วันพืชมงคล
ประวัติพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี ๒ พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกใน พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งจะ ประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งกรุง สุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่ เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน เหมือนกับ สมัยกรุงสุโขทัย และจะทรงจ าศีลเงียบ ๓ วัน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้ เจ้าพระยาจันทกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์ โดยทรงท าเหมือนอย่างออกอ านาจจากกษัตริย์ ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึง ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ ผู้ท าการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพลเทพ คู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ ๓ ให้ ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคล จึงได้เริ่มมีขึ้น แต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกัน ว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
ความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดมีพระราชพิธีนี้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า "การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมนิยม มีมา แต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็น คราวแรก พระมเหสี เลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มี ปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ ไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งผู้นั้นเป็น ใหญ่ในแผ่นดินลงมือท าเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรชักน าให้มีใจหมั่น ในการที่จะท านา เพราะเป็นสิ่งส าคัญ ที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของ ความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์ แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตน ตามปกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ าฝนน้ าท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ย และสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความ ปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นก าลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและ หาทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัย ค าอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ท าการซึ่งไม่มีโทษ นับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็น การช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด“ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็น สิริมงคล และบ ารุงขวัญเกษตรกร ก าหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสม ที่จะเริ่มต้นการท านาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้ก าหนดวันที่ แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือน พฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระท าเต็มรูปบูรพ ประเพณี ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้ มีมติ ให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่ และได้กระท าติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน ด้วย เห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบ ารุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชกระแส ให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเสด็จพระราชด าเนินมาเป็นองค์ ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีท าขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ พระมหากษัตริย์ ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้น ถือว่าเป็นอาหารหลักของประชาชนในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือ บุพพัณณะ หรือ บุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่นๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรืออปรัณชาติ หมายถึง พืช จ าพวกถั่วงา เป็นต้น ถ้าเรียกควบทั้งสองอย่างก็เรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่หมายถึงพืช ที่เป็นอาหารทุกชนิด บุพพัณณปรัณณชาติที่น าเข้าพระราชพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่างๆ รวม ๔๐ อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว กับ เผือกมันต่างๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและ ประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้ อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วัน พระราชพิธีพืชมงคลนี้เป็น วันเกษตรกร ประจ าปี อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทาง การเกษตรพึงระลึกถึงความส าคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืช มงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงาน วันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
ประกาศพระราชพิธีพืชมงคล ประกาศพระราชพิธีพืชมงคลนั้น เป็นคาถาภาษาบาลีพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๔ อ่านท านองสรภัญญะ จบแล้วด าเนินความภาษาไทยเป็นค าร้อยแก้ว เนื้อความเป็นค า อธิษฐาน ๔ ข้อดังนี้ ข้อ ๑ เป็นค านมัสการสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้าว่าทรงดับทุกข์ได้ มีพระหฤทัย คงที่ ทรงปลูกธรรมให้งอกงามจ ารูญแก่บรรดาสาวกพุทธเวไนยสืบๆ มา แม้ว่าโลกจะเร่าร้อน ด้วยเพลิงกิเลส พระสัทธรรมอันมีผลเป็นอมตะก็ยังงอกงามได้ด้วยเดชะพระบารมีของ พระองค์ บัดนี้เราทั้งหลายบูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระธรรมและพระสงฆ์ แล้วจะ ปลูกพืช คือ บุญในพระรัตนตรัยอันเป็นเนื้อนาบุญอย่างดี พืชคือบุญนี้ เมล็ดผลเป็นญาณ ความรู้อันเป็นเครื่องถ่ายถอนทุกข์ในโลก สามารถส่งผลให้ได้ทั้งในปัจจุบันและในกาลภาย หน้าสืบๆ ไป ตามกาลอันควรจะให้ผลเป็นอุปการะนานาประการ ขอให้พืชคือบุญที่เราหว่าน แล้ว จงให้ผลตามความปรารถนา อนึ่งขอให้ข้าวกล้าและบรรดาพืชผลที่หว่านที่เพาะปลูกลง ในที่นั้นๆ ทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามจ ารูญตามเวลา อย่าเสียหายโดยประการใดๆ ข้อ ๒ ยกพระคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงการท านาของพระองค์แก่พราหมณ์ ชาวนาผู้หนึ่งว่า "ศรัทธา-ความเชื่อเป็นพืชพันธุ์ข้าวปลูกของเรา ตบะ-ความเพียร เผาบาป เป็นเมล็ดฝน ปัญญา-ความรอบรู้เป็นแอกและไถ หิริ-ความละอายใจ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก ชัก สติ-ความระลึกได้ เป็นผาลและปฎัก เราจะระวังกายระวังวาจาและส ารวมระวังใน อาหาร ท าความซื่อสัตย์ให้เป็นท่อไขน้ า มีโสรัจจะ-ความสงบเสงี่ยมเป็นที่ปลดไถ มีวิริยะความเพียรเป็นแรงงานชักแอกไถ เป็นพาหนะน าไปสู่ที่อันเกษมจากเครื่องผูกพันที่ไปไม่กลับ ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถของเราเช่นนี้ มีผลเป็นอมตะ มิรู้ตาย บุคคลมาประกอบการไถ เช่นว่านี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์สิ้นทุกประการ” ดังนี้ มายกขึ้นเป็นค าอธิษฐานว่าที่ พระพุทธเจ้าตรัสนี้ เป็นความสัตย์จริง ด้วยอ านาจแห่งความสัตย์นี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผล ที่หว่านที่เพาะปลูก จงงอกงามทั่วภูมิมณฑลอันเป็นราชอาณาเขต ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
ข้อ ๓ ยกพระคาถาอันเป็นภาษิตของพระเตมีย์โพธิสัตว์ ความว่า "บุคคลผู้ไม่ ประทุษร้ายมิตร โคย่อมจ ารูญพูนเกิดแก่เขา พืชที่หว่านในนาของเขาย่อมงอกงามจ าเริญ เขาย่อมได้รับบริโภคผลแห่งพืชพันธุ์ที่หว่านแล้ว” และว่า "บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรอัน ศัตรูหมู่อมิตรไม่อาจย่ ายีได้ดุจไม้ไทรมีรากและย่านอันงอกงามพายุไม่อาจพัดพานให้ล้ม ไปได้ฉันนั้น” มาตั้งเป็นสัตยาธิษฐานว่าด้วยอ านาจสัจวาจานี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลที่ หว่านเพาะปลูกในภูมิมณฑลทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามไพบูลย์ ข้อ ๔ อ้างพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระเมตตากรุณาแก่ประชา ราษฎร ตั้งพระราชหฤทัยจะบ ารุงให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าเป็นความสัตย์จริง ด้วยอ านาจ ความสัตย์นี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลงอกงามบริบูรณ์ทั่วราชอาณาเขต ต่อจากนั้น เป็นการกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “พระคัณธาราษฎร์” ที่มีพุทธานุภาพบันดาลให้ฝนตก อันเป็นพระพุทธรูปที่ส าคัญในพระราชพิธีนี้ แสดง ต านานโดยล าดับจนรัชกาลที่ ๑ ได้ทอดพระเนตร และได้โปรดให้หล่อขึ้นใหม่ส าหรับตั้ง ในพระราชพิธี และต่อนั้นไปว่าด้วยการพระราชกุศลที่ทรงบ าเพ็ญในพระราชพิธีนั้น ทรง พระราชอุทิศแก่ เทพยดาทั้งปวง แล้วอธิษฐานเพื่อให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ และ ฝนตกตามฤดูกาล พระสงฆ์จะสวดต่อท้ายการสวดมนต์ในพระราชพิธีพืชมงคล ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) เป็นพิธีพราหมณ์นั้นจะ ได้ประกอบพิธีบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวงโดยได้ตั้งโรงพิธีประดิษฐานเทวรูปส าคัญ อาทิ พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ พระอุมาภควดี พระมหาวิฆเนศวร์ พระลักษมี พระพลเทพ และพระโคอุศุภราช ซึ่งในตอนค่ าพระมหาราชครูจะท าพิธีบวงสรวงเพื่อ ความสวัสดีแก่พืชผลด้วย ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
พระยาแรกนา และเทพีคู่หาบทอง/เทพีคู่หาบเงิน วันพืชมงคล ปี ๒๕๖๖ นี้ ผู้ท าหน้าที่ พระยาแรกนา คือนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวดวงพร งามประดิษฐ์ นัก จัดการงานทั่วไปช านาญการ กรมวิชาการเกษตร และ นางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ช านาญการ กรมปศุสัตว์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช านาญการ ส านักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นางสาวภัทรปภา มินรินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรช านาญการกรมส่งเสริม การเกษตร คู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จ านวน ๑๖ ราย และผู้เชิญ เครื่องอิสริยยศ จ านวน ๔ ราย พระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ - พระโคเพียง พระโค ส ารอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
พระโคแรกนา พระโค ในทางศาสนาพรามหณ์ หมายถึง เทวดาผู้ท าหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่ง เปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง และเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแล ซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึง ได้ก าหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เพื่อเป็นตัวแทนของความ เข้มแข็งและความอุดมสมบูรณ์ ในปี ๒๕๖๖ กรมปศุสัตว์ ได้ท าการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ จ านวน ๒ คู่ คือ พระโคแรกนาขวัญ ๑ คู่ ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง พระโคส ารอง ๑ คู่ ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
คันไถ คันไถที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม สร้างถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าวตลอดมานั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม หนองโพ อ าเภอ โพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นคันไถที่ท าจากไม้สมอ ซึ่งชุดคันไถประกอบด้วย ๑. คันไถ ขนาดความสูงวัดจากพื้นถึงเศียรนาค ๒.๒๖ เมตร และ ความยาวจากเศียรนาคถึง ปลายไถ ๖.๕๙ เมตร ทาสีแดงชาดตลอดคันไถ ที่หัวคันไถท าเป็นเศียรพญานาคลงลักปิดทอง ลวดลายประดับคันไถเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคัน ปลายไถหุ้มผ้าขาวขลิบทอง ส าหรับมือจับ ๒. แอกเทียมพระโค ยาว ๑.๕๕ เมตร ตรงกลางแอกประดับด้วยรูปครุฑยุดนาคหล่อด้วย ทองเหลืองลงลักปิดทองอยู่บนฐานบัว ปลายแอกทั้งสองด้านแกะสลักเป็นรูปเศียรพญานาคลงลัก ปิดทอง ลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคัน ที่ปลายแอกแต่ละด้านมี ลูกแอกทั้งสองด้านส าหรับเทียมพระโคพร้อมเชือกกระทาม ๓. ฐานรอง เป็นที่ส าหรับตั้งรองรับคันไถพร้อมแอก ท าด้วยไม้เนื้อแข็ง ทาด้วยสีแดงชาด มี ลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทอง ทั้งด้านหัวไถและปลายไถ ๔. ธงสามชาย เป็นธงประดับคันไถติดตั้งอยู่บนเศียรนาค ท าด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เขียนลวดลายลงลักปิดทองประดับด้วยกระจกแวว มีพู่สีขาวประดับด้านบนเป็นเครื่องสูงชนิด หนึ่งเพื่อประดับพระเกียรติ ธงสามชายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานยาว ๔๑ เซนติเมตร สูง ๕๐ เซนติเมตร และเสาธงยาว ๗๒ เซนติเมตร ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
สัตยาธิษฐาน การเสี่ยงทาย การตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย (การเสี่ยงทายผ้านุ่ง) "ผ้านุ่งแต่งกาย” ผ้านุ่งซึ่งพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบนั้น เป็นผ้าลาย มีด้วยกัน ๓ ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุม เพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีค าท านายไปตามกันคือ ถ้าหยิบผ้าได้ ๔ คืบ พยากรณ์ว่า น้ าจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ ถ้าหยิบได้ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่า น้ าในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้าหยิบได้ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่า น้ าจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
การเสี่ยงทายของกิน ๗ สิ่ง ของกิน ๗ สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ า และ หญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีค าท านายไปตามนั้น คือ ถ้าพระโคกิน ข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี ถ้าพระโคกิน ถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้าพระโคกิน น้ า หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ าท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ ถ้าพระโคกิน เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับ ต่างประเทศดีขึ้น ท าให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง
อย่าลืมกดติดตามเพื่อไม่ให้พลาดสาระดี ที่คุณต้องอยากรู้ เพื่อสุขภาพของเราจะดีไป ด้วยกัน ได้ที่ Facebook Page #ห้องสมุด ประชาชนอ าเภอพระประแดง ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง เลขที่ 67 ถ.เขื่อนขันธ์ ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130 โทรศัพท์และโทรสาร : 02 – 462- 5733