The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ขั้นตอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tanitthasom, 2021-10-12 05:53:22

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ขั้นตอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ธ ร ร ม ะ ภ า ค ป ฏิ บั ติ

วิ ปั ส ส น า ก ร ร ม ฐ า น

แ ก่ น แ ท้ รู้ ลึ ก รู้ จ ริ ง ป ฏิ บั ติ ไ ด้ จ ริ ง

โ ด ย ธ นิ ษ ฐ า สุ ส ว ด โ ม้

อ ธิ ษ ฐ า น
อ ย่ า ง มี
จุ ด ป ร ะ ส ง ค์

คำนำ

การฝึกกรรมฐานเป็นการกระทำกุศลกรรมชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะมโนกรรม ต่างจากกรรมทั่วไปตรงที่
เป้าหมายการกระทำเป็นไปเพื่อความสิ้นภพชาติ สิ้นทุกข์ ไม่ต้องไปเกิดในแหล่งกำเนิดใดอีก เนื่องจากจิตต้อง
อิงอาศัยอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ และธรรมชาติของจิตมีความสัดส่ายไปตามอารมณ์ ไม่อาจหยุดนิ่งเพื่อการ
พิจารณาแม้เพียงชั่วครู่ จึงจำเป็นต้องใช้อุบายบางอย่าง เ
พื่อลดความสัดส่าย โดยหาสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิง
อยู่ อุบายที่ว่านี้คือ ที่มาของกิจกรรมที่เรียกว่ากรรมฐาน
อุบายดังกล่าวแยกออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

๑. อุบายสงบใจ กล่าวคือ อาศัยวิธีการท่องถ้อยคำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน และบังคับตนเองในลักษณะ
การสร้างแนวคิด เกี่ยวกับคำนั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ความคิด หรือภาพพจน์ของคำ ๆ นั้น ล้วน
เป็นองค์ประกอบของความสงบที่เรียกว่าสมถกรรมฐาน

๒. อุบายเรื่องปัญญา อาศัยความรู้สึกตัวที่มีอยู่ รู้ถึงการสัมผัสทางทวารทั้ง ๖ รู้ถึงปรากฏการณ์ทาง
จิต ขณะร่างกายมีการกระทบสิ่งเร้า เฝ้าติดตามการรับรู้นี้ด้วยความตั้งใจ เมื่อมีความตั้งใจอยู่ที่ การรับ กระทบ
ความคิดต่าง ๆ ก็จะถูกตัดออกไป จนไม่สามารถสอดแทรกเข้ามาได้ ไม่เปิดโอกาส ให้มีการก่อตัว ของแนวคิด
ภาพลักษณ์หรือความคิดใด ๆ ตามมา เท่ากับเป็นการรู้เท่าทัน กระบวนการที่เกิดขึ้นโดยตรงในทันทีที่เกิดขึ้น
จึงไม่เกิดการบิดผันใด ๆ ทางด้านความคิดนี้ คือส่วนของกิจกรรมที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน

เนื่ องจากกรรมฐานเป็นกุศโลบายบางอย่างที่เกิดจากความตั้งใจสร้างแนวคิดขึ้นหรือไม่ก็เป็นการ
ตั้งใจรับความรู้สึกโดยไม่ผ่านแนวคิด อารมณ์ที่จิตอิงอยู่จึงไม่เหมือนอารมณ์ทั่วไป ที่รับรู้กันอยู่ในชีวิตประจำ
วัน ภาพลักษณ์และความรู้สึกตัวเป็นผลมาจากความตั้งใจ ดังกล่าว และถูกจัดเป็นหมวดหมู่ของอารมณ์พิเศษ
ที่มีหลักการและวิธีการรับรู้เป็นการเฉพาะสำหรับกรรมฐานแต่ละประเภท เช่น แนวคิดของคำหรือภาพลักษณ์ที่
สร้างขึ้นจากสมถกรรมฐาน ๔๐ อย่าง หรือความรู้สึกตัวในนาม-รูปจากวิปัสสนากรรมฐานมีขันธ์ อายตนะ
เป็นต้น อารมณ์พิเศษและวิธีการเฉพาะนี้มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้โดยบังเอิญ หรือนึกคิดจะทำตามความนิยมที่สืบ
ต่อกันมาก็ทำได้แต่เป็นสิ่งที่ต้องการความเข้าใจในเหตุปัจจัยและหลักการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ
ดังนั้น การเข้าหาอาจารย์ผู้มีความชำนาญในการใช้อุบายกรรมฐาน การรู้ถึงจริตอัธยาศัยผู้เรียน การอยู่ใน
สถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน มีการเรียนการสอน และการปฏิบัติควบคู่กันไป และการอุทิศเวลาบางส่วนเพื่อศึกษา
และปฏิบัติจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเจริญกรรมฐาน

ผู้จัดทำ
ธนิษฐา สุสวดโม้
๒ ตุลาคม ๒๕๖๔

คำนำ สารบัญ 1
2
สารบัญ
3-4
วิปัสสนากรรมฐาน 5
ความสำคัญของกรรมฐาน 5
จุดมุ่งหมายของกรรมฐาน 5
ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 6-9
10
- คำบูชาพระรัตนตรัย 11 - 12
- สมาทานพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน 13 - 16
- การเดินจงกรม 17
- การนั่งเจริญวิปัสสนาสมาธิ 18
- การเจริญสติปัฏฐาน ๔ 19
กฎการปฏิบัติกรรมฐาน
ประโยชน์ของวิปัสสนากรรมฐาน
อ้างอิง
ประวัติส่วนตัว

วิปัสสนากรรมฐาน

กรรมฐานเป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน

ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจรตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ส่วนโยคาวจร คือ

ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้

สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้น

อยู่มิให้เสื่ อมไป


หากกล่าวถึง คำว่า กรรมฐาน เราจะเข้าใจกันว่า กรรมฐาน คือ สมาธิหรือการนั่งหลับตาท่องคำซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการ

กระทำบางอย่างที่ต่างไปจากพฤติกรรม การให้ทาน การรักษาศีล แต่สำหรับความหมาย ที่มีมาในพระบาลี ตามนัยแห่งมูล

ฎีกาแสดงวินิจฉัยคำ “กรรมฐาน” ไว้ว่า

กมฺมเมว วิเสสาธิคมนสฺส ฐานนฺติ กมฺมฐาน

แปลว่าการงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษชื่อว่า“กรรมฐาน”

เหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะนั่งหลับตาภาวนาดังกล่าว แต่มีองค์ประกอบและราย

ละเอียด อีกมากมาย ดังนั้น ความหมายของกรรมฐานเท่าที่เราเข้าใจ จึงยังคลุมเครือและยังต่างจากความหมายที่แท้จริง

อยู่มาก การสร้างความบริสุทธิ์แห่งจิตนี้ จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ได้ สิ่งอิงที่ว่านี้มี ๒ ลักษณะ คือ อาจ

เป็นได้ทั้งสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบร่างกายและจิตใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจก็ได้ สิ่งที่อยู่นอกระบบ

ร่างกายและจิตอาจเป็นส่วนที่สร้างขึ้นหรือมาจากภาวะแวดล้อม เช่น ดวงกสิณ ซากศพ หรืออาหารที่รับประทานอยู่ทุกวัน

ส่วนสิ่งที่มาจากภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจ ก็คือ อริยาบถต่าง ๆ และความคิด เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำ

มาเป็นองค์ประกอบในการฝึกอบรมจิตที่เรียกว่ากรรมฐานได้

การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นการกระทำด้วยความตั้งใจหรือจงใจลักษณะหนึ่ง แต่เป็นไปในฝ่ายกุศลส่วนเดียว เพราะ

มิได้มีเหตุจูงใจจากความต้องการในกามคุณอารมณ์ การปฏิบัติกรรมฐานจึงไม่ขึ้นกับโลกธรรมและกามคุณดังกล่าว มีจุด

มุ่งหมายพื้นฐาน คือ การอบรมจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ธรรม คือ ตัณหา ความคิดมุ่งร้าย ความเกียจคร้าน ความเร่าร้อน ไม่

สบายใจ และระแวงสงสัย เป็นต้น จิตที่สงบจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลายจักเข้าถึงสภาวะแห่งปัญญาได้ไม่ยากนัก

เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ (กิริยวาท) และเป็นศาสนาแห่งความเพียรหรือวิริยวาท

ความเพียรในการปฏิบัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่สำคัญ คือ ศรัทธา ๔ ได้แก่ ความเชื่อในเรื่องกรรมหรือการกระทำ

(กมฺมสทฺธา) ในเรื่องผลของกรรม (วิปากสทฺธา) ในความเป็นเจ้าของกรรมที่ตนทำ (กมฺมสกฺตาสทฺธา) และความเชื่อใน

การตรัสรู้ของพระพุทธองค์ (ตถาคตโพธิสทฺธา) ดังนั้น “ กรรม ” จึงเป็นคำสำคัญในคัมภีร์พระพุทธศาสนาใช้อธิบาย

แนวคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตในเชิงพุทธ มีความหมายสัมพันธ์กับคำว่า กุศล อกุศล บุญ บาป วาสนา บารมี

การกระทำโดยทั่วไปมี ๓ ลักษณะ โดยแบ่งตามช่องทางที่แสดงออก คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีทั้งส่วนที่

เป็นกุศลและอกุศล ส่วนมากอาศัยอารมณ์ทั้ง ๕ และมีโลกธรรม ๘ เป็นอารมณ์ และเป็นเหตุจูงใจให้มีการกระทำที่เป็น

กุศลหรืออกุศล เช่น บุคคลมีเจตนาคิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น (อกุศลมโนกรรม) ด้วยอำนาจความโลภ จึงแสดง

พฤติกรรมของการแย่งชิง หรือไม่ก็หยิบฉวยไปโดยไม่ได้รับอนุญาต (อกุศลกายกรรม) เป็นต้นทรัพย์สมบัติของผู้อื่นซึ่ง

เป็นรูปธรรมจึงเป็นเหตุให้มีการกระทำต่าง ๆ ตามมา

1

ความสำคัญของกรรมฐาน

ความทุกข์เป็นสิ่งที่ชีวิตไม่ต้องการ พระพุทธศาสนาแบ่งความทุกข์ไว้ ๒ อย่าง คือทุกข์ประจำและทุกข์จร ทุกข์
ประจำ หมายถึง ทุกข์ที่มาพร้อมชีวิต คือ การเกิด แก่ ตาย ไม่มีใครหลีกเลี่ยงทุกข์ประจำนี้ได้ ส่วนทุกข์จรได้แก่ ความเศร้า
โศก รำพัน ต้องอาลัยไม่ขาด การไม่สมความปรารถนา และการพลัดพรากจากของรัก เป็นต้น เป็นเพียงทุกข์ที่ผลัดกัน
เกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดแก่และตายนั่นเอง อาจจะบรรเทาได้บางส่วนตามสมควร แต่ก็ไม่อาจทำให้ทุกข์จรนั้น หมดไปได้
เช่นกัน สังคมในอดีตเคยต้องเกิด แก่ ตายอย่างไร ปัจจุบันแม้จ
ะมีเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าทันสมัยอย่างไร เทคโนโลยีเหล่า
นั้น ก็ยังไม่อาจ แก้ปัญหาชีวิตที่ต้องแก่และต้องตายของชีวิตใครได้

พระพุทธศาสนามิได้สอนหรือบังคับให้หนีสังคม มิได้ถ่วงความเจริญ หรือพยายามหยุดยั้งเทคโนโลยีที่กำลังก้าว
กระโดดนั้น อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ที่จริงแล้วจะมีเทคโนโลยีหรือไม่มีก็ตาม ปัญหาก็มิได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม
ทั้งนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ มีทั้งส่วนที่ให้คุณและให้โทษ ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้มากกว่า จุดยืนทางศาสนาอยู่ที่การเป็นสัญญาณ
เตือนภัยที่จะเกิดแก่มนุษย์ ภัยนั้นมีอยู่รอบด้านโดยเฉพาะภัยทางความคิด ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็นและไม่เชื่อว่าเป็นภัยจริง
มุมมองที่คับแคบอาจทำให้มนุษย์มอง เห็นเพียงด้านเดียว ของความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี แล้วกล่าวอ้างถึงความ
เจริญทันสมัย เพื่อสนับสนุนความคิดของตน และเลือกที่จะทำตามความคิดนั้น จนละเลยปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง

ศาสนามีหน้าที่แสดงความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต แนะนำถึงความรอบคอบและรอบรู้ในการดำเนินชีวิตโดย
เกิดความเดือดร้อน น้อยที่สุด รอบรู้ว่าสิ่งใดควรคิดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจชีวิตและส่วนที่เป็นปัญหา มี
ระเบียบในเรือนใจ และการยอมรับเหตุผล ทำให้สามารถหาทางออกจากความขัดแย้งและอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหา
ได้อย่างผู้รู้กาลเทศะ

https://bit.ly/306yEAW

2

จุดมุ่งหมายของกรรมฐาน

การฝึกกรรมฐานเป็นกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเพื่อเป็น พื้นฐานรับรองเรื่องการเวียนว่ายตาย
เกิด ดังกล่าว ในพระศาสนา แม้จะ มีจุดหมายสูงสุดอยู่ที่การบรรลุ คุณวิเศษ คือ มรรค ผล นิพพาน แต่ถ้าจิตใจยังพัฒนา
ไม่ผ่านขั้นตอนการยอมรับ การเวียนว่ายตายเกิด อันยาวนานของตนเอง หรือยังมีความสงสัยในเรื่องภพชาติ ตั้งแต่อดีต
ถึงปัจจุบันและที่จะเป็นไปในอนาคตแล้ว ขบวนการถอนรากถอนโคนกิเลสตัณหา อาสวะ และอนุสัยต่าง ๆ ในจิตใจอย่าง
จริงจังจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ภัยของภพชาตินั้น มาจาก
ความจำเจวนเวียน ที่ชีวิตต้องอยู่กับ ความสุขบ้าง ความ
ทุกข์บ้างมีความผันแปรไปตามเหตุปัจจัย มิได้ผันแปรไปตาม ความต้องการของตนเองการเห็นภัยจึงมีความสำคัญทำให้
ผู้เห็นภัยดังกล่าวยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตจากที่เคยวนเวียน เป็นไปเนื่องด้วยกิเลสตัณหา สู่วิถีชีวิตที่มีสติสัมปชัญญะดำเนิน
ชีวิตไปตามทางมรรคได้อย่างมั่นคง

ความกลัวภัย ทำให้เราเปลี่ยนแนวความคิด เปลี่ยนความต้องการใหม่ ตรงนี้คือ จุดเริ่มของพระพุทธศาสนา การ
ทำทาน รักษาศีล ไม่ช่วยให้เกิดความรู้สึกกลัวภัยได้คนที่จะน้อมเข้ามาในการปฏิบัติกรรมฐานจะต้องเห็นภัยในวัฏสงสาร
ก่อน จึงจะมองหาการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติบางอย่างอาจทำให้เกิดความสุขมากมาย ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภัยของวัฏฏะ นั่นก็ไม่
ตรงกับพระพุทธศาสนา พื้นฐานความคิดเกี่ยวกับ ภัยของวัฏสงสารจะได้จากการเรียนก่อน จากนั้นจึงน้อมเข้ามาสู่การ
ปฏิบัติ

การพิสูจน์การเวียนว่ายตายเกิดนั้น มิใช่เพียงการทำจิตให้สงบแล้วพาไปดูนรกสวรรค์หรือจินตนาการถึงพระ
นิพพาน ว่าเป็นเมืองแก้วตามที่ได้ยินมา การยอมรับว่ามีนรกสวรรค์ดังกล่าว มีประโยชน์ในแง่ของการสร้างศรัทธา ที่จะ
ทำความดี ละเว้นความชั่ว เพื่อความสุขของชีวิตในภพนี้และภพหน้า แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อและทิฏฐิ ที่เป็นอนุสัย
นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานได้ จึงมีความปรารถนาการเกิดอยู่เสมอไป ไม่รู้สึกว่าสังสารวัฏฏ์ จะเป็นภัย ต่อชีวิตตนเองได้
อย่างไร การเผชิญ กับความเกิดดับ (ตาย) อย่างซ้ำซากเฉพาะหน้า จำต้องอาศัยความเข้าใจ และการปฏิบัติบำเพ็ญเพียร
ทางจิตขั้นเอกอุ จึงจะยอมรับภัยของชีวิตได้ ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

วิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายในการฝึกสังเกตความเป็นไปของ
จิตขณะ กระทบอารมณ์ต่าง ๆเป้าหมายการสังเกตอยู่ที่ความสามารถในการรับรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตนเองก่อนที่
จะ แสดงพฤติกรรมอะไรออกไปทางกาย วาจา หากเราเข้าใจช่วงต่อของความรู้สึกนึกคิด จากความรู้สึกเก่า (วิบากวัฏ)
ปรุงแต่งไปสู่ความรู้สึกใหม่ (กิเลสวัฏ)เป็นเหตุให้เกิดการกระทำใหม่อีก (กรรมวัฏ) ว่าวิบากเป็นเพียงผลมาจากอดีตกรรม
ไม่มีใครเลือกรับแต่วิบากดี หรือย้อนกลับไปเปลี่ยนกรรมในอดีตได้ ตัววิบากเองไม่ดีและไม่ชั่วรับผลแล้วดับไป แต่การ
ดับไป ถูกตัวกิเลสปิดบัง และปรุงแต่งให้ดูเหมือน ยังมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ด้วยวิธีการสืบต่ออารมณ์อย่างรวดเร็วไม่ขาดสาย
ก็ด้วยความเป็นกลุ่มของ อัตตาที่ยึดถือขึ้นมาเอง ความยึดถือและสำคัญผิดนี้ คือส่วนของการปรุงแต่งเป็นกรรมใหม่ที่
พยายาม จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง สิ่งภายนอกให้เป็นไปตามความต้องการของตน วัฏสงสารแห่งกิเลส - กรรม - วิบาก อัน
เป็นปมปัญหาของชีวิต ที่เคยทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้น แฝงอยู่ ณ จุดเชื่อมต่อระหว่างความรู้สึกนึกคิดในปัจจุบัน
นั่นเอง

3

หากเข้าใจจุดมุ่งหมายและสามารถปฏิบัติกรรมฐานธรรมไปตามแบบที่พระพุทธองค์วางไว้จนเกิดผลในระดับ
หนึ่งแล้ว ประสบการณ์ทางศาสนาดังกล่าวจะเป็นตัวกระตุ้นความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้น มิใช่ศรัทธาที่เกิด
ขึ้นจากการ ฟังตามกันมา แต่เป็นความศรัทธาที่มั่นคงในความจริงเฉพาะหน้ารู้จักว่าส่วนใดเป็นคุณค่าสูงสุดในพระพุทธ
ศาสนา ส่วนใดมิใช่คุณค่า และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณพระศาสนาด้วยความเคารพและกตัญญู

พุทธศาสนิกชนที่มีความประสงค์จะแสวงหาวิชาในด้านพระพุทธศาสนา ควรศึกษาพระไตรปิฎก อรรถกา ฎีกา
จากท่านผู้รู้ที่มีวิทยฐานะโดยถูกต้องและสมบูรณ์ จึงจะได้รับค
วามรู้นั้นตามความประสงค์ ได้เหตุผลในการปฏิบัติอย่างถูก
ต้อง ถ้าหากว่ามีแต่การชอบฟังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยทำนอง ปาฐกถาบ้าง ธรรมเทศนาบ้าง ธรรมสากัจฉา
บ้างเช่นนี้แล้ว ความประสงค์ที่จะได้รับวิชาความรู้โดยถ่องแท้นั้น จะมีแก่ตนไม่ได้เลย เพียงแต่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง
ผ่องใส เป็นกุศลจิตเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่ง ๆ พร้อมกับความรู้เล็กๆน้อยๆเท่านั้น

https://bit.ly/3FvyW4N

4

ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสส
ะ (๓ จบ )
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสา

ระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)

สมาทานพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน
กล่าวคำถวายตัวกับพระพุทธเจ้า

อิมาหังภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ ฯ
ทุติยัมปิ อิมาหังภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปิจจะชามิ ฯ
ตะติยัมปิ อิมาหังภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ ฯ

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบอัตภาพร่างกายชีวิตเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ที่จะ
ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานโดยการตั้งสติกำหนดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าก็รู้ ลมหายใจออกก็รู้ ๓ หน และ๗ หน
๑๐๐ หน และ๑,๐๐๐ หน นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ จงบังเกิดในขันธ์สันดานของ
ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญฯ

สมาทานวิปัสสนากัมมัฏฐาน
อะหังวิปัสสนากัมมัฏฐานัง สะมาทิยามิ
ทุติยัมปิ อะหังวิปัสสนากัมมัฏฐานัง สะมาทิยามิ
ตะติยัมปิ อะหังวิปัสสนากัมมัฏฐานัง สะมาทิยามิ
สัพพะทุกขะ นิสสะระนะ นิพานะ สัจฉิกะระนัตถายะ

ข้าพเจ้าขอสมาทาน พระวิปัสสนากัมมัฏฐาน แม้ในครั้งที่สอง แม้ในครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอสมาทาน พระวิปัสสนา
กัมมัฏฐาน เพื่อที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง อันป็นที่สิ้นไป แห่งกองทุกข์ทั้งปวงเทอญฯ

5

การเดินจงกรม

การปฏิบัติวิปัสสนาสมาธิ ของพระพุทธเจ้านั้น ต้องเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิทุกครั้ง

ถ้าจะนั่งสมาธิ ๕ นาที ต้องเดินจงกรมก่อน ๕ นาที

ถ้าจะนั่งสมาธิ ๑๕ นาที ต้องเดินจงกรมก่อน ๑๕ นาที

ถ้าจะนั่งสมาธิ ๓๐ นาที ต้องเดินจงกรมก่อน ๓๐ นาที

ถ้าจะนั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมง ต้องเดินจงกรมก่อน ๑ ชั่วโมง

ที่ประเทศอินเดีย มีที่เดินจงกรมอยู่ใกล้คันธกุฎีของพระพุทธเจ้า ในวัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งแสดงว่าวิชาวิปัสสนา

สมาธิ มีการเดินจงกรมแน่นอน และข้างๆเจดีย์พุทธคยาก็มีที่เดินจงกรมของพระพุทธองค์

ประโยชน์ของการเดินจงกรม

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกว่า การเดินจงกรมมีประโยชน์ ๕ ประการ คือ

๑. ทำให้การเดินทางอดทนมาก

๒. ทำให้มีความพากเพียรดี

๓. ทำให้มีอาพาธแต่น้อย

๔. ทำให้ฃ่วยย่อยอาหาร

๕. ทำให้สมาธิตั้งมั่นอยู่ได้นาน

ก่อนเดินจงกรม ให้ยืนตัวตรง อย่าก้มหน้าดูเท้า
๑. ให้ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก
๒. มือทั้งสองไขว้ข้างหน้า หรือไขว้ไว้ข้างหลัง ตามแต่สะดวก

6

๓. ให้ภาวนาในใจว่า “ยืน – หนอ” (๕ ครั้ง) ให้หลับตา ทำความรู้สึก มโนวาดภาพร่างกายของเรากำลังยืนอยู่

- เริ่มจากทำความรู้สึกที่กลางกระหม่อมศีรษะ กำหนดภาวนาว่า "ยืน..." ลงมาถึงฝ่าเท้า เมื่อสุดฝ่าเท้า ภาวนาว่า

"หนอ..."

- ต่อมากำหนดที่ฝ่าเท้า ภาวนาว่า "ยืน..." กลับขึ้นไปศีรษะ ภาวนาว่า "หนอ..."

- ภาวนากลับไปมาอย่างนี้ ๕ ครั้ง

๔. จากนั้นให้ภาวนาในใจว่า “อยากเดิน – หนอ” (๕ ครั้ง)

๕. เริ่มเดินจงกรมระยะที่ ๑ โดยภาวนา ขวาย่างหนอ – ซ้ายย่างหนอ เดินตามที่เรากำหนดเวลาไว้

ขวา ย่าง หนอ

การเดินมีจังหวะ ๑ มี ๑ หนอ
เมื่อจะก้าวเท้าขวา ให้จิตมาสัมผัสที่ฝ่าเท้าขวา ให้ภาวนาในใจว่า “ขวา” เตรียมตัวไว้ยังไม่ก้าว
เมื่อก้าวเท้าขวาออกไป ให้ภาวนาในใจว่า “ย่าง” เมื่อวางแผ่นเท้าขวาจดพื้น ให้ภาวนาว่า “หนอ” (ให้กำหนดจิตตาม
ฝ่าเท้าขวาที่ กำลังย่างและเหยียบ ตลอด)
เมื่อจะก้าวเท้าซ้าย ให้จิตมาสัมผัสที่ฝ่าเท้าซ้าย ให้ภาวนาในใจว่า “ซ้าย” เตรียมตัวไว้ยังไม่ก้าว
เมื่อก้าวเท้าซ้ายออกไป ให้ภาวนาในใจว่า “ย่าง” เมื่อวางแผ่นเท้าซ้ายจดพื้น ให้ภาวนาในใจว่า ”หนอ”
เมื่อเดินไปสุดฝาห้อง หรือสุดระยะทางที่กำหนดไว้ให้หยุด แล้วภาวนาว่า “ยืน – หนอ” (๕ ครั้ง) ตามด้วย “อยากกลับ
– หนอ” (๕ ครั้ง)
จากนั้นให้กลับตัว โดยภาวนาว่า "กลับหนอ" ดังนี้
การกลับตัว ให้หมุนกลับทางขวา
โดยยกปลายเท้าขวาแล้วหมุนตัวด้วยส้นเท้าขวาพร้อมกับภาวนาในใจว่า “กลับ...” ให้จิตมาสัมผัสที่ฝ่าเท้าขวา
ตลอด
หมุนเท้าขวาไปหยุดในระยะประมาณ ๑ ฝ่ามือ วางเท้าสัมผัสพื้น ภาวนาว่า “หนอ”
ต่อมากำหนอให้จิตมาสัมผัสที่ฝ่าเท้าซ้าย
ยกเท้าซ้ายเพื่อมาชิดกับเท้าขวา พร้อมกับภาวนาในใจว่า “กลับ...”
วางเท้าซ้ายลงพื้น พร้อมกับภาวนาในใจว่า “หนอ”
ให้ทำการกลับ ไปเรื่อยๆ ได้ ๔ คู่ ๘ ครั้ง ไปจนกว่าจะหมุนกลับไปตรงกับทิศทางที่เราเดินมา
รูปตัวอย่างการกลับ

7

ครั้งที่ ๑
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าขวา พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. หมุนเท้าขวาไปหยุดในระยะประมาณ ๑ ฝ่ามือ
๓. วางเท้าสัมผัสพื้น ภาวนาว่า “หนอ”




ครั้งที่ ๒
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าซ้าย พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. ยกเท้าซ้ายเพื่อมาชิดกับเท้าขวา
๓. วางเท้าซ้ายลงพื้น พร้อมกับภาวนาในใจว่า “หนอ”

ครั้งที่ ๓
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าขวา พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. หมุนเท้าขวาอีก ไปหยุดในระยะประมาณ ๑ ฝ่ามือ
๓. วางเท้าสัมผัสพื้น ภาวนาว่า “หนอ”

ครั้งที่ ๔
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าซ้าย พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. ยกเท้าซ้ายเพื่อมาชิดกับเท้าขวา
๓. วางเท้าซ้ายลงพื้น พร้อมกับภาวนาในใจว่า “หนอ”

ครั้งที่ ๕
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าขวา พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. หมุนเท้าขวาอีก ไปหยุดในระยะประมาณ ๑ ฝ่ามือ
๓. วางเท้าสัมผัสพื้น ภาวนาว่า “หนอ”

8

ครั้งที่ ๖
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าซ้าย พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. ยกเท้าซ้ายเพื่อมาชิดกับเท้าขวา
๓. วางเท้าซ้ายลงพื้น พร้อมกับภาวนาในใจว่า “หนอ”




ครั้งที่ ๗
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าขวา พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. หมุนเท้าขวาอีก ไปหยุดในระยะประมาณ ๑ ฝ่ามือ
๓. วางเท้าสัมผัสพื้น ภาวนาว่า “หนอ”

ครั้งที่ ๘
๑. รู้สึกที่ฝ่าเท้าซ้าย พร้อมกับภาวนาว่า "กลับ..."
๒. ยกเท้าซ้ายเพื่อมาชิดกับเท้าขวา
๓. วางเท้าซ้ายลงพื้น พร้อมกับภาวนาในใจว่า “หนอ”

เมื่อกลับมาได้แล้ว ก่อนจะเดินจงกรม ให้ภาวนาว่า “ยืน – หนอ” (๕ ครั้ง)
ตามด้วย “อยากเดิน – หนอ” (๕ ครั้ง)

จากนั้นก็ให้เดินจงกรม กลับไปมาจนครบเวลาที่กำหนดไว้ ระยะทางการเดินยาว ๖ ก้าวก็พอ หรือระยะจากฝาห้องถึงฝาห้อง
หรือระยะจากหัวเตียงถึงปลายเตียงก็พอ

การเดินจังหวะ ๑ จึงภาวนาในใจว่า “ขวาย่าง – หนอ” “ซ้ายย่าง – หนอ”
การเดินจงกรม ไม่เดินเฉพาะกายต้องเดินให้พร้อมกันทั้งกายและใจ ขณะที่เดินจิตของผู้เดินจะต้องอยู่ที่เท้าเสมอจิตก็ตาม
การย่างไปด้วย

9

การนั่งเจริญวิปัสสนาสมาธิ

เมื่อเดินครบกำหนดเวลาแล้ว ให้เดินช้าๆ มาหยุดบนผ้าปูนั่งแล้วภาวนาในใจว่า
“ยืน – หนอ” ๆ (๕ ครั้ง)
“อยากนั่ง – หนอ” ๆ (๕ ครั้ง)
“นั่ง – หนอ” ๆ (๕ ครั้ง)
แล้วค่อยๆ หย่อนตัวลงช้าๆ ปล่อยมือทั้งสองออก เมื่อมือถูกพื้น
ให้ภาวนาในใจว่า “ถูกหนอ” เมื่อก้นถูกพื้น ให้ภาวนาในใจว่า
“ถูก – หนอ” จนกว่าจะนั่งสมาธิเรียบร้อย

ให้นั่งหลับตา ตั้งตัวตรงตามแบบพระพุทธรูป ให้เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ในลักษณะแบมือ เลื่อนมือให้

หัวแม่มือทั้งสองชนกันเบาๆ ให้กำหนดจิตสัมผัสที่หน้าท้องระหว่างสะดือกับลิ้นปี่ เมื่อหายใจเข้าท้องจะพอง เมื่อหายใจออก

ท้องจะยุบ

เมื่อไม่รู้สึกพอง ไม่รู้สึกยุบ ให้ท่านยกมือขวามาจับดู จนรู้สึกว่ามีพองจริง มียุบจริง เมื่อหายใจเข้าท้องพองให้ภาวนาว่า “พอง”

เมื่อพองไปจนสุดพอง ให้ภาวนาว่า “หนอ” เมื่อหายใจออกท้องยุบให้ภาวนาว่า “ยุบ” เมื่อท้องยุบไปจนสุดยุบ ให้ภาวนาว่า

“หนอ”

การนั่งสมาธิ จึงภาวนาในใจว่า “พอง – หนอ” “ยุบ – หนอ” ตลอดเวลา อย่าหยุดภาวนา ให้ภาวนาไปจนครบเวลา

ที่กำหนดหรือตามที่อาจารย์สั่ง

ข้อสำคัญต้องนั่งให้ได้ปัจจุบันอารมณ์กับท้องพองและท้องยุบ เมื่อท้อง “พอง” ต้องภาวนาว่า “พอง” ทันที เมื่อสุด

“พอง”

ให้ภาวนา “หนอ” ทันที ให้เป็นปัจจุบันอารมณ์

จิตจึงจะเสพสมาธิ (เป็นสมาธิ)

ถ้าท้องพองไปนานแล้ว เพิ่งภาวนาว่า “พอง” ต่อภายหลังเช่นนี้ เป็นอดีตอารมณ์ หรือท้องยังไม่ทันพอง ท่านภาวนา

“พอง” ล่วงน้าไปก่อน เช่นนี้เป็ฯอนาคตอารมณ์

เมื่อเป็นอดีตอารมณ์ หรืออนาคตเป็นอารมณ์ จิตไม่เสพสมาธิ ต้องภาวนาจริงๆ ต้องภาวนาให้เป็นปัจจุบันอารมณ์

จริงๆ และต้องให้จิตสัมผัสอยู่หน้าท้องจริงๆ ครบ ๓ จังหวะ จริงนี้จิตเสพสมาธิ แม้ท่านจะปฏิบัติเพียง ๕ นาที จิตก็เสพสมาธิ

(เป็นสมาธิ)




10

การเจริญสติปัฏฐาน ๔

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คือ การพิจารณาร่างกายว่าเป็นของไม่สวยไม่งาม และมีการเสื่อมสลายไปอยู่ตลอดเวลา ถ้าปฏิบัตินานๆวัน พอง ยุบ

อาจหายไป จิตไม่รับรู้พอง ไม่รับรู้ยุบ เช่นนี้ให้จิตไปสัมผัสที่หัวใจ แล้วภาวนาว่า “รู้ – หนอ” “รู้ – หนอ” ตลอดเวลา ถ้าถามว่า
“รู้ – หนอ” นั้นรู้อะไร? ตอบว่า รู้ว่า พอง ยุบ ไม่มี จิตไม่รับรู้ พองก็ดี ยุบก็ดี เป็น “รูป” จิต (สิ่งที่รับรู้) เป็น “นาม” เมื่อ พอง ยุบ
หายไป แสดงว่า “นาม” ไม่รับรู้ “รูป” แยกรูปแยกนามออกจากกั
นได้ ตั้งแต่เรายังไม่ตาย

พอง ยุบ เกิดขึ้น เรารู้
พอง ยุบ ยังมีอยู่ เรารู้
พอง ยุบ หายไป เรารู้
เช่นนี้ เรียกว่า เรามีสติรู้เห็น “กายในกาย” ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า “กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” ความจริง พอง ยุบ ยังมีอยู่ แต่
จิตไม่รับรู้ พอง ยุบ เมื่อ พอง ยุบ หายไป จัดเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เขาเข้ามาแสดง ๓ ประการ :-
๑. แสดงว่า จิตเสพสมาธิสูงมาก
๒. แสดงว่าจิตกำลังเดิน ญาณ อันเป็นสภาวธรรม ของวิปัสสนาญาณ
๓. แสดงให้เราเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของพระพุทธเจ้า (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
เมื่อจิตเสพสมาธิสูง จิตก็ไม่เสพอย่างอื่น แม้แต่ท้องพองหรือท้องยุบ จิตกับวัตถุก็มีลักษณะเหมือนกัน ตามหลัก
วิทยาศาสตร์กล่าวว่า “สิ่งสองสิ่งในเวลาเดียวกัน จะอยู่ที่เดียวกันไม่ได้” ตัวอย่างเช่น ในห้องน้ำเล็กๆ เรามีตุ่มน้ำพอดีกับ
ห้องน้ำ มีเพื่อนนำตุ่มน้ำขนาดเดียวกันมาให้ เราจะนำตุ่มใหม่นั้นใส่ในห้องน้ำไม่ได้ ถ้าจะใส่ให้ได้ ต้องยกตุ่มเก่าออกก่อนจึงจะ
ใส่ตุ่มใหม่ได้ เพราะว่า “สิ่งสองสิ่งในเวลาเดียวกันจะอยู่ที่เดียวกันไม่ได้”
จิตเรานี้เหมือนกัน เมื่อจิตเสพสมาธิแล้วจิตไม่เสพอย่างอื่น แม้แต่ท้องพองท้องยุบ จิตก็ไม่รับรู้ ท้องพองและท้องยุบ ยังมีอยู่
ตามเดิม แต่มันละเอียดมาก
เมื่อจิตกำลังร้องไห้ ในเวลาเดียวกันนั้นจิตจะหัวเราะไม่ได้ หรือ จิตกำลังหัวเราะอยู่ในเวลาเดียวกันจิตนั้นจะร้องไห้ไม่
ได้ มันคนละวาระจิตกัน จะเกิดขึ้นพร้อมๆกันไม่ได้ จิตกับวัตถุ จึงเหมือนกันฉันใดก็ฉันนั้น
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คือการพิจารณา ถึงสิ่งที่พอใจสิ่งที่ไม่พอใจ ทั้งสิ่งที่สุขและทุกข์ ให้รู้ทันปัจจุบัน นั่งสมาธิ ๕ นาที อาจไม่เกิดเวทนา แต่
ถ้านั่งนานๆ ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง จะเกิดเวทนาขึ้น เช่นปวดก้นกบ ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดก้านคอ ปวดศรีษะ เป็นต้น
จะทำอย่างไร? ท่านให้เอาจิตจากหน้าท้อง มาสัมผัสที่เวทนา แล้วภาวนาตามอาการของเวทนา เฃ่น “ปวดหัวเข่า” ให้
เอาจิตจากหน้าท้องมาสัมผัสที่หัวเข่า แล้วภาวนา “ปวดหนอ” ภาวนาตลอดเวลาจนกว่าความปวดจะหายไปต่อหน้า
ความปวดเกิดขึ้น เรารู้
ความปวดยังมีอยู่ เรารู้
ความปวดหายไปแล้ว เรารู้
เช่นนี้เรามีสติรู้ “เวทนาในเวทนา” ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า “เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” (จิตคิดอะไรให้กำหนดอย่างนั้นว่าคิด
หนอๆ จนความคิดหยุดคิด) เมื่อความปวดหายไปแล้ว ให้นำจิตไปสัมผัสหน้าท้องแล้วภาวนา “พอง – หนอ” “ยุบ – หนอ” ต่อ
ไปใหม่

11

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

นั่งนานๆ ไม่มีเวทนา แต่บางครั้งจิตเกิดฟุ้งซ่าน ท่านให้นำจิตจากหน้าท้องไปสัมผัสที่หัวใจ แล้วภาวนาในใจว่า

“ฟุ้งซ่าน – หนอ” ภาวนาตลอดจนกว่าจิตจะหายฟุ้งซ่าน

จิตฟุ้งซ่าน เรารู้

จิตกำลังฟุ้งซ่าน เรารู้

จิตสงบไม่มีฟุ้งซ่านแล้ว เรารู้

เช่นนี้ เรามีสติรู้ "จิตในจิต" ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” (จิตคิดอะไรให้กำหนดอย่างนั้นว่า คิดหนอๆ

จนความคิดหยุด) เมื่อจิตหายฟุ้งซ่านแล้ว ให้จิตไปสัมผัสที่หน้าท้อง แล้วภาวนา “พอง – หนอ” “ยุบ – หนอ” ต่อไปใหม่

๔. ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน

นั่งนานบางทีไม่มีเวทนาและไม่มีฟุ้งซ่าน แต่เกิดธรรมารมณ์ เช่น

ตาเห็น รูป เกิด รูปารมณ์

หูได้ยิน เสียง เกิด สัมธารมณ์

จมูกได้ กลิ่น เกิด คันธารมณ์

ลิ้นลิ้ม รส เกิด รสารมณ์

กาย สัมผัส เกิด โผฏฐัพพารมณ์

ใจกระทบ ธรรม เกิด ธรรมารมณ์

ให้นำจิตไปสัมผัสตามอาการ แล้วภาวนาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น ตาเห็นรูปนิมิต (ขณะนั่งหลับตาก็เห็นรูปนิมิต

ภายในได้ จัดเป็นรูปารมณ์) ให้นำจิตจากหน้าท้องมาสัมผัสที่ตา แล้วภาวนาว่า “เห็น – หนอ” ภาวนาตลอดเวลา จนกว่า

รูปารมณ์จะหายไป

ตาเห็นรูปนิมิต เรารู้

ตายังเห็นรูปนิมิตมีอยู่ เรารู้

ตาไม่เห็นรูปนิมิตแล้ว เรารู้

รูปนิมิต เป็นธรรมารมณ์ เกิดทางตา

ธรรมารมณ์ เกิดขึ้น เรารู้

ธรรมารมณ์ ยังมีอยู่ เรารู้

ธรรมารมณ์ หายไปแล้ว เรารู้

เรียกว่าเรามีสติรู้ "ธรรมในธรรม" ซึ่งตรงตามภาษาบาลีว่า “ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เมื่อรูปนิมิตหายไปแล้ว ให้จิตมาสัมผัส

ที่หน้าท้องแล้วภาวนา “พอง – หนอ” ต่อไปใหม่

12

กฎการปฏิบัติกรรมฐาน

การปฏิบัติพระกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีกฎของการปฏิบัติเพื่อผลของการบรรลุเป็นระดับไป ดังจะยกมาโดยย่อ
ดังนี้
อธิศีลสิกขา

อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง ซึ่งมีความหมายอย่างเ
ดียวกัน คำว่า ยิ่ง หมายถึง การปฏิบัติยิ่งกว่า หมายถึง การปฏิบัติ
เคร่งครัดกว่าปกติ หรือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตนั่นเอง เกิน ก็หมายถึงปฏิบัติกเกินกว่าที่ปฏิบัติกันตามปกติ ล่วง ก็หมายถึงการ
ปฏิบัติล่วง คือ เกินที่กระทำกันตามปกติ การปฏิบัติตามนี้จัดเป็นอธิศีล การปฏิบัติเป็นอธิศีล ท่านได้แนะนำไว้ดังนี้ จะรักษาศีล
ไว้ด้วยดี มิให้ขาด มิให้ทำลาย แม้แต่ศีลจะมัวหมอง ก็มิยอมให้เป็น คือ ไม่แนะนำให้คนอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีต่อเมื่อเห็นผู้
อื่นทำลายศีล การปฏิบัติพระกรรมฐาน ก่อนที่จะหวังให้ฌาณสมาบัติอุบัติแก่จิตใจนั้น ต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน เมื่อรักษาศีล
ได้แล้ว จนถึงขั้นไม่ต้องระวัง หมายความว่า ละเสียได้จนชินไม่มีการพลั้งเผลอแล้ว ขั้นต่อไปปฏิบัติดังนี้
ระงับนิวรณ์ 5

1. เห็นโทษของกามฉันทะ
2. เห็นโทษของการจองล้างจองผลาญ
3. คอยกำจัดความง่วงเหงาหาวนอน
4. คอยควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่าน
5. ตัดความสงสัยในมรรคผลเสีย
เจริญพรหมวิหาร 4
1.แผ่เมตตา แผ่ไปทั่วทุกทิศโดยคิดไว้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเราจะเป็นมิตรแก่คนและสัตว์ทั่วโลก
2.กรุณา จะสงสารหวังสงเคราะห์สัตว์และมนุษย์ทั้งปวง
3.มุทิตา จะไม่อิจฉาริษยาคนและสัตว์ทั้งหลาย จะส่งเสริมและรู้สึกเมื่อผู้อื่นได้ดีมีโชค
4.อุเบกขา วางเฉยเมื่อผู้อื่นพลาดพลั้ง ไม่ซ้ำเติม และตั้งใจหวังสงเคราะห์เมื่อมีโอกาส

การรักษาศีลบริสุทธิ์ ด้วยการไม่ล่วงเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นล่วง และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วง และตัดความพอใจในนิวรณ์ 5 โดย
ระงับนิวรณ์ได้ เมื่อขณะปฏิบัติ และทรงพรหมวิหาร 4 ได้อย่างครบถ้วนอย่างนี้ อารมณ์จิตเป็นฌาน และฌานจะไม่รู้จักเสื่อม
เพราะพรหมวิหาร 4 อุ้มชู สมาธิตั้งมั่น วิปัสสนาผ่องใส เรียกว่า พรหมวิหาร 4 เป็นกำลังใหญ่ในการปฏิบัติสมณธรรมทุกระดับ

การรักษาศีลบริสุทธิ์ เป็นอธิศีลสิกขา การกำจัดนิวรณ์ และทรงพรหมวิหาร เป็นอธิจิตตสิกขา คือทรงฌานสมาบัติไว้ได้
เรียกว่า มีความดีในระดับเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
ความดีระดับกระพี้

ท่านมีศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ ทรงพรหมวิหาร 4 แล้ว สร้างฌานพิเศษ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่
ล่วงมาแล้วได้โดยไม่จำกัดชาติ ทำได้อย่างนี้ท่านเรียกว่า มีความดีระดับกระพี้ของความดีในพระพุทธศาสนา
ความดีระดับแก่น

เมื่อท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ปุพเพนิวาสสานุสสติญาณ และบรรลุทิพยจักษุญาณ
สามารถรู้ว่าสัตว์ตายแล้วไปเกิดที่ไหน สัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน อาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ นี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นความดี
ที่ทรงความเป็นสาระแก่นสาร ความดีระดับนี้เป็นความดีระดับวิชชาสาม ผู้ใดทรงความดีตามที่กล่าวมาแล้วนั้นได้ครบถ้วน
แล้ว ถ้าจะปฏิบัติเพื่อธรรมเบื้องสูงเพื่อพรหมจรรย์แล้ว อย่างช้าไม่เกิน 7 ปี อย่างกลางไม่เกิน 7 เดือน อย่างเร็วไม่เกิน 7 วัน ก็
จะเข้าถึงอรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลระดับยอด ถ้าจะปฏิบัติเพื่อมรรคผลและพระนิพพาน มีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

13

บารมี 10
บารมี แปลว่า ทำให้เต็มไม่บกพร่อง ไม่ละเลยเหินห่่างและบกพร่อง ประคับประคองไว้เป็นปกติ
1.ทาน ทาน แปลว่า การให้ ต้องมีจิตใจจดจ่อเพื่อการให้ด้วยจิตใจที่หวังการสงเคราะห์อยู่เป็นปกติ การมีให้ด้วยการ
สงเคราะห์มีแก่เราเมื่อใด เมื่อความความสบายสุขใจ การให้นี้ต้องไม่พิจารณาบุคคลถึงสุขภาพและฐานะ ถือเอาเพียงว่า
เขาต้องการความช่วยเหลือจากเรา ก็ช่วยตามต้องการ และไม่หวังการตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น
2.ศีล ศีลแปลว่า ปกติ การรักษาอาการตามความพอใจของป
กติชนที่มีความปรารถนาอยู่เป็นสุข เราก็ไม่ทำลายปกติความ
ปรารถนาความพอใจของชาวโลก ฉะนั้น ศีลท่านจึงแปลว่า ปกติ คือรักษาอารมณ์ปกติของจิตใจของคนและสัตว์ไม่
ต้องการให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่ทำให้ศีลขาด ไม่แนะนำให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำผิด รักษาได้ระดับนี้จึงจะ
เป็นศีลเพื่ อมรรคผล
3.สัจจะ สัจจะแปลว่า ความตั้งใจจริง เราจะไม่ยอมเลิกละความตั้งใจเดิม แม้แต่จะต้องตายก็ตาม
4.วิริยะ วิริยะแปลว่า ความเพียร ถ้ามรรคผลนิพพานที่เราปรารถนานี้ยังไม่ปรากฎเพียงใด เราจะไม่ละความพยายาม
ประพฤติปฏิบัติไป โดยไม่คำนึงถึงอุปสรรค
5.เนกขัมมะ เนกขัมมะแปลว่า การถือบวช หมายถึงการอดในกามารมณ์ โดยตัดใจไม่ไยดีในอารมณ์ยั่วเย้าด้วยอำนาจกาม
ฉันทะ คือความพอใจในกามารมณ์
6.ปัญญา ปัญญาแปลว่า ความรู้ ที่เกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณา แปลว่า ความเฉลียวฉลาดก็ได้ ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น
โทษของ ความเกิด แก่ เจ็บ พลัดพราก ว่าเป็นทุกข์ จนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายต่อการเกิดในชาติภพ จนกระทั่งได้
สังขารุเปกขาญาณ คือไม่มีความหวั่นไหวในเมื่อความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นแก่สังขาร
7.ขันติ ขันติแปลว่า ความอดทนหรืออดกลั้น ไม่ยอมให้อารมณ์ฝ่ายชั่วเข้ามาล้างอารมณ์วิปัสสนาญาณได้
8.เมตตา เมตตาแปลว่า ความรักที่ปราศจากความใคร่ด้วยอำนาจกิเลส หมายถึง รักด้วยความปรานี ไม่มีอารมณ์ในส่วน
ของกิเลสเจือปน
9.อธิษฐาน อธิษฐานแปลว่า ความตั้งใจมั่น ทั้งนี้หมายถึงตั้งใจไว้ถูกต้อง

10.อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย มายถึงเฉยต่ออารมณ์ที่เป็นทุกข์และสุขอันเป็นวิสัยของโลกีย์
บารมีทั้ง 10 อย่างนี้ นักวิปัสสนาญาณต้องมีครบถ้วน แล้วต้องปฏิบัติได้เป็นปกติ ตามความพอใจเป็นปกติ

14

อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ 10
อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนา ก็คืออารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปััสสนาญาณ ท่านเรียก

ว่า อุปกิเลสของวิปัสสนา 10 อย่าง คือ

1.โอภาส โอภาส แปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ เป็นสมาธิเพื่อ

สร้างทิพยจักษุญาณ ย่อมเกิดแสงสว่างขึ้นคล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ นี้เป็นผลของสมถะ ที่เป็นกำลังสนับสนุน

วิปัสสนาเท่านั้น


2.ปีติ ปีติแปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน ขนพอง น้ำตาไหล กายโยกโคลง กายลอยขึ้น กายโปร่ง กายเบา

บางคราวก็คล้ายมีกายสูงใหญ่กว่าธรรมดา มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ อาการอย่างนี้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็น

ผลของสมถะ

3.ปัสสัทธิ ปัสสัทธิแปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดคล้ายจิตไม่มีอารมณ์อื่น อาการอย่างนี้เป็น

อารมณ์ของอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ

4.อธิโมกข์ อธิโมกข์แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ไม่ได้พิจารณาก็

เชื่อแน่เสียแล้ว เป็นอาการของศรัทธาตามปกติ

5.ปัคคหะ ปัคคหะแปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่นไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคเป็นเหตุให้บรรลุมรรคผล แต่

ถ้าเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุเสียตอนที่มีความเพียรก็น่าเสียดายยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุมานะนี้เป็นการหลงผิดได้

6.สุข สุขแปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึงอุปจารฌานระดับสูง เป็นความสุขที่ไม่เคยปรากฎ

มาก่อน เป็นอารมณ์ของสมถะภาวนา อย่าเข้าใจผิดว่าได้มรรคผล

7.ญาณ ญาณแปลว่า ความรู้ อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิจากผลของสมถภาวนา เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของ

วิปัสสนา ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชน

8.อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะ คือ ฌาน 4

9.อุปปัฎฐาน อุปปัฏฐาน แปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ มีอารมณ์สงัดเยือกเย็น ดังท่านที่เข้าฌาน 4 มี

อารมณ์สงัด แม้แต่เสียงก็กำจัดตัดขาด อารมณ์ใด ๆ ก็ไม่มี เป็นฌาน 4 ในสมถะแท้ ๆ

10.นิกกันติ นิกกันติแปลว่า ความใคร่ เป็นความใคร่น้อย ๆ ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหา

สงบ ไม่ใช่ขาดไป เป็นเพียงสงบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น

วิปัสสนาญาณที่พิจารณาต้องมีสังโยชน์เป็นเครื่องวัด และพิจารณาไปตามแนวของสังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้นเป็นระดับ

ไป อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส 10 ประการ

https://bit.ly/3oS7k3W

15

สังโยชน์ 10

สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

1.สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)

2.วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย

3.สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง

4.กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์


5.พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ

6.รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน

7.อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะ

8.มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี

9.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล

10.อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ

กิเลสทั้ง 10 นี้ เรียกว่า สังโยชน์ นักเจริญวิปัสนาญาณต้องรู้ไว้ และพยายามกำจัดกิเลสทั้ง 10 นี้ให้เด็ดขาดเป็นขั้น ๆ

ตามกำลังของสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ผู้ใดกำจัดได้ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 3 ท่านว่าผู้นั้นได้บรรลุพระโสดา และพระสกิทาคา ถ้า

ตัดได้ตั้งแต่ ข้อ 1 ถึง ข้อ 5 ท่านว่าผู้นั้นได้บรรลุพระอนาคามี ถ้าตัดขาดได้เด็ดขาดทั้ง 10 ข้อ ท่านผู้นั้นได้บรรลุพระอรหัตตผล

เมื่อได้เจริญวิปัสสนาญาณ ศึกษาบารมี 10 และมีจิตใจทรงบารมี 10 ได้อย่างปกติ ศึกษาอุปกิเลส 10 ประการให้

เข้าใจ ต่อไปก็เริ่มเจริญวิปัสสนาญาณ โดยในระยะแรก ท่านให้ชำระศีลให้บริสุทธิ์ แล้วเข้าสมาธิดำรงฌาน ถ้าเข้าถึงฌาน 4 ได้

ก็เข้าฌาน 4 ถ้าไม่ถึงฌาน 4 ก็เข้าสมาธิตามกำลัง จนอารมณ์สงบดีแล้ว ก็ถอยสมาธิมาหยุดอยู่ที่ อุปจารสมาธิ แล้วพิจารณา

ขันธ์ 5 ด้วยวิปัสสนาญาณ ตามลำดับที่ 1 ก่อน จนมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ จากนั้นค่อย ๆ เลื่อนอารมณ์มาพิจารณาใน

ญาณที่ 2, 3, 4 , 5, 6, 7, 8 และถอยหลังเป็นอนุโลมปฏิโลม ที่เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ขณะที่พิจารณานั้น ถ้าอารมณ์จะ

ฟุ้งซ่าน ท่านให้หยุดพิจารณาเสียก่อน เข้าฌานตามกำลังสมาธิใหม่ พอให้จิตตั้งอยู่ในสมาธิเป็นอุเบกขารมณ์แล้ว จึงคลายมา

ที่อุปจารณฌาน จากนั้นพิจารณาวิปัสสนาญาณใหม่ ถ้าพิจารณาข้อใดจิตใจยังปลงข้อนั้นไม่ตกจนเป็นเอกัคคตารมณ์ คือเกิด

ความเห็นเป็นเช่นนั้นจริง จนเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 แล้ว ก็อย่าย้ายไปพิจารณาข้อต่อไป ถ้าได้ข้อเดียวข้อต่อไปก็ไม่มี

อะไรเสียเวลา พอพิจารณาก็จะรู้แจ้งเห็นจริงทันที ก็จะเข้าถึงโคตรภูญาณ แล้้วได้มรรคผลตามที่ตนตั้งใจปรารถนาไว้

การพิจารณาวิปัสสนาควรมุ่งตัดกิเลสเป็นตอน ๆ ไป ถ้าคิดว่าจะละให้เด็ดขาดก็ยังละไม่ได้ ก็ไม่ย้ายข้อที่ตั้งใจละต่อ

ไปข้ออื่น ทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่ในข้อนั้น

https://1th.me/Qm2T5

16

ประโยชน์ของวิปัสสนากรรมฐาน

ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ
๑. ถ้าเป็นนักเรียน นักศึกษา ก็สามารถเรียนหนังสือได้ผลดีเพิ่มขึ้น ได้คะแนนสูงขึ้นเพราะมีจิตใจสงบ
๒. ทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ไม่ค่อยผิดพลาด เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้น
๓. สามารถทำงานได้มากขึ้น และได้ผลดีมีประสิทธิภาพ
๔. ทำให้โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างหายไปได้และสร้างภูมิคุ้ม
กันที่ดีแก่ร่างกาย
๕. ทำให้เป็นคนมีอารมณ์เยือกเย็น มีความสุขใจได้มาก ผิวพรรณผ่องใส มีจิตใจเบิกบาน
๖. ทำให้อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
๗. สามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างใจเย็น
๘. สามารถกำจัดนิวรณ์ที่รบกวนจิตใจลงได้ หรือทำให้เบาบางลง ความเครียดจึงลดลง
๙. ถ้าทำได้ถึงขั้นสูงจะได้รับความสุขอันละเอียดอ่อนอันเกิดจากความสงบและสามารถได้อำนาจจิตพิเศษ เช่น รู้ใจ

คนอื่น มีหูทิพย์ ตามทิพย์ เป็นต้น
๑๐. เป็นพื้นฐานโดยตรงในการเจริญวิปัสสนา

ประโยชน์ของการฝึกบำเพ็ญวิปัสสนา
๑. สามารถกำจัดกิเลสต่างๆ อันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ หรือทำให้เบาบางลง
๒. มีความทุกข์น้อยลง และมีความสุขมากขึ้น
๓. มีจิตใจมั่นคง รู้เท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย ไม่มีอาการขึ้นๆลง ๆ ตามโลกธรรม
๔. คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงลงได้ ไม่วุ่นวายเดือดร้อน
๕. มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นมากขึ้น
๖. จิตใจมีคุณธรรม หรือมีคุณภาพสูงขึ้นตามขั้นของการปฏิบัติ
๗.ถ้าทำได้ถึงขั้นสูงสุด จะทำให้ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงหรือบรรลุอรหัตผล

ประโยชน์ของการเดินจงกรม
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์ปัญจกนิบาต อังคุตรนิกายว่า การเดินจงกรมมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล คือสามารถเดินทางได้ไกลและรวดเร็ว เพราะมีกำลังขาที่แข็งแรง
๒. เป็นผู้อดทนต่อการทำความเพียร คือ สามารถทำความเพียรหรือนั่งสมาธิได้นานไม่ปวดเมื่อยง่าย
๓. เป็นผู้มีโรคน้อย คือทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่ค่อยมีโรคภัย
๔. อาหารที่บริโภคเข้าไปย่อยได้ดี ท้องไม่อืดเฟ้อ ทานอาหารได้ดี
๕. สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมตั้งอยู่ได้นาน ไม่เสื่อมง่าย

https://www.youtube.com/watch?v=skmUAdElJLg

17

อ้างอิง

วัดป่าเจริญราช. (2014). การเดินจงกรม, สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. จาก.
https://urlth.me/ms8xB

แพรภัทร .(2009). ประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐาน, สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. จาก.
https://www.gotoknow.org/posts/

มาลี อาณากุล. (2549). กรรมฐานคืออะไร, สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2564. จาก.
http://abhidhamonline.org/kammathana.htm





18

ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางสาวธนิษฐา สุสวดโม้
ชื่อเล่น ส้มโอ
วัน/เดือน/ปีเกิด 20 กุมภาพันธ์ 2541
กำลังศึกษาอยู่ สาขาพุทธศาสนศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
ที่อยู่ 23 หมู่ 7 ตำบลศิลา อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น 40000
เบอร์โทร 0654653893

19

“เดินทางเซียน เพียรสู้ทน พ้นโรคา
ย่อยอาหาร นานในสมาธิ”


Click to View FlipBook Version