ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการ สอนแบบการตั้งค าถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 นายพีรพล พลดงนอก นักศึกษาระดับปริญญาตรี,สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา,คณะครุศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการ จัดการเรียนรู้แบบการตั้งคำถามสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง แผนจัดการศึกษาเรื่อง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีวิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม จำนวน 7 แผน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นแบบทดสอบประเภทปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ร้อยละคะแนน ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำ ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น วัดผลโดยการใช้แบบทดสอบคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.03 คิดเป็นร้อยละ 55.17 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 13.86 คิดเป็นร้อยละ 69.33 จากผลการทดลองพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน ค าส าคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบการตั้งคำถาม,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน,สุขศึกษา,โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ บทน า การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนเพื่อเป็นพลเมืองที่ดี ของ ประเทศชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 (มาตรา 24) ได้กำหนดแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ให้สถานศึกษา
จัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นหลัก ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้และถือ ว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ สถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา การจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระ ความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้ สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความ สะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ กระบวนการ จัดการศึกษาต้องผสมผสานสาระ ความรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลายตามความเหมาะสมและส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้ชี้ให้เห็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศในระยะ 5 ปี จะยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ เพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติมีการบูรณาการบนทางสายกลาง มี ความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สอดคล้องกับภูมิสังคม การพัฒนาทุกด้าน มี ดุลยภาพ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์ มีความสอดรับ เกื้อกูล และพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและ กัน โดยการพัฒนาในมิติหนึ่งต้องไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อมิติอื่น ๆ รวมทั้งต้องมุ่งเน้นให้ “คนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง มีศักยภาพ และ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งใน ภาคการผลิตและภาค บริการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อ ส่วนรวมนำไปสู่การสร้าง สังคมที่พึงปรารถนา รวมถึงมีจิตอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม (สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มี จิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองของโลก ยึดมั่นในการปกครอง ตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และมีทักษะพื้นฐานรวมทั้ง เจตคติที่ จําเป็นต่อการศึกษา การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บน พื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามเต็มศักยภาพ และกำหนดว่า นักเรียนมีความสำคัญที่สุด ครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็น ผู้ชี้ ให้จำ มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียนเพื่อนำไปใช้ สร้างสรรค์ความรู้ของตน การ จัดการเรียนรู้ตามแนวทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการให้นักเรียนมีการคิดอย่างมี
วิจารณญาณและมุ่งหมายพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่า ของ ตนเอง เข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สถานศึกษาและครูผู้สอนต้องระลึกอยู่เสมอคือการช่วยเหลือให้นักเรียนทุกคนสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ชุมชนและสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นสาระการเรียนรู้หนึ่งใน 8 สาระที่จัดไว้ใน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นกลุ่มสาระที่ผู้เรียนทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ เป็น กลุ่มสาระที่มีความหมาย และมีความสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน โดยตรง เพราะครอบคลุมเรื่องสุขภาพที่เป็นพื้นฐานจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เรียนแต่ละคน โดยมุ่งเน้นพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งด้านสาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพที่จำเป็นที่ผู้เรียน ต้องรู้ ด้านการสร้างเจตคติและค่านิยมที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ รวมทั้งทักษะกระบวนการปฏิบัติในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน ซึ่งการมีสุขภาพดี เป็น คุณลักษณะที่พึงประสงค์ประการแรกของคนไทยที่รัฐบาลได้กำหนดไว้เป็นนโยบายและ มาตรการใน การจัดการศึกษาของประเทศ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถยืนหยัดอย่างไทย ในประชาคม โลกทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงกล่าวได้ว่า สุขศึกษาและพลศึกษาจึงเป็นสาระการเรียนรู้ ที่สำคัญใน การพัฒนาประชากร โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกัน ส่งเสริม พัฒนา และ การบริหารจัดการชีวิต ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ อันเป็นองค์ประกอบ ของการมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) วิชาสุขศึกษาเป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมาย เพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริม สุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนา พฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วยกัน เป็น การศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของเด็กวัยเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม กับ พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น วิธีปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น วิธีผูกมิตร ความหมายและองค์ประกอบของอนามัยการ เจริญพันธุ์ วิธีดูแลอนามัยทางเพศของวัยรุ่น ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ วิธีการใช้ยาและยาสมุนไพรไทย ข้อพึงปฏิบัติของผู้บริโภค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองผู้บริโภค ภาวะโภชนาการของตนเอง ปัญหาทุพโภชนาการ ธงโภชนาการ ความหมายของ ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ความหมาย ความสำคัญและวิธีการประเมินภาวะสุขภาพกายและ สุขภาพจิต วิธีการจัดการกับอารมณ์ ความเครียดและการฝึกจิต วิธีการวางแผนและการจัดเวลาใน การออกกำลังกาย การพักผ่อนและนันทนาการ ความหมายและประเภทของความรุนแรง สาเหตุและ
ลักษณะของพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น รวมไปถึงปัจจัยและพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในบ้าน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ผู้วิจัยประสบกับปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสอนวิชาสุขศึกษาที่เน้นให้ครูเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้วยความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่าครูจะต้องมีความรู้ดีกว่านักเรียน การเรียนการ สอนส่วนใหญ่จึงเป็นลักษณะครูถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ส่วนผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้จากครู ในขณะที่ครูส่วนใหญ่มีความคิดที่ว่าจะต้องถ่ายทอดเนื้อหาให้กับผู้เรียนให้มากที่สุดเพราะเนื้อหาที่ สอนนั้นมีประโยชน์กับตัวผู้เรียน ดังนั้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่เราพบส่วนใหญ่ครูจึงเป็นผู้มี บทบาทอยู่ตลอดเวลา ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นจึง ไม่เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้นักเรียนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นต่อชุมชน บางคนกล้าแต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็น ขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ให้ความสำคัญใน กิจกรรมกลุ่ม จึงส่งผลให้ไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเรียน เป็นเหตุให้นักเรียนไม่สามารถสร้าง องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์วิกฤตที่ไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เกี่ยวของกับสุขภาพที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นและเป็นปัญหาระดับชาติที่พบในปัจจุบัน คือ พฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ การติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อน วัยอันควรของวัยรุ่น อีกทั้งยังส่งผลกระทบที่ตามมาอีกมาก เช่น ปัญหาภายในครอบครัว และยังส่งผล ให้ผลสมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จากประเด็นปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าตระหนัก และสนใจที่ จะแก้ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราป่วย เพิ่มจาก 19 รายต่อประชากรแสนคนในปีพ.ศ. 2556 เป็น 23.2 รายและ 28.9 รายต่อประชากรแสน คนในปีพ.ศ. 2558 และ 2560 ตามลำดับ โดยกลุ่มเยาวชนอายุ 15–24 ปีมีสัดส่วนการป่วยมากที่สุด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย และชี้ให้เห็นถึงการขาดความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากการติดโรค รวมถึงการขาดความตระหนักถึงอันตรายของโรค สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับสถานการณ์ของโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคซิฟิลิสในกลุ่มอายุ 15-24 ปี โดยในปี 2559-2563 เท่ากับ 13.7, 20.2, 27.9, 41.4 และ 50.4 ต่อประชากรแสนคน และ สถานการณ์โรคหนองใน ในกลุ่มอายุ 15-24 ปี ปี 2559-2563 เท่ากับ 59.3, 68.1, 63.7, 69.7 และ 58.8 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีโอกาสการติดเชื้อเอชไอวี มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยถึง 5-9 เท่า (กระทรวงสาธารณสุข, 2563) วิธีการสอนมีหลายรูปแบบ รูปแบบที่ ผู้วิจัยสนใจที่นำมาใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้การตั้งคำถาม เป็นกระบวนการ เรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่ เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์
วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถาม ปารมี ศรีบุญทิพย์(2560) ได้กล่าว การ จัดการเรียนรู้โดยใช้การตั้งคำถามขั้นสูง หมายถึง การสอนแบบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ คำถามที่ให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ ประเมินค่า และคิด สร้างสรรค์ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่กระตุ้นให้ นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากการตั้ง คำถามให้เชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาวิชาเรียนอย่างเหมาะสม นักเรียนอาจตอบ คำถามเป็นรายบุคคลหรือภายในกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนและ แม้กระทั่งครูได้ใช้ทักษะการคิดในระดับที่สูงกว่าระดับความรู้ความจำ จึงกล่าวได้ ว่า การตั้งคำถาม ขั้นสูงเป็นการจัดกิจกรรมที่เพิ่มทักษะการคิดที่สูงขึ้น จนถึง ระดับการคิดวิเคราะห์ ประเมินค่า และ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการ คิดเชิงระบบ ชาญชัย อินทรประวัติ(2559) กล่าวว่า การใช้ คำถามหรือการถาม-ตอบ (Questioning) นับเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงที่ใช้สะดวกมากใน การ กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ที่ได้มีการใช้กันมานาน มากในโลกของการเรียนรู้ โดยในสมัยพุทธกาลก็ มีการใช้ คำถามเพื่อการเรียนรู้ ที่เรียกกันว่าเป็นแบบปุจฉา-วิสัชนา และในยุคความรุ่งเรืองของกรีซ ซึ่งนักปราชญ์สำคัญอย่าง โสเครตีสก็ใช้กิจกรรมนี้และเรียกกันว่าเป็นวิธีเรียนรู้แบบ โสเครตีส (Socratic Method) ทั้งนี้ในการตั้งคำถามของ ผู้เรียนนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความอยากรู้ของเขา แต่ สำหรับ ในการถามคำถามของผู้สอนนั้นอาจจะมีวัตถุประสงค์ใน การถามที่แตกต่างกันมากมายหลาย ประการ แต่ไม่ว่าจะ เป็นคำถามของผู้สอนหรือการถามของตัวผู้เรียนเองก็ต้อง คิดทั้งสิ้น กล่าวคือถ้า ผู้เรียนถามเพราะความอยากรู้ก็ต้อง คิดสร้างคำถามขึ้นมาซึ่งการคิดสร้างคำถามนี้ถือว่าเป็น ความคิด ระดับสูง แต่ถ้าผู้สอนเป็นผู้ถาม ผู้เรียนก็ต้องคิด หาคำตอบ แต่จะเป็นการคิดในระดับใดก็ย่อมขึ้นอยู่ กับ คำถามว่าผู้สอนถามคำถามในระดับใด และทั้งนี้ได้พบว่า ในแต่ละวันนั้นผู้สอนถามคำถามไม่มาก นัก คำถามที่ใช้ก็ มักจะเป็นคำถามที่ใช้ความคิดในระดับต้นๆ เสียมากกว่า ซึ่งยังไม่พบงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการใช้คำถามในชั้น เรียนของประเทศไทยมากนัก แต่จากการสังเกตและ รวบรวมข้อมูล อย่างไม่เป็นทางการสามารถประมวล ข้อบกพร่องในการใช้คำถามในชั้นเรียนได้ดังนี้ 1. ผู้เรียนไม่ค่อย ได้รับโอกาสในการถามคำถาม ในห้องเรียน 2. ผู้เรียนไม่ค่อยถามเนื่องจากถูกครอบงำโดย วัฒนธรรม การเรียนรู้ในห้องเรียนของไทย 3. ผู้เรียนขาดทักษะในการถามคำถามเพื่อ วัตถุประสงค์ต่าง ๆ 4. ผู้สอนมักจะใช้คำถามเพื่อการประเมินผล มากกว่าการเรียนรู้ ครั้นนาน ๆ ไปคำถามเลยกลายเป็น ๆ เรื่องน่ากลัวและน่ารำคาญมากกว่าน่าสนุกสำหรับผู้เรียน 5. ผู้สอนขาดความรู้และหลักการในการตั้ง คำถาม 6. ผู้สอนขาดความเข้าใจในเรื่องของ Bloom's Taxonomy 7. ผู้สอนขาดความเข้าใจในเรื่อง ของ critical thinking 8. ผู้สอนไม่ได้ทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการ จัดการเรียนรู้ด้วยตนเองและ ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ตนไม่เข้าใจเนื้อหาที่ตนเองสอน 9. ผู้สอนไม่ได้เตรียมคำถามอย่างเป็นระบบ 10. ผู้สอนถามนักเรียนไม่ทั่วถึง ทำให้บางคนถูก ถามซ้ำซากในขณะที่อีกหลายคนถูกทอดทิ้ง 11. ผู้สอน ไม่ให้ความสำคัญต่อ feedback และ reinforcement 12. ผู้สอนใช้ feedback และ reinforcement ไม่เป็น 13. ผู้สอนไม่สามารถวิเคราะห์คำตอบของผู้เรียน ได้ 14. ผู้สอนขาดทักษะในการช่วยเหลือ
ผู้เรียนที่ตอบ คําถามไม่ได้ 15. ผู้สอนไม่สามารถนำคำตอบของผู้เรียนไปสรุป กิจกรรมการเรียนการ สอนได้ ซึ่งในการนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้โดย ใช้คำถาม (Questioning Method) ในครั้งนี้ เป็นการเสนอ แนวทางการใช้คำถามในชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นการคิดใน ระดับสูงตามหลักการของ Bloom's Taxonomy เพื่อให้ เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาทักษะและกระบวนการคิด ของผู้เรียนเป็น ประการสำคัญ สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้การตั้งคำถามขั้นสูงนั้น คำถามของครูจะเป็น แนวทางให้นักเรียนคิดค้นหาความรู้ นักเรียนจะเรียนด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อหาคำตอบที่ ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้ทุกคนรู้จักแสดงความคิดเห็น อภิปรายแล้วสรุปความ คิดเห็นลงในแนวเดียวกัน นอกจากผู้สอนต้องรู้จักการใช้คำถามประเภทต่าง ๆ แล้วควรต้องรู้จักใช้ทั้ง คำถามระดับต่ำหรือง่ายปนกับคำถามระดับสูง หรือคำถามยาก เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนคิดทั้งง่ายและ ยากขึ้น เป็นลำดับ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นผู้มีความสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เพื่อที่จะสามารถตัดสิน จะทำจะเชื่อ หรือแก้ปัญหาได้อย่างมีหลักการและถูกทาง การตั้งคำถาม ระดับสูงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง และเป็นคนมีเหตุผล ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำ ความรู้ ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ และประเมิน สิ่งที่ถามได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้องและ กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามด้วยตนเอง การตอบคำถามระดับสูง ผู้สอนต้องให้เวลา ผู้เรียนในการคิดหาคำตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบคำถามระดับพื้นฐาน เพราะผู้เรียนต้องใช้เวลา ในการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้การตั้งคำถามจึงสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนา กระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น เน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่ เรียน ผู้สอนจะมีหน้าที่ป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบ คำถามเหล่านั้น ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และ วินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้ และยังช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจน นิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้การตั้งคำถามเป็น อีก วิธีการหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัย จาก เหตุผลที่นำเสนอข้างต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้การตั้งคำถาม (Questioning Method) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ว่าจะทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการ สอนแบบการตั้งคำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 สมมุติฐานของการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ การตั้งคำถาม (Questioning Method) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน กรอบแนวคิดการวิจัย ภาพที่1 : กรอบแนวคิดการวิจัย ที่มา : พีรพล พลดงนอก (2566) วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้นำเสนอวิธีดำเนินการศึกษาตามหัวข้อ ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสอนแบบการตั้งคำถาม 1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม 2. ขั้นเตรียมคำถาม 3. ขั้นการใช้คำถาม 4. ขั้นสรุปและประเมินผล การจัดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้ง คำถาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. แบบแผนการทดลอง 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวพิทยาคาร 1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภูที่ได้มาจากการ เลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. แบบแผนการทดลอง การศึกษาครั้งนี้มีแบบแผนการทดลอง (Experimental Design) กลุ่มเดียวทดสอบก่อน และ หลังการทดสอบ (One Group Pretest-Posttest Design) ตารางที่ 1 แบบแผนการทดลอง กลุ่ม สอบก่อน ทดลอง สอบหลัง E T1 X T2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการทดลอง E แทน กลุ่มทดลอง (Experimental Group T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) X แทน การจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม T2 แทน การทดสอบหลังเรียน (Posttest)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 3.1 แผนการจัดการเรียนรู้แบบการตั้งคำถาม เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3.1 แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้าง ดังนี้ 3.1.1 ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบการตั้งคำถาม 3.1.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา คู่มือครู หนังสือเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.1.3 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา วิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.1.4 ศึกษาเอกสาร หลักการและแนวคิด จากเอกสารตำรา ได้แก่ คู่มือครูหนังสือเรียนกลุ่ม สาระการ เรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และเอกสารการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 3.1.5 ดำเนินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบการตั้งคำถาม เรื่อง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 7 แผน รวม 7ชั่วโมง 3.1.6 แบบฝึกที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน วิชาสุข ศึกษา ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ความสอดคล้องและความเป็นไปได้ระหว่าง จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้และการวัดลประเมินผล โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณา ตรวจสอบ ให้คะแนน ดังนี้ - ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบนั้นเหมาะสมและสอดคล้อง - ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบเหมาะสมและสอดคล้อง - ให้คะแนนเป็น -1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบนั้นไม่เหมาะสมและสอดคล้อง แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence : IOC) ระหว่าง องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ จะต้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป 3.1.7 ปรับปรุงและแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 3.1.8 นำแผนการการเรียนรู้ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องแล้วไปใช้กับนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ปีการศึกษา 2566 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างการวิจัยและได้มาจาก การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 4 คน (ทดลองเดี่ยว) ประกอบไปด้วยนักเรียนที่มีความสามารถอยู่ ในระดับสูง 1 คน ปานกลาง 2 คน และต่ำ 1 คน ตรวจสอบข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการใช้สํานวนภาษา 3.1.9 นำแผนการการเรียนรู้ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องแล้วไปใช้กับนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ปีการศึกษา 2565 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างการวิจัยและได้มาจาก การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 12 คน (ทดลองกลุ่มเล็ก) ประกอบไปด้วยนักเรียนที่มีความสามารถ อยู่ในระดับสูง 3
คน ปานกลาง 6 คน และต่ำ 3 คน เพื่อหาข้อบกพร่องเกี่ยวกับเวลา สื่อการสอน ปริมาณเนื้อหาและกิจกรรม ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ 3.1.10 นำแผนการการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบและ ปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์ที่ใช้ในการทดลองภาคสนาม 3.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้าง ขึ้น เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างและหา ประสิทธิภาพ ดังนี้ 3.2.1 ศึกษาทฤษฎี วิธีสร้าง เทคนิคการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบ คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 3.2.2 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการวัด ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.2.3 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน การสอน วิชาสุขศึกษา เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณา ตรวจสอบ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ - ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดใต้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง - ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อความนั้นวัดได้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง - ให้คะแนน -1 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดไม่สอดคล้องกัน 3.2.4 นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อ คำถามของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหาค่า (IOC) แล้วคัดเลือกข้อสอบ จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 0.67-1.00 ถือว่า ผ่านเกณฑ์คัดเลือกและข้อสอบนั้นสามารถนำไปใช้วัดได้ 3.2.5 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดสอบใช้กับนักเรียนที่กำลังเรียน ชั้นมัธยมษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองบัวพอทยาคาร ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนวิชาสุขศึกษา ผ่านมาแล้วและไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างของ การวิจัย จำนวน 30 คน แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (P) และหาค่านํานาจจําแนก (r) เป็นรายข้อ 3.2.6 นำข้อสอบที่คัดเลือกแล้วจำนวน 20 ข้อไปทดสอบเพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับ โดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน KR-20 3.2.7 นำแบบทดสอบที่ได้ไปวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองภาคสนามต่อไป 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างตามลำดับดังนี้
4.1 ก่อนการทดลองให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4.2 ผู้วิจัยดำเนินการสอนกลุ่มตัวอย่างด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นจำนวน 7 แผน โดยให้ นักเรียน เรียนและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการ เรียนรู้แบบการ ตอบคำถาม 4.3 เมื่อสิ้นสุดการทดลองสอนแล้ว นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ชุดเดิมไปทดสอบนักเรียนอีกครั้ง จากนั้นนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติต่อไป 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยใช้ วิธีการ จัดการเรียนรู้แบบการตอบคำถาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยดำเนินการโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติสำหรับข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ตามขั้นตอนดังนี้ 5.1 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการ จัดการ เรียนรู้แบบการตอบคำถาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการหาคะแนนค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและร้อยละ 5.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลัง เรียน สรุปผลการวิจัย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม ได้คะแนนเฉลี่ย ก่อนเรียนเท่ากับ 11.03 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 55.17 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 13.86 คะแนน คิด เป็นร้อยละ 69.33 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน พบว่า หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน ตอนที่ 1 ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้ง คำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตารางที่ 1 ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการ ต ั้งคำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นรายบุคคลและ ภาพรวมระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน เลขที่ คะแนนก่อนเรียน 20 คะแนน คะแนนหลังเรียน 20 คะแนน 1 12 13 2 11 15 3 9 14
4 11 15 5 8 14 6 12 15 7 13 14 8 13 15 9 13 13 10 10 14 11 11 16 12 7 13 13 12 12 14 10 13 15 13 15 16 12 13 17 15 16 18 7 14 19 9 15 เลขที่ คะแนนก่อนเรียน 20 คะแนน คะแนนหลังเรียน 20 คะแนน 20 10 12 21 11 14 22 12 13 23 10 15 24 9 14 25 11 12 26 12 14 27 13 15 28 14 14 29 10 13 30 11 11 รวม 331 416 คะแนนเฉลี่ย 11.03 13.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.93 1.22
จากตารางที่ 1 พบว่าการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย ใช้วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม ของนักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 11.03 คิดเป็นร้อยละ 55.17 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 13.86 คิดเป็นร้อยละ 69.33 โดย คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ปรากฏดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการทดลอง x̅ S.D. ร้อยละ ก่อนเรียน 11.03 1.93 55.17 หลังเรียน 13.86 1.22 69.33 ที่มา : พีรพล พลดงนอก (2566) จากตารางเรียนที่ 2 แสดงว่า จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.03 คิดเป็นร้อยละ 55.17 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 13.86 คิด เป็นร้อยละ 69.33 ปรากฏว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อภิปรายผล ในการวิจัยครั้งนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจและสามารถนำมาอภิปรายผล ดังนี้ จากการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอน แบบการตั้งคำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 อภิปรายผล ดังนี้ กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการตั้ง คำถาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน สูงขึ้น วัดผลโดยการใช้แบบทดสอบคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย ก่อนเรียนเท่ากับ 11.03 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 55.17 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 13.86 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 69.33 เนื่องจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการวิจัยที่ผู้วิจัย ได้จัดทำแผน จัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และดำเนินการตามแผนที่วางไว้นักเรียนปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนรู้แบบตั้งคำถาม โดยใช้ 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ผู้สอนมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือ ประการใดที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน 2) ผู้สอนเตรียมคำถามที่ใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็น คำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น 3) ผู้สอนใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัด กิจกรรมการเรียนรู้และสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ ให้มีความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
และสถานการณ์ 4) ผู้สอนใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียน 5) ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง การสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดีรวมไปถึง การช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของ ผู้เรียนและยังช่วยเน้นในการทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่ได้เรียนอีกทั้งช่วยในการประเมินผล การเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน วินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้ ช่วยสร้าง ลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบการตั้งคำถาม สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้น สอดคล้องกับผลงานวิจัยของกัญญา สิทธิศุภ เศรษฐ์ (2548, อ้างถึงใน วาสนา ศรัทธา, 2552 : 55) ได้ศึกษาผลการใช้ กิจกรรมการตั้งคำถามที่มีต่อทักษะ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้ ได้รับการสอนจาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการใช้กิจกรรมการตั้งคำถาม มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น ทั้งโดยรวมและจำแนก ตามความสามารถ ทางการเรียนของนักเรียน เช่นเดียวกับผลการวิจัยของมนรัตน์ สมสุข, ชาติชาย ม่วงปฐม และจุฬา มาศ จันทร์ ศรีสุคต (2555) ได้ทำการวิจัยเรื่องผลของวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม มี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ ผู้วิจัยพบว่า การใช้คำถามระดับสูง และให้นักศึกษาตอบเป็นรายบุคคล ส่งผลให้นักศึกษาทั้งชั้นมี ความ กระตือรือร้นและตั้งใจเรียนมากขึ้น โดยการตั้งคำถามให้ตรงประเด็น มุ่งพัฒนากระบวนการคิดที่จะช่วยให้ นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากคำถามใดที่นักศึกษาตอบไม่ได้ เพื่อนในห้องจะช่วยแสดงความคิดเห็น และมี การโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบลูม Bloom. (1976 :13) ที่กล่าว ว่า การให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีการโต้ตอบระหว่างครูกับนักเรียน มีการ ส่งเสริมปฏิบัติ กิจกรรมร่วมกัน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับผลการวิจัย กัญญา สิทธิศุภเศรษฐ์ (2548, อ้างถึงใน วาสนา ศรัทธา, 2552 : 55) ได้ศึกษาผลการ ใช้กิจกรรมการตั้ง คำถามที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3/8 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 50 คน เครื่องมื เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา คือแผนการจัดการ เรียนรู้ จำนวน 15 แผน และแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยผู้วิจัย ปฏิบัติการสอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาคะแนนเฉลี่ยและทำการทดสอบค่าที (t - test) ด้วย โปรแกรมSPSS ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับ สอนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการ ตั้งคำถาม มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น ทั้งโดยรวมและ จำแนกตามความสามารถทางการเรียนของนักเรียน คือ นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน มีทักษะการ คิดวิเคราะห์ด้านการจำแนกแยกแยะ ด้านการ เปรียบเทียบ ด้านการเห็นความสัมพันธ์ และด้านการให้เหตุผลสูงขึ้น ทั้งโดยรวมและจำแนกตามความสามารถ ทางการเรียนของนักเรียน คือ นักเรียนกลุ่มเก่งกลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ มน รัตน์ สมสุข, ชาติชาย ม่วงปฐม และจุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต (2555) ได้ทำการวิจัยเรื่องผลของวิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธี ด้วยวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน 2. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิชา ประวัติศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 เช่นเดียวกับผลการวิจัยของ สุพลา ทองแป้น, พูนสุข อุดมและธวัฒน์ ชัย เทพนวล (2552) ได้ทำการวิจัยเรื่องผลของการใช้วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ คำถามต่อความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ ได้รับการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม มีความสามารถด้านการคิดอย่างมี วิจารณญาณหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ ได้รับการสอนโดยใช้ วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 ครูควรศึกษาวิธีการสอนแบบการตั้งคำถามให้เข้าใจก่อนนำไปใช้ และควรทำความเข้าใจกับ การเรียน เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 1.2 ครูต้องพยามยามให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ กระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ เปิดโอกาสแก่ผู้เรียนทุกคนเท่า ๆ กันชี้ให้เห็นความสำคัญของ ตนเองและผู้อื่นควรกระตุ้น และให้กำลังใจนักเรียนให้เกิดความมั่นใจในการเรียน และกล้าแสดงความ คิดเห็นของตนเองต่อกลุ่ม และมี ความรับผิดชอบในภาระงาน 1.3 ครูผู้สอนควรแจ้งผลการปฏิบัติกิจกรรมทันที เช่น ผลการตรวจชิ้นงานการทำ แบบทดสอบย่อยท้าย แผน และผลประเมินกิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ครูผู้สอนต้องคอยสังเกต คะแนนทุก ขั้นตอนเพื่อเป็นการกระตุ้นนักเรียนให้ความร่วมมือและปรับปรุงแก้ไขในทุกกิจกรรม 2. ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาการสอนแบบตั้งคำถามในการเรียนรู้ในเนื้อหาอื่น หรือระดับชั้นอื่น ๆ 2.2 ควรมีการเปรียบเทียบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปสอนเปรียบเทียบ กับวิธีสอนอื่น ๆ ในเนื้อหาเดียวกันและชั้นเดียวกัน เพื่อจะได้เป็นการส่งเสริมและหาแนวทางในการ ปรับปรุงพัฒนาการจัดการ เรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อ 2.3 ควรนำวิธีการสอนแบบอื่นๆ มาใช้ในเนื้อหา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น วิธีการสอนแบบการ ต่อเรื่องราว (JIGSAW) วิธีการสอนแบบกระบวนร่วมมือกลุ่ม (STAD) วิธีการสอน แบบการเรียนรู้ร่วมกัน (LT)
กิตติกรรมประกาศ รายงานการวิจัยเรื่องผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยใช้ วิธีการสอนแบบการตั้งคำถาม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองบัว พิทยาคาร งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จสมบูรณ์และบรรลุเป้าหมายเพราะได้รับความช่วยเหลือ และคำแนะนำที่เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง จากผู้มีพระคุณหลายท่าน อาทิ คุณพ่อ คุณแม่ และญาติ ๆ ที่คอยสนับสนุนปัจจัยในการส่งเสริมการเรียนคอยให้กำลังใจและ ช่วยเหลือในการทำงานบ้างแม้จะเล็กน้อย ผศ.ดร.วิรดี เอกรณรงค์ชัย ที่ให้คำปรึกษา และตรวจทานแนะนำข้อมูลให้ข้อเสนอแนะในการทำ เครื่องมือ และปรับปรุงแก้ไข ให้งานวิจัยได้สมบูรณ์และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ที่ให้ความร่วมมือในการทำวิจัยด้วย ความเต็มใจและปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นอย่างดี สุดท้ายนี้ทางคณะผู้จัดทำรายงานการวิจัยขอบคุณคุณครูทุกคนในหมวดสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ที่ให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการทำวิจัยครั้งนี้ รายการอ้างอิง ภาษาไทย กรมควบคุมโรค. (2550). การควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมธ์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. จาก https://www.pidst.or.th/A732.html. กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุ สภา ลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ครุสภา ลาดพร้าว. กระทรวงสาธารณสุข. (2563). กรมควบคุมโรค ห่วงวัยรุ่นรักไม่ปลอดภัยช่วงสงกรานต์ ยึดหลัก C2T ปลอดภัย จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18045&deptcode=brc&news_views=194 ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์. ชาญชัย อินทรประวัติ. (2559). จิตวิทยาส าหรับครู ตอนที่หนึ่ง : ความพร้อมของผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก http://www.sut.ac.th/tedu/article/psychology.htm
นฤมล แสงพรหม. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระ การ เรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนและทศนิยมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลย้อนกลับแบบเฉลย ค าตอบ กับอธิบายค าตอบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเทคโนโลยีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. นุสรัน เฮาะมะ. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับนักศึกษาผู้หญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต). ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. บุญชู สถิรลีลา. (2562). โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้หญิงควรระวัง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. จาก https://www.princsuvarnabhumi.com/content-sexually-transmitted-disease/. ปารมี ศรีบุญทิพย์. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการคิดเชิงระบบ. ดรรชนีวารสาร. 10(3), 40-51. พิชามญช์ วรินทักษะ. (2549). การพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าของตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ใน วัยรุ่น อ าเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด. พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป. ไพศาล หวังพานิช. (2546). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ภารดี ศรีลัด. (2558).วิธีการสอนวิชาพลศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. จาก http://www.satitchula.org/p/howto.html. มณีรัตน์ธีระวิวัฒน์. (2554) สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ ทักษะและความพึงพอใจในการด าเนินงานงานสุข ศึกษา ตามมาตรฐานงานสุขศึกษาของบุคคลากรในสถานบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยุทธริ นทร์การพิมพ์. มนรัตน์ สมสุข, ชาติชาย ม่วงปฐม และจุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต. (2555). ผลของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับ เทคนิคการใช้ค าถามที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ประวัติศาสตร์ บองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (รายงานผลงานวิจัย). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี. วนิดา เดชตานนท์. (2539). การสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์สถาบัน ราชภัฏ นครราชสีมา. วัชราภรณ์ บัตรเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศของนักเรียนไทย ชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 4(2), 29-3 วารี ว่องพินัยรัตน์. (2530). การสร้างข้อทดสอบวัดผลฤทธิ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาทดสอบและวิจัย การศึกษา คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยสวนสุนันทา สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.
วาสนา ศรัทธา. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเทคนิคการใช้ค าถาม สาระการเรียนรู้ การ จัดการสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดล าปาง (รายงานผลงานวิจัย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิริรัตน์ สินประจักษ์ผล. (2548). ผลกระทบจากการตั้งคำถามของผู้สอน. วารสารปาริชาต. 18(1), 79-86. สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, (2542). ยุทธศาสตร์การสอน. วารสารวิชาการ. 2(3), 10-21. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2534). การใช้เวลาของครูและผู้บริหาร โรงเรียน ประถมศึกษา ส านักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2534). คู่มือผู้บริหารโรงเรียน : การด าเนินการนิเทศ ภายในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สุชาดา วงศ์ใหญ่ และไพเราะ แดงก้อ. (2551). สุขศึกษา น. 3. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า จํากัด. สุพลา ทองแป้น, พูนสุข อุดมและธวัฒน์ชัย เทพนวล. (2552). ผลของการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับ เทคนิคการใช้ค าถามต่อความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยทักษิณ. อรนุช ศรีสะอาดและคณะ. (2550). การวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์ : ประสานการ พิมพ์. เอกรินทร์ สังข์ทอง และทยภร กระมุท. (2550). ผลของการสอนอ่านด้วยกลวิธีการตั้งค าถามผู้เขียนที่มีต่อการ อ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ การสรุปความ และเจตคติทางด้านการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ภาษาอังกฤษ American Nurses Association. (1998). Standard of Clinical Nursing Practice, American Nurses Association, 2nd ed. DC: American Nurses Publishing.