The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by f0804621412, 2021-09-21 05:50:21

sun yat-sen (1)

sun yat-sen (1)

SUN YAT-SEN

ซุน ยัตเซ็น

บิ ด า แ ห่ ง ก า ร ป ฎิ วั ติ ช า ว จี น

"ถ้าเราเชื่ อว่าทำได้ ต่อให้ต้องย้ายภูเขาถมทะเล
สุดท้ายก็ย่อมทำได้ แต่ถ้าใจเราคิดว่าทำไม่ได้
แม้จะง่ายเพียงพลิกฝ่ามือ ก็ไม่มีวันทำสำเร็จ"

คำนำ

ดร.ซุน ยัดเซ็น ชื่อนี้เป็นที่ยกย่องมานานในประวัติศาสตร์จีนและของโลก
ได้ชื่อว่าเป็น"นายแพทย์นักปฏิวัติ" และเป็น" บิดาผู้สถาปนาสาธารณรัฐจีน" ซึ่งทุก
วันนี้ก็ยังได้รับการยกย่องอย่างสูงสุด

เรื่องราวของซุนยัดเซ็นมีสีสันและน่าสนใจมากเขาเป็นนายแพทย์ที่มีความ
สามารถในการรักษาผู้ป่วยจนได้ฉายาว่าเป็นหมอเทวดาและเลือกเดินในเส้นทาง
นักปฏิวัติมากกว่าการเป็นนายแพทย์เพราะเห็นว่าการรักษาผู้ป่วยทำได้ไม่กี่คนแต่
การจะเยียวยารักษาประเทศชาติต้องเดินในเส้นทางการเมืองและการปฏิบัติเท่านั้น
อีกทั้งสถานการณ์บ้านเมืองของจีนในเวลานั้นอยู่ในสภาพฟอนเฟะทำให้ซุนยัดเซ็น
ต้องลุกขึ้นมาทำงานปฏิวัติประเทศแต่เขาก็ล้มเหลวและพ่ายแพ้ติดต่อกันแต่เขาก็
ล้มเหลวและพ่ายแพ้ติดต่อกันต้องถูกเนรเทศลี้ภัยออกจากบ้านเกิดต้องออกมาใช้
ชีวิตอยู่ต่างแดนนาน10 กว่าปี พบความลำบากมากมายแต่เขาก็ไม่ย่อท้อแม้ใครๆ
จะพูดว่าความฝันของเขาเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แต่เขาก็ยังคงทำการปฏิวัติจน
กระทั่ง ประสบความสำเร็จ

E-book เล่มนี้ จะกล่าวถึงอัตชีวประวัติความเป็นมาและอุดมการณ์ในการ
ต่อสู้กับเรื่องราวๆต่างๆ จนประสบความสำเร็จของ ซุน ยัตเซ็น ผู้ที่ได้ชื่อว่าบิดา
แห่งการปฏิวัติจีนผู้ยิ่งใหญ่

ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์วรรณพร บุญญาสถิตย์ ที่ได้ให้โอกาสผู้จัด
ทำได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวที่ตนเองสนใจทำให้ผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราว
ของ ซุน ยัตเซ็น แล้วนำมาจัดทำหวังว่าเรื่องราวใน E-book เล่มนี้จะเป็นแรง
บันดาลใจและให้ความรู้ทุกท่านไม่มากก็น้อยผู้มีอุปการะคุณทุกท่านที่ให้การ
สนับสนุนเสมอมา

ขอขอบคุณ
อาริสา ธัญญะภู

สารบัญ 2

ใครคือ ดร. ซุนยัตเซ็น 4

กำเนิด ซุน ยัตเซ็น 7

เส้นทางสู่การเป็นแพทย์ 8

การศึกษา 10

จากปฏิรูปมุ่งสู่การปฏิวัติ 11
12
4 โจรกบฎและกลุ่มมิตรสหาย
เขียนฎีกาขอร้องการปฎิรูปประเทศ 13
ร่วมก่อตั้งสมาคมฟื้ นฟูจีน 14
การปฎิวัติที่กวางโจว
17
การปฏิวัติที่ซิ่นไฮ่ 23
บรรณานุกรรม

1

"โค่นล้มรัฐบาลแมนจู
สร้างเสถียรภาพและแสวงหาความสงบสุข

ให้ประชาชนจีน
ผดุงความยุติธรรม
รักษาคำปฏิญาณ
ซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ
ทำงานรับใช้ประชาชน
และเมื่อใดที่รัฐบาลแมนยูล่มสลายบ้านเมือง
ไม่บังเกิดความวุ่นวายสาธารณรัฐจีนได้เป็น

ที่ยอมรับ
จากนานาประเทศแล้ว
ก็ถึงแก่การที่ข้าพเจ้าจะพ้นจากตำแหน่ง
ประธานาธิบดีเฉพาะกาล
ขอปฏิญาณต่อประชาชนทั้งปวง"

คําปฏิญาณตนของ ดร. ซุน ยัดเซ็น
ระหว่างทำพิธีรับตำแหน่ง

ประธานาธิบดีเฉพาะการคนแรกของสาธารณรัฐ

2

ใครคือ
ดร.
ซุน

ยัตเซ็น

3

4

กำเนิด ซุน ยัตเซ็น

ในประวัติศาสตร์จีนและของโลก ชื่อของ “ดร.ซุน ยัตเซ็น” อยู่ในสถานะของ
บิดาผู้ก่อตั้งประเทศในสมัยใหม่ (Founder) เทียบเท่ากับเราผู้สร้างรัฐชาติอื่นๆใน
ประวัติศาสตร์ เช่น จอร์จ วอชิงตันของสหรัฐอเมริกา คานธีของอินเดีย บิสมาร์ค
ของเยอรมัน เลนิลของสาภาพโซเวียต ฯลฯ

เรื่องราวของซุน ยัตเซ็น มักได้รับการนำเสนอจากสื่อจีนในแง่บวกมาก
ไม่ใช่แค่เพราะว่าเขาเป็นผู้นำการปฏิวัติ ที่สำคัญที่สุดของจีนยุคใหม่ นั่นคือการ
ปฏิวัติซินไฮ่เท่านั้น แต่เพราะตลอดทั้งชีวิต เค้าได้แสดงให้เห็นถึงปณิธานอัน
ยิ่งใหญ่ มุ่งมั่นทำงานเพื่อกอบกู้บ้านเมืองโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแม้
เค้าจะมีโอกาส ครองอำนาจ แต่กลับยอมละทิ้งอำนาจและตำแหน่งทางการเมือง
ได้ ที่สำคัญคือ เป็นแบบอย่างของนักปฏิวัติที่พยายามชูแนวทางการปฏิวัติโดย
ไม่ต้องหลั่งเลือดมากเกินกว่าเหตุ แม้จะเป็นคนของขั้วอำนาจเก่า แต่หากเพื่อ
ประโยชน์ของชาติในภาพรวม เขาก็มีความคิดประนีประนอมที่จะให้คนเหล่านั้น
ได้เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาจีนต่อไปด้วย ในช่วงบ้านปลายชีวิตเค้าก็ยัง
คงมุ่งมั่นทำงานเพื่อหวังจะกู้วิกฤติของจีนจนกระทั่งสิ้นลมไป ซึ่งคำสั่งเสียของ
เค้าก็ยังเป็นการบอกให้คนจีนต่อสู้เพื่อการปฏิวัติต่อไปด้วย

ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ทำให้เรื่องราวของซุน ยัตเซ็น เป็นที่ยกย่องเชิดชูอย่าง
สูงสุดเสมอมา ต่อมาเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนนำโดยเหมาเจ๋อตุง ได้เอาชนะ
พรรคก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ก แล้วเข้าปกครองจีนด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ชื่อของ
ซุน ยัตเซ็น ก็ยังคงได้รับการเชิดชูให้เป็นบิดาของสาธารณรัฐประชาชนจีน และ
ถือว่าเป็นวีรบุรุษนักปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของจีนและของโลก

“ซุน ยัตเซ็น”(Sun Yat-sen) ชื่อรอง “เต๋อหมิง” เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1866 ที่หมู่บ้านชุ่ยเหิง อำเภอเสี่ยงซาน หรือเมืองจงซานในปัจจุบันมณฑล
กวางตุ้ง

ซุน ยัตเซ็น เป็นชื่อเรียกในสำเนียงจีนกวางตุ้ง ส่วนจีนกลางเรียกว่า “ซุนอี้
เซียน” แต่ก็มีอีกชื่อหนึ่งที่คนจีนนิยมเรียกคือ “ซุนจงซาน”
ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากภาษาญี่ปุ่น เนื่องจากช่วงที่อยู่ในญี่ปุ่นนั้นเคยใช้ชื่อว่า “ นากายา
มะ โชว” หากอ่านเป็นภาษาจีนก็จะเป็น “ จงซาน“ แล้วยังมีอีกชื่อคือ “ซุนเหวิน” ซึ่ง
เป็นชื่อที่ใช้ในวัยหนุ่ม แล้วต่อมามักใช้เวลาที่ต้องมีการลงนามในเอกสารสำคัญ

5

กำเนิด ซุน ยัตเซ็น

ส่วนในภาษาจีน ซุน ยัตเซ็น มีชื่อทางการว่า “เต๋อหมิง” ชื่อเล่นว่า“ตี้เซี่ยง”
ชื่อนี้มีความหมายที่ดี เนื่องจากเมื่อวัยเด็ก ย่าของซุน ยัตเซ็น ได้ขอให้ซินแสมา
ช่วยทำนายโชคชะตาให้หลานชายซินแสบอกว่าเด็กคนนี้มีดวงชะตาระดับฮ่องเต้
โอรสสวรรค์ จึงได้ตั้งชื่อว่า ตี้เซี่ยง (นรลักษณ์ฮ่องเต้) อย่างไรก็ตาม มีเค้าเป็น
เหมือนกับเรื่องเล่าอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในโลกที่มักมีการทำนายทาย
ทักไว้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งตัวซุน ยัต เซ็นเอง ก็ใช้ชื่อเล่นตี้เซี่ยงแค่ในวัยเด็ก เมื่อเข้าวัย
หนุ่มก็ตั้งชื่อตัวเองว่า “ซุนเหวิน” ภายหลังเมื่อต้องปฏิบัติการเคลื่อนไหวเพื่อการ
ปฏิวัติอย่างรับรับก็ต้องเปลี่ยนชื่อไปเรื่อยตามแต่สภาพการณ์

ซุน ยัตเซ็น นับว่าเป็นลูกหลานของชาวจีนฮากกา (จีนแคะ) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
คนหนึ่งในประวัติศาสตร์บิดาของเขาคือซุนต๋าเฉิงส่วนมารดาคือหยางไห่ทั้งครอบ
ครัวมีฐานะยากจนมาก แต่ในรุ่นปู่คือซุนจิ้งเสียนนั้นเดิมมาจากชนชั้นค่าบดีที่มี
ฐานะแต่เมื่อมาถึงรุ่นปู่ของเขาแล้วกลับไม่ได้มีมรดกหรือทรัพย์สมบัติจากบรรพ
บุรุษตกทอดมาเท่าไรนัก เมื่อถึงรุ่นของซุนต๋าเฉิง จึงต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก
ในค.ศ. 1829 เมื่อซุนต๋าเฉิง อายุได้ 16 ปีก็ตัดสินใจเดินทางไปมาเก๊าเพื่อทำงาน
แสวงโชค โดยทำงานเป็นช่างทำรองเท้าในร้านของชาวโปรตุเกส ใช้เวลา 16 ปี
ทำงานสะสมเงินทอง จนอายุได้ 33 ปีจึงเดินทางกลับบ้านแล้วสู่ขอหญิงเเซ่หยาง มา
เป็นภรรยา เวลานั้นเธออายุ 18 ปีต่อมาในค.ศ. 1854 จึงให้กำเนิดซุนเหมย บุตร
ชายคนโต ส่วนซุนเหวิน ซื้อต่อมาคือซุน ยัตเซ็น เป็นบุตรชายคนที่ 3

6

ภาพถ่ายครอบครัวใน ค.ศ. 1901 ตรงกลางคืนนางหยางผู้เป็นมารดา
ส่วนผู้หญิงที่ยืนข้างซุนยัดเซ็นคือหลูมู่เจิน ภรรยาคนแรก

ที่มาภาพ https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Sun_Yat_Sen%27s_family_1901.png

ซ่งชิงหลิงกับดร.ซุนยัดเซน
ซ่งชิงหลิงเป็นภรรยาคนที่สามของ ซุน ยัตเซ็น หนึ่งในผู้นำของ การปฏิวัติ

ปี ค.ศ. 1911 ที่ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐจีน เธอมักจะถูกเรียกกันว่า
มาดามซุน ยัตเซ็น

ที่มาภาพ http://freedom-thing.blogspot.com/2012/02/blog-post_1833.html

7

เส้นทางสู่
การ

เป็นแพทย์

8

การศึกษา

ซุน ยัตเซ็น เดินทางมาถึงเกาะฮ่องกงในค.ศ. 1883 แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่
โรงเรียนมัธยมดิโอเซซาน ซึ่งอยู่ใน คริสตจักรของอังกฤษเลือก เรียนวิชาเอกภาษา
อังกฤษ แต่เนื่องจากพื้นฐานภาษาอังกฤษดีอยู่แล้วตั้งแต่สมัยเรียนที่โฮโนลูลูถึงได้
ลาออกอีกครั้งในปลายปี และวางแผนที่จะเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยเซ็นทรัลในฮ่องกง
ในช่วงเมษายนของปีถัดมาและเข้าศึกษาต่อตามที่วางแผนไว้ เนื่องจากเป็นโรงเรียน
มัธยมทางการแห่งแรกของรัฐบาลอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้ ซุน ยัตเซ็น ได้ศึกษา
หาความรู้อย่างเต็มที่ ด้วยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ยอดเยี่ยม เปิดโลก
ทัศน์ของเขาอย่างมาก อีกทั้งการต้องมาอยู่ในต่างแดนก็ทำให้เขาไม่อาจเกียจคร้าน
มุ่งมั่นตั้งจัยศึกษาเล่าเรียนและหาความรู้เพิ่มเติม รวมถึงภาษาจีนและภาษาอังกฤษ
ซุน ยัตเซ็น ยังชื่นชอบในวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์ สังคมรัฐศาสตร์

เมื่อได้ศึกษาในต่างประเทศ เปิดโลกทัศน์ได้ซุน ยัดเซ็นเห็นถึงการคัดค้าน
ต่อสู้ทางการเมืองในหลายรูปแบบ จึงทำให้เกิดความคิดและแรงบันดาลใจที่จะกอบ
กู้ประเทศชาติ ในระหว่างที่อยู่ที่ฮาวายนี้ศึกษาซุน ยัตเซ็นได้ศึกษาวิทยาศาสตร์ และ
ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างลึกซึ้ง ทำให้ซุนเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนศาสนาขึ้นมา ความ
ใกล้ชิดต่อคริสต์ศาสนา และห่างไกลจาก ลัทธิขงจื๊อ ซึ่งครอบครัวท่านยึดถือ ทำให้พี่
ชายกังวลจนถึงขั้นแจ้งข่าวให้ทางบ้านทราบ และส่งตัวน้องชายกลับบ้าน

ซุนกลับประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ. 1883 การที่ได้พำนักและศึกษาในต่างประเทศ
เป็นเวลา 5 ปี ทำให้ซุนได้เห็นความเจริญต่าง ๆ ทำให้เขามีความรู้สึกว่า ความไม่เป็น
ธรรมต่าง ๆ ในสังคมจีนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และทำให้ซุนเกิดความปรารถนา
ที่จะพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตน เมื่อกลับสู่มาตุภูมิแล้ว ซุนพยายามปลุกระดม
ชาวบ้านให้เกิดความสำนึกที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมโดยการโจมตีความเน่าเฟะของ
บ้านเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีอันล้าหลังของประเทศจีน อีกด้านหนึ่งเขาได้
เริ่มลงมือพัฒนาการบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น ติดตั้งไฟส่องถนนหนทาง การวางเวร
ยามป้องกันโจรผู้ร้าย จากบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงใน
ระยะแรกของเขาก็คือเขาเห็นว่าความเชื่อโบราณของจีนเป็นเรื่องงมงายถึงขั้น
ทำลาย เทวรูปในหมู่บ้าน และกล่าวว่าเป็นเพียงวัตถุไร้สาระที่ชาวบ้านงมงายอย่างไม่
ลืมหูลืมตา เมื่อเกิดเป็นเรื่องวุ่นวาย เนื่องจากชาวบ้านโกรธแค้นอย่างมาก บิดาของ
ซุนยัดเซ็นจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการส่งตัวลูกชายไปศึกษาต่อที่ฮ่องกงขณะที่ท่าน
ศึกษาที่ฮ่องกงขณะนั้นฮ่องกงเป็นอาณา นิคมของอังกฤษ ท่านได้จบการศึกษาจาก
วิทยาลัยการแพทย์ตะวันตกในฮ่องกง ด้วยคะแนนจากการสอบไล่เป็นอันดับหนึ่ง
ทำให้ท่านถูกขนานนามว่า ดร.ซุนยัตเซ็น

9

การศึกษา

ซุน ยัตเซ็น มีความสามารถทางการแพทย์หลายด้านโดยเฉพาะด้านการผ่าตัด
และการวิเคราะห์สันนิษฐานอาการของโรคและการใช้ยา แต่ซุน ยัตเซ็น ทราบดี
ว่าการแพทย์ตะวันตกเป็นของใหม่สำหรับชาวจีน โดยเฉพาะชาวจีนหัวเก่าที่มีความ
นับถือศรัทธาในการรักษาแผนจีนหรือกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เวลานั้นเมืองจีนมีพวก
นักต้มตุ๋นที่อ้างตัวเป็นผู้วิเศษจำนวนมาก ซุน ยัตเซ็น ชิงช่างคนเหล่านี้ จึงพยายาม
เปิดรักสาให้คนยากไร้โดยไม่คิดเงิน เพื่อหนึ่งพวกเขาออกจากความงมงาย นอกจาก
นี้ยังมีปัญหาในการรักษาด้วยการผ่าตัดหากเป็นการผ่าตัดเล็กน้อยก็ไม่มีปัญหามาก
นักแต่ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่ใหญ่ ซุน ยัตเซ็น ซึ่งอายุยังน้อยจึงไม่ได้รับความเชื่อถือ
เค้าแก้ปัญหาด้วยกันเชิญ ดร.แคนต์ลี ให้มาช่วยประกันความปลอดภัยให้ด้วย ซึ่ง
ในตำราประวัติศาสตร์อ้างว่า ซุน ยัตเซ็น ผ่าตัดไม่เคยผิดพลาดเลยสักครั้ง ซึ่งการ
ผ่าตัดในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการผ่านิ่วหรือผ่าเอาสิ่งแปลกปลอมออกมาจาก
ร่างกาย

ชื่อเสียงของซุน ยัตเซ็นโด่งดังมากในเวลาสั้นๆ แต่ปรากฏว่าเค้าเปิดกิจการได้
ราวครึ่งปี สุดท้ายก็จำเป็นต้องปิดตัวลง เนื่องจากปัญหาหลายอย่างที่ประดังเข้ามา
โดยเฉพาะบรรดาหมอชอบโปรตุเกสที่เห็นว่าซุน ยัตเซ็นเข้ามาแย่งกิจการของพวก
ตน ถึงพากันโจมตีว่าซุน ยัตเซ็นไม่มีใบอนุญาตให้ทำงานจากรัฐบาลโปรตุเกส เค้า
จึงไม่สามารถรักษาชาติโปรตุเกสที่มีจำนวนมากในมาเก๊าได้ แล้วก็ทำให้ใบสั่งยาของ
ซุน ยัตเซ็นไม่สามารถใช้ซื้อยาในมาเก๊าได้เลย เค้าพยายามวิ่งเต้นหลายทางเพื่อกู
เอาสิทธิในการทำงานกลับมา แต่ก็ไม่เป็นผล จึงตัดสินใจปิดโรงพยาบาล แล้วโยก
ย้ายไปที่กว่างโจวเพื่อหาโอกาสครั้งใหม่

เมื่อออกจากมาเก๊า ซุน ยัตเซ็น ตะหนักถึงความสำคัญของการร่วมทุนและการ
สนับสนุนของผู้คน เขาจึงเปิดร้านขายยาที่ประตูซีเหมิน เมืองกว่างโจว โดยขายทั้ง
อยากกินและยาฝรั่ง ปรากฏว่ากิจการที่นี่เจริญเติบโตก้าวหน้ามากอย่างที่ตัวเขาเองก็
คงไม่ได้คาดคิดไว้และต่อมายังมีเหตุการณ์รักษาผู้ป่วยที่ทำให้ชื่อเสียงของเค้าโด่ง
ดังขึ้นมาอีก

ชื่อเสียงของซุน ยัตเซ็น ดังไปทั่วกว่างโจวและเซียงซาน มีผู้เจ็บป่วยแทบทุก
ระดับตั้งแต่คนยากไร้ไปจนถึงระดับข้าหลวงมณฑลพากันมาต่อคิวให้รักษาและแจก
จ่ายยา บ้างก็เชิญ ซุน ยัตเซ็น ไปรักสาถึงจวนข้าหลวง ได้รับเชิญจากนายทหาร
ผู้ใหญ่ให้รักสาคนในครอบครัว กล่าวกันว่าเพียงปีเดียวเขามีรายได้มากกว่า 10,000
หยวน ซึ่งหากเขาไปรับราชการตั้งแต่แรก ก็จะไม่มีอะไรได้มากถึงขนาดนี้แน่แล้ว
เนื่องจากมีรายได้มากพอสมควร ซุน ยัตเซ็น จึงไม่คิดค่ารักษากับผู้ป่วยที่ยากไร้
ทำให้ชื่อเสียงในด้านคูณธรรมเป็นที่ยกย่องขึ้นไปอีกอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่
เขามีความรุ่งโรจน์ในอาชีพแพทย์มากที่สุด

10

จากปฏิรูป
มุ่งสู่

การปฏิวัติ

11

4 โจรกบฏ และกลุ่มมิตรสหาย

ช่วงชีวิตวัยหนุ่มของซุน ยัตเซ็นที่วิทยาลัยการแพทย์ตะวันตกน่าจะเป็นช่วงที่มีสีสัน
คึกคักในด้านความคิดและการแสดงออก เพื่อวิพากษ์วิจารณ์สำหรับเจ้าตัวมากที่สุดช่วง
หนึ่งซุน ยัตเซ็น ถึงกับถือตัวเองว่าเป็นเสมือน “หงซิ่วเฉวียนคนที่สอง” แสดงถึงความคิดที่
เป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ชิงอย่างชัดเจน ที่วิทยาลัย ซุน ยัตเซ็น ยังได้รับฉายาว่าเป็น
บัณฑิตขี้โม้อีกด้วย

ในระหว่างที่ ซุน ยัดเซ็น พำนักอยู่ในฮ่องกงก็ได้พบปะกับเหล่านักศึกษาที่มีแนวความ
คิดเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตยซึ่งซุนได้เริ่มตั้งกลุ่มขึ้นโดยใช้ชื่อเล่นว่า
" สี่สหาย " ที่วิทยาลัยการแพทย์ฮ่องกง การตั้งกลุ่มสี่สหายได้มีการแลกเปลี่ยนความคิด
กันและโต้เถียงปัญหาการเมืองซึ่งทำให้ซุนเริ่มมีแนวความคิดต่อต้านการปกครองของ
ราชวงศ์ชิงขึ้น ซุน ยัตเซ็น และเหล่าสหายยังมีความคิดเห็นตรงกันว่า ควรป่าวประกาศ
ความคิดให้ออกไปในวงกว้าง โดยเริ่มจากมิตรสหายคนใกล้ชิด โดยข้อเสนอแรกๆคือ ให้
เลิกเคารพต่อราชสำนักชิง

แน่นอนว่าพฤติกรรมและการแสดงออกของพวกเขาเข้าข่ายผิดกฎหมาย ผู้ใหญ่หลาย
คนก็ไม่เห็นด้วย แต่ที่จริงแล้ว กลุ่มนักศึกษาวัยรุ่นแค่4 คน ในเกาะฮ่องกงก็ไม่ได้เป็นเป้า
สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการเท่าไรนัก เพราะเวลานั้นในประเทศจีนยังมีเรื่องราวใหญ่โตเกิด
ขึ้นอีกมาก

ภาพของซุน ยัตเซ็น (นั่งคนที่สองจากซ้าย) และสมาชิก
ปฏิวัติสี่สหาย ได้แก่ ยึงฮกลิง (ซ้าย), ชานซิวบาก (นั่งคนที่

สองจากขวา), เยาลิต (ขวา) และ กวน จิงเลี่ยง (ยืน) ที่
วิทยาลัยการแพทย์ในฮ่องกง

ที่มาภาพ https://1th.me/gtBwh

12

เขียนฎีกาขอร้องการปฏิรูปประเทศ

ซุน ยัดเซ็น เวลานั้นมีความคิดอ่านปฏิวัติบ้างแล้ว ยังไม่ถึงขั้นเป็นนักปฏิวัติ
ประชาธิปไตยเขาได้รับแรงดลใจจากแนวความคิดลัทธิปฏิรูปที่แพร่หลายอยู่ในประ
เทศจีนชั่วขณะหนึ่งโดยฝากความหวังไว้กับขุนนางผู้ใหญ่บางคนของชนชั้นปก ครอง
ก้าวไปตามวิถีทางของลัทธิปฏิรูปด้วยคิดว่าความคิดอ่านของตนอาจได้รับความเห็น
ขอบจากขุนนางผู้ใหญ่บางคน

ครั้นแล้วฤดูร้อนปี ค.ศ. 1894 ซุน ยัดเซ็น ขอเข้าพบขุนนางผู้ใหญ่ หลี่ หงจาง
ขุนนางคนสำคัญของราชสำนักชิงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งกุมอำนาจทาง
การทหาร การบริหารและการทูต ของราชสำนักชิงอยู่ในเวลานั้น โดยการเสนอให้
ปฏิรูปการปกครอง แต่ซุนก็ไม่เคยมีแม้กระทั่งโอกาสที่จะได้เข้าพบ หลี่ หงจาง ซ้ำ
ความคิดเห็นของเขาก็มิได้รับความสนใจเอาเลย ขุนนางผู้ใหญ่ศักดินาที่เป็นขี้ข้าและ
นายหน้าค้าต่างของจักรวรรดินิยมหรือ จะสามารถรับข้อเสนอที่มีลักษณะก้าวหน้าใน
ยุคนั้นได้

เมื่อถูกปฏิเสธครั้งแรก ซุนได้ร่างฎีกาเป็นหนังสือเรียกร้องขอให้มีการปฏิรูป
ประเทศ หนังสือที่เขาเขียนถึงหลี่นั้น มีความยาวถึงแปดพันคำ กล่าวโดยสรุปสาระ
สำคัญของบันทึกฉบับนี้คือฝากความหวังไว้กับคนชั้นสูงของชนชั้นปกครองให้ดำเนิน
มาตรการปฏิรูปของชนชั้นนายทุนบางประการและเรียกร้องให้มีการนำหลัก
ประชาธิปไตยมาใช้และในปีเดียวกัน ซุน ยัตเซ็น ได้พยายามถือฎีกาเดินทางขึ้นไปยัง
ปักกิ่งเมืองหลวงเพื่อส่งจดหมายถึง หลี่ หงจาง โดยซุน ยัดเซ็น ต้องการเสนอแนวทาง
การพัฒนาจีนให้กับเขา แต่กลับถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย หลี่ หงจาง ได้ฉีกฎีกา
จดหมายนั้นลงถังขยะ พร้อมทั้งกล่าวเหยียดหยัน ซุน ยัดเซ็น ว่าเป็นคนไม่มีสัมมา
คารวะ

13

ร่วมก่อตั้งสมาคมฟื้ นฟูจีน(สมาคมซิงจงฮุ่ย)
เมื่อถูกปฏิเสธ ซุน ยัตเซ็น
จึงตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงจีนให้หลุดจากการปกครอง

ของราชวงศ์ชิง นั้นไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จำเป็นต้องกระทำการ
แบบ "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" อันหมายถึง "การใช้กำลังปฏิวัติ" ดังนั้น ในฤดูหนาวปีเดียวกัน
ซุน ยัตเซ็น จึงเดินทางกลับไปยังฮาวาย โดยมีแนวความคิดที่จะรวบรวมชาวจีนโพ้นทะเลผู้
รักชาติขึ้น ดังนั้นในปีเดียวกันท่านและลู่ เฮาตง สหายของท่านได้ก่อตั้งองค์การจัดตั้งการ
ปฏิรูปขึ้นมาหรือที่เรียกว่า "สมาคมซิงจงฮุ่ย" ที่มีความหมายว่า "ฟื้ นฟูประเทศจีน" ขึ้น ทั้งนี้
เงินทุนสนับสนุนสมาคมดังกล่าวก็มาจาก ซุนเหมย พี่ชายของท่าน และตั้งแต่นั้นมาซุนยัต
เซ็นก็ได้เริ่มชีวิตที่เปลี่ยนไป ท่านได้ทำการต่อสู้กับราชสำนักชิง โดยหวังว่าประเทศจีนจะ
สามารถกลายเป็นประเทศที่เป็นอิสระ เสมอภาค และมั่นคง เขาค่อย ๆ รู้สึกว่า วิถีทางปฏิรูป
โดยสันตินั้นจะมีประโยชน์อันใดจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานแทนวิธีการ
ปฏิรูปเพียงส่วนหนึ่ง ในปีเดียวกันสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ได้ระเบิดขึ้น สงครามครั้งนี้
เหล่าทหารหาญจีนได้ต่อสู้อย่างทรหดและ ห้าวหาญ แต่รัฐบาลราชวงศ์ชิงที่เหลวแหลก และ
ไร้สมรรถภาพมิกล้าทำสงครามอย่างเด็ดเดี่ยวทำให้ฝ่ายจีนต้องได้รับความเสียหายอย่าง
หนัก สร้างความสะเทือนใจ และเคียดแค้นให้แก่มวลชนทั่วประเทศ บัดนั้นเอง ซุนยัดเซ็น
รู้สึกอีกครั้งหนึ่งว่า ประเทศจีนกำลังเผชิญกับวิกฤตของประชาชาติอย่างหนัก ยิ่งกว่านั้นเขา
ได้สำนึกว่า สันติวิธีนั้นใช้การไม่ได้เลยจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการรุนแรงโดยการปฏิวัติเท่านั้น ที่
เป็นวิถีทางเดียวที่จะแก้วิกฤติของประเทศจีนได้ ซุน ยัดเซ็น ได้เดินทางไปอเมริกาด้วย
อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งเขาได้ติดต่อและปลุกระดมชาวจีนในตอนแรกคนที่สนับ
สนุนความคิดอ่านของเขานั้นมีอยู่เพียงไม่กี่คนจัดตั้ง สมาคมเพื่อการปฏิวัติครั้งแรกจึงเป็น
ชนชั้นที่เป็นกลุ่มของชนชั้นนายทุนที่มีความรู้

ด้วยความมานะในการเคลื่อนไหวซึ่งในที่สุดเขาก็ได้รับการสนับสนุนจากคนจำนวนหนึ่ง
ทำการก่อตั้งสมาคมซิงจงฮุ่ย (ฟื้ นฟูจีน) ซึ่งเป็นสมาคมปฏิวัติขนาดเล็กของชนชั้นนายทุนช่วง
แรก ๆ ของจีน และเปิดการประชุมที่ฮอนโนลูลู ที่ประชุมได้มีมติผ่านร่างระเบียบการของสมาคม
ที่ซุนเป็นผู้ร่าง ในระเบียบการระบุว่า "ประเทศจีนตกอยู่ภาวะคับขัน ปัจจุบันมีศัตรูล้อมรอบคอย
จ้องตะครุบทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของจีนโดยเหล่าศัตรูพากันรุมเข้ามารุกรานและ
ยึดครองจีนแล้วดำเนินการแบ่งสันปันส่วนอันเป็นสิ่งน่าวิตกอย่างยิ่งพร้อมกันนั้นก็ประนาม
ชนชั้นปกครองราชวงศ์ชิงที่โง่เขลาและไร้สมรรถภาพ ว่าฝ่ายราชสำนักก็โอนอ่อนผ่อนตาม ส่วน
ขุนนางหรือก็โง่เขลาเบาปัญญาไม่สามารถมองการณ์ไกล ทำให้ประเทศชาติต้องเสียทหารได้รับ
ความอัปยศอดสูพวกขี้ข้าพาให้บ้านเมืองสู่ความหายนะ มวลชนต้องได้รับเคราะห์กรรมทนทุกข์
ทรมานไม่มีวันโงหัว การก่อตั้งสมาคมนี้ขึ้นก็เพื่อกอบกู้ชาติบ้านเมือง ผดุงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี เพื่อ
รวบรวมประชาชนจีนทั้งใน และนอกประเทศ เผยแพร่อุดมการณ์กู้ชาติ"

ในคำปฏิญาณของผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนั้น ยังได้ย้ำอีกว่า จะต้องขับไล่พวกแมนจูที่ป่า
เถื่อนออกไปฟื้ นฟูประเทศจีนจัดตั้งสาธารณรัฐอันเป็นความคิดที่มีลักษณะปฏิวัติได้เสนอ
อุดมการณ์ให้โค่นล้มราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นทาสรับใช้ของจักรวรรดินิยมและสถาปนาสาธารณรัฐ
ปกครองโดยประชาธิปไตย มีชนชั้นนายทุนสนับสนุนแบบตะวันตกต่อประชาชนจีนเป็นครั้ง
แรกซึ่งได้กลายเป็นหลักนโยบายอันแรกของการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนประเทศจีน

14

การปฏิวัติที่กว่างโจว

ด้วยความรวดเร็ว สมาคมซิงจงฮุ่ย วางแผนการปฏิวัติในทันที และกำหนดเอาวัน
ที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1895 เป็นวันลงมือ โดยแผนการดังกล่าวนั้น ใช้กำลังคน 3,000
คน เพื่อยึดเมือง กว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง เพื่อใช้เป็นฐานในการขยาย
การปฏิวัติต่อไป โดยในการปฏิวัติดังกล่าว ลู่เฮ่าตง เพื่อนสนิทตั้งแต่ยังเด็กผู้เชื่อมั่น
ในอุดมการณ์ปฏิวัติของ ซุน ยัตเซ็น ได้ออกแบบ " ธงฟ้าสีน้ำเงินกับดวงตะวันสีขาว"
ไว้ใช้ด้วย (ในเวลาต่อมาธงดังกล่าวได้กลายเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีน ) อย่างไร
ก็ตาม การลงมือปฏิวัติครั้งแรกของซุน กลับล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากมีคน
ทรยศนำข่าวไปบอกกับเจ้าหน้าที่ของราชสำนักชิงก่อนซึ่งก็ทำให้ผู้ร่วมปฏิวัติถูก
ประหารชีวิตตัดหัวไป 47 คน รวมถึง ลู่เฮ่าตง ส่วนดร.ซุนซึ่งไหวตัวทันก่อนจึงได้รอด
ชีวิตและหลบหนีได้สำเร็จ หลังจากการปฏิวัติในกว่างโจวประสบความล้มเหลว ซุนได้
สลายผู้ที่มาร่วมก่อการอย่างสุขุมจากนั้นเขาก็เดินทางโดยทางเรือออกจากกว่างโจว
ผ่านฮ่องกงไปลี้ภัยที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วก็ก่อตั้งสาขาสมาคมซิงจงฮุ่ยขึ้นที่โยโกฮามา
ซุนก็ตัดผมหางเปียแบบแมนจูทิ้งเปลี่ยนเครื่องแต่งกายมาใส่สูทแบบชาวตะวันตก
เพื่อแสดงถึงความเด็ดเดี่ยวในการปฏิวัติ และเดินทางไปประเทศต่าง ๆ เพื่อปลุก
ระดมชาวจีนให้เข้าร่วมการปฏิวัติ

หลังจากตั้ง สาขาซิงจงฮุ่ย ขึ้นที่ญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1896 ซุนก็เดินทาง
ต่อไปยังสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ
ในสหรัฐฯ และ ยุโรป โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ดร.เจมส์ แคนต์ลี (Dr. James
Cantlie) อาจารย์ชาวอังกฤษที่เคยสอนเขา ณ วิทยาลัยการแพทย์ในฮ่องกง และได้
รับการสนับสนุนทางการเงินจากพี่ชายคนเดิม

15

"ธงท้องฟ้าสีคราม ตะวันสาดส่อง"
ซึ่งใช้เป็นธงของสมาคมซิงจงฮุ่ยในการปฏิวัติที่กว่างโจว

ที่มาภาพ https://1th.me/alJMa

สมาคมถงเหมิงฮุ่ย

ระหว่างที่ซุนเคลื่อนไหวเพื่อสร้างกระแสการปฏิวัติจีนนั้น ในพื้นที่อื่น ๆ ของ
ประเทศจีนก็มีความเคลื่อนไหวจากคนกลุ่มต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน เพียงแต่กลุ่มอื่นนั้น
เป็นเป็นเพียงกลุ่มที่กระจุกแต่เพียงในพื้นที่นั้นๆมิได้มีการคิดการใหญ่ซึ่งครอบคลุม
ไปทั่วประเทศ และที่สำคัญไม่มีหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติที่แน่ชัด ดังเช่น ลัทธิ
ไตรราษฎร์ของ ซุน ยัตเซ็น

จนในเดือน สิงหาคม ปี ค.ศ. 1905 ก็มีการประกาศรวมกลุ่มผู้สนับสนุนการ
ปฏิวัติจีนที่ชื่อ สมาคมพันธมิตรปฏิวัติจีน ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดย "ถงเหมิงฮุ่ย" นี้มี
จุดมุ่งหมายในการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิง โดยยึดหลักการของลัทธิไตรราษฎร์ โดย
ศูนย์กลางของถงเหมิงฮุ่ยนั้น อยู่ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

จากกระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อราชสำนักชิงที่พุ่งขึ้นสูง ส่งผลให้
ภายในระยะเวลาแค่หนึ่งปี ถงเหมิงฮุ่ย รวบรวมสมาชิกได้มากกว่าหมื่นคน มีการเปิด
หนังสือพิมพ์เพื่อ ปลุกระดม และเผยแพร่ ลัทธิไตรราษฎร์ และที่สำคัญพยายาม
ลงมือกระทำการปฏิวัติต่อเนื่อง

16

จดหมายลายมือพร้อมตราประทับของซุน
ยัตเซ็น ในการก่อตั้งสมาคมถงเหมิงฮุ่ยในฮ่องกง

ที่มาภาพ https://1th.me/koPhJ

ภาพวาด ดร.ซุน ยัตเซ็น ขณะกล่าวปราศรัยท่ามกลางบรรดาเหล่านักปฏิวัติ
หลังจากที่ประชุมมีฉันทามติลงความเห็นให้จัดตั้งขบวนการถงเหมิงฮุย

ที่มาภาพ https://1th.me/AOsvB

17

การ
ปฏิวัติ
ซินไฮ่

18

เหตุการณ์ปฏิวัติซินไฮ่ (Xinhai Revolution) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม
ค.ศ.1911 อันเป็นการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิง และระบอบฮ่องเต้ของจีน

ดร.ซุนยัตเซน และคณะปฏิวัติถงเหมิงฮุ่ย
รวมตัวกันที่หน้าสุสานของจักรพรรดิราชวงศ์หมิง

ที่มาภาพ https://1th.me/bKM4K

โดยในเดือนธันวาคม ค.ศ.1911 ดร. ซุนยัตเซ็นได้รับการแต่งตั้งจากคณะปฏิวัติ
ให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี เฉพาะกาลคนแรกของจีน

ปฏิทินของสาธารณรัฐจีน มีรูปของ ดร.ซุนยัตเซน
ในฐานะประธานาธิบดีเฉพาะกาล และธงชาติของสาธารณรัฐจีน

ที่มาภาพ https://1th.me/bKM4K

19

ในที่สุดเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1912 การปฏิวัติซินไฮ่ประสบความสำเร็จ
ระบอบฮ่องเต้ของจีนที่ยาวนานกว่า 3,000 ปี ถึงกาลล่มสลาย พร้อมกับการ
สถาปนาสาธารณรัฐจีน (Republic of China) ปกครองแผ่นดินนับแต่นั้น หลังจาก
ซุน ยัตเซ็น ได้รับการตั้งแต่งให้นั่งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว ซึ่งต่อมาต้องพบ
ปัญหาหลายด้านรุมเร้า เช่น ภาวะการคลังของจีนที่ขาดดุลเรื้อรังมาตั้งแต่สมัย
ปกครองโดยราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะการต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามให้กับต่างชาติ
ตามสนธิสัญญาที่เรียกว่า Boxer Protocol, โครงสร้างในการปกครองที่ยังไม่ลงตัว
ฮ่องเต้จีนองค์สุดท้ายที่คงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังต้องห้าม และที่เป็นจุดอ่อนที่
สำคัญมากสำหรับรัฐบาลยุคที่ ดร.ซุน เป็นประธานาธิบดีคือ การขาดกำลังทหารซึ่ง
หมายถึงด่านหน้าของความมั่นคงของรัฐบาล

จนกระทั่งหลังสิ้นยุคของซูสีไทเฮา หยวนซื่อไข่ หรือ หยวนซื่อข่าย ผู้ที่ได้ชื่อ
ว่าเป็น "บิดาแห่งลัทธิขุนศึก" ก็ขึ้นมากุมกองกำลังทหารทั้งหมดของภาคเหนือ และ
ในเวลาต่อมาได้กดดันให้ ดร.ซุน ต้องยอมยกตำแหน่งประธานาธิบดีให้ โดยหลัง
จากลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราว ดร.ซุน หันไปทุ่มเทให้กับการศึกษาเพื่อ
พัฒนาเศรษฐกิจจีนแทน ในยุค หยวนซื่อไข่ อำนาจการการปกครองกลับอยู่ในมือ
คนเพียงคนเดียว แทนที่จะเป็นของประชาชนจีนทั้งมวล หยวน ไม่ยอมละทิ้งระบอบ
กษัตริย์โดยพยายามตั้งตัวเป็น "ฮ่องเต้" แต่แล้วก็ไปไม่รอด จนในปี 1916 หยวน
ซื่อไข่ เสียชีวิตลงด้วยโลหิตเป็นพิษ ประเทศจีนก็ย่างเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความ
วุ่นวายที่เรียกว่า "ยุคขุนศึกภาคเหนือ" อย่างเต็มตัว

หยวนซื่อข่าย ประธานาธิบดีคนแรกของจีน

ที่มาภาพ https://1th.me/bKM4K

20

ต่อมาในปี ค.ศ.1917 รัฐบาลเป่ยหยาง (รัฐบาลของสาธารณรัฐจีนในกรุง
ปักกิ่ง) เกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ก่อให้เกิดเป็นยุคสมัยขุนศึก
(Warlord Era) ยุคสมัยที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็นเสี่ยงๆ

แผนที่ของจีนในยุคสมัยขุนศึก โดยศูนย์กลางอำนาจของ ดร.ซุนยัตเซน
และก๊กมินตั๋ง อยู่ทางใต้ของจีน (สีน้ำเงิน)
ที่มาภาพ https://1th.me/bKM4K

หลังความล้มเหลวดังกล่าวทำให้ ดร. ซุน ผู้ซึ่งต่อสู้เพื่อการปฏิวัติมา 20 ปี
หมดกำลังใจ จนครั้งหนึ่งถึงกับรำพึงกับคนสนิทว่า "บางทียุคสาธารณรัฐ อาจจะ
ย่ำแย่กว่ายุคที่จีนปกครองด้วยระบอบกษัตริย์เสียด้วยซ้ำ"

อย่างไรก็ตามด้วยความมุ่งมั่นในการประกอบภารกิจที่ยังไม่สำเร็จ ดร.ซุน ยัง
พยายามโค่นเหล่าขุนศึกภาคเหนือต่อไป ในปี 1919 ดร.ซุนได้ร่วมก่อตั้ง "พรรค
ก๊กมินตั๋ง" ขึ้น (Kuomintang : พัฒนามาจากขบวนการถงเหมิงฮุ่ยเดิม) โดยมี
อำนาจอยู่ทางตอนใต้ของจีนซึ่งต่อมามีความร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ก่อ
ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1921)

ดร.ซุนยัตเซน และทหารของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง

ที่มาภาพ https://1th.me/bKM4K

21

ท้ายที่สุดในปี ค.ศ.1925 ดร. ซุนยัตเซ็นได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งตับ
โดยไม่ได้เห็นผลจากความพยายามมาชั่วชีวิตของเขา ผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเขา
ก็คือ เจียงไคเช็ค (Chiang Kai-shek) ซึ่งต่อมาเขาจะเป็นผู้ที่รวบรวมแผ่นดินจีนที่
แตกแยกจากยุคขุนศึกให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง

เจียงไคเช็ค ผู้สืบทอดอำนาจต่อจาก ดร.ซุนยัตเซน

ที่มาภาพ https://zhort.link/gLZ

ก่อนเสียชีวิต ดร.ซุนได้ทิ้งคำสั่งเสียไว้โดยมีใจความสำคัญว่า " จีนต้องการ
อิสระและความเท่าเทียมกันจากนานาชาติ ประสบการณ์ 40 ปีที่ผ่านมาของ
ข้าพเจ้า สอนข้าพเจ้าว่า ในการบรรลุเป้าหมายในการปฏิวัติ เราจะต้องปลุก
ประชาชนให้ตื่นขึ้นมา การปฏิวัติยังไม่เสร็จสิ้นขอให้สหายทั้งหลายของเราดำเนิน
การตามแผนการของข้าพเจ้าต่อไปเพื่อฟื้ นฟูบูรณะชาติของเราขึ้นมา"
(หมายเหตุ : คำสั่งเสียดังกล่าวบันทึกโดย วังจิงเว่ย คนสนิทของ ดร.ซุน ที่ต่อมา
ขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำของพรรคก๊กมินตั๋ง

22

หลังจากเสียชีวิต ศพของ ดร.ซุนยัดเซ็น ถูกนำไปตั้งไว้ชั่วคราวที่ วัดเมฆหยก
(ปี้ หยุนซื่อ) ตีนเขา เซียงซาน บริเวณเทือกเขาด้านตะวันตก ชานกรุงปักกิ่ง เพื่อ
รอเวลาในการสร้าง สุสานซุนจงซาน ที่หนานจิงให้เสร็จสิ้น (ทั้งนี้ "ซีซาน" อันเป็น
สถานที่ตั้งศพชั่วคราวของ ดร.ซุน ยัดเซ็น นี้ในเวลาต่อมาระหว่างการแย่งอำนาจ
ในพรรคก๊กมินตั๋ง สมาชิกก๊กมินตั๋งกลุ่มขวาเก่า ได้นำมาตั้งเป็นชื่อกลุ่มว่า "กลุ่ม
ซีซาน" เพื่อแสดงความใกล้ชิด และแสดงว่าตนเป็นทายาทของ ดร.ซุนที่แท้จริง)

ดร. ซุนยัตเซ็นกลายเป็นบุคคลสำคัญ ที่ชาวจีนทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(จีนแผ่นดินใหญ่) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ล้วนให้ความเคารพในฐานะบิดาผู้
สร้างชาติจีน มาจนถึงปัจจุบัน

中山陵สุสานซุนจงซาน ()

สถานที่ฝังศพของ ดร. ซุน ยัดเซ็น

ที่มาภาพ https://zhort.link/gLX

ปัจจุบัน สุสานซุนจงซาน มีขนาดใหญ่โตกว่า สุสานหมิง ที่อยู่ข้างๆอย่าง
เห็นได้ชัด โดยมีขนาดพื้นที่กว้างขวางถึง 8 หมื่นตารางเมตร โดยสุสานถูก
ออกแบบและสร้างให้เป็นทางเดินหินลาดขึ้นไปตามเนินเขาที่ยาวกว่า 323 เมตร
กว้าง 70 เมตรซึ่งยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน

23

บรรณานุกรม

China Xinhua News. (20 กันยายน 2564). รำลึก "ซุนยัดเซ็น" วีรบุรุษผู้พลิกแผ่นดินจีน.
เข้าถึงได้ จากfacebook.com: https://web.facebook.com /XinhuaNewsAgency.th
/posts /1885626471653366/

Histofun Deluxe. (20 กัยยายน 2564). ซุนยัตเซ็น : บิดาแห่งการปฏิวัติและชนชาติจีน.
เข้าถึงได้จาก blockdit.com: https://1th.me/bKM4K


wikipedia. (21 กันยายน 2564). ซุน ยัตเซ็น. เข้าถึงได้จาก wikipedia: https://bit.ly/3tY227s

มัณฑิรา. (2558). ซุน ยัตเซ็น. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
ยศไกร ส.ตันสกุล. (2562). SUN YAT-SEN. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
เสถียร จันทิมาธร. (2562). วิถีแห่งอำนาจ ซุนยัตเซ็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

24

จัดทำโดย

นางสาว อาริสา ธัญญะภู
6210121228006

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสังคมศึกษา
วิทยาลัยการฝึกหัดครู

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
อาจารย์ที่ปรึกษา

ผศ.ดร. วรรณพร บุญญาสถิตย์

E-book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประวัติศาสตาร์สากล
รหัสวิชา 1642314

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564


Click to View FlipBook Version