The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by KE NG, 2023-11-12 14:33:29

การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการฝากส่งผลไม้ กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี

ณัฐภูมิ ขัดชมภู116310509476-2

การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการฝากส่งผลไม้ กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี ณัฐภูมิ ขัดชมภู รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


การเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการจัดเรียงเอกสารวางบิลลูกค้าขาออก กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี ณัฐภูมิ ขัดชมภู รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


ชื่องานวิจัย การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการฝากส่งผลไม้ กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี ชื่อนักศึกษา นายณัฐภูมิ ขัดชมภู รหัสนักศึกษา 116310509476-2 ปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ชุลีกร ชูโชติถาวร รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการสอบวิจัย ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ อาจารย์ที่ปรึกษา ………………………………………………… ( อาจารย์ชุลีกร ชูโชติถาวร) ได้พิจารณาเห็นชอบโดย กรรมการ ………………………………………………… ( ดร.ปริญ วีระพงษ์ ) กรรมการ ………………………………………………… ( ดร.จิรวดี อินทกาญจน์) ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


ชื่องานวิจัย การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการฝากส่งผลไม้ กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี ชื่อนักศึกษา นายณัฐภูมิ ขัดชมภู รหัสนักศึกษา 116310509476-2 ปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ชุลีกร ชูโชติถาวร บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานการรับฝากส่งผลไม้2)วิเคราะห์ สาเหตุของปัญหาในการให้บริการฝากส่งผลไม้ 3)เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการฝาก ส่งสิ่งผลไม้กรณีศึกษาบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัดสาขาธัญบุรี โดยหลักการมองเห็น Visual Control และการ จัดทำคู่มือปฏิบัติงานWork Instructions(WI)มาปรับปรุงและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใช้เครื่องมือ Flowchartในการแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานการฝากส่งสิ่งผลไม้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี วิเคราะห์ข้อมูลหาสาเหตุปัญหาด้วยเครื่องมือแผนผังก้างปลา(FishboneDiagram)โดยเริ่มตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2566 ถึง เดือนตุลาคม พ..ศ.2566 ผลการศึกษาพบว่าบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายไม่ได้มาตราฐานสาเหตุหลักนั้นเกิดมาจากพนักงานยังไม่เข้าใจ กระบวนการทำงานหีบห่อบรรจุภัณฑ์ผิดวิธีไม่ทำตามของบริษัทและร้านค้าแพ็คสินค้ามาไม่ได้มาตราฐาน อัน เนื่องมาจากความเคยชินในการทำงานที่มองข้ามจุดเหล่านี้ไปทั้งยังไม่มีสัญลักษณ์หรือสติกเกอร์ติดบนตัวกล่อง บรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยจึงได้มีการเอาหลักการ Visual Control และการจัดทำคู่มือWork Instructions(WI)มา ปรับปรุงใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้พนักงานนั้น สามารถหาสินค้าหรือนำสินค้ามาวางไว้ในตำแหน่งที่กำหนด ได้อย่างชัดเจนเพื่อลดอัตราการเกิดพัสดุเสียหาย สามารถลดพัสดุชำรุดเสียหายเฉลี่ย ได้ประมาณ 17.65%ของ ความเสียหายทั้งหมด คำสำคัญ : บรรจุภัณฑ์/เสียหาย/ เทคนิคVisual Control /คู่มือปฎิบัติงานWork Instructions(WI) ก


Title Increasing efficiency of Fresh fruit delivery service Case study: Thailand Post Company Limited Thanyaburi Branch Student Name Mr.Natthaphoom Khadchomphu Degree Bachelor Business Adminitartion Program Logistic and Supply Chain Management Academic year 2023 Advisor Mrs.chuleekorn chuchottaworn Abstract The objectives of this study are 1) to study the operating procedures for fruit delivery and delivery 2) to analyze the causes of problems in fruit delivery services. 3) To propose guidelines for increasing the efficiency of fruit delivery services, a case study of Thailand Post Company Limited, Thanyaburi branch. By the principles of visual control and creating work manuals. Instructions (WI) to improve and increase work efficiency, use the Flowchart tool to show the operating procedures for dropping off fruit items, Thailand Post Company Limited, Thanyaburi branch, analyze data to find the cause of problems with the Fishbone Diagram tool, starting with From July 2023 to October 2023 The results of the study revealed that the damaged packaging was not up to standard. The main cause was because employees did not understand. The process of packaging the product incorrectly was not followed by the company and the store did not pack the product according to standards. Due to the habit of working and overlooking these points and not having any symbols or stickers on the packaging boxes, the researcher has therefore used the principles of Visual Control and the preparation of a work manual. Instructions(WI) to improve and use in operations so that employees Products can be found or placed in clearly designated locations to reduce the rate of package damage. Can reduce the average damaged parcel by approximately 17.65% of the total damage. Keywords: packaging/damage/Visual Control techniques/Work tools Instructions(WI) ข


กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยได้รับความกรุณา และความช่วยเหลือเป็นอย่างดี จากบุคคล หลายฝ่ายด้วยกัน ผู้เขียนจึงขอกรายขอบพระคุณทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ เริ่มจาก ท่านคณะอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งกรุณาเสียสละเวลาให้คำปรึกษาและคำแนะนำ รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการ ดำเนินการศึกษาปัญหาพิเศษฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบพระคุณท่านคณาจารย์หลักสูตรธุรกิจระหว่าง ประเทศและโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทุกท่าน ที่ได้เสียสละเวลาในการเป็น คณะกรรมการในการสอบแลตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อให้รายงานวิจัยนี้มีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนขอขอบคุณ ที่กรุณาให้ความร่วมมือให้การสัมภาษณ์สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พร้อมทั้ง การแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ อันเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการจัดทำรายงานวิจัยในครั้งนี้ ณัฐภูมิ ขัดชมภู พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ค


สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ก บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ จ สารบัญตาราง ซ สารบัญรูปภาพ ฌ บทที่1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 1.4 ขอบเขตการศึกษา 2 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีแนวความคิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 3 2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 4 2.3 แผนภูมิกระบวนการไหล (Flow chart) 5-7 2.4 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนผังก้างปลา(Fish Bone Diagram ) 7-8 2.5 Visual Control การรับรู้ด้วย แสง สี เสียง 9 2.6 คู่มือปฏิบัติงาน Work Instructions (WI) 9 2.7 ข้อมูลองค์กรกรณีศึกษา 10-13 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 14-15 จ


สารบัญ(ต่อ) บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา 3.1 วิธีการดำเนินวิจัย 16-17 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 18 3.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 18-19 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 20 บทที่ 4 ผลการดำเนินงานวิจัย 4.1 ผลการวิเคราะห์หาสาเหตุ 21-22 4.2 ขั้นตอนการปรับปรุง 22-25 4.3 เปรียบผลก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง 26-28 บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการดำเนินงานวิจัย 29 5.2 อภิปรายผลการวิจัย 29 5.3 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการทำวิจัย 30 5.4 ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องในอนาคต 30 บรรณานุกรม 31-32 ภาคผนวก ภาคผนวก ค คู่มือปฏิบัติงาน Work Instructions (WI) 34-43 ภาคผนวก ข Visual Control การรับรู้ด้วย แสง สี เสียง 44-46 ภาคผนวก ค การตรวจสอบ อักขรวิสุทธิ์ 47-49 ประวัติผู้วิจัย 42 ช


สารบัญตาราง ตารางที่ 2.1 สัญลักษณ์ๆ ของแผนภูมิFlow chat 5 ตารางที่ 3.1 ตารางแสดงยอดพัสดุชำรุดเสียหายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 19 ตารางที่ 4.1 ตารางการแก้ปัญหาด้วยการมองเห็น(Visaul Control) 22-24 ตารางที่ 4.2 ตารางเปรียบเทียบแสดงยอดพัสดุชำรุดเสียหายก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง 27 ฌ


สารบัญรูปภาพ รูปภาพที่2.1 สัญลักษณ์และความหมายการเขียนแผนผังปฎิบัติงานFlow chat 6 รูปภาพที่2.2 โครงสร้างของผังก้างปลา 8 รูปภาพที่2.3 ระบบ CA POS (Point of sale) 13 รูปภาพที่ 2.4 ใบรับฝากบริการ 13 รูปภาพที่2.5 การยิงพัสดุเข้าระบบนำจ่าย 13 รูปภาพที่ 3.1 แผนผังแสดงขั้นตอนการปฎิบัติงาน บริษัทไปรษณีย์ไทย สาขาธัญบุรี 17 รูปภาพที่ 3.2 ตัวอย่างการห่อหุ้มผลไม้ 18 รูปภาพที่3.3 ตัวอย่างสินค้าเสียหาย 18 รูปภาพที่3.4 ตัวอย่างสินค้าเสียหาย 18 รูปภาพที่4.1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแผนผังก้างปลา(Fish Bone Diagram ) 22 รูปภาพที่4.2 ภาพคู่มือปฎิบัติงาน Work instruction (WI) 24 รูปภาพที่4.3 ภาพคู่มือปฎิบัติงาน Work instruction (WI) 25 รูปภาพที่4.3 QR Codeคู่มือปฎิบัติงาน Work instruction (WI) 25 รูปภาพที่4.7กราฟแสดงอัตราความชำรุดเสียหายของผลไม้ ก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง 28


1 บทที่ 1 บทนำ 1.1ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ประเทศไทยเรามีสินค้ามีผลิตผลทางด้านการเกษตรกรรม และการประมงมากมาย เช่นผักสด ผลไม้ สด และสินค้าที่เป็นอาหารจากทะเล สิ่งที่กล่าวมานี้จะได้รับความเสียหายมากเนื่องจากสภาวะของอากาศการ บรรจุหีบห่อ และการขนส่งที่เหมาะสมมีส่วนที่จะช่วยลดความเสียหายเหล่านั้นลงได้ซึ่งเป็นการช่วยให้ผลผลิตที่ กล่าวถึงมือผู้บริโภคในสภาพที่ดี และจะทำให้ขายได้ในราคาที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้แล้วผลิตภัณฑ์อื่น ๆ รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์จากอาหารแปรรูปถ้าการบรรจุภัณฑ์ และการขนส่งที่เหมาะสมมีส่วนที่จะช่วยลดความเสียหายและ สามารถ จำหน่ายได้ในราคาที่สูงเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการบรรจุภัณฑ์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อผลผลิต บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในปัจจุบันการติดต่อการติดต่อสื่อสารได้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ เพียงแต่เป็นการส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ หรือพัสดุไปรษณีย์อย่างในอดีตเท่านั้น ผู้ใช้บริการยังมีความจำเป็นในการส่ง สิ่งมีชีวิตที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของไปรษณีย์ไทยกำหนด เช่น ผลไม้ ต้นไม้ อาหาร ที่บรรจุในภาชนะที่เหมาะสม กรุงเทพฯ 14 มกราคม 2564 – บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ได้มีการเดินหน้าพัฒนารถขนส่ง ควบคุมอุณหภูมิเพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าประเภทอาหาร ผลผลิตทางการเกษตร และของสดให้ สามารถคงความสดใหม่และคุณภาพตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางพร้อมช่วยลดต้นทุนด้านค่าขนส่งให้กับ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรในการส่งของไปยังพื้นที่ห่างไกลรวมถึงเพิ่มความสะดวกให้กับคนไทยในการสั่งซื้อ สินค้าทั่วประเทศได้อย่างมั่นใจ ปัจจุบันมีการตอบรับจากผู้ใช้บริการฝากส่งผลไม้เพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาณการฝากส่งผลไม้มีปริมาณ เพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่พบคือมียอดพัสดุชำรุดเสียหายทุกสัปดาห์ เนื่องจากพนักงานขาดความรู้ ความเข้าใจใน เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการห่อหุ้ม ทำให้การห่อหุ้มสิ่งของที่ฝากส่งนั้นไม่ได้มาตราฐาน สิ่งของจึงเกิดการ ชำรุดเสียหายระหว่างการเคลื่อนย้าย และขนส่ง ดังนั้นผู้ศึกษาวิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพคนในกระบวนการ ฝากส่งผลไม้กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการ บริหารจัดการกระบวนการทำงานครั้งต่อไป ของบริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด สาขาธัญบุรี ให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น


2 1.2วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานการรับฝากส่งผลไม้ 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่งส่งผลไม้ 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการฝากส่งผลไม้ 1.3ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงานของการรับฝากส่งผลไม้ 2. ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการฝากส่งผลไม้ 3. เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการฝากส่งผลไม้ 1.3ขอบเขตงานวิจัย 1.ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน .ขอบเขตด้านสถานที่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย ธัญบุรี แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ 2.ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่3กรกฎาคมถึง27ตุลาคม 3.วิเคราะห์ปัญหาการรับฝากส่งผลไม้ เพื่อเสนอ 1.4นิยามศัพท์เฉพาะ 1.ปณท หมายถึง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 2. บริการฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่ คือ บริการที่ ปณท รับฝากส่งผลไม้ โดยมีหลักฐานการรับฝาก การส่งต่อ และการนำจ่าย สามารถติดตามและตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน 3. ศูนย์ไปรษณีย์ (ศป., mail centre) มีหน้าที่หลักคือ รวบรวมจดหมาย และพัสดุจากที่ทำ การไปรษณีย์ต่าง ๆ มาคัดแยก และส่งต่อ หมายถึงส่งไปที่ทำการปลายทาง หรือส่งต่อไป ภูมิภาคอื่น ๆ ทางรถยนต์ รถไฟ หรือ เครื่องบิน ตัวอย่างเช่น ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ ตั้งอยู่ ใกล้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นต้น 4. บริการเก็บเงินปลายทาง หรือ Cash on Delivery (COD) คือตัวเลือกการชำระเงิน รูปแบบหนึ่ง ที่ลูกค้าจะชำระเงินก็ต่อเมื่อพัสดุที่สั่งไปจัดส่งถึงมือลูกค้าแล้วเท่านั้น และพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ก็จะได้รับเงินค่าสินค้าหลังจากลูกค้าชำระเงินกับบริษัทขนส่งเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง บริษัทขนส่งแต่ละเจ้าจะคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับการเก็บเงินปลายทาง แยกจากค่าจัดส่งในเรทราคาที่แตกต่างกันออกไป


3 บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ฝากส่งผลไม้ของบริษัทไปรษณีย์ไทยสาขาธัญบุรีโดยทำการวิเคราะห์ในด้านต่างๆเนื้อหาในบทนี้จะ ประกอบด้วยทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีแนวความคิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 2.3 แผนภูมิกระบวนการไหล ( Flow chart ) 2.4 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) 2.5 การควบคุมด้วยการมองเห็น(Visual Control) 2.6 คู่มือปฏิบัติงาน (Work Instructions (WI)) 2.7 ข้อมูลองค์กรกรณีศึกษา 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีแนวความคิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คำว่า "ประสิทธิภาพ" เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นวงการบริหารธุรกิจและรัฐกิจ ความหมายของคำนี้ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้กล่าวไว้ว่าประสิทธิภาพหมายถึง ความสามารถ ที่ทำให้เกิดผลงาน อย่างไรก็ตามยังมีนักวิชาการ อีกหลายที่ได้ให้ความหมายของประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้G๐๐d (1973,p.193) ให้ความหมายของประสิทธิภาพว่า หมายถึงความสามารถสำเร็จที่จะทำให้เกิด ความสำเร็จตามความต้องการโดยใช้เวลาและความพยายามเล็กน้อยก็สามารถให้ผลงานที่ได้สำเร็จลงอย่าง สมบูรณ์ นันทนา ธรรมบุศย์ (2540) ประสิทธิภาพ หมายถึง วิธีการทำงานโดยสิ้นเปลืองเวลาและสูญเสีย พลังงานในการทำงานน้อยที่สุดแต่เกิดประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุด สิริวดี ชูเชิด (2556) ได้กล่าวว่า ประสิทธิภาพการทำงาน หมายถึง ความสามารถและทักษะในการ กระทำของบุคคลของตนเอง หรือของผู้อื่นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเองและขององค์กร อันจะทำให้ตนเองผู้อื่นและองค์กรเกิดความพึงพอใจและสงบสุขในที่สุด อุทัย หิรัญโต (2525) หมายถึง ผลการปฏิบัติงานที่เกิดความพึงพอใจ และประโยชน์แก่สังคมแต่ ประสิทธิภาพในงานราชการจะตอังพิจารณาถึงคุณค่าทางสังคมด้วยจึงไม่จำเป็นต้องประหยัดหรือมีกำไรเพราะ งานบางอย่างถ้าทำประหยัดอาจไม่มีประสิทธิภาพ กันตยา เพิ่มผล (2541) ได้กล่าวถึง ประสิทธิภาพการทำงานว่าคือ เป็นการปรับปรุงแก้ไขการเพิ่มเติม ความสามารถและการพัฒนาทักษะในการทำงานของตนเองหรือผู้อื่นให้ดีขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรวาง ไว้ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาสังคม


4 2.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์นอกจากจะมีความสำคัญในด้านการรักษาคุณภาพของสินค้าให้คงทนและไม่เสื่อมสภาพ ได้ง่ายแล้ว ยังมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอย่างยิ่ง ต่อมาการบรรจุภัณฑ์ได้กลายมาเป็นกิจกรรมที่สำคัญทาง ธุรกิจ การ พัฒนาและการหีบห่อได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ผู้บริหารกิจการต้องให้ความสนใจในโอกาส ด้าน การจัดจำหน่ายในการเสนอจัดทำรูปร่างของบรรจุภัณฑ์ที่ดีและมีวัตถุดิบที่ใหม่ที่นำมาแทนวัตถุดิบเก่าเพิ่ม ความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานและช่วยเพิ่มยอดขาย การขนย้ายบรรจุภัณฑ์นอกจากจะมีการขนย้ายกันเป็นจำนวน มากแล้ว ผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องมีการบรรจุลงห่อหรือบรรจุภัณฑ์ก่อนที่จะทำการขนย้าย จึงต้องมีวัตถุประสงค์ โดยทั่วไป ดังนี้ 1. เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องมือในการขนส่ง 2. เพื่อเป็นการป้องกันสินค้า 3. เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา แยกสินค้าหรือโยกย้าย 4. เพื่อจัดรูปร่างที่เหมาะสมในการจัดเก็บและจัดส่ง 5. เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้ผลิตและผู้บริโภค การบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันสินค้าเป็นเรื่องสำคัญมากในด้านของการจัดจำหน่าย ส่วนตัวสินค้าถือเป็น เรื่อง รองลงมา ทั้งนี้เพราะบางครั้งบรรจุภัณฑ์ใช้แสดงรูปร่าง ขนาดและน้ำหนักของสินค้า การบรรจุภัณฑ์เพื่อ ป้องกันสินค้าทำให้กิจการต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกมาก บุคลากรในแต่ละฝ่ายในวงการธุรกิจจะมองวัตถุประสงค์ใน การบรรจุภัณฑ์แตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์และลักษณะงาน ของตน โดยเน้นที่แบบการบรรจุ ขนาด และวิธีการที่สะดวกและเหมาะสมต่อการเคลื่อนย้ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการขนส่งซึ่งล้วนเป็นเรื่องการ บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย บทบาทของการบรรจุภัณฑ์ในช่องทางกระจ่ายสินค้า ในด้านของการจัด จำหน่าย บรรจุภัณฑ์มีบทบาทเพิ่ม ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อเพิ่มความสะดวกและความพอใจของลูกค้า จะเห็นว่าบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะมีสีสัน สวยงามมากเป็นเครื่องล่อใจให้ผู้บริโภคสนใจซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อการโฆษณาทำให้ลูกค้าสนใจ 2. เพื่อการป้องกันสินค้า ไม่ให้สินค้าเกิดการเสียหาย กันขโมย กันสลับที่ ป้องกันการชำรุดหรือมีตำหนิ จะต้องจัดการบรรจุภัณฑ์ให้ดีมีประสิทธิภาพ ในการบรรจุหีบห่อจึงต้องมีการพิจารณาวัสดุที่ใช้ป้องกัน การ กระแทกหรือความชื้น 3. ประสิทธิภาพในการในการจำหน่าย สามารถโยกย้าย เก็บรักษาและขนย้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลด ต้นทุนการผลิต ลักษณะการบรรจุหีบห่อเป็นตัวกำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการโยกย้ายและที่ เก็บรักษา ผลิตภัณฑ์บางประเภทสามารถเก็บกองเป็นตั้งวางซ้อนกันโดยไม่ต้องมีชั้นเก็บ เช่น ปูนซีเมนต์หรือเม็ด พลาสติกที่บรรจุเป็นถุง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดเก็บในคลังสินค้าได้อย่าง เหมาะสม สามารถวาง ซ้อนได้สูงขึ้นโดยใช้พื้นที่คลังสินค้าน้อยลง


5 2.3 แผนภูมิกระบวนการไหล ( Flow chart ) แผนผังงาน (Flow chart) คือ แผนผังงานรูปภาพที่ใช้แสดงแนวคิด หรือขั้นตอนการทำงาน ของ โปรแกรม และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโปรแกรมที่เราทำงานได้ง่ายขึ้น ผัง ปฏิบัติงาน (Work Flow) คือ รูปภาพ (Image) หรือ สัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน หลักการเขียนแผนผังงาน ผังงาน (Flowchart) เป็นผังงานที่ใช้แสดงแนวความคิด หรือขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมโดยใช้สัญลักษณ์แทน คำอธิบายไม่ว่าจะเป็นการใช้กรอบสี่เหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์แทนการประมวลผล หรือจะเป็นการใช้ ลูกศรแทนทิศทางการทำงานของโปรแกรมซึ่งเราสามารถสรุปสัญลักษณ์การทำงานที่ควรทราบได้ ดังนี้ ตาราง2.1 สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของแผนภูมิการไหลของกระบวนการจัดส่งผลไม้ ชื่อสัญลักษณ์ ความหมาย สัญลักลักษณ์ การทำงาาน (Operation) การทำให้เสร็จ การจัดเตรียม การเก็บ (Storage) การเก็บรักษา การตรวจสอบ (Inspection) ตรวจเช็ค การล่าช้า (Delay) การรอ การแทรกแซง การขนส่ง (Transportation) การเคลื่อนที่ การย้ายที่


6 ภาพที่2.1 สัญลักษณ์และความหมายการการเขียนแผนผังปฏิบัติงาน (Flow chart) แนวทางการวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหล 1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ให้ชัดเจน เช่น ลดการปริมาณการเคลื่อนย้ายหรือเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต 2.บ่งชี้กระบวนการที่ต้องศึกษาพร้อมทั้งรายละเอียดของกระบวนการ 3.กำหนดว่าเป็นการวิเคราะห์การไหลของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ — การทำงานบน ผลิตภัณฑ์ตั้งเเต่ชิ้นส่วน วัตถุดิบเข้าสู่สายการผลิตจนประกอบเสร็จเกิดมาเป็นผลิตภัณฑ์ พนักงาน — การ ปฏิบัติงานของพนักงานคนหนึ่งในการทำงาน เคลื่อนย้ายสิ่งของ เเละการเดินเครื่องมือ อุปกรณ์: การโยกย้าย หรือการใช้งาน ของอุปกรณ์ 4.เริ่มวิเคราห์จากจุดที่เริ่มต้นบันทึกงานตามที่เกิดขึ้นให้มีความอย่างละเอียดทุกขั้นตอน พร้อม ทั้งบรรยายสั้นๆ ถึงลักษณะงานที่เกิดขึ้น 5.เก็บข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง 6.โยงเส้นระหว่างสัญลักษณ์จากบนลงล่าง 7.สรุปขั้นตอนการปฏิบัติงานลงในตารางสรุปผล วิธีการสร้างแผนภูมิกระบวนการไลของสินค้าก่อนลงมือสร้างภูมิทุกชนิดจะต้องมีการเขียนรายละเอียด ต่างๆก่อนเสมอ โดยการเขียนกระบวนการการต่างๆ ดังกล่าวมีองค์ประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ชื่อแผนภูมิการไหลของสินค้า 2. คำอธิบายของแต่ละกิจกรรม 3. สถานที่่ 4. ชื่อผู้สร้างแผนภูมิ 5. หมายเลขแผนภูมิ 6. วันที่บันทึก


7 ประโยชน์ของการเขียนแผนผังงาน 1. ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน 2. ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด 3. ช่วยให้การเปลี่ยนแปลง แก้ไข ทำได้อย่างรวดเร็ว 4. ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น วิธีการเขียนแผนผังที่ดี 1. ใช้สัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ 2. ใช้ลูกศรมาแสดงทิศทางการไหลของข้อมูล 3. คำอธิบายในภาพควรเข้าใจง่ายกะทัดรัด 4. ทุกแผนภาพควรจะลูกศรและแสดงทิศทางเข้า-ออก 5. ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลกัน ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน 6. ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม 2.4 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) หรือ ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)เป็นแผนผัง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของปัญหา (ผล) กับปัจจัยต่าง ๆ (สาเหตุ) ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบางครั้งอาจจะ เรียกว่า แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause & Effect Diagram) ซึ่งผู้คิดค้นคือ Dr. Kaoru Ishikawa ถ้าไปอยู่ที่ ญี่ปุ่นส่วนมากจะคุ้นชื่อ Ishikawa Diagram มากกว่า โดยส่วนตัวมองว่าเป็นเครื่องมือหลักที่มีความสำคัญมาก สามารถช่วยค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบ สามารถแบ่งกลุ่มสาเหตุได้ ตัวอย่างผังก้างปลา แสดงสาเหตุที่ท้าให้เกิดของเสียที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต ปัญหาคือพนักงานลืมทำ ซึ่งผลของการลืมเจาะรูก็ คือไม่สามารถน้าพรมไปประกอบเข้ากับตัวรถในขั้นตอนต่อไปได้ ของเสียถูกตีกลับทันที เมื่อทราบถึงปัญหาที่ เกิดขึ้นก็ต้องระดมสมองหาสาเหตุเพื่อหาแนวทางการแก้ไขประโยชน์ของการใช้ผังก้างปลา 1. ใช้เป็นเครื่องมือในการระดมความคิดของทุกคนในกลุ่ม 2. แสดงให้เห็นสาเหตุต่างๆของปัญหาของผลที่เกิดขึ้นที่มีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสำคัญที่จะนำไปปรับปรุง แก้ไข 3. .แผนผังนี้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้มากมายทั้งในหน้าที่การงาน สังคมและชีวิตประจำวัน โครงสร้างของผังก้างปลา ผังก้างปลาหรือผังแสดงเหตุและผลประกอบด้วยส่วนสำคัญ2ส่วนคือส่วนโครงกระดูกที่เป็นตัวปลาซึ่งได้ รวบรวมปัจจัยอันเป็นสาเหตุของปัญหาและส่วนหัวปลาที่เป็นข้อสรุปของสาเหตุที่กลายเป็นตัวปัญหาโดยตาม ความนิยมจะเขียนหัวปลาอยู่ทางขวามือและตัวปลา(หางปลา)อยู่ทางซ้ายมือเสมอ


8 ภาพ2.2โครงสร้างของผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) ขั้นตอนการสร้างผังก้างปลา 1. กำหนดปัญหาหลักที่หัวปลา 2. กำหนดกลุ่มปัจจัยที่จะทาให้เกิดปัญหานั้นๆ 3. ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุในแต่ละปัจจัย 4. หาสาเหตุหลักของปัญหาปัจจัย 5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ 6. ใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น ข้อดีของผังก้างปลา 1. ไม่ต้องเสียเวลาแยกความคิดต่างๆที่กระจัดกระจายของแต่ละสมาชิกแผนภูมิก้างปลาจะช่วยรวบรวบ ความคิดของสมาชิกในทีม 2. ทำให้ทราบสาเหตุหลัก ของปัญหาทำให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาซึ่งทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถูก วิธี ข้อเสียของผังก้างปลา 1. ความคิดไม่อิสระเนื่องจากมีแผนภูมิก้างปลาเป็นตัวกำหนดซึ่งความคิดของสมาชิกในทีมจะมารวมอยู่ที่ แผนภูมิก้างปลา 2. ต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถสูงจึงจะสามารถใช้แผนภูมิก้างปลาในการระดมความคิด(ทฤษฎีก้างปลา, ม.ป.ป)


9 2.5 การควบคุมด้วยการมองเห็น(Visual Control) Visual แปลว่า สิ่งที่มองเห็นด้วยภาพ Control แปลว่า การควบคุม ดังนั้น Visual Control จึง หมายถึงเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารผ่านการมองเห็นโดยแสดงให้เห็นผลการปฏิบัติงานเห็นความผิดปกติหรือ สื่อสารความหมายบางอย่างให้เห็นได้อย่างสะดวกชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายขึ้นVisual Controlจึงอาจอยู่ในรูป สัญลักษณ์แผ่นป้ายสัญญาณไฟแถบสีรูปภาพกราฟฯลฯVisual Controlเป็นเทคนิคการสื่อสารผ่านการมองเห็น ที่อยู่รอบตัวเราและเห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวันทุกๆวันอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเทคนิคง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพสูง ในการสื่อสารเราจึงสามารถมองหาVisual Control ได้ในเกือบทุกสถานที่ เช่น ตามท้องถนน ในโรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ตลาด สวนสนุก พิพิธภัณฑ์ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในบริษัทหรือโรงงานต่าง ๆ สถานที่ราชการต่าง ๆ ฯลฯ เพียงแต่เราอาจไม่ได้สังเกต หรือไม่ได้ให้ความสำคัญ เท่าที่ควรในการนำมาขยายผลและประยุกต์ใช้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน งานที่มีโอกาสผิดพลาดและส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ หรือความเสียหายมากเทคนิค Visual Control จึงเป็นเทคนิค พื้นฐานในการเพิ่ม Productivity ที่สามารถช่วยช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความ ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การแบ่งประเภทของ Visual Control สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามประโยชน์ในการ ประยุกต์ใช้ เป็นกลุ่ม Visual Control เพื่อความปลอดภัย เช่น สัญลักษณ์เตือนความอันตรายเพื่อให้เกิดความปลอดภัย Visual Control เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เช่น ตัวอย่างลักษณะงานที่ดี งานที่ไม่ได้คุณภาพ Visual Control เพื่อการบริหารสินค้าคงคลัง เช่น ป้ายบอกแต่ละประเภทของสินค้า Visual Control เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น ขีดจำกัดของ ของเครื่องจักร Visual Control เพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น ป้ายโฆษณาโปรโมท ตัวสินค้า Visual Control เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน เช่น กราฟแสดงวิธีการปฏิบัติงานของพนักงาน 2.6 คู่มือปฏิบัติงาน (Work Instructions (WI)) คือ คู่มือในการทำงาน หรือคู่มือสำหรับการปฏิบัติงาน เป็นเอกสารที่เป็นลาย ลักษณ์อักษร หรือ ภาพกราฟิก ที่ให้คำแนะนำอย่างละเอียดทีละขั้นตอนสำหรับการปฏิบัติงาน หรือกระบวนการ ทำงานต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วจะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานนั้นดำเนินการไปอย่าง ถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : Work Instruction (WI) จะให้คำแนะนำและ วิธีการอย่างละเอียด ชัดเจน สำหรับการปฏิบัติงานหรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาด และเพิ่ม ประสิทธิภาพของงานที่ออกมาให้ดีมากยิ่งขึ้น • เป็นการฝึกอบรบพนักงาน: สามารถใช้ Work Instruction (WI) เป็นเครื่องมือฝึกอบรมสำหรับพนักงาน ใหม่ได้ดี ช่วยให้เรียนรู้ทักษะและขั้นตอนที่จำเป็น สำหรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง


10 2.7 ข้อมูลองค์กรกรณีศึกษา แนวคิดการบริหารงานของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด การบริหารงานของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้ ศึกษาวิจัย จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ดังนี้ 2.7.1 ประวัติความเป็นมาของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 2.7.2 วิสัยทัศน์พันธกิจวัตถุประสงค์ และนโยบาย 2.7.3 ที่มาของบริการฝากส่งสิ่งของที่มีการเสียหายง่ายและเทคนิคการตลาค 2.7.4 บริการฝากส่งสิ่งของที่มีการเสียหายง่าย ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 2.7.1ประวัติความเป็นมาของบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด (บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, htp:// www.thailandpost.com, 2557) จุดเริ่มขั้นของการสื่อสารใน สมัยก่อนนั้น เกิดจากการสร้างเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้า โดยมีการติดต่อข่าวสารกันอย่างง่ายทั้งผ่าน ทางพ่อค้าใช้ม้าเร็วจนถึงการจัดตั้งคนเร็วไว้ตามเมืองสำคัญก็ถือเป็นพัฒนาการทางการส่งข่าวสารอย่างง่ายอีก ช่องทางหนึ่งและเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงยุดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นใน ปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัว หมื่นมหาดเล็กเวรสิทธิ์ ได้มีการจัดทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเข้าอยู่หัว ถวาย คำแนะนำให้มีการเปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทยโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชดำริเห็นชอบ จึงแต่งตั้งให้ สมเด็จพระเข้าน้องยาเธอ เข้าฟ้ากาณุรังมีสว่างวงศ์กรมหลวงภาณุพันธุวง หัวรเคช ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือพิมพ์รายวัน "ข่าวราชการ" ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ กรมไปรษณีย์เมื่อสมเด็จพระเข้าน้องยาเธอเช้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ ได้ทรงวางโครงการบูละเตรียมการไว้ พร้อมที่จะเปิดบริการไปรษณีย์ได้แล้ว ก็ใด้ประกาศเปิดรับฝาก ส่งจดหมายหรือหนังสือ เป็นการทดลองใน ที่ทำ การแห่งแรกนี้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์สำหรับจังหวัดพระนคร ด้วยเรียกกันว่า "ไปรษณีย์อาคาร"ต่อมาในปี พ.ศ.2441 การไปรษณีย์เป็นบริการที่สาธารณะจำเป็นต้องมีระเบียบกฎข้อบังคับ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการ และเข้าหน้าที่ผู้ดำเนินบริการทราบและทำการปฏิบัติเมื่อการไปรษณีย์โทรเลขได้ กสทต่อมา สำนักงานใหญ่ย้ายมาอยู่ที่ถนนแข้งวัฒนะ ซึ่ง กสท. ได้ปรับปรุงและพัฒนาบริการให้เจริญก้าวหน้ามา โดยตลอดจนเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำที่ยิ่งใหญ่มีสักยภาพเครือข่ายระบบและคุณภาพบริการระดับมาตรฐานสากล จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เทียบเท่าภาคเอกชน ซึ่ง กสท.เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการ ซึ่งมีการจดทะเบียนขัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 14สิงหาคม 2546 นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประวัติศาสตร์การไปรษณีย์อีกครั้งหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพนักงานที่ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อการปฏิรูปกิจการไปรษณีย์ นำสู่ บริการที่ตอบสนองทุกความต้องการของประชาชน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน มีรายได้ที่เลี้ยงตัวเองเองได้ ตลอดไป


11 2.7.2 วิสัยทัศน์พันธกิจวัตถุประสงค์ และนโยบาย วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นผู้นำในธุรกิจไปรษณีย์และการให้บริการ Logistics ครบวงจรในอาเซียน พันธกิจ(Mission) 1. ให้บริการจัดส่งสินค้าและข่าวสารทั่วประเทศที่เข้าถึงได้อย่างสะดวก 2. พัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจไปรษณีย์และ Logistics ของอาเซียน 3. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการพัฒนา มีกำไรอย่างยั่งยืน รักษาคุณภาพของสินค้าให้คง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และแสวงหาโอกาสในการดำเนิน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรทุกระดับ มีความโปร่งใสและสามารถ ตรวจสอบได้ 3. เพื่อวางรากฐานการพัฒนาองค์กร ให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวการณ์ แข่งขันได้อย่างมั่นคง โดยพัฒนาบุคลากรให้สามารถเรียนรู้และทำงานในรูปแบบ ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นโยบาย 1. ด้านการให้บริการ ให้บริการไปรษณีย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่อง ที่มีคุณภาพดีรวดเร็ว ตรงเวลา อัตรา ค่าบริการเหมาะสม 2. ด้านการตลาด มุ่งเน้นการตลาดเชิงรุกเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าทุกระดับ 3. ด้านการเงินและการลงทุนดำเนินการให้พึ่งตนเองได้ในด้านการเงินและสามารถลงทุนขยายงานต่อไปใน อนาคต 4. ด้านบุคลากร บริหารบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม 2.7.3 ที่มาของบริการฝากส่งสิ่งของที่เทคนิคการตลาด (วารสารไปรษณีย์ไทย, ฉบับที่ 128 กันยายน 2557, น. 6) "ตลาดขนส่ง" เป็นอีกคราวรุ่งหนึ่งของ ปณท มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีและมีแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในกลุ่มบริการขนส่งในประเทศและกลุ่ม บริการโลจิสติกส์เพื่อรองรับความห้องการใช้บริการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจ พร้อมทั้งพัฒนา ระบบงานและมาตรฐานบริการให้เหนือกว่า คู่แข่งเพื่อรองรับการแข่งขันจากการเปิดเขตการค้าตามกรอบ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean EconomicCommunity: AEC) อำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าประเภทอาหาร ผลผลิตทางการเกษตร และของสดให้สามารถคง ความสดใหม่เป็นบริการที่ยกระดับมาจากการส่งพัสดุ และคุณภาพตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง พร้อมช่วยลด ต้นทุนด้านค่าขนส่งให้กับผู้ประกอบการ และเกษตรกรในการส่งของไปยังพื้นที่ห่างไกล รวมถึงเพิ่มความ สะดวกสบายให้กับคนไทยในการสั่งซื้อสินค้าทั่วประเทศได้อย่างมั่นใจในช่วงการเกิด COVID – 19 ที่คนขายไม่ สามารถขายของได้ คนซื้อไม่กล้าออกไปเดินตลาดออกซื้อของเพราะกลัวติดเชื้อไวรัส COVID – 19 ไปรษณีย์ ไทยจึงได้นำร่องบริการขนส่งสินค้าหลากหลายประเภท


12 2.7.4 บริการการรับฝากส่งผลไม้มีโอกาสเสียหายง่ายจากบรรจุภัณฑ์ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ด้วย ปณท เห็นชอบดำเนินงานโครงการจัดส่งผลไม้ผ่านไปรษณีย์ไทย ของกรมการค้าภายในกระทรวง พาณิชย์โดย ปณท เป็นผ็ให้บริการ EMS ในประเทศเทศ ในธุรกิจไปรษณีย์ เป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ใช้บริการฝาก ส่งผลไม้ที่บรรจุในกล่องสำเร็จรูป (กล่อง DIT) หลักการและเงื่อนไขการให้บริการ บริการฝากส่งสิ่งผลไม้ คือ บริการที่ ปณท รับฝากส่งผลไม้ทางไปรษณีย์ประเทศ โดยมีหลักฐานการรับฝาก การ ส่งต่อ และการนำจ่าย สามารถติดตามตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานนับตั้งแต่ขั้นตอนการรับฝาก การ ส่งต่อ การเตรียมการนำจ่าย และการนำจ่ายหากฝากส่งผลไม้ ดังกล่าว เกิดการสูญหายหรือเสียหายเพราะ ความผิดของทางไปรษณีย์ ปณท จะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ปณท กำหนดฝากส่ง สิ่งของขนาดใหญ่มีสำดับศักดิ์ในการส่งต่อและนำจ่าย รองจากพัสดุไปรษณีย์ในประเทศฝากส่งผลไม้ มีน้ำหนัก อย่างสูงในการฝากส่งกล่อง DIT ขนาดM น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อกล่อง การบรรจุภัณฑ์นอกจากจะมีความสำคัญในด้านการรักษาคุณภาพของสินค้าไม่ให้เสื่อมสภาพได้ง่ายแล้ว และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอย่างมาก ต่อมาการบรรจุภัณฑ์ได้มีการกลายมาเป็นกิจกรรมที่สำคัญทาง ธุรกิจ การพัฒนาและการหีบห่อได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่จบสิ้นทำให้ผู้บริหารกิจการต้องให้ความสนใจ เพื่อโอกาสด้านการจัดจำหน่ายในการเสนอรูปร่างของบรรจุภัณฑ์ที่ดีและมีวัตถุดิบใหม่ที่นำมาแทนวัตถุดิบเก่า เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานและช่วยเพิ่มยอดขาย การขนย้ายบรรจุภัณฑ์นอกจากจะมีการขนย้ายกัน เป็นจำนวนมากแล้ว ผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องมีการบรรจุลงห่อหรือบรรจุภัณฑ์ก่อนที่จะทำการขนย้าย หลักการดำเนินการฝากส่ง การรับฝาก สิ่งที่ผู้ฝาส่งต้องดำเนินการก่อนฝากส่ง 1.ปณท เป็นผู้จัดการทำกล่อง สำเร็จรูป (กล่อง DIT) เอกสารในการจัดส่ง 2.ผู้ใช้บริการ ต้องบรรจุผลไม้ลงในกล่องสำเร็จรูป (กล่อง DIT)ที่ ปณท จัดเตรียมไว้ตามขนาดที่เหมาะสม 3.บรรจุ/ห่อหุ้ม สิ่งของทั้งภายในและภายนอกให้มั่นคงแข็งแรง 4.เขียนที่อยู่ผู้ฝากส่งและผู้รับให้ชัดเจนและตรวจสอบความถูกต้อง 5.ทำการจัดส่งกับเจ้าหน้าที่หน้าเคาน์เตอร์ สิ่งที่เจ้าหน้าที่รับฝากต้องปฏิบัติ 1.เจ้าหน้าที่ชั่งน้ำหนักสิ่งของและตรวจสอบความถูกต้องของบรรจุภัณฑ์ 2.เจ้าหน้าที่รับบริการผ่านระบบ CA POS เลือกบริการEMS แล้วใส่รหัสไปรษณีย์ตามปลายทาง 3.เจ้าหน้าที่ใส่รหัสการให้บริการของราคาผลไม้ตามน้ำหนักของกล่อง DIT และใส่ข้อมูลขนาดกล่องและชื่อผู้รับ สินค้า 4..เจ้าหน้าที่ผนึกสติ๊กเกอร์หมายเลข EMS ฝากส่ง และดำเนินการบริการรับฝาก การส่งต่อ 1. ทำรายการส่งมอบ โดยระบุเลขที่ EMS ในใบ ป.210 หรือบัญชีส่งมอบ จากระบบ CA POS 2. นำกล่องพัสดุEMS เข้าระบบ Track & Trace 3. จัดทำป้ายปากถุงตามรหัสไปรษณีย์ปลายทางในระบบ Track & Trace


13 การนำจ่าย 1. ตรวจสอบหลักฐานผู้รับหรือผู้แทนผู้รับ 2. ให้ผู้รับตรวจสอบสภาพก่อนรับ 3. ให้ผู้รับลงนามรับในบัญชีนำจ่าย 4. บันทีกการนำจ่ายเข้าระบบ Track & Trace ภาพที่ 2.3 ระบบ CA POS (Point of sale) ภาพที่ 2.4 ใบรับฝากบริกการ ภาพที่ 2.5 การยิงพัสดุเข้าระบบนำจ่าย Track & Trace


14 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วรชนก เต็งวงษ์วัฒนะ (2558)ทำการศึกษาเรื่องคุณภาพการให้บริการการตระหนักถึงราคาภาพลักษณ์ ตราสินค้าและการบอกต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของบริษัทเอกชนภายในประเทศ ไทยของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการ การ ตระหนักถึงราคาภาพลักษณ์ตราสินค้า และการบอกต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของ บริษัทเอกชนภายในประเทศไทยของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการ ทดสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานครที่ใช้ บริการขนส่งพัสดุของบริษัทเอกชนภายในประเทศไทย จำนวน 200 ราย และสถิติ เชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบ สมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาได้พบว่า ปัจจัย คุณภาพการให้บริการในกดาน ความน่าเชื่อถือด้านการให้ความมั่นใจ ด้านตอบสนองความต้องการ และการตระหนักถึงราคาส่งผลต่อการ ตัดสินใจใช้บริการของขนส่งพัสดุของบริษัทเอกชนภายในประเทศไทยของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยร่วมกัน พยากรณ์การตัดสินใจที่จะเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของ บริษัทเอกชนในประเทศของผู้มาใช้บริการ กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 74.0 ส่วนปัจจัย คุณภาพการ ให้บริการด้านการเป็นรูปธรรมด้านความเข้าใจการรับรู้ความต้องการ สุดารัตน์ ว่องกิตติกร(2563)สกุลการทําวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะศึกษาถึงสาเหตุที่สําคัญ และส่งผลกระทบต่อการล่าช้าของเที่ยวบินมากที่สุด 3 สาเหตุจากการเก็บข้อมูลในปี2017-2018 (1) รถบัส รับส่งผู้โดยสารไม่เพียงพอกับจํานวนผู้โดยสาร (2) ระยะเวลาการสั่งซื้ออะไหล่อากาศยานล่าช้า (3) ข้อมูลการ บินไม่อัพเดทโดยจากการศึกษาในครั้งนี้จึงได้นําแนวทางในการนําแนวคิดและทฤษฎีเครื่องมือ การตัดสินใจ ลงทุนมาใช้ในกระบวนการเพิ่มจํานวนรถบัสที่ใช้รับ-ส่งผู้โดยสารจาก Boarding Gate ไปยังลานจอดเครื่องบิน ซึ่งเดิมทางบริษัทมีรถบัสจํานวน2คันเครื่องมือต่อไปจะเป็นการนําเอาระบบการจัดการ ABC Analysis การ วิเคราะห์และจัดกลุ่มด้วยระบบ ABC นํามาใช้จัดการเรื่องอะไหล่คงคลังเพื่อลดการล่าช้าในส่วนของการ สั่งซื้อ อะไหล่และเครื่องมือสุดท้ายจะเป็นการนําเอาWI(Work Instruction)มาใช้ในส่วนงานของ Flight Operation ซึ่งจากเดิมจะมี SOP(Standard Operation Procedures) ของงานอยู่แล้วแต่ยังขาดตกบกพร่องในเรื่อง การควบคุมดูแลอุปกรณ์เครื่องมือการทํางานเมื่อเกิดการชํารุดเสียหายหรือข้อมูลไม่อัพเดท สุพัฒตรา เกษราพงศ์(2550) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์และควบคุมสาเหตุที่มี ผลกระทบต่อคุณภาพของกระบวนการผลิตถุงเท้าโดยประยุกต์ใช้เทคนิค (Failure Modeand Effect Analysis: FMEA) โดยงานวิจัยเริ่มจากศึกษากระบวนการผลิตโดยใช้แผนภูมิการไหลของกระบวนการ(Flow Process Chart) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา เมื่อพบปัญหาแล้วใช้เทคนิคแผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพ ต่อมาทำการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ ด้านคุณภาพสำหรับกระบวนการผลิตโดยใช้เทคนิค (Process Failure Mode and Effect Analysis :PFMEA) ผลการวิเคราะห์พบว่าเกิดปัญหาของเสียในกระบวนการย้อมเส้นด้าย, กรอเส้นด้าย,ถักถุงเท้า,เย็บปิดปลายและ อบหลังจากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญการผลิตวิเคราะห์เพื่อประเมินความรุนแรงของข้อบกพร่อง(Severity:S) การเกิด ข้อบกพร่อง(Occurrence:C) และการควบคุมกระบวนการ (Detection:D) เพื่อคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยงของ ข้อบกพร่อง (Risk Priority Number : RPN) ซึ่งค่า RPN ที่มีค่ามากที่สุด คือปัญหาเส้นด้ายขาดของแผนกกรอ เส้นด้ายมีค่า RPN เท่ากับ 400ภายหลังการปรับปรุงในด้านการตรวจสอบคุณภาพ เส้นด้าย , ด้านการตั้งค่า ความเร็วรอบของเครื่องจักร และด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรทำให้ค่า RPN ลดลงเหลือ 280


15 อภิชญา พวงมณี(2565) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานการรับ ฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่ 2)วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ในการให้บริการฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่ 3)เพื่อเสนอ แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่ กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี โดยใช้เครื่อง Work Instructions (WI) มาปรับปรุงและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้ เครื่องมือ Flow chart ในการแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานการฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่Logispost บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี วิเคราะห์ข้อมูลหาสาเหตุปัญหาด้วยเครื่องมือแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram)


16 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานในการให้บริการ ฝากส่งผลไม้เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานเช่นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มา เหมาะสม ความล่าช้าในการให้บริการ ความเสียหายของสิ่งของที่ฝากส่งด้วยบริการฝากส่งผลไม้โดยนำข้อมูล มาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน 1.1 วิธีดำเนินงานวิจัย 1.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 วิธีดำเนินงานวิจัย ศึกษาวิธีการจัดส่งผลไม้ วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้การจัดส่งผลไม้เสียหาย ดำเนินการปรับปรุงและติดตามผล เปรียบเทียบผลก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง สรุปผลข้อมูล


17 ภาพที่ 3.1 แผนผังแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี


18 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ผลไม้ ของการจัดส่งผลไม้ในบริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่ง ในการศึกษาครั้งนี้จัดทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งผลไม้ในบริษัทไปรษณีย์ไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3.3เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะนำมาใช้ทำการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 3.3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ งานขาออกของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี 3.3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่รวบรวมได้จากการเก็บยอดพัสดุชำรุดเสียหายของแต่ละ เดือน โดยมีภาพตัวอย่างและยอดพัสดุการชำรุดเสียหาย ดังนี้ ภาพที่ 3.2 ตัวอย่างการห่อหุ้มผลไม้ ภาพที่ 3.3 ตัวอย่างการชำรุดเสียหาย ภาพที่ 3.4 ตัวอย่างการชำรุดเสียหาย


19 จากตารางแสดงข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลสัปดาห์ที่ 1 วันที่ 3-7 จำนวน 4 ชิ้น สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 10-14 จำนวน 6 ชิ้น สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 17-21 จำนวน 4 ชิ้น สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 24-28 จำนวน 7 ชิ้น สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2566 - 4 สิงหาคม พ.ศ.2566 จำนวน 10 ชิ้น สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 7-11 จำนวน 8 ชิ้น สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 14-18 จำนวน 9 ชิ้น สัปดาห์ที่ 8 วันที่21-25 สิงหาคมพ.ศ.2566 จำนวน 7 ชิ้น สินค้าที่เข้ามารับบริการเฉลี่ย ใน8สปัดาห์ เท่ากับ17 ชิ้น ต่อสัปดาห์ยอดสินค้าชำรุดเสียหายเฉลี่ย ใน8สัปดาห์ เท่ากับ 6 ชิ้น ต่อสัปดาห์ อัตราการเสียหายเท่ากับ 40.74% ตารางที่ 3.1 ตารางแสดงยอดพัสดุชำรุดเสียหายในเดือนกรกฎาคม- เดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 สัปดาห์ (เดือนกรกฏาคม - เดือนมิถุนายน พ.ศ.2566) จำนวนสินค้าที่เข้ามาจัดส่ง ยอดพัสดุชำรุดเสียหาย 1 12ชิ้น 4 ชิ้น 2 15ชิ้น 6 ชิ้น 3 17ชิ้น 4 ชิ้น 4 21ชิ้น 7 ชิ้น 5 22ชิ้น 10 ชิ้น 6 16ชิ้น 8 ชิ้น 7 15ชิ้น 9 ชิ้น 8 17ชิ้น 7 ชิ้น รวม 135ชิ้น 55ชิ้น อัตราเฉลี่ย8สัปดาห์ 17ชิ้น 6ชิ้น


20 3.5การวิเคราะห์ข้อมูล 3.5.1ศึกษาวิธีการจัดส่งผลไม้ ของบริษัทไปรษณีย์ไทย สาขาธัญบุรี 3.5.2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือก้างปลามาวิเคราะห์ปัญหา (Fish Bone Diagram) มาวิเคราะห์ สาเหตุของปัญหาและแก้ปัญหา 3.5.3 ทำงานปรับปรุงโดยใช้เครื่องมือ Visual Control และWork Instructions (WI มาปรับปรุงและ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของการรับฝากส่งผลไม้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี 3.5.4 เปรียบเทียบผลก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง 3.5.6 สรุปผล


21 บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษากระบวนการขั้นตอนวิธีการทำงาน การเก็บข้อมูล จากการศึกษาทฤษฎีกระบวกการ ทำงาน ( Flow Chart ) เพื่อศึกษาการฝากส่งผลไม้การทำงานพนักงาน ภายในบริษัทคลังไปรษณีย์ไทย บทนี้ เป็นการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกระบวนการจัดส่งผลไม้ โดยปัญหาที่ กล่าวข้างต้นนั้นสามารถแสดงผลการศึกษา ได้ดังนี้ 4.1 ผลการวิเคราะห์หาสาเหตุ 4.2 ขั้นตอนการปรับปรุง 4.3 เปรียบผลก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง 4.1ผลการวิเคราะห์หาสาเหตุ การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการฝากส่งผลไม้กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขา ธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำงานและปัญหาในกระบวนการทำงาน เพื่อหาแนวทางการเพิ่ม ประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน จึงใช้เครื่องมือก้างปลามาวิเคราะห์ปัญหา (Fish Bone Diagram) มา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและแก้ปัญหาจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ากระบวนการทำงานฝากส่งผลไม้ใน ส่วนการทำงานด้านห่อหุ้มพัสดุสิ่งของก่อนทำการจัดส่ง ผู้มาใช้และพนักบริการขาดความรู้ ความเข้าใจในตัว เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ ในการห่อหุ้มสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ทำให้พัสดุเกิดการชำรุดเสียหายในระหว่าง การขนส่งเนื่องจากพัสดุสิ่งของที่ฝากส่งนั้นมีโอกาสเสียหายได้ง่าย และผลไม้มีหลายประเภท ทำให้การห่อหุ้ม ไม่ได้มารตราฐาน การเลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ก็ต่างออกไป 4.1.1การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยแผนภูมิ ก้างปลา(Fish Bone Diagram) จากการวิเคราะห์หาสาเหตุของการจัดส่งผลไม้ บริษัทไปรษณีย์ไทย สาขาธัญบุรี สาเหตุมีหลายประการ แบ่ง เป็นได้5อย่าง(4M1E) คือ 1.Man 2.Material 3.Method 4.Machin 5.Enironmetพบว่าสาเหตุหลักเกิดจาก Man คือพนักงานในบริษัทขาดรู้ และความเข้าใจในการบรรจุสินค้าลงในบรรจุภัทฑ์อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ สินค้าอาจเกิดความเสียหายได้


22 ภาพ4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือแผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) 4.2ขั้นตอนการปรับปรุง จากปัญหาที่พบว่ากระบวนการทำงานฝากส่งผลไม้แบบEMS ในส่วนการทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ ผู้ศึกษาวิจัย จึงเลือกใช้เครื่องมือVisual Controlมาสื่อสารในการทำงานโดยการจัดทำป้ายคู่มือในการทำงานและเครื่องมือ (Work Instructions WI) มาปรับปรุงและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยการบอกวิธีการทำงานที่ ถูกต้องของแต่ละขั้นตอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรับฝากส่งผลไม้ แบบEMSบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี 4.2.1การควบคุมด้วยการมองเห็น(Visual Control) การแก้ปัญหาด้วยการมองเห็น (Visaul Control)เพื่อมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยวิธีการทำป้ายบอกหนักงานในแต่ละจุดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องสื่อสารให้แก่พนักงาน ตารางที่4.1การแก้ปัญหาด้วยการมองเห็น(Visaul Control) รูปภาพก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง คำอธิบาย เพื่อให้พนักงานได้รู้ถึงรหัสไปรษณีย์ เพื่อให้สดวกในและห้สินค้าไปได้ถูกที่ ก่อนปรับปรุง:มีความละเอียดไม่ได้แบ่ง โซน หลังปรับปรุง:มีความชัดเจนในการแบ่ง โซนทำให้การทำงานมีความรวดเร็วและ สดวกมากขึ้น


23 รูปภาพก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง คำอธิบาย ป้ายเตือนให้ระวัง ในการใช้อุปกรณ์ ให้ถูกต้องและเหมาะสม หรือห้ามใช้ อุปกรณ์นี้กับสิ่งนี้ เพื่อไม่ให้เกิด อันตรายและข้อผิดพลาด ก่อนปรับปรุง:ไม่มีการจัดทำ หลังปรับปรุง:ทำให้การทำงานมี ความปลอดภัยในการทำงาน ป้ายเตือน ให้ระวังตัวสินค้า ห้ามโยน หรือทับตัวสินค้า อาจเกิดความ เสียหายกับตัวสินค้าได้ ก่อนปรับปรุง:ไม่มีการจัดทำป้าย หลังปรับปรุง:ทำให้พนักงานรู้ถึงโซน ของสินค้าที่มีโอกาสเสียหายได้ง่าย เกิดความระวังในการทำงานมากขึ้น นำอุปกรณ์ที่นำออกไปใช้มาเก็บที่ เดิมเพื่อให้อุปกรณ์ไม่หายและสะดวก ต่อการใช้ครั้งต่อไป ก่อนปรับปรุง:ไม่มีการจัดทำ หลังปรับปรุง:ทำให้การทำงานสดวก ในการใช้งานอุปกรณ์มาขึ้น โอกาสใน การหายน้อยลง วางสินค้าให้ตามประเภทแบ่งได้3 ประเภท 1.Ems 2.พัสดุธรรมดา 3.พัสดุลงทะเบียน หลังปรับปรุง: ก่อนปรับปรุง:ไม่มีการจัดทำ หลังปรับปรุง:การวางสินค้าไม่ปนกัน และทำให้พนักงานทราบถึงจุดวาง สินค้า ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี


24 รูปภาพก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง คำอธิบาย ป้ายคู่มือพนักงานเบื้องต้นในการ ทำงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปตาม ระบบที่วางและได้ประสิทธิภาพ ก่อนปรับปรุง:ไม่มีการจัดทำ หลังปรับปรุง:ทำให้พนักรู้ถึงขั้นตอน เบื้องต้นในการทำงานำด้สดวกมากขึ้น 4.2.3คู่มือการปฏิบัติงาน : Work Instructions (WI) เรื่อง ขั้นตอนการปฏิบัติงานฝากส่งผลไม้ของพนักงาน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี ผู้จัดทำ : นายณัฐภูมิ ขัดชมภู ผู้ตรวจสอบ : สุรศักดิ์ทานคำ หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์ธัญบุรี ผู้อนุมัติ : สรุศกัดิ์ทานค า หัวหน้าที่ท าการไปรษณีย์ธัญบุรี ภาพ4.2 ภาพคู่มือการปฏิบัติงาน : Work Instructions (WI) หน้าที่1 ไม่มี


25 ภาพ4.3 ภาพคู่มือการปฏิบัติงาน : Work Instructions (WI) หน้าที่2 ภาพ4.4 QR Codeคู่มือการปฏิบัติงาน : Work Instructions (WI)


26 4.3 เปรียบผลก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง จากปัญหาที่พบว่ากระบวนการทำงานฝากส่งผลไม้แบบEMS ในส่วนการทำงานด้านห่อหุ้มสิ่งของก่อน ทำการจัดส่ง ลูกค้าหรือผู้รับบริการและพนักงานขาดความรู้ ความเข้าใจในตัวเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ ใน การห่อหุ้มสิ่งของ ทำให้สิ่งของเกิดการชำรุดเสียหายในระหว่างการขนส่ง เนื่องจากสิ่งของที่ฝากส่งนั้นมี หลากหลายรูปแบบ และหลายประเภท ทำให้การห่อหุ้มไม่เหมือนกัน การเลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ก็ ต่างออกไป ผู้ศึกษาวิจัยจึงเลือกใช้เครื่องมือVisual Controlมาสื่อสารและคู่มือ (Work Instructions WI) มา ปรับปรุงและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของการรับฝากส่งผลไม้ แบบEMSบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรีด้วยวิธีการใช้Visual Control ทำป้ายบอกพนักงานในการทำงาน และไม่ให้เกิดปัญหาและใช้คู่มือ (Work Instructions WI) มาเป็นคู่มือในการทำงาน บอกวิธีการแต่ละขึ้นตอนให้การทำงานมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาวิจัย ได้ทำการเก็บข้อมูลหลังจากพนักงานได้ศึกษาคู่มือการทำงานของกระบวนการฝากส่งผล ไม้EMS และปฏิบัติตามขั้นตอนที่คู่มือปฏิบัติงานระบุไว้ ทำให้การทำปฏิบัติงานนั้นมีประสิทธิเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการเลือกเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ในการห่อหุ้มสิ่งของที่ไม่เหมาะกับตัวสิ่งของที่ลูกค้านำมาฝากส่ง ทำให้ เกิดพัสดุชำรุดเสียหายนั้นลดลง โดยผู้ศึกษาวิจัยได้ทำตารางการเปรียบเทียบข้อมูล ดังนี้ วันที่ 11-15 จำนวน 2 ชิ้น สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 18-22 จำนวน 4 ชิ้น สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 25–29 จำนวน 3 ชิ้น สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 2-6เดือนตุลาคม พ.ศ.2566จำนวน 6 ชิ้น สัปดาห์ที่ 6 วันที่9-13 จำนวน 5ชิ้น สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 16-20 จำนวน 4 ชิ้น สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 23-27 ตุลาคม พ.ศ.2566 จำนวน1ชิ้น


27 ตารางที่ 4.2 ตารางแสดงยอดพัสดุชำรุดเสียหาย ก่อนการปรับปรุง เดือนกรกฏาคม – เดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 และยอดพัสดุชำรุดเสียหายหลังทำการปรับปรุง เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม พ.ศ.2566 ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง สัปดาห์ (เดือนกรกฏาคม - เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566) ยอดสินค้าเข้า ยอดพัสดุชำรุดเสียหาย สัปดาห์ (เดือนกันยายน - เดือน ตุลาคม พ.ศ.2566) ยอดสินค้าเข้า ยอดพัสดุชำรุดเสียหาย 1 12ชิ้น 4 ชิ้น 1 13ชิ้น 3ชิ้น 2 15ชิ้น 6 ชิ้น 2 17ชิ้น 2ชิ้น 3 17ชิ้น 4 ชิ้น 3 16ชิ้น 4ชิ้น 4 21ชิ้น 7 ชิ้น 4 15ชิ้น 3ชิ้น 5 22ชิ้น 10 ชิ้น 5 21ชิ้น 6ชิ้น 6 16ชิ้น 8 ชิ้น 6 19ชิ้น 5ชิ้น 7 15ชิ้น 9 ชิ้น 7 18ชิ้น 4ชิ้น 8 17ชิ้น 7 ชิ้น 8 17ชิ้น 1ชิ้น รวม 135ชิ้น 55ชิ้น รวม 136ชิ้น 28ชิ้น เฉลี่ยใน8สัปดาห์ 17ชิ้น 7ชิ้น เฉลี่ยใน8สัปดาห์ 17ชิ้น 4ชิ้น คิดเป็นเปอร์เซ็นเฉลี่ยการเสียหาย 40.74% คิดเป็นเปอร์เซ็นเฉลี่ยการเสียหาย 23.52%


28 จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนการปรับปรุง 8 สัปดาห์ เดือนกรกฎาคมพ.ศ.2566 คิดการเสียหายเป็น 32.3% เดือนสิงหาคมพ.ศ.2566 คิดการเสียหายเป็น 48.57% ยอดสินค้าเข้า ทั้งหมด135ชิ้น ยอดพัสดุชำรุดเสียหาย รวม 55 ชิ้นคิดความเสียหายเป็น 40.74% เฉลี่ย8สัปดาห์ของเข้าต่อสัปดาห์ประมาณ17ชิ้น ของชำรุดเสียหายประมาณ7ชิ้น คิดเป็น 41.17% หลังทำการปรับปรุง 8 สัปดาห์ เดือนกันยายนพ.ศ.2566คิดความเสียหายเป็น 19.67% เดือนตุลาคมพ.ศ.2566คิดความเสียหายเป็น 21.33% ยอดสินค้าเข้าทั้งหมด136ชิ้น ยอดพัสดุชำรุดเสียหาย รวม 28 ชิ้นคิดความเสียหายเป็น 20.59% เฉลี่ย8สัปดาห์ของเข้าต่อสัปดาห์ประมาณ17ชิ้น ของชำรุดเสียหายประมาณ4ชิ้น คิดเป็น 23.52% สามารถลดพัสดุชำรุดเสียหายเฉลี่ย ได้ประมาณ 17.65%ของความเสียหายทั้งหมด แสดงข้อมูลตามแผนภูมิ ดังนี้ ภาพ4.5 กราฟแท่งแสดงอัตราความชำรุดเสียหายของการจัดส่งผลไม้ 32.3 48.57 19.67 21.33 0 10 20 30 40 50 60 เ ดื อ น ก ร ก ฏ า ค ม เ ดื อ น สิ ง ห า ค ม เ ดื อ น กั น ย า ย น เ ดื อ น ตุ ล า ค ม ก่อนปรับปรุ งหลังปรับปรุ ง ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง จ านวน(%) เวลา(เดือน)


29 บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยอภิปรายและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพคนในกระบวนการฝากส่งผลไม้กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานการรับฝากส่งผลไม้ และวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางในนการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานไปรษณีย์ไทย แผนกงาน ขาออกEMS บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี โดยใช้เครื่องมือก้างปลา (Fish Bone Diagram) มาวิเคราะห์หาสาเหตุของ ปัญหา ในกระบวนการฝากส่งผลไม้แบบEMS พบว่าพนักงานและผู้มาใช้บริการขาดความรู้ ความเข้าใจใน เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ในการห่อหุ้มส่งของ เนื่องจากสิ่งของที่ฝากส่งที่หลากหลายประเภท และขนาดไม่ เท่ากัน ทำให้การห่อหุ้มมีความแตกต่างกัน เมื่อพนักงานเลือกใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาพัสดุ ชำรุดเสียหายระหว่างการขนส่ง และการเคลื่อนย้าย จึงนำแนวคิดเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อเป็นแนวในการเพิ่มประสิทธิในการทำงาน ผลวิจัยนี้มีการนำเครื่องมือ Flow chart มาใช้แสดงขั้นตอนการ ปฏิบัติงานของกระบวนการรับฝากส่งผลไม้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกใช้เครื่องมือ Work Instructions (WI) และ Visaul Control มาปรับปรุงและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของการรับฝาก ส่งสิ่งผลไม้บริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด สาขาธัญบุรี จากผลการศึกษาการใช้เครื่องมือ Work Instructions (WI) มาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กานติมา ภูมิวลัย (2561) ได้ทำ คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านเอกสาร ซึ่งสรุปได้ว่าการทำคู่มือปฏิบัติงาน Work Instructions (WI) ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และได้ใช้การควบคุมด้วยมองเห็น ( Visaul Control ) เป็นระบบการควบคุมการทำงานให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงาน เป้าหมาย ผลลัพธ์การทำงานได้ง่ายและขัดเจน รวมถึงเห็นการผิดปกติต่าง ๆ และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ใช้ ป้าย สัญลักษณ์สีและอื่น ในสื่อสารให้พนักงานรู้ถึงข้อมูลที่สำคัญของสถานที่ทำงาน Visual Control ในทิศทาง เตียวกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร 5.2 อภิปรายผลการวิจัย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อลดการสูญเสียหายของกล่องผลไม้ในการ จัดส่ง หลังจากได้ทำการปรับปรุงแล้วนั้น สามารถลดการสูญเสียได้ปริมาณมากในการดำเนินงานในด้านนี้โดย ใช้ทฤษฎีแนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยประยุกต์ใช้เทคนิครูปแบบคู่มือปฎิบัติงาน Work Instructions จะสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ อภิชญา พวงมณี (2565)ในการเพิ่มประสิทธิภาพคนใน กระบวนการฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่ เพื่อศึกษากระบวนการจัดส่งผลไม้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขา ธัญบุรี ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการฝากส่งผลไม้โดยวิธีการเปรียบเทียบกระบวนการทำงานก่อนปรับปรุง และหลังปรับปรุงเกิดความเสียหายลดลง17.65%จากความเสียหายทั้งหมดประมาณ40.74%


30 5.3 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการทำวิจัย จากผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการวิจัย สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพคนในกระบวนการฝากส่งผลไม้แบบEMS กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี ดังต่อไปนี้ 5.3.1 เนื่องจากวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์ และแก้ปัญหากระบวนการภายใน ซึ่งอาจจะมีปัจจัย ภายนอกอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง 5.4 ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องในอนาคต การศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการเพิ่มเติมดังนี้ 1. ควรมีการจัดทำคู่มือในการจัดส่งสิ้นค้าจำพวกประเภทเอกสารเนื่องจากมีการจัดทำที่ซับซ้อน 2. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาขั้นตอนหรือรูปแบบการจัดส่งเพื่อลดเอกสารที่ซ้ำกันก่อนนำมา จัดเรียงเอกสารเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน


31 บรรณานุกรม วรชนก เต็งวงษ์วัฒนะ. (2558). แนวทางการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการโลจิสติกส์ด้านขนส่ง. กรุงเทพฯ: [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] : มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สุดารัตน์ ว่องกิตติกร(2563) การศึกษาสาเหตุความล่าช้าของสายการบิน และแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษา :บริษัทสายการบินเช่าเหมาลำ ไทย–จีน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตล :มหาวิทยาลัยรังสิต สุพัฒตรา เกษราพงศ์(2550) การวิเคราะห์รูปแบบของเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ผลิต ถุงเท้ากรุงเทพ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]:มหาวิทยาลัยศรีปทุม. อภิชญา พวงมณี(2565) การเพิ่มประสิทธิภาพคนในกระบวนการฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่Logispost [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]: : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาธัญบุรี ธนิต โสรัตน์. (2554, 12 พฤศจิกายน). ประสิทธิภาพของการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับโลจิสติกส์ จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน. (2551). การวิเคราะห์กระบวนการ Process Analysis. [ออนไลน์]. จากhttp://pirun.ku.ac.th/ fengcsr/courses/2008_01/206341/ch8.pdf นันทนา ธรรมบุศย์ (2540) การศึกษาประสิทธิภาพ วิธีการทำงานโดยสิ้นเปลืองเวลาและสูญเสีย พลังงานในการทำงานน้อยที่สุดแต่เกิดประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สิริวดี ชูเชิด (2556) แรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานต่างด้าว ในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง:[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]:เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อุทัย หิรัญโต (2525) การปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ห้องเรียน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]: วิทยาลัย การเมือง การ ปกครอง กันตยา เพิ่มผล (2541) ประสิทธิภาพ การ ปฏิบัติ งาน ของ พนักงานสอบสวน กอง บัญชาการ กรณีศึกษาตำรวจนครบาล สำนักงาน ตำรวจ แห่ง ชาติ อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล. (2551). แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง


32 ภาคผนวก


33 ภาคผนวก ก คู่มือการปฏิบัติงาน : Work Instructions (WI)


34


35


36


37


38


39


40


Click to View FlipBook Version