวจะถือวาเปนคนไทยท่ีสมบูรณ
เราจําเปนตองปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายการทะเบียนราษฎรอยางเครงครัด ซึ่งการทะเบียนราษฎรพื้นฐานที่ควร
ตระหนกั ใหค วามสําคัญ ไดแ ก การเกิด การตาย การยายที่อยู และการทําบัตรประชาชน

การตดิ ตอ สถานท่ีราชการเพื่อดําเนนิ การเหลา นีส้ ามารถไปดาํ เนินการไดท ี่
ถาอาศัยอยูในเขตเทศบาลใหแจงที่นายทะเบียนผูรับแจงประจําตําบล หรือหมูบาน ไดแก
ผูใ หญบา น หรือกาํ นัน หรือแจงโดยตรงตอนายทะเบียนประจําสาํ นกั ทะเบยี นอาํ เภอ ณ ที่วา การอําเภอ
ในเขตเทศบาลใหแจงท่ีสํานักทะเบยี นทองถ่ิน ซึง่ ต้ังอยู ณ สํานักงานเทศบาล
ในเขตกรุงเทพมหานครใหแจงที่สํานักทะเบียนทองถิ่น ซึ่งต้ังอยู ณ สํานักงานเขต
หรือสาํ นักงานเขตสาขา
กฎหมายทะเบยี นราษฎร ประกอบดว ย
ก. การแจ้งเกดิ
ตองแจงตอนายทะเบียนที่อําเภอ ภายใน 15 วัน นับต้ังแตวันเกิด แลวทางการจะออก
“ใบสตู ิบัตร” ซึ่งเปน เอกสารทแี่ สดงชาติกําเนดิ วันเดือนปเกดิ การแจงเกิดนีไ้ มเสียคา ธรรมเนียมใด ๆ แต
ถา ไมแจง เกิดมคี วามผิดตองระวางโทษ ปรับไมเกิน 1,000 บาท
วธิ กี ารแจ้งเกดิ

 แจง รายละเอยี ดเกีย่ วกบั เด็กทเี่ กิด คอื ชื่อ นามสกุล เพศ สญั ชาติของเด็กท่ีเกิด วันเดือนปเกิด
เวลาตกฟาก ตลอดจนวนั ขางข้ึนขา งแรม ตลอดจนสถานทเี่ กดิ บานเลขที่ ถนน ตําบล เขต
จงั หวัด

 แจง รายละเอยี ดเกยี่ วกับมารดาของเด็กท่ีเกิด คือ ช่ือ นามสกุล และนามสกุลเดิมกอนสมรส
อายุ สัญชาติ ทอ่ี ยโู ดยละเอยี ด

 แจง รายละเอยี ดเกี่ยวกับบดิ า คือ ชื่อ นามสกุล อายุ สญั ชาติ
 หลักฐานทีจ่ ะตอ งนําไปแสดงตอนายทะเบียน

 สําเนาทะเบียนบาน ฉบับเจา บา น (ท.ร.14)
 บตั รประจําตวั ประชาชน หรือบัตรประจําตัวอืน่ ๆ ของเจา บาน และของคนแจง

48

 หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) ซ่ึงแพทย หรือพยาบาล หรือเจาหนาท่ีอนามัย หรือ
ผดุงครรภแลว แตกรณี ออกให (ถาม)ี

 บัตรประจาํ ตวั ประชาชน หรอื บัตรประจาํ ตัวอืน่ ๆ ของพอ แมเด็กท่ีเกดิ
ข. การแจ้งตาย
เมื่อมีคนตาย ผูเก่ียวของตองไปแจงการตาย เพื่อใหไดใบมรณบัตรท่ีแสดงวา คนนั้นตายแลว
ภายใน 24 ช่วั โมง การแจงตายไมเ สยี คา ธรรมเนียมใด ๆ แตถ าไมแ จงตายภายในเวลาที่กาํ หนดมีความผิดตอง
ระวางโทษปรบั ไมเ กนิ 1,000 บาท
วธิ กี ารแจ้งตาย
แจงรายละเอียดเก่ียวกับผูตาย เชน ชื่อ นามสกุล อายุ สัญชาติ เพศ ของผูตาย เวลาที่ตาย ระบุ
วัน เดือน ป เวลาโดยละเอียด สถานท่ตี าย สาเหตุการตาย การดาํ เนนิ การกับศพของผตู าย (เก็บ ฝง เผา) ท่ีไหน
เมื่อไร ฯลฯ
ผูมีลกู บญุ ธรรมจะแตง งานกบั ลกู บญุ ธรรมไมได
ไมเปนคูส มรสของผอู ่ืน
หญิงหมา ยจะแตงงานไมต องรอเกนิ 130 วัน หลังจากที่ชวี ติ สมรสครงั้ แรกสิ้นสดุ
ชาย หญงิ ทม่ี อี ายุไมค รบ 17 ปบริบูรณ จะแตงงานกันไดก็ตองมีคําส่ังของศาลอนุญาต

โดยนาํ คําสง่ั ศาลน้นั ไปแสดงตอ นายทะเบียน
วธิ กี ารจดทะเบยี นสมรส
ชายหญิงตองไปใหถอยคําและแสดงความยินยอมเปนสามีภรรยากันโดยเปดเผยตอหนา
นายทะเบียนท่อี าํ เภอกง่ิ อําเภอเขตหรอื สถานทูต สถานกงสุลไทยในตางประเทศแหงใดก็ได โดยไมจําเปนตองมี
ชอื่ อยใู นทะเบียนบานของทอ งถิน่ น้ัน
หลกั ฐานทีจะต้องนาํ ไปแสดงต่อนายทะเบียน
 บัตรประชาชน
 สําเนาทะเบยี นบา นของท้ังสองคน
 กรณีทท่ี ัง้ คูย ังไมบรรลนุ ติ ภิ าวะ (17 ป แตไ มถ งึ 20 ป) ตองใหบ คุ คลผมู อี ํานาจใหความยินยอม

เชน พอแม หรือผูปกครอง เปนตน โดยอาจใหผ ูยินยอมลงลายมอื ชื่อในขณะจดทะเบียน
หรอื ทําเปนหนงั สอื ยนิ ยอมกไ็ ด
ค. การจดทะเบยี นหย่า
การหยาสําหรับคูสมรสท่ีไดจดทะเบียนสมรสแลวไมวากรณีใดตองไปจดทะเบียนหยากัน
ที่สํานกั ทะเบยี น จะไปจดทอ่ี นื่ ไมได และตองทาํ ตอ หนา นายทะเบียนเทานั้น การหยาจะมีผลสมบูรณทําได
2 วธิ ดี งั น้ี
1. การหยาโดยความยินยอมของท้ังสองฝาย คือ การที่คูหยาไปจดทะเบียนหยาดวยตนเอง
ทีส่ ํานักทะเบียนแหงใดก็ได และจะตอ งนําหลักฐานตดิ ตวั ไปดวยดังตอไปนี้
 บัตรประจาํ ตวั ประชาชน หรือบัตรประจําตัวขาราชการของทง้ั สองฝาย
 หลักฐานการจดทะเบยี นสมรส เชน ใบสาํ คัญการสมรส หรอื สาํ เนาทะเบยี นสมรส

49

 สาํ เนาทะเบยี นบา นฉบับเจา บา นของทัง้ สองฝาย
 หนงั สือสญั ญาหยา
2. การหยาโดยคาํ พพิ ากษาของศาล หากคูหยา ตอ งการใหนายทะเบียนบันทึกการหยาไวเปน
หลักฐาน จะตองย่ืนสําเนาคําพิพากษาของศาลที่แสดงวาไดหยากันแลวแกนายทะเบียน จากนั้น
นายทะเบียนก็จะบันทกึ คาํ สัง่ ศาลไวเปน หลกั ฐาน ท้ังนห้ี ากมขี อตกลงอยางอื่น เชน ทรัพยสิน อํานาจการ
ปกครองบุตรกส็ ามารถบันทกึ ไวใ นทะเบียนหยาได
ง. การจดทะเบียนรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตร พอแมของเด็กซึ่งเปนสามีภรรยากันโดยไมชอบดวยกฎหมาย
เด็กทีเ่ กิดมาจึงเปนลูกที่ชอบดวยกฎหมายของแมฝ ายเดียว หากเดก็ จะเปน ลูกที่ชอบดวยกฎหมายของพอก็
ตอ งมกี ารจดทะเบียนรับรองบตุ ร เมื่อจดทะเบียนเรียบรอยเด็กก็จะมีสิทธิใชนามสกุล และรับมรดกของ
พอแมอ ยา งถกู ตอ ง
การจดทะเบยี นรบั รองบตุ รนี้ ทาํ ไดเฉพาะฝา ยชายเทานั้นสวนหนุมสาวคูใดท่ีมีลกู กอ นแตง งาน
เมื่อแตงงานจดทะเบียนสมรสกันแลว เด็กคนนั้นจะเปนลูกที่ถูกตองตามกฎหมายทันทีโดยไมตอง
จดทะเบียนรับรองบตุ รอกี
หลักฐานที่จะตองนําไปแสดงตอนายทะเบยี น
 ใบสูตบิ ัตร และสาํ เนาทะเบยี นบานของเด็ก
 บตั รประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบานของมารดาเดก็
 บตั รประจําตัวประชาชน และสาํ เนาทะเบียนบานของบดิ า (ผูย่นื คํารอ ง)
 บัตรประจาํ ตวั ประชาชนของเดก็ (ในกรณที ี่เด็กอายุเกนิ 15 ป)

เรืองที กฎหมายทีเกยี วข้องกบั ชุมชน

กฎหมายที่เก่ียวของกับชุมชนเปนกฎหมายวาดวยการรักษาสภาพแวดลอมที่อยูรอบตัวคนใน
ชุมชน มิใหเกิดความผิดปกติจากธรรมชาติที่ควรจะเปน ตลอดจนการดูแล ปกปอง และปองกันใหเกิด
ความเปนธรรมในสงั คม ไมเ อารดั เอาเปรียบตอ กัน ซง่ึ กฎหมายที่ควรรู ไดแก

1. กฎหมายสงเสริมและรักษาคุณภาพส่งิ แวดลอ ม
2. กฎหมายเกีย่ วกบั การคุม ครองผูบริโภค
กฎหมายส่งเสริมและรักษาคณุ ภาพสิงแวดล้อม
โดยทั่วไปบุคคลมีสิทธแิ ละหนาทีต่ อ งมีสว นรว มในการจัดการ บํารงุ รกั ษา และใชป ระโยชนจ าก
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอยางสมดุล และยั่งยืน รวมถึงมีหนาท่ีตองอนุรักษธรรมชาติและ
ส่ิงแวดลอ มตามทร่ี ัฐธรรมนญู บัญญตั ิไว โดยเฉพาะพระราชบญั ญัตสิ ง เสริมและรกั ษาคณุ ภาพสิ่งแวดลอม
แหง ชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดไวด งั น้ี

50

1. สิทธขิ องบุคคลเก่ยี วกับการสงเสริมและรกั ษาคณุ ภาพสง่ิ แวดลอ ม
มีสิทธจิ ะไดรับขอมูลและขาวสารจากทางราชการ มีสิทธิไดรับชดเชยคาเสียหาย หรือ

คาทดแทนจากรัฐ กรณีไดร บั ความเสียหายจากภยั อนั ตรายท่ีเกิดจากการแพรก ระจายของมลพษิ หรอื ภาวะ
มลพษิ อนั มีสาเหตจุ ากกจิ การ/โครงการ โดยสว นราชการ/รัฐวิสาหกิจ

มีสทิ ธริ องเรยี นกลาวโทษผกู ระทาํ ผิด หรือฝา ฝน กฎหมายเกีย่ วกับการควบคุมมลพษิ
2. หนา ทีข่ องบุคคล

ใหความรวมมือและชวยเหลือเจาพนักงานในการปฏิบัติหนาท่ีท่ีเกี่ยวของกับการสงเสริม
การรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอม ปฏิบัติตามกฎหมายที่เก่ียวของกับการสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
โดยเครงครดั

3. ปญหากระทบตอสงิ่ แวดลอ มในปจจุบนั มี 2 ประการ คือ
การลดลงและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เน่ืองจากการทําลายตนไม ปาไม และ

แหลง กาํ เนิดของลาํ ธาร เกดิ มลพิษสิ่งแวดลอม เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีและจํานวนประชากร
ที่เพ่ิมข้ึน การใชมากทําใหเกิดสิ่งท่ีเหลือจากการใชทรัพยากร เชน ขยะ นํ้าเสียจากครัวเรือน โรงงาน
ควนั ไฟ สารเคมี ทําใหเกดิ มลพิษทางนํา้ อากาศ และบนดนิ

ซึ่งผูท่ไี ดรับผลกระทบ คือ ประชาชน ดงั นน้ั พ.ร.บ. สง เสรมิ และรักษาคณุ ภาพส่ิงแวดลอม
แหง ชาติ พ.ศ. 2535 จึงไดก ําหนดใหม ี

1. คณะกรรมการส่ิงแวดลอมแหงชาติ ทําหนาที่กําหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพ
ส่งิ แวดลอมที่ประกอบดว ยมาตรฐานคณุ ภาพของนาํ้ อากาศ เสียง และอ่นื ๆ

2. กองทนุ สง่ิ แวดลอม เพ่ือใชในกจิ การชวยเหลือใหกูยืมเพอ่ื การลงทุนแกสวนราชการ
ทอ งถนิ่ รฐั วสิ าหกิจ เอกชน ในการจัดระบบบาํ บดั นา้ํ เสยี อากาศเสยี และระบบกาํ จดั ของเสีย

3. กองควบคมุ มลพิษ โดยคณะกรรมการควบคมุ มลพิษทําหนาท่ีเสนอแผนปฏิบัติการตอ
คณะกรรมการส่ิงแวดลอมแหงชาติ และกําหนดมาตรฐานมลพิษทางน้ํา มลพิษทางอากาศ และมลพิษ
ทางเสยี ง พรอมเขาทาํ การปองกัน และแกไขอนั ตรายอันเกิดจากมลพษิ เหลา นนั้

4. ความรับผิดชอบของเจาของหรือผูครอบครองแหลงกําเนิดมลพิษทั้งทางแพงและ
ทางอาญา

กฎหมายเกยี วกบั การค้มุ ครองผ้บู ริโภค
กฎหมายวาดวยการคุมครองผบู รโิ ภคในปจจุบัน คือ พระราชบญั ญัติคุมครองผบู รโิ ภค พ.ศ. 2522 และ
มีการแกไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เปนกฎหมายท่ีใหความคุมครองและใหความเปนธรรมแก
ผูบ ริโภค ซง่ึ บคุ คลที่กฎหมายคมุ ครองผบู รโิ ภค ไดแก บคุ คล 6 ประเภท ดงั นี้
1. ผซู ือ้ สนิ คาจากผขู าย
2. ผูไ ดร บั การบริการจากผูขาย
3. ผเู ชาทรัพยส ินจากผูใหเ ชา
4. ผูเชา ซือ้ ทรพั ยส ินจากผใู หเ ชา ซื้อ

51

5. ผูซ่ึงไดรับการเสนอหรือไดรบั การชกั ชวนใหซ ื้อสินคา หรอื รับบรกิ ารจากผูประกอบธรุ กจิ
6. ผูใชสินคาหรอื ผูไดร บั บรกิ ารจากผูป ระกอบธรุ กิจโดยชอบ แมมิไดเปนผเู สียคาตอบแทน
สิทธิของผ้บู ริโภคทจี ะได้รับความค้มุ ครอง มีดังน้ี

 สิทธิทไี่ ดร ับขา วสาร รวมทั้งคําพรรณนาคุณภาพท่ีถูกตอง และเพียงพอกับสินคา
หรอื บริการ

 สทิ ธิที่จะมีอสิ ระในการเลือกหาสินคา หรือบรกิ าร
 สิทธทิ ี่จะไดร ับความปลอดภยั จากการใชส ินคา หรอื บริการ
 สิทธิจะไดร ับความเปนธรรมในการทาํ สัญญา
 สทิ ธิจะไดร บั การพิจารณาและชดเชยความเสยี หาย
จากสทิ ธิของผูบรโิ ภคน้ี กฎหมายไดวางหลักการคุมครองผบู ริโภคไว 4 ดาน ไดแก
1. คมุ ครองดา นโฆษณา คอื ผบู รโิ ภคมีสิทธิไดรับขาวสารเก่ยี วกับสนิ คา
2. คมุ ครองดา นฉลาก คอื ผบู รโิ ภคมีสิทธิและอิสระในการเลือกซ้ือสนิ คาและบริการ
3. คุมครองดานสัญญา คือ ผูบรโิ ภคมีสทิ ธไิ ดรบั ความเปน ธรรมในการซื้อขายและทําสัญญา กรณี
การซอ้ื ขายเปน ลายลกั ษณอกั ษรกบั ผูประกอบธุรกจิ หรือผูขาย
4. คุมครองดานความเสียหาย ผูบริโภคมีสิทธิไดรับการชดเชย หากไดรับความเสียหายหรือ
อนั ตรายจากสนิ คา/บรกิ ารน้ัน ๆ
ซ่ึงผูบริโภคมีสิทธิจะไดรับการคุมครองโดยท่ี พ.ร.บ. คุมครองผูบริโภคไดจัดตั้งองคกร
เพื่อคมุ ครองผบู ริโภคขึน้ โดยมีคณะกรรมการคุมครองผบู ริโภคทําหนา ท่ีดําเนนิ การ

เรืองที กฎหมายอนื ๆ

กฎหมายอ่ืน ๆ ทเี่ ก่ียวของกับชีวิตประจําวันท่ีควรศึกษา ท้ังนี้เพ่ือเปนการรักษาผลประโยชนที่
เราพึงมี หรือเปนการปองกันไมใหปฏิบัติตนผิดกฎหมายโดยรูเทาไมถึงการณได ซ่ึงไดแก กฎหมาย
ทสี่ าํ คญั ดังตอ ไปน้ี

1. กฎหมายประกนั สังคม
กฎหมายประกันสังคม เปนกฎหมายท่ีใหหลักประกันแกบุคคลในสังคมท่ีมีปญหาหรือ

ความเดือดรอนทางดา นการเงนิ เนื่องจากการประสบเคราะห หรือมเี หตุการณอ นั ทาํ ใหเกิดปญหา
ขอบเขตการบังคบั ใช้กฎหมายประกนั สังคม
ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใชบังคับอยูในปจจุบันไดกําหนดให

สถานประกอบกจิ การที่มีลกู จา งรวมกันตั้งแต 10 คน ขนึ้ ไป และนายจางของสถานประกอบกิจการนั้นตอง
อยูภ ายใตข อบงั คับของกฎหมายดงั กลา ว

ลกู จางซงึ่ มฐี านะเปน ประกันตน ก็คือ บุคคลที่สมคั รเขา ทาํ งานในสถานประกอบกิจการ
ที่มีลูกจางรวมกันต้ังแต 10 คน ข้ึนไป โดยกฎหมายประกันสังคมบังคับใหลูกจางดังกลาวตองจายเงิน

52

สมทบเขา กองทุนประกนั สังคม ซ่ึงนายจา งจะเปน ผูหกั เงนิ คา จางทุกครั้งท่ีมีการจายคาจาง และนําสงเขา
กองทนุ ประกันสังคม เปนเงนิ สมทบสว นของลกู จาง

*ปัจจบุ นั กฎหมายเปิ ดให้ใช้ได้ตงั แต่กจิ การทมี ลี ูกจ้างตงั แต่ คน ขึนไป แล้วแต่เจ้าของ
และลกู จ้างสมคั รใจ

ประโยชน์ทดแทน
ประโยชนทดแทน หมายถึง ความชวยเหลือที่ใหแกผูประกันตน หรือผูท่ีมีสิทธิ
เม่อื รบั ประกันตนประสบเคราะหภัยหรอื เดอื ดรอน และปฏิบัตติ ามเงื่อนไขทีก่ ฎหมายกาํ หนดแลว
รปู แบบของประโยชนทดแทน มี 4 รูปแบบ คือ
 บรกิ ารทางการแพทย
 เงินทดแทนการขาดรายได
 คา ทําศพ
 เงินสงเคราะห
2. กฎหมายเกยี วกบั ยาเสพตดิ
กฎหมายเก่ียวกับยาเสพติดที่บังคับใชในปจจุบันนี้ คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดใหโทษ
พ.ศ. 2522
ความหมายของยาเสพตดิ
ยาเสพติดใหโทษ หมายถงึ สารเคมหี รอื วัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเม่ือเสพเขาสูรางกายไมวาจะ
โดยรบั ประทาน ดม สูบ ฉีด หรอื ดว ยวิธกี ารใดแลวกต็ าม ทําใหเกดิ ผลตอ รางกายและจติ ใจ เชน ตอ งการเสพ
ในปรมิ าณที่เพมิ่ ขนึ้ เลกิ เสพยาก สขุ ภาพทั่วไปจะทรดุ โทรม และบางรายถงึ แกชวี ิต
ประเภทของยาเสพตดิ
ยาเสพติดใหโทษ แบง ได 5 ประเภท คือ
 ประเภท 1 ยาเสพติดใหโ ทษชนิดรา ยแรง เชน เฮโรอีน
 ประเภท 2 ยาเสพตดิ ใหโ ทษท่วั ไป เชน มอรฟน โคเคน ฝน
 ประเภท 3 ยาเสพติดใหโทษที่มีลักษณะเปน ตํารับยา และยาเสพติดใหโทษ ประเภท 2

ผสมอยดู วย ตามหลักเกณฑทร่ี ัฐมนตรีประกาศในราชกจิ จานเุ บกษา
 ประเภท 4 สารเคมีท่ีใชในการผลติ ยาเสพติดใหโทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เชน

อาเซตกิ แอนไฮโดรด อาเซตลิ คลอไรด
 ประเภท 5 ยาเสพติดใหโทษที่ไมไดเขาอยูในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เชน กัญชา

พชื กระทอ ม
ความผดิ เกยี วกบั ยาเสพตดิ ให้โทษทผี ดิ กฎหมาย
1. ยาเสพติดประเภท 1 ไดแกค วามผดิ ดงั น้ี

 ฐานผลิต นาํ เขา สง ออกเพอื่ การจําหนาย ตองระวางโทษประหารชีวติ

53

 ฐานจาํ หนา ยหรือมีไวในครอบครองเพ่ือการจําหนายเปนสารบริสุทธ์ิ ไมเกิน
100 กรัม ตองระวางโทษจําคุก 5 ป ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต 50,000 –
500,000 บาท ถาเกนิ 100 กรัม ตอ งระวางโทษจําคกุ ตลอดชีวติ หรอื ประหารชีวติ

 ถามไี วในครอบครองไมถึง 20 กรัม ตองระวางโทษจําคุกตั้งแต 1 – 10 ป และ
ปรับ 10,000 - 100,000 บาท

 ถา มีไวเ สพตองระวางโทษจําคกุ ต้ังแต 6 เดือน ถึง 10 ป และปรับต้ังแต 5,000 -
100,000 บาท

2. ยาเสพติดใหโทษประเภท2 ไวในครอบครองโดยไมไ ดรบั อนุญาต ตอ งระวางโทษจําคกุ
ต้ังแต 1 - 10 ป และปรับตั้งแต 10,000 – 100,000 บาท

3. ยาเสพติดใหโทษประเภท 3 มีลักษณะเปนตํารับยา จึงอาจมีการขออนุญาตผลิต
จําหนาย หรือนําเขา หรือสง ออกได

4. ยาเสพตดิ ใหโ ทษประเภท 4 และ 5 นน้ั อาจผลติ จาํ หนาย นาํ เขา สงออก หรือมีไวใน
ครอบครองได โดยรัฐมนตรีเปนผูอนุญาต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
เปนราย ๆ ไป

5. หา มเสพยาเสพตดิ ใหโทษประเภท 5 โดยเด็ดขาด หากฝา ฝนจะตองระวางโทษจําคุก
ไมเกนิ 1 ป และปรบั ไมเ กิน 10,000 บาท

3. กฎหมายค้มุ ครองแรงงาน
กฎหมายวา ดวยการคุมครองแรงงานของประเทศไทยปจจุบันน้ีคือ พระราชบัญญัติคุมครอง

แรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งถือไดวาเปนแมบทในการคุมครองแรงงาน บุคคลที่ไดรับการคุมครองจาก
กฎหมายฉบบั นี้ คือ “ลกู จา ง” ซงึ่ หมายความถึง ผซู งึ่ ตกลงทาํ งานใหน ายจา งโดยรบั คา จา ง สาระสาํ คัญของ
พระราชบญั ญัตคิ ุม ครองแรงงานประกอบดว ย

 การคมุ ครองกาํ หนดเวลาในการทํางาน
 สทิ ธขิ องลูกจางในการพกั ผอ นระหวา งทํางาน
 สิทธขิ องลกู จางในการมวี นั หยุด
 สทิ ธลิ าของลกู จาง
 สิทธิไดรบั เงนิ ทดแทน
 การคมุ ครองการใชแ รงงานหญงิ
 การคมุ ครองการใชแ รงงานเด็ก

54

เรืองที การปฏิบัตติ นตามกฎหมาย และการรักษาสิทธิ เสรีภาพของตนในกรอบของกฎหมาย

ในฐานะพลเมอื งของประเทศ ซึง่ มกี ารปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรง
เปนพระประมขุ ทมี่ สี ิทธิ เสรีภาพ บทบาทหนาที่ ตอ งปฏิบัติตนตามกรอบขอกําหนดของกฎหมายตาง ๆ
ทีเ่ กี่ยวของดวยการใชสทิ ธติ ามกฎหมาย และตอ งรกั ษาปกปอ งสิทธขิ องตนเองและชมุ ชน เมอื่ ถูกละเมดิ สทิ ธิ
หรือผลประโยชนอ ันชอบธรรมของตัวเองและชุมชน ซง่ึ การปฏบิ ัติตามกฎหมายดําเนนิ การได ดงั นี้

1. เรม่ิ จากการปลูกฝงและประพฤติปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เก่ียวของกับตนเองและครอบครัว
เชน เมือ่ มีคน เกดิ ตาย ในบา นตองดาํ เนนิ การตามกฎหมายทะเบยี นราษฎร จัดการใหก ารศกึ ษาแกบ ตุ ร หลาน
ตามกฎหมายการศึกษาภาคบังคบั ปฏบิ ตั ิตนใหถกู ตองตามกฎหมายการสมรส กฎหมายมรดก ฯลฯ

2. ในชมุ ชน/สังคม ตอ งปฏิบัตติ นใหเหมาะสมกบั การอยใู นสังคมประชาธิปไตย ตามบทบาทหนาที่
โดยยดึ กฎหมายทเี่ กยี่ วของ เชน การปฏบิ ัติตามกฎหมายสงเสรมิ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม ไมทําลาย
ธรรมชาติ เผาปา สรางมลพิษใหแ กผอู ่นื เคารพสิทธขิ องตน ไมละเลยเม่อื เห็นผอู ่ืนในชมุ ชน/สงั คมกระทําผิด
ดว ยการตกั เตือน ชี้แจง ใหความรวมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายคุมครองผูบริโภค กฎหมายแรงงาน
กฎหมายจราจร ฯลฯ
การรักษาสิทธิตามกรอบของกฎหมาย

กฎหมายใหสิทธิแกบุคคลหรือหนวยงานสามารถเรียกรองปองกัน เพื่อรักษาสิทธิของตนท่ีถูก
บุคคลหรือหนวยงาน ไมวาจะเปนหนวยงานของเอกชนหรือรัฐมาละเมิดสิทธิของบุคคลหรือชุมชน
โดยใหเปนหนาท่ีของบุคคล องคกร และผูเก่ียวของทําหนาท่ีรวมกันในการเรียกรองเพื่อรักษาสิทธิ
ผลประโยชนทถ่ี กู ละเมดิ ซง่ึ การละเมดิ สทิ ธิ มี 2 กรณี ดงั นี้

1. การละเมิดสิทธ/ิ ผลประโยชนสว นบุคคล กรณีตัวอยาง นักศึกษาสาวไปเดินหางสรรพสินคาถูก
ผไู มป ระสงคด แี อบถา ยภาพขณะเดินลงบันไดเลื่อน แลวนําไปเผยแพรหรือไปไวเอง ผูเสียหายสามารถ
แจง ความใหเจา หนา ทต่ี าํ รวจดาํ เนินคดีตามกฎหมายแกผ ูไ มประสงคดไี ด

2. การละเมิดสิทธิ/ผลประโยชนข องชมุ ชน กรณีตัวอยาง หนวยงานการไฟฟาฝายผลิตไดถูกรัฐ
จัดการแปรรูปใหเปนบริษัทเอกชน มกี ารซือ้ ขายหุนมงุ เก็งกําไร ทาํ ใหป ระชาชนเสยี ประโยชน ทั้ง ๆ ทไ่ี ฟฟา
จัดเปน สาธารณูปโภคที่รฐั พงึ จัดใหบ ริการแกประชาชน ไมค วรมงุ การคา กาํ ไร ซ่งึ ตอ มามีคณะบุคคลทีเ่ ปน
วุฒิสมาชิก (ส.ว.) ไดดําเนินการฟองรองไปยังศาลปกครอง เรียกรองสิทธิ/ผลประโยชนในเร่ืองน้ีใหแก
ประชาชน และในท่ีสุดศาลก็ไดตัดสินใจใหรัฐเปนผูแพ ผลประโยชนจึงไดกลับคืนมาสูประชาชน คือ
การไฟฟา ฝายผลติ กลบั มาเปนรัฐวสิ าหกจิ อยูในการกํากบั ของรฐั

กรณีตัวอยางนี้ ทําใหเห็นวาการมีความรูความเขาใจในเร่ืองกฎหมาย เขาถึงสิทธิอันชอบธรรม
ท่ีควรได/ มตี ามกฎหมาย บคุ คลหรอื องคกร และผูเกี่ยวของสามารถดําเนินการเรียกรอง ปกปอง รักษาสิทธิ
และผลประโยชนของตนและสวนรวมได

55

กิจกรรมที ให้ผ้เู รียนเลอื กคาํ ตอบทถี ูกต้อง

1. ความหมายคําวา “ประชาธปิ ไตย” ตรงกับขอใด

ก. ประชาชนเปน ใหญในประเทศ

ข. ระบอบการปกครองท่ีถือมติของปวงชนเปนใหญ หรือการถือเสียงขา งมากเปนใหญ

ค. การปกครองที่ยดึ หลกั สิทธิเสรภี าพ

ง. การปกครองท่ีมี 3 อํานาจ

2. การใชช ีวิตประชาธิปไตยตอ งเรมิ่ ตนท่ใี ดเปนแหงแรก

ก. ครอบครัว ข. โรงเรยี น

ค. ไปใชส ิทธเิ ลือกต้งั ง. การเลือกตั้งผูใ หญบาน

3. หลักสาํ คญั ในการประชมุ รวมกันคืออะไร

ก. รกั ษาระเบยี บ ข. มีสว นรวมในการจดั ประชมุ

ค. ยอมรับฟง ความคิดเห็นผูอื่น ง. เคารพกฎกติกา

4. สถานภาพการสมรสไดแกข อ ใด

ก. โสด ข. สมรส

ค. หมา ย ง. ถกู ทุกขอ

5. ขอตอ ไปนข้ี อใดหมายถงึ “หนา ท่ีของปวงชนชาวไทย”

ก. ชาวไทยมหี นา ที่เกณฑท หาร เมอ่ื อายคุ รบ 20 ป

ข. หนาที่เลอื กตง้ั ผูแ ทนราษฎร

ค. หนา ท่ีทะนุบาํ รุงศาสนา

ง. หนา ที่รักษาสถาบันทกุ สถาบนั

6. เม่ือมคี นตายเกดิ ขนึ้ ในบาน ใหแจง การตายภายในเวลาเทาใด

ก. 24 ชัว่ โมง ข. 2 วนั

ค. 3 วนั ง. 7 วัน

7. อาชีพลกู จา งอยใู นความคมุ ครองของกฎหมายใด

ก. กฎหมายแพง ข. กฎหมายอาญา

ค. กฎหมายครอบครวั ง. กฎหมายประกันสังคม

8. โทษสูงสดุ เกีย่ วกับคดียาเสพตดิ คืออะไร

ก. จําคกุ 20 ป ข. จาํ คกุ 20 ป ทง้ั จําทงั้ ปรับ

ค. จําคกุ ตลอดชวี ติ ง. ประหารชีวิต

56

9. ผูใดขาดคณุ สมบัติในการสมคั รเลอื กตงั้ เปนสมาชิกสภาผูแ ทนราษฎร

ก. นายแดงจบการศกึ ษาระดับปริญญาตรี

ข. นายแดงไมไ ปเลอื กต้ังทกุ คร้ัง

ค. นายเขียวไปเลอื กตัง้ ทกุ ครงั้

ง. นายเขียวสังกดั พรรคการเมือง

10. ประเทศไทยปกครองระบอบประชาธปิ ไตยตงั้ แตป พ.ศ. อะไร

ก. 2455 ค. 2465

ค. 2475 ง. 2485

กจิ กรรมที ให้ผ้เู รียนศึกษากรณตี วั อย่างอปุ สรรคการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยของไทย

แล้วนํามาแลกเปลยี นเรียนรู้

57

เร่อื งที่ 10 การมีสวนรวมในการปอ งกันและปราบปรามการทุจรติ

สังคมไทยใหความสําคัญกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตยสุจริตมาต้ังแต
โบราณจนถึงปจจุบัน มีสุภาษิตและคําพังเพยท่ีคนไทยใชสอนลูกหลานใหเปนคนดี มีความซ่ือสัตย
ไมค ดโกงผอู ่ืนใหไดยนิ เสมอมา เชน “ซือ่ กนิ ไมหมด คดกนิ ไมนาน” “คนดตี กนํา้ ไมไ หล ตกไฟไมไ หม”
“ทาํ ดีไดดี ทําชวั่ ไดชั่ว” “ทาํ ดีจะไดขน้ึ สวรรค ทําช่วั จะตกนรก” เปน ตน

กระแสโลกาภิวัตนท่ีกําลังแพรระบาดท่ัวโลกรวมท้ังการไหลบาของสังคมและ
วฒั นธรรมนานาชาตทิ ไ่ี มสามารถหยดุ ยง้ั ได ประกอบกับการพัฒนาอยา งรวดเร็วของโครงสรา งเศรษฐกิจ
ทเ่ี จริญเติบโตอยา งรวดเรว็ สูภาคอุตสาหกรรม และการทอ งเทยี่ ว สง ผลใหประชาชนคนไทยถูกชักนําให
หลงใหลไปสกู ารเปน นักวัตถุนยิ ม ตดิ ยึดอยกู บั วัฒนธรรมสมัยใหมทเี่ ปน ทาสของเงนิ ความมัง่ ค่งั มหี นามตี า
ในสังคม ยกยองคนรวยมีอํานาจวาสนาโดยไมคํานึงถึงความเปนคนดีมีคุณธรรมและภูมิปญญา ทุมเท
ใหก บั ความฟุงเฟอ ฟมุ เฟอย สุรุยสุราย ไมเหน็ ความสาํ คญั ของครอบครัว และสายใยผูกพันในครอบครัว
เหมือนเดมิ มกี ารชงิ ดชี ิงเดนกนั รุนแรงท้ังในการทํางาน การดาํ รงชีวติ ในชมุ ชน ตลอดถงึ การเรยี นของเด็ก
และเยาวชน ความเอ้ือเฟอเผื่อแผ ความเมตตาอารี การชวยเหลือเก้ือกูล สมัครสมานสามัคคี การพ่ึงพา
อาศัยระหวางผูคน เพ่ือนบานในชุมชน และศรัทธาในพระศาสนาท่ีบรรพบุรุษเคยนับถือ เกือบไมมี
ปรากฏใหเ หน็ ในวิธีการดํารงชีวิต พฤติกรรมท่ีเปนปญหาเหลาน้ีหลายคร้ังกลายเปนเร่ืองท่ีนิยมยกยอง
ในสังคม เชน พอ แม ผูมฐี านะดีบางคนสง เสริมใหล กู หลานเท่ยี วเตรกอ ความวนุ วายแกส งั คม เชน ต้ังกลุม
เด็กแวน กลุมเด็กตีกัน เปนตน หรือในภาคสวนของผูบริหารและนักการเมืองบางกลุมท่ีมีพฤติกรรม
ไมถูกตองแตกลับไดรับการยกยองเชิดชูในสังคม เชน ผูที่มีอํานาจออกกฎหมายหรือโครงการเพื่อ
ประโยชนของสงั คมสว นรวม แตเบ้ืองหลังกลับพบวา กฎหมายหรือโครงการเหลาน้ันไดมีการวางแผน
ใหญาตพิ ี่นองหรอื พรรคพวกของตนมีโอกาสไดประโยชนมหาศาลท่ีเรียกกันวา ผลประโยชนทับซอน
เปนที่ประจักษในปจจุบัน พฤติกรรมเหลาน้ีเกิดข้ึนบอยคร้ังและทวีความรุนแรงขึ้นทุกทีสงผลใหเกิด
ปญหาทุจริตประพฤติมิชอบซึ่งเปนปญหาใหญและมีความสําคัญย่ิงตออนาคตของชาติบานเมืองท่ีตอง
ไดร บั การแกไขเยียวยาโดยดวนทุกระดับและทุกภาคสวนของสังคม เปนเร่ืองที่ประชาชนจะตองรูเทา
รูทัน มจี ิตสํานกึ และมีสวนรวมท่จี ะปองกัน แกไข ขจัดปญหาการทุจริตประพฤติมิชอบเหลานี้ใหลดลง
และหมดไป

สาํ นกั งานปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งมีอํานาจหนาท่ีในการ
ปองกันและปราบปรามการทุจริตตามขอกําหนดของกฎหมายรัฐธรรมนูญไดกําหนดยุทธศาสตรและ
มาตรการในการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ โดยใหประชาชนทุกภาคสวนมีสวนรวมในการเขาไป
มีบทบาทในฐานะเปน สวนหนง่ึ ของผูด ําเนินการในกิจกรรมตาง ๆ โดยตองมีการวางระบบท่ีเปดโอกาส
ใหประชาชนมีความกลาในการแสดงความคิดเห็น และกลาในการตัดสินใจโดยอยูในกรอบของ
การเคารพสิทธ์ิของผูอื่น และสนับสนุนใหประชาชนรวมกันทํางานเปนเครือขายเพ่ือใหเกิดพลังสราง
ความเขมแขง็ เช่อื มโยงกนั ทั้งระดับบุคคลและระดับองคกรเปนอันหนึ่งอันเดียวกันโดยมีผลประโยชน

58

ของสังคมเปนทต่ี ัง้ ในการสนับสนนุ สง เสรมิ ใหป ระชาชนมสี วนรวมในการตอ ตานการทุจริตคอรรัปช่ัน
น้คี ณะกรรมการ ป.ป.ช. ไดก าํ หนดมาตรการเพ่อื การปฏบิ ตั ริ ว มกนั ไวด ังน้ี

1. สรางความตระหนักใหประชาชนมสี ว นรว มในการตอ ตา นการทจุ ริต

1.1 ปลูกจิตสํานึกและคานิยมการมีคุณธรรมจริยธรรมและการมีวินัยแกประชาชน
ทุกภาคสวน สงเสริมการดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สงเสริมใหใชการศึกษาเปน
เครือ่ งมอื ในการปลกู จิตสํานึกนักเรยี น นักศึกษา เยาวชน และประชาชน อยางตอเนื่อง

1.2 สง เสรมิ สนบั สนุนใหความเขมแข็งแกเครือขายการมีสวนรวมขององคกรตาง ๆ
โดยเนนการประชาสัมพันธ การสรางขวัญและกําลังใจ การสงเสริมขอมูล และทักษะการทํางานดาน
กฎหมาย การขยายเครอื ขาย การปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริตใหกระจายลงไปถึงระดบั รากหญา

1.3 สงเสริมความเปนอิสระและมีประสิทธิภาพแกองคกรที่มีหนาท่ีตรวจสอบ
การทุจริตโดยเฉพาะสํานักงาน ป.ป.ช. ใหมีการถวงดุลอํานาจจากภาครัฐท่ีเก่ียวของทุกระดับโดย
ปราศจากการแทรกแซงของอทิ ธพิ ลจากภาคการเมอื ง และภาคธรุ กจิ ราชการ

1.4 สง เสริมการสรา งมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชพี แกบคุ ลากรท่เี กีย่ วขอ งเพื่อใหเปน
ท่ียอมรบั และมนั่ ใจขององคกรเครือขา ย

2. สรา งความเขาใจท่ถี ูกตอ งในเรื่องกฎหมายท่ีเกย่ี วของกบั การปองกันและปราบปราม
การทจุ รติ คอรปั ช่ัน มกี ฎหมายทีเ่ ปนหลัก เชน

2.1 รัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2550 มาตรา 87 (3) ท่ีกําหนดให
ประชาชนมบี ทบาทและมสี ว นรว มในกาตรวจสอบการใชอ าํ นาจรัฐอยา งเปน รูปธรรม

2.2 พระราชบัญญตั ิประกอบรัฐธรรมนูญวา ดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจริต
พทุ ธศักราช 2542 (ฉบบั ที่ 2) พทุ ธศกั ราช 2554 มาตรา 19 (13) กาํ หนดใหค ณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนาท่ี
สงเสรมิ ใหป ระชาชนหรอื กลมุ บุคคลมีสวนรวมในการปองกันและปราบปราม ทงั้ นีม้ ีรายละเอียดท่ีสามารถ
ศกึ ษาคนควา ไดจ าก www.nacc.go.th (เวบ็ ไซตของ ป.ป.ช.)

3. กระตุนจติ สํานกึ การมสี วนรว มในการปองกันและปราบปรามการทจุ ริต

เพอ่ื ใหผ เู รียนเกิดความเขาใจ ตระหนักและมีจิตสํานึกในการมีสวนรวม ท่ีจะปองกัน
การทจุ ริตประพฤตมิ ิชอบในชมุ ชน และสงั คม หลกั สตู รการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 จงึ ไดกําหนดแนวทางการเรียนรู ในรูปแบบกรณีศึกษา ใหผูเรียนไดฝกทักษะการคิด
วเิ คราะห การมสี ว นรว มในการแกปญหาการทจุ ริตรูปแบบตาง ๆ ดวยเจตนาท่ีจะใหผ เู รียนสามารถนําไป
เปนแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อประโยชนตอตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม จนเกิดการพัฒนา
จิตสํานึกในการมีสวนรวมปองกันและปราบปรามการทุจริตได กิจกรรมท้ังหมดประกอบดวย
6 กรณีศกึ ษา ไดแ ก

1. เรอื่ ง “ใตโ ตะ หรอื บนโตะ ”
2. เรอ่ื ง “ทจุ รติ ” หรอื “คดิ ไมซอ่ื ”

59

3. เร่ือง “เจาบ๊กิ ...เปนเหต”ุ
4. เรื่อง “ฮั้ว”
5. เรื่อง “อาํ นาจ... ผลประโยชน”
6. เรอ่ื ง “เลอื กตง้ั ...อปั ยศ”
ท้ังนี้ผูเรียนและผูสอนจะตองรวมมือกันนําขอมูลทั้งดาน วิชาการ ระเบียบ กฎหมาย ท่ีไดมีการสรุป
รวบรวมไวใ นเอกสาร คูม ือการจดั กจิ กรรมการเรียนรู เรอ่ื ง การมีสวนรวมของประชาชนในการปองกัน
และปราบปรามการทุจริต รวมกับขอมูลปญหาความตองการสภาพแวดลอม ของชุมชนทองถ่ิน และ
คุณธรรม จริยธรรม ทต่ี นเองมอี ยูมาตัดสนิ ใจแกปญหาตา ง ๆ ใหลุลว งไปไดอ ยางเหมาะสมตอ ไป

60

กรณศี ึกษาเรอ่ื งท่ี 1

เรื่อง “ใตโ ตะ หรอื บนโตะ”

วตั ถุประสงค
1. บอกคุณธรรมในการปฏิบตั ิงานได
2. บอกวธิ ีการปอ งกนั การทุจริตในการปฏิบตั ิงานได
3. เกิดจิตสํานึกในการปองกันการทุจริต

เน้อื หาสาระ
1. พระราชบัญญตั ิจราจรทางบก ฉบบั 8 พ.ศ. 2551
2. คุณธรรม จริยธรรมของผูป ฏิบัตงิ าน

กรณศี กึ ษา
นายนภดล ขับรถกระบะจากบานพักไปโรงพยาบาลในกรุงเทพ เพื่อไปเย่ียมแมที่
ประสบอุบัตเิ หตุ อาการเปนตายเทา กันอยูในหอ ง ICU ขณะขบั รถผา นส่แี ยกไฟแดง ดว ยความรอ นใจและ
เห็นวาไมมีรถอน่ื ในบรเิ วณนั้นเลย ทาํ ใหน ายนภดลตัดสินใจขับรถฝาไฟแดง ตํารวจที่อยูบริเวณนั้นเรียก
ใหห ยดุ และขอตรวจใบขับขี่ นายนภดลจึงไดแอบสง เงินจํานวนหนึ่งใหแกตํารวจ เพ่ือจะไดไมเสียเวลา
ใหต ํารวจเขียนใบสั่งและตอ งไปจายคา ปรับท่ีสถานีตาํ รวจ หลงั จากนัน้ ตาํ รวจไดปลอยนายนภดลไป

ประเด็น
1. ทานคิดวาการที่นายนภดลขับรถผาไฟแดงดวยเหตุผลเพื่อจะรีบไปเย่ียมแมที่ประสบ
อุบัติเหตอุ ยใู นหอ ง ICU เปน การปฏบิ ตั ิท่ถี ูกตองหรอื ไม เพราะอะไร
2. ถาทานเปนนายนภดล จะมวี ิธปี ฏบิ ัตอิ ยา งไรในกรณีดังกลาวใหถูกตองตามกฎหมาย หนาท่ี
พลเมืองและคณุ ธรรมจริยธรรม
3. ตํารวจท่ีรับเงินที่นายนภดลแอบให เพื่อที่จะไมตองเสียคาปรับ ไดช่ือวาเปนการกระทํา
ท่ีทจุ ริตผิดกฎหมาย หรอื คอรรัปชน่ั อยางไร
4. ในฐานะที่เปนประชาชน ทานคิดวา จะมีสวนหรือมีบทบาทในการปองกันพฤติกรรม
ทีเ่ กิดข้ึนไดห รือไม อยางไร

ใบความรู
เรื่อง พระราชบญั ญัติจราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551

61

ใบงาน
1. ใหผ เู รียนศกึ ษากรณีศึกษา
2. แบงกลมุ อภปิ ราย แสดงความคิดเห็น ตามประเด็นทก่ี าํ หนดให
3. ใหผ ูสอนและผูเ รยี นรว มกันศึกษาหาขอมูลประกอบการอภปิ รายหาเหตุผล
4. ใหผสู อนและผูเรยี นสรุปแนวคิดทไ่ี ดจ ากการอภิปรายรว มกนั
5. ใหผเู รยี นรวมทํากิจกรรมการเรยี นรตู อ เน่ือง พรอ มสรุปรายงานผล

กิจกรรมการเรยี นรูตอเนอ่ื ง
1. ใหผูเรียนสมั ภาษณประชาชนท่ัวไปและตาํ รวจ ทั้งรายบคุ คลและชมุ ชน (กลุม ) ถงึ ความคิดเห็น
ความรูสึก เจตคตทิ ีเ่ กี่ยวขอ งกบั ปญ หาเหลา นี้ ตลอดจนถงึ วธิ ีแกไ ข แลว ทาํ เปนรายงานเสนอ
ผูสอน
2. ใหผเู รียนตัดขาวหนังสอื พมิ พใ นเรอ่ื งดงั กลา ว และเสนอแนวทางแกไขทําเปนรายงานเสนอ
ผูสอน
3. สรุปขา วโทรทศั นปญหาทจุ รติ ขาดคณุ ธรรม พรอ มเสนอทางออกในการแกไ ขปญหาน้ัน ๆ

สื่อ/แหลงคนควา
1. สาํ นกั งาน ป.ป.ช. ประจาํ จงั หวดั
2. ส่ือ Internet
3. หนังสอื พิมพ
4. โทรทัศน

62

ใบความรู

พระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก ไดมกี ารแกไข ปรับเปลย่ี น และยกเลกิ บางขอกําหนดแลว
ทงั้ หมด 8 ฉบบั และฉบบั ลาสดุ คอื พระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551 ไดก าํ หนดอัตรา
ความเร็วของยานพาหนะ ดงั รายละเอียดตอ ไปน้ี

อตั ราความเร็วของยานพาหนะตามพระราชบญั ญตั จิ ราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551
ในกรณีปกตใิ หก ําหนดความเรว็ ของรถดังตอ ไปนี้

1. สําหรบั รถบรรทกุ ทีม่ ีน้าํ หนกั รถรวมท้ังนา้ํ หนกั บรรทกุ เกิน 1,200 กโิ ลกรัมหรือรถบรรทกุ
คนโดยสาร ใหข ับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมอื งพัทยา หรอื เขตเทศบาลไมเกนิ
60 กิโลเมตรตอ ชวั่ โมง หรือนอกเขตดังกลาวใหขบั ไมเกิน 60 กโิ ลเมตรตอ ชวั่ โมง

2. สําหรบั รถยนตอืน่ นอกจากรถทร่ี ะบุไวใ น 1 ขณะท่ีลากจงู รถพว งรถยนตบ รรทกุ ท่ีมีนํ้าหนกั
รถรวมทงั้ น้าํ หนกั บรรทกุ เกิน1,200 กโิ ลกรมั หรือรถยนตส ามลอ ใหขับในเขต
กรงุ เทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไมเ กนิ 45 กโิ ลเมตรตอช่วั โมง หรือ
นอกเขตดงั กลาวใหขบั ไมเกิน 60 กโิ ลเมตรตอ ชว่ั โมง

3. สําหรบั รถยนตอ ่ืนนอกจากรถที่ระบุไวใน 1 หรือ 2 หรือรถจักรยานยนต ใหขับในเขต
กรงุ เทพมหานคร เขตเมอื งพทั ยา หรือเขตเทศบาล ไมเกนิ 80 กิโลเมตรตอช่วั โมง หรอื
นอกเขตดงั กลา วใหข ับไมเ กนิ 90 กิโลเมตรตอชวั่ โมง
ในเขตทางท่มี เี ครือ่ งหมายจราจรแสดงวา เปน เขตอนั ตรายหรอื เขตใหข ับรถชา ๆ ใหล ด
ความเร็วลงและเพ่มิ ความระมัดระวงั ขน้ึ ตามสมควร
ในกรณีท่มี ีเครื่องหมายจราจรกําหนดอตั ราความเรว็ ตาํ่ กวาทกี่ าํ หนดในขา งตน ใหข บั ไมเกนิ
อตั ราความเรว็ ทีก่ ําหนดไวน น้ั

ขอหาหรอื ฐานความผิดตามกฎหมายท่คี วรทราบ
ขอ หา ฐานความผดิ บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 (แกไขเพ่ิมเติม

ถึง พ.ศ. 2538) และการเปรียบเทียบปรับผกู ระทําผิดน้ัน ใหเ ปนไปตามขอกาํ หนดของสาํ นักงานตํารวจแหง ชาติ
(กรมตํารวจ) ฉบบั ท่ี 3 ลงวันท่ี 9 ก.ค. 40 และเพม่ิ เติมฉบบั ท่ี 4 ลงวนั ท่ี 3 ธ.ค. 2540 ตามลําดบั

63

ลําดบั ขอหาหรอื ฐานความผดิ อัตราโทษ อตั ราตาม
ขอกําหนด

1 นํารถทไ่ี มม นั่ คงแข็งแรงอาจเกดิ อนั ตรายหรือ ปรบั ไมเ กิน 500 บาท ปรับ 200 บาท

ทําใหเส่อื มเสยี สุขภาพอนามัย มาใชใน

ทางเดนิ รถ

2 นาํ รถทไ่ี มต ดิ แผน ปายทะเบยี นมาใชใ น ปรับไมเ กิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

ทางเดนิ รถ

3 นาํ รถทเ่ี ครื่องยนตก อใหเ กดิ กาซ ฝุนควนั ปรบั ไมเ กนิ 1,000 บาท ปรับ 500 บาท

ละอองเคมี เกนิ เกณฑท่อี ธบิ ดกี ําหนดมาใชใน

ทางเดนิ รถ

4 นํารถทเี่ คร่ืองยนตก อใหเกดิ เสียงเกนิ เกณฑท่ี ปรบั ไมเ กิน 1,000 บาท ปรับ 500 บาท

อธบิ ดกี าํ หนดมาใช ในทางเดนิ รถ

5 ขับรถในทางไมเปด ไฟ หรอื ใชแ สงสวา งใน ปรบั ไมเกิน 1,000 บาท ปรับ 200 บาท

เวลาที่มีแสงสวางไมเ พยี งพอที่จะมองเห็นคน

รถ หรอื สง่ิ กีดขวาง ในทางไดโดยชดั แจง

ภายในระยะ 150 เมตร

6 ใชส ัญญาณไฟวับวาบผดิ เงื่อนไขท่ีอธบิ ดี ปรบั ไมเกนิ 500 บาท ปรับ 300 บาท

กาํ หนด

7 ขบั รถบรรทกุ ของยนื่ เกนิ ความยาวของตัวรถใน ปรับไมเกนิ 1,000 บาท ปรบั 300 บาท

ทางเดิน รถไมติดธงสีแดง ไวต อนปลายสุดให

มองเห็นไดภ ายในระยะ 150 เมตร

8 ขับรถบรรทกุ วตั ถุระเบดิ หรือ วตั ถุอันตรายไม จาํ คุกไมเ กนิ 1 เดือน หรือ ปรบั 300 บาท

จดั ใหม ีปายแสดงถงึ วตั ถุ ท่ีบรรทุก ปรบั ไมเ กนิ 2,000 บาท

หรอื ท้ังจําทงั้ ปรบั

9 ขับรถไมจ ัดใหมีสิ่งปอ งกนั มใิ หคน สตั ว หรอื ปรบั ไมเ กนิ 500 บาท ปรับ 200 บาท

สง่ิ ของท่บี รรทกุ ตกหลน รวั่ ไหล สงกลนิ่ สอ ง

แสงสะทอน หรอื ปลวิ ไปจาก รถอันอาจกอ เหตุ

เดอื ดรอนรําคาญ ทําใหท างสกปรกเปรอะเปอ น

ทําใหเสอ่ื มเสยี สุขภาพ อนามัย แกป ระชาชน

หรอื กอ ใหเ กิดอันตรายแกบ ุคคลหรอื ทรพั ยส ิน

64

ลําดบั ขอ หาหรอื ฐานความผิด อตั ราโทษ อัตราตาม
ขอ กําหนด
10 ขบั รถไมปฏบิ ัติตามสัญญาณจราจร หรือ ปรบั ไมเกิน 1,000 บาท ปรบั 300 บาท

เครื่องหมายจราจรทไ่ี ดติดต้ังไวห รอื ทําให ปรบั 300 บาท
ปรบั 300 บาท
ปรากฏ ในทาง หรอื ทพี่ นกั งานเจาหนาท่แี สดง

ใหทราบ

11 ขบั รถฝา ฝน สญั ญาณไฟแดง ปรับไมเ กนิ 1,000 บาท

12 ไมห ยดุ รถหลงั เสน ใหร ถหยดุ เม่ือมีสัญญาณ ปรบั ไมเกิน 1,000 บาท

ไฟแดง

65

กรณีศึกษาเร่ืองที่ 2

เรอ่ื ง “ทุจริต” หรอื “คดิ ไมซ อื่ ”

วตั ถปุ ระสงค
1. บอกแนวทางในการเสรมิ สรางคณุ ธรรมได
2. ใชค ณุ ธรรมในการปฏบิ ัตติ นเพอ่ื ปอ งกนั การทจุ รติ ได
3. เกดิ จติ สํานกึ ในการปองกนั การทจุ ริต

เนอื้ หาสาระ
1. ระเบียบกระทรวงศกึ ษาธิการวาดว ยการปฏบิ ตั ขิ องผเู ขาสอบ พ.ศ. 2548
และ ฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2555
2. คณุ ธรรมในการครองตนในการดาํ เนนิ ชวี ติ

กรณีศึกษา
นางสาวรงุ ฤดี อายุ 22 ป ประกอบอาชพี รับจา งในโรงงาน หาเลี้ยงครอบครัว ฐานะทางบาน
ยากจนและไมไดเรียนหนังสือ ดวยความเปนคนมีมานะ และใฝเรียน จึงไดสมัครเรียน กศน.
ภาคเรียนนี้เปนภาคเรียนสุดทายที่จะจบมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อเรียนจบ ม.ปลายแลว เธอจะไดรับ
เงินเดอื นเพ่มิ ข้ึนและมโี อกาสไดร ับการพิจารณาใหเลอ่ื นเปน หวั หนา งาน ดวยความกลวั วา จะสอบไมผ าน
และจะไมสามารถนําวฒุ ิไปปรบั ตาํ แหนงและเงินเดือนใหสงู ขึ้นได นางสาวรงุ ฤดี จงึ ไดทาํ การลักลอบจด
สูตรคณิตศาสตร และนําเครื่องคิดเลขเขาไปในหองสอบ แตบังเอิญกรรมการคุมสอบจับได และปรับ
ไมผ า นการสอบครัง้ นัน้

ประเด็น
1. ถาทา นเปนนางสาวรุงฤดี และมีความตองการเล่ือนขั้นเงินเดือนและตําแหนง แตก็มีความ
วติ กกงั วลวาจะสอบไมผา น ทา นจะปฏิบัตเิ ชนเดียวกับนางสาวรุงฤดหี รอื ไม เพราะเหตใุ ด
2. การตัดสินใจทําการทุจริตของนางสาวรุงฤดี จะกอใหเกิดปญหา และผลกระทบตอการ
ทํางานของตนหรือไม อยางไร
3. นางสาวรุงฤดี ควรจะมกี ารใชคณุ ธรรมขอ ใดหรอื ไม ในการนาํ มาแกป ญหาของตนโดยไมท าํ
การทุจริต

66

ใบความรู
เรื่อง ระเบยี บกระทรวงศึกษาธิการวา ดว ยการปฏิบตั ขิ องผูเขาสอบ พ.ศ. 2548

และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555
ใบงาน

1. ใหผ เู รยี นศึกษากรณศี กึ ษา
2. แบงกลุมอภปิ ราย แสดงความคิดเห็น ตามประเดน็ ทกี่ าํ หนดให
3. ใหผูสอนและผเู รยี นรวมกันศกึ ษาหาขอมลู ประกอบการอภิปรายหาเหตผุ ล
4. ใหผ สู อนและผูเรียนสรุปแนวคิดทีไ่ ดจากการอภปิ รายรว มกนั
5. ใหผ เู รยี นรว มทํากจิ กรรมการเรยี นรูตอเนอ่ื ง พรอ มสรปุ รายงานผล
กจิ กรรมการเรียนรูตอเนอ่ื ง
1. ใหผูเรียนกําหนดแนวทางการเสริมสรางคุณธรรมใหกับคนในชุมชน สังคม เพื่อปองกัน

การทจุ ริต
2. ใหผูเ รยี นรว มกันอภิปรายถงึ ปญหาและผลกระทบของการทจุ ริตตอบคุ คล ชุมชน และสังคม

พรอ มสรุปผลการอภปิ ราย และบันทึกลงในสมุด
ส่ือ/แหลงคน ควา

1. เอกสารวิชาการ เรอ่ื ง ระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวา ดว ย การปฏิบตั ิของผเู ขา สอบ
พ.ศ. 2548 และ ฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2555

2. สอ่ื Internet

67

ใบความรู

ระเบยี บกระทรวงศึกษาธกิ าร
วาดวยการปฏบิ ตั ขิ องผเู ขา สอบ

พ.ศ. 2548

โดยท่ีเห็นสมควรปรบั ปรุงระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธิการวาดวยการปฏิบัตขิ องผูเขา สอบใหเ หมาะสม
ย่งิ ขึน้ อาศัยอาํ นาจตามความในมาตรา 12 แหงพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
พ.ศ. 2546 รัฐมนตรวี าการกระทรวงศกึ ษาธิการจงึ วางระเบยี บไวดังตอ ไปนี้

ขอ 1 ระเบียบน้ีเรียกวา “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ วาดวยการปฏิบัติของผูเขาสอบ
พ.ศ. 2548”

ขอ 2 ระเบียบนใี้ หใ ชบ งั คบั ตัง้ แตว นั ถัดจากวันประกาศเปน ตน ไป
ขอ 3 ใหย กเลกิ ระเบยี บกระทรวงศึกษาธิการ วาดวยการปฏิบัติของผูเขาสอบ พ.ศ. 2506 ระเบียบนี้
ใหใชบังคับแกผูเขาสอบ สําหรับการสอบทุกประเภทในสวนราชการและสถานศึกษาสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ และใหหมายความรวมถึงผูเขาสอบในสถานศึกษา ที่อยูในกํากับดูแล หรือ
สถานศึกษาที่อยูในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ยกเวนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ขอ 4 ผูเขาสอบตอ งปฏบิ ัตดิ ังตอ ไปน้ี

4.1 การแตงกาย ถาเปนนักเรียนหรือนักศึกษาตองแตงเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษา
แลว แตก รณี ถา เปน ผสู มัครสอบตอ งแตง ใหส ุภาพเรียบรอ ยตามประเพณนี ิยม

4.2 ผเู ขาสอบจะตองถอื เปน หนา ทีท่ ีจ่ ะตอ งตรวจสอบใหทราบวา สถานที่สอบอยู ณ ท่ีใด
หองใด

4.3 ไปถงึ สถานที่สอบกอ นเวลาเรมิ่ สอบตามสมควร ผใู ดไปไมทันเวลา ลงมือสอบวิชาใด
ไมม ีสิทธเิ ขา สอบวชิ านัน้ แตส ําหรับการสอบวชิ าแรกในตอนเชาของแตละวัน ผูใดเขาหองสอบหลังจาก
เวลาลงมือสอบแลว 15 นาที จะไมไดรับอนุญาตใหสอบวิชานั้น เวนแตมีเหตุความจําเปนใหอยูใน
ดลุ พนิ จิ ของประธานดําเนนิ การสอบพิจารณาอนุญาต

4.4 ไมเขาหอ งสอบกอนไดร บั อนุญาต
4.5 ไมน าํ เอกสาร เครื่องอเิ ลก็ ทรอนิกส หรอื เคร่ืองส่อื สารใด ๆ เขา ไปในหอ งสอบ
4.6 นงั่ ตามท่กี าํ หนดให จะเปลี่ยนทน่ี งั่ กอ นไดร บั อนุญาตไมได
4.7 ปฏิบตั ติ ามระเบียบเก่ียวกับการสอบ และคําสัง่ ของผกู าํ กบั การสอบ โดยไมท ุจรติ ใน
การสอบ
4.8 มใิ หผเู ขา สอบคนอน่ื คัดลอกคําตอบของตน รวมท้งั ไมพูดคุยกับผูใดในเวลาสอบ เมื่อมี
ขอสงสยั หรือมเี หตุความจําเปน ใหแจงตอผูกาํ กบั การสอบ
4.9 ประพฤติตนเปนสุภาพชน

68

4.10 ผูใดสอบเสร็จกอน ผูน้ันตองออกไปหางจากหองสอบ และไมกระทําการใด ๆ
อันเปนการรบกวนแกผูที่ยังสอบอยู แตทั้งน้ีผูเขาสอบทุกคนจะออกจากหองสอบกอนเวลา 20 นาที
หลงั จากเรมิ่ สอบวชิ านน้ั ไมไ ด

4.11 ไมนาํ กระดาษสําหรบั เขยี นคาํ ตอบทีผ่ กู ํากบั การสอบแจกใหออกไปจากหองสอบ
ขอ 5 ผเู ขาสอบผใู ดกระทาํ การฝาฝน ระเบยี บขอ 4 หรอื พยายามกระทําการทุจริตในการสอบวิชาใด
ใหผูกํากับการสอบวากลาวตักเตือน ถาการกระทําดังกลาวในวรรคแรกเขาลักษณะรายแรง เมื่อได
สอบสวนแลว ประธานกรรมการ หรอื ผมู อี าํ นาจหนาท่ีในการจดั การสอบมีอํานาจส่ังไมใหผูน้ันเขาสอบ
วชิ านน้ั หรอื สั่งไมตรวจคาํ ตอบวชิ านน้ั ของผนู ัน้ โดยถือวาสอบไมผ า นเฉพาะวิชาก็ได
ขอ 6 ผูเขาสอบผูใดกระทําการทุจริตในการสอบวิชาใด เมื่อไดสอบสวนแลวใหประธาน
กรรมการหรอื ผมู ีอํานาจหนาท่ใี นการจดั การสอบ สง่ั ไมตรวจคาํ ตอบและถือวาผูน้ัน สอบไมผานวิชานั้น
ในการสอบคราวนน้ั
ขอ 7 ในกรณีทจุ ริตในการสอบดวยวธิ คี ดั ลอกคําตอบระหวา งผูเ ขาสอบดว ยกัน ใหส นั นษิ ฐานไว
กอ นวาผเู ขาสอบนั้นไดส มคบกันกระทําการทุจรติ
ขอ 8 ใหป ลดั กระทรวงศกึ ษาธิการรกั ษาการใหเปน ไปตามระเบียบน้ี

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
(นายจาตรุ นต ฉายแสง)

รัฐมนตรีวา การกระทรวงศึกษาธกิ าร

69

ระเบียบกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
วา ดวยการปฏิบัตขิ องผเู ขาสอบ (ฉบบั ท่ี 2)

พ.ศ. 2555
โดยทีเ่ หน็ สมควรแกไขเพ่มิ เติมระเบียบกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวาดวยการปฏบิ ัตขิ องผเู ขา สอบ
พ.ศ. 2548 ใหมีความเหมาะสมยง่ิ ขึน้
อาศยั อํานาจตามความในมาตรา 12 แหง พระราชบัญญัติระเบียบบรหิ ารราชการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
พ.ศ. 2546 รฐั มนตรวี า การกระทรวงศกึ ษาธกิ าร จึงวางระเบียบไว ดังตอ ไปนี้
1. ระเบียบนี้เรียกวา “ระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวา ดวยการปฏิบตั ขิ องผเู ขา สอบ (ฉบบั ที่ 2)
พ.ศ. 2555”
2. ระเบยี บนี้ใหใ ชบ งั คับต้งั แตวนั ประกาศเปน ตน ไป
3. ใหยกเลิกความใน 4.10 ของขอ 4 แหง ระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวาดว ยการปฏบิ ัตขิ องผเู ขา สอบ
พ.ศ. 2548 และใหใชความตอไปน้แี ทน

“4.10 ตอ งนั่งอยใู นหองสอบจนหมดเวลาทําขอสอบ”
ประกาศ ณ วันที่ 22 มถิ ุนายน พ.ศ. 2555
(ศาสตราจารยส ชุ าติ ธาดาธาํ รงเวช)
รฐั มนตรวี า การกระทรวงศึกษาธิการ

70

กรณีศึกษาเร่อื งท่ี 3
เรอ่ื ง “เจาบก๊ิ ...เปนเหตุ”

วตั ถุประสงค
1. ระบุปญ หาทเี่ กิดจากการทจุ ริตจากการใชอ ํานาจหนาทีใ่ นทางที่ไมถ ูกตองเกดิ ข้นึ ใน
หนวยงานราชการ
2. บอกวธิ ีปอ งกนั การทุจรติ เนือ่ งมาจากการใชอาํ นาจหนา ทใ่ี นทางที่ไมถ กู ตองในหนว ยงาน
3. มีสว นรวมในการปองกนั การทจุ ริตในหนว ยงาน
4. มจี ติ สาํ นึกในการปองกนั การทจุ ริตในหนวยงานราชการ

เนือ้ หาสาระ
1. กฎหมายท่เี กีย่ วของกบั การทจุ รติ จากการปฏิบัติหนา ท่ี
2. คณุ ธรรมในการทาํ งานเพ่ือปองกนั หรอื หลกี เลย่ี งการทจุ รติ
3. หนว ยงานทเ่ี กย่ี วขอ งการรบั การรองเรยี นการทจุ ริต

กรณศี กึ ษา
มีหนวยงานแหงหนงึ่ มหี นา ที่กอ สรางถนน ตอ งมีเครื่องจักรกลหนักไวใชงานจํานวนมาก
ตองถูกใชงานอยางสมบุกสมบัน ในที่สุดก็หมดสภาพตามอายุการใชงาน บรรดาเคร่ืองจักรกลหนักมี
“เจา บก๊ิ ” รถแทรกเตอรเกา ทถี่ ูกใชง านหนักมาเปนเวลานานหลายป มีปญหาเคร่ืองเสีย ใชงานไมไดตอง
จอดน่ิงอยูในโรงเก็บรถ แตหัวหนาพัสดุที่มีหนาท่ีควบคุมดูแลเคร่ืองจักร และจัดซ้ือเบิกจาย คาน้ํามัน
เชอื้ เพลิง เกิดความคิดทจ่ี ะใช “เจาบก๊ิ ” เปน แหลงหารายไดโดยส่ังใหเจาหนาที่พัสดุทําการเบิกคาน้ํามัน
และคาอะไหลตาง ๆ เพ่ือใชซอมแซมให “เจาบิ๊ก” ทุกเดือน ซ่ึงคนขับรถทุกคนรูเรื่องนี้ดีแตก็ไมกลา
คดั คา น และหัวหนา พัสดุไดนํารายไดท ร่ี วบรวมไดจาก “เจาบิ๊ก” มาแจกจายใหลูกนองทุกคนเทา ๆ กัน
จนกระท่ัง 3 ปผ านไป มีเจา หนา ท่พี สั ดุมาใหมไ มยอมทาํ ตามหวั หนา พสั ดุ ทีใ่ หเบิกจายคาน้ํามันเช้ือเพลิง
คา อะไหลตาง ๆ ให “เจาบิ๊ก” เหมือนเคย โดยไดทําบันทึกตอบโตใหรูถึงสภาพ “เจาบิ๊ก” ท่ีไมสามารถ
ทํางานไดแลว ไมมีความจําเปนท่ีจะตองเบิกจายคาใชจายใด ๆ และไดรวบรวมหลักฐานยอนหลัง
การเบิกจายตาง ๆ นําไปรอ งเรียนยงั ป.ป.ช.

71

ประเดน็
1. การกระทาํ ของหัวหนา พัสดุถอื วา เปน การทุจรติ จากการใชอํานาจหนาที่หรือไม เพราะเหตุใด
มผี ลเสยี ตอราชการอยางไร
2. การท่ีหัวหนาพสั ดุนาํ รายไดที่ไดจ ากการเบิกคาน้ํามนั ให “เจา บ๊ิก” มาแจกจา ยใหลูกนอง
ถือวาเปนผูมีคุณธรรมในการปฏิบัติหนาที่หรือไม ถาทานเปนลูกนองคนหนึ่งจะรับเงิน
สวนแบงดังกลาวหรอื ไม เพราะเหตุใด
3. ถาทานเปนเจาหนาท่ีพัสดุมารับรูพฤติกรรมของหัวหนาพัสดุ ทั้งการเบิกจายคาน้ํามันให
“เจา บิ๊ก” และการนาํ รายไดมาแบงเฉลี่ยใหลูกนองทุกคน ทานจะน่ิงเสียไมเขาไปเกี่ยวของ
หรือทานจะทําเรื่องรองเรียน ป.ป.ช. โดยไมคํานึงถึงความเดือดรอนของเพื่อนรวมงาน
เพราะเหตุใด

ใบงาน
1. ใหผูเ รียนศกึ ษากรณศี กึ ษา
2. แบงกลุมอภปิ ราย แสดงความคิดเหน็ ตามประเด็นท่ีกาํ หนดให
3. ใหผ ูสอนและผเู รียนรว มกนั ศกึ ษาหาขอมูลประกอบการอภิปรายหาเหตุผล
4. ใหผูสอนและผูเรียนสรุปแนวคิดทไ่ี ดจากการอภิปรายรว มกัน
5. ใหผ เู รียนรวมทํากิจกรรมการเรียนรตู อเนอ่ื ง พรอ มสรปุ รายงานผล

กจิ กรรมการเรียนรตู อ เนอื่ ง
ใหผูเรียนรวมกันจัดทํากิจกรรม/โครงงาน ในการรณรงคการปองปรามการทุจริตในชุมชน
พรอ มจัดทําสรปุ รายงานเสนอผูสอน

สือ่ /แหลงคน ควา
1. ผรู ูเรื่องระเบียบงานพสั ดุ
2. หนงั สอื /เอกสารวิชาการ
3. สื่อ Internet

72

กรณีศึกษาเรอื่ งท่ี 4

เรือ่ ง “ฮว้ั ”

วัตถปุ ระสงค
1. ตระหนกั ถึงปญ หาการทจุ รติ กรณฮี ว้ั ประมลู
2. บอกไดว า ตนเองสามารถมสี วนรว มในการปอ งกนั การทจุ ริตการฮั้วประมลู
3. แสดงความเหน็ หรอื เสนอวธิ ีการการมีสว นรวมในการปอ งกัน หรอื ปฏบิ ตั เิ พอื่ ปอ งกนั
การทจุ รติ ที่เกดิ ขึ้นได

เนอ้ื หาสาระ
1. ชองทางการสง เรอื่ งรอ งเรยี นการทจุ ริต
2. การมสี ว นรว มของประชาชน

กรณีศกึ ษา
ก ร ณี อ ง ค ก า ร บ ริ ห า ร ส ว น ตํ า บ ลแ ห ง ห นึ่ ง ไ ด ดํ า เ นิ น ก า ร สอ บ ร า ค า ก า ร จั ด จ า ง ทํ า
อาหารกลางวนั ใหก บั ศูนยเด็กเล็ก โดยการสอบราคาครงั้ นี้อยูใ นวงเงนิ 500,000 บาท ปรากฏวามีผูเขาซ้ือ
ซองสอบราคา และเขา ย่ืนซองสอบราคา ท้ัง 5 ราย แตท้ัง 5 รายนั้นมีการสมยอมราคา (ฮ้ัว) กันมากอน
แลว วา ใน 5 ราย จะตอ งยื่นซองรายการตางกันในวงเงนิ ไมเ กินรายละ 5,000บาท ผูทีไ่ ดร บั การคดั เลือกให
เปนคูส ัญญาจะจายใหอีก 4 ราย ๆ ละ 5,000บาท ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการจัดจางกรณีดังกลาว ผูชนะ
การสอบราคา คือ นางสมศรี

ประเด็น
1. พฤติกรรมของนางสมศรี และผูย ื่นเสนอราคาอีก 4 ราย ถอื วา เปน การกระทําผิดกฎหมาย
การสอบราคา (ฮั้ว) หรือไม เพราะเหตใุ ด
2. ถาทานเปนเจา หนา ท่ีดําเนนิ การสอบราคาครง้ั นี้ ทา นจะปฏบิ ตั อิ ยางไร ทา นจะยกเลกิ การสอบราคา
หรอื ยอมรบั การสอบราคา เพราะเหตใุ ด อาศยั ระเบยี บกฎหมายเร่อื งใด
3. การสอบราคา (ฮวั้ ) ทาํ ใหร าชการเสยี หายหรือไมอยางไร ในฐานะประชาชนทา นจะมีแนวคดิ
แนวทางอยางไรในการมสี ว นรว มแกไขปญหาและสาเหตกุ ารสอบราคา (ฮัว้ ) ของทางราชการ

ใบงาน
1. ใหผ ูเรยี นศกึ ษากรณีศกึ ษา
2. แบง กลุม ผูเรียนรวมกนั อภปิ รายตามประเดน็ ที่กาํ หนด
3. ใหผ เู รียนสรุปผลการอภิปราย และจัดทําเปนรายงานนาํ เสนอ

73

กิจกรรมการเรียนรตู อ เนอ่ื ง
1. ใหผเู รียนสืบคน ขอมลู ที่เก่ียวขอ งกับการประทําความผิดตามกฎหมายทจุ ริตคอรร ปั ชั่น และ
นาํ เสนอรายงาน
2. ใหผ ูเรียนนําเสนอแนวทางการปอ งกนั การทุจรติ ในกรณกี ารฮ้ัวประมลู พรอ มจัดทํารายงาน
เสนอผูส อน

ส่อื /แหลง คน ควา
- หนังสอื , หนงั สือพมิ พ
- สอ่ื Internet
- บทความ

74

กรณีศกึ ษา เรื่องที่ 5
เรอื่ ง “อาํ นาจ...ผลประโยชน”
วัตถปุ ระสงค
1. ตระหนกั รถู งึ ปญหาการทจุ รติ คอรร ัปชัน่ ในองคก รปกครองสว นทอ งถนิ่
2. บอกไดวาระดบั บุคคลและสังคม สามารถมสี ว นรว มในการปองกันปญ หาการทุจรติ
คอรรปั ชน่ั ได
3. บอกวธิ กี ารปอ งกนั และหลักเลย่ี งการทจุ รติ คอรร ัปช่นั ในหนว ยงานราชการ
4. เกิดจิตสาํ นกั ในการปองกันปญ หาทจุ รติ คอรรปั ช่นั

เน้ือหา
1. กฎหมายทเี่ กย่ี วของกบั การปฏิบัติหนาที่
2. หนวยงานรับแจง เหตุการณทจุ รติ คอรร ัปชนั่

กรณศี กึ ษา
นายกองคการบริหารสวนจังหวัด (อบจ.) มีหนาที่รับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ.
ไดเสนอญัตติใชเงินสะสมในการจัดทําโครงการจัดหามุงไวใชปองกันโรคไขเลือดออกในเขตอําเภอ
ทีม่ กี ารแพรระบาดของโรคไขเ ลอื ดออก จาํ นวน 9,250 หลัง วงเงิน 1,850,000 บาท ตอ สภา อบจ. และ
เมื่อไดรับการอนุมัตินายก อบจ.ไดรวมมือกับนาย ก ซ่ึงเปนเจาหนาท่ี อบจ. ดําเนินการจัดซ้ือมุง
ขนาด 2  2 เมตร ซึ่งเปน ขนาดทีไ่ มม จี ําหนวยในทองตลาดทว่ั ไป โดยนาย ก ไดไปติดตอรานคาใหผลิต
มงุ ขนาดทต่ี องการ ตามจํานวนดังกลาว ในราคาหลังละ 88.50 บาท เปนเงิน 818,625 บาท หลังจากนั้น
นาย ก ไดดําเนินการจดทะเบียนรานคาใหมเพื่อผลิตมุงดังกลาวไปใชย่ืนซองสอบราคาตอ อบจ. และ
ไดรับการพิจารณาใหเปนคูสัญญากับ อบจ. ในวงเงิน 1,832,500 บาท จากเหตุการณน้ีเปนเหตุให
ทางราชการไดรับความเสียหายจากการซื้อมงุ ในราคาสูงกวาความเปนจริง หลังหักภาษีแลว เปนจํานวน
994,560 บาท

75

ประเดน็
1. การปฏบิ ัตหิ นา ท่ีของนายก อบจ. ถกู ตอ งหรอื ไม อยา งไร
2. ทานคิดวา พฤตกิ รรมของนายก อบจ. ขดั ตอ หลกั คณุ ธรรม จริยธรรม หรือไม อยา งไร
3. วธิ ีการในการปองกนั การทจุ รติ คอรร ปั ช่ันในการปฏบิ ัตหิ นา ทข่ี องผูมีอํานาจ ทําไดห รือไม
อยา งไร
4. ในฐานะประชาชนจะมีสว นรว มในการปองกนั ปญ หาทุจรติ ในสวนราชการไดห รอื ไม
อยา งไร

ใบงาน
1. ใหผ ูเรยี นศึกษากรณีศึกษา
2. แบง กลุมอภิปราย แสดงความคดิ เหน็ ตามประเดน็ ท่ีกําหนดให
3. ใหผ ูสอนและผูเ รยี นรว มกันศึกษาหาขอ มูลประกอบการอภปิ รายหาเหตุผล
4. ใหผ เู รยี นสรุปแนวคดิ ท่ไี ดจ ากการอภิปรายรว มกัน พรอมสรปุ รายงานผล
5. ใหผ ูเรยี นรว มทํากิจกรรมการเรยี นรูตอเนอื่ ง ตามท่กี าํ หนด

กิจกรรมการเรยี นรูตอเนอื่ ง
ใหผ เู รียนจดั ทํากจิ กรรม/โครงการนําเสนอแนวทางการปอ งกันการทุจรติ ในสว นราชการ
พรอมจัดทาํ รายงานเสนอผสู อน

สอ่ื /แหลง คน ควา
1. สํานกั งาน ป.ป.ช. จังหวดั
2. เอกสารวชิ าการ
3. สือ่ Internet

76

กรณศี กึ ษาเรื่องท่ี 6

เร่อื ง “เลือกตั้ง...อปั ยศ”

วตั ถปุ ระสงค
1. ตระหนกั ถงึ ปญหาการทจุ รติ การเลอื กตั้งระดับทองถิน่
2. บอกหรอื อธิบายไดวาตนเองสามารถปองกันปญ หาการทุจรติ การเลอื กตงั้ ที่เกดิ ขึน้ ในสังคม
3. แสดงความเหน็ หรือเสนอวิธกี ารการมีสว นรวมในการปองกนั หรอื ปฏิบตั เิ พอ่ื ปอ งกัน
การทุจรติ ทีเ่ กดิ ข้นึ ได

เนอ้ื หาสาระ
1. พระราชบัญญัติประกอบรฐั ธรรมนญู วาดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 19 (13)
2. สาระสําคญั ของกฎหมายประกอบรฐั ธรรมนญู วา ดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจรติ
ฉบับใหม

กรณีศึกษา
กรณกี ารเลอื กตั้งนายกและสมาชกิ องคก ารบริหารสว นตาํ บล (อบต.) แหง หนึ่งมีผูไปแจง
ความรองเรียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด (กกต.) พรอมเงิน 300 บาท วามีคนสงเงินนี้มาให
พรอ มเอกสารไมล งนาม โดยขอใหไ ปลงคะแนนเลือกตง้ั แกผูสมัครรายหนึ่ง (กาํ หนดหมายเลขผสู มคั รให
ดวย) แตตนเองไมขอรับเงิน และเห็นวาไมถูกตองและอาจมีการแจกเงินผูมีสิทธิ์เลือกตั้งรายอ่ืน ๆ
ดว ยแลว จึงมาแจงรองเรียนตอ กกต.จังหวัด กกต.จังหวัด จึงนําผูมีสิทธิ์เลือกตั้งรายน้ันไปแจงความกับ
ตํารวจพรอมหลกั ฐาน จากการสอบสวนเจาหนาทตี่ าํ รวจแจงวา ไมสามารถหาพยานบุคคลมายืนยันไดวา
ผูสมัครรายนั้นแจกเงินดังกลาวจริง จึงยังไมสามารถเอาผิดกับทั้งผูสมัครรับเลือกตั้งที่ถูกรองเรียนวา
แจกเงิน และผมู สี ิทธ์ิเลือกตัง้ รายอ่ืน ๆ ทอี่ าจรับเงิน มาลงโทษตามกฎหมายได แตผ ูมสี ิทธิเ์ ลือกต้ังรายน้ัน
ยังยนื ยนั วา มผี กู ระทําผดิ เพราะมกี ารแจกเงินจริงมหี ลักฐานชดั เจน กกต. และตาํ รวจควรจะตอ งหาคนผิด
มาลงโทษใหไ ด

77

ประเดน็
1. ในกรณีศกึ ษาทา นคดิ วา มกี าระทําผิดกฎหมายเลอื กตง้ั สามารถนาํ ตวั คนกระทาํ ผิดมาลงโทษได
หรอื ไม เพราะเหตุใด
2. ถาจะไมใ หเ กิดกรณกี ารทาํ ผิดกฎหมายเลือกตง้ั ในลกั ษณะนี้ ทา นคดิ วา ประชาชนควรจะมี
สวนรวมปอ งกนั ปญ หาในชมุ ชนของทา นหรอื ไม อยา งไร
3. มีผูแสดงความเหน็ วา ท้งั ผใู หแ ละผรู บั เงิน ควรจะตองละอายใจ และสาํ นึกวาไดท าํ บาปท่ี
เปนสิง่ ผดิ ตอตนเอง ตอชุมชน และประเทศ ทา นเห็นดว ยหรือไม เพราะเหตใุ ด
มคี ุณธรรมใดบา งทีเ่ กย่ี วขอ งกับปญ หานี้ ควรนาํ มาอภิปรายรว มกนั บา ง

ใบงาน
1. ใหผูเรียนศกึ ษาจากกรณศี กึ ษา และนําผลจากการศกึ ษากรณีศึกษาพรอ มวเิ คราะห และ
นาํ เสนอเปน รายกลุม ๆ ละ 1 เร่ือง
2. ใหผ ูเรยี นรว มกนั คดิ วิเคราะห และนําเสนอแนวทางปอ งกนั การทจุ รติ จากเหตุการณดงั กลาว

กิจกรรมการเรยี นรูอยา งตอ เนอื่ ง
ใหผ เู รียนสรปุ ขา วเก่ียวกับการทจุ ริตการเลอื กต้งั และบันทกึ ลงในสมุดการเรยี นรู

สื่อ/แหลง คนควา
- หนงั สอื พิมพ
- ส่ือ Internet
- โทรทัศน
- สํานกั งาน ป.ป.ช.

78

บทท่ี 1 กจิ กรรมที่ 1 แนวเฉลยท้ายบท 5. ค.
1. ง. 10. ง.
6. ก. 2. ค. 3. ก. 4. ข.
กิจกรรมที่ 2 7. ข. 8. ข. 9. ข. 5. ข.
เปน กิจกรรมอภปิ รายไมมีเฉลย 10. ก.
บทที่ 2 กจิ กรรมที่ 1
1. ง. 2. ข. 3. ค. 4. ง. 5. ก.
6. ง. 7. ก. 8. ง. 9. ข. 10. ค.
กจิ กรรมท่ี 2 เปนกจิ กรรมศกึ ษาคนควาไมมเี ฉลย

บทที่ 3 กจิ กรรมท่ี 1 2. ก. 3. ค. 4. ง.
1. ข. 7. ง. 8. ง. 9. ข.
6. ก. เปนกิจกรรมศกึ ษาคนควาไมม ีเฉลย
กจิ กรรมท่ี 2

79

บรรณานุกรม

กรมการศกึ ษานอกโรงเรียน. หมวดวิชาพฒั นาสงั คมและชมุ ชน ชดุ การเรยี นทางไกล ระดบั
ประถมศกึ ษา กรงุ เทพฯ : โรงพิมพค ุรสุ ภาลาดพราว, 2546

การศึกษานอกโรงเรียน,กรม ชดุ การเตรยี มการทางไกล ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน หมวดวชิ าพฒั นา
สงั คมและชมุ ชน. ครุ สุ ภาลาดพรา ว,กรงุ เทพฯ : 2546.

การศกึ ษาทางไกล, สถาบนั , ชดุ การเรยี นทางไกล หมวดวชิ าพัฒนาสงั คมและชุมชน ระดับมธั ยมศกึ ษา
ตอนปลาย องคก ารรบั สง สินคาและพัสดุภณั ฑ (ร.ส.พ.) : กรุงเทพฯ,2548.

คณะอาจารย กศน. พฒั นาสงั คมและชมุ ชน. คมู อื การเรยี นรูระดบั ประถมศกึ ษา. กรุงเทพฯ : บริษัท
ไผมิเดยี เซ็นเตอร จาํ กัด, 2548

ความเคลือ่ นไหวทางการจดั การศกึ ษาของศธ.กับ คสช. ท่ีนาร.ู [เว็ปไซต] เขา ถึงไดจาก
http://jukravuth.blogspot.com/ . สบื คนเมอ่ื วันที่ 26 สิงหาคม 2557.

คานยิ ม 12 ขอ : เราจะสรา งสรรคป ระเทศไทยใหเ ขมแขง็ คนตองเขมแข็งกอน . [เวป็ ไซต] เขาถงึ ได
จากhttp://www.mof.or.th/web/uploads/news/199_12values.pdf . สบื คน เม่อื วนั ท่ี 26 สงิ หาคม
2557.

จกั ราวธุ คาทว.ี สันต/ิ สามคั ค/ี ปรองดอง/คา นิยม 12 ประการ ของ คสช. : เน้ือหาชวยสอน
และจัดกจิ กรรม เพอ่ื นคร,ู 2557. (เอกสารอดั สาเนา).

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,สํานกั งาน,ชดุ วิชาพฒั นาสงั คมและชมุ ชน ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย,
เอกพิมพไท จาํ กดั : กรงุ เทพฯ, มฝผ.

เผด็จ เอมวงศ และจฑุ ามาศ ลบแยม, กฎหมายในชวี ติ ประจาํ วนั : ตนเอง ครอบครัวชุมชน และ
ประเทศชาต.ิ กรงุ เทพ : สาํ นกั พิมพ เอมพนั ธ จํากดั , 2551.

มหามกุฎราชวทิ ยาลัยในพระบรมราชปู ถมั ภ, พระสตู รและอรรถกถา แปล อทุ กนยิ าม ชาดก เลมที่ 3 ภาคท่ี 1
โรงพิมพมหามกฎุ ราชวทิ ยาลัย.กรงุ เทพฯ : 2534.

ราชบณั ฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลมิ พระเกียรติพระบาท
สมเด็จพระเจา อยูหัวเนือ่ งในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา 7 รอบ
5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.

เลขาธิการสภาการศกึ ษา, สาํ นกั งาน. คุณธรรมนําความรู, สาํ นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา, กรงุ เทพฯ :
2550.

ศึกษาธกิ าร,กระทรวง. หลกั การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจา อยหู ัว, สํานกั งานคณะกรรมการพิเศษ
เพ่อื ประสานงานโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชดําริ (สาํ นักงาน กปร.) กรงุ เทพฯ : 2550.

สมโพธิ ผลเต็ม. ปรชั ญาคาํ กลอน 100 เร่ืองแรก, สิทธวิ รรณ , บริษทั . กรงุ เทพฯ : 2549.

80

สันต/ิ สามัคค/ี ปรองดอง/คานยิ ม 12 ประการ ของ คสช. : เน้ือหาชวยสอน และจดั กิจกรรม
เพอ่ื นคร.ู [เว็ปไซต]. เขา ถงึ ไดจาก :http://www.slideshare.net/jukravuth. สบื คน เมือ่ วนั ที่
26 สงิ หาคม 2557

สทุ ธิธรรม เลขววิ ฒั น หมวดวชิ าพฒั นาสงั คมและชุมชน ระดับประถมศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน
กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท สามเจรญิ พาณิชย จํากดั , 2548

สํานักงานคณะกรรมการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริตแหง ชาติ(ป.ป.ช.). รวมพลังเดนิ หนา ฝา วกิ ฤต
คอรรัปชน่ั , เอกสารประชาสัมพนั ธ มปป.

_______. โครงการเสริมสรา งเครือขา ยประชาชนในการพทิ กั ษสาธารณสมบตั ิ, 2553. (เอกสาร
อัดสาํ เนา)

สาํ นกั กฎหมาย สาํ นกั งานคณะกรรมการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหงชาต(ิ ป.ป.ช.). รวม
กฎหมาย ระเบยี บ ประกาศ ทเ่ี กย่ี วขอ งกบั การปองกันและปราบปรามการทจุ รติ , 2555.

_______. “ยุทธศาสตรช าติวา ดว ยการปอ งกันและปราบปรามการทจุ ริต”. สาํ นักงานคณะกรรมการ
ปองกนั และปราบปรามการทุจริตแหงชาติ

_______. กรอบเน้อื หาสาระ เรอื่ ง การมสี ว นรวมของประชาชนในการปอ งกันและปราบปรามการทจุ ริต,
2556. เอกสารอดั สาํ เนา
การทจุ รติ คืออะไร, เขาถึง www.oknation.net วันที่ 19 มีนาคม 2556.

http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.tumsrivichai.com

81

คณะผูจ ัดทาํ

ที่ปรกึ ษา

1. นายประเสริฐ บุญเรอื ง เลขาธกิ าร กศน.
รองเลขาธิการ กศน.
2. ดร.ชัยยศ อมิ่ สวุ รรณ รองเลขาธิการ กศน.
ที่ปรกึ ษาดา นการพัฒนาหลักสูตร กศน.
3. นายวชั รนิ ทร จําป ผูอาํ นวยการกลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรยี น

4. ดร.ทองอยู แกว ไทรฮะ ขา ราชการบาํ นาญ
สถาบนั การศกึ ษาทางไกล
5. นางรกั ขณา ตณั ฑวุฑโฒ กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น

ผเู ขียนและเรยี บเรียง ขาราชการบํานาญ
สถาบนั กศน.ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ
1. นางธญั ญาวดี เหลาพานชิ สถาบนั กศน.ภาคตะวันออก
สถาบนั กศน.ภาคตะวนั ออก
2. นางสาววาสนา โกสียวฒั นา สถาบัน กศน.ภาคใต
สถาบันการศกึ ษาทางไกล
3. นางพรทิพย เข็มทอง สถาบัน กศน.ภาคเหนอื
สถาบนั กศน.ภาคเหนือ
ผูบรรณาธกิ าร และพฒั นาปรับปรงุ สถาบนั กศน.ภาคเหนือ
กลุมพัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน
1. นางธญั ญาวดี เหลาพานชิ ขาราชการบํานาญ
ขา ราชการบํานาญ
2. นางนลนิ ี ศรสี ารคาม จนั ทรตรี ขาราชการบํานาญ

3. นายเรืองเวช แสงรัตนา กลุม พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน
กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน
4. นางสาวสรุ ัตนา บรู ณะวทิ ย กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
5. นางมยุรี สวุ รรณเจรญิ กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน

6. นางสาววาสนา โกสียวัฒนา

7. นางสดุ ใจ บตุ รอากาศ

8. นายนิพนธ จนั ตา

9. นางอุบลรัตน มโี ชค

10. นางพรทิพย เข็มทอง

11. นางสาวสุรีพร เจริญนชิ

12. นางเอือ้ จติ ร สมจิตตชอบ

13. นางสาวชนิตา จิตตธรรม

คณะทํางาน

1. นายสรุ พงษ ม่ันมะโน

2. นายศภุ โชค ศรรี ตั นศลิ ป

3. นางสาววรรณพร ปทมานนท

4. นางสาวศรญิ ญา กุลประดษิ ฐ

5. นางสาวเพชรนิ ทร เหลืองจิตวัฒนา

82

ผูพมิ พตนฉบบั

นางสาวเพชรินทร เหลืองจิตวฒั นา กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน
กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
ผูอ อกแบบปก

นายศภุ โชค ศรีรตั นศลิ ป

83

คณะกรรมการจัดทํา
เนื้อหา เพ่มิ เตมิ เร่อื ง “การมีสว นรวมในการปอ งกนั และปราบปรามการทุจริต”

ประธานและรองประธานคณะกรรมการ

1. นายประเสรฐิ บุญเรอื ง เลขาธกิ าร กศน.
2. ดร.ชยั ยศ อม่ิ สุวรรณ รองเลขาธิการ กศน.
3. นายชาญวทิ ย ทับสพุ รรณ รองเลขาธกิ าร กศน.

คณะกรรมการที่ปรึกษา

1. ดร.ทองอยู แกวไทรฮะ ขา ราชการบํานาญ
2. นายบญุ สม นาวานะเคราะห ขาราชการบํานาญ
3. นายกุลธร เลศิ สรุ ยิ ะกุล ผเู ชยี่ วชาญเฉพาะดา นพฒั นาหลกั สตู ร
4. นางศุทธนิ ี งามเขตต ผูอํานวยการกลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
5. นายมนตชยั วสวุ ัต ผอู าํ นวยการสาํ นกั งานปองกนั การทจุ รติ
ภาคประชาสังคมและการพัฒนาเครอื ขา ย
6. นางสุปรยี า บญุ สนิท เจาพนักงานปองกันการทจุ ริต สํานกั งาน ป.ป.ช.
7. นายประทปี คงสนทิ นักกฎหมาย สาํ นกั งาน ป.ป.ช.

คณะกรรมการผเู ขยี นและเรยี บเรียง

1. นางพรทพิ ย เขม็ ทอง ขาราชการบาํ นาญ
ศึกษานเิ ทศก สาํ นกั งาน กศน.
2. นางสุดใจ บุตรอากาศ ผูอาํ นวยการ กศน.อําเภอวชริ บารมี จ.พจิ ติ ร
กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
3. นางเบญจมาศ สระทองหยอม

4. นางสาวชาลินี ธรรมธิษา

คณะกรรมการผูบรรณาธิการ

1. ดร.ทองอยู แกว ไทรฮะ ขาราชการบํานาญ
2. นายมนตช ัย วสวุ ตั ผูอํานวยการสํานกั งานปองกนั การทุจรติ
ภาคประชาสังคมและการพฒั นาเครือขาย
3. นางสปุ รียา บุญสนทิ เจา พนกั งานปองกนั การทุจริต สาํ นักงาน ป.ป.ช.
4. นายประทปี คงสนทิ นักกฎหมาย สาํ นกั งาน ป.ป.ช.
5. นางพรทิพย เขม็ ทอง ขา ราชการบาํ นาญ
6. นางสดุ ใจ บุตรอากาศ ศึกษานเิ ทศก สํานกั งาน กศน.
7. นางเบญจมาศ สระทองหยอ ม ผอู ํานวยการ กศน.อาํ เภอวชริ บารมี
8. นางสาวชาลนิ ี ธรรมธิษา กลุม พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น

84

คณะผูจ ดั ทํา
เนื้อหา เพมิ่ เติม เร่อื ง “คณุ ธรรมและคา นยิ มพนื้ ฐานในการอยรู ว มกนั อยา งปรองดองสมานฉนั ท”

ท่ปี รกึ ษา สกลุ ประดิษฐ เลขาธิการ กศน.
ทับสุพรรณ รองเลขาธิการ กศน.
1. นายการณุ จําจด รองเลขาธิการ กศน.
2. นายชาญวทิ ย งามเขตต ผอู าํ นวยการกลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น
3. นายสุรพงษ
7. นางศุทธินี

ผูเขยี น เรยี บเรียง จากการประชุม ครัง้ ท่ี 1

1. นายทองอยู แกวไทรฮะ ขา ราชการบํานาญ
ขา ราชการบํานาญ
2. นางวันเพ็ญ สุทธากาศ ขา ราชการบํานาญ
ขาราชการบํานาญ
3. นายวฒั นา อคั คพานิช โรงเรยี นสตรวี ทิ ยา 2 ในพระอุปถมั ภ
สมเดจ็ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี
4. นางบปุ ผา ประกฤตกิ ลุ สถาบัน กศน.ภาคใต
กศน.อาํ เภอคลองหลวง จ.ปทมุ ธานี
5. นายไตรรตั น เอีย่ มพันธ

6. นางสาวณฐั ภัสสร แดงมณี
7. นางวิภานันท สิริวัฒนไกรกุล

ผูเขยี น เรียบเรยี ง และ บรรณาธกิ าร จากการประชุมคร้งั ท่ี 2

1. นางวนั เพ็ญ สทุ ธากาศ ขา ราชการบํานาญ

2. นางสุคนธ สินธพานนท ขาราชการบาํ นาญ

3. นางสาววธั นียว รรณ อรุ าสขุ ขาราชการบาํ นาญ

4. นางพวิ ัสสา นภารตั น โรงเรียนบดนิ ทรเดชา (สงิ ห สิงหเสนี)

5. นายวรวฒุ ิ จรยิ ภคั รตกิ ร กศน.อาํ เภอบางแกว จ.พทั ลงุ

คณะทํางาน กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน
1. นายสรุ พงษ มน่ั มะโน กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน
2. นายศภุ โชค ศรรี ัตนศิลป กลุม พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน
3. นางสาวสุลาง เพช็ รสวาง กลมุ พัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น
4. นางสาวเบ็ญจวรรณ อาํ ไพศรี กลุม พฒั นาการศึกษานอกโรงเรยี น
5. นางสาวชมพนู ท สังขพิชัย กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น
6. นางจฑุ ากมล อนิ ทระสันต กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน
7. นางสาวทพิ วรรณ วงศเรือน

85

คณะผปู รบั ปรุงขอมลู เก่ยี วกบั สถาบนั พระมหากษตั รยิ  ป พ.ศ. 2560

ทปี่ รึกษา เลขาธิการ กศน.

1. นายสุรพงษ จาํ จด ผตู รวจราชการกระทรวงศกึ ษาธิการ
2. นายประเสรฐิ หอมดี ปฏบิ ตั ิหนา ทรี่ องเลขาธิการ กศน.
ผูอํานวยการกลมุ พฒั นาการศึกษานอกระบบ
3. นางตรีนชุ สขุ สุเดช
และการศกึ ษาตามอัธยาศัย

ผปู รบั ปรงุ ขอ มูล กศน.เขตมนี บรุ ี กรุงเทพมหานคร

นางเพญ็ ลดา ช่ืนโกมล

คณะทาํ งาน

1. นายสุรพงษ ม่นั มะโน กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย

2. นายศุภโชค ศรีรตั นศลิ ป กลมุ พฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั

3. นางสาวเบญ็ จวรรณ อาํ ไพศรี กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั

4. นางสาวเยาวรัตน ปนมณีวงศ กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย

5. นางสาวสลุ าง เพ็ชรสวา ง กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั

6. นางสาวทิพวรรณ วงคเ รอื น กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

7. นางสาวนภาพร อมรเดชาวฒั น กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย

8. นางสาวชมพนู ท สังขพิชยั กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

86


Click to View FlipBook Version