The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปป.วิจัยพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจ (แบบมีQR)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Saita Mutita, 2022-08-30 19:16:50

ปป.วิจัยพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจ (แบบมีQR)

ปป.วิจัยพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจ (แบบมีQR)

กิตตกิ รรมประกาศ

การวิจัยพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนา
การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร ครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับน้ี สาเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
เป็นเพราะผู้วิจัยได้รับความกรุณาจากท่านศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี รองศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้อานวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล ผู้อานวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน ศึกษานิเทศก์
สานักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี ผู้อานวยการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี และครู
ผู้รับผิดชอบงานการนิเทศภายในของโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้สนับสนุนให้คาปรึกษา แนะนา
และกาลงั ใจในการทางานมาโดยตลอด

ขอขอบพระคุณ ผู้เช่ียวชาญทุกท่านที่กรุณาตรวจสอบพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมท้ังให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่เสียสละเวลามาเป็นผู้ร่วมสนทนากลุ่ม และขอขอบพระคุณทุกท่านท่ีมีส่วนเก่ียวข้อง
ในการวจิ ยั ครั้งนี้ทไี่ ม่ไดเ้ อย่ นามไว้ ณ โอกาสน้ีด้วย

ท้ายสุดนี้ขอขอบคุณพ่ี เพื่อน น้องในสานักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี ทุกท่านท่ีให้
การสนับสนุนและเป็นกาลังใจ รวมท้ังเป็นผู้อยู่เบ้ืองหลังความสาเร็จในคร้ังนี้ ประโยชน์และคุณค่าทั้งปวง
อันเกดิ จากการพัฒนาเอกสารฉบับน้ี ผู้วิจัยขอมอบคุณค่าแด่ทุกท่านท่ีประสิทธ์ิประสาทวิชาความรู้ให้แก่ผู้วิจัย
ทาให้ผู้วิจัยไดร้ ับประสบการณ์อันมคี า่ ยง่ิ

จิตตวดี ทองทว่ั

การพฒั นารูปแบบการเสรมิ พลงั อานาจในการนิเทศภายในสถานศกึ ษาต่อการพฒั นา
การจดั การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร ครโู รงเรยี นเอกชน จงั หวัดอุบลราชธานี
Developing a model for empowerment of internal supervision within educational
institutions toward development management of learning English for communication,

private school teacher Ubon Ratchathani Province.

จติ ตวดี ทองทว่ั I Chittawadee Thongthua

ศกึ ษานเิ ทศก์ สานกั งานศึกษาธกิ ารจังหวัดอุบลราชธานี
Supervisor, Ubon Ratchathani Provincial Education Office

Corresponding Author email: [email protected]

บทคัดยอ่

การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสาร ครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ ดังน้ี 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการเสริม
พลงั อานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ครูผู้รับผิดชอบงานการนิเทศภายใน
ของโรงเรียน และ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ รวมจานวน 210 คน ใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม สุ่มแบบหลายข้ันตอน
เครอ่ื งมือทีใ่ ช้ ไดแ้ ก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสมั ภาษณ์ 2) เพอ่ื พัฒนารปู แบบการเสริมพลงั อานาจในการนิเทศภายใน
สถานศึกษา โดยการจัดสนทนากลุ่ม แบบอิงผู้เช่ียวชาญ 15 คน เคร่ืองมือท่ีใช้ คือแบบสนทนากลุ่ม 3) เพื่อประเมินผล
รปู แบบการเสรมิ พลงั อานาจในการนเิ ทศภายในสถานศึกษา ดว้ ยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง
จากโรงเรียนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา รวม 2 โรงเรียน โรงเรียนละ 9 คน ประกอบด้วย
ผบู้ ริหารโรงเรยี น 1 คน ครูผูร้ บั ผิดชอบงานการนิเทศ ช่วงชน้ั ละ 1 คน รวม 2 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จานวน 6 คน
รวมจานวน 18 คน เคร่ืองมือท่ีใช้ ได้แก่ 1) แบบสังเกตกระบวนการดาเนินงาน 2) แบบสอบถาม และ3) แบบประเมิน
การจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เน้ือหา ( Content
Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง
(  =3.33) คุณลักษณะการเป็นครูที่ได้รับการเสริมพลังอานาจ อยู่ในระดับปานกลาง (  =2.28) 2) รูปแบบการเสริม
พลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษา มีองค์ประกอบของรูปแบบ 6 ข้ัน 3) ผลการประเมินรูปแบบการเสริม
พลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษา พบว่า 3.1) โรงเรียนเป้าหมายมีการปฏิบัติงานตามข้ันตอนการดาเนินการ
เสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาทั้ง 6 ขั้น 3.2) การดาเนินการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายใน
สถานศึกษา อยู่ในระดับมากท่ีสุด (  =4.50) 3.3 ) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ของครู อยูใ่ นระดบั มากทสี่ ุด (  =4.53)

คาสาคัญ: การเสรมิ พลังอานาจในการนเิ ทศภายในสถานศกึ ษา, การจัดการเรียนรู้ภาษาองั กฤษเพ่อื การสือ่ สาร

2

Abstract
Developing a model of empowerment of internal supervision towards the development of
English learning management for communication among private school teachers in Ubon
Ratchathani Province. Its objectives are 1) To study the current state of empowerment in
supervision within educational institutions. The sample group was private school administrators,
teachers responsible for internal supervision of the school, and English language teachers, totaling
210-people. The research uses the school as a random unit by multi-step random and the tools
used were 1) questionnaires 2) interview forms 2) To develop a model for empowering supervision
within educational institutions by organizing group discussions based on 15 experts by using group
discussion tools.3) To conduct action research using purposive sampling from elementary school
and secondary schools, 9 people per school. This consists of 1 school administrator, 1 teacher in
charge of supervision, 1 person per class for a total of 2 people, and 6 English language teachers for
a total of 18 people. The tools used are 1) The operational process observation form, 2) the
questionnaire and 3) the Assessment of learning management for Accuracy. Data were analyzed
using statistics, mean, standard deviation, and content analysis.

The results of the research showed that 1) the condition of empowerment in supervision
within the educational institution is at a moderate level (  =3.33) Characteristics of being
Empowered Teachers It was at a moderate level (  =2.28). 2) Model of empowerment in
supervision within educational institutions having 6 steps form elements 3) The results of the
assessment of the model of empowerment in supervision within educational institutions found that
3.1)The target schools operate by the 6 steps of the implementation of the empowerment of
supervision within the educational institution.3.2) Implementation of empowerment of supervision
within educational institutions is at the highest level (  =4.50) 3.3) The ability to manage to learn
English for communication among teachers is at the highest level (  =4.53)

Keywords : empowerment of supervision within educational institutions, management of learning
English for communication

บทนา
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลท่ีประชาคมโลกเกือบทั่วโลกใช้เพื่อการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล

เผยแพร่ข่าวสารและวิทยาการต่าง ๆ กันมาช้านาน ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือการสื่อสารสาคัญในโลกปัจจุบัน
ผนวกกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารท่ีมีประสิทธิภาพมากข้ึนเรื่อย ๆ การดารงชีวิตประจาวันของ
ประชาคมโลกสามารถเชื่อมต่อหากันเป็นเครือข่ายโยงใยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก มีการกระจายข้อมูล
ข่าวสารอย่างรวดเร็ว ความล้าหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือมีประสิทธิภาพ
มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงส่งผลให้ข้อมูล ข่าวสาร วิทยาการต่าง ๆ สามารถเข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว เพิ่มปริมาณ และ
มีประสิทธิภาพมากขึ้นเร่ือย ๆ สาหรับประเทศไทยซ่ึงเป็นหน่ึงในสมาชิกประชาคมอาเซียน จากกฎบัตรสมาคม
แห่งประชาชาติอาเซียนได้กาหนดไว้ในข้อท่ี 34 ระบุว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการทางานของอาเซียน (The
working language of ASEAN shall be English) (กรมการปกครอง, 2558) ดังน้ัน ความสามารถ ในการส่ือสาร
ภาษาอังกฤษของคนไทยจงึ เปน็ ทกั ษะจาเปน็ อย่างย่ิงตอ่ การดาเนินชีวิต

3

จากผลการจัดอันดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยดัชนี EF English Proficiency Index ซ่ึงเป็น
องคก์ รท่จี ดั อันดบั ประเทศจากความสามารถด้านการใชภ้ าษาอังกฤษโดยใชด้ ชั นวี ดั ระดับความรู้ทางภาษาองั กฤษ พบวา่
ปี 2017 ประเทศไทยมคี ะแนนความสามารถทางภาษาองั กฤษอยูใ่ นอนั ดบั ทตี่ ่า (Low proficiency) คือ 45.35 คะแนน
จาก 100 คะแนน อยู่ลาดับท่ี 14 จาก 16 ประเทศในทวีปเอเชียอยู่ลาดับที่ 62 จาก 70 ประเทศทั่วโลก และ ในปี
2018 มีคะแนน 48.54 คะแนนจาก 100 คะแนน อยู่ลาดับที่ 16 จาก 21 ประเทศในทวีปเอเชีย อยู่ลาดับท่ี 64
จาก 88 ประเทศทั่วโลก โดยผลการทดสอบของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2011-2016 ประเทศไทยอยู่ระดับ ‘ต่ามาก’
(Very low proficiency) มาโดยตลอด มีเพียงช่วงปี 2017-2018 เท่าน้ันท่ีสามารถทาคะแนนอยู่ในระดับ ‘ต่า”
(Low proficiency) (EF Education first, 2561) และจากผลการสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test)
ของสถาบนั ทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ขอ้ มลู ดา้ นผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนในด้านภาษาอังกฤษของประเทศไทย
ในภาพรวมที่ผ่านมานับเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธ์ิต่ามาอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาจากผลการทดสอบ
การศึกษาระดบั ชาตขิ ัน้ พืน้ ฐาน เห็นไดว้ ่าผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นของเดก็ ไทยยังไม่เป็นท่นี า่ พอใจ โดยวชิ าทีม่ ผี ลสมั ฤทธิ์
ต่าท่สี ุดสองวชิ า คอื คณิตศาสตร์ และภาษาองั กฤษ (สานักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา, 2560)

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้มีนโยบายเร่งด่วนในการยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือเพ่ิม
ระดบั ความสามารถให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการได้กาหนด
นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังน้ี ให้ใช้กรอบมาตรฐานความสามารถ
ทางภาษาอังกฤษท่ีเป็นสากล ไดแ้ ก่ The common European Framework of Reference for Languages (CEFR)
เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ออกแบบหลักสูตรพัฒนาการเรียน
การสอน การวดั ประเมินผล พัฒนาครู กาหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไป
ตามธรรมชาตขิ องการเรยี นรู้ที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) เริ่มจาก ฟัง พูด อ่าน เขียน
ส่งเสรมิ การเรยี นการสอนภาษาอังกฤษทมี่ มี าตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก ส่งเสรมิ การยกระดับความสามารถการใช้
ภาษาอังกฤษจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความสามารถภาษาอังกฤษ เช่นการจัดค่ายวิชาการสองถึงส่ี
สัปดาห์ช่วงปิดภาคเรียน เพ่ิมช่ัวโมงเรียนภาษาอังกฤษอย่างต่อเน่ืองจากครึ่งวันเป็นทั้งวัน จัดสภาพแวดล้อมกิจกรรม
ในโรงเรียนให้เหมาะสม ยกระดับความสามารถการจัดการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ท่ีเน้น
การส่ือสาร (CLT) เป็นไปตามกรอบหลักของ CEFR ประเมินความรู้พื้นฐานของครู ฝึกอบรมครู ส่งเสริมให้มีการใช้ส่ือ
เทคโนโลยีเพ่ือการศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการพัฒนาความสามารถด้านภาษาของครูและผู้เรียน (สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน, 2557)

การปฏิรปู การศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ. 2552-2561) ได้กาหนดเป้าหมายการพัฒนาคือการเพ่ิมโอกาส
การศกึ ษาและการเรียนรอู้ ยา่ งท่ัวถึงและมคี ุณภาพ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้
มคี วามสามารถในการส่ือสาร สามารถคดิ วเิ คราะห์ คดิ สรา้ งสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
(สานกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา, 2552) การท่ีจะทาใหเ้ ยาวชนไทยทกุ คนไดเ้ รียนรู้หลากหลายและส่งผลต่อคุณภาพ
การศึกษาตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและเป้าหมายของ
การปฏิรูปการศกึ ษา สิง่ สาคัญทีส่ ง่ ผลต่อคุณภาพการศกึ ษา คือ “คร”ู เพราะเปน็ ผ้ทู ี่มีความสาคัญที่สุด ในกระบวนการ
จัดการศึกษา ครูสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถ ครูเป็นผู้มีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาประเทศ (เฉลียว อยู่สีมารักษ์,
2552 ; สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, มยุรี จารุปาณ, และกรรณิการ์ บารมี, 2545) และในขณะเดียวกัน “ครู” จะต้องได้รับ
การพฒั นาความรแู้ ละทกั ษะให้สามารถจัดการเรยี นการสอนไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ รวมท้งั ตอ้ งมีการจัดระบบสนับสนุน
การเรียนการสอนท่ีมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2555) ได้กาหนดแนวทาง
พัฒนาครูในศตวรรษท่ี 21 สู่ความเป็นมืออาชีพโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Professional Development)
พฒั นาครใู นภาวการณ์สอนจริงทโี่ รงเรยี น (On the Job Training) โดยวธิ ีการนเิ ทศแบบระบบพ่ีเล้ียง (Coaching and
Mentoring) ดังนั้นหากต้องการให้คุณภาพการศึกษาเป็นไปตามนโยบายดังกล่าวจะต้องอาศัยกระบวนการนิเทศ
การศึกษา (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน, 2553) เน่ืองจากการนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่ส่งเสริม
คุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น เป็นกระบวนการช้ีแนะ และให้ความร่วมมือต่อการจัดกิจกรรมของครูเพ่ือการปรับปรุง

4

การเรียนการสอน เพือ่ พฒั นาคุณภาพผู้เรียนใหบ้ รรลุตามจุดประสงคท์ กี่ าหนด (วัชรา เล่าเรียนดี, 2556) หรืออาจกล่าวได้ว่า
การนิเทศเป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน (Professional Learning Community) เพ่ือพัฒนา
คุณภาพการศกึ ษาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสาเร็จ

การเสรมิ พลงั อานาจ (Empowerment) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นในการพัฒนาความสามารถของบุคคล เพื่อให้
สามารถกระทาการใด ๆ ให้บรรลุเป้าหมายท่ีต้ังไว้ได้ การเสริมพลังอานาจจึงได้รับความสนใจจากหลายสาขาวิชา
การเสรมิ พลังอานาจเป็นแนวคิดทางการบริหารที่ไดร้ ับการยอมรับว่าเป็นสว่ นหนงึ่ ของรูปแบบการบริหาร (Scarnati, &
Scarnati, 2002) และนามาใช้อย่างกวา้ งขวางในวงการบริหารมาต้ังแต่ปี 1980 จนถึงปัจจุบัน โดยยอมรับว่าการเสริม
พลังอานาจสามารถพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของงานได้ ซึ่งสอดคล้องกับ (Clutterbuck, & Kernaghan, 1994)
ท่ีกล่าวถึงความสาคัญของการเสริมพลังอานาจผู้ปฏิบัติงานว่านอกจากจะทาให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทา งานได้อย่างมี
คุณภาพแล้วยังมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน ทีมงาน และองค์กรอีกหลายประการ เน่ืองจากการเสริมพลังอานาจทาให้
ผู้ปฏบิ ตั งิ านมคี วามกระตือรอื ร้นและพรอ้ มที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการแบ่งปันข้อมูลท่ีสาคัญจาเป็นในการปฏิบัติงาน
รวมทัง้ มกี ารใหข้ ้อมลู ยอ้ นกลับซึ่งสอดคลอ้ งกบั แนวคดิ การเปน็ องค์กรแหง่ การเรยี นรู้

สานักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานีมีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุน และดาเนินการเกี่ยวกับงาน
ด้านวิชาการ การนิเทศการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมท้ังติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัด
การศึกษา ดาเนินงานแบบบูรณาการเชิงพื้นท่ีในระดับจังหวัด โดยมีโรงเรียนเอกชนเป็นโรงเรียนในสังกัด ในขณะท่ี
การทดสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test) ของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) วิชา
ภาษาอังกฤษได้สร้างแบบทดสอบให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ท่ีประกอบด้วย 4 สาระ คือ 1) ภาษาเพ่ือการส่ือสาร 2) ภาษาและวัฒนธรรม 3) ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระ
การเรยี นรู้อื่น และ 4) ภาษากับความสัมพนั ธก์ บั ชุมชนและโลก โดยกาหนดจานวนขอ้ สอบในสาระภาษาเพ่อื การสอื่ สาร
มากกวา่ สาระอืน่ ๆ เน่ืองจากเป็นสาระที่สาคัญ และเน้นการสื่อสารซ่ึงสอดรับกับการจัดการเรียนการสอนภาษาเพ่ือการ
ส่ือสาร ข้อมูลผลสัมฤทธิ์จากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (O-NET) วิชาภาษาอังกฤษ สาระท่ี 1 ภาษาเพ่ือ
การส่ือสาร ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี เม่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระดับจังหวัดกับระดับประเทศแล้ว
พบวา่ ค่าเฉลี่ยตา่ กว่าระดบั ประเทศ โดยมีข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี (ปี พ.ศ. 2560 – 2561) ดังน้ี ระดับประถมศึกษาปีที่ 6
ปี พ.ศ.2560 ระดับจังหวัดมีคะแนน 31.91 ระดับประเทศ 34.97 ปี พ.ศ.2561 ระดังจังหวัดมีคะแนน 34.16 ระดับ
ประเทศ 38.24 ระดบั ช้นั มัธยมศึกษาปีท่ี 3 ปี พ.ศ.2560 ระดับจังหวัดมีคะแนน 29.06 ระดับประเทศ 30.78 ปี พ.ศ.2561
ระดับจังหวัดมีคะแนน 27.71 ระดับประเทศ 29.81 ระดับช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 6 ปี พ.ศ.2560 ระดับจังหวัด มีคะแนน
24.99 ระดับประเทศ 29.47 ปี พ.ศ.2561 ระดับจังหวัดมีคะแนน 26.45 ระดับประเทศ 31.89 (สถาบันทดสอบ
ทางการศึกษาแห่งชาติ, 2561) ซึง่ จะเห็นไดว้ ่า สาระท่ี 1 ภาษาอังกฤษเพ่อื การส่ือสารเป็นสาระท่ีมีความจาเป็นเร่งด่วน
ทีจ่ ะตอ้ งพฒั นาทั้งดา้ นผลสัมฤทธแ์ิ ละทกั ษะการสือ่ สาร

สานักงานศึกษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานมี คี วามตระหนัก และเห็นความสาคัญในปัญหาดังกล่าวจึงได้เสนอ
โครงการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร และได้รับการอนุมัติงบดาเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ
ประจาปีของจังหวัด ประจาปงี บประมาณ 2561 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
ของประชาชน เพื่อขับเคล่ือนบูรณาการการดาเนินการโครงการดังกล่าวในระดับจังหวัด โดยผู้วิจัยซ่ึงปฏิบัติหน้าท่ี
ศึกษานเิ ทศกก์ ลมุ่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาตา่ งประเทศ จงึ ได้รับมอบหมายให้เป็นคณะทางานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนา
ทักษะการใชภ้ าษาองั กฤษเพื่อการส่อื สารซง่ึ เปน็ การดาเนนิ งานแบบบูรณาการในระดับจังหวัด และในฐานะศึกษานิเทศก์
ผ้รู บั ผดิ ชอบโรงเรยี นเอกชนในจังหวัด ซึง่ มหี นา้ ที่พัฒนางานวิชาการและงานนิเทศการศึกษาเพ่ือปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานการศึกษา จึงค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์หารูปแบบการนิเทศที่เหมาะสมท่ีจะนาไปใช้
ในการพัฒนาสถานศกึ ษา พัฒนาครู พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นสมรรถนะสาคัญของครูมาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงครูผสู้ อนกลุ่มสาระการเรียนร้ภู าษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ท่ียังคงเผชิญปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา
ทง้ั ผลสัมฤทธ์ทิ างการศกึ ษา ความสามารถใชภ้ าษาองั กฤษเพ่ือการสื่อสารของผู้เรียน ผู้วิจัยจึงสนใจท่ีจะศึกษาการพัฒนา
รูปแบบการเสรมิ พลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพฒั นาการจดั การเรยี นรู้ภาษาองั กฤษเพ่อื การสื่อสาร

5

ครูโรงเรียนเอกชน จงั หวัดอบุ ลราชธานี เพื่อนาผลการศกึ ษาในคร้ังนเี้ ป็นแนวทางในการเสริมพลังอานาจการนิเทศภายใน
สถานศกึ ษาให้ครมู ีความสามารถในการทางานและมีความพึงพอใจในงานอนั จะสง่ ผลต่อการพัฒนาคณุ ภาพของผู้เรียนต่อไป

วตั ถปุ ระสงคก์ ารวจิ ัย
1. ศกึ ษาสภาพปัจจุบันการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ภาษาองั กฤษเพื่อการสือ่ สาร ครูโรงเรียนเอกชน จงั หวัดอุบลราชธานี
2. เพ่ือพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ภาษาองั กฤษเพอ่ื การสื่อสาร ครูโรงเรียนเอกชนจงั หวัดอุบลราชธานี และ
3. ประเมินผลรูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ภาษาองั กฤษเพื่อการสอื่ สาร ดว้ ยวิธี
3.1) ประเมนิ การดาเนนิ การเสรมิ พลงั อานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ภาษาอังกฤษเพ่อื การสอื่ สารของโรงเรียนเอกชน จงั หวดั อบุ ลราชธานี
3.2) ประเมินการจัดการเรียนรภู้ าษาองั กฤษเพ่ือการสอ่ื สาร ของครวู ิชาภาษาองั กฤษในโรงเรียนเอกชน

การดาเนนิ การวิจยั การดาเนนิ การวจิ ยั แบ่งเปน็ 3 ขั้น
ข้ันท่ี 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการ

เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร กลุ่มตัวอย่าง จานวน 210 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 70 คน ครูผู้รับผิดชอบ
การนเิ ทศภายใน 70 คน และครูผสู้ อนวิชาภาษาอังกฤษ 70 คน การสุม่ ใชโ้ รงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
โดยใชต้ ารางสาเรจ็ รปู ของ R.V.Krejcie and R.W. Morgan ทาการสุมตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-
stage sampling) และผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์สภาพปัจจุบัน และแนวทางการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายใน
สถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection)
ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการนิเทศภายใน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนเอกชนจาก 3 โรงเรียน
จานวน 9 คน โดยเลือกจากโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก อย่างละ 1 โรงเรียน เครื่องมือท่ีใช้ในการ
รวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการ
พฒั นาการจดั การเรยี นร้ภู าษาองั กฤษเพือ่ การสอ่ื สาร 2) แบบสัมภาษณ์สภาพปจั จุบนั และแนวทางการเสรมิ พลงั อานาจ
ในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรยี นรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการสอื่ สาร ซึ่งผ่านการหาค่าความเที่ยงตรง
โดยผเู้ ช่ียวชาญ 7 คน การหาคา่ ความเชื่อมั่นดว้ ยการหาค่าสมั ประสิทธแ์ิ อลฟาของ Cronbach

ข้ันที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการ
เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร ดาเนินการโดยใช้กระบวนการอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ด้วยการจัด
สนทนากลุม่ (Focus Group) มผี ู้ให้ข้อมลู เปน็ ผ้ทู รงคุณวุฒิ 15 คน ประกอบด้วย 1) รองศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี
1 คน 2) ศึกษานิเทศก์ สานักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี 3 คน 3) ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เลือกจากผู้บริหาร
โรงเรียนท่ีมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสูง โดยพิจารณาจากผลการทดสอบระดับชาติ
O-NET ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 และช้นั มัธยมศึกษาปีท่ี 3 ปกี ารศกึ ษา 2561 4) ครูผู้รับผดิ ชอบงานนเิ ทศภายในโรงเรยี น
กาหนดคุณสมบัติต้องมีประสบการณ์ในการนิเทศภายในไม่น้อยกว่า 5 ปี 5) ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษช้ันประถมศึกษา
ปีที่ 6 หรือช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนเอกชน กาหนดคุณสมบัติต้องมีประสบการณ์ในการสอนภาษาอังกฤษ
ไม่นอ้ ยกว่า 5 ปี (เปน็ บุคลากรในโรงเรยี นเดยี วกัน) อย่างละ 3 คน รวม 9 คน 6) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินรูปแบบ
มีคุณสมบัติจบปริญญาเอก ด้านหลักสูตรและการสอน 1 คน และ ปริญญาโทด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
1 คน เคร่ืองมือทใี่ ช้รวบรวมขอ้ มลู คือแบบสนทนากล่มุ

ขนั้ ที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสรมิ พลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการ
เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผู้ให้ข้อมูลข้ันน้ี ประกอบด้วย 1) บุคลากรของโรงเรียนอนุบาลน้องหญิง จานวน 9 คน
ประกอบดว้ ยผบู้ รหิ ารโรงเรียน 1 คน ครูผ้รู บั ผิดชอบการนิเทศ ช่วงช้ันละ 1 คน รวม 2 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ

6

ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1-6 จานวน 6 คน 2) บุคลากรของโรงเรียนอนุบาลพุทธเมตตา จานวน 9 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร
โรงเรียน 1 คน ครูผู้รับผิดชอบงานการนิเทศ ช่วงชั้นละ 1 คน รวม 2 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษช้ันมัธยมศึกษา
ปที ี่ 1-6 จานวน 6 คน การดาเนนิ การใช้การวจิ ยั เชิงปฏิบัตกิ ารแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงพัฒนา โดยการจัดอบรม
เชิงปฏิบัติการ 2 วัน จากนั้นจึงนารูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการ
เรยี นร้ภู าษาองั กฤษเพ่อื การสอ่ื สาร ไปใชก้ ับโรงเรียนท่ีเป็นแหล่งข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
1) แบบสังเกตการดาเนินงานการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร 2) แบบสอบถามการดาเนินงานการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร และ3) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร
ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ซง่ึ หาค่าความเท่ียงตรงโดยผู้เช่ยี วชาญ 7 คน

การดาเนนิ การวจิ ยั ท้ัง 3 ขนั้ ใช้สถิติ ไดแ้ ก่ คา่ เฉล่ยี ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์
เนอื้ หา (Content Analysis) แลว้ สังเคราะหข์ ้อมูลเขยี นเป็นความเรยี ง

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การเสริมพลังอานาจครู ทฤษฎีการเสริมพลังอานาจ หลักการเสริมพลังอานาจ
การนิเทศการศึกษา การนิเทศภายในสถานศึกษา หลักการนิเทศภายใน รูปแบบการนิเทศภายใน การจัดการเรียนรู้
ภาษาองั กฤษเพ่ือการสือ่ สาร การจดั การเรียนรูแ้ บบเชิงรุก (Active Learning) ด้วยวธิ ีการเรยี นรู้โดยใชก้ ิจกรรมเป็นฐาน
(Activity Based Learning)

ระยะเวลา ทใ่ี ชใ้ นการสรา้ ง พัฒนา และเผยแพร่รปู แบบการเสริมพลงั อานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษา
ตอ่ การพัฒนาการจดั การเรยี นรภู้ าษาองั กฤษเพ่อื การสอ่ื สาร ครูโรงเรยี นเอกชน จงั หวัดอบุ ลราชธานี ดาเนนิ การระหวา่ ง
ปกี ารศึกษา 2562-2564

สรุปผลการวิจยั
1. สภาพปัจจุบันการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษา

อังกฤษเพ่ือการสื่อสาร ครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบการนิเทศ
ภายใน และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จากโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่าสภาพปัจจุบันการเสริมพลัง
อานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร ครูโรงเรียนเอกชน
จังหวดั อบุ ลราชธานี มีการปฏิบัตใิ นระดบั ปานกลาง (  =3.33) เมื่อพจิ ารณาแตล่ ะขัน้ พบว่าทุกขน้ั มีการปฏิบัติในระดับ
ปานกลาง โดยมคี ่าเฉลยี่ เรยี งตามลาดับจากสูงสุดไปนอ้ ยสดุ คอื ขัน้ การสร้างบรรยากาศท่ีเสริมพลังในการนิเทศ (  =3.49)
ข้ันการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (  =3.43) ขั้นการดาเนินการนิเทศ (  =3.35) ขั้นการวางแผนและการจัดทา
โครงการนิเทศ (  =3.30) ข้ันการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ (  =3.18) และข้ันการประเมินผล
การนิเทศ (  =3.06) ตามลาดบั

สภาพปจั จบุ นั การเสรมิ พลังอานาจในการนเิ ทศสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสาร ครโู รงเรยี นเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี จากการสัมภาษณ์ พบว่ามีการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและ
ความตอ้ งการ การสรา้ งแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การวางแผนและการจัดทาโครงการนิเทศ การดาเนินงานการนิเทศ
การประเมนิ ผลการนเิ ทศ การสรา้ งบรรยากาศทีเ่ สรมิ พลงั ในการนิเทศ ทกุ ข้ันปฏิบัตไิ ดน้ อ้ ย

คุณลักษณะการเป็นครูท่ีได้รับการเสริมพลังอานาจในการนิเทศเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษเพือ่ การสื่อสาร พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการนิเทศภายใน และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ
จากโรงเรียนเอกชนในจงั หวดั อุบลราชธานี เห็นวา่ มีคุณลกั ษณะหรือมกี ารปฏบิ ตั ิอยู่ในระดับปานกลาง (  =2.28)

2. รูปแบบการเสริมพลงั อานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เพื่อการส่ือสาร ครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี มีองค์ประกอบประกอบด้วย แนวคิดพ้ืนฐานของรูปแบบ
หลกั การ วตั ถปุ ระสงค์ ขนั้ ตอนการดาเนินการ การวดั และประเมินผล และแนวทาง/เง่ือนไข ปัจจัยการนารูปแบบไปใช้
โดยมขี น้ั ตอนการดาเนินงาน 6 ขนั้ ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 2) การสร้างแรงจูงใจในการ

7

ปฏิบัติงาน 3) การวางแผนและการจัดทาโครงการนิเทศ 4) การดาเนินงานการนิเทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ
6) การสร้างบรรยากาศท่เี สรมิ พลงั ในการนิเทศ

3. ผลการประเมินรูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาองั กฤษเพ่อื การสอื่ สาร

3.1 ผลการประเมินการดาเนินการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนา
การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารของโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี โดยการสังเกตพบว่าโรงเรียน
เป้าหมายมีการปฏิบัติงานตามข้ันตอนการดาเนินการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาท้ัง 6 ขั้นตอน
และมีการปฏิบัติตามตวั ช้ีวดั ของแต่ละข้นั ตามกระบวนการดาเนนิ การของรูปแบบทกุ ตวั ช้ีวดั

3.2 ผลการศกึ ษาการดาเนินการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการ
เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร ครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี โดยการสอบถามผู้บริหารโรงเรียน
ครผู ูร้ บั ผิดชอบการนเิ ทศภายใน ครูผ้สู อนวชิ าภาษาองั กฤษ พบว่ามีการปฏิบตั ิในภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด (  =4.50)
เม่อื พิจารณาแต่ละขั้นพบวา่ ขน้ั ที่มีการปฏิบตั ิไดส้ ูงสุดเรียงตามลาดับ คอื ขัน้ การสรา้ งแรงจงู ใจในการปฏิบัติงาน (  =4.62)
ข้ันการสร้างบรรยากาศท่ีเสริมพลังในการนิเทศ (  =4.53) ขั้นการดาเนินการนิเทศ (  =4.53) ขั้นท่ีมีการปฏิบัติ
ในระดับดี คือขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ (  =4.47) ขั้นการวางแผนและการจัดทาโครงการนิเทศ
(  =4.42) และข้นั การประเมินผลการนิเทศ (  =4.37) ตามลาดับ

3.3 หลังการใช้รูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารของครูโรงเรียนเอกชน ผ่านไปแล้ว 1 ปีการศึกษา ผู้นิเทศภายในและผู้วิจัย ประเมิน
ความสามารถในการจดั การเรยี นรู้ภาษาองั กฤษเพื่อการส่ือสารของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
ดีที่สดุ (  =4.53) ดา้ นที่มผี ลการประเมินสูงสดุ คอื ดา้ นการวางแผนการจัดการเรียนรู้ (  =4.69) รองลงมาคือ ด้านเจตคติ
ต่อการจัดการเรียนรู้ (  =4.54) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (  =4.52) ด้านการวัดและประเมินผล (  =4.46)
ตามลาดบั สว่ นด้านสอ่ื นวตั กรรมการเรียนรู้ มีผลการประเมินตา่ ท่ีสุด โดยมผี ลการประเมินอยใู่ นระดบั ดี (  =4.42)

อภปิ รายผล
1. สภาพปัจจุบันการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษา

อังกฤษเพื่อการสือ่ สาร พบวา่ มีการปฏบิ ัติอยู่ในระดบั ปานกลาง (  =3.33) ท้ังน้ีเป็นเพราะการดาเนินการนิเทศภายใน
มกี ระบวนการ ขน้ั ตอนมาก การดาเนินการนเิ ทศให้สมบูรณ์จะต้องบรู ณาการกับกระบวนการกากับ ติดตาม ตรวจสอบ
ผลการดาเนินงานกับงานตามภารกิจหรือนโยบายอื่น ๆ นอกจากนั้นการนิเทศภายในยังเก่ียวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
จึงทาให้การดาเนินการนิเทศภายในมีความซับซ้อนข้ึนมาอีกระดับหนึ่ง และย่ิงเป็นการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสารด้วยแล้ว ปัญหาการนิเทศอาจเกิดจากผู้นิเทศยังขาดความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษจนเป็นท่ยี อมรบั ของครูผสู้ อนภาษาอังกฤษในโรงเรยี นก็เป็นได้ กระบวนการนิเทศการศึกษาที่กล่าวอ้างน้ัน
มีแนวคิดของนักการศึกษาที่สนับสนุนคือแนวคิดของ (วัชรา เล่าเรียนดี, 2556) ท่ีกล่าวไว้ว่ากระบวนการนิเทศการศึกษา
ประกอบด้วยกระบวนการสาคัญ 6 ข้ัน คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันกาหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข
หรือพฒั นา 2) ระบุปัญหา เลือกวิธีการแก้ปัญหาและวิธีการนิเทศ 3) วางแผนแก้ปัญหา วางแผนการนิเทศ เลือกเครื่องมือ
สังเกตการสอน 4) ประชุมก่อนการสังเกตการสอนและให้ข้อมูลย้อนกลับ 5) สังเกตการสอนตามแผนที่กาหนด และ
6) ประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและให้ข้อมูลย้อนกลับ ผลการศึกษาน้ีสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากสัมภาษณ์ ที่พบว่า
การเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาตอ่ การพฒั นาการจัดการเรียนรู้ภาษาองั กฤษเพ่ือการสื่อสาร ปฏิบัติ
ไดน้ ้อยในทุกข้นั และทุกตัวชี้วัด การนิเทศส่วนใหญ่เป็นการพูดคุยกันในประเด็นที่เป็นปัญหาในห้องเรียน ขณะจัดการเรียนรู้
ระหว่างผู้เก่ียวข้องเท่าน้ัน หรือการนิเทศโดยการช้ีแจง การแจ้งในที่ประชุมท่ีมีบุคลากรท่ีเก่ียวข้อง ในภาพรวมยังขาด
การมอบหมายงานที่ชัดเจน ทาให้ผู้รับผิดชอบการนิเทศทุกฝ่ายขาดทิศทางในการปฏิบัติ ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับ
งานวิจัยของ (ชญากาญจธ์ ศรีเนตร, 2558) ที่พบว่าสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพ้ืนที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก

8

ผลการศึกษาของ (อภิญญา เดชโคบุตร และสาเร็จ ยุรชัย, 2563) ที่พบว่าสภาพปัจจุบันการนิเทศภายในสถานศึกษา
สังกดั สานักงานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษามธั ยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

คุณลกั ษณะการเปน็ ครูทไ่ี ด้รับการเสริมพลังอานาจในการนิเทศเพ่ือการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เพ่ือการส่ือสาร พบว่า มีคุณลักษณะหรือมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง (  =2.28) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะครูผู้สอนวิชา
ภาษาอังกฤษยังขาดความรู้ความเข้าใจ จึงไม่ม่ันใจในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร พร้อม ๆ กับมี
ความเชอื่ ม่ันในตนเองสงู คิดวา่ ตนเองเปน็ ผบู้ รรยายที่ดีจึงไมย่ อมรบั วธิ ีการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ยังจัดการเรียนรู้
ที่เน้นเนอื้ หาความจามากกวา่ การเรยี นร้ทู ่ีใหผ้ เู้ รยี นลงมอื ปฏบิ ัติ สอดคล้องกับงานวิจัยของ (พัทธนันท์ รชตะไพโรจน์, 2559)
ท่ีศกึ ษาการพฒั นาทกั ษะการเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี 21 ของครูโรงเรียนเอกชน ผลการศึกษาพบว่า ครูยังขาดความตระหนัก
และกระตือรือร้นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เนื่องมาจากขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการแนวคิดรวมไปถึง
การออกแบบหลักสูตร วิธกี ารสอน อีกทัง้ แรงจูงใจให้ครูเปล่ียนรูปแบบการสอนมีน้อยมาก เนื่องจากการวัด ผลสัมฤทธ์ิ
ของนักเรียนข้ึนอยู่กับคะแนน O-NET จึงทาให้ครูมีรูปแบบการสอนแบบติวเข้มเพ่ือเพ่ิมผลสัมฤทธิ์ให้กับนักเรียน
จึงออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรู้ไม่ตอบสนองการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติท่ีต้องใช้เวลานานและต้องมีการบูรณาการ
ในสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และครูยังขาดเทคนิคและวิธีการวัดผลแนวใหม่ ครูไม่สอนตามแผนการสอน ไม่มีเวลา
เนอ่ื งจากมภี าระอ่นื มากและไมใ่ ห้ความสาคญั กบั กจิ กรรมท่เี น้นใหผ้ ูเ้ รียนลงมอื ปฏบิ ตั ิ

2. ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนเิ ทศภายในสถานศกึ ษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร ครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย
หลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดาเนินการ แนวทาง/เงื่อนไขการนารูปแบบไปใช้ การวัดและประเมินผล
โดยมขี ั้นตอนการดาเนนิ งาน 6 ข้ัน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 2) การสร้างแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงาน 3) การวางแผนและการจัดทาโครงการนิเทศ 4) การดาเนินงานการนิเทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ
6 ) การสร้างบรรยากาศท่ีเสริมพลังในการนิเทศ ผลการพัฒนารูปแบบดังกล่าวเกิดจากรูปแบบการเสริมพลังอานาจฯ
ได้ผ่านการดาเนินการตามวิธีการเชิงระบบเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยใช้การวิจัยและพัฒนา
มีการดาเนินงาน 3 ข้นั เริ่มจากข้ันที่ 1 วิจัยศึกษาข้อมูลพ้ืนฐาน สภาพปัจจุบันท่ีเป็นจริง หรือการประเมินความต้องการ
จาเป็นของกลุ่มเป้าหมายที่เก่ียวข้องในพื้นท่ีเป้าหมายให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการศึกษาวิเคราะห์สภาพท่ีเป็นจริง
จากบุคคลท่ีเกี่ยวข้อง อาทิ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการนิเทศภายใน ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ และข้อมูล
เชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์บุคลากรในพ้ืนท่ีจริงในสถานศึกษาเป้าหมาย รวมท้ังการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี
ผลการวจิ ัยที่เกี่ยวข้อง แลว้ นามาวเิ คราะห์มาสงั เคราะหไ์ ปสูข่ ั้นที่ 2 คือการพัฒนา เป็นการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม
การศึกษาโดยนาผลจากขั้นท่ี 1 มาพัฒนานวัตกรรมซึ่งหมายถึง ร่างรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น แล้วนาไปสู่กระบวนการ
ตรวจสอบคณุ ภาพของรปู แบบโดยใช้กระบวนการอิงผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการจัดสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
15 คน ซึ่งมีประสบการณ์เช่ียวชาญด้านการจัดการศึกษาครบทุกแขนงเพ่ือตรวจสอบยืนยันรูปแบบการเสริมพลัง
การนิเทศภายในสถานศึกษาว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษเพื่อการสือ่ สารและเพ่อื ยนื ยนั ผลของรูปแบบว่าสามารถนาไปใช้ได้จริง จึงนาไปสู่ขั้นที่ 3 วิจัย เป็นการนา
นวัตกรรมไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย แล้วประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมด้วยการประเมินความสามารถในการ
ดาเนินการเสริมพลังอานาจและการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูผู้สอน
วชิ าภาษาองั กฤษ ซง่ึ เป็นจุดประสงค์สาคัญของรปู แบบฯ กระบวนการดังกล่าวใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed
Methods) กระบวนการเหล่าน้ีจึงสามารถยืนยันถึงประสิทธิภาพของรูปแบบได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับแนวคิดของ
(Meason, Albert, & Kheduri, 1995) กลา่ วว่าข้นั ตอนการพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ข้ันศึกษาและ
รวบรวมปัญหา 2) ข้นั พัฒนารปู แบบ 3) ขน้ั ทดสอบรปู แบบ 4) ข้นั นาไปใช้เพอื่ จะไดท้ ราบปญั หาท่เี กิดขนึ้ จากการใช้รูปแบบ
และ 5) ข้นั ปรับปรงุ รูปแบบ องคป์ ระกอบของรปู แบบฯ ในการวิจัยน้ีสอดคล้องกับแนวคิดของ (ธีระ รุญเจริญ, 2550)
เสนอแนะว่ารูปแบบมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ระบบและกลไก
ของรูปแบบ 4) วิธดี าเนนิ งานของรปู แบบ 5) แนวทางการประเมินผลรูปแบบ และ 6) เงอ่ื นไขของรูปแบบ

9

3. ผลการใช้รูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ภาษาองั กฤษเพอ่ื การส่ือสาร ครูโรงเรยี นเอกชนจังหวดั อุบลราชธานี

3.1 ผลการประเมินการดาเนนิ การเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการ
เรยี นรภู้ าษาองั กฤษเพอ่ื การส่อื สาร พบว่า โรงเรียนสามารถดาเนินการตามรูปแบบได้โดยมีการปฏิบัติการตามกระบวนการ
เสริมพลงั อานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษา 6 ขัน้ ทกุ ข้ันมกี ารปฏิบตั ชิ ัดเจน มรี อ่ งรอย หลกั ฐานปรากฏทกุ รายการ
ตามตวั ชว้ี ัด ทงั้ นี้อาจเป็นเพราะกระบวนการดาเนนิ งานการเสรมิ พลงั อานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาตามรูปแบบ
แต่ละข้ันผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพความเท่ียงตรงเชิงเน้ือหาโดยการอิงผู้เชี่ยวชาญ ข้ันตอนของรูปแบบมี
ความเหมาะสมในการปฏิบัติการ ตัวชี้วัดในขั้นตอนการนิเทศได้นากระบวนการเสริมพลังอานาจครูเข้ามาบูรณาการ
สนับสนุนให้การนิเทศภายในมีพลังในการสร้างแรงบันดาลใจให้ครูผู้ปฏิบัติงานเกิดพลังอานาจในการปฏิบัติงาน
ผ้ปู ฏิบัตงิ านทุกฝ่ายมีปฏสิ มั พนั ธ์อนั ดีตอ่ กนั เปน็ กระบวนการที่สามารถนาไปปฏบิ ัติได้จริงในสถานศึกษา เกิดประโยชน์
ต่อการพฒั นาคณุ ภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาองั กฤษเพอื่ การสื่อสาร มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ เป็นประโยชน์ต่อครู
ทมี งาน โรงเรยี น และผ้เู รียน เปน็ กระบวนการดาเนินงานทสี่ ่งเสริมให้ครเู กดิ การเปลยี่ นแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้
ทาให้ครูได้รับการพัฒนาและช่วยเหลือในเร่ืองการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทาให้ การจัดการเรียนรู้
บรรลจุ ุดมงุ่ หมาย สง่ ผลใหน้ ักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ตามท่ีคาดหวัง ดังแนวคิดของ (Hansen,
& Postlethwaite, 1994) ได้กล่าวว่า รูปแบบท่ีมีประโยชน์และอยู่ในขอบข่ายการวิจัยควรมีคุณลักษณะ ดังน้ี 1)
รปู แบบควรจะนาไปสกู่ ารทานายของผลท่ีจะเกิดภายหลังได้ด้วยข้อมูลจากการสังเกตท่ีเช่ือถือได้ 2) โครงสร้างของรูปแบบ
ควรจะแสดงให้เห็นถงึ บางสง่ิ บางอยา่ งทเ่ี ปน็ กลไกเชิงเหตุผล ซ่ึงเก่ียวข้องกับเร่ืองที่ต้องการศึกษา รูปแบบนี้จึงสามารถ
ใช้ได้ทั้งในเชิงทานายและเชิงอธิบาย 3) รูปแบบควรจะให้คาอธิบายท่ีช่วยขยายความรู้ในแนวคิดใหม่และนาไปสู่การ
แสวงหาองคค์ วามร้ทู ตี่ ้องการศกึ ษาไดม้ ากข้ึน สอดคล้องกับแนวคิดของ (ยุวธิดา ชาปัญญา, 2554) ท่ีกล่าวว่า การเสริม
พลังอานาจเป็นกระบวนการส่งเสริมให้ครูมีศักยภาพและความสามารถเพ่ือการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสาเร็จตามเป้าหมาย
และแนวคิดของ (Smith, 1996) ที่กลา่ ววา่ การเสริมพลังอานาจให้ประโยชนต์ อ่ ทกุ คนในองค์กร กลา่ วคอื ผูบ้ ริหารได้รบั
ประโยชนจ์ ากการทางานบรรลุเป้าหมายและผลงานท่ีมีคุณภาพ ผู้ร่วมงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของงานมากข้ึน มีความ
รับผิดชอบต่อผลสาเร็จของงาน เพิ่มความม่ันใจในการสร้างสรรค์ส่ิงใหม่ ๆ ผู้รับบริการได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ
องคก์ รจงึ มคี วามเจริญก้าวหนา้ ในขณะที่ (สงัด อทุ รานนั ท์, 2530) กล่าวว่า กระบวนการนิเทศการศึกษาเป็นการปรับปรุง
และพัฒนามนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลทางการศึกษาก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างบุคคล
ทางการศึกษา ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานของ (วนิดา สิมพล, 2564) ที่ทาการวิจัยการพัฒนารูปแบบการนิเทศ
แบบชแี้ นะและเสริมพลังอานาจเพื่อสร้างชุมชนการเรยี นร้ทู างวิชาชพี ทีส่ ง่ ผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของ
ครผู ูส้ อนภาษาองั กฤษในยุคดิจิทัล เป็นรูปแบบเชิงปฏิบัติการ (Practical Model) มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1) หลกั การ 2) เนื้อหา 3) กระบวนการ 4) วิธีการนิเทศ และ 5) ระบบสนับสนุน มีผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศฯ
พบว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร้อยละ 80.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
คะแนนร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศฯ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มี
สว่ นได้เสีย พบว่า รูปแบบมีความถกู ต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชนแ์ ละความเป็นไปได้อยใู่ นระดับมาก โดยมี
ความสอดคลอ้ งระหว่างผู้เช่ยี วชาญอยูใ่ นระดบั สงู

3.2 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ
ซ่งึ ประเมนิ จาก การวางแผนการจดั การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร การจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ ซ่ึงผู้วิจัยและผู้รับผิดชอบการนิเทศภายใน ได้ประเมิน
ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีท่ีสุด
(  =4.58) ทั้งน้ีเพราะการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาฯ เป็นรูปแบบเชิงแนวคิดทางการนิเทศ
การศึกษาที่เป็นแบบแผนความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Model) ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในรูปแบบท่ีใช้ความรู้
ด้านพฤติกรรมเป็นหลักในการพัฒนารูปแบบ โดยมีจุดเน้นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู
ที่สังเกตได้และให้ความสาคัญกับการพัฒนาบุคคลเฉพาะราย มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในกลุ่มบุคลากรที่

10

เก่ยี วขอ้ ง ต้ังแตผ่ ู้บริหารโรงเรยี น ครูผรู้ ับผดิ ชอบการนเิ ทศภายใน ครูผ้สู อนวชิ าภาษาองั กฤษในโรงเรียน ดังแนวคิดของ
(Joyce, & Weil, 1996) ท่ีกล่าวว่า การนาการเสริมพลังอานาจ (Empowerment) เข้ามาบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่ง
ของขั้นตอนการดาเนนิ การของรูปแบบเพราะเชื่อว่าการเสริมพลังอานาจเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้สามารถ
ทางานอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การนิเทศการศึกษาก็เป็นกระบวนการสาคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ท่ีส่งผลถึง
การพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษาใหบ้ รรลุวัตถุประสงค์อย่างมีคุณภาพ เป็นกระบวนการส่งเสริม สนับสนุน แก้ไข ปรับปรุง
พัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ซ่ึงสอดคล้องกับแนวคิดของ (กิติมา ปรีดีดิลก, 2532) ท่ีกล่าวว่า การนิเทศ
การศึกษาเป็นงานที่มีความจาเป็นต่อความเจริญงอกงามของครู แม้ว่าครูจะได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีแล้วก็ตามแต่ครู
ยังจะต้องปรบั ปรงุ ฝกึ ฝนตนเองอยเู่ สมอในขณะที่ทางาน ผลการวิจัยน้ีสอดคล้องกับงานวิจัยของสานักงานศึกษาธิการ
ภาค 3 (2563) ที่ทาการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า โดยภาพรวมมีการ
ดาเนนิ การในระดบั มาก และรายด้านพบวา่ มกี ารดาเนินการในระดบั มากทุกด้าน

ด้านเจตคตติ อ่ การจัดการเรียนรู้ ผลการประเมนิ เจตคตติ อ่ การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร
ของครูผูส้ อนวชิ าภาษาอังกฤษ พบว่าอยใู่ นระดบั มากทสี่ ุด (  =4.58) ท้ังนี้เพราะ กระบวนการเสริมพลังอานาจในการ
นเิ ทศภายในสถานศึกษาต่อการพฒั นาการจดั การเรยี นรู้ภาษาองั กฤษเพื่อการส่อื สาร เปน็ รูปแบบทางการศกึ ษาท่เี หมาะ
สาหรับการพัฒนาครูภาษาอังกฤษเป็นการเฉพาะ เป็นรูปแบบการนิเทศที่สนับสนุนให้ผู้เก่ียวข้องมีส่วนร่วมกันในการ
พัฒนางาน พัฒนาตนเองอย่างต่อเน่ืองและย่ังยืน ครูมีอิสระในการกาหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานและเปิดโอกาส
ให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการดาเนินงานพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก
(Active Learning) ยังเป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructivism ท่ีให้ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่
จากการมีปฏิสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติจริง เมื่อครู
ภาษาองั กฤษได้รบั การเสริมพลงั ในการนเิ ทศภายใน เพ่ือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จึงทาให้การจัดการเรียนรู้
เป็นกิจกรรมทางภาษาท่ีมีความเช่ือมโยงระหว่างความรู้ทางภาษา (Linguistic Knowledge) ทักษะทางภาษา (Language
Skills) ความสามารถในการสื่อสาร (Communicative Ability) ทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาเพ่ือการส่ือสาร
เกดิ แรงจูงใจในการเรียนภาษา การสรา้ งเจตคติทด่ี ตี ่อการเรยี นภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร ครูมีความม่ันใจในการสอน
ภาษาองั กฤษ เกดิ ความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง จนเกิดเจตคติท่ีดีต่อการจัดการเรียนรู้ ดังที่ (Clutterbuck
& Kernaghan, 1995) กล่าวว่า การเสริมสร้างพลังอานาจจะก่อให้เกิดคุณลักษณะที่สาคัญในตัวบุคคลคือ 1) เป็นผู้ที่
มเี ป้าหมายในตนเอง 2) มีความตระหนักในคุณค่าของตนเอง 3) มีความรับผิดชอบ 4) มีความพึงพอใจในงาน 5) มีความ
ยึดม่ันผกู พนั ต่อองค์กร 6) สามารถแกป้ ัญหา จดั การกับสถานการณ์ตา่ ง ๆ ได้

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะการนารูปแบบไปใช้
1.1 ข้อเสนอแนะสาหรับสถานศึกษาที่ต้องการนารูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายใน

สถานศกึ ษาตอ่ การพัฒนาการจัดการเรียนร้ภู าษาอังกฤษเพื่อการส่อื สาร หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระอ่ืนๆ
ผบู้ ริหารสามารถนาขนั้ ตอนการเสริมพลังอานาจในการนิเทศท้ัง 6 ข้ันตอน ต้ังแต่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและ
ความต้องการ 2) การสรา้ งแรงจูงใจ ในการปฏิบตั งิ าน 3) การวางแผนและการจัดทาโครงการนิเทศ 4) การดาเนินงาน
การนเิ ทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ 6 )การสร้างบรรยากาศที่เสริมพลังในการนิเทศ ไปดาเนินการร่วมกับทีมนิเทศ
และใชเ้ ปน็ แนวทางในการดาเนินการนิเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งน้ีผู้บริหารควรให้ความสาคัญในการสร้างการมีส่วนร่วม
ในทุกขั้นตอนการดาเนินการ และผบู้ ริหารจะตอ้ งคอยสง่ เสรมิ สนับสนนุ สรา้ งความร่วมมือกับบคุ ลากร

1.2 เน่ืองจากรูปแบบการเสริมพลังอานาจในการนิเทศภายในฯ มี 6 องค์ประกอบ ท่ีมีการดาเนินงาน
สัมพันธ์กันอย่างต่อเน่ือง การนาไปใช้ต้องดาเนินการตามรูปแบบครบทุกส่วนทุกขั้นตอนเพื่อที่จะได้ผลตามเป้าหมาย
ท่วี างไว้และเกิดประสิทธภิ าพของรูปแบบ

1.3 บุคลากรครูในสถานศึกษาต้องเปิดใจกว้างในการพัฒนาและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่ืนและ
พรอ้ มในการพฒั นาตนเอง

11

2. ข้อเสนอแนะในการวจิ ยั
2.1 ควรศึกษาการพัฒนารูปแบบการเสรมิ พลงั อานาจในการนเิ ทศภายในต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ในกลุ่มสาระอื่น ๆ และระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการวิจัย หรือทาการวิจัยเพื่อค้นหา
สมรรถนะการจัดการเรียนรขู้ องครผู ูส้ อน

2.2 ควรศึกษาองค์ประกอบหรอื ตัวแปร ปัจจยั เชิงสาเหตุอ่ืนๆ ที่ส่งผลต่อระดับการเสริมพลังอานาจและ
การพัฒนาการจดั การเรยี นรูข้ องครผู สู้ อนและบุคลากรทางการศกึ ษาในสถานศึกษา

2.3 ควรนารปู แบบและวิธีการของรปู แบบที่พฒั นาขน้ึ ไปใช้ในการวจิ ัยและพัฒนา ในหลักสูตรการพัฒนา
อนื่ ๆ หรือใช้กับการพัฒนาสมรรถนะของบคุ ลากรกลุม่ อนื่ ๆ

2.4 ควรศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาวิธีการเสริมพลังอานาจการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศกึ ษา ตลอดจนบคุ ลากรสายอื่นทไ่ี ด้รบั การพฒั นาไปแล้ว ความรู้ ทักษะ และพฤตกิ รรมทคี่ งอยู่และยงั่ ยืนไดอ้ ยา่ งไร

เอกสารอ้างอิง
กิติมา ปรดี ดี ิลก. (2532) การบริหารและการจดั การนิเทศการศกึ ษาเบ้ืองตน้ . กรุงเทพฯ : อกั ษรพิพฒั น.์
กรมการปกครอง. (2558) คมู่ ือภาษาอังกฤษเพื่อการสือ่ สารงานปกครอง. (พมิ พ์คร้ังที่ 1). กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์อาสา

รกั ษาดินแดน
เฉลียว อยู่สมี ารักษ์. (2552) “คาขวญั วนั คร”ู หนังสอื ทร่ี ะลกึ งานวนั ครู พ.ศ. 2552 ครง้ั ท่ี 53. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

สกสค.
ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2558) รปู แบบการนิเทศภายในสถานศึกษาสงั กดั สานักงานเขตพนื้ ทกี่ ารศกึ ษามธั ยมศึกษา เขต 25.

ปริญญาการศึกษามหาบณั ฑติ สาขาบรหิ ารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธรี ะ รญุ เจรญิ . (2550) การบรรยายรายวชิ าสัมมนาการบรหิ ารการศึกษา รูปแบบและองคป์ ระกอบของรปู แบบ. ม.ป.ท.:

ม.ป.พ. (เอกสารอัดสาเนา)
พัทธนนั ท์ รชตะไพโรจน.์ (2559) การพฒั นาทักษะการเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 ของครโู รงเรยี นเอกชน อาเภอเมือง

จงั หวัดลาพนู . ศกึ ษาศาสตรมหาบัณฑติ สาขาบริหารการศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ฟารอ์ ีสเทอร์น.
ยุวธดิ า ชาปญั ญา. (2554) “การเสริมสร้างพลังอานาจของครใู นโรงเรยี นประถมศึกษา : การวิจยั ทฤษฎฐี านราก.”

วิทยานพิ นธป์ รญิ ญาปรชั ญาดุษฎบี ัณฑติ สาขาวชิ าการบริหารการศึกษา บัณฑิตวทิ ยาลยั
มหาวิทยาลยั ขอนแก่น.
วนิดา สมิ พล. (2564) การพัฒนารปู แบบการนิเทศแบบชีแ้ นะและเสรมิ พลังอานาจเพ่ือสรา้ งชมุ ชนการเรยี นรทู้ าง
วิชาชพี (CEP Supervisory Model) ที่ส่งผลต่อความสามารถในการจดั การเรียนร้ขู องครผู สู้ อน
ภาษาองั กฤษในยุคดิจิทลั สานักงานเขตพ้นื ท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษาเลย เขต 2. เลย : สานกั งานเขตพื้นที่
การศกึ ษาประถมศึกษาเลย เขต 2
วชั รา เล่าเรยี นดี. (2556) ศาสตรก์ ารนเิ ทศการสอนและการโคช้ . (พมิ พ์คร้งั ที่ 12). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวทิ ยาลยั
ศลิ ปากร
สงดั อุทรานันท.์ (2530) การนเิ ทศการศกึ ษา หลักการ ทฤษฎีและการปฏบิ ตั ิ. กรงุ เทพฯ : คณะครุศาสตรจ์ ุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั .
สถาบนั ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561) สรุปผลการทดสอบทางการศกึ ษาแห่งชาติข้ันพ้นื ฐาน (O-Net) ค่าสถติ ิ
ภาพรวมแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้ สาหรับสานักงานศกึ ษาธกิ ารจังหวัด. [ออนไลน]์ [อา้ งเม่ือ 7
มิถนุ ายน 2561]. จาก
http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PRV/ReportPrvByPrv.aspx?mi=3
สมหวงั พธิ ยิ านุวฒั น,์ มยุรี จารุปาณ, และกรรณิการ์ บารมี. (2545) การพฒั นาวิชาชพี ครู กรงุ เทพมหานคร : ภาพพิมพ์
สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน. (2553) การพฒั นาศึกษานเิ ทศกแ์ นวใหม.่ กรุงเทพฯ : สานกั วชิ าการ
และมาตรฐาน.

12

สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน. (2557). คูม่ ือการจดั การเรยี นการสอนภาษาอังกฤษ แนวใหม.่
กรงุ เทพมหานคร: องค์การสงเคราะหท์ หารผ่านศกึ .

สานกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560) แผนปฏบิ ตั ริ าชการ 4 ปีของสานกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรงุ เทพฯ
: สานักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา.

สานกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา. (2552) รายงานการวิจัยเรือ่ ง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 - 20 ปี กรุงเทพฯ :
พิมพ์ดีการพิมพ์ จากดั

สานกั งานศึกษาธกิ ารภาค 3. (2563) สภาพและปญั หาการจัดการเรยี นร้เู ชงิ รุก (Active Learning) ของสถานศึกษาข้ัน
พ้นื ฐานในพน้ื ท่ีรับผดิ ชอบสานักงานศึกษาธิการภาค 3 ราชบุรี : สานักงานศกึ ษาธิการภาค 3

อภญิ ญา เดชโคบุตร, และสาเรจ็ ยรุ ชยั . (2563) “ความต้องการจาเป็นในการนเิ ทศภายในสถานศึกษา สงั กัด
สานกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษามัธยมศึกษา เขต 25” วารสารพทุ ธปรชั ญาววิ ัฒน์. ปที ่ี 4 ฉบับท่ี 1 (มกราคม
- มถิ ุนายน 2563)

Clutterbuck, D. and Kernaghan, S. (1994) The power of empowerment. London: Kogan Page.
EF Education first. (2561) EF English Proficiency Index. (2016). Proficiency Trend. [online] [13

September 2019].
Retrieved from https://www.ef.co.th/epi/regions/ asia/thailand/
Hansen,T. & Postlethwaite. N.T., (1994). The international encyclopedia of education,

2' ed, New York: Pergawon press Inc..
Joyce, B, and Weil, M. (1996). Model of teaching. 5th ed. Boston : Allyn and Bacon.
Meason, M.H., Albert, M., and Kheduri, F. (1995). Management : Indivdual and organization

effectivess. New York: Haper.
Scarnati, & Scarnati, (2002) Empowerment: the key to quality The TQM Magazine, 14 (2) (2002),
Smith, J. (1996) Empowering people: How to bring out the best in your workforce. London: Kogan

Page.

ภาพกิจกรรมการพัฒนารปู แบบการเสริมพลังอานาจในการนเิ ทศภายในสถานศึกษา
ตอ่ การพัฒนาการจดั การเรยี นรูภ้ าษาอังกฤษเพ่ือการสอ่ื สาร
ของครโู รงเรียนเอกชนในจงั หวัดอุบลราชธานี

14
การพัฒนารูปแบบการเสรมิ พลังอานาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาตอ่ การพัฒนาการจดั การเรยี นรู้

ภาษาองั กฤษเพ่ือการส่ือสารของครูโรงเรียนเอกชนในจงั หวดั อุบลราชธานี

การประชุมชีแ้ จง สร้างความเข้าใจระหว่าผ้นู เิ ทศและผทู้ าการนิเทศ

15

การประชมุ รปู แบบออนไลน์

16

สะท้อนผลหลังการสังเกตช้ันเรยี น

17

การรวบรวมขอ้ มลู ท่ีเกยี่ วข้อง

18

การร่วมสงั เกตชนั้ เรยี น

19

บรรยากาศการเรยี นร้ภู าษาอังกฤษเพ่ือการส่อื สาร

20

21

อบรมปฏิบัตกิ ารสรา้ งสรรคน์ วตั กรรมการเรยี นรู้

หลกั สูตรฐานสมรรถนะ กระบวนการจดั การเรยี นรู้ การวัดและประเมนิ ผล

22

23

24

25

การพัฒนารูปแบบการเสริมพลงั อานาจในการนเิ ทศภายในสถานศกึ ษาต่อการพัฒนา
การจดั การเรียนร้ภู าษาอังกฤษเพอ่ื การส่ือสาร ครโู รงเรยี นเอกชน จงั หวดั อุบลราชธานี


Click to View FlipBook Version