คู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเอง
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ชนิด A2
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
คำนำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสริม
สร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมการปฏิบัติตนหลังจากการ
ใช้คู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเองสำหรับหญิง
ตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ชนิด A2 ต่อความรู้และ
ความพึงพอใจในการใช้คู่มือ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาวะเบาหวาน
ในหญิงตั้งครรภ์ ชนิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์การจำเเนกเบา
หวานขณะตั้งครรภ์ตามปิงปอง 7 สีเบาหวานแต่ละไตรมาส
ของการตั้งครรภ์ อาการและความเสี่ยง การใช้ยาอินซูลินทั้ง
ยาฉีดและยากินที่ใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ผลกระทบของยา
อินซูลินต่อตัวหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ ร่วมทั้งการ
ดูแลรักษาสุขภาพและคำแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรค
เบาหวานชนิด A2 ที่แยกตามระดับของปิงปอง 7 สีเพื่อใช้ใน
การให้ความรู้ในการดูเเลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ
น้ำตาลในเลือดสูง ชนิด A2 ที่ถูกต้องและเหมาะสม
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
(e-book) ฉบับนี้จะประโยชน์สำหรับหญิงตั้งครรภ์และ
ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ต่อไปเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ
เเทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
คณะผู้จัดทำ
ภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ 1
ประเภทเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ 2
เบาหวานแต่ละไตรมาส 3
ผลกระทบของภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ 4
การจําแนกเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตามปิงปอง7สี 5
6การดูแลรักษาสุขภาพและคำแนะนำ แยกตามระดับของปิงปอง 7 สี
13การส่งเสริม ป้องกัน และการดูแลภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
การดูแลและการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 24
การใช้ยาอินซูลินที่ใช้กับหญิงตั้งครรภ์ 25
ผลกระทบของอินซูลินต่อตัวหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ 30
ภาวะเบาหวานใน เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับ
หญิงตั้งครรภ์ น้ําตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่
สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ สามารถ
เกิดขึ้นได้ทุกระยะการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปมัก
เกิดขึ้นในช่วงเวลาครึ่งหลังของการตั้ง
ครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมารดา
และทารกในครรภ์
Gestational ปัจจัยเสี่ยง
Diabetes Mellitus • ดัชนีมวลกายสูง
• อายุ > 35 ปี
• น้ำหนักตัวเพิ่มในระยะตั้งครรภ์
• ประวัติคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า
4,000 กรัม
• ประวัติเป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
• ประวัติการเป็นเบาหวานในครอบครัว
ประเภทของเบาหวาน
เบาหวานที่วินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์
(Gestational DM, GDM)
เป็นเบาหวานที่ได้รับการ เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัย
วินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ มาก่อนการตั้งครรภ์
อาจจะเป็นเบาหวานที่เป็นมา
ก่อนการตั้งครรภ์แต่ไม่ได้รับการ (pregestational/overt DM)
วินิจฉัย หรืออาจจะเป็นเบา
หวานซึ่งปรากฏออกมาครั้งแรก ภาวะเบาหวานที่เป็นมา
เนื่องจากการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่
ส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและ
ทารก ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ กัน
จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด
ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับมี
โปรตีนในปัสสาวะ
ช่วงไตรมาสแรก เบาหวาน
ฮอร์โมนที่สร้างจากรก จะกระตุ้น แต่ละไตรมาส
ให้มีการสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับ
น้ำตาลลดลง
อาการและอาการแสดง
- ใจสั่นและชีพจรเต้นเร็ว
- เหงื่อออกมาก ตัวซีด
- รู้สึกหิวมากกว่าปกติ
- อ่อนเพลีย
ไตรมาสที่สองและสาม
การตั้งครรภ์ จะมีการหลั่งฮอร์โมน
เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน ลดความ
ทนต่อกลูโคส ทำให้มารดามีภาวะน้ำตาลใน
เลือดสูง อาจเพิ่มโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตใน
ครรภ์
อาการและอาการแสดง
- รู้สึกหิวกระหายน้ำมากกว่าปกติ
- ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
ผลกระทบของภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
ภาวะครรภ์เป็นพิษ
เพิ่มความเสี่ยงทําให้ต้องการการผ่าท้องคลอดมากขึ้น
มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้มากกว่าหญิงปกติ
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุง
ภาพ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต การทําลาย
ของเส้นประสาท
ผลกระทบต่อทารก
การกพิการแต่กำเนิด
ทารกตัวโต น้ำหนักมาก 4,000 กรัม
ภาวะน้ำตาลในเลือดตำในเด็กเเรกเกิด
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
กลุ่มอาการหายใจลำบากแรกเกิด
การจำแนกเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ตามปิงปอง 7 สี
กลุ่มเสี่ยงต่ำ (สีขาว) คัดกรองจากการกินน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ในน้ำ
100 ซีซี มีระดับน้ำตาล < 140 mg/dl
กลุ่มเสี่ยงสูง (สีเขียวอ่อน) คัดกรองจากการกินน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ใน
น้ำ 100 ซีซี มีระดับน้ำตาล < 140 mg/dl ไม่งดอาหาร ตรวจหลังจาก
รับประทานกลูโคสแล้ว 1 ชั่วโมง ถ้าผิดปกติมีระดับน้ำตาล >140-199mg/dl
กลุ่มป่วย (สีเขียวเข้ม) กินน้ำตาลขนาด 100 กรัม แล้วเจาะเลือดที่ชั่วโมง
≥ ≥ที่ 1 ระดับน้ำตาล 180 mg/dL ชั่วโมงท่ี 2 ระดับน้ำตาล 155 mg/dL
≥ ≥และชั่วโมงท่ี 3 ระดับน้ำตาล 140 mg/dL จะมีความผิดปกติ 2 ค่า
(สีเหลือง) การคัดกรองจากการกินน้ำตาลกลูโคส 100 กรัมในชั่วโมง
ที่ 1,2,3 มีความผิดปกติมากกว่า 2 ค่า ต้องใช้ยาอินซูลิน
(สีส้ม) การคัดกรองจากการกินน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม ในชั่วโมงท่ี 1, 2, 3
มีความผิดปกติมากกว่า 2 ค่า ต้องใช้ยาอินซูลิน + การควบคุมอาหาร
(สีแดง) การคัดกรองจากการกินน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม ในชั่วโมง
ท่ี 1, 2, 3 มีความผิดปกติมากกว่า 2 ค่า ต้องใช้ยาอินซูลินซูลินแต่ไม่สามารถ
ควบคุมระดับน้ำตาลได้
กลุ่มโรคแทรกซ้อน (สีดํา) โรคหัวใจ/โรคไต/เบาหวานขึ้นตา/การทําลาย
ของเส้นประสาท
การดูแลรักษาสุขภาพและคำแนะนำสำหรับ
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด A2
ที่แยกตามระดับของปิงปอง 7 สี
กลุ่มต
ามสี แนวทางก
ารปฏิบัติ
กลุ่มเสี่ยงต่ำ 1.ปฏิบัติตามคู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเอง
(สีขาว) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด A2
2.ปฏิบัติตามหลัก 3อ.
-อาหาร
รับประทานข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง 5-8 ทัพพี
ผักวันละ 3 ทัพพี กรณีของผักใบเขียวรับประทานได้ไม่จำกัด
จำนวน เช่น ผักกาด คะน้า,ผัก บุ้ง
ผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด ถั่วเมล็ดพืช
วันละประมาณครึ่ง ถึง 1 ทัพพี
ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน,
เครื่องในสัตว์,อาหารทะเล
-ออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 3 ครั้งละ 30 นาที ควรออกกำลังกาย
อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละอย่างน้อย 30
นาที เช่น การเดิน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการเหวี่ยงการกระแทก
และควบคุมน้ำหนัก
-อารมณ์ สงบ ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หาวิธีคลายเครียดหรือ
ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ เล่นดนตรี วาดภาพ
เป็นต้น รวมทั้งควรพักผ่อนให้พอเพียงวันละ 6-8 ชั่วโมง
3.ติดตามดูแลทารกในครรภ์ เช่น การนับลูกดิ้น
กลุ่มต
ามสี แนวทางก
ารปฏิบัติ
กลุ่มเสี่ยงสูง 1.ปฏิบัติตามคู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเอง
(สีเขียวอ่อน) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด A2
2.ปฏิบัติตามสีขาว ปฏิบัติตามหลัก 3อ.
-อาหาร
รับประทานข้าวไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง 5-8 ทัพพี
ผักวันละ 3 ทัพพี ผักใบเขียวรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน
หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน
หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน,เครื่องในสัตว์,อาหารทะเล
-ออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 3 ครั้งฯละ 30 นาที
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรหลีกเลี่ยงการเหวี่ยง
การกระแทก และควบคุมน้ำหนัก
-อารมณ์ สงบ เยือกเย็น ทำจิต
ใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
หาวิธีคลายเครียดหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
3.รับประทานน้ำตาลไม่ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา
(กรมอนามัย)
4.ติดตามค่าระดับค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
5.ติดตามดูแลทารกในครรภ์ เช่น การนับลูกดิ้น
กลุ่มตามสี แนวทางการปฏิบัติ
กลุ่มเสี่ยงสูง 1.ปฏิบัติตามคู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเอง
(สีเขียวเข้ม) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด A2
2.ปฏิบัติตามสีเขียวเข้ม ปฏิบัติตามหลัก 3อ.
-อาหาร
รับประทานข้าวไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง 5-8 ทัพพี
ผักวันละ 3 ทัพพี ผักใบเขียวรับประทานได้ไม่จำกัด
จำนวน
หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน
หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน,เครื่องในสัตว์,อาหารทะเล
-ออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 3 ครั้งฯละ 30 นาที ควรออก
กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ
3 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที
-อารมณ์ สงบ เยือกเย็น ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หรือทำ
กิจกรรมร่วมกับครอบครัว
3.รีบประทานน้ำตาลไม่ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา
(กรมอนามัย)
4.ติดตามค่าระดับค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
5.ติดตามดูแลทารกในครรภ์ เช่น การนับลูกดิ้น
กลุ่มตามสี แนวทางการปฏิบัติ
กลุ่มป่วย 1.ปฏิบัติตามคู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเอง
(สีเหลือง) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด A2
2. ปฏิบัติตามสีเหลือง ควบคุมอาหาร
- กระจายมื้ออาหารในแต่ละวัน ให้เป็นอาหารหลัก 3 มื้อต่อวัน
และอาหารว่างอย่างน้อย 3 มื้อต่อวัน
- งดอาหารที่มีน้ำตาลสูง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน
ขนมหวานต่าง ๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มี
รสหวานจัด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก เป็นต้น
- รับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวันและไม่ควรรับ
ประทานผลไม้อบแห้ง เลือกอาหารที่เป็นธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง
แทนข้าวขาว เน้นอาหารโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น
ปลา หมูเนื้อแดง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมู
ติดมัน หนังไก่ และใช้ไขมันจากพืช เพื่อป้องกันภาวะ
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
3.ควรตรวจคีโตนในปัสสาวะเพื่อดูว่าจำนวนแคลอรี่ที่ได้รับ
เพียงพอหรือไม่และตรวจโปรตีนในปัสสาวะถ้ามีอาจทำให้เกิด
ปัญหาความดันโลหิตสูงได้
4.รับประทานน้ำตาลไม่ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา (กรมอนามัย)
5.ติดตามค่าระดับค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
6.ติดตามดูแลทารกในครรภ์ เช่น การนับลูกดิ้น
7.รับประทานยาและฉีดอินซูลินอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มตามสี แนวทางการปฏิบัติ
กลุ่มป่วย 1.ปฏิบัติตามคู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเองสำหรับ
(สีส้ม) หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด A2
2. ปฏิบัติตามสีเหลือง ควบคุมอาหาร
- กระจายมื้ออาหารในแต่ละวัน ให้เป็นอาหารหลัก 3 มื้อต่อวัน
และอาหารว่างอย่างน้อย 3 มื้อต่อวัน
-งดอาหารที่มีน้ำตาลสูง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน ขนม
หวานต่าง ๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มีรส
หวานจัด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก
- รับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวัน และไม่ควรรับ
ประทานผลไม้อบแห้ง เลือกอาหารที่เป็นธัญพืช เช่น ข้าวกล้องแทน
ข้าวขาว ส่วนโปรตีนควรเน้นอาหารโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ที่มีไข
มันต่ำ เช่น ปลา หมูเนื้อแดง สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วแดงถั่ว
เขียว ถั่วลิสง และงา เน้นการดื่มนมสดชนิดจืดพร่องมันเนยหรือ
ขาดมันเนย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมู
ติดมัน หนังไก่ และใช้ไขมันจากพืชเพื่อป้องกันภาวะคอเลสเตอรอล
ในเลือดสูง
3. รับประทานน้ำตาลไม่ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา (กรมอนามัย)
4.ติดตามค่าระดับค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
5.ติดตามดูแลทารกในครรภ์ เช่น การนับลูกดิ้น
6.รับประทานยาและฉีดอินซูลินอย่างต่อเนื่อง
7.แนะนำมาพบแพทย์ตามนัดหรือเม่ือมีอาการผิดปกติ
กลุ่มตามสี แนวทางการปฏิบัติ
กลุ่มป่วย 1.ปฏิบัติตามคู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเอง
(สีแดง) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด A2
2. ปฏิบัติตามสีเหลือง ควบคุมอาหาร
- กระจายมื้ออาหารในแต่ละวัน ให้เป็นอาหารหลัก 3 มื้อต่อวัน
และอาหารว่างอย่างน้อย 3 มื้อต่อวัน
-งดอาหารที่มีน้ำตาลสูงเพื่อจำกัดจำนวนน้ำตาลที่เข้าสู่
ร่างกาย ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน ขนมหวานต่าง ๆ น้ำ
อัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด ได้แก่
ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก
-รับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวัน และไม่ควรรับ
ประทานผลไม้อบแห้ง เลือกอาหารที่เป็นธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง
แทนข้าวขาว
-ควรเน้นอาหารโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา
หมูเนื้อแดง สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วแดงถั่วเขียว ถั่วลิสง
และงา
-เน้นการดื่มนมสดชนิดจืดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย หรือดื่
มน้ำนมถั่วเหลือง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น
หมูติดมัน หนังไก่ และใช้ไขมันจากพืช เพื่อป้องกันภาวะ
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
3. รับประทานน้ำตาลไม่ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา (กรมอนามัย)
4.ติดตามค่าระดับค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
5.ติดตามดูแลทารกในครรภ์ เช่น การนับลูกดิ้น
6.รับประทานยาและฉีดอินซูลินอย่างต่อเนื่อง
7.แนะนำมาพบแพทย์ตามนัดหรือเม่ือมีอาการผิดปกติ
กลุ่มตามสี แนวทางการปฏิบัติ
กลุุ่มโรคแทรกซ้อน 1.ปฏิบัติตามคู่มือพฤติกรรมทางสุขภาพในการดูแลตนเอง
(สีดำ) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด A2
2. ปฏิบัติตามสีเเดง ควบคุมอาหาร
- กระจายมื้ออาหารในแต่ละวัน ให้เป็นอาหารหลัก 3 มื้อต่อวัน
และอาหารว่างอย่างน้อย 3 มื้อต่อวัน
- งดอาหารที่มีน้ำตาลสูงได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน ขนม
หวานต่าง ๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มีรส
หวานจัด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก
- รับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวันและไม่ควรรับ
ประทานผลไม้อบแห้ง
- ควรเน้นอาหารโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา หมู
เนื้อแดง สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วแดงถั่วเขียว ถั่วลิสง และ
งา
- เน้นการดื่มนมสดชนิดจืดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย หรือดื่ม
น้ำนมถั่วเหลือง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมู
ติดมัน หนังไก่ และใช้ไขมันจากพืชเพื่อป้องกันภาวะคอเลสเตอรอล
ในเลือดสูง
3.รับประทานน้ำตาลไม่ควรเกินวันละ 6 ช้อนชา (กรมอนามัย)
4.ติดตามค่าระดับค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
5.ติดตามดูแลทารกในครรภ์ เช่น การนับลูกดิ้น
6.ปฏิบัติตัวตามเเพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
7.รับประทานยาและฉีดอินซูลินอย่างต่อเนื่อง
8.เฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากโรคแทรกซ้อน
เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
ตาพร่ามัว ชาตามมือตามเท้า ลูกดิ้นน้อยลง
9.แนะนำมาพบแพทย์ตามนัดหรือเม่ือมีอาการผิดปกติ
การส่งเสริม ป้องกัน และการดูแล
ภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
การควบคุมอาหาร
กลุ่มอาหารที่ควรกิน/เลือกกินให้บ่อยขึ้น
คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbs)
เลือกกินข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนม
ปังโฮลวีท ถั่ว ผักและผลไม้ชนิดต่างๆ
อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (low glycemic index)
อาหารกลุ่มนี้จะช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับ
น้ำตาลในเลือดได้ดี ได้แก่ ถั่วชนิดต่างๆ ผลไม้บาง
ชนิดเช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล ส้ม และผักใบต่างๆ
โปรตีนที่มีไขมันต่ำ (lean protein)
กินโปรตีนให้เพียงพอจะช่วยให้สมดุลของสาร
อาหารมีมากขึ้น ได้แก่ ปลา ไข่ ไก่ เต้าหู้ เนื้อสัตว์ไข
มันต่ำ ถั่วเปลือกแข็งและถั่วเมล็ดแห้งรวมถึงนม
ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat)
ได้แก่น้ำมันพืช อาโวคาโด้ เช่น อัลมอนด์
เม็ดมะม่วงหิมพานต์รวมถึงปลาทะเลที่มี
กรดไขมันโอเมก้าสูง เช่น ปลาจะละเม็ด
ปลากระพง ปลาอินทรีย์ และปลาทู เป็นต้น
กลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง/จำกัดปริมาณการกินให้น้อยลง
อาหารที่มีน้ำตาลสูง (sugary foods) ได้แก่ น้ำหวาน ขนมหวาน
ลูกอม ไอศกรีม น้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มต่างๆ และข้าวแป้งที่ผ่าน
การขัดสี (refined carbs): ได้แก่ ข้าวขาว ขนมปังขาว รวมไปถึง
ผักหัวที่มีแป้งมาก เช่น มันฝรั่ง อาหารแปรรูป หรืออาหารปรุงรส
ผู้จัดการศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์.2563
เมนูอาหารเช้า เมนูอาหารในแต่ละมื้อ
ข้าวกล้อง 2 ทัพพี แกงจืดเต้าหู้
หมูสับผักตำลึง อาหารว่างตอนสาย
ข้าวกล้อง 2 ทัพพี แกงไข่ตุ๋น แอปเปี้ล 1 ลูก
ทรงเครื่อง แตงโม 5 ชิ้น
ข้าวต้มปลา ฝรั่ง 1 ลูก
โจ๊กไกฉีก มะละกอสุก 5 ชิ้น
นมพร่องมันเนย
หากเป็นมื้อเช้าแบบตะวันตก ควรเป็น 1 แก้ว
ขนมปังโฮลวีตไม่ขัดสี,ไข่ ดาว,
ไส้กรอก,แฮมทานคู่กับผักกาดหอม
มะเขือเทศ และนมพร่องมันเนย 1
แก้ว
เมนูมื้อกลางวัน
เนื่องจากมื้อเที่ยงเป็นมื้อที่ร่างกายต้องการพลังงานมาก
ที่สุด คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถทาน
อาหารมื้อเที่ยงได้เต็มที่อย่างที่แต่ก็อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เมนูที่เราได้นำมาแนะนำดังนี้
ข้าวกล้อง 3 ทัพพี แกงส้มผักรวม ปลาย่าง เหมาะที่
จะเป็น อาหารลดเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ข้าวกล้อง 3 ทัพพี หมูกอบ แกงจืดเต้าหู้เห็ดหอม
ข้าวกล้อง 3 ทัพพี ผัดกะเพราหมูสับ ผักสด
ข้าวกล้อง 3 ทัพพี ปลานึ่ง น้ำพริกผักลวก ผักสด
ข้าวกล้อง 3 ทัพพี ผัดผักรวมมิตร ต้มยำปลา
เมนูอาหารในแต่ละมื้อ
เมนูอาหารว่างตอนบ่าย
น้ำเต้าหู้ไม่ใส่น้ำตาล ขนมแครกเกอร์ 2 ชิ้น
อาหารลดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แซนวิชโฮล
วีตทูน่า
นมจืดพร่องมันเนย 1 แก้ว ส้มเขียวหวาน 2 ผล
เมนูอาหารเย็น
ควรเป็นอาหารเบาๆ ที่ย่อยง่ายอย่างเช่น
ข้าวกล้อง ผัดผักรวมมิตร นมจืดพร่องมันเนย 1 แก้ว
ข้าวกล้อง แกงเลียงกุ้งสด นมจืดพร่องมันเนย 1 แก้ว
ข้าวกล้อง ไข่ต้ม 1 ฟอง น้ำพริกปลาทู พร้อมผักสด
หรือผักลวกจิ้ม กล้วยน้ำว้า 1 ลูก
ข้าวกล้อง ต้มยำทะเล ผัดผักกวางตุ้ง ผลไม้ 5 ชิ้น
นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
ข้าวกล้อง ต้มยำปลาใส่เห็ดฟาง ผัดผักบล็อกโคลี่
แอปเปิ้ล 1 ลูก นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
ข้าวกล้อง ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ส้มเขียวหวาน 1 ลูก
นมจืดพร่องมันเนย 1 แก้ว
สลัดทูน่า ผลไม้แก้วมังกร และนมพร่องมันเนย 1 แก้ว
โภชนาการและอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์
อ้างอิงจาก : สำนักโภชนาการกรมอนามัย , โรงพยาบาลวิภาราม,
ออกกำลังกาย
เป็นอีกวิธีหน่ึงในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของหญิง
ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน โดยเพิ่ม ความไวต่ออินซูลินและเพิ่มฤทธ์ิ
ของอินซูลินช่วยกระตุ้นหลอดเลือดและ หัว ใจให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากข้ึน
ท่าพ้ืนฐาน ก่อนทำการฝึกยืด
กล้ามเน้ือคุณแม่ต้องมาฝึกการทำท่าพ้ืน
ฐานเบ้ืองก่อนโดยให้ลักษณะ ท่าทางใน
กิจวัตรประจำวันของเราได้ปรับเป็น
ท่าทางที่ถูกต้องไม่ก่อใหเ้กิดการบาดเจ็บ
ได้ไม่ว่าจะเป็นท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน และ
ท่ายันตัวลุกข้ึนจากท่ีนอน เป็นต้น
คุณแม่ควรเริ่มอย่างช้าๆที่ 10–15 นาที
ต่อวันในช่วง 1–2 สัปดาห์แรกจากนั้นค่อย
ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น คร้ังละ 5–10 นาที
จนกวา่จะสามารถทำติดต่อกันได้
ประมาณ 20–30 นาทีต่อวัน
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
ในหญิงตั้งครรภ์
1. เพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด ซึ่งต้องเปลี่ยนทั้งระหว่าง
ตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตร
2. เสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ต้องใช้ในการคลอดบุตร
3. แก้ไขข้อบกพร่องซึ่งท่าทางบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปใน
ระหว่างตั้งครรภ์ทั้งหมดอาจส่งผลให้มีอาการผิดปกติ
4. เสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเพื่อป้องกันอาการปวดข้อหรือการบาด
เจ็บต่างๆ ข้อต่อ เนื่องจากการยืดตัว ร่างกายของเส้นเอ็นรอบข้อ
ขณะออกกำลังกายหากมีอาการผิดปกติ
เช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก
มีมดลูกหดรัดตัว มีน้ำหนักหรือเลือดออกจาก
ช่องคลอด ปวดศีรษะ หน้ามืด หรือรู้สึกทารกใน
ครรภ์ดิ้นน้อยลง ควรหยุดออกกำลังกายทันที
และพบสูตินรีแพทย์
ท่าออกกำลังกาย
อ้างอิง : คู่มือสำหรับคุณแม่ คุณพ่อและผู้ดูแลเด็ก 1.ท่ายืดหลัง
(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี) - นอนหงายหลังตรง
ชันเข่ าทั้งสองข้างขึ้นโ้ดยวาง
2.ท่าโกงหลัง เท้าทั้งสองข้างราบชิดลับพื้น
- คุกเข่าลงกับพื้น แล้ววางมือทั้ง - ใช้มือข้างหนึ่งสอดเข้าไป
สองราบกับพื้นไปทางด้านหน้า ในช่องว่างระหว่างเอวกับพื้น
- ก้มศีรษะลงเล็กน้อย พร้อมโก่ง - ใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องออกแรง
หลังขึ้นช้าๆ กดลงบนกระดูกสันหลังเพื่อให้
-ค่อยๆแอ่นหลังลงช้าๆ พร้อมกับ แผ่นหลังราบกับพื้น ทำค้างไว้
เงยหน้าขึ้นช้าๆคุณแม่จะรู้สึกดึง ประมาณ 4-5 วินาที แล้วคาย
บริเวณกล้ามเนื้อต้นคอและหลัง แรงกดออก
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอและหลัง - ทำซ้ำประมาณ 5-10 ครั้ง
ตามปกติ
- ทำซ้ำประมาณ 1-2 ครั้ง อ้างอิง : คู่มือสำหรับคุณแม่ คุณพ่อและผู้ดูแลเด็ก
(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี)
3. ท่าบริหารหน้าอก อ้างอิง : คู่มือสำหรับคุณแม่ คุณพ่อและผู้ดูแลเด็ก
- นั่งขาไขว้ ตัว และหลังตั้งตรง (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี)
- ใช้มือขวาจับข้อมือข้างซ้าย
และใช้มือซ้ายจับข้อมือข้างขวา
-สูดลมหายใจเข้าลึกๆอย่างช้าๆ
แล้วค่อยๆผ่อนหายใจออก
อย่างช้าๆ
- ยกค้างขึ้น หายใจออกช้าๆ
คลายกล้าเนื้อไหล่
- ทำซ้ำๆอีก 1-2 ครั้ง
อ้างอิง : คู่มือสำหรับคุณแม่ คุณพ่อและผู้ดูแลเด็ก 4.ท่าบริหารหลังต้นขาและเชิงกราน
(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี) -นั่งยองๆลงกับพื้นโดยให้ปลายเท้าทั้ง
สองข้างหันออกนอกตัว
-ส้นเท้าทั้งสองจะต้องแนบกับพื้น
-มือทั้งสองข้างประสานกันใช้ข้อศอกทั้ง
สอง ดันต้นขาให้ห่างจากกันอย่างช้า
เพื่อยืดกล้ามเนื้อต้นขา และเชิงกรานทิ้ง
ไว้สักครู่แล้วค่อยๆคลายออกหรือ
-นั่งยองๆลงกับพื้น โดยใช้เก้าอี้ช่วย
พยุงตัวปลายเท้าทั้งสองข้างหันออกนอก
ตัว
-พยายามแยกเข่ าทั้งสองให้ห่างจากกัน
มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อยืดกล้ามเนื้อ
ต้นขาและเชิงกราน แล้วค่อยๆคลายออก
5.ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง
- นอนหงาย ชันเข่าขึ้น โดยให้เท้าทั้งสอง วางราบกับพื้น
มือทั้ง 2 ข้าง วางห่างจาก ลำตัวประมาณ 1 ฟุต
- พยายามดันกล้ามเนื้อหลังให้แนบกับพื้น
- ในขณะที่กล้ามเนื้อหลังแนบกับพื้น ค่อยๆเหยียบเท้าทั้งสองราบ
ไปกับพื้นเมื่อเท้าทั้งสองราบกับพื้นหลังจะแอ่นขึ้นก็ให้ชันเข่ าขึ้นมา
ใหม่ แล้วทำซ้ำอย่างเดิม 4-5 ครั้ง
อ้างอิง : คู่มือสำหรับคุณแม่ คุณพ่อและผู้ดูแลเด็ก
(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี)
ท่าออกกำลังกายเพิ่มเติม
การเดิน เป็นการออกกำลังกายที่ปลอดภัย สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
อาจจะใช้การเดินเร็วในบางครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อได้มีการออกกำลัง
เว็บไซต์ : https://th.theasianparent.com
ว่ายน้ำ การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ปลอดภัย เนื่องจาก
ไม่มีการกระทบกระแทก มีน้ำช่วยพยุงร่างกายไว้ ออกกำลังกายได้ทุกส่วน
สามารถทำได้ในทุกช่วงอายุครรภ์
เว็บไซต์ : https://happymom.in.th
ท่าออกกำลังกายเพิ่มเติม
การปั่นจักรยาน เหมาะสำหรับตั้งครรภ์ในช่วงแรกๆ แต่การเปลี่ยนแปลงของ
ร่างกายเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องโตขี้น อาจเป็นอุปสรรคทำให้เกิดอุบัติเหตุง่าย
เว็บไซต์ : https://th.yanhee.net
การออกกำลังกายแอโรบิค ควรทำแต่พอดี ไม่หักโหมจะช่วยให้หัวใจ
และปอดแข็งแรง ร่างกายกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดี
เว็บไซต์ : https://mahosot.com
เว็บไซต์ : https://www.amarinbabyandkids.com
การรักษาเเละการดูแล
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เว็บไซต์ : https://www.maerakluke.com
การใช้ยาอินซูลิน ทั้งยาฉีดและยากินที่ใช้
กับหญิงตั้งครรภ์
อินซูอิน
เป็นยาที่ได้รับการแนะนำให้ใช้เพื่อ ควบคุมระดับ
น้ำตาลในเลือดในหญิงตั้งครรภ์เป็นอันดับแรก
อินซูลินไม่ผ่านรกไปยังทารกในครรภ์และสามารถควบคุมระดับ
น้ำตาลให้คงที่ได้มากกว่าอินซูลินใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
จาก American College of Obstetricians and Gynecologists
และ American Diabetes Association , 2018
ยากิน
การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้ยาฉีด
อินซูลินเป็นลำดับแรก ที่พบเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
และขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
ชนิดรับประทาน สามารถผ่านเข้ารกและอาจทำให้เกิด
ผลข้างเคียงต่อเด็กทารกได้ จะใช้ยาลดระดับน้ำตาลใน
เลือดชนิดรับประทาน ร่วมกับยาฉีดอินซูลินในกรณีที่
จำเป็น
(ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ ,2022)
การแนะนำ
• รู้จักอินซูลินที่ใช้
แหล่งอ้างอิง : แนวทางเวรปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.2560
แหล่งอ้างอิง : แนวทางเวรปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.2560
• อุปกรณ์และวิธีการใช้
แหล่งอ้างอิง : แนวทางเวรปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.2560
เป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้ง
ครรภ์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เอกสารอ้างอิง : American Diabetes Association,2018
ชนิดของอินซูลิน
แหล่งอ้างอิง : แนวทางเวรปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.2560
ตำแหน่งฉีดยาที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์
คือ บริเวณหน้าท้อง
ส่วนบริเวณอื่นๆ ที่สามารถฉีดได้ เช่น ต้นแขน ต้นขา และสะโพก
เว็บไซต์ : https://www.maerakluke.com
การฉีดอินซูลิน ฉีดได้ทั่วๆบริเวณหน้าท้อง
หลีกเลี่ยงการฉีดสะดือ
ระยะห่าง 3 เซนติเมตร
หรือ 2 นิ้วมือ
แหล่งอ้างอิง : แนวทางเวรปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.2560
การทิ้งเข็มฉีดยาและอุปกรณ์การฉีดยา
เมื่อฉีดยาเสร็จ ให้สวม
ปลอกเข็มอย่างระมัดระวัง
แล้วทิ้งในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
แหล่งอ้างอิง : แนวทางเวรปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.2560
เว็บไซต์ : http://www.k-inzmed.com
การเก็บรักษาและการพกพา
เว็บไซต์ : https://www.maerakluke.com
ผลกระทบของยาอินซูลินต่อตัวหญิงตั้งครรภ์
และทารกในครรภ์
การใช้ยาฉีดอินซูลิน เว็บไซค์ https://www.pobpad.com
โดยให้ฉีดอินซูลินก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อ
และก่อนนอน ควรเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อ
เช็คระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังอาหาร
อย่างน้อย 4-7 ครั้งต่อวัน เพื่อให้แพทย์ผู้รักษา
ประเมินขนาดยาฉีด ในการควบคุมระดับน้ำตาล
ให้เป็นไปตามเกณฑ์
เว็บไซต์ : http://xn.blogspot.com การใช้ยาชนิดรับประทาน
ไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้ง
ครรภ์ ยาสามารถผ่านรกไปยัง
ทารกในครรภ์ มีผลทำให้ทารกใน
ครรภ์พิการและทารกแรกเกิด
แล้วไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการ
ใช้อินซูลิน
บรรณานุกรม
กาญจนา ศรีสวัสดิ์.การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์.2557
กฤษณะ พิงค์วงศ์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย ฉบับที่49 ครั้งที่ 1.
2565 พยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัย เทียนถาวร.ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวานความดันโลหิต
สูง.2556
ผู้จัดการศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์.2563
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์.ยากินอินซูลิน.2022
ราตรี พลเยี่ยม พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ผลโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผน
ตามความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อ
โรคเบาหวานในระยะตั้งครรภ์.2559
สุภาวดี เนติเมธี พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.การดูแลสตรีที่เป็นเบาหวานในขณะตั้ง
ครรภ์.2565
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.).2559
American College of Obstetricians and Gynecologists และ American Diabetes
Association.2561
ผู้จัดทำ
1. นางสาวกนกวรรณ บำรุงสุข เลขที่ 3 รหัสนักศึกษา 62114301003
2.นางสาวเกษมณี สูตบุตร เลขที่ 12 รหัสนักศึกษา 62114301014
3.นางสาวจันทิมา ต้อยแก้ว เลขที่ 13 รหัสนักศึกษา 62114301015
4.นางสาวชลิตา ศรีนิล เลขที่ 25 รหัสนักศึกษา 62114301027
5.นางสาวนิจวิภา ทีฆาวงค์ เลขที่ 55 รหัสนักศึกษา 62114301057
6.นางสาวนิพาดา หอมสิน เลขที่ 56 รหัสนักศึกษา 62114301058
นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปี่ ที่ 4 รุ่นที่ 35
Japanese
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ดร. จิรภัค สุวรรณเจริญ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
Milk cream croissant
Thank you