The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chaiya District Public Library, 2021-03-26 02:11:17

2 เมษายน

2 เมษายน

๒ เมษายน ๒๕๖๔

วนั รกั การอ่าน

ห้องสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

พระราชประวตั ิ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณี
พีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชน
กาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและพระบรม
ราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชสมภพเม่ือวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน
พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับ
พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพ
รตั นสุดา กิติวฒั นาดลุ โสภาคย์

ด้วยเหตุที่ทรงบาเพ็ญพระราชกิจจานุกิจนานัปการอันเป็น
ประโยชน์แก่แผ่นดินและราษฎรพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบ
ศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงมีพระบรมราช
โองการโปรดเกลา้ โปรดกระหม่อม ใหส้ ถาปนาพระราชอิสริยยศ และ
พระราชอิสริยศักดิ์ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหา
จักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ในการพระ
ราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ และ
เมื่อวนั ท่ี ๕ พ.ค. ๒๕๖๒

หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอไชยา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๑๐ ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้อาลักษณ์ อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการ
เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารี เป็น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสดุ า เจา้ ฟ้ามหาจักรีสิรินธร นับเป็นเจ้านายพระองค์แรก
ที่ได้รับพระราชทานพระเกียรติยศท่ี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
โดยยังทรงพระอิสริยยศ กรมสมเด็จพระ และ สยามบรมราช
กมุ ารี ตามทไ่ี ดร้ ับพระราชทานจากสมเดจ็ พระบรมชนกนาถ

จากพระวิริยะอุตสาหะในการทรงศึกษาหาความรู้และ
บาเพ็ญพระราชกิจนานัปการ พระเกียรติคุณ เป็นที่ประจักษ์ชัด
แจ้ง ทั้งในราชอาณาจักร และนานาชาติ จึงทรงรับพระราชทาน
เคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ แห่งราชอาณาจักรไทย และทรงรับการ
ทูลเกลา้ ฯ ถวายเครื่องราชอิสรยิ าภรณต์ ่างประเทศ

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

การศึกษา

สมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเริ่มต้นการศึกษาระดับ
อนุบาล เม่ือพุทธศักราช ๒๕๐๑ ณ โรงเรียนจิตรลดา ในเขต
พระราชฐาน พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
โดยทรงศึกษา ต่อเนื่องไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา ตลอด
ระยะเวลาท่ีทรงศึกษา ทรงเอาพระทัยใส่ในการเรียน
โปรดการอ่าน และการศึกษาวรรณคดี ทั้งของไทยและ
ต่างประเทศ ทรงเริ่มแต่งคาประพันธ์ต่าง ๆ ทั้งร้อยแก้วและ
ร้อยกรองต้ังแตย่ งั ทรงศึกษาในช้ันประถมศกึ ษา โปรดการเข้าร่วม
กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ทั้งด้านกีฬา ดนตรี บันเทิง และ
กิจกรรมเพ่อื สาธารณประโยชน์

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

หลังจากทรงสาเร็จการศึกษา ประโยคมัธยมศึกษาตอน
ปลาย ในแผนกศิลปะ จากโรงเรียนจิตรลดา เมื่อพุทธศักราช
๒๕๑๖ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอบเข้าศึกษาต่อ
ในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย แม้จะมีพระราชภารกิจ โดยเสด็จพระราชดาเนิน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตรและพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เสด็จเย่ียมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ แต่ก็ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ
ในการเรียนอย่างยิ่ง และยังทรงร่วม กิจกรรมของคณะ และของ
มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับนิสิตทั่วไป ในปีการศึกษา ๒๕๑๙
ทรงสาเร็จการศึกษา และทรงเข้ารับพระราชทานปริญญา
อักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง
สาขาวิชาประวตั ิศาสตร์

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

ในพุทธศักราช ๒๕๒๐สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงสมัครเข้าศึกษาต่อ ระดับมหาบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกันท้ังสองแห่ง
ทรงสาเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึก
ภาษาตะวันออก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีการศึกษา
๒๕๒๒ หลังจากน้ัน ทรงสาเร็จการศึกษา อักษรศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต จากจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยในปีการศึกษา ๒๕๒๔ ต่อมา ด้วยความสนพระทัย
งานด้านการพัฒนา โดยอาศัยหลักวิชาการศึกษา หรือการเรียนรู้
เป็นแกน จึงทรงสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต
ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทรงสาเร็จการศึกษา
และรับพระราชทานปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
พัฒนศกึ ษาศาสตรใ์ นปกี ารศกึ ษา ๒๕๒๙

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

หลักคิดในการใช้การศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการสร้าง และ
พัฒนาความรู้ ความคิดของประชาชน และเป็นเครื่องมือในการ
พัฒนาชุมชน และสังคม ท่ีทรงได้รับจากการศึกษา ในระดับดุษฎี
บัณฑิต ผนวกกับประสบการณ์ ที่ทรงเรียนรู้ จากการโดยเสด็จ
พระราชดาเนิน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงเป็นพ้ืน
ฐานความรู้ที่แขง็ แกรง่ ในการทรงงานพฒั นา ของพระองคเ์ อง ใน
เวลาต่อมา จวบจนปัจจุบนั

นอกเหนือจากการศึกษาในระบบ สมเด็จพระกนิษฐาธิราช
เจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารียัง
สนพระทัยศึกษาเพิ่มเติม ดูงาน ประชุมสัมมนา และฝึกอบรมเชิง
ปฏิบัติการ เพื่อเพ่ิมพูนทักษะ ความรู้ ในวิชาการด้านอ่ืน ๆ
อกี หลายด้าน เช่น ภมู ิศาสตรก์ ายภาพ อทุ กศาสตร์ พฤกษศาสตร์
การจั ดการ ทรัพ ยากร ดินแ ละน้า รีโม ตเซนซิ่ง ระบ บ
ภมู ิสารสนเทศ แผนท่ี โภชนาการ เป็นต้น ด้วยมีพระราชประสงค์
ที่จะนาความรู้ท่ีได้จากวิชาการเหล่านี้ ไปประยุกต์ใช้ในการทรง
งานพฒั นาชมุ ชน และยกระดับชีวติ ความเป็นอยู่ของราษฎร

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

การรบั ราชการ

ห ลั ง จ า ก ท ร ง ส า เ ร็ จ ก า ร ศึ ก ษ า ร ะ ดั บ อุ ด ม ศึ ก ษ า แ ล้ ว
ในพุทธศักราช ๒๕๒๓สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเข้ารับราชการ
เป็นอาจารย์กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงสอนวิชาประวัติศาสตร์
ไทยและสงั คมวิทยา ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้มีการตั้งกอง
วิชาประวัติศาสตร์ข้ึนใหม่ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี พระยศ พันเอก ทรงดารงตาแหน่งหัวหน้า
กอง (ซึ่งต่อมาได้มีการขยายตาแหน่งเป็นผู้อานวยการกองใน
พุทธศักราช ๒๕๓๒ พร้อมกับกองอื่น ๆ) ทรงเป็นผู้อานวยการ
กองวิชาประวัติศาสตร์พระองค์แรกจนถึงปัจจุบัน มีพระราช
ภารกิจ ทั้งการบริหาร การสอน และงานวิชาการอื่น ๆ ต่อมา
ทรงได้รับพระราชทานพระยศ พลเอก ในพทุ ธศักราช ๒๕๓๙

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

และทรงไดร้ บั โปรดเกลา้ ฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ (อัตราจอม
พล) ในพุทธศักราช ๒๕๔๓ นอกจากน้ี ยังได้ทรงรับเชิญเป็น
อาจารย์พิเศษบรรยายวิชาการ ณ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น
จุฬาลง กรณ์ม หาวิทยาลัย มหาวิ ทยาลัยธรรม ศาสต ร์
มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ และมหาวิทยาลัยศลิ ปากร

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

พระราชกรณยี กจิ

นอกเหนือจากพระราชภารกิจในหน้าที่ราชการสมเด็จพระ
กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารี ทรงปฏบิ ัตพิ ระราชกรณียกิจดา้ นต่าง ๆ ครอบคลุมงาน
สาคัญ ๆ อันเป็นประโยชน์หลักของบ้านเมือง เกือบทุกด้าน และ
ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้ทรงปฏิบัติ พระราช
กรณียกิจท่ีทรงสืบสานต่อจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา
ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระ
บรมราชชนนีพันปีหลวงตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
มอบหมาย โดยเฉพาะการทรงงาน ด้านการบริหารองค์การและ
มูลนิธิ เพื่อสาธารณกุศล ทรงดารงตาแหน่งประธานกรรมการ
มูลนิธิชัยพัฒนา ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
อุปนายิกาผู้อานวยการสภากาชาดไทย รวมท้ังการเสด็จพระราช
ดาเนินแทนพระองค์ และการปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน
พระองค์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การพระราชทานพระราชวโรกาส
ให้คณะบุคคลต่าง ๆ เฝ้า ฯ การพระราชทานปริญญาบัตร
การถวายผา้ พระกฐิน เปน็ ต้น

ห้องสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

สมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงจัดต้ังโครงการต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนผู้ยากไร้ในชนบท
โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และแก้ไขปัญหาภาวะ
ทุพโภชนาการ ทรงเห็นว่าเด็กจะเรียนหนังสือไม่ได้ ถ้าท้องหิว
หรือเจ็บป่วย จึงทรงริเร่ิมโครงการเกษตรเพ่ืออาหารกลางวัน
ในโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๓
ทรงเห็นความสาคัญของการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน จึงพระราชทาน
พระราชทรัพย์ให้ก่อสร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ศูนย์การเรียน
ชุมชนสาหรับชาวไทยภูเขา ห้องเรียนเคล่ือนท่ี ท้ังพระราชทาน
พระราชทรัพย์เป็นค่าตอบแทนครูผู้สอน และทรงจัดหาอุปกรณ์
การเรียนการสอนพระราชทาน เพ่ือให้เยาวชนมีโอกาสได้รับ
การศึกษาท่ีเหมาะสม จะได้มีความสามารถในการพึ่งตนเอง และ
เป็นท่ีพ่ึงของครอบครัวได้ในอนาคต ทรงติดตามการดาเนินงาน
โครงการตามพระราชดาริอย่างใกล้ชิด และเสด็จพระราชดาเนิน
เยย่ี มราษฎรในโครงการ ดว้ ยพระองคเ์ องเสมอ

หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอไชยา

จากการท่ีมีประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทูลเกล้า ฯ
ถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล หรือสมทบทุนดาเนินงาน
โครงการพัฒนาต่าง ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ใหน้ าเงินที่
มีผู้ทูลเกล้า ฯ ถวายดังกล่าวมาจัดตั้งเป็นกองทุน ทุนการกุศล
สมเด็จพระเทพ ฯ เพ่ือให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนผู้
ทกุ ข์ยากเดอื ดร้อน หรอื เพ่ือการสาธารณประโยชนอ์ ่นื ๆ

นอกเหนือจากงานพัฒนาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สนพระทัย
งานศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างย่ิง มีพระราชดาริว่า ควรจะมี
การถ่ายทอดงานด้านวัฒนธรรมไปสู่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่
ผ่านกระบวนการจัดการศึกษาอบรม ท้ังการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพ่ือให้คนรุ่น
ใหม่เหล่าน้ีได้เรียนรู้ ตระหนักความสาคัญ รักและผูกพันใน
ศิลปวัฒนธรรมของชาติ สามารถสืบทอดเพ่ือการอนุรักษ์
และอาจพัฒนาเป็นอาชีพได้ ทรงสนับสนุนการดาเนินกิจกรรม
เ พ่ื อ อ นุ รั ก ษ์ แ ล ะ สื บ ท อ ด ม ร ด ก ท า ง ศิ ล ป วั ฒ น ธ ร ร ม ข อ ง ไ ท ย
พระอุตสาหะในการปฏิบัติกิจการอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง
และประชาชน เป็นท่ีประจกั ษ์แก่พสกนกิ รท่ัวหน้า

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

จึงทรงไดร้ ับการทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ พระเกียรติคุณ
ตาแหน่งเกียรติยศ และปริญญากิตติมศักด์ิ จากสถาบัน
หน่วยงานและองค์กร ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศ
จานวนมาก

ห้องสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

พระราชจริยาวัตรท่ีประชาชนทั่วไปได้เห็นประจักษ์ คือ
พระเมตตาและความเอาพระทัยใส่ในชีวิตความเป็นอยู่ของ
ประชาชน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปณิธานท่ีจะ
ช่วยเหลือผู้ท่ีทุกข์ยาก เดือดร้อนโดยไม่เลือกช้ันวรรณะ เผ่าพันธุ์
เช้ือชาติ ศาสนา พสกนิกรต่างยกย่อง และชื่นชมในพระบารมี
ดังน้ัน เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติที่ทรงมีคุณูปการต่อชาติ
บ้านเมืองในด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด จึงมีบุคคล หน่วยงาน
สมาคม และองค์กรต่าง ๆ ท้ังในราชอาณาจักรและใน
ต่างประเทศ ขอพระราชทานอัญเชิญพระนามาภิไธย และขอ
พระราชทานนาม ไปเป็นชื่อพรรณพืช และสัตว์ท่ีค้นพบใหม่ใน
โลก รวมท้ังสถานที่ และส่ิงต่าง ๆ เป็นจานวนมาก เพื่อเป็นการ
เฉลมิ พระเกียรติและเป็นสิรมิ งคลสืบไป นอกจากนี้ ยังได้ทรงพระ
กรุณารับสมาคม สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งข้ึนตามแนว
พระราชดาริ หรือทมี่ ีวตั ถปุ ระสงคด์ าเนินการในเร่ืองต่าง ๆ ที่ทรง
ให้การสนับสนุน ซึ่งล้วนเป็นไปเพ่ือช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
ผู้ขาดแคลน หรอื เพ่ือการสาธารณประโยชนไ์ ว้ในพระราชปู ถมั ภ์

หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอไชยา

งานอดิเรก

ยามที่ทรงว่างจากพระราชกิจสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถโดยทรงมี งานอดิเรกท่ีสนพระทัย
หลายประเภท เช่น ดนตรี งานศิลป์ กีฬา งานสะสม การทัศน
ศึกษา การอ่านและสะสมหนังสือ ทรงมีหอสมุดส่วนพระองค์ท่ี
จัดเก็บหนังสือหลากหลายประเภท ทั้งที่ทรงเลือกซื้อด้วย
พระองค์เองและท่ีมผี ทู้ ลู เกล้า ฯ ถวาย และดังเช่นเป็นท่ีทราบกัน
ทั่วไปว่า ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการเรียงร้อยอักษร จึงทรงพระ
ราชนิพนธร์ ้อยแก้วและร้อยกรองไว้เป็นจานวนมาก มีท้ังประเภท
บทความ เรื่องสั้น ความเรียง คานา บทกวี บทเพลง เร่ืองแปล
และสารคดี เป็นต้น รวมทั้งพระราชนิพนธ์ชุดเสด็จพระราช
ดาเนินเยือนต่างประเทศ ซ่ึงเปรียบเสมือน “บันทึกการเดินทาง”
ที่ให้ทง้ั ความรู้และความเพลิดเพลินแกผ่ ู้อ่าน

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

ในปัจจุบันสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ยังสนพระทัยศึกษาและ
ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะภาษาและวิชาการต่าง ๆ อยู่มิได้ขาด เช่น
ภาษาฝร่ังเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน เทคโนโลยีสารสนเทศ
ดาราศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น พระปรีชาสามารถด้าน
ภาษา เป็นท่ีประจักษ์โดยท่ัวหน้า นอกจากน้ี ยังสนพระทัยเข้า
ร่วมการประชุม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ทรงศึกษาดูงาน
และทรงพบปะสนทนากับปราชญ์ด้านต่าง ๆ อยู่เป็นประจา
เพ่อื ทรงรับความรู้ใหม่ ๆ และทนั สมัยอยเู่ สมอ

หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอไชยา

หนงั สอื ในพระราชนิพนธ์

สมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดการอ่านหนังสือ
และการเขียน ต้ังแต่คร้ังยังทรงพระเยาว์ ประกอบกับพระปรีชา
ด้ า น อั ก ษ ร ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ภ า ษ า ทั้ ง ภ า ษ า ไ ท ย แ ล ะ
ภาษาต่างประเทศ เป็นเหตุให้ทรงเริ่มงานพระราชนิพนธ์ ทั้งร้อย
แก้ว และร้อยกรองมากมาย งานพระราชนิพนธ์ท่ีเป็นที่รู้จัก
โดยทั่วไป ได้แก่ หนังสือพระราชนิพนธ์ ชุดเสด็จพระราชดาเนิน
เยือนต่างประเทศ งานพระราชนิพนธ์บทกวี และงานพระราช
นพิ นธแ์ ปล เป็นตน้

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

พระราชนิพนธท์ ่ัวไป

แก้วจอมแก่น
เป็นวรรณกรรมเยาวชนท่ีทรงพระราชนิพนธ์ข้ึนจาก

ประสบการณ์จริงเมื่อคร้ังยังทรงพระเยาว์ มีตัวละครเอกคือแก้ว
และเหลา่ ผองเพอื่ น แก้วไดเ้ ล่าเรื่องราวของตนเองออกเป็นตอนๆ
มีตัวละครอ่ืนเข้ามาเสริม “ทัพ” เพ่ือสร้างบรรยากาศและสีสัน
บา้ งเป็นคร้งั คราว

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

ในร่มเงาวังสระปทมุ
ในร่มเงาวังสระปทุม" เป็นสมุดบันทึก ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์

สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

พระราชนพิ นธบ์ ทกวี

กาลเวลาทีผ่ า่ นเลย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง

พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระราชานุญาตแก่บริษัท
หนังสือสุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์ จากัด จัดพิมพ์หนังสือพระราชนิพนธ์
"กาลเวลาที่ผ่านเลย" เพ่ือจัดพิมพ์เป็นท่ีระลึกเปิดอาคารเลขที่
๕๔ ถนนศรีดอนไชย อาเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เม่ือ
วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ และจาหน่ายเพื่อนา
รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล
สมทบทนุ สรา้ งโรงเรียนทีจ่ งั หวัดตาก

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

พทุ ธศาสนสุภาษิตคาโคลง
เป็นบทกวีพระราชนิพนธ์ท่ีทรงพระราชนิพนธ์ต้ังแต่

เมื่อคร้ังยังทรงศึกษาอยู่ท่ีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ทรงศึกษาพุทธศาสนสุภาษิตจากหนังสือ
พุทธศาสนสุภาษิต ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา
วชิรญาณวโรรส แลว้ ทรงผูกเป็นโคลงขนึ้

ห้องสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

พระราชนพิ นธ์แปล

กาเนดิ อนาคต
เป็นพระราชนิพนธ์แปลโดยทรงใช้นามแฝง “บันดาล” ทรงแปล

จาก Where the Future Begins ของ Amadou - Mahtar M’Bow
(อะมาดู - มาห์ตาร์ เอ็มโบว์) ชาวเซเนกัล ผู้ดารงตาแหน่ง
ผู้อานวยการใหญ่ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแหง่
สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ระหวา่ ง พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๓๐

ห้องสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

ความรกั ใดจะไมป่ วดร้าว
ความรักใดจะไม่ปวดร้าว เป็นพระราชนิพนธ์แปลของสมเด็จพระ

กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช
กุมารี ทรงแปลมาจากวรรณกรรมจีน เร่ือง "หน่า อ้ี จ่ง อ้าย ปู้ เถิง"
ของ "ชวนหนี"

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

พระราชนิพนธ์วิชาการ

การใช้ระบบสนเทศภูมิศาสตร์เพ่ือการพัฒนาพื้นท่ีเกษตร
ในอาเภอพฒั นานิคมและชัยบาดาล จังหวดั ลพบุรี

เป็นผลงานวิจัยทางวิชาการ ทรงเป็นหัวหน้าโครงการ ทรง
ร่วมงานวิจัยกับคณะนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สานักพระราชวัง สานักงาน
คณะกรรมการวจิ ัยแหง่ ชาติ และกรมพัฒนาท่ีดนิ

หอ้ งสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

จารกึ ปราสาทหนิ พนมวัน
สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราช

นิพนธ์ จารึกปราสาทหินพนมวัน หรือ Une nouvelle inscription
de Prāsād Bnam Văn คร้ังยงั ทรงดารงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้า
ลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา ฯ นับเป็นงานพระราชนิพนธ์
ชิน้ แรกทท่ี รงอา่ นและทรงแปลจารึกภาษาเขมรโบราณ

ห้องสมุดประชาชนอาเภอไชยา

พระราชดารสั ทจี่ ดั พิมพ์เป็นหนงั สอื

การศึกษากับการพฒั นาประเทศ
เป็นปาฐกถาพระราชทานเน่ืองใน “วันสมเด็จพระเทพ

รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คร้ังที่ ๙” ณ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจัดงาน “วันสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” เป็นประจาทุกปี เพ่ือสานึกใน
พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยและปวงชนชาว
ไทย และเพ่ือเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงโอกาสที่ทรงสาเร็จการศึกษาใน
ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรี
นครนิ ทรวโิ รฒ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๒๙

ห้องสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา

ภมู ปิ ัญญาไทยด้านอาหารและโภชนาการ
เป็นปาฐกถาพระราชทานเน่ืองใน “วันสมเด็จพระเทพ

รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งท่ี ๑๖ ประจาปี
พ.ศ. ๒๕๔๕" ณ มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ องครักษ์ ในวันศุกร์ท่ี
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม
บรมราชกุมารี เป็นวนั ทมี่ หาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจัดงานวิชาการ
เป็นประจาทุกปีต้ังแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา เพื่อน้อมระลึกถึง
โอกาสที่ทรงสาเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
พฒั นศึกษาศาสตร์ จากมหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ

หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอไชยา

พระราชนิพนธ์ ชุด เสด็จพระราชดาเนินเยือน
ตา่ งประเทศ

ย่าแดนมงั กร มว่ นซื่นเมืองลาว

หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอไชยา

รวมพระราชนพิ นธ์

ดุจดวงตะวัน
เป็นหนังสือรวมพระราชนิพนธ์ประกอบด้วยพระราชนิพนธ์บท

กวี บทเพลงพระราชนิพนธ์ พระราชนิพนธ์สารคดี บทสัมภาษณ์
ปาฐกถา รวมทั้งภาพการ์ตูนฝีพระหตั ถ์ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติคร้ังที่
๒๗ และบริษัท นานมีบุ๊คส์ จากัด ร่วมกันจัดทาเนื่องในวโรกาสท่ี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๗๒ พรรษาใน
พ.ศ. ๒๕๔๒

หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอไชยา

รวมพระราชนพิ นธ์

ร้อยภาพคล้องใจไทย-จนี
หนังสือ Two Journeys, One Destination - ร้อยภาพ คล้องใจ

ไทย-จีน" อัญเชิญภาพถ่ายเกี่ยวกับประเทศจีน ฝีพระหัตถ์สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และรวมภาพถ่าย
เกยี่ วกับประเทศไทย ของนางสาวริต้า เจ้า ท่ีได้จัดแสดงในนิทรรศการ
Two Journeys, One Destination - ร้อยภาพ คล้องใจ ไทย-จีน" ณ
พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันท่ี ๓ ถึง ๑๐ เมษายน ๒๕๕๐
สาธารณรัฐประชาชนจีน มาจัดพิมพ์เป็นแคตตาล็อก โอกาสนี้ สมเด็จ
พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์คานา
พระราชทาน ๓ ภาษา คอื ภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ

ห้องสมดุ ประชาชนอาเภอไชยา


Click to View FlipBook Version