อ ง ค์ ก า ร บ ริ ห า ร ส่ ว น
ตำ บ ล
เ พิ่ ม พู น ท รั พ ย์
อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี
รวบรวมโดย
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ชั้นปีที่4/2564
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
จัดทำโดย
1.นางสาว ปิยะรัตน์ รองเมือง
รหัสนักศึกษา 6116209001167
2. นางสาว กรกนก พงประยูรณ์
รหัสนักศึกษา 6116209001171
3 .นาย ปกรณ์ ถาวร
รหัสนักศึกษา 6116209001205
ตำ บ ล เ พิ่ ม พู น ท รั พ ย์
พระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
พระบรมราโชวาท "...ธรรมชาติแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นแผ่น
ดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศ มิได้เป็น
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพียงสิ่ง สวยๆ งามๆ เท่านั้น หากแต่เป็นสิ่ง
จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเรา และการ
พระราชทานในการเสด็จออกมหาสมาคม คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนี้ ก็เท่ากับ
ในงานพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา เป็นการปกปักรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของ
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2521 เราด้วย..."
คำนำ
หนังสือฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
รัฐประศาสนศาสตร์ รหัสรายวิชาBPA0602-59 โดยมีจุดประสงค์ในการณ์
เรียนรู้เกี่ยวกับ ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี
เนื้อหาในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของตำบล ประวัติ
ความเป็นมา ขนาดที่ตั้งของตำบล สถานที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงสภาพ
เศรษฐกิจ การดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP
ภายในตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ซึ่งได้มีการจัดรวบรวมไว้ใน หนังสือเล่มนี้
คณะผู้จัดทำได้เลือกตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัด
สุราษฏร์ธานีในการจัดทำหนังสือแนะนำตำบล เนื่องจากเป็นตำบลที่มีความน่า
สนใจ ทางคณะผู้จัดทำได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลต่างๆกับชุมชนโดยตรง คณะ
ผู้จัดทำ ขอขอบคุณ ดร.วิทวัส ขุนหนู และ อาจารย์ อยับ ซาดัดคาน ผู้ให้ความ
รู้และแนวทางในการศึกษาการจัดทำหนังสือ ในครั้งนี้ ขอขอบคุณบุคคลากร
หน่วยงานต่างๆ ของตำบลเพิ่มพูนทรัพย์รวมไปถึงชาวบ้านที่ได้ให้ความรู้
ข้อมูลในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับตำบล และขอขอบคุณเพื่อนๆที่ได้ให้คำปรึกษาใน
การจัดทำหนังสือให้ผ่านลุล้วงไปได้ด้วยดีทั้งนี้ทางคณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือ
แนะนำ ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่มีประวัติ
และวิถีชีวิตที่น่าสนใจ จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านทุกท่าน หากเกิดข้อผิด
พลาดประการใดทางผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ OT PERMPOONTRAP
เรื่อง หน้า EMOCLEW
1-10
พระราชดำรัส
คำนำ 11-20
สารบัญ
21-34
ส่วนที่1 ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
ขนาดและที่ตั้งของตำบล
ลักษณะภูมิประเทศ / ภูมิอากาศ
ลักษณะของดิน / ทรัพยากรธรรมชาติ
การเดินทาง / การคมนาคม
การโทรคมนาคม / การไฟฟ้า
แหล่งน้ำธรรมชาติ / แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ส่วนที่ 2 โครงสร้างชุมชน
ด้านการปกครอง
ข้อมูลประชากร
ด้านบุคลากร
ด้านการศึกษา /ศาสนา/วัฒนธรรม
บริบททางสังคม / ความเป็นอยู่
ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ส่วนที่ 3 โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ
แหล่งทุนทางธรรมชาติ
แหล่งอาหาร
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
สารบัญ OT PERMPOONTRAP
เรื่อง หน้า EMOCLEW
ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ 35-52
แหล่งท่องเที่ยว
ศาสนสถาน
แหล่งเรียนรู้ / โรงเรียน / ห้องสมุดชุมชน
ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน 53-70
บรรณานุกรม 71
ภาคผนวก 72
ฺBASIC INFORMATION
ส่วนที่1
ข้อมูลพื้ นฐาน
PERMPOONTRAP
01
ประวัติความเป็นมา
ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านนาสารเป็นตำบลที่
แยกออกมาจากตำบลลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2536 มีหมู่บ้านในเขตการ
ปกครองจำนวน 6 หมู่บ้าน คือ บ้านเหมืองทวด บ้านวังศิลาดิเรกสาร บ้าน
น้ำท้น บ้านธาราวงค์อารีย์ บ้านกอบแกบ และบ้านวังหิน
เดิมที่ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งกับตำบลลำพูนแต่ ณ ขณะนี้เขต
พื้นที่ตำบลลำพูนมีพื้นที่รับผิดชอบที่มากจนเกินไปบวกกับมีกลุ่มประชากร
แฝงทั้งย้ายเข้ามาอยู่ใหม่และกลุ่มประชากรแฝงของกลุ่มผู้มีอุดมการณ์
ทางการเมืองหรือเรียกอีกอย่างว่าคอมมิวนิสต์เข้ามาแฝงตัวอยู่กับกลุ่มชาว
บ้านหลังจากนั้นได้มีการเสนอให้แยกเพิ่มพูนทรัพย์ออกจากลำพูนโดย
กำนันชูชัยทองขาวเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมพ.ศ.2536 เป็นต้นไปหมู่ 1 เดิมที่
เป็นหมู่ 7 ตำบลลำพูนและจากได้แยกตำบลออก ลำพูนได้เปลี่ยนเป็น หมู่
1 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
02
ขนาดและที่ตั้งของตำบล
ที่ ตั้ ง
ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ เป็นตำบลหนึ่ง
ของอำเภอบ้านนาสาร จังหวัด
สุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด
83,750ไร่ 134.00 ตาราง
กิโลเมตร ที่ทำการองค์การบริหาร
ส่วนตำบล ตั้งอยู่เลขที่ 7/4 หมู่ที่
1 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอ
บ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ อำเภอ
บ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี
มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอ
บ้านนาสารมาทางทิศตะวันออก
12กิโลเมตร และมีระยะห่างจาก
ตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี 52
กิโลเมตร ห่างจาก
กรุงเทพมหานคร ประมาณ 825
กิโลเมตรโดยมีอาณาเขตติดต่อ
พื้นที่ของตำบลดังนี้
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
ทิศเหนือ ติดต่อ ทิศตะวันตก ติดต่อ
ตำบลลำพูน อำเภอบ้านนาสาร ตำ บ ล น า ส า ร อำ เ ภ อ น า ส า ร
จังหวัดสุราษฏร์ธานี จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฏ ร์ ธ า นี
อ า ณ า เ ข ต ติ ด ต่ อ
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
ทิศใต้ ติดต่อ ทิศตะวันออก ติดต่อ
ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ
จังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชมเมืองในหมอก
บอกตำนานเหมืองเก่า
ภูเขาสันเย็น
เด่นบ่อน้ำร้อน
พักผ่อนน้ำตก
เงาะ
ดกผลดี
บารมีหลวงพ่อช่วย
มากด้วยน้ำผึ้งป่า
ตระการตาวังโข
คำขวัญตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
05
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
( NATURAL RESOURCES )
1.ป่าไม้ (สวนป่าชุมชนบ้านวังศิลาดิเรกสาร)
2.น้ำตก (น้ำตกเหมืองทวด)
3.บ่อน้ำร้อน (ค่าบลูกเสือบ่อน้ำร้อน)
Permpoontrap
ลักษณะภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป
ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ เป็นพื้นที่ราบสูง เชิงเขาและภูเขา
สูง ทำให้เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นที่ต้นน้ำ
และด้วยเหตุที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
ทำให้ยังมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหา
ยากหลายชนิด มีความหลากหลายทางระบบนิเวศน์
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
ลักษณะภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นมีสองฤดูคือฤดูฝน และฤดู
แล้ง ในฤดูฝนมีฝนตกชุกปริมาณมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมน้ำป่าไหล
หลาก ส่วนในฤดูแล้งร้อนอบอ้าวทำให้บางพื้นที่ในตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
ขาดแคลนแหล่งน้ำสำหรับเพื่อการเกษตร โดยส่วนใหญ่จะได้รับ
อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ
ประกอบกับพื้นที่ยังคงมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ทำให้เกิดฝนตกชุกเกือบ
ตลอดทั้งปี และมีฝนตกมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม ทิศทางลมใน
แต่ละฤดูสามารถแบ่งได้เป็นสามฤดูคือฤดูร้อนเริ่มประมาณกลาง
เดือนกุมภาพันธ์ถึงประมาณพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมหลังจาก
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลงฤดูฝนเริ่มประมาณกลางเดือน
พฤษภาคมถึงตุลาคมซึ่งเป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกคลุมกับมี
ช่วงกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้เป็นระยะต่อจากนั้นจนถึงเดือน
ธันวาคมซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาปก
คลุมฤดูหนาวเริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์เป็น
ช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ได้รับ
อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันตกเฉียง
เหนือ ประกอบกับยังมีพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ ทำให้ฝนตกชุกเกือบตลอดปี
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
ลักษณะภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
ลักษณะของดิน
ดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
ดินให้ปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นแหล่งผลิตอาหารเป็นพื้นที่ประกอบ
กิจกรรมต่างๆ คุณภาพของดินจึงมีความสัมพันธ์ต่อความอุดมสมบูรณ์
ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย จึงเหมาะแก่การทำการเกษตร
ปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่งดินร่วนปนทราย ประมาณ 80% ดินเหนียวปน
ทราย ประมาณ 20%
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
09
ก า ร เ ดิ น ท า ง
การคมนาคม
การคมนาคม มีทางหลวง
แผ่นดินหมายเลข 4229 จาก
อำเภอบ้านนาสาร ผ่านทั้ง 6
หมู่บ้าน ไปเชื่อมติดต่อกับ
ทางหลวงหมายเลข 4009 ที่
ตำบลพรุพี ทำให้การคมนาคม
ติดต่อกับภายนอกสะดวก
รวดเร็ว ระยะทางจากที่ว่าการ
อำบ้านนาสาร 14 กิโลเมตร
ถนนลาดยาง จำนวน 7
สาย
ถนนคอนกรีต จำนวน
12 สาย
ถนนดิน หินคลุก หินผุ
และลูกรังภายใน
หมู่บ้าน จำนวน 25 สาย
ถนนในซอย จำนวน 52
สาย ขึ้นทะเบียน
ทางหลวง จำนวน 1
สาย
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
การคมนาคมขนส่ง 10
(ทางบก,ทางน้ำ,ทางราง ฯลฯ )
ใช้เส้นทางบกโดยใช้ถนนสายและถนนเส้น
หลักในการคมนาคมขนส่งการจารจร มีผู้ใช้
ยวดยานพาหนะทางบก คือ รถยนต์ และรถ
จักรยานยนต์ในเส้นทางหลัก การจราจร
คับคั่งในช่วงเร่งด่วน แต่สภาพการจราจรยัง
ไม่ติดขัดมีสภาพคล่อง
การโทรคมนาคม
มีการให้บริการทั้งโทรศัพท์ประจำที่
ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายใต้การให้บริการของ
บริษัท TOT และ 3BB
มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีเครือ
ข่ายครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด โดยผู้ให้บริการ
ได้แก่ DTAC และ TRUE
เสาสัญญาณโทรศัพท์ จำนวน 4 แห่ง
การไฟฟ้า
มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1315 ครัว
เรือน คิดเป็นร้อยละ 100
หน่วยงานเจ้าของไฟฟ้า คือการไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค
ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 307 จุด ครอบคลุม
ถนน 55 สาย
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
11 การประปา
มีครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา จำนวน 470 ครัว
เรือน
หน่วยงานเจ้าของประปา คือ การประปาส่วน
ภูมิภาค
ประปาหมู่บ้าน จำนวน 6จุด
ปริมาณน้ำที่ใช้ 290 ลูกบาศก์เมตร / วัน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำห้วย จำนวน 15 สาย
บึง หนอง และอื่นๆ จำนวน 14 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
สระเก็บน้ำ จำนวน 15 แห่ง
ฝาย จำนวน 6 ตัว
บ่อถังเก็บน้ำ จำนวน 3 ถัง
บ่อน้ำตื้น จำนวน 342 บ่อ
โลจิสติกส์ (Logistics)
ไปรษณีย์ จำนวน – แห่ง
ไปรษณีย์เอกชนที่ได้รับอนุญาต จำนวน 2 แห่ง
สถานีวิทยุ จำนวน – แห่ง
ผู้ให้บริการระบบ Internet จำนวน – แห่ง
ผู้ให้บริการขนส่งเอกชน จำนวน – แห่ง
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
COMMUNITY STRUCTURE
ส่วนที่ 2
โครงสร้างชุมชน
PERMPOONTRAP
12
ด้านการเมืองการปกครอง
เขตการปกครอง
ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านเหมืองทวด กำนันสุภกิจ เกษกล้า
หมู่ที่ 2 บ้านน้ำท้น ผู้ใหญ่บุญล่อง ทิพย์เกิด
หมู่ที่ 3 บ้านวังศิลาดิเรกสาร ผู้ใหญ่ภิรมย์ รักเพชร
หมู่ที่ 4 บ้านธาราวงศ์อารีย์ ผู้ใหญ่สามารถ ดุลยะศิริ
หมู่ที่ 5 บ้านกอบแกบ ผู้ใหญ่โชคดี ช่วยทอง
หมู่ที่ 6 บ้านวังหิน ผู้ใหญ่นิรมล ช่วงรัตนาวรรณ
การเลือกตั้ง
แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 6 เขต ดังนี้
หน่วยเลือกตั้งที่ 1 หมู่ที่ 1 หน่วยเลือกตั้งที่ 2 หมู่ที่ 2
หน่วยเลือกตั้งที่ 3 หมู่ที่ 3 หน่วยเลือกตั้งที่ 4 หมู่ที่ 4
หน่วยเลือกตั้งที่ 5 หมู่ที่ 5 หน่วยเลือกตั้งที่ 6 หมู่ที่ 6
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
13 ประชากรชาย
21.5%
ข้อมูลประชากร
ครัวเรือน
13.9%
รวมประชากร ประชากรหญิง
43.1% 21.6%
ข้อมูลประชากรตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ประชากรทั้งสิ้น 3,865 คน 7
แยกเป็นชาย 1,929 คน หญิง 1,93
6 คน จำนวนครัวเรือน 1,197
คนมีความหนาแน่นเฉลี่ย 28.83 คน/ตารางกิโลเมตร
(สำนักทะเบียน/สำนักทะเบียนท้องถิ่น)
14 อายุน้อยกว่า1-3ปี
5.2%
ข้อมูลประชากร อายุ6-11ปี
9.5%
อายุ60-69ปี
8.3%
อายุ12-18ปี
9.1%
อายุ19-25ปี
7.9%
อายุ26-59ปี
52%
ข้อมูลประชากรตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ส่วนใหญ่มีอายุ 26-59 ปี
ร้อยละ 52 รองลงมามีอายุ 6-11 ปี ร้อยละ 9.5 ตามลำดับ และ
ช่วงอายุ 1-3 ปี ร้อยละ 5.2 น้อยที่สุด
(สำนักทะเบียน/สำนักทะเบียนท้องถิ่น)
15
ด้านบุคลากร
ข้าราชการ พนง.จ้างตามภารกิจ/
ส่วนราชการ พนง.จ้างทั่วไป รวม
ดำรงตำแหน่ง ว่าง ดำรงตำแหน่ง ว่าง
สำนักปลัด 8 1 8 1 18
กองคลัง 3 1 1 -5
กองช่าง 1 2 3 -6
รวม 12 4 12 1 29
ข้อมูล : สำนักปลัด อบต.เพิ่มพูนทรัพย์ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564)
องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ มีปลัดองค์การบริหารส่วน
ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ จำนวน 1 คน และมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ในการทำงาน จำนวนทั้งสิ้น 29 คน
16
โครงสร้างองค์การบริหาร
ส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
สภา อบต. ปลัด อบต.ปฎิบัติหน้าที่
นายก อบต.เพิ่มพูนทรัพย์
ประธานสภา อบต.
เลขานุการสภา อบต. ปลัด อบต.
(นักบริหารงานท้องถิ่นระดับกลาง)
รองประธานสภา อบต. หน่วยตรวจสอบภายใน
สมาชิกสภา อบต. สำนักปลัด กองคลัง กองช่าง
งานบริหารงานทั่วไป งานการเงินและบัญชี งานแบบแผนและก่อสร้าง
งานควบคุมอาคาร
งานการเจ้าหน้าที่ งานพัสดุและทรัพย์สิน งานสาธาณูปโภค
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานพัฒนารายได้
งานนิติการ
งานสวัสดิการสังคม
งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
งานป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย
17
ด้านการศึกษา/ศาสนา/วัฒนธรรม
1. ด้านการศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหมืองทวด( สังกัด อบต.)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังหิน ( สังกัด อบต.)
โรงเรียนบ้านเหมืองทวด ( สังกัดสพฐ.)
โรงเรียนบ้านกอบแกบ( สังกัดสพฐ.)
โรงเรียนบ้านวังหิน( สังกัดสพฐ.)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยตำบลเพิ่มพูนทรัพย
(ข้อมูล:งานการศึกษา)
2. สถาบันและองค์การศาสนา
สำนักสงฆ์เวฬุวัน หมู่ที่1
สำนักสงฆ์ถ้ำเขาโคก หมู่ที่ 3
วัดกันตาราม (กอบแกบ) หมู่ที่ 5
18
บริบทและสังคมความเป็นอยู่
ติ ด ต่ อ ฉั น ที่ 1. สาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ 7/4 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง
หมู่ที่ 1 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอ พยาบาล จำนวน 1 คน
บ้านนาสาร จังหวัดสุรา
ษฎร์ธานี 84120 นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 3 คน
โทรศัพท์ : 077-404223 โทรสาร : 077-404223 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 3
คน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 87
E-mail Address : [email protected] คน
2. ไฟฟ้า
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต.ครัวเรือน
ที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1315 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ
100
3. โทรศัพท์
จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 299 หลังคาเรือน คิด
เป็นร้อยละ 30.35 ของจำนวนหลังคาเรือน
(ข้อมูล:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มพูนทรัพย์)
19
บริบทและสังคมความเป็นอยู่
4. อาชญากรรม 5. ยาเสพติด
องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูน ยาเสพติดในตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
ทรัพย์ ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น มีการระบาดอย่างแพร่หลายทั้งตำบล
แต่มีเหตุการณ์ปัญหาการลักขโมย การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วน
ทรัพย์สินของประชาชนบ้าง โดยสภาพ ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์สามารถทำได้ตาม
พื้นที่เป็นการอยู่กันแบบพี่น้อง ช่วย อำนาจหน้าที่เท่านั่น เช่น การรณรงค์
เหลือเกื้อกูลกัน ดูแลซึ่งกันและกัน การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การ
ฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจาก
ป้อมตำรวจ จำนวน 1 แห่ง อำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือ
อปพร. จำนวน 19 แห่ง ตำรวจแล้วแต่กรณี
อาสาสมัครตำรวจบ้าน จำนวน
52 คน
(ข้อมูล:สถานีตำรวจภูธรบ้านาสาร)
6. สังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ได้ดำเนินการก้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 579 คน
ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพอายุพิการ จำนวน 82 คน
ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 1 คน
20
ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม
1
การนับถือศาสนา
ประชาชนในพื้นที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 ของ
จำนวนประชากรทั้งหมดในเขตตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
ประเพณีและงานประจำปี 2
รดน้ำผู้สูงอายุวันสงกรานต์ งานประจำปี
ลอยกระทง งานแข่งขันฟุตบอล
ประเพณีสารทเดือนสิบ งานวันเด็กแห่งชาติ
ความเชื่อ พิธีกรรม 3
หมอบีบเส้น
หมอดูดวง
การไหว้พ่อตาช่องช้างในทุกๆปี
เทศการเก็บเงาะเสร็จสิ้นจะมีไหว้เจ้าที่
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
ECONOMIC AND CAREER STRUCTURE
ส่วนที่3
โครงสร้างเศษฐกิจและอาชีพ
PERMPOONTRAP
21
แ ห ล่ ง ทุ น ท า ง ธ ร ร ม ช า ติ
น้ำ
แหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่ เป็นน้ำจากคลอง
ฉวาง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากจังหวัด
นครศรีธรรมราช ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
ในพื้นที่จะมีห้วย ลำธารสาธารณะที่ใช้
ในระบายน้ำในฤดูฝน
คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 15
แห่ง คลองในพื้นที่องค์การบริหาร
ส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ มีความ
ยาประมาณ 11,700 เมตร เป็น
แนวเขตระหว่างตำบลกอบแกบ
ป่าไม้
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูน
ทรัพย์ เป็นป่าดงดิบ บริเวณนี้มีฝน
ตกหนักและความชื่นมากในท้องที่ เช่น
ตามหุบเขาริมแม่น้ำ ลำธาร ห้วย แหล่ง
น้ำ และบนภูเขา เป็นป่าที่รกทึบมองดู
เขียวชอุ่มตลอดปี มีพันธ์ไม้หลายร้อย
ชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่
(แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
22
ภูเขา
มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือก
เขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่ง
กำเนิดของต้นน้ำลำธาร มี
ลำคลอง สำคัญหลายสาย
เช่น คลองฉวาง คลองลำพูน
ภูเขาบางลูกเป็น เขาหิดปูน
จึงเกิดเป็นถ้ำที่สวยงานน่า
พิศวง
ทรัพยกรธรรมชาติ
ทรัพยกรธรรมชาติ ที่สำคัญของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
น้ำตกเหมืองทวด, ค่ายลูก
เสือ-บ่อน้ำร้อน,ส่วนป่า
ชุมชนบ้านวังศิลาดิเรกสาร
แหล่งทุนทางธรรมชาติ
(ข้อมูล : แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570)
23
แหล่งอาหาร
ผลไม้ = เงาะ, ทุเรียน
(ตามฤดูกาล)
ผัก = สะตอ, ผักกูด,
ยอดเหลียง (ผักพื้นบ้าน)
ปลา= ปลาคลองฉวาง
(ธรรมชาติคลองฉวาง)
24 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
สินค้า OTOP พื้นเมือง
สะตอดอง[สวนลุงนึ่ง]
สะตอสดจากสวน แปรรูปโดยกระบวนการดอง
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
25 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
สินค้า OTOP พื้นเมือง
น้ำพริกไทยดำ[สวนลุงนึ่ง]
พริกไทยดำ น้ำมาแปรรูปทำเป็นน้ำพริกไทยดำ
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
26
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
สินค้า OTOP พื้นเมือง
น้ำผึ้งแท้ (ฟาร์มผึ้งรักเพชร)
น้ำผึ่งแท้จากธรรมชาติ 100%
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
27 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
สินค้า OTOP พื้นเมือง
เงาะสด,เงาะกวน,เงาะอบแห้ง
(เงาะแปลงใหญ่)
เงาะสดจากต้น แปรรูปโโยวิธีการที่หลากหลาย
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
28
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ
สินค้า OTOP พื้นเมือง
ไม้กวาดดอกหญ้า
ไม้กวาดดอกหญ้าผูกมือโดยชาวบ้านในท้องถิ่น
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
ภู มิ ปั ญ ญ า ท้ อ ง ถิ่ น
ตีผึ้ง ลูกชกลอยแก้ว
ทำไม้กวาดอกหญ้า เผาถ่านไม้เงาะ
ข้าวหลามใบเร็ต ตีเหล็ก , ตีพร้า ตีมีด
ป รุ ง อ า ห า ร สุ ด ส ร้ า ง ส ร ร ค์
ด้ ว ย ฝี มื อ ข อ ง คุ ณ เ อ ง
แ ท น คำ ข อ บ คุ ณ แ ด่ พ่ อ
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
30
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
อาชีพประชากรในเขตตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกเงาะโรงเรียนชั้นดี ซึ่งทำชื่อเสียงให้กับ
อำเภอบ้านนาสาร และจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเนื่องจาก
ผลผลิตเงาะโรงเรียนจะมีปัญหาด้านราคา และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ
ครั้ง เกษตรกรจึงหันมาโค่นต้นเงาะเพื่อเปลี่ยนเป็นสวนยางเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น เช่น รับจ้างทั่วไป ทั้งทางภาคเกษตรกรรม และ
อุตสาหกรรมนอกพื้นที่
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
31
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือทำสวนยางพารา
เป็นหลักนอกจากนั้นก็มีทำสวนผลไม้ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย รับราชการ
(ข้อมูล จปฐ.ปี2562)
การประมง
ประชากรเพียงบางส่วนที่อาศัยการจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็น
อาหาร ปัจจุบันสัตว์น้ำในแหล่งน้ำมีปริมาณลดลง เนื่องจากประชาชนไม่ได้ให้
ความสำคัญกับการอนุรักษ์และพยายามฝ่าฝืนกฎหมายอยู่เสมอ ไม่ว่าจะ
เป็นการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำ หรือการไม่จับสัตว์น้ำในฤดูการวางไข่ มีผู้เลี้ยง
จำนวน 2 ราย (ข้อมูล: สำนักงานประมงอำเภอบ้านนาสาร)
อุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรม ตาม พรบ. โรงงานอุตสาหกรม พ.ศ.2535
โรงงาน จำนวน 1 แห่ง
32
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
การปศุสัตว์
เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อ
ใช้งาน และรับประทาน เช่น เป็ด ไก่ วัว หมู
1) เลี้ยงโค 115 ตัว
2) เลี้ยงกระบือ 0 ตัว
3) เลี้ยงหมู 1 ตัว
4) เลี้ยงไก่ 3,732 ตัว (ข้อมูล: สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ)
การบริการ
การให้บริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ จะเป็น
ลักษณะสถานบริการประเภทที่พัก โรงแรมหรือสถานบริการน้ำมันเชื้อ
เพลิง/แก๊สดังนี้
1) โรงแรม/ที่พัก จำนวน 4 แห่ง จำนวน 22 ห้อง
2) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน – แห่ง ปริมาณการเก็บ
น้ำมัน – ลิตร (ข้อมูล: กองช่าง/แผนที่ภาษี)
33
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
1) กลุ่มเลี้ยงผึ้ง
2) กลุ่มจัดดอกไม้สด
3) กลุ่มนวดแผนไทย
4) กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่
5) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาไม้ผลเพิ่มพูนทรัพย์
6) กลุ่มอาชีพจัดทำไม้กวาดดอกหญ้า
7) กลุ่มเลี้ยงด้วง
การท่องเที่ยว
1) ค่ายลูกเสือ – บ่อน้ำร้อน (คนในพื้นที่ไปใช้บริการอาบน้ำ)
2) สะพานน้ำล้นวังหยี (คนในพื้นที่ไปใช้บริการอาบน้ำ)
(ข้อมูล:สำนักปลัด)
34
สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
1) แรงงานส่วนใหญ่มีความรู้ระดับมัธยมหรือต่ำกว่า
2) แรงงานต่างด้าว เป็นสัญชาติ เมียนมา ลาว มอญ ส่วนใหญ่แรงงาน 3
สัญชาติ จะทำงานเกี่ยวกับการเกษตร
3) แรงงานในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเน้นการทำเกษตร เนื่องจากพื้นที่ยังเป็น
พื้นที่ชนบท และยังมีแรงงานจากภาคอีสารเข้ามาใช้แรงงานในพื้นที่โดย
ส่วนใหญ่
( ข้ อ มู ล : แ ผ น พั ฒ น า ท้ อ ง ถิ่ น พ . ศ . 2 5 6 6 - 2 5 7 0 )
LAND MARK
ส่วนที่ 4
สถานที่สำคัญ
PERMPOONTRAP
น้ำตกเหมืองทวด
เป็นน้ำตกที่รู้จักกันแพร่หลายในเขตอำเภอบ้านนาสาร มี 7 ชั้น ชั้นสูงสุดสูง
ประมาณ 20 เมตร บริเวณ น้ำตกร่มรื่นมีแอ่งน้ำสวยงาม แต่ละชั้นนักท่องเที่ยว
สามารถสัมผัสได้ถึงความงดงาม ตามเส้นทางเดินขึ้นสู่น้ำตก เราสามารถพบเห็น
พันธ์ไม้ป่าชนิดต่างๆ โดยทั่วไปเช่น ดอกกล้วยไม้ ต้นไม้ชนิดต่างๆ ตามสองข้าง
ทาง รวมระยะทางเดินขึ้นสู่น้ำตกไปกลับประมาณ 2.5 กิโลเมตร หรือเดินชม
ธรรมชาติแบบสบายๆ ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ผ่อนคลายอารมณ์ ด้วย
ธรรมชาติ อันสวยงาม อยู่ในท้องที่บ้านเหมืองทวด หมู่ที่ 1 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
อำเภอบ้านนาสาร ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี 45 กิโลเมตร
PERMPOONTRAP 36
PERMPOONTRAP
36
วั ง โ ข รี ส อ ร์ ท
CHECK IN
วั ง โ ข รี ส อ ร์ ท
สมญานาม “ลำธารในม่านผา”รีสอร์ตดินสไตล์โมเดิร์น แห่งแรกในจังหวัด
สุราษฏร์ธานี ห้องพักสไตล์อินเดียแดง สร้างความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร บริเวณโดย
รอบมีธารน้ำไหลผ่านม่านผาที่ทอดมาอย่างยาวไกล อีกทั้งยังมีมากมายกิจกรรมไว้
รอสร้างความประทับใจแบบยากจะลืมเลือนด้วย โดยเฉพาะการล่องแก่งห่วงยาง มี
รถสองแถวแนวอนุรักษ์ไว้คอยรับ-ส่งถึงหน้าผลไม้ก็จะเอารถสองแถวนี้พาไปเที่ยว
ชม และชิมกันถึงในสวน สถานที่ตั้ง : หมู่ 3 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร
สุราษฎร์ธานี 84120 โทรศัพท์: 077 404 260
37
ค่ายลูกเสือบ่อน้ำร้อน
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลเพิ่ม
พูนทรัพย์ อำเภอ
บ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ประมาณ 47
ไร่ สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐8 ปัจจุบันอยู่ใน
ความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
ภายในบริเวณค่ายลูกเสือจะมีฐานต่างๆใช้ในการฝึก
กิจกรรมลูกเสือและเนตรนารีได้ บริเวณร่มรื่นไปด้วย
ต้นไม้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำร้อนจำนวน ๒ บ่อ มี
ภูเขาล้อม 3 ด้าน ห่างจากตัวอำเภอบ้านนาสาร
ประมาณ 6 กิโลเมตร
บ่อแรกก่อคอนกรีตสี่เหลี่ยมให้นั่งตักอาบฟรีๆ น้ำร้อน
อุ่นกำลังดีสีฟ้าใสสวยที่สุดในบรรดาบ่อน้ำร้อนเขต
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีห้องบริการอาบน้ำร้อน ให้แก่ผู้ที่
ต้องการอาบน้ำร้อน และทางด้านทิศเหนือมีลำคลอง
ฉวางไหลผ่านสามารถลงเล่นน้ำในลำคลองได้ มองเห็น
วิวเขาหนอง ฉายา"ฟูจิซังนาสาร"อย่างชัดเจน จึงเป็น
พื้นที่ที่เหมาะแก่การเข้าค่ายพักแรมและท่องเที่ยว
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่องค์การบริหารส่วน
ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์
PERMPOONTRAP
สะพานน้ำล้นหวังหยี
PERMPOONTRAP
สะพานน้ำล้นหวังหยี เล่นน้ำคลองฉวาง ชมธรรมชาติ ลอมรอบไปด้วยภูเขา
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฏรธานี
38
ดอยปู่เสือ 39
นั่งกินกาแฟ แลวิว ที่ดอยปู่เสือ วิว
เขา360องศา ชมทะเลหมอก ธรรมชาติ
อากาศบริสุทธิ์ ชมพระอาทิตย์ตกยาม
เย็น ชมทะเลหมอกดวงอาทิตย์ขึ้นยาม
เช้า ชมดาวยามค่ำคืน มากินหมูกระทะ
ชมทะเลหมอก นอนเต็นท์ กาแฟดริฟ
ธรรมชาติที่ดอยปู่เสือ มีมุมให้ถ่ายภาพ
แบบชิวชิวได้ ที่ไม่เหมือนใคร ที่แม้แต่
กล้องถ่ายรูปก็ไม่สามารถ
PERMPOONTRAP