The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Peeraname Tansuriwong, 2022-09-15 09:54:23

ธนาคารโลก-1 (1)

ธนาคารโลก-1 (1)

THE WORLD BANK

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องธนาคารโลก และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับ
การเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษาที่กำลัง
หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับ
ไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ

1

ธนาคารโลก

THE WORLD BANK

คําขวัญ Working for a World Free of Poverty
ก่อตั้ง กรกฎาคม พ.ศ. 2487
ประเภท องค์การทางการเงินระหว่างประเทศ
สถานะตามกฎหมาย สนธิสัญญา
วัตถุประสงค์ ให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
สํานักงานใหญ่ วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ภูมิภาค ทั่วโลก
สมาชิก 188 ประเทศ (IBRD)
172 ประเทศ (IDA)
องค์กรปกครอง กลุ่มธนาคารโลก
เว็บไซต์ www.worldbank.org

2

ธนาคารโลก (World Bank ) หรือเรียกว่าธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะ
และวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development;
IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดย
ประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้
ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่
ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุง วอชิงตัน ดีซี ประเทศ
สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลก
ได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศ
สมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก

3

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบเขต
ของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตใน
ประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ
สมาชิก ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตามความจำเป็นและยังช่วยเหลือสมาชิก
ด้วยการให้บริการด้านความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและบริหาร
การเงิน

ที่ตั้ง

1.สำนักใหญ่ 1818 H Street N.W. Washington, D.C. 20433, usa
2.สำนักงานใหญ่สาขานิวยอร์ก 1 Dag Hammarskjold Plaza 885 2nd

Avenue, 26th Floor New York, N.Y. 10017, U.S.A.
3.สำนักงานใหญ่สาขาปารีส 66 avenue d’Iéna 75116 Paris, France
4.สำนักงานสาขาประเทศไทย ชั้น 30 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม

1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Archived 2004-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

4

ประวัติการก่อตั้ง

จากการประชุมของกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ที่เบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์
ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการร่าง
กฎบัตรขึ้นมาสองฉบับเพื่อจัดตั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ
และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยทั้งสองสถาบันมีการแบ่งความรับผิดชอบกัน
อย่างชัดเจน กองทุนการเงินระหว่างประเทศจะให้การสนับสนุนทางการเงินระยะสั้น
เพื่อช่วยประเทศต่าง ๆ แก้ปัญหาดุลการชำระเงินในขณะที่ธนาคารโลกจะให้ทุน
สนับสนุนการพัฒนาระยะกลางและระยะยาวในรูปแบบเงินกู้ยืม โครงการพัฒนาที่เน้น
เฉพาะเป็นโครงการไป แต่เมื่อเวลาผ่านไปความแตกต่างนี้ก็ลดน้อยลงไปช่วงที่โลกเกิด
วิกฤตการณ์การเงินในช่วงปี พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523 ธนาคารโลกก็เริ่มปล่อยเงินกู้
ระยะสั้น เพื่อการปรับปรุงเชิงโครงสร้างประสานกับกองทุนด้วยเช่นกัน

องค์กรทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์การสหประชาชาติ ผ่านทาง
สภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council-
ECOSOC) ในฐานะหน่วยงานชำนาญการพิเศษ แต่การตัดสินใจในเรื่องการให้เงินกู้อยู่
ในอำนาจการพิจารณาของธนาคารโลกเท่านั้น ธนาคารโลกทำงานร่วมกับหน่วยงาน
ต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติหลายหน่วยงาน เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO)
และโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDP)

5

บทบาทหน้าที่ของธนาคารโลก

1.การให้กู้ยืม ธนาคารโลกมีหน้าที่สำคัญในการปล่อยสินเชื่อ โดยธนาคารโลกอาจจะ
เป็นผู้ให้กู้ยืมโดยตรง หรือเป็นผู้ให้กู้ยืมร่วมกับภาคเอกชนทั้งในประเทศ และต่าง
ประเทศ โดยจะเน้นไปที่โครงการที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับ
การครองชีพของประชาชนในประเทศนั้นๆ
2.การสนับสนุนการลงทุน ธนาคารโลกให้การสนับสนุนการลงทุนโดยการกำหนด
เงื่อนไขของเงินกู้ที่เป็นลักษณะผ่อนปรนให้กับประเทศสมาชิก เช่น การกำหนดระยะ
เวลาเวลาปลอดชำระหนี้ การกำหนดระยะเวลาการปลอดดอกเบี้ยในการผ่อนชำระ
3.การให้ความสนับสนุนด้านการลงทุน ธนาคารโลกได้กำหนดมาตรฐานเงื่อนไขการให้
สินเชื่อ ไว้ดังนี้

3.1 ธนาคารโลกจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไข และกำหนดการชำระดอกเบี้ยและเงิน
ต้น อายุครบกำหนดตลอดจนวันชำระเงินของผู้กู้

3.2 ธนาคารโลกจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขเงินกู้ และสกุลเงินตราต่างประเทศที่ใช้
กู้ยืม

3.3 กรณีประเทศสมาชิกได้รับผลกระทบจากค่าเงินสกุลท้องถิ่นที่อ่อนตัวอลง
ทำให้เกิดการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจนไม่สามารถจ่ายค่าบริการเงินกู้ที่สมาชิกได้ทำ
สัญญาหรือค้ำประกัน
4.การค้ำประกันเงินกู้ การค้ำประกันจะช่วยให้ต้นทุนทางการเงินของประเทศสมาชิกมี
ต้นทุนที่ต่ำลง

6

บทบาทของธนาคารโลกต่อ
ประเทศไทย

1.การลดปัญหาความยากจนให้การสนับสนุนในรูปของเงินกู้ดอกเบี้ยตาโดยจัดทำ
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยเน้นที่การพัฒนาการผลิตให้มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.การแก้ปัญหาสังคมยกระดับ การพัฒนาการศึกษา
3.การพัฒนาด้านสาธารณสุขจัดทำโครงการพัฒนางานสาธารณสุข

7

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มธนาคารโลก

บริษัทการเงินระหว่างประเทศ International Finance Corp

ICSID

8

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักประกันการลงทุนพหุภาคี

ชมรมเยาวชนธนาคารโลก

สมาชิก เลขที่ 8
เลขที่ 30
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 31
เลขที่ 32
นายพีรกานต์ ตันสุริวงค์
นางสาวจันทกานต์ จิตจำนงค์
นางสาววิชญาดา เจิดเจนการ
นางสาวสมิตา ประเสริฐศิลป์

เสนอ
คุณครู อนันต์ เวชวิรัตน์


Click to View FlipBook Version