The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by taethekid, 2021-10-07 20:20:43

FTI e-journal@chonburi#2

FTI e-journal
@chonburi#2
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี


Editor
สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งกับวารสาร อิเล็กทรอนิกส์จากสภาอุตสาหกรรม จ.ชลบุรี ในโอกาสนี้ ผมขอแนะนําา ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้เกียรติมาร่วมเป็น กองบรรณาธิการ สร้างสรรค์งานมา เผยแพรแ่ ดท่ กุ ทา่ นผอู้ า่ น ในฉบบั ท#่ี 2 น้ี ผมขอแนะนําาท่านแรกคือ ผศ.ดร. จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี หน่ึงในผู้ทรงคุณวุฒิของ กองบรรณาธิการ FTI E- journal@Chonburi ครับ
FTI E-JOURNAL@CHONBURI ฉบับท่ี 2 นี้ยังทําาหน้าที่เป็นส่ือ อิเลคทรอนิกส์ที่นําาเสนอองค์ความรู้ การพัฒนาทิศทางธุรกิจ ข่าวสาร และสาระต่าง ๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมและเครือข่าย โดยในฉบับน้ี มีข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมที่สําาคัญและน่าติดตามอยู่หลายเรื่อง อาทิ บทบาทของสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ในการขับเคลื่อน นโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) และ FTI CONNEXT ในการผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อ อุตสาหกรรมสู่เชิงพาณิชย์ และที่สําาคัญรายละเอียดและทิศทางการ ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการ
ประชุมใหญ่สามัญประจําาปี นานาทรรศน์กับการแก้ปัญหา
แบบบูรณาการในการแพร่ระบาดของ โรคอุบัติใหม่ และมาทําาความรู้จักกับ มุมมองแนวคิด แนวปฏิบัติของระบบ คาร์บอนเครดิตในประเทศไทย
รวมถึงการนําาแนวคิด การนําาโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Cir- cular-Green Economy) ขับเคลื่อนลงสู่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมทั้ง ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งนับเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ท่ีสําาคัญอย่างยิ่ง ท้ังของประเทศไทยและของโลก ท่ีต้องมีการเตรียมความพร้อม หลายเร่ืองร่วมกัน ท้ังภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและ ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่ีจะทําาให้ธุรกิจ อุตสาหกรรมของไทยทุกระดับและทุกประเภท สามารถเข้าสู่ห่วงโซ่ คุณค่า การผลิตสินค้าและบริการบนฐานเศรษฐกิจใหม่ของ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ได้ต่อไป
Talk
คณะบรรณาธิการ
FTI e-journal@chonburi
ที่ปรึกษา :
คุณสมบูรณ์ ตรีพรเจริญ
ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
ดร.บุษบา ชัยจินดา รองอธิการบดี ม.ศรีปทุม ชลบุรี Executive Editor : คุณถิรวัฒน์ เธียรธนะรัตน์ Editors :
ผศ.ดร.จิราพร ระโหฐาน
ผู้ช่วยอธิการบดี ม.ศรีปทุม ชลบุรี
คุณบุษกร ชีวะธรรมานนท์
รองประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
คุณณัฏฐ์ธน สาตรจีนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
คุณพยัพ แจ้งสวัสด์ิ
รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
คุณจักรพงศ์ ประภากรสกุล ผู้อําานวยการสําานักงาน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี Treasurer :
คุณณัฐวุฒิ เหล่าพูลกิจ
ติดต่อ ประสานงาน
สําานักงานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี




FTI@Chon News
ร่วมหารือเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย BCG
ในพื้นท่ีกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1
นายสมบูรณ์ ตรีพรเจริญ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ร่วมกับ นายสุรพล สุทธจินดา ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 เข้าพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายธวัชชัย ศรีทอง เพื่อหารือ การขับเคล่ือนนโยบาย BCG ในพื้นท่ีกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ร่วมกับ สําานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี เมื่อวันพุธที่ 1 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุมพระพิพิธโภไคย ศาลากลางจังหวัดชลบุรี


ร่วมเป็นเกียรติพิธีลงนามความร่วมมือ
นายสมบูรณ์ ตรีพรเจริญ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรีและคณะกรรมการ ร่วมเป็นเกียรติพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ด้านการวิจัยและพัฒนาการปลูกพืชแซมในสวนยางพารา” ระหว่าง การยางแห่งประเทศไทย กับ บริษัท ไทยอีสเทิร์น แพลนเทชั่น จําากัด และ บริษัท ไทยอีสเทิร์น อินดัสเตรียล แลนด์ จําากัด เม่ือวันพุธที่ 22 กันยายน 2564 ณ อาคารห้องประชุมใหญ่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น
Editor: ผศ.ดร.จิราพร ระโหฐาน คุณกิตติวุฒิ ศศิวิมลพันธ์ุ


“ การพัฒนาประเทศ
จําาเป็นต้องทําาตามลําาดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้
ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน
โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคง พร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะ ทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลําาดับต่อไป ”
พระราชดําารัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระราชทานไว้เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗
เขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น คือ เขตประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงนิเวศน์ชั้นนําาแห่งเอเซีย Asia Leading BCG Complex
ตั้งอยู่ในทําาเลศักยภาพ บนที่ดินกว่า 725 ไร่ ตําาบลเขาซก อําาเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
https://youtu.be/_kJdRkVE4yM
Please click here to watch this video on


www.erppolymers.com


FTI Connext
กิจกรรมผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เพื่ออุตสาหกรรมสู่เชิงพาณิชย์
โดย สถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


ถ้าคุณ คือ คนมีของงงง!!! สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมเปิดตลาด FTI IP CONNECT ให้คุณได้ปล่อยของงงง!!!
ไม่ว่าคุณจะเป็น นักวิจัย/ผู้คิดค้นนวัตกรรม/เจ้าของผลงาน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ
>>คลิกส่งผลงาน เพื่อจัดทําาลงใน FTI IP Catalog รายเดือน https://bit.ly/3qQvgDm
เปิดรับผลงานวันนี้ - 31 ต.ค. 64
(เมื่อมีนักลงทุน นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ให้ความสนใจในผลงาน คุณจะได้รับสิทธ์เข้าสู่กิจกรรมนําาเสนอผลงาน FTI IP Pitching)
และถ้าคุณคือนักลงทุน นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม สมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
>>คลิกรับผลงาน FTI IP Catalog (catalog ที่เลือกสรร รวบรวม เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ) รายเดือนได้ที่ : https://bit.ly/3ninMpM
สอบถามเพิ่มเติม: สถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (III) Line@: @irdi
02-345-1238-40, 065-221-6789 (ดาว)
mail: [email protected]


FTI Connext
สุพันธ์ุ มงคลสุธี นําาสมาชิก ส.อ.ท.
ฝ่าวิกฤติโควิด-19
บริการ 360 องศา ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม พร้อมเป็นกําาลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
สุพันธ์ุ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรม แหง่ ประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปดิ แผนนาํา พาสมาชกิ และผปู้ ระกอบการฝา่ วกิ ฤตโิ ควดิ -19 ภายในงาน ประชุมสามัญประจําาปี 2564 สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ให้บริการ 360 องศา แก่ สมาชิก ครอบคลุมทุกมิติ เน้นการนําาเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเพ่ิมมูลค่าให้กับธุรกิจ พร้อม เตรียมจัดงานมหกรรมสินค้าแสดงศักยภาพ อุตสาหกรรมไทย FTI Expo ผลักดันสินค้า Made in Thailand รองรับเปิดประเทศ
โดย ส.อ.ท. ยังคงเดินเคียงข้างสังคมด้วยการ ต้ังกองทุน “ส.อ.ท. ช่วยไทยสู้ภัยโควิด-19” เพื่อช่วยเหลือภาคสังคม สาธารณสุข และ
เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ท้ังน้ี ได้รับเกียรติจาก ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย ร่วมบรรยายพิเศษหัวข้อ “มาตรการช่วยเหลือและการปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจยุคโควิด” ผ่านการประชุมรูปแบบ Virtual Conference
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย ว่า หลังจากที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดระยะ เวลาเกือบ 2 ปี ท่ีผ่านมา สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ ตระหนักถึงปัญหาและความเดือดร้อนของพ่ีน้อง ประชาชน พ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจผู้ประกอบการ


รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ สภาอุตสาห
กรรมฯ ในฐานะองค์กรหลักภาคเอกชนที่เป็นกําาลัง สําาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
ของประเทศ มีภารกิจเพ่ือช่วยเหลือสมาชิกภายใต้
สถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ให้แนวคิดแก่สมาชิกถึง เวลาต้องกล้าเปลี่ยน....เปลี่ยนกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์
ตลาด เปลี่ยนรูปแบบสู่ดิจิทัลมากขึ้น ยุคใหม่ต้องคิด
ให้ต่าง โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นตัวช่วย
ด้านการตลาด วางกลยุทธ์ 3 แนวทาง Go Online,
Go Global และ Go Government สนับสนุนทั้งองค์
ความรู้ ช่องทาง เครื่องมือ และเงินทุน โดยชูโครงการ
Made in Thailand เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, ด้านการเงิน ส.อ.ท.ยังคงส่งเสริม สมาชิกให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบต่างๆ มากขึ้นในปีนี้ เน้น 2 แนวทางคือการผลักดัน สินเชื่อรูปแบบ Supply Chain Financing และการระดมทุนในตลาดทุนสําาหรับธุรกิจและ SME หรือ SME Board การส่งเสริมสมาชิกให้สามารถนําานวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่าง เป็นรูปธรรม, การ Re-Skill, Up-Skill บุคลากรภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการสรรหา บุคลากรให้ตรงอุตสาหกรรม ซ่ึงปัจจุบันมีมากถึง 80 หลักสูตรเฉพาะทาง, การยกระดับธุรกิจด้วย Digital Transformation แก่สมาชิก และความสําาเร็จจากการท่ี ส.อ.ท. สามารถเป็นผู้กําาหนด มาตรฐานข้ันสูงของบางผลิตภัณฑ์ได้เองแล้ว ท่ีสําาคัญยังคงส่งเสริมความย่ังยืนของภาคอุตสาหกรรม ครอบคลุมการบริหารจัดการน้ําาและสิ่งแวดล้อม และพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ซ่ึงท้ังหมดเป็น บริการเพื่อสมาชิก ส.อ.ท. โดยในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 นี้ สมาชิกสามารถนําาเคร่ืองมือหรือ บริการไปปรับใช้กับธุรกิจเพื่อให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้
นายสุพันธุ์ ยังกล่าวอีกว่า “ส.อ.ท. ยังคงเดินเคียงข้างสังคมไทยด้วยการจัดตั้งกองทุน “ส.อ.ท. ช่วยไทยสู้ภัยโควิด-19” เพื่อช่วยเหลือท้ังภาคสังคม สาธารณสุข และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน โดยที่ ผ่านมามีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (ศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งท่ี 10 จังหวัดสมุทรสาคร), จัดหา วัคซีนและอุปกรณ์ที่มีความจําาเป็นในการรักษาและป้องกันโควิด-19 และส่งมอบห้องความดันลบ และอุปกรณ์ให้กับโรงพยาบาล
ท้ังนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังคงมุ่งม่ันช่วยเหลือสมาชิกให้อยู่รอดจากวิกฤติโควิด- 19 และ รอวันเติบโตอย่างเข้มแข็ง
ตามคอนเซ็ปต์ “FTI Together We Can” สอบถามเพิ่มเติมได้ท่ี สายด่วน ส.อ.ท. หมายเลข 1453 ทุกปัญหาอุตสาหกรรมมีคําาตอบ
เผยแพร่โดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (โทร. 0-2345-1013)






นานาทรรศน์
นานาทรรศน์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม กับการบูรณาการของ
ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
กับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่
สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของ Covid-19 ที่มีผลต่อประชากรโลก ตั้งแต่ปี 2019 ถึง ปัจจุบัน ส่งผลต่อการบริโภคทั้งภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความกังวลและเกิดการ ชะลอตัว เพราะไม่มั่นใจต่อสถานการณ์การ แพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจและตัวเลขอัตราการดําาเนินธุรกิจใน ปี 2020 ซ่ึงพบว่าตัวเลขของประเทศท่ีมีความ สําาคัญทางเศรษฐกิจ 4 ประเทศ
มีตัวเลขอัตราการเติบโตลดลงอย่างเห็นได้ ชัดเม่ือเปรียบเทียบกับตัวเลขอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจในปี 2019 ข้อมูลพบว่า
ในปี 2020 ประเทศสหรัฐฯ มีอัตราการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจติดลบท่ี -3.5%,
วรดา ชําานาญพืช
รองประธานสภาอุตสาหกรรมสายแรงงาน
กลุ่มประเทศยุโรโซน มีอัตราติดลบท่ี -6.8%, ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราติดลบท่ี -4.8% และ ประเทศจีนเติบโตท่ี 2.3% แต่ก็ยังต่ําากว่า ตัวเลขการเติบโตในปี 2019 ที่เติบโตถึง 6.1% สําาหรับประเทศไทยมีตัวเลขอัตรา ติดลบที่ -7.8% (การวิเคราะห์โดย EIC จาก ข้อมูลของสําานักวิจัยต่างประเทศ, 2564)
ภาคธุรกิจคาดการณ์ว่าในปี 2021 เศรษฐกิจจะไม่ชะลอตัวลงมากกว่าปี 2020 เป็นผลมาจากการที่มีแนวโน้มการส่งออกที่ ขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วท่ีมีการเร่ง ฉีดวัคซีนให้ประชาชนภายในประเทศได้อย่าง รวดเร็ว จึงทําาให้มีความต้องการในการบริโภค
ศุภกร เผ่าดี
อุปนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลประเทศไทย (PMAT)


เพิ่มขึ้น ซ่ึงเป็นสัญญาณที่ดีต่อประเทศท่ี เป็นฐานการผลิตสําาคัญในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยเมื่อพิจารณาการส่งออก ท่ีมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตาม ทิศทางการค้าโลกท่ีแม้จะชะลอลงบ้าง แต่ ก็ยังทรงตัวในระดับสูง ประเทศไทยซึ่งมี ฐานการผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคในภาค อุตสาหกรรมจึงได้รับผลดีต่อสถานการณ์ ดังกล่าว ซ่ึงถือเป็นข่าวดีในสถานการณ์ ท่ีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ภายใน ประเทศยังคงเป็นที่เฝ้าระวัง เมื่อพิจารณา จากตัวเลขทางเศรษฐกิจปี 2021 ท่ีมีการ คาดการณ์ในไตรมาสแรก ว่าประเทศไทยจะ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ท่ี 2.0% และ มีการปรับประมาณการลงในไตรมาสที่สอง อยู่ท่ี 0.9% ถึงแม้ว่าจะมีการปรับประมาณ การลงแต่เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขอัตรา การเติบโตในปี 2020 ก็ยังเป็นอัตราที่ดีกว่า (การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg และ CEIC , 2564)
จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและ เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันท่ีได้กล่าวไว้ข้างต้น ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในกลุ่ม ที่ได้รับอานิสงจากปัจจัยความต้องการสินค้า ของตลาดต่างประเทศ และอีกปัจจัยด้าน อัตราการแลกเปล่ียนเงินตราในช่วงก่อน เดือนกันยายนที่ค่าเงินบาทอ่อนตัว แม้ว่า ปัจจุบันค่าเงินบาทจะเริ่มกลับมาแข็งค่าอีก คร้ัง การอ่อนค่าของเงินบาทจึงส่งผลตีต่อ การผลิตภาคการส่งออกที่จะต้องพยายาม รักษาความสามารถในการผลิตและการ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เมื่อ พิจารณาจากปัจจัยสถานการณ์ภายใน
ประเทศไทยในปัจจุบัน แม้ว่ารัฐบาลจะเร่ิม ผ่อนปรนมาตรการ “ล็อกดาวน์” แต่ท้ัง ภาคเอกชนและประชาชนก็ยังไม่คลายความ กังวล ในด้านของสถานประกอบการใน อุตสาหกรรมการผลิตยังคงต้องเจอกับการ ดําาเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์ท่ียากลําาบาก โดยต้องคําานึงถึง 3 ปัจจัยสําาคัญ คือ
1) การรักษาความสามารถในการผลิต และต้องตอบสนองความต้องการของคู่ค้า เพ่ือรักษาความน่าเชื่อถือไว้ให้ได้
2) การดําาเนินธุรกิจภายใต้การรักษา มาตรการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด
3) การป้องกันการแพร่ระบาดและการ ดูสุขภาพของพนักงานให้ปลอดภัยจาก การเป็นผู้ติดเช้ือ การจัดหาวัคซีนฉีดให้กับ บุคลากรในองค์กรเพ่ือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และปัญหาการสร้างความเข้าใจและยอมรับ การฉีดวัคซีนท้ังแบบเชื้อตาย เชื้อเป็น หรือ แบบไขว้กับบุคลากรในองค์กรให้ครบ 100% หรืออย่างน้อย 70% โดยต้องพิจารณาไปถึง ครอบครัวพนักงานท่ีเป็นคลัสเตอร์สําาคัญท่ี เช่ือมโยงกับสถานประกอบการ
จากสถานการณ์ในปัจจุบันตามที่ได้ เกริ่นไว้ในเบื้องต้น เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ให้กับประชาชนของกลุ่มประเทศที่พัฒนา แล้วทําาให้สถานการณ์การแพร่ระบาดใน กลุ่มประเทศดังกล่าวคลี่คลายลง จึงทําาให้ ความต้องการสินค้าทั้งภาคเอกชนและภาค ประชาขนมีความต้องการสูงข้ึน จึงส่งผล ให้มีคําาสั่งผลิตสินค้ามายังกลุ่มประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียร่วมถึงประเทศไทย อ้างอิง ผลสําารวจของชมรมบริหารบุคคลธุรกิจ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน (MAC)


ที่ผู้เขียน ในฐานะประธานที่ปรึกษาชมรมฯ ได้ดําาเนินการสําารวจความคิดเห็นของธุรกิจ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 6 -13 สิงหาคม 2564 จากสถาน ประกอบการท่ีร่วมตอบแบบสําารวจร่วมท้ัง สิ้น 164 บริษัท พบว่าสถานประกอบการ ร้อยละ 76 มีคําาสั่งการผลิตอย่างต่อเนื่องใน ปัจจุบัน และมีแนวโน้มท่ีสูงขึ้นถึงช่วงปลาย ปี 2564 ด้วยข้อเท็จจริงจากข้อมูลน้ีจึงถือ เป็นความท้าทายท่ีผู้บริหารภาครัฐและผู้นําา ในภาคธุรกิจจะต้องดําาเนินกิจการภายใต้ สถานการณ์ที่ยากลําาบากเพื่อรักษาความ สามารถในการแข่งขัน (จึงเป็นท่ีมาของการ ฉีดวัคซีนตามมาตรา 33 สําาหรับผู้ประกันตน เพื่อเร่งให้บุคคลกรในสถานประกอบการได้ เข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น) นอกจากน้ีภาครัฐ และหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องจะต้อง เร่งดําาเนิน มาตรการเพ่ือส่งเสริมและบูรณาการร่วม กันกับภาคธุรกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้สามารถดําาเนินการตอบสนองต่อความ ต้องการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้น และรักษาการจ้างงานเพ่ือจะส่งผลให้มี การหมุนเวียนของการจับจ่ายใช้สอยของ ประชาชนภายในประเทศไปสู่ภาคการตลาด และภาคบริการต่อไป
โดยทั้งนี้ในภาพรวมของจังหวัดชลบุรีมี อัตราผู้ติดเชื้อเป็นอันดับ 2, 3 ในกลุ่มพ้ืนท่ี สีแดงเข้มแต่ยอดจําานวนผู้ติดเชื้อลดลงเหลือ ระดับหลักร้อย ด้วยมาตรการที่ท่านประธาน ศบค ท่านภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการ จังหวัดได้เน้นย้ําาในการดําาเนินการให้ภาค อุตสาหกรรมซ่ึงเป็นภาคส่วนเดียวที่พยุง เศรษฐกิจสามารถดําาเนินการได้โดยความ
ปลอดภัยและลดความเส่ียงต่อการแพร่ ระบาด โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้ บูรณาการให้ภาคส่วนธุรกิจโดยสภา อุตสาหกรรมได้เข้าร่วมประชุมเพื่อได้นําา เสนอข้อเท็จจริงและความเดือดร้อนหรือ ความต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐ ดังนั้นจึงได้เกิดโครงการบูรณาการร่วมกัน แบบภาคสมัครใจทั้งภาครัฐและเอกชน หลาย ๆ โครงการที่เกิดผลสัมฤทธ์ิท่ีดี อาทิ
- โครงการ Factory Sand Box
ของภาคส่วนหน่วยงานในสังกัดกระทรวง แรงงาน นําาทีมโดยท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี ท่านสุระชัย ชัยตระกูลทอง เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการส่งออกท่ีถูกเง่ือนไขการแพร่ ระบาดของโควิดในประเทศเรามาเป็นข้อ จําากัดโดยมีเง่ือนไขว่าพนักงานในสถาน ประกอบการน้ัน ๆ ต้องได้รับการฉีดวัคซีน 100% ดังนั้นโครงการนี้หากผู้ประกอบ การท่ีเข้าร่วมจะต้องมีการตรวจคัดกรอง พนักงานด้วยชุด ATK เพ่ือคัดกรอง และ โครงการจะเป็นผู้จัดหาวัคซีนมาให้แต่สถาน ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการ ฉีดเอง โดยในระยะแรกมีเง่ือนไขสําาหรับ สถานประกอบการส่งออกท่ีมีขนาด 500 คน ขึ้นไปและยังได้รับวัคซีนไม่ครบ ซึ่งมีสถาน ประกอบการที่อยู่ในเง่ือนไขทั้งส้ิน 183 องค์กรแต่ในระยะแรกผ่านเข้าร่วมได้จริงมี เพียง 19 องค์กร
โดยทั้งนี้ประเด็นนี้ผู้เขียนในนามของรอง ประธานอุตสาหกรรมฝ่ายแรงงานขอเรียน นําาเสนอให้ลดขนาดลงเป็น 100 คนข้ึนไป เหตุผลเพราะยังมีสถานประกอบการขนาด กลางอีกจําานวนมากท่ียังเข้าไม่ถึงวัคซีนตาม มาตรา 33 รวมสําาหรับสถานประกอบการ


ท่ีเข้าข่ายมาตรฐานเดิมคือ 500 คนขึ้นไป แต่ได้รับวัคซีนครบแล้ว ขอนําาเสนอเรื่องบูส เตอร์วัคซีนสําาหรับบุคคลากรในองค์กรนั้น ๆ ที่ได้รับวัคซีน SV หรือวัคซีนอ่ืน ๆ ใดครบ 2 เข็มไปแล้วและมีความจําาเป็นท่ีจะต้องได้รับ การบุสเตอร์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- โครงการ CHONBURI ATK WEEK
โดยความร่วมมือระหว่างสาธารสุขจังหวัด ชลบรุ โี ดยทา่ นนายแพทยอ์ ภริ ตั กตญั ญตุ านนท์ และสภาอตุ สาหกรรมชลบรุ ี โดยทา่ นประธาน สมบูรณ์ ตีพรเจริญ เพื่อการตรวจคัด กรองแยกผู้ติดเช้ือในสถานประกอบการ เพื่อจะได้คัดแยกผู้ติดเช้ือออกมาทําาการ รักษาอย่างรวดเร็วทําาให้ลดความเสี่ยงต่อ การแพร่ระบาดจนเกิดเป็นคลัสเตอร์สถาน ประกอบการ ที่อาจแพร่ระบาดสู่คลัสเตอร์ ครอบครัว โดยมีบริษัทที่เข้าร่วม 172 บริษัท ท้ังนี้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการในแต่ละ พ้ืนท่ีอําาเภอจะได้รับการดูและ แนะนําาโดย สาธารณสุขแต่ละอําาเภอ รวมถึงสภาฯ ได้ ทําาหน้าที่ในการจัดหาชุดตรวจราคาถูกให้ กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว โครงการ Bubble & Seal เป็นอีกโครงการที่นอก จะช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดระหว่าง คลัสเตอร์โรงงาน คลัสเตอร์ครอบครัว และ ชุมชน แต่ยังเป็นโครงการท่ีทําาให้สถาน ประกอบยังสามารถรักษาประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการผลิต ซึ่งสถานประกอบใน จังหวัดใช้เป็นมาตรการสําาคัญในการดําาเนิน การทั้งแบบเชิงรุก และเชิงรับ
จากการบูรณาการความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชนภายในจงั หวดั ชลบรุ ที าํา ใหส้ ถานการณ์
การแพร่ระบาดกลุ่มคลัสเตอร์โรงงาน คลัสเตอร์ครอบครัว และคลัสเตอร์ชุมชน น่าจะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นการแพร่ระบาด แบบไขว้หรือเชื่อมโยงลดลงอย่างมีนัย สําาคัญหากมีการบูรณาการและให้ความ ร่วมกันแบบทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง แต่ อย่างไรก็ตามการสถานการณ์การแพร่ ระบาดโดยภาพรวมและผลกระทบต่อภาค ส่วนเศรษฐกิจท้ังระบบของประเทศควร จะต้องได้การแก้ไขให้ตรงตามอาการหรือ บริบทของปัญหาโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน คือ จ๊ิกซอร์ท่ีสําาคัญท่ีการแพร่ ระบาดในคร้ังนี้ทําาให้ทุกส่วนต้องออกแรง มากข้ึน รับภาระหนักข้ึน แต่ถ้าทุกฝ่าย เห็นอกเห็นใจ ร่วมมือร่วมใจ ทําาหน้าที่เต็ม กําาลังจะช่วยให้ “จําานวนคนรอดเพ่ิมข้ึน ลดแผลหรือการอักเสบทางเศรษฐกิจลด ลง สุดท้ายเศรษฐกิจก็จะกลับมาฟ้ืนฟูได้” โดยท้ังน้ีผู้เขียนได้นําาแนวคิดของธนาคาร แห่งประเทศไทยโดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิ วาทนฤพุฒิ ธนาคารแห่งประเทศไทย บรรยาย ณ วันท่ี 16 สิงหาคม 2564 และ ความคิดเห็นของผู้เขียนท่ีเป็นผู้ประสบ ปัญหาเสนอความคิดที่จําาเป็นในการแก้ ปัญหาวิกฤติในครั้งนี้
- ด้านเอกชน สนับสนุนช่วยเหลือกันใน กลุ่มธุรกิจในวงกว้างมากข้ึน สร้างเครือข่าย และจะรอดไปด้วยกัน นอกจากน้ีต้องสร้าง นวัตกรรมใหม่หรือวิธีการใหม่ ๆ ทั้งด้านการ ป้องกันการแพร่ระบาดภายในและรักษา สเถียรภาพทางด้านธุรกิจ
- ด้านประชาชน ต้องให้ความสําาคัญและ ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามมาตรการควบคุม การระบาด และใช้สิทธิในการรับวัคซีน


(แบบไม่เลือก สําาหรับผู้ที่มีทางเลือกค่อยไป เลือกในเข็มบูทเตอร์)
- ด้านสาธารณสุข ต้องใช้เครื่องมือให้ ตรงจุด คือ วัคซีน ATK และมาตรการการ ควบคุมการแพร่ระบาด เน้นบรรเทาความ เส่ียง ความเร็วในการควบคุมการระบาด จัดสรรเตียง ยาและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้ เพียงพอ จัดหาวัคซีนให้รวดเร็วครอบคลุม เร่งการฉีดให้ได้ตามเป้าหมาย ไล่เรียงตาม ลําาดับความเสี่ยงในแง่ของการท่ีจะทําาให้เกิด การแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง และความเสี่ยง ในการเสียชีวิต
- ด้านงบประมาณ มุ่งช่วยเหลือผู้เดือด รอ้ นหนกั ในภาวะวกิ ฤตกิ ารบรหิ างบประมาณ ต้องส่ือสารให้ชัดเจนและทันเวลาเพ่ือความ โปร่งใสและการเข้าถึงเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นกับประชาชนและธุรกิจ รวมถึงรัฐต้องมี การลงทุนในระบบข้ันพื้นฐานตามโครงการ พัฒนาประเทศต่าง ๆ ออกมาให้เร็วหรือเร็ว
กว่ากําาหนด เพ่ือผลักดันให้เกิดการจ้างงานใน ธุรกิจก่อสร้างและอ่ืน ๆ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ ดีขึ้น ทั้งน้ีเศรษฐกิจไทยดูได้จาก
GDP = C + I + G + X
- ด้านความสามารถในการจัดการหน้ี
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจากการแพร่ะระบาดเอง หรือจากมาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมการ แพร่ระบาดมีผลกระทบโดยตรงต่อภาระหน้ีสิน ของท้ังต่อภาคเอกชนและประชาชน เงินออม ก็ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายในด้านยาและอุปกรณ์ ้ ป้องกันที่ต้องจัดหาเองหรือเข้าถึงเป็นการซําา เติมให้สภาวะการเป็นหน้ีมีอาการหนักขึ้น ดังนั้น ทางออกคือ ช่วยเหลือตามอาการอย่า หว่านแห ภายใต้ทรัพยากรที่จําากัด ลูกหน้ีท่ียัง มีสถานะการเงินทางรายได้และธุรกิจท่ีดี ให้ ชําาระต่อไป ช่วยเหลือเฉพาะลูกหน้ีที่เดือดร้อน มิฉะน้ันจะเป็นการสร้างค่านิยมท่ีผิด ๆ ให้กับ คนไทย


และประเด็นที่ผู้ เขียนขอท้ิงท้าย เพื่อการเตรียม การรับมือ หลัง เศรษฐกิจกลับมา เดินปรกติ อีกคร้ัง หลังจากการท่ีจะ
ได้รับวัคซีนกันครบ 70% ไตรมาสที่ 4 น้ี เรา จะประสบปัญหา Employee Burnout เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ เพราะภาค ธุรกิจฟ้ืน อําานาจการตัดสินใจอยู่ท่ีคนหางาน Nick Bunker นักเศรษฐศาสตร์ ให้ความเห็น ต่ออัตราการลาออกจากงานที่เพ่ิมสูงข้ึนของ ชาวอเมริกันไว้ว่า อําานาจการตัดสินใจอยู่ใน มือแรงงาน เพราะนายจ้าง และบริษัทต่าง ๆ ต้องการจ้างพนักงานใหม่เตรียมความพร้อม สําาหรับกิจกรรมในช่วงฤดูร้อนนี้ ประกอบกับ
อัตราการฉีดวัคซีนที่เพ่ิมข้ึน และอัตราการติด เชื้อใหม่ท่ีลดลงจนคนอเมริกันกว่า 4 ล้านคน ลาออกจากงานในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพราะม่ันใจว่าจะหางานใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้ ดังนั้นสถานประกอบการรายย่อยอาจประสบ ปัญหาหนักจากแนวคิดของแรงงานเช่นเดียว กับสหรัฐอเมริกาหรือไม่ แต่อาจจะมีสาเหตุมา จากการท่ีในช่วงสภาวการณ์ท่ีลําาบาก สถาน ประกอบการปิด ทําาให้พนักงานต้องดิ้นรน ดําารงชีวิตจนเกิดงานใหม่ ๆ ที่มีรายได้มากกว่า และมีความเป็นอิสระมากกว่าการทําางานใน องค์กร ดังน้ัน นอกจากเร่ืองทางเลือกที่ดีกว่า เรื่องของความยืดหยุ่น หรือ Resilience ก็ เป็นสิ่งหน่ึงท่ีจะต้องเป็นกลยุทธ์ในการรักษา คนหรือดึงดูดคนเข้าองค์กร จึงขอนําาเสนอ แนวทางการสร้างความยืดหยุ่นให้กับการ ทําางานในองค์กร
Editor: คุณณัฏฐ์ธน สาตรจีนพงษ์


บริษัท พรเทพ อินเตอร์กรุ๊ป จําากัด
Pornthep Intergroup Co., Ltd.
บริษัท พรเทพ อินเตอร์ กรุ๊ป จําากัด เป็นหนึ่งในผู้นําาด้านการ ผลิตพาเลทไม้ และบรรจุภัณฑ์ไม้ ในประเทศไทย และเป็น หนึ่งในผู้นําาเข้าไม้มากที่สุดของประเทศด้วยโดยนําาเข้าไม้
จากทั่วทุกมุมโลก และใช้ร่วมกับไม้ในประเทศเพื่อขาย และ เป็นวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตของเรา โกดังเก็บ วัตถุดิบของเรามีขนาดความจุที่ประมาณ 64,000 ลูกบาร์ต เมตร (หรือ 1,600 คอนเทนเนอร์) และมีโรงผลิตอยู่รอบๆ โกดัง 3 โรงผลิต โดยมีกําาลังการผลิตพาเลทไม้และหรือ บรรจุภัณฑ์ไม้ (กล่อง) อยู่ที่ 10,000 ชิ้นต่อวัน
บริษัท พรเทพ อินเตอร์ กรุ๊ป จําากัด ผลิตและจําาหน่าย พาเลทไม้ และบรรจุภัณฑ์ ในประเทศไทยมากว่า 20 ปี และมีการขยายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากผู้ผลิตและ จําาหน่ายพาเลทไม้และบรรจุภัณฑ์ไม้ในประเทศไทย เราได้ ขยายการจําาหน่ายออกสู่ตลาดต่างประเทศในแถบภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก และประเทศแถบตะวันออกกลาง นอกจาก พาเลทไม้และบรรจุภัณฑ์ที่เราส่งออกไปขายต่างประเทศแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับไม้ เช่น ไม้อัด MDF (Medium- Density Fiberboard) กระดาษอัด หรือแผ่นใยไม้อัดแข็ง (Particle Board) เกล็ดไม้อัดเรียงชิ้น (OSB) เปน็ ตน้ ในขณะเดยี วกนั เรายงั เปน็ หนง่ึ ในจาํา นวนผจู้ ดั จาํา หนา่ ยรายใหญ่ สําาหรับไม้แปรรูปทุกชนิด โดยเฉพาะไม้อุตสาหกรรมที่ใช้ สําาหรับทําาพาเลทและบรรจุภัณฑ์ ในประเทศไทย
ที่อยู่ : 67/2 ม.4 ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 โทร : 081-4296644
อีเมล์ : [email protected]
พิกัด : 13.063866, 100.992314


Thai Summit PK Group “We are the World Class Manufacturer of
Chassis Frame and Axle for Pick-up Truck”
เป็นผู้นําาระดับโลกด้านการผลิตโครงตัวถังและตัวเรือนเพลาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เราเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไทยซัมมิทโอโตพาร์ทอินดัสตรี จําากัด (ผู้ผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์ชั้นนําาของประเทศไทย) และ บริษัท Press Kogyo จําากัด (ผู้นําาด้านโครงตัวถัง และตัวเรือนเพลาของประเทศญี่ปุ่น)
ผลิตภัณฑ์หลัก
การผลิตแบบต่อเนื่องและการตรวจสอบโดยใช้หุ่นยนต์ทําางานแบบอัตโนมัติ
การผลิตโครงตัวถังรถโดยใช้หุ่นยนต์เชื่อมแบบต่อเน่ืองอัตโนมัติ ช่วยลดเวลาในการผลิตลง มีการตรวจสอบด้วย Sensor เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการผลิต ตลอดท้ังในกระบวนการโอนชิ้นงานแบบอัตโนมัติ เราติดตั้ง iRVision ซึ่งสามารถถ่ายโอน ชิ้นงานด้วยความเร็วสูงในระบบที่ปรับให้เหมาะสม และการตรวจสอบช้ินงานด้วย การมองเห็นแบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีท่ีได้รับการพัฒนาและล้ําาสมัย
กลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท พีเค THAI SUMMIT PK GROUP
TSPK : บริษัทไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จําากัด 500/9 หมู่ 3 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง 21140 โทร. 0-3895-3400
TSPK-L : บริษัทไทยซัมมิท พีเคเค จําากัด 206 หมู่ 3 นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 โทร. 0-3849-0580~5
TSPK-BP : บริษัทไทยซัมมิท พีเคเค บางปะกง จําากัด 700/409 หมู่ 7ถ.บางนา-ตราด ต.ดอนหัวฬ่อ อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทร. 0-3845-4390~5
TSPK-E : บริษัทไทยซัมมิท พีเคเค เอนจิเนียริง จําากัด 206/1 หมู่ 3 นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 โทร. 0-3849-0580~5


industrial move
circular economy
มาพบกับ Industrial Move ในรูปแบบของ SME Moving ในการขับเคล่ือนโมเดล เศรษฐกิจแบบใหม่ BCG model ลงสู่ธุรกิจในระดับ SME ที่จะเป็นปัจจัยที่เสริม สร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีธรรมาภิบาลต่อ สังคมเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์
แต่อาจเป็นกระบวนการท่ีใช้เวลานานต้องใช้เทคโนโลยีเงินลงทุนสูง และการบูรณาการ ของทุกภาคส่วนทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถเข้าถึงความ ยั่งยืนจากเศรษฐกิจ BCG มิใช่แต่เพียงผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ในการนําาแนวคิดดังกล่าวให้ อยู่ควบคู่กับการดําาเนินธุรกิจตลอดไป
จากการศึกษาเฉพาะแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในฐานะแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ที่กล่าวมา พบว่า ธุรกิจขนาดใหญ่หลายรายได้ขับเคล่ือนตนเองเข้าสู่การบริหารจัดการองค์กรท้ังระบบ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนแล้ว เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ท้ังองคาพยพการผลิต ซึ่งอาศัยวัตถุดิบจากของที่ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกคร้ัง เป็นการลดการใช้ทรัพยากร ตลอดจนตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะท่ีเพิ่มมากข้ึนในแต่ละปี อย่างไรก็ดี แม้ว่า รัฐจะมีกรอบกฎหมายที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว แต่การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ธุรกิจ ทุกระดับเพื่อให้การขับเคล่ือนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยังมี


ความสําาคัญอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อมที่ยังประสบกับความยาก ลําาบากในการเข้าถึงปัจจัยสนับสนุนเพ่ือไปสู่ การบริหารจัดการธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจ หมุนเวียน
การสนับสนุน sme ให้สามารถเข้าสู่ circular economy ควรมีแนวทางดังนี้
1 มีการรณรงค์และสร้างการตระหนักรู้
ถึง circular economy ทั้งนี้เพ่ือสร้าง และ เพิ่มอุปสงค์ ในการเปล่ียนแปลงทางกายภาพ และพฤติกรรมผู้บริโภค ในการตระหนักถึงการ บริโภคท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนทางด้าน Supply Side ก็ควรจะให้คําาแนะนําา และพัฒนา ผปู้ ระกอบการ ใหเ้ ปลย่ี นผา่ นจาก LINEAR Value Chain ไปสู่ Circular Supply Chain
2 ปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบาย การมี กรอบกฎหมายทเ่ี ปน็ พน้ื ฐานของแนวคดิ ดงั กลา่ ว โดยเฉพาะการนําานโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดย ผ่านการสนับสนุน จาก Business Associa- tions ต่างๆ
3 การเปลี่ยนผ่านไปสู่ New model ใน เรื่องของ financials incentive ทั้งเร่ืองของ การผลิต การจัดการคน การจัดการองค์กร ดังนั้นมาตรการทางภาษีและการสนับสนุน งบประมาณและเงินทุนต่างๆ ต้องมีเกิดข้ึน เพื่อสนับสนุน sme
4 การเข้าถึงเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้น ฐานต่างๆ ในการที่จะเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีและ นวัตกรรม เข้าสู่การออกแบบ การผลิต ท่ีเรียก ว่า close loop เพ่ือสนับสนุนให้เข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจหมุนเวียน
5 ควรมกี ารจดั ทาํา แผนทน่ี าํา ทาง (Roadmap) ในการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG โดยต้องมองทิศทางและแนวโน้มของ
อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการต้องตีโจทย์ของ BCG ในส่วนของธุรกิจของตนว่า ต้องการอะไร ทั้งผลิตภัณฑ์ การตลาด การลงทุนระยะยาว ผู้ประกอบการต้องจําากัดประเภทของ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ท้ังในส่วน ของชีวภาพ การหมุนเวียน และอุตสาหกรรม สีเขียว ว่าต้องการเน้นสาขาใด โดยอาจจับคู่ ทางธุรกิจหรือจับกลุ่มเป็นคลัสเตอร์
6 ส่งเสริมความรู้ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนา BCG (Bio-Circular-Green Economy) เช่น ส่งเสริมการประเมินวัฏจักรผลิตภัณฑ์ เพื่อ ประเมินผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสําาคัญที่จะ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ ก่อให้เกิดผลกระทบน้อย หรือเป็นข้อมูล พื้นฐานให้ภาคเอกชนดําาเนินการปรับเปล่ียน กระบวนการผลิต เพ่ือให้มีผลกระทบต่อส่ิง แวดลอ้ มตาํา่ สดุ และปอ้ งกนั การกดี กนั ทางการคา้
7 เพิ่มขีดความสามาถในการแข่งขันให้กับ สนิ คา้ กลมุ่ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซ่ึงเป็นกลุ่มที่เน้นที่มาของวัตถุดิบ ความสามารถ ของการหมนุ เวยี นนาํา กลบั มาใชใ้ หม่ และกระบวน การผลติ ทค่ี าํา นงึ ถงึ ความปลอดภยั ของสง่ิ แวดลอ้ ม และมนุษย์ ดังนั้น ความสามารถในการพิสูจน์ ท่ีมาของวัตถุดิบในเชิงวิทยาศาสตร์ การรับรอง กระบวน การผลิต และการย่อยสลายได้ใน ธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งจําาเป็นที่ต้องใช้ยืนยันความ เป็นผลิตภัณฑ์ BCG ที่แท้จริง อีกท้ังการพัฒนา นวัตกรรมต่างๆ ในระยะเวลาท่ีส้ันลง และตอบ สนองต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยําามากขึ้น
8 การยกระดับความสามารถของกําาลัง คนเพ่ือรองรับเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circu- lar-Green Economy) จําาเป็นต้องดําาเนินการ ในหลายระดับเพ่ือเสริมความรู้และสร้างทักษะ BCG เช่น การพัฒนาบุคลากรวิชาชีพเฉพาะ


เพื่อเข้าใจส่ิงแวดล้อมและระบบนิเวศ เพ่ือการ อนุรักษ์ในพื้นที่และใช้ประโยชน์อย่างย่ังยืน
9. บริษัทต้องมีความโปร่งใสในการให้ข้อมูล ของห่วงโซ่อุปทาน เช่น ข้อมูลท่ีสามารถตรวจ สอบย้อนกลับได้ หรือข้อมูลผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อม เพ่ือให้สามารถกําาหนดกลยุทธ์ในการ ขับเคล่ือนการเปล่ียนแปลงสู่ความยั่งยืนได้
10 ควรส่งเสริมการลดข้อจําากัดทาง กฎหมายและกฎ
ระเบียบต่างๆ ให้เอ้ือ
อําานวยต่อการพัฒนา
BCG (Bio-Circu-
lar-Green Economy )
ในภาพรวม ซึ่งหมายถึง การให้มีกรอบกฎหมาย
ที่สนับสนุนแนวคิด
เศรษฐกิจหมุนเวียน
เป็นการเฉพาะ โดย
มีเจตนารมณ์ท่ีจะมุ่ง
ส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาให้แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นกลไกขับเคลื่อนธุรกิจ ท้ังระบบ เพ่ือสนองตอบต่อการขจัดปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล รวมถึง เพื่อสนับสนุนการบรรลุ SDGs ทั้ง ๑๗ ประการ ภายในปี ๒๕๗๓ อีกด้วย
นอกจากน้ี Industrial Move ฉบับนี้ ได้รวบรวมเร่ืองเศรษฐกิจหมุนเวียน (circu- lar economy : CE ) จากมุมมองในต่าง ประเทศ ซ่ึงแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่คู่ ธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตมาเป็นระยะ เวลาหนึ่ง และได้รับการยอมรับ อาทิ การนําา circular economy model และเป้าหมายของ
การพัฒนาอย่างย่ังยืน ไปสร้างกลยุทธ์ของธุรกิจ (Business strategies) ในกลุ่มประเทศยุโรป และลาตินอเมริกา
พบว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy : CE ) ควรจะเป็นกลยุทธ์ธุรกิจ หลักขององค์กรและถือว่าต้องเป็น DNA ของ องค์กรด้วย มีหลายประเด็นท่ีองค์กรธุรกิจ จําาเป็นต้องวิเคราะห์ ได้แก่
1. financial Investment การลงทุนทางการเงิน
2. ปัจจัยขับเคลื่อนจากภาวะ ผู้นําา (Driver and leader- ship ) ที่ธุรกิจ ต้องคําานึงถึง เพ่ือขับเคลื่อนไปสู่ Better Future Factory และการ ผลิตแบบรีไซเคิล
3. Economic Impact คําานึง ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่การผลิตสินค้าและ บริการ ท่ีจะช่วยสร้างรายได้ และลดต้นทุนให้กับผู้ผลิต
ไปจนถึงส่ิงที่ผู้บริโภคจะได้รับจาก circular economy : CE
4. Social Impact ที่จะทําาให้เกิดการจ้างงานใน ท้องถ่ิน และเกิด Green Job ที่มาจาก Green Business
5. มีการส่ือสารถึงกิจกรรม และกระบวนการ ผลิตของธุรกิจ ให้เกิดการตระหนักรู้ สู่สังคม ภายนอกจาก circular economy : CE
6. ต้องมีการ rethinking ในการผลิตสินค้า และบริการ บนหลักการท่ีว่า Durability, renewability, reuse, repair, replacement, upgrades, refurbishment และ reduce โดยการดําาเนินการดังกล่าว World Business


Council for Sustainable Development และ Boston Consulting Group พบว่า จะ ช่วยสร้างนวัตกรรม เพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพ ในการแข่งขัน เพิ่มผลกําาไร และทําาให้เกิด นวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ
ท้ังนี้พบว่าแต่ละธุรกิจควรมีข้ันตอน แนวทางปฏิบัติ ท่ีจะนําาไปใช้ในธุรกิจ ดังน้ี
ขั้นตอนท่ี 1 ต้องมีการ Mapping ความพร้อม ของธุรกิจ กับระบบ Circular Thinking ขั้นตอนท่ี 2 สร้าง engagement ให้เกิดกับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียท้ังหมดของธุรกิจ ที่เก่ียวข้องกับ การผลิตสินค้าและบริการ
ขน้ั ตอนท่ี 3 ตอ้ งแนใ่ จวา่ ผบู้ รหิ ารระดบั สงู buy-in กบั แนวคดิ ธรุ กจิ แบบ circular economy : CE ข้ันตอนท่ี 4 มีการกําาหนดวิสัยทัศน์ และการ สื่อสารองค์กร ให้ทราบถึงการผลิตสินค้าและ บริการแบบ circular economy : CE ขั้นตอนท่ี 5 มีการกําาหนดค่าเป้าหมาย เช่น KPI หรือมีการวัด Return on Investment เป็น Business Case ในองคก์ ร เพอ่ื จะไดต้ ง้ั เปา้ หมาย ของการทําา circular economy : CE ได้ ข้ันตอนที่ 6 สร้างระบบ Circular Economy Champion ให้มีทีมทําางาน มีการวางแผน งานเพื่อสร้างความสามารถในการทําางานแบบ circular economy : CE
ขั้นตอนที่ 7 ต้องมีการเชื่อมโยงตั้งแต่ Process- Product-business model - innovation ข้ันตอนท่ี 8 มีการสื่อสารความสําาเร็จ ที่เกิดข้ึน จาก circular economy : CE ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบ
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน ซ่ึงเป็นกระแสระดับโลกใน แวดวงอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและบริการ โดยมีหลักการสําาคัญ คือ การนําาสิ่งท่ีไม่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการผลิตอีกครั้งโดยไม่กําาจัด เป็นขยะ และนําามาเพื่อผลิตเป็นสินค้าและ ส่งจําาหน่ายใหม่ ลดการใช้ทรัพยากรการผลิต และเพ่ือให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพย่ิง ขึ้น กระบวนการดังกล่าวมีลักษณะหมุนเวียน เป็นวงกลมและสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา อย่างยั่งยืน (SDGs)
กระแสของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่ง ผลให้ธุรกิจต่างๆ ท้ังในประเทศและต่างประเทศ ได้นําาร่องการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวไว้ใน รูปแบบธุรกิจของตน ท้ังยังสอดคล้องกับหลัก การความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขององค์กร ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการด้านบรรษัท ภิบาล (Corporate Governance) หรือการ กําากับดูแลกิจการท่ีดี เพ่ือความย่ังยืนของธุรกิจ ต่อไป
ในโอกาสหน้า INDUSTRIAL MOVE จะได้นําาเร่ือง GREEN SME , CIRCULAR ECONOMY BUSINESS MODEL และ แนวคิดในการ JUMP-START ไปสู่ green economy ของธุรกิจท้ังจากในประเทศและ ต่างประเทศมาเล่าให้ทุกท่านได้รับทราบ ต่อไปค่ะ และขอเชิญชวนส่งความคิดเห็นและ องค์ความรู้จากแต่ละประเภทอุตสาหกรรมมา แลกเปลี่ยนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการ ขับเคลื่อนเรื่องน้ีกันต่อไปด้วยค่ะ
Editor: ผศ.ดร.จิราพร ระโหฐาน






Industrial perspective คาร์บอนเครดิตในประเทศไทย
โลกร้อน โลกรวน สร้างผลกระทบมากมาย ทั้งน้ําาแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ําาทะเลสูงข้ึน ไอนํา้าก่อให้เกิดความแปรปรวนความกดอากาศ เกิดลมพายุ ความแห้งแล้ง นํา้าท่วม
รวมถึงไฟ ไหม้ป่า โดยเมื่อพิจารณาภาพรวมระดับโลกพบว่าในปี 2561 มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกระดับโลกเกือบ 5 หมื่นล้านตัน โดยเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากที่สุดถึงร้อยละ 75 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่บรรยากาศ
จากรายงาน IPCC’s Climate Change 2021 พบว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าอุณหภูมิโลก จะเพิ่มสูงข้ึนจนถึง 1.5 องศาเซลเซียส และ จากการจําาลองสถานการณ์ถ้านานาประเทศ ไม่มีการดําาเนินการใดๆ เลย ในปี 2100 จะมี ต้นทุนความเสียหายทางเศรษฐกิจจากผล กระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สูงถึง 258 เหรียญต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ (Nature Communications, 2021) ดังน้ัน สหประชาชาติจึงหาแนวทางจัดการความเสี่ยง ซึ่งนําามาสู่ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ท่ีมีเป้าหมายในการร่วมกันดําาเนินการต่างๆ เพ่ือควบคุมการเพ่ิมข้ึนของอุณหภูมิเฉล่ียของ โลกให้ต่ําากว่า 2 องศาเซลเซียส เม่ือเทียบกับ ยุคก่อนอุตสาหกรรม และมุ่งพยายามควบคุม การเพ่ิมขึ้นของอุณหภูมิเฉล่ียของโลกไม่ให้เกิน
1.5 องศาเซลเซียส โดยนานาประเทศจะต้อง ร่วมกันจัดทําาแผนดําาเนินการเพ่ือลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก
ประเทศไทยได้เข้าร่วมความตกลงปารีส และได้มีการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของ ประเทศ (Nationally Determined Con- tribution: NDC) ในการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกของประเทศร้อยละ 20-25 จาก ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ (Business-as-usual: BAU) ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างดําาเนินการ จัดทําายุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ําา (Long-term Low Greenhouse Gas Emissions and Devel- opment Strategy: LT-LEDS) ซึ่งจะเป็นพื้น ฐานในการยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือน


กระจกของ NDC ฉบับต่อไป โดยประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสําาคัญของการใช้กลไกด้าน การตลาด ซึ่งเป็นกลไกที่มีบทบาทสําาคัญใน การช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยผลักดัน ให้เกิดการดําาเนินงานเพ่ือการลดก๊าซเรือน กระจก โดยตัวแปรสําาคัญในการขับเคลื่อน กลไกด้านการตลาดนั่นคือ “คาร์บอนเครดิต”
คาร์บอนเครดิตได้มาอย่างไร?
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน กระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ซึ่ง เป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้กระทรวง
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม มภี ารกจิ หลักด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการ ลดก๊าซเรือนกระจกของภาคส่วนต่างๆ จึง ได้พัฒนาโครงการลดก๊าซ เรือนกระจกภาคสมัคร
ใจตามมาตรฐานของ
ประเทศไทย (Thailand
Voluntary Emission
Reduction Program)
หรือ “โครงการ T-VER”
ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน
ใหท้ กุ ภาคสว่ น มสี ว่ นรว่ มในการลดกา๊ ซเรอื น กระจกในประเทศดว้ ยความสมคั รใจ โดยสง่ิ ท่ีได้จากการดําาเนินโครงการคือปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากการดําาเนิน โครงการเปรียบเทียบกับกรณีฐานท่ีไม่มีการ ดําาเนินกิจกรรมใดเลย (ดังรูปที่ 1) จะเรียก
ว่า คาร์บอนเครดิต ซ่ึงภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า “T-VER Credit” มีหน่วยเป็นตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ซ่ึง สามารถนําาไปใช้ประโยชน์ในการรายงานผล การดําาเนินงานประจําาปี การแลกเปลี่ยน หรือ ซื้อ-ขายภายในประเทศ โดย อบก. จะเป็นผู้
กําาหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนา โครงการ ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาค สมัครใจ (T-VER Methodology) รวมถึงข้ัน ตอนการข้ึนทะเบียนและการรับรองปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก โดยปัจจุบัน (สิงหาคม 2564) มีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับ การข้ึนทะเบียนเป็นโครงการ T-VER จําานวน 257 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ คาดว่าจะลดหรือกักเก็บได้รวม 9.58 ล้าน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (MtCO- 2eq/year) และมีโครงการที่ได้รับการรับรอง คาร์บอนเครดิต จําานวน 125 โครงการ มี ปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองแล้ว ทั้งหมด 8.84 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (MtCO2eq)
ภาคอุตสาหกรรมสามารถพัฒนา โครงการ T-VER เพ่ือขอรับรองคาร์บอน เครดิตได้ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมการลด/ กักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยในส่วนของ คาร์บอนเครดิตจากการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก ส่วนใหญ่มาจากการลดการ ใช้พลังงานภายใต้มาตรการต่างๆ ที่ดําาเนิน การ เช่น การผลิตไฟฟ้า/ความร้อนจาก พลังงานทดแทน การปรับเปล่ียนอุปกรณ์ ประสิทธิภาพสูงเพ่ือการเพิ่มประสิทธิภาพ พลังงาน การติดตั้งระบบผลิตพลังงานร่วม การนําาความร้อนท้ิงจากกระบวนการผลิตไป


ใช้ประโยชน์ การจัดการน้ําาเสียจากกระบวน ผลิต เช่น น้ําาเสียของโรงงานสุรา โรงงานแป้ง และโรงงานสกัดน้ําามันปาล์มโดยนําาไปผลิต ก๊าซชีวภาพเพื่อนําาไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น นอกจากการดําาเนินการในภาคพลังงานแล้ว การลดการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี ในภาคการเกษตรก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งท่ีจะ สามารถสร้างคาร์บอนเครดิตได้ สําาหรับใน ส่วนของคาร์บอนเครดิตจากการกักเก็บก๊าซ เรือนกระจกจะมาจากป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งกัก เก็บคาร์บอนในธรรมชาติ สามารถพัฒนาเป็น โครงการ T-VER ได้ในรูปแบบของการปลูก ป่า/ต้นไม้ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมสามารถดําาเนิน โครงการได้ทั้งในพื้นท่ีของตนเองและพื้นที่ของ หน่วยงานรัฐท่ีได้รับอนุญาต ทั้งนี้ คาร์บอน เครดิตจะเกิดขึ้นได้เม่ือกิจกรรมลดก๊าซเรือน กระจกที่ดําาเนินการได้รับการข้ึนทะเบียนเป็น โครงการ T-VER และได้รับการรับรอง คาร์บอนเครดิตที่ลดหรือกักเก็บได้ จาก อบก. ซ่ึงในการข้ึนทะเบียนเป็นโครงการ T-VER หรือการขอรับรองคาร์บอนเครดิตน้ัน โครงการต้องได้รับการตรวจสอบความใช้ได้ และทวนสอบโดยผู้ประเมินภายนอกท่ีได้รับ การขึ้นทะเบียนจาก อบก. โดยจะต้องดําาเนิน การตามแนวทางการพัฒนาโครงการ T-VER ของ อบก. ซึ่งสามารถดูรายละเอียดการ พัฒนาโครงการ T-VER ได้ที่ http://ghgre- duction.tgo.or.th/th/t-ver.html
ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทย
สําาหรับประเทศไทยการดําาเนินการเป็น ตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market) ซึ่งยังไม่ได้มีกฎหมายบังคับ เป็นการ จัดตั้งตลาดจากความร่วมมือของภาคส่วน ต่างๆ เพ่ือช่วยลดปัญหาด้านการเปล่ียนแปลง สภาพภูมิอากาศโดยสมัครใจ ไม่มีผลผูกพัน ตามกฎหมาย (Non-legally binding target)
ปัจจุบันการซ้ือ-ขายคาร์บอนเครดิตของไทย เป็นรูปแบบ Over-the-Counter (OTC) คือ ไม่มีสถานที่และไม่ได้กําาหนดเวลาซ้ือขายปิด เปิดตลาดที่แน่นอน การซ้ือขายจะเป็นการ เจรจาต่อรองกันเองระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดย ปัจจุบันผู้ซื้อส่วนใหญ่นําาคาร์บอนเครดิตไป ใช้ในกิจกรรมชดเชยคาร์บอนสําาหรับองค์กร ผลิตภัณฑ์ งานอีเว้นท์ และบุคคล ซึ่งปัจจุบันมี ปริมาณคาร์บอนเครดิตท่ีรับรองภายใต้ โครงการ T-VER มกี ารแลกเปลย่ี นและซอ้ื -ขาย แล้วประมาณ 750,000 tCO2eq ซึ่งมีราคา เฉลี่ยอยู่ที่ 25 บาท/tCO2eq มีราคาต่ําาสุด และสูงสุดเท่ากับ 15 บาท/tCO2eq และ 200 บาท/tCO2eq ตามลาํา ดบั (ดรู ายละเอยี ด เพม่ิ เตมิ ไดท้ ่ี http://carbonmarket.tgo.or.th) ซึ่งในอนาคต อบก. ได้มีความร่วมมือกับสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ใน การสร้างรูปแบบการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต จากโครงการ T-VER ผ่านระบบ Exchange Platform ซึ่งเป็นวิธีการซ้ือขายผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ซ้ือและผู้ขายส่งการเสนอซ้ือ และเสนอขายด้วยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ อื่นๆ เช่น มือถือ แท็ปเล็ต เป็นต้น โดยเม่ือวัน ท่ี 6 กรกฎาคม 2564 ส.อ.ท. และ อบก. ได้ลง นามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนา ตลาดคาร์บอนภายในประเทศ” โดยพัฒนา แพลตฟอร์มหลักของประเทศสําาหรับการ ซ้ือขายคาร์บอนเครดิต (Thailand Carbon Credit Exchange Platform) เพ่ือให้สามารถ บริหารจัดการคาร์บอนเครดิตขององค์กรได้ ตามเป้าหมาย และมุ่งพัฒนาไปสู่การซ้ือ-ขาย ในระดับสากลต่อไปในอนาคต
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริม การมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของ ภาคส่วนต่างๆ จึงได้ริเร่ิมดําาเนินโครงการจัดต้ัง


รูปที่ 2
การดําาเนินการ เพื่อมุ่งสู่ คาร์บอนนิวทรัล
เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thai- land Carbon Neutral Network: TCNN) ซ่ึง เป็นเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรต่างๆ ใน การร่วมกิจกรรมเพื่อลดหรือชดเชยปล่อยก๊าซ เรือนกระจกขององค์กรมุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาค เอกชน ภาคท้องถิ่น และชุมชนในการลดก๊าซ เรือนกระจก และสนับสนุนการดําาเนินงานเพื่อ บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ระยะยาวการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ําาของประเทศไทย (LT-LEDS) เพื่อขับเคล่ือนประเทศไทยสู่เป้า หมายการลดก๊าซเรือนกระจกท่ีสอดคล้อง กับเป้าหมายการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส ตาม ประชาคมโลก ซึ่งเครือข่าย TCNN จะเป็น ส่วนสําาคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการแลก เปลี่ยนคาร์บอนเครดิตระหว่างองค์กรผู้นําาที่มี ความรับผิดชอบสูงในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และองค์กรผู้พัฒนา โครงการลดก๊าซเรือนกระจก (ดังรูปที่ 2) ผ่านแพลตฟอร์มการซ้ือขายหรือแลกเปลี่ยน คาร์บอนเครดิตที่ อบก. และ ส.อ.ท. ร่วมกัน พัฒนาขึ้นสําาหรับการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน คาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นอกจากจะใหก้ ารสนบั สนนุ พฒั นแพลตฟอรม์ หลักสําาหรับการซื้อขายหรือแลกเปล่ียน คาร์บอนเครดิตแล้ว ส.อ.ท. ยังตระหนักถึง ปัญหาอันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกฯ ซึ่งมีมากกว่า 10,000 ราย ดําาเนินโครงการ และกิจกรรมลดหรือชดเชยการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมและมี ประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่อง มีนโยบาย สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาค อุตสาหกรรม นอกจากน้ี ส.อ.ท. ยังได้มีการ จัดต้ัง Thailand RE 100 club ซึ่งเป็นเครือ ข่ายความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมและ องค์กรต่างๆ ที่จะเข้ามาร่วมใช้แพลตฟอร์ม การซื้อขายแลกเปล่ียนคาร์บอนเครดิต และ Renewable Energy (RE) เพ่ือตอบโจทย์ ของการดําาเนินธุรกิจแบบยั่งยืนในการความรับ ผิดชอบต่อสังคมและส่ิงแวดล้อมเพ่ือขับเคลื่อน สังคมไร้คาร์บอน และเตรียมความพร้อมให้ ภาคธุรกิจของประเทศไทยสามารถเดินหน้า ต่อไปได้อย่างยั่งยืน
สําานักประเมินและรับรองโครงการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
Editor: คุณณัฏฐ์ธน สาตรจีนพงษ์


บริษัท สยาม ดี.เค. เอ็นจิเนียริ่ง จําากัด
SIAM D.K. ENGINEERING CO.,LTD.
เรามุ่งมั่นพัฒนาผลิตสินค้าที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งมอบสินค้าตรงเวลา เพื่อสร้าง ความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าสูงสุด โดยเรามีการรับรองโดยระบบมาตรฐานบริหารงาน คุณภาพระดับสากล และระบบมาตรฐานสากลสําาหรับระบบการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมขององค์กร (ISO 9001 : 2015 / ISO 14001 : 2015) ด้วยทีมงาน คุณภาพและประสบการณ์มากกว่า 15 ปี เพื่อพัฒนาและผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าทุกท่าน
- รับผลิตและออกแบบJig&FixtureทุกประเภทรวมไปถึงงานAutomation&Solution ผลิตเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์จับยึดในโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท
- งานเชื่อมงานโครงสร้างงานในสายงานอุตสาหกรรมต่างๆ
- ผลิตแม่พิมพ์และงานStamping,Punch&Die
- รับผลิตงานPressPart/WeldingPart/MachinePartรวมไปถึงงานFinishgoods รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ (Reward)
- รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น
ประจําาปี 2563 ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม
- รางวัลวิสาหกิจต้นแบบดีเด่น(ระดับทอง)
- รางวัลองค์กรแห่งความสุขในงานHappyWorkplace
Centre ระดับประเทศ
- รางวัลองค์กรแห่งความสุขในงานHappyWorkplace
Centre ระดับภาคตะวันออก
ช่องทางการติดต่อ
15/18 ม.1 ต.หนองซ้ําาซาก อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170
Tel: 038-161 072-4 Fax: 038-161 072 #107
E-mail: [email protected] , [email protected] , [email protected] Web site: www.siamdk.co.th Line Account: @siamdk


DAIDONG ELECTRONICS
(THAILAND) CO., LTD
Mold Manufacturing
Daidong makes best efforts to realize high-tech mold manufacturing based on accumulated know-how and the best technology. Through unifying operation process from 3D CAD design to test-production and through process management system, Daidong pursues to shorten cycle time and remove any defect from any process Injection Mold
Daidong manufactures products which always satisfies various client’s needs based on continuous technology development and operation cutting-edge equipment. We adopted HI-cycle system for
- Small ultra-precision engineering plastic injection - Big and small parts of various electronic products - Automobile parts
- Double-colored injection
- Micropore formation
- Gas injection molding - In-mold injection
Daidong also has the process from painting in perfect clean rooms with automated equipment to ultrasonic deposition and vacuum evaporation coating. Etc.
DAIDONG ELECTRONICS (THAILAND) CO., LTD
63/2 MU5, Banbung Bankai Rd., Banbung Chonburi 2070 Tel : +66-38-443981-3 Fax : 66-38-444080-1
E-mail : [email protected] , URL http//www.daidong.com


Member visit
Editor: คุณบุษกร ชีวะธรรมานนท์




สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี
ที่อยู่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท ตําาบลเสม็ด อําาเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์/ โทรสาร : 038-288507 มือถือ : 098-8307658 , 081-0026776 วันทําาการ : จันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น.
E-mail : [email protected]
Website : www.ftichonburi.org


Click to View FlipBook Version