The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน E-book กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เรื่อง วันฉัตรมงคล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

E-BOOK Online เรื่อง วันฉัตรมงคล

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน E-book กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เรื่อง วันฉัตรมงคล

"วันฉัตรมงคล" คือ พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร วันฉัตรมงคล (Coronation Day) มีความหมายตาม พจนานุกรมว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่งจะกระท าในวัน คล้ายวันบรมราชาภิเษก มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก เป็นขั้นตอนตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ ไทยได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการด้วยการถวายน้ าอภิเษก โดยแบ่งออกเป็น 2 พระราชพิธีส าคัญ คือ 1) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2) พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร


"วันฉัตรมงคล" ก าหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) พระราชพิธีฉัตรมงคลจัดขึ้นทุก วันที่ 5 พฤษภาคม เพราะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ ขึ้นในวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกอย่างเป็นทางการจัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (วันฉัตรมงคลถูกก าหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก) และใน ปีถัดไปจึงถือว่าวันนี้เป็นวันฉัตรมงคล


ย้อนดูประวัติศาสตร์ "พิธีบรมราชาภิเษก" พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมเนียมของ "ศาสนาฮินดู" และ "ศาสนาพุทธ" เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อป่าวประกาศให้เหล่าเทวดาฟ้า ดินรับรู้ว่า บัดนี้จะมีพระมหากษัตริย์หรือพระผู้เป็นเจ้าเกิดขึ้นอีกพระองค์หนึ่งแล้ว โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประกอบไปด้วย พระราชพิธีสรงพระมูรธาภิเษก, พระราชพิธีถวายน้ าอภิเษก, พระราชพิธีถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และการสถาปนา พระราชินีและพระราชวงศ์ ส่วนพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรเป็นพระราชพิธีที่ จัดขึ้นโดยเหล่าสมาชิกของราชวงศ์ในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสร็จสิ้นแล้ว พระมหากษัตริย์ จะประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง ไปประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ และ เสด็จไปสักการะพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชบูรพการี


พิธีบรมราชาภิเษก เริ่มมีตั้งแต่สุโขทัย พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือ ศิลาจารึก วัดศรีชุมของพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย กล่าวคือ พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพระสหายคือ พ่อขุนบางกลาง ท่าว ให้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าการประกอบพระราชพิธีใน สมัยนั้น มีขั้นตอนอย่างใด ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เมื่อขึ้นเสวยราช สมบัติ ได้ทรงท าพระราชพิธีนี้อย่างสังเขป เมื่อ พ.ศ. 2325 ครั้งหนึ่งก่อน แล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดย มีเจ้าพระยาเพชรพิชัย ซึ่งเป็นข้าราชการ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถี่ ถ้วน แล้วตั้งแบบแผนพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นต ารา จากนั้นจึงทรงท าพิธีบรมราชาภิเษกเต็มต าราอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2328 และได้ใช้เป็นแบบแผนใน งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละรัชกาลก็ได้ปรับปรุงแก้ไข รายละเอียดเล็กน้อยให้เหมาะแก่กาลสมัย


ในพิธีฯ ใช้ภาษาบาลี, ทมิฬ ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาไทย ส่วนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ ในทางอักษรศาสตร์และโบราณราชประเพณี ได้ทรงพระราชนิพนธ์ค ากราบบังคมทูลของพราหมณ์และ ราชบัณฑิตขณะถวายเครื่องราชกกุธกัณฑ์ กับพระราชด ารัสตอบเป็นภาษาบาลี และค าแปลเป็น ภาษาไทย ทั้งนี้ อาจวิเคราะห์ได้ว่าพระราชพิธีนี้ มีคติที่มาจากลัทธิพราหมณ์ผสมกับความเชื่อทางพุทธ ศาสนา ส่วนบทมนต์ต่างๆ ของพราหมณ์นั้น นักวิชาการภาษาตะวันออกโบราณ วินิจฉัยว่าเป็นภาษา ทมิฬโบราณ


"รัชกาลที่ 10 พระราชพิธีฯ ถือเป็นครั้งที่ 12 ถัดมาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2493 นั้น ส านักพระราชวังได้ ยึดถือการบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นหลัก แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองที่ยังไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะเพิ่งผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ได้ประกอบการพระราชพิธีอย่างสมบูรณ์ ตามโบราณราชประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบมา โดยพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ เป็นพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกครั้งที่ 12


พระราชพิธีฉัตรมงคลนั้นเป็นพิธีจัดสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวัง เจ้าพนักงานอัญเชิญเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร จากนั้นพระราชครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธี ฉัตรมงคล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์เย็น ส าหรับเครื่องสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วย


1. พระมหาพิชัยมงกุฎ พระมหาพิชัยมงกุฎ ท าด้วยทองลงยาประดับเพชร มีค่าส าคัญ เท่ากับราชกกุธภัณฑ์อื่น ภายหลังประเทศไทยติดต่อกับประเทศใน ทวีปยุโรป จึงนิยมตามราชส านักยุโรปที่พระมหากษัตริย์สวมมงกุฎ จากนั้นมาจึงถือเป็นสิ่งส าคัญ พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหา พิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


2. พระแสงขรรค์ชัยศรี พระแสงขรรค์ชัยศรี ด้ามและฝักท าด้วยทองลงยาประดับอัญมณี เป็นพระแสงราชศัสตราวุธประจ า พระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเศษ เมื่อ พ.ศ.2328 โดย พระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ให้ข้าราชการเมืองพระตะบองน ามาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 1


3. ธารพระกร รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างธารพระกรจากไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง หัวและส้นเป็นเหล็กคร่ าลายทอง ที่สุด ส้นเป็นส้อมสามง่าม เรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ ภายหลังรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างด้วยทองค า ภายใน มีพระเสน่า ยอดมีรูปเทวดา เรียกว่า ธารพระกรเทวรูป มีลักษณะเป็นพระแสงดาบมากกว่า ครั้งถึง รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธารพระกรชัยพฤกษ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบมา จนถึงรัชกาลที่ 9


4. วาลวิชนี วาลวิชนี หรือ พัดและแส้ รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้น พัดเป็นใบตาลปิดทองทั้ง 2 ด้าน ขอบ ขลิบทองค า ด้ามท าด้วยทองลงยา ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงพระราชด าริให้เรียกตามภาษาพระบาลีว่า “วาลวิชนี” เป็นเครื่องโบกท าด้วยขนหางจามรี และขนหางช้างเผือกในเวลาต่อมา เป็นเครื่องราช กกุธภัณฑ์ใช้ควบคู่กับพัดใบตาล


5. ฉลองพระบาทเชิงงอน ฉลองพระบาทเชิงงอน เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ ท าด้วยทองค าลงยา ราชาวดีฝังเพชร และพราหมณ์เป็นผู้สวมถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


หลังจากจบพิธีสงฆ์ ทหารบก และทหารเรือ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายละ 21 นัด และมีพิธี พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้ท าความดีให้แก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


กิจกรรมที่ประชาชนควรปฏิบัติในวันฉัตรมงคล 1. ร่วมท าบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต 2. ถวายพระพรชัย 3. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 4. ร่วมท าความดี ปลูกต้นไม้ กิจกรรมจิตอาสา ช่วยเหลือสังคม


อย่าลืมกดติดตามเพื่อไม่ให้พลาดสาระดี ที่คุณต้องอยากรู้ เพื่อสุขภาพของเราจะดีไป ด้วยกัน ได้ที่ Facebook Page #ห้องสมุด ประชาชนอ าเภอพระประแดง ห้องสมุดประชาชนอ าเภอพระประแดง เลขที่ 67 ถ.เขื่อนขันธ์ ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130 โทรศัพท์และโทรสาร : 02 – 462- 5733


Click to View FlipBook Version