By Jaydeleneiei
20 Vocabulary
คำศัพท์สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและ
ทฤษฎีพหุวัฒนธรรมศึกษา
จัดทำโดย
นางสาวนันทพัทธ์ ธนะเกียรติโชติกุล
640210367
วัฒนธรรม
ความเจริญในทางวิชาความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปวิทยา วรรณคดี ศาสนา ตลอด
จนขนบธรรมเนียม ประเพณีและจรรยามารยาท วัฒนธรรมเป็นมรดกแห่งสังคม มี
ทั้งส่วนจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น กวีนิพนธ์ ศิลปะขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่ง
สังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มา
จากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็น ประเพณีกันมา
ครูบ้านนอก.chotmtp. sค:/ว/าwมหwมwา.ยkrขoอoงb
วัaฒnนnธoรkร.cมo.m[บ/ท16ค0วา9ม]. สืบค้นจาก
อนุรักษนิยม
ปรัชญาทางการเมืองที่ส่งเสริมสถาบันทางสังคมที่มีมาแต่เดิมใน
บริบทวัฒนธรรมและอารยธรรมแก่นศูนย์กลางของอนุรักษนิยม
ประกอบด้วย ประเพณีสังคมสิ่งมีชีวิต ลำดับชั้น และอำนาจ
นอกจากนี้ยังหมายถึงอนุรักษนิยมที่คัดค้านสมัยใหม่นิยมและมุ่ง
หวนกลับสู่ "วิถีทางเก่า ๆ แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่
เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง
ต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และ
พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม
อนุรักษนิยม. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/อนุรักษนิยม
Monism เอกนิยม การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม Assimilation และพหุนิยม Pluralism โดย
มีแนวคิดเชื่อว่าความสมบูรณ์ของมนุษย์ตั้งอยู่บนวิถีทางหนึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งหมายถึง
ความ จริงแท้ และความดีที่สุดมีเพียงหนึ่ง แม้ว่าจะมีความหลากหลายของวิถีการดาเนิน
ชีวิตของผู้คน หากแต่จะ มีเพียงวิถีเดียวเท่านั้นที่อยู่สูงที่สุด ดีที่สุด Monism มีหลายรูป
แบบ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง 3 รูปแบบที่มีอิทธิพลในโลกตะวันตก คือ แนวคิด Monism
ของกรีกโบราณ แนวคิดเทววิทยาของคริสต์ศาสนา และแนวทาง Monism ของกลุ่ม
ความคิด เสรีนิยม ซึ่งแนวคิด Monism จากทั้งสามแบบนี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ
ทางความคิดตั้งแต่อดีตจนถึงยุค สมัยใหม่ โดย Monism ทั้งสามยุคนี้จะเน้นไปที่เรื่อง
ของการนิยาม “ชีวิตที่ดี” (the good life) ที่เป็นการ แสวงหาคาตอบว่าชีวิตที่ดีอันเป็น
สากลนั้นเป็นเช่นไร และขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอะไร
แพร ศิริศักดิ์ดสําาเขกิางส.ัง(2ค5ม4วิ9ท)ย. าแ)น. hวคtิtดpพs:ห/ุ/วัpฒeนacธeรrรeมs.o(uสrภcาeวcิจoัยllแaหb่oงชraาtตiิvสeา.oขrาgสั/งwคpม
-วcิทoยnาteสnําtน/ัuกpงาloนaคdณs/ะ2ก0รร2ม0ก/0าร2ว/ิจพัยหแุวหัฒ่งชนาธตริร, มใน-แงาพนรป.dรoะชcุ6ม2ท7า9ง.วpิชdาfการระดับชาติ
เสรีนิยม
ปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิด
เสรีภาพและความเสมอภาค ยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับ
ความเข้าใจหลักการเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิด
อย่างเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ เสรีภาพศาสนา ตลาดเสรี
สิทธิพลเมือง ความเสมอภาคทางเพศ และการร่วมมือระหว่าง
ประเทศ
เสรีนิยม สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/เสรีนิยม
แนวคิดพหุวัฒนธรรม
เป็นแนวคิดหลังสมัยใหม่ที่เน้นความหลากหลายทางวัฒนธรรม และไม่มองว่า
สังคมสามารถผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้เพราะในความจริงไม่มี
สังคมใดที่สร้างขึ้นมาจากคนกลุ่มเดียวหรือมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กรอบคิดพหุวัฒนธรรมมีที่มาจากบริบทและปรากฏการณ์ทางสังคมที่หลาก
หลาย ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึง เพียง 4 บริบทที่สาคัญ คือ
1. สังคมอาณานิคม 2. โลกาภิวัตน์ 3. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรและ
วัฒนธรรมในอเมริกาเหนือและยุโรป 4. ทุนข้ามชาติและแรงงานข้ามถิ่น
แพร ศิริศักดิ์ดสําาเขกิางส.ัง(2ค5ม4วิ9ท)ย. าแ)น. hวคtิtดpพs:ห/ุ/วัpฒeนacธeรrรeมs.o(uสrภcาeวcิจoัยllแaหb่oงชraาtตiิvสeา.oขrาgสั/งwคpม
-วcิทoยnาteสnําtน/ัuกpงาloนaคdณs/ะ2ก0รร2ม0ก/0าร2ว/ิจพัยหแุวหัฒ่งชนาธตริร, มใน-แงาพนรป.dรoะชcุ6ม2ท7า9ง.วpิชdาfการระดับชาติ
ทฤษฎีแนววิพากษ์
เป็นแนวคิดที่เน้นย้ำการประเมินสะท้อนและการวิพากษ์สังคมและ
วัฒนธรรมโดยการประยุกต์ความรู้จากสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ทฤษฎีแนววิพากษ์ สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จากวิกิพีเ
ดีย https://th.wikipedia.org/wiki/ทฤษฎีแนววิพากษ์
การกลืนกลายทางวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จากวิกิพีเ
ดีย https://th.wikipedia.org/wiki/การกลืนกลายทางวัฒนธรรม
การกลืนกลายทางวัฒนธรรม
การโต้ตอบทางการเมืองต่อสถานการณ์ในด้านที่เกี่ยวกับความแตกต่างของชาติพันธุ์
ที่เป็นนโยบายในการส่งเสริมการกลืนชนกลุ่มน้อยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
ของชนหมู่มาก การผสานทางวัฒนธรรมเป็นปรัชญาที่ตรงกันข้ามกับปรัชญาของการ
ยอมรับความแตกต่าง และมักจะเป็นคำที่ใช้กับชนอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดน
ใหม่ เช่นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอเมริกา ประเพณีใหม่และ
ทัศนคติก็จะได้รับจากการติดต่อและการสนทนาปราศรัย แต่การรับวัฒนธรรมใหม่ไม่
ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทางเดียว ชนอพยพแต่ละกลุ่มต่างก็มีส่วนในการนำวัฒนธรรมของ
ตนเองเข้ามาผสานกับวัฒนธรรมในสังคมใหม่ด้วย การกลืนกลายมักจะเป็นกระบวนการ
ที่ค่อยเป็นค่อยไปและมากน้อยตามแต่สถานการณ์ การการผสานกลืนที่สมบูรณ์เกิดขึ้น
เมื่อสังคมไม่อาจจะแยกระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมและผู้ที่เข้ามาใหม่ได้
การเหมารวม
คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคล
บางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มี
แนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย และการเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทามโนธรรม เช่น
จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่
สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรมจะกลายมาเป็นสิ่ง
ที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ การเหมารวมไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด
และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับการเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจ
จะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้
นอกจากนี้การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมา
รวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน
การเหมารวม สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จากวิกิพีเ
ดีย https://th.wikipedia.org/wiki/การเหมารวม
อุดมการณ์
เรื่องที่สูงสุด หมายถึง หลักการที่วางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เขายึดมั่นอุดมการณ์
ประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่น ทหารทุกเหล่าทัพล้วนได้รับการ
ปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์
อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นแนวความคิดทางการเมืองที่นำไปสู่
การปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบอบการปกครอง การช่วยกันและกันเพื่อ
พัฒนาอาชีพตามหลักการสหกรณ์ที่นำไปสู่การกินดี อยู่ดีของ
สมาชิกเป็นอุดมการณ์สหกรณ์ที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติของ
สหกรณ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย
สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. อุดมการณ์. [เว็บบล็อก]. สืบค้น
จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=อุดมการณ์
กระบวนทัศน์
กรอบความคิดหรือแนวทางทั่วไปที่ใช้ในการมองโลก หรือหมายถึง ระบบคิด วิธี
คิด หรือแบบของการคิดที่ใช้เป็นแนวในการศึกษาวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ
เป็นแนวในการจัดระบบในสังคม เช่น รัฐบาลพยายามเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของ
สังคมไทยที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยส่งเสริมการออกกำลังกายและการรักษา
สุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยมากกว่าปล่อยให้เจ็บป่วยแล้วไปรักษากับแพทย์
หรือสมัยก่อนคนไทยมีกระบวนทัศน์ว่าผู้ชายเป็นใหญ่เหนือผู้หญิงแต่ปัจจุบัน
เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ว่าผู้หญิงกับผู้ชายเท่าเทียมกัน จึงมีการแก้กฎหมาย
หลายฉบับให้สอดคล้องกับกระบวนทัศน์นี้
สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. กระบวนทัศน์. [เว็บบล็อก]. สืบค้น
จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=กระบวนทัศน์
หลักสูตรแฝง
มาจากความรู้ ความเข้าใจที่เราได้รับจะมาจากการเรียนรู้หรือมวลประสบการณ์ต่าง ๆ
ที่ไม่ได้จัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยตรงตามหลักสูตรที่กำหนด เช่น
คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อ มวลประสบการณ์ต่าง ๆ
สิ่งเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียนโดยไม่มีการเรียนการสอนโดยตรง แต่บูรณา
การไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้เรียนปฏิบัติ ตลอดจนการได้รับอิทธิพลจากสภาพ
แวดล้อมทางสังคมในสถานศึกษา รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละสถานศึกษา
ด้วย ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้ชีวิตในสถานศึกษา การเรียนรู้ต่าง ๆที่ไม่
ต้องมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการ แต่เป็นประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้
เรียนได้รับและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากหลักสูตรแฝงนั้น
จะปรากฏเป็นพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของผู้นั้นต่อไป
สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. หลักสูตรแฝง. [เว็บบล็อก]. สืบค้น
จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=หลักสูตรแฝง
ความเท่าเทียม ความเสมอภาค
เป็นมุมมองที่ถือว่าบุคคลทุก มีความหมายแตกต่างกับคำว่าเท่าเทียม
คนต้องได้รับการปฏิบัติอย่าง โดยเฉพาะในมุมมองทางกฎหมาย จะ
เท่าเทียมกันโดยมิได้พิจารณา มิได้เรียกร้องให้การปฏิบัติอย่างเท่า
หรือคำนึงถึงข้อแตกต่างของ เทียมกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ มิได้
แต่ละบุคคลเลย หมายความว่าบุคคลทุกคนจะได้รับการ
ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดยมิได้คำนึง
ถึงข้อแตกต่างใด ๆ เลย แต่เฉพาะกรณี
ส่งของสองสิ่งมีสาระสำคัญเหมือนกัน
จึงควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
กันและกรณีที่สิ่งของสองสิ่งมีสาระ
สำคัญต่างกันจะต้องได้รับการปฏิบัติที่
แตกต่างกัน โดยพิจารณาหรือคำนึงถึง
ข้อแตกต่างของแต่ละบุคคล
สธTนheาชEัยquสุaนlทitรyอ, นEัqนuตitชัytยha.anคidวjoาS.มooเrcทg่iาa/เilnทีJdยueมsxtค.ipcาheมpwเ/สiltมahwอSภhoาcคcui/aแalลrWะtiคceวllefา
aม/drเeปo็wนofnธTรloรhaมadทil/aา1งn5สdั7ง.5คว5มา1ร/กส1ับา1รก4วิา1ชร1าจ8ักด/า4สร3ว.ัส150ด7ิ.1ก8จาารกสังhคttมpขsอ:/ง/ปsรoะ0เท1.ศtcไiท-ย
คนชายขอบ
กลุ่มคนที่มีชีวิตอยู่กึ่งกลางหรือห่างไกลจากศูนย์กลางทั้งในทางภูมิศาสตร์และ
สังคมวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์“คนชายขอบ”มักจะเป็นกลุ่มคนที่ต้อง
เคลื่อนย้ายจากภูมิลำเนาดั้งเดิมด้วยเหตุผลทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ การเมือง
และสังคมวัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ หรือวิถีชีวิตของคน
กลุ่มนี้ต้องเผชิญกับการแก่งแย่งแข่งขันเพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
ถูกกีดกันและเอารัดเอาเปรียบจากคนกลุ่มใหญ่ซึ่งอยู่อาศัยในดินแดนหรือเขต
ภูมิศาสตร์นั้นมาก่อน
พัชรี กล่อมเมือง. (2562h).ttคpนsช:/า/ยsoข0อ1บ.:tcชiา-วthไทaยijoเช.ืo้อrสgา/ยinมdลeาxยู.pในhสp/าbมkจัkงหthวัoด
nช/าaยrแtiดclนeภ/dาoคwใตn้.loวaารdส/2าร0วิ9ช5า1ก1า/ร1ม5ห6า3ว5ิท7ย/7าล7ั0ยก3ร2ุง3เทพธนบุรี. 8(2). 3. จาก
ความเป็นธรรมทางสังคม
แนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม มิใช่เพียงแค่
มิติทางด้านกฎหมายเท่านั้น ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัว
ของมันเอง ก็ตีความได้หลายความหมาย อาจหมายถึงการปฏิบัติ
ต่อกันอย่างเป็นธรรม หรือการแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรมก็ได้
ประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมนั้น เป็นทั้งปัญหาทาง
ปรัชญาและมีความสำคัญในมิติต่าง ๆ เช่น การเมือง ศาสนา และ
สังคม ปัจเจกบุคคลอาจต้องการอยู่ในสังคมที่มีความเป็นธรรมทั้ง
นั้น อย่างไรก็ดีแต่ละคนอาจมีอุดมการณ์เกี่ยวกับ “ความเป็นธรรม
ในสังคม” ที่แตกต่างกัน
Salforest. (2558, สิงหาคม 20). Social Justice. [เว็บบล็อก]. จากhttp://www.salforest.com/glossary/social-justice
อำนาจนำ
ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ (2550) “อำนาจนำ” หมายถึง กระบวนการที่ชนชั้นปกครองหรือ
ชนชั้นอื่นสร้างความยอมรับเหนือชนชั้นอื่น ๆ ผ่านกลุ่มปัญญาชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มี
บทบาทในการเผยแพร่แนวคิดหรืออุดมการณ์ในสังคม
วัชรพล พุทธรักษา (2550) “การครองอำนาจนำ” หรื อ “Hegemony” หมายถึง การ
ใช้อำนาจของกลุ่ม/ชนชั้นใด ๆ เพื่อสร้างภาวการณ์ครอบครองความคิด และมีอำนาจ
นำเหนือกลุ่ม/ชนชั้นอื่น ๆ ในสังคม โดยที่การใช้อำนาจดังกล่าวนั้นปราศจากการใช้
ความรุนแรง หรือการบังคับเชิงกายภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจผ่านกลไกชนิดต่าง ๆ
เพื่อครอบครองความคิด โน้มน้าว และทำให้เกิดการยอมรับ เพื่อก่อให้เกิดขึ้น
ซึ่งความยินยอมพร้อมใจ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มพลังทางสังคมและชนชั้น
ต่าง ๆ โดยที่ผู้คนในกลุ่ม/ชนชั้นที่ถูกกระทำนั้นไม่ทราบ
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จาก ht
tps://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2555/poli40955ke_ch2.pdf
การเลือกปฏิบัติ
การกระทำใด ๆ โดยการกีดกัน แบ่งแยก จำกัด หรือการปฏิบัติใด ๆ ต่อ
บุคคล หรือกลุ่มคนโดยไม่เท่าเทียมกันและไร้เหตุผล อันเป็นการปฏิบัติ
ที่แตกต่างกันในสถานการณ์เดียวกัน อันทำให้บุคคลได้รับสิทธิน้อยกว่า
สิทธิที่ตนพึงได้ โดยมีมูลเหตุจูงใจเนื่องจากเหตุความแตกต่างทางถิ่น
กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ
สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา
การศึกษาอบรม และความคิดเห็นทางการเมือง
ชนกานต์ สังสีแก้ว. ความtผhิดaฐijาoน.oเrลืgอ/กinปdฏิeบxัต.pิ hOpF/FgErNadClEawOtFujDoIuSrCnRalI/MarI
NticAlTeI/OdoNw. nวาloรaสdาร/บ1ั4ณ7ฑ7ิ3ต5ศึ/ก1ษ08าน7ิ8ติ2ศ/า3ส9ต5ร0์.8579. จากhttps://so01.tci-
ความหลากหลายทางเพศ
เป็นความชอบที่หลากหลายเฉพาะบุคคล เฉกเช่นเดียวกับการชื่นชอบสิ่งต่างๆ
ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น รูป รส กลิ่น สี รสนิยมต่างๆ โดยไม่ได้เกิดจาก
ความผิดปกติจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแต่อย่างใด
LGBTQ ย่อมาจาก
L = Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
G = Gay กลุ่มชายรักชาย
B = Bisexual กลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
T = Transgender กลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิง
เป็นเพศชาย
Q = Queer กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่อง
เพศ และความรัก
พรนิภา ศรีประเสริฐ. (2565, กรกฎาคม 20). LGBTQ ความหลากหลาย
ที่ไม่แตกต่างในสังคม. จาก https://www.paolohospital.com/th-
อคติ
ทัศนคติที่เป็นผลมาจากความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดเห็น
ที่ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นำไปสู่การกระ
ทำในเชิงการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ การเลือกปฏิบัติ การตีตรา
อคติที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือ อคติทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และสี
ผิว อคติทางเพศ อคติทางศาสนา/ความเชื่อ อคติทางการเมือง
อคติทางวัย วยาคติ หรือการเหยียดอายุ อคติต่อผู้ป่วยไข้ อคติ
ผ่านสื่อ เป็นต้น
อนันต์ สมมูล. (2564). อคติทางธรรม. จาก https://www.sac.or.th/library/subject_guide/category/58
การเหยียดเพศ
การแบ่งแยกทางเพศและเลือกที่รักมักที่ชังต่อเพศใดเพศหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่จะมีผลก
ระทบต่อผู้หญิงและเด็ก และถูกเชื่อมโยงกับการเหมารวมและบทบาททางเพศ และ
อาจรวมถึงความเชื่อที่ว่าเพศหนึ่งที่มีความเหนือกว่าอีกเพศ การเหยียดเพศที่รุนแรง
อาจส่งเสริมการคุกคามทางเพศ การขมขื่นและความรุนแรงทางเพศรูปแบบอื่น ๆ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). ลัดธิกีดกันทางเพศ. จา
กhttps://th.wikipedia.org/wiki/ลัทธิกีดกันทางเพศ
Thank You
SEE YOU NEXT TIME