มหาเวสสันดรชาดก
กัณฑ์มัทรี
จัดทำโดย
นายสิริภพ สุกแก้ว
เลขที่ ๑๔ ม.๕/๒
ผู้แต่งและประวัติผู้แต่ง
ผู้แต่งคือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เกิดในช่วงปลายสมัยอยุธยา รับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน
กรุงธนบุรี โดยมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรวิชิต
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้รับการ
แต่งตั้งให้เป็นพระยาพิพิฒนโกษา ก่อนจะเลื่อนมาเป็นเจ้าพระยาพระ
คลัง เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า ซึ่งนอกจากผลงานด้านราชการแล้ว
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ยังมีผลงานด้านการประพันธ์จำนวนมาก
เช่น สามก๊ก (ฉบับแปล) ราชาธิราช บทมโหรีเรื่องกากี อิเหนาคำ
ฉันท์ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี ฯลฯ
ความเป็นมา
ที่มาของ ‘มหาเวสสันดรชาดก’ มีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติมา
หลายชาติ ทั้งคนทั้งสัตว์เดรัจฉาน โดยแต่ละชาติพระองค์ได้บำเพ็ญบารมีแตก
ต่างกันออกไป ซึ่งมหาเวสสันดรชาดกเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติมาเป็น
พระพุทธเจ้าในชมพูทวีป(ชาติสุดท้ายก่อนพระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน)
และมีการบำเพ็ญบารมีด้วยการให้ทาน โดยบริจาคลูกและบริจาคเมียเป็นทาน
(บุตรทารทาน) สำหรับที่มาที่ไปของมหาเวสสันดรชาดก เริ่มต้นขึ้นเมื่อ
พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่เมืองกบิลพัสดุ์ พร้อมกับพระอรหันต์สองรูป เพื่อจะไป
เทศนาโปรดพระบิดาและพระญาติ แต่พระญาติเกิดอัตตา ไม่ยอมไหว้
พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงแสดงปาฏิหารย์ โดยการเหาะเหินเดินอากาศ ทำให้
ฝุ่นใต้พระบาทาปลิวมาติดหัวพระญาติ และมีฝนโบกขรพรรษตกลงมาสู่เบื้อง
ล่าง ฝนโบกขรพรรษเป็นฝนที่มีสีแดงใสบริสุทธิ์ราวกกับทับทิม ถ้าต้องการ
เปียกฝนนั้น ฝนก็จะเปียกเนื้อตัวตามปกติ แต่ถ้าไม่ต้องการเปียกฝน เม็ดฝน
นั้นก็จะระเหยหายไปทันที (ถ้ามีฝนแบบนี้ที่บ้านเรา คงหายห่วงเรื่องภัยแล้ง น้ำ
ท่วมแน่เลย แต่น่าเสียดายที่ฝนโบกขรพรรษเป็นฝนที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ที่
เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเท่านั้น)
เมื่อเกิดฝนโบกขรพรรษขึ้น พระอรหันต์ที่ตามพระพุทธเจ้าไปจึงถามว่า
ฝนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร พระองค์จึงบอกว่า ฝนนี้เคยเกิดมาแล้วในครั้งที่
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร พระพุทธเจ้าเลยถือโอกาสนี้เล่า
ว่าพระองค์สามารถระลึกชาติได้ โดย 10 ชาติสุดท้ายหรือทศชาติ
ได้แก่ เตมีย์ชาดก มหาชนกชาดกสุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก
มโหสถชาดก ภูริทัตชาดก จันทชาดก นารทชาดก วิทูรชาดกและเวสสันดร
ชาดกซึ่งแต่ละชาติพระองค์ได้บำเพ็ญบารมีในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับชาติสุดท้าย คือ เวสสันดรชาดก ประกอบด้วย 13 กัณฑ์
แต่ละกัณฑ์จะมีผู้ประพันธ์แตกต่างกันออกไป โดยจุดประสงค์หลักในการแต่ง
คือใช้สำหรับเทศนาให้กับพุทธศาสนิกชนหรือบุคคลที่สนใจ ส่วนกัณฑ์ที่
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ประพันธ์ มี 2 กัณฑ์ ได้แก่ กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์
มัทรีซึ่งอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย ม.5 ของเพื่อน ๆ นั่นเอง
เนื้อเรื่องย่อ
พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยัง
ไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล
หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร
ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็
กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรง
สูงเก็บผลไม่ถึง ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง ไม้
คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้
กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็ว
และทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน ก็จะต้องออกติดตามพระ
กุมารทั้งสองคืนจากชูชก พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร 3 องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย 3
ตัว คือราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ขวางทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ
เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม เมื่อพระนางเสด็จกลับถึง
อาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย เที่ยวตามหาและร้องไห้คร่ำครวญ พระ
เวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก จึงหาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่า
คิดนอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความ
จริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้ ในที่สุด
พระนางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป ครั้นเมื่อฟื้นขึ้น พระเวสสันดรทรงเล่าความ
จริงว่า พระองค์ได้ประทานกุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี
พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของพระ
เวสสันดรด้วย
ถอดคำประพันธ์ มหาเวสสันดรชาดก
คืนก่อนที่พระนางมัทรีจะออกจากอาศรมไปเก็บผลไม้ในป่า พระกุมารทั้ง
สองฝันร้าย ทำให้พระนางหวั่นวิตกนึกถึงลูกตลอดเวลาจนน้ำตาอาบแก้ม
ทั้งสองข้าง พลางสังเกตเห็นว่าต้นที่มีผลไม้กลับกลายเป็นดอกไม้ ส่วนต้น
ที่มีดอกไม้กลับกลายเป็นผลไม้ขึ้นแทน ส่วนดอกไม้ที่เคยเก็บไปร้อยให้ลูกก็
ถูกลมพัดปลิวร่วงลงมาเมื่อมองไปรอบทิศก็มืดมัวทุกหนแห่ง ท้องฟ้ากลับ
กลายเป็นสีแดงคล้ายกับลางบอกเหตุร้าย สายตาของพระนางก็เริ่มพร่ามัว
ตัวสั่นใจสั่น ของที่ถือก็หลุดจากมือ คานที่หาบไว้ก็ร่วงลงจากบ่าซึ่ง
เหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยิ่งพระนางคิดเท่าไร ก็ยิ่งทุกข์ใจมากขึ้น
เท่านั้น
ถอดคำประพันธ์ มหาเวสสันดรชาดก
( ต่อ )
ด้วยความหวั่นใจเรื่องลูกพระนางจึงรีบเก็บผลไม้เพื่อจะได้รีบกลับไปหาลูกที่อาศรมแต่ระหว่างทางกลับเจอ
สิงโต เสือเหลืองและเสือโคร่งขวางทางไว้นางกลัวจนใจสั่นร่ำไห้ คิดไปว่าเป็นกรรมของตนเองนางจะหนีไป
ทางไหนก็ไม่ได้เพราะถูกสัตว์ทั้งสามกั้นไว้ทุกทิศทางจนฟ้ามืดพระนางมัทรีไม่รู้จะทำอย่างไรจึงยกมือไหว้
อ้อนวอนขอให้สัตว์หิมพานต์ทั้งสามเปิดทางให้ตนโดยกล่าวว่าพระนางคือพระนางมัทรีเป็นภรรยาของพระ
เวสสันดรตามมาอยู่ที่อาศรมในป่าด้วยความบริสุทธิ์ใจและกตัญญูต่อสามี นี่ก็เวลาย่ำค่ำแล้วลูกคงหิวนม
โปรดเปิดทางให้พระนางกลับไปที่อาศรมแล้วตนจะแบ่งผลไม้ให้ จากนั้นไม่นานสัตว์หิมพานต์ทั้งสามจึงยอม
เปิดทางให้พระนางมัทรีก็รีบวิ่งกลับไปที่อาศรมด้วยแก้มที่อาบน้ำตา เมื่อถึงที่พักพระนางมัทรีก็ตกใจไม่เห็นลูก
อยู่ในอาศรมร้องเรียกหาเท่าไรก็ไม่มีใครตอบทั้งที่ก่อนหน้านี้จะออกมาหาแม่กันพร้อมหน้าทั้งกัณหาขอกินนม
ส่วนชาลีจะขอกินผลไม้พระนางมัทรีเสียใจมากพร่ำบอกว่าที่ผ่านมาก็ดูแลลูกอย่างดีแบบยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม
หวังจะกลับมาพบลูกให้ชื่นใจก่อนหน้านี้ยังได้ยินเสียงลูกเล่นกันอยู่แถวนี้ นั่นก็รอยเท้าชาลี นี่ก็ของเล่นกัณหา
แต่เมื่อลูกหายไปอาศรมกลับดูเงียบเหงาเศร้าหม่นนางจึงไปถามพระเวสสันดรว่าลูกหายไปไหนเหตุใดจึงปล่อย
ให้คลาดสายตา หากมีสัตว์ป่าจับไปจะทำอย่างไร แต่พระเวสสันดรกลับไม่ตอบอะไร ทำให้นางกลุ้มใจยิ่งไปว่า
เก่า
ลักษณะคำประพันธ์
มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี มีลักษณะคำประพันธ์เป็นแบบร่ายยาว โดยหนึ่ง
บทจะมีกี่วรรคก็ได้ ส่วนใหญ่จะนิยมแต่ง ๕ วรรคขึ้นไป แต่ละวรรคมีจำนวนคำ
๖-๑๐ คำ และใช้คำสร้อย เช่น นั้นแล แล้วแล ดังนี้ ฯลฯ ซึ่งคำสร้อยนี้จะมีก็ได้
หรือไม่มีก็ได้
ฉันทลักษณ์ของร่ายยาว จะมีการบังคับเฉพาะคำสุดท้ายของวรรคก่อนหน้าจะ
สัมผัสกับคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๕ ของวรรคถัดไป
ข้อคิดจากเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
๑.รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่า
จะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้
๒. สะท้อนให้เห็นค่านิยมแนวโลกุตตรธรรมของประชาชนว่า
มีความปรารถนาจะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
คุณค่าที่ได้จากเรื่อง
๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑.๑ ใช้ถ้อยคาไพเราะ มีการเล่นคา เล่นสัมผัสอักษร
มีการใช้โวหารภาพพจน์และการพรรณนาให้เกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน รวมทั้งเกิด
จินตภาพชัดเจน
๑.๒ เนื้อหาของกัณฑ์มัทรีแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับ
อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้อย่างชัดเจน จะเห็นได้จากตอนที่เกิดเรื่องร้ายแก่พระนา
งมัทรีขณะที่หาผลาหารอยู่ในป่า
๒. คุณค่าด้านสังคม
๒.๑ สะท้อนให้เห็นค่านิยมแนวโลกุตตรธรรมของประชาชนว่า มีความปรารถนา
จะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
๒.๒ เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอนต้น จึงเป็นภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และค่านิยมของคนในยุคนั้นๆ
ได้ดีว่า มีการซื้อขายบุคคลเป็นทาส นิยมการบริจาคทานเพื่อหวังบรรลุนิพพาน มีความเชื่อ
เรื่องลางบอกเหตุ เชื่อเรื่องอำนาจของเทพยดาฟ้าดินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังแสดงภาพชีวิต
ในชนบทเกี่ยวกับการละเล่นและการเล่นซ่อนหาของเด็ก ๆ
๒.๓ ให้แง่คิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่และเป็นภรรยาที่ดี
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด