The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติความเป็นมา ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ บทร้องและทำนอง การแต่งกาย ดนตรีที่ช้ในกาบรรเลง และกระบวนท่ารำ ชุด ระบำเทพบันเทิง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ระบำเทพบันเทิง

ประวัติความเป็นมา ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ บทร้องและทำนอง การแต่งกาย ดนตรีที่ช้ในกาบรรเลง และกระบวนท่ารำ ชุด ระบำเทพบันเทิง

รระะบำบำ เทพบันเทิง บำเทพบันเทิง


ประวัติความเป็นมาระบำ เทพบันเทิง ระบำ เทพบันเทิง เป็นชุดระบำ ที่นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติและผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ศิลป์ไทย กรมศิลปากร ประพันธ์บทร้องและบรรจุทำ นองเพลงประกอบการแสดงละครใน เรื่อง อิเหนา ตอนลมหอบ กล่าวถึงองค์ปะตาระกาหลา ผู้ซึ่งเป็นบรมราชอัยกาของอิเหนาและบุษบาเมื่อสิ้นพระชนม์ แล้วได้เสด็จไปอุบัติเป็นเทพราชาสถิตอยู่ ณ วิมานเมฆบนสวรรค์ มีเทพบุตรและเทพอัปสรฟ้อนรำ ถวายเป็นที่เกษมสำ ราญ บทที่บรรดาเทพบุตรและเทพอัปสรฟ้อนรำ ต่อมาเรียกว่า “ระบำ เทพบันเทิง” กรมศิลปากรจัดการแสดงให้ประชาชนชม ณ โรง ละครศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2499


ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ 1. นางลมุล ยมคุปต์ 2. นางมัลลี คงประภัศร์ 3. หม่อมศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมต่วน)


บทร้องระบำ เทพบันเทิง - ปี่พาทย์ทำ เพลงส่วนนำ ของเพลงแขกเชิญเจ้า - - ร้องเพลงแขกเชิญเจ้า – เหล่าข้าพระบาท ขอวโรกาสเทวฤทธิ์อดิศร ขอฟ้อนกราย รำ ร่ายถวายกร บำ เรอปิ่นอมร ปะตาระกาหลา ผู้ทรงพระคุณ ยิ่งบุญบารมี เพื่อเทวบดี สุขสมรมยา เถลิงเทพสิมา พิมานสำ ราญฤทัย - สร้อย - สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำ จาย ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย ถวายอินทรีย์ ต่างมาลีบูชา ถวายดวงตา ต่างประทีปจำ รัสไข ถ้อยคำ อำ ไพ ต่างธูปหอมจุณจันทน์ ถวายดวงจิต อัญชลีวรคุณ ที่ทรงการุณย์ ผองข้ามาแต่บรรพ์ ถวายชีวัน รองบาทจนบรรลัย - ร้องเพลงยะวาเร็ว –


บทร้องระบำ เทพบันเทิง (ต่อ) ร่วมกันร้องทำนองลำนำ มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ) ให้พร้อมให้เพรียงเรียงระดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่ เวียนไป ได้จังหวะกัน อัปสรฟ้อนส่าย กรีดกรายออกมา ฝ่ายฝูงเทวา ทำท่ากางกั้น (ซ้ำ) เข้าทอดสนิท ไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ) ผูกพันสุดเกษม ปลื้มเปรมปรีดา - ปีพาทย์ทำเพลงยะวาเร็ว –


การแต่งกายระบำ เทพบันเทิง จะแต่งกายแบบยืนเครื่องพระ ยืนเครื่องนาง ซึ่งเป็นลักษณะของการแต่งกายของ ศิลปะละครรำ แบบดั้งเดิมของไทย ที่มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา รายละเอียดของ การแต่งกาย มีดังนี้ การแต่งกายยืนเครื่องพระ ประกอบด้วย ชฎา ดอกไม้เพรช กรรเจียกจร ดอกไม้ทัด อุบะหรือพวงดอกไม้ พาหุรัด กรองคอ ฉลององค์ ทับทรวง ตาบทิศ สังวาล ปั้นเหน่ง รัดองค์ ธำ มรงค์ แหวนรอบ ปะวะหล่ำ ทองกร ภูษา สุวรรณกระถอบ เจียระบาด สนับเพลา ห้อยหน้า และกำ ไลเท้า 1. มงกุฎ ดอกไม้ทัด กรรเจียกจร อุบะหรือพวงดอกไม้ กรองศอหรือนวมนาง ทับทรวง ผ้าห่มนาง เสื้อในนาง สะอิ้ง เข็มขัด ธำ มรงค์ ปะวะหล่ำ แหวน รอบ กำ ไลตะขาบ ทองกร ภูษา(ผ้านุ่งนาง) และกำ ไลเท้า 2.


เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย 1.ปี่ใน 2.ระนาดเอก 3.ฆ้องวงใหญ่ 4.กลองทัด 5.ตะโพน 6.ฉิ่ง


ระบำ เทพบันเทิง เป็นระบำ มาตรฐานชุดหนึ่ง ในละครใน เรื่องอิเหนา ตอน ลมหอบ ซึ่งเป็นระบำ ของเทพบุตรนางฟ้าฟ้อนรำ เพื่อบวงสรวงองค์ปะตาระกาหลา มีลักษณะรูปแบบการแสดงได้ 2 แบบ คือ 1. เป็นการแสดงชุดเป็นตอนในละครในเรื่องอิเหนา ตอน ลมหอบ 2. เป็นระบำ มาตรฐาน คู่พระ นาง ที่แสดงในงานมงคลทั่วไป ลักษณะรูปแบบการแสดงระบำ เทพบันเทิง วิดีโอเพลงระบำ เทพบันเทิง


กระบวนท่ารำ เพลงระบำ เทพบันเทิง ท่าที่ 1 ท่าออก ทำ นอง/เนื้อร้อง : เพลงแขกเชิญเจ้า อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวาเล็กน้อย เท้าซ้ายก้าวหน้า เท้า ขวาวางหลัง มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบหงายระดับชายพก ศีรษะเอียงซ้าย ยืด-ยุบ แล้วซอยเท้าขึ้นมาด้านหน้า มือเปลี่ยนเป็นท่าสอดสร้อยมาลา สลับ ข้างซ้าย-ขวาจนหมดจังหวะ ( 3 จังหวะ )


ท่าที่ 2 ทำ นอง/เนื้อร้อง : เพลงแขกเชิญเจ้า อธิบายท่ารำ พระ – นาง ประเท้าซ้ายแล้วยก มือขวาจีบคว่ำ มือซ้ายตั้งวง หน้า มือทั้งสองอยู่ระดับหน้าอก ศีรษะเอียงซ้าย แล้วก้าวเท้าซ้ายลงนั่ง จาก นั้นถอนเท้าซ้ายนั่งลง มือขวาคลายจีบออกตั้งวง มือซ้ายจีบส่งหลัง ศีรษะ เอียงขวา นั่งคุกเข่า หน้าตรง


ท่าที่ 3 ทำ นอง/เนื้อร้อง : เพลงแขกเชิญเจ้า อธิบายท่ารำ พระ – นาง : นั่งคุกเข่า มือทั้งสองจีบคว่ำ คลายมือจีบออก วางบน หน้าขา ศีรษะเอียงขวา กระทบจังหวะ (ปฏิบัติ 2 จังหวะ) ทำ นอง/เนื้อร้อง : เหล่าข้าพระบาท อธิบายท่ารำ พระ – นาง : นั่งคุกเข่า มือซ้ายตั้งวงระดับเอว แล้ววางลงที่ หน้าขา มือขวาชี้คว่ำ แล้วกวาดออกไปด้านข้าง ศีรษะเอียงซ้าย ท่าที่ 4


ท่าที่ 5 ทำ นอง/เนื้อร้อง : เหล่าข้าพระบาท อธิบายท่ารำ พระ – นาง : นั่งคุกเข่า มือซ้ายตั้งวงระดับเอว แล้ววางลงที่ หน้าขา มือขวาชี้คว่ำ แล้วกวาดออกไปด้านข้าง ศีรษะเอียงซ้าย ท่าที่ 6 ทำ นอง/เนื้อร้อง : เทวฤทธิ์ อดิสร อธิบายท่ารำ พระ – นาง : ยกมือทั้งสองขึ้นไหว้ หัวแม่มือจรดที่ตีนผม แล้วเลื่อนมือลงมาระดับอก ศีรษะตรง กระทบ 1 จังหวะ


ท่าที่ 7 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ขอฟ้อนกราย รำ ร่าย อธิบายท่ารำ พระ – นาง : ลุกขึ้นยืน หันด้านขวา ก้าวเท้าขวา จรดเท้าซ้าย มือขวาดึงจีบแขนตึงระดับไหล่ มือซ้ายตั้งวงบน ศีรษะเอียงซ้าย แล้วซอยเท้า หันมาด้านซ้าย ก้าวเท้าซ้าย จรดเท้าขวา มือขวาเปลี่ยนมาตั้งวงบน มือซ้าย ดึงจีบแขนตึงระดับไหล่ เอียงขวา


ท่าที่ 8 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ถวายกร อธิบายท่ารำ พระ : ก้าวข้างเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ำ แล้วปล่อยจีบออกเป็น ตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ กดไหล่ซ้าย ลักคอขวา ศีรษะเอียงขวา อธิบายท่ารำ นาง : ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ำ แล้วปล่อยจีบออกเป็น ตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ กดไหล่ขวา ลักคอซ้าย ศีรษะเอียงซ้าย


ท่าที่ 9 ทำ นอง/เนื้อร้อง : บำ เรอปิ่นอมร ปะตาระกาหลา อธิบายท่ารำ พระ – นาง : ก้าวเท้าขวา กระดกเท้าซ้าย พนมมือไหว้ ยกขึ้นจรดหน้าผาก แล้วลดมือลงไหว้ระดับอก หน้าตรง


ท่าที่ 10 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ผู้ทรง พระคุณ อธิบายท่ารำ พระ : ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือขวาจีบคว่ำ ด้านข้าง หงายมือซ้ายลง ระดับเอว ศีรษะเอียงขวา แล้วกระดกเท้าขวา สอดจีบมือขวาหงายขึ้นเป็นท่า บัวชูฝัก มือซ้ายจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงซ้าย อธิบายท่ารำ นาง : หมุนตัวไปทางด้านซ้าย หันหลัง ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือขวา จีบคว่ำ ด้านข้าง หงายมือซ้ายลงระดับเอว ศีรษะเอียงขวา แล้วกระดกเท้าขวา สอดจีบมือขวาหงายขึ้นเป็นท่าบัวชูฝัก มือซ้ายจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงซ้าย


ท่าที่ 11 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ยิ่งบุญ บารมี อธิบายท่ารำ พระ : หมุนตัวทางขวา หันไปด้านหลัง ก้าวเท้าขวา มือขวาลด วงลงมาเป็นวงล่างหงายมือลง มือซ้ายจีบคว่ำ ศีรษะเอียงซ้าย แล้วผสมเท้า มือซ้ายสอดจีบหงายมือขึ้น มือขวาพลิกข้อมือตั้งขึ้น แขนตึงระดับไหล่ เป็นท่า สอดสูง ศีรษะเอียงขวา อธิบายท่ารำ นาง : หมุนตัวทางขวา หันไปด้านหน้า ก้าวเท้าขวา มือขวาลด วงลงมาเป็นวงล่างหงายมือลง มือซ้ายจีบคว่ำ ศีรษะเอียงซ้าย แล้วผสมเท้า มือซ้ายสอดจีบหงายมือขึ้น มือขวาพลิกข้อมือตั้งขึ้น แขนตึงระดับไหล่ เป็นท่า สอดสูง ศีรษะเอียงขวา


ท่าที่ 12 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ : หันด้านหลัง ขยับเท้าซ้าย นำ เท้าขวาชิด กดเอวซ้าย ศีรษะเอียงซ้าย แล้วคืนตัว มือขวาจีบคว่ำ มือซ้ายบัวชูฝัก กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา อธิบายท่ารำ นาง : หันด้านหน้า ขยับเท้าซ้าย นำ เท้าขวาชิด กดเอวซ้าย ศีรษะเอียงซ้าย แล้วคืนตัว มือขวาจีบคว่ำ มือซ้ายบัวชูฝัก กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา


ท่าที่ 13 ทำ นอง/เนื้อร้อง : เพื่อเทวบดี อธิบายท่ารำ พระ : หันด้านหลัง ก้าวเท้าซ้าย นำ เท้าขวาชิด กดเอวซ้าย ศีรษะเอียงซ้าย แล้วคืนตัว มือขวาปล่อยจีบตั้งมือขึ้น กดเอวขวา ศีรษะขวา อธิบายท่ารำ นาง : หันด้านหน้า ก้าวเท้าซ้าย นำ เท้าขวาชิด กดเอวซ้าย ศีรษะเอียงซ้าย แล้วคืนตัว มือขวาปล่อยจีบตั้งมือขึ้น กดเอวขวา ศีรษะขวา


ท่าที่ 15 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ : หันด้านหลัง ขยับเท้าขวา นำ เท้าซ้ายมาชิด กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา แล้วคืนตัว มือขวาบัวชูฝัก มือซ้ายจีบคว่ำ แขนตึงระดับไหล่ กดเอวซ้าย ศีรษะซ้าย อธิบายท่ารำ นาง : หันด้านหน้า ขยับเท้าขวา นำ เท้าซ้ายมาชิด กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา แล้วคืนตัว มือขวาบัวชูฝัก มือซ้ายจีบคว่ำ แขนตึงระดับไหล่ กดเอวซ้าย ศีรษะซ้าย


ท่าที่ 16 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ : หันด้านหลัง ขยับเท้าขวา นำ เท้าซ้ายมาชิด กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา แล้วคืนตัว มือขวาบัวชูฝัก มือซ้ายจีบคว่ำ แขนตึงระดับไหล่ กดเอวซ้าย ศีรษะซ้าย อธิบายท่ารำ นาง : หันด้านหน้า ขยับเท้าขวา นำ เท้าซ้ายมาชิด กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา แล้วคืนตัว มือขวาบัวชูฝัก มือซ้ายจีบคว่ำ แขนตึงระดับไหล่ กดเอวซ้าย ศีรษะซ้าย


ท่าที่ 17 ทำ นอง/เนื้อร้อง : พิมาน อธิบายท่ารำ พระ : หันด้านหลัง ก้าวเท้าขวา นำ เท้าซ้ายมาชิด กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา แล้วคืนตัว มือขวาบัวชูฝัก มือซ้ายจีบคว่ำ แขนตึงระดับไหล่ กดเอวซ้าย ศีรษะซ้าย อธิบายท่ารำ นาง : หันด้านหน้า ก้าวเท้าขวา นำ เท้าซ้ายมาชิด กดเอวขวา ศีรษะเอียงขวา แล้วคืนตัว มือขวาบัวชูฝัก มือซ้ายจีบคว่ำ แขนตึงระดับไหล่ กดเอวซ้าย ศีรษะซ้าย


ท่าที่ 18 ทำ นอง/เนื้อร้อง : สำ ราญฤทัย อธิบายท่ารำ พระ : ก้าวข้างเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ำ แล้วปล่อยจีบออกเป็น ตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ กดไหล่ซ้าย ลักคอขวา ศีรษะเอียงขวา อธิบายท่ารำ นาง : ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ำ แล้วปล่อยจีบออกเป็น ตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ กดไหล่ขวา ลักคอซ้าย ศีรษะเอียงซ้าย


ท่าที่ 19 ทำ นอง/เนื้อร้อง : สุรศักดิ์ประสิทธ์ สุรฤทธ์กำ จาย ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย อธิบายท่ารำ พระ – นาง : วิ่งซอยเท้าเป็นวงกลม ยืด-ยุบ มือขวาตั้งวง แล้วพลิกมือเป็นบัวชูฝัก มือซ้ายจีบระดับปาก แล้วม้วนมืออกเป็นตั้งวง ศีรษะเอียงขวา (ทำ นอง) วิ่งซอยเท้าเคลื่อนวงไปข้างหน้า หมุนตัวทางซ้าย ปฏิบัติมือสลับกัน 4 จังหวะ


ท่าที่ 20 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ถวายอินทรีย์ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวา ถอนเท้าขวาลงหลังนั่งคุกเข่า ตั้งเข่าซ้าย มือทั้งสองแบหงายแขนตึงระดับไหล่ ศีรษะเอียงซ้าย


ท่าที่ 21 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ต่างมาลีบูชา อธิบายท่ารำ พระ – นาง : ลุกขึ้นยืน ก้าวเท้าขวา กระดกเท้าซ้าย มือขวาจีบหงาย มือซ้ายตั้งวงระดับหน้า ศีรษะเอียงซ้าย ช้อนมือซ้ายจีบหงาย ระดับหน้า มือขวาจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงขวา


ท่าที่ 22 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ถวายดวงตา อธิบายท่ารำ พระ : ก้าวข้างเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ำ หันจีบเข้าหากัน ระดับตา กดไหล่ซ้าย ลักคอขวา อธิบายท่ารำ นาง : ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ำ หันจีบเข้าหากัน ระดับตา กดไหล่ซ้าย ลักคอขวา


ท่าที่ 23 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ต่างประทีปจำ รัสไข อธิบายท่ารำ พระ – นาง : ก้าวเท้าขวา กระดกเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบหงาย ระดับอก แล้ววาดออกเป็นตั้งวงกลาง ศีรษะตรง


ท่าที่ 24 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ถ้อยคำ อำ ไพ อธิบายท่ารำ พระ : วางเท้าซ้ายแตะเท้าขวา มือขวาชี้ที่ปาก มือซ้ายจีบส่ง หลัง ศีรษะเอียงซ้าย วิ่งสวนแถวโดยพระอยู่หน้า อธิบายท่ารำ นาง : วางเท้าขวาแตะเท้าซ้าย มือขวาจีบส่งหลัง มือซ้ายชี้ที่ปาก ศีรษะเอียงขวา วิ่งสวนแถวโดยนางอยู่หลัง


ท่าที่ 25 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ต่างธูปหอมจุณจันทน์ อธิบายท่ารำ พระ : แตะเท้าซ้าย มือขวาจีบส่งหลัง มือซ้ายจีบคว่ำ ระดับปาก ศีรษะเอียงขวา วิ่งสวนแถวโดยพระอยู่หลัง อธิบายท่ารำ นาง : แตะเท้าขวา มือขวาจีบคว่ำ ระดับปาก มือซ้ายจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงซ้าย วิ่งสวนแถวโดยนางอยู่หน้า


ท่าที่ 26 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ถวายดวงจิต อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวา ถอนเท้าขวาลงหลัง นั่งคุกเข่า ตั้งเข่าซ้าย มือขวาเท้าเอว มือซ้ายจีบเข้าหว่างอก ศีรษะเอียงซ้าย ทำ นอง/เนื้อร้อง : อัญชลิตวรคุณ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวา นั่งคุกเข่า ตั้งเข่าซ้าย พนมมือ ไหว้หว่างอก ช้อนมือขึ้นไหว้จรดหน้าผาก แล้วลดมือลงมาที่อก ศีรษะตรง ท่าที่ 27


ท่าที่ 28 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ที่ทรงการุณย์ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวา นั่งคุกเข่า ตั้งเข่าซ้าย โกยมือทั้งสองขึ้นระดับอก ศีรษะเอียงขวา ทำ นอง/เนื้อร้อง : ผองข้ามาแต่บรรพ์ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : ลุกขึ้น มือขวาชี้กวาดมืออก ให้ปลายนิ้วชี้ไป ด้านหลัง มือซ้ายตั้งวงระดับอกแล้วจีบส่งหลัง กระดกเท้าขวา ศีรษะเอียงขวา ท่าที่ 29


ท่าที่ 30 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ถวายชีวัน อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวา ถอนเท้าขวาลงหลัง นั่งคุกเข่า ตั้งเข่าซ้าย มือขวาเท้าเอว มือซ้ายจีบเข้าหว่างอก ศีรษะเอียงซ้าย ทำ นอง/เนื้อร้อง : รองบาท อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวา นั่งคุกเข่า ตั้งเข่าซ้าย มือทั้งสองแบหงายระดับอก โน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ศีรษะเอียงขวา ท่าที่ 31


ท่าที่ 32 ทำ นอง/เนื้อร้อง : จนบรรลัย อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันเฉียงด้านขวา นั่งคุกเข่า ตั้งเข่าซ้าย สะดุ้งตัวขึ้น มือทั้งสองแบหงายปลายมือลงแขนตึงระดับไหล่ ศีรษะเอียงซ้าย


ท่าที่ 33 ทำ นอง/เนื้อร้อง : สุรศักดิ์ประสิทธ์ สุรฤทธ์กำ จาย ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย อธิบายท่ารำ พระ – นาง : วิ่งซอยเท้าเป็นวงกลม ยืด-ยุบ มือขวาจีบหงาย ม้วนออกตั้งวง มือซ้ายตั้งวงช้อนมือเป็นจีบหงาย ศีรษะเอียงขวา (ทำ นอง) วิ่งซอยเท้าเคลื่อนวงไปข้างหน้า หมุนตัวทางซ้าย ปฏิบัติมือสลับกัน 4 จังหวะ


ท่าที่ 34 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ร่วมกันร้อง อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันหน้าเข้ากัน วางเท้าซ้ายแตะเท้าขวา มือขวาจีบหงายระดับปาก มือซ้ายจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงซ้าย ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นองลำ นำ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันหน้าเข้ากัน วางเท้าขวาแตะเท้าซ้าย มือขวา ม้วนจีบออกตั้งวงข้าง มือซ้ายจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงขวา (ร้องทวนเพลง ปฏิบัติเช่นเดิม) ท่าที่ 35


ท่าที่ 36 ทำ นอง/เนื้อร้อง : มาฟ้อนมารำ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันหน้าเข้ากัน วางเท้าซ้ายโขยกเท้าขวา มือขวาจีบคว่ำ แขนตึงดึงจีบขึ้นระดับไหล่ มือซ้ายตั้งวงบน ศีรษะเอียงซ้าย


ท่าที่ 37 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ให้รื่นเริงใจ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : หันหน้าเข้ากัน วางเท้าขวาโขยกเท้าซ้าย ปล่อยจีบมือขวาออกเป็นตั้งวง มือซ้ายจีบคว่ำ แขนตึงดึงจีบขึ้นระดับไหล่ ศีรษะเอียงขวา (ทวนคำ ร้อง คำ ว่า มาฟ้อนมารำ ให้รื่นเริงใจ เดินเป็นวงกลม สวนคู่พระ-นาง ปฏิบัติท่ารำ สลับกันไป คำ ว่า ให้พร้อมให้เพรียงเรียงระดับ พันหน้าตรงกลับมาอยู่ที่เดิม)


ท่าที่ 38 ทำ นอง/เนื้อร้อง : เปลี่ยนสับ อธิบายท่ารำ พระ – นาง : พระเข้ามาซ้อนหลังเยื้องทางซ้ายของนาง มือขวาจีบหงายแขนตึง มือซ้ายจีบหงายระดับเอว ศีรษะเอียงขวา


ท่าที่ 39 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ท่วงทีหนีไล่ เวียนไปได้จังหวะกัน อธิบายท่ารำ พระ – นาง : ยืด-ยุบ ม้วนมือจีบทั้งสองออก หงายมือขวา ลงท้องแขนทอดตึง มือซ้ายตั้งวงล่าง ศีรษะเอียงซ้าย ส่ายแขนขวา (วิ่งมา ข้างหน้า คำ ว่า อัปสรฟ้อนส่าย กรีดกรายออกมา ฝ่ายฝูงเทวา) ก้าวเท้าซ้าย ถัดเท้าขวา มือขวารำ ส่ายตามจังหวะ มือซ้ายอยู่ที่ชายพก ย่ำ เท้าถัดเท้าขวา สลับกัน 3 ครั้ง เบี่ยงตัวทางขวา 2 จังหวะ หมุนตัวไปทางซ้าย 1 จังหวะ


ท่าที่ 40 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ ท่ากางกั้น อธิบายท่ารำ พระ : หันหน้าเข้าหานาง ก้าวเท้าซ้าย มือขวาตั้งวงล่าง กางมือซ้ายแขนตึง ลักคอ ศีรษะเอียงขวา แล้วก้าวข้างเท้าขวา ส่งมือขวา ออกไปตั้งมือแขนตึง กางแขนสองข้าง ลักคอ ศีรษะเอียงซ้าย อธิบายท่ารำ นาง : หันหน้าเข้าหาพระ ก้าวเท้าซ้ายไขว้ข้างหน้า มือขวาจีบส่ง หลัง มือซ้ายจีบที่ชายพก ลักคอซ้าย กดไหล่ขวา หนักเท้าหน้า แล้วเปลี่ยน มาลักคอขวา กดไหล่ซ้าย (ทวนคำ ร้อง คำ ว่า อัปสรฟ้อนส่าย กรีดกรายออกมา ฝ่ายฝูงเทวา) เดินถัด เท้าไปตามจังหวะ รำ ส่ายทั้งสองแขน เบี่ยงตัวไปด้านขวา 2 จังหวะ เบี่ยงทางซ้ายอีก 1 จังหวะ (คำ ว่า ทำ ท่ากางกั้น ปฏิบัติเช่นเดิม)


ท่าที่ 41 ทำ นอง/เนื้อร้อง : เข้าทอดสนิท ไม่บิดไม่ผัน อธิบายท่ารำ พระ - นาง : หันหน้าเข้ากัน ถอนเท้าซ้าย ก้าวไขว้เท้าขวา มือซ้ายจีบหงายแขนตึง มือขวาตั้งวงล่าง ขยั่นเท้าไปด้านซ้าย สวนกับคู่ ศีรษะเอียงขวา (นางปฏิบัติเช่นเดียวกัน) คำ ว่า ไม่บิดไม่ผัน ปฏิบัติท่ารำ เหมือนท่า เข้าทอดสนิท แต่ปฏิบัติมือ เท้า และศีรษะตรงกันข้าม คำ ว่าเข้า ทอดสนิมไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ ) ปฏิบัติเช่นเดียวกัน


ท่าที่ 42 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ผูกพัน (ผูกพัน) อธิบายท่ารำ พระ - นาง : วิ่งซอยเท้าคู่กัน พระซ้อนหลังนาง มือทั้งสองกรีดจีบแตะหลังมือนาง (ท่าโลมบน) ศีรษะเอียงซ้าย (นางปฏิบัติ เช่นเดียวกัน มือจีบที่ไหล่ปัดมือพระออก ศีรษะเอียงซ้าย)


ท่าที่ 43 ทำ นอง/เนื้อร้อง : สุขเกษม อธิบายท่ารำ พระ - นาง : วิ่งซอยเท้าคู่กัน พระเชยคางนาง โดยมือขวา แตะเอวนาง ซ้ายมือกรีดจีบแตะหลังมือนาง ศีรษะเอียงซ้าย (นางมือขวาท้าว เอว มือซ้ายจีบใต้คางปัดมือพระออก ศีรษะเอียงซ้าย)


ท่าที่ 44 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ปลื้มเปรมปรีดา อธิบายท่ารำ พระ - นาง : วิ่งซอยเท้าขึ้นด้านหน้า ตั้งแถวคู่พระ-นาง ก้าวเท้าขวากระดกเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบหงายระดับอกแล้ววาดออก มือซ้าย ตั้งวงบน มือขวาตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ ศีรษะเอียงขวา


ท่าที่ 45 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ - นาง : หันหน้าตรงวางเท้าซ้ายลงหลัง มือขวาจีบหงาย แขนตึง มือซ้ายตั้งวงบน กดไหล่ขวา ลักคอซ้าย ถัดเท้าพร้อมกับม้วนมือมือ จีบ 4 จังหวะ จังหวะที่ 5 เดินเป็นวงกลม ถัดเท้า ศีรษะเอียงขวา เดินม้วน มือ กับคู่มาอยู่ที่ของตน ราว 16 จังหวะ (นาง จังหวะที่ 3 หมุนทางขวา จังหวะที่ 4 หันหลัง เดินเป็นวงกลมกลับที่ หมุนตัวทางขวา หันมาหน้าตรง)


ท่าที่ 46 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ - นาง : เดินถัดเท้าขวา พระซ้อนหลังนาง มือทั้งสองกรีด จีบแตะหลังมือนาง (ท่าโลมบน) ศีรษะเอียงซ้าย (นางปฏิบัติเช่นเดียวกัน มือ จีบที่ไหล่ปัดมือพระออก ศีรษะเอียงซ้าย)


ท่าที่ 47 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ - นาง : เดินถัดเท้า พระเชยคางนาง โดยมือขวาแตะเอว นาง มือซ้ายกรีดจีบแตะหลังมือนาง ศีรษะเอียงซ้าย (นาง มือขวาท้าวเอว มือซ้ายจีบใต้คางปัดมือพระออก ศีรษะเอียงซ้าย)


ท่าที่ 48 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ - นาง : เดินถัดเท้าขวา ตั้งมือขวาแล้วปาดมือจากไหล่ ลงมาใกล้หน้าอกนางมือซ้ายเท้าเอว ศีรษะเอียงขวา (นางตั้งมือขวาระดับอก ปัดมือพระออก มือซ้ายเท้าเอว ศีรษะเอียงซ้าย)


ท่าที่ 49 ทำ นอง/เนื้อร้อง : ทำ นอง อธิบายท่ารำ พระ - นาง : เดินถัดเท้าขวา พระจับมือซ้ายนางที่ตั้งวง กรีดมือออก มือขวาแตะเอว ศีรษะเอียงขวา-ซ้าย เดินเข้า


Click to View FlipBook Version