The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sirigam111, 2021-03-30 23:51:01

วิจัยในชั้นเรียน-ม.1

1

2




บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของแนวทางการจัดการศึกษาต้องยึด

หลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การจัดการ

ศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้

คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา และจัดการเรียนการ
สอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดี

งามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้

ว่าผู้เรียนต้องมีวินัย สามารถปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม
พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่

ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการ

ทำงาน โดยพฤติกรรมความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งต้อง
ปลูกฝังให้ผู้เรียนทุกคนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาประเทศในอนาคต โดยพฤติกรรมความรับผิดชอบจะ

ทำให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติการเป็นพลเมืองที่ดีทำให้สังคมเกิดความสงบสุข และส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

ต่อไป ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ การมี

วินัย ความรับผิดชอบ และความซื่อสัตย์
นักจิตวิทยาได้เสนอวิธีการปรับพฤติกรรมของนักเรียนโดยเน้นการให้รางวัลแทนการลงโทษ ซึ่งใช้

ทฤษฎีหลักการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับพฤติกรรมของมนุษย์ สกินเนอร์นักจิตวิทยาที่สนใจในการปรับ

พฤติกรรมมีความเชื่อว่า อินทรีย์เมื่อกระทำพฤติกรรมหนึ่งแล้วได้รับการเสริมแรง แนวโน้มที่จะกระทำ
พฤติกรรมนั้นบ่อยครั้งขึ้น แต่ถ้าพฤติกรรมนั้นไม่ได้รับการเสริมแรงพฤติกรรมนั้นจะมีความถี่ลดลงจนหายไป

นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการตอบสนองในพฤติกรรมที่พึงประสงค์จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนมากในระยะที่ได้รับ

การเสริมแรง (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2543 : 32) ทฤษฎีหลักการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับพฤติกรรมของมนุษย์
สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือการส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดของผู้เรียน โดยเมื่อผู้เรียน

สามารถแสดงพฤติกรรมตามข้อตกลงได้ ผู้เรียนจะได้แรงเสริมทางบวกจากครู ส่งผลให้ผู้เรียนอยากแสดง

พฤติกรรมเพิ่มมากขึ้น ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจที่ดีมากกว่าแรงเสริมทางลบหรือการถูกลงโทษ
จากการสังเกตในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย

ละคร นาง ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีพฤติกรรมขาดความร่วมมือในการทำงาน และขาด

3




ความรับผิดชอบในการทำงานในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา
เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบโดยใช้แรงเสริมทางบวก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

ปีการศึกษา 2563 ในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เพื่อให้ผู้เรียนมี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีคุณภาพและเป็นกำลัง

ในการขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาเจริญก้าวหน้าต่อไป


วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร

โดยการใช้แรงเสริมทางบวก ต่องานที่ได้รับมอบหมาย



สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร มีพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่

ได้รับมอบหมายสูงขึ้นหลังการใช้แรงเสริมทางบวก


ขอบเขตการวิจัย

1. ตัวแปรที่ศึกษา
1.1 ตัวแปรต้น

ตัวแปรต้นที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ ได้แก การใช้แรงเสริมทางบวก รายวิชานาฏศิลป์

ไทย ละคร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1.2 ตัวแปรตาม

ตัวแปรตามที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ ได้แก่ พฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ
มอบหมาย รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
รายวิชานาฏศิลป์ ละคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง

(Purposive Sampling)
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน

2563 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 รวมระยะเวลา 60 วัน

4




กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม




การใช้แรงเสริมทางบวก พฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ
มอบหมาย



นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การเสริมแรงทางบวก หมายถึง วิธีการปรับ พฤติกรรม โดยการใช้ดาวเป็นตัวเสริมแรงทางบวกแก่

พฤติกรรมเป้าหมายภายหลังจากที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย โดยมี
เกณฑ์การเสริมแรง ตามเงื่อนไขที่กำหนดได้แก่ คะแนน และของรางวัล

2. พฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง การที่นักเรียนแสดงพฤติกรรม

ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด และมีพฤติกรรมปรับปรุงแก้ไขงานใน รายวิชานาฏศิลป์
ซึ่งพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย จำแนกได้เป็น

2.1 พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน สังเกตได้จาก

2.1.1 จำนวนครั้งของการเข้าเรียน
2.1.2 การเข้าเรียนตรงเวลา


3.1.3 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่นปฏิบัติตามคำแนะนำของครู ซักถามรายละเอยด และข้อ
สงสัยในการทำงานที่ครูมอบหมายให้ เป็นต้น
2.2 พฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด หมายถึง การที่นักเรียนสามารถ

ปฏิบัติงานที่ครูมอบหมายได้และนำไปส่งครูตามเวลาที่เวลาที่ครูกำหนด
ื่
2.2.1 ทำงานที่ครูมอบหมายให้ทำอย่างต่อเนื่องจนงานนั้นสำเร็จ โดยไม่แสดงพฤติกรรมอน
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ส่งเสียงรบกวนเพื่อน เล่นโทรศัพท์ เป็นต้น

2.2.2 พฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด โดยนักเรียนสามารถ
ปฏิบัติงานที่ครูมอบหมายได้ และนำไปส่งครูตามเวลาที่ครูกำหนด


ประโยชน์ของการวิจัย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชานาฏศิลป์ไทย ละคร จำนวน 15 คน มีความรับผิดชอบต่องาน

ที่ได้รับมอบหมาย

2. ครูได้รูปแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน รายวิชานาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชานาฏศิลป์ไทย ละคร

3. วิทยาลัยฯได้รูปแบบในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่าง
บุคคลของนักเรียน

5




บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


การส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย

ละคร โดยการใช้แรงเสริมทางบวก ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อดังหัวข้อต่อไปนี้
1. การส่งเสริมพฤติกรรม

1.1 ความหมายของพฤติกรรม

1.2 ประเภทของพฤติกรรม
1.3 ความหมายของการส่งเสริมพฤติกรรม

1.4 ความหมายของการเสริมแรง

1.5 ประเภทของการเสริมแรง
2. ความรับผิดชอบ

2.1 ความหมายของความรับผิดชอบ
2.2 ความสำคัญของความรับผิดชอบ

2.3 ประเภทของความรับผิดชอบ

2.4 การวัดความรับผิดชอบ
3. การเสริมแรงทางบวก

3.1 ความหมายของการเสริมแรง
3.2 ลักษณะของการเสริมแรงทางบวก

4. งานวิจัยเกี่ยวข้อง

1. การส่งเสริมพฤติกรรม
1.1 ความหมายของพฤติกรรม

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (2543 : 3) กล่าวว่า พฤติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลซึ่งเป็นการ

แสดงออกในการตอบสนองหรือโต้ตอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสภาพการณ์ใด สภาพการณหนึ่งที่สามารถสังเกตเห็น

ได้ ได้ยิน นับได้ อีกทั้งวัดได้ตรงกันด้วยเครื่องมือที่เป็นวัตถุวิสัย ไม่ว่าการแสดงออกหรือการตอบสนองนั้น เกิด

ได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น ร้องไห้ การกิน การเต้นของหัวใจ การกระตุกของกล้ามเนื้อ
ธนัญญา ธีระอกนิษฐ์ (2555 : 5) กล่าวว่า พฤติกรรม หมายถึง อาการที่แสดงออกของ มนุษย์

ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าที่อยู่รอบตัว โดยจากการสังเกตหรือการใช้เครื่องมือช่วยวัดพฤติกรรม ซึ่งส่งผลต่อ

กระบวนการทางร่างกาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ.2542 (ม.ป.ป.) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรม ว่า

หมายถึง การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนอง สิ่งเร้า

6




ดังนั้น พฤติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่แสดงออกเพื่อตอบโต้ต่อสิ่งเร้าที่อยู่รอบตัว
สามารถสังเกตเห็นและใช้เครื่องมือวัดได้ โดยสามารถเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย



1.2 ประเภทของพฤติกรรม
1.2.1 พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) คือ การกระทาหรือปฏิกิริยาทางร่างกาย ที่ทั้งเจ้า

ตัวและบุคคลอื่นสามารถสังเกตผ่านอวัยวะรับสัมผัส/ประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น หรือ ผิวหนัง) หรือใช้

เครื่องมือทางวิทยาศาตร์ช่วยสังเกต ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับคำว่า “พฤติกรรม” ของนิยาม ณ ปัจจุบัน
1.2.2 พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล จะโดยรู้สึกตัว

หรือไม่รู้สึกตัวก็ตาม เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถสังเกตได้และไม่สามารถใช้เครื่องมือ วัดได้โดยตรง หาก
เจ้าของพฤติกรรมไม่บอก (บอกกล่าว เขียน หรือแสดงท่าทาง) ได้แก่ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ความจำ การ

รับรู้ ความฝัน รวมถึงการรับสัมผัสต่าง ๆ เช่น การได้ยิน การได้กลิ่น ความรู้สึกทางผิวหนัง เป็นต้น ทั้งนี้

พฤติกรรมภายในจำเป็นต้องอนุมานหรือคาดเดาผ่านพฤติกรรม ภายนอก โดยพฤติกรรมภายในมีความหมาย

สอดคล้องกับคำว่า “กระบวนการทางจิต/จิตลักษณะ”

1.3 ความหมายของการส่งเสริมพฤติกรรม
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2530 : 1) กลวิธีในการใช้พฤติกรรมนิยมในการศึกษามนุษย์ความหมาย

ของพฤติกรรมในที่นี้จะครอบคลุมการกระทํา การแสดงออกต่าง ๆ การคิด การจํา การรับรู้ การสัมผัส
ความรู้สึก อารมณ์โดยจะครอบคลุมพฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน สําหรับวิธีพฤติกรรมนิยมนั้น มุ่ง

ศึกษาพฤติกรรมภายนอกซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้

พรรณี ชูทัยเจนจิต (2538 : 323) กล่าวว่า การนำเทคนิคของการใช้คำพูดชมเชย และการให้
คะแนนมาใช้ในการปรับพฤติกรรมที่ต้องการ โดยการไม่ให้ความสนใจกับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา และให้

ความสนใจกับการแสดงพฤติกรรมที่ปรารถนา
ดังนั้น การส่งเสริมพฤติกรรม หมายถึง การใช้กลวิธีและเทคนิคต่าง ๆ ในการปรับพฤติกรรม

เพื่อให้ได้พฤติกรรมตามที่ต้อง เช่น เทคนิคการใช้คำพูดชมเชย การให้คะแนน เป็นต้น


1.4 ความหมายของการเสริมแรง

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (2543 : 33) กล่าวว่า การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ความถี่ของ
พฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามมาหลังพฤติกรรมนั้น ผลกรรมที่ทำให้พฤติกรรมมี


ความถี่เพิ่มขึ้นเรียกว่าตัวเสริมแรง ตัวเสริมแรงที่ใช้กันอยู่นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ด้วยกันคือ
1. ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นตัวเสริมแรงที่มีคุณสมบัติด้วยตัวของมันเอง เนื่องจาก สามารถ
ตอบสนองความต้องการทางชีวภาพของอินทรีย์ได้ หรือมีผลต่ออินทรีย์โดยตรง เช่น อาหาร น้ำ อากาศ ความ


ร้อน ความหนาว ความเจ็บปวด เป็นต้น

7




2. ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ เป็นตัวเสริมแรงที่ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาคุณสมบัติของการเป็น
ตัวเสริมแรง โดยการนำไปสัมพันธ์กับตัวเสริมแรง โดยการนำไปสัมพันธ์กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เช่น คำชมเชย

เงินหรือตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น

1.5 ประเภทของการเสริมแรง

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (2543 : 172-174) ประเภทของการเสริมแรงแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1. ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ เป็นตัวเสริมแรงที่กล่าวได้ว่ามีประสิทธิภาพกับเด็กมากที่สุด

เนื่องจากเป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบด้วยอาหาร ของที่เสพได้และสิ่งของต่าง ๆ เช่น ขนม บุหรี่ เหล้า ของเล่น

เสื้อผ้า น้ำหอม รถยนต์ เป็นต้น ในกรณีของวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ก็ใช้ได้ผลในบางกรณี เช่นกัน เช่น กรณีที่ซื้อ
ของขวัญให้คู่รักบ่อย ๆ หรือที่บริษัทต่าง ๆ ให้รางวัลพนักงานของตนที่ทำงานได้ดี เป็นต้น

2. ตัวเสริมแรงทางสังคม แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ เป็นคำพูดและเป็นการแสดงออกทาง
ท่าทาง ได้แก่ การชมเชย การยกย่อง การยิ้ม การเข้าใกล้ หรือการแตะตัวเป็นต้น ในชีวิตประจำวันของคนเรา

นั้นก็มีการให้ และการระงับการให้ตัวเสริมแรงทางสังคมกันอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น แม่กอดลูกเมื่อลูกแสดง

พฤติกรรมที่ตนพอใจ สามีกล่าวชมเชยภรรยาของตนเองเมื่อภรรยา ของตนแต่งตัวได้สวย หรือการที่ครูไม่ให้
ความสนใจต่อการที่นักเรียนโต้เถียง เป็นต้น เนื่องจากตัว เสริมแรงทางสังคมนั้นมีอยู่ในสภาพแวดล้อมตาม

ธรรมชาติ และค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพในการปรับ พฤติกรรมของบุคคล ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่มีการให้และ

ระงับการให้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก การแสดงออกที่เป็นภาษาท่าทาง เช่น การมองหรือการ
แสดงออกทางสีหน้าที่ไม่พึงพอใจ การแสดง ดังกล่าวย่อมมีผลต่อการแสดงออกของบุคคล ดังนั้นนักปรับ

พฤติกรรมจึงควรจะต้องระวังการ แสดงออกในลักษณะดังกล่าวนี้ด้วย

3. ตัวแรงเสริมที่เป็นกิจกรรม ตัวแรงเสริมในลักษณะนี้บางครั้งรู้จักกันในชื่อของหลักการ
ของพรีแม็ค (Premack Principle) ซึ่งกล่าวไว้ว่ากิจกรรมหรือพฤติกรรมที่มีความถี่สูง สามารถนำมาใช้

เสริมแรงต่อพฤติกรรมการนั่งอยู่กับที่อย่างเงียบ ๆ ในห้องเรียนของเด็กได้ (Homme et a., 1963) หรือการดู
ทีวีอาจจะใช้เป็นตัวเสริมแรง การทำการบ้านของเด็กได้ เป็นต้น Hartje (1973) ได้ทดลองใช้ กิจกรรมในวิชาที่

เด็กชอบเรียนมาเสริมแรงการทำกิจกรรมในวิชาที่เด็กไม่ชอบเรียน (ใช้กิจกรรมในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเด็กชอบมา

เสริมแรง เมื่อเด็กทำการบ้านในวิชาภาษาองกฤษเสร็จ) ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีมาก

4. ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร เบี้ยอรรถกรนั้นเป็นตัวเสริมแรงที่จะมีคุณค่าของการเป็นตัว
เสริมแรงได้ ต่อมาเมื่อสามารถนำไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่น ๆ ได้ตัวเสริมแรงที่นำไปแลกได้นั้นเรียกว่า ตัว
เสริมแรงสนับสนุน (Back-up Peinforcer) เบี้ยอรรถกรจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นถ้า สามารถนำไปแลกตัว

เสริมแรงอื่น ๆ ได้มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป เบี้ยอรรถกรนั้นมักจะอยู่ในรูปของเงิน เบี้ย แต้ม ดาว แสตมป์ หรือ

คูปอง เป็นต้น ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าเบี้ยอรรถกรนั้นจัดได้ว่าเป็นตัว เสริมแรงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดใน

การปรับพฤติกรรมของบุคคล
5. ตัวเสริมแรงภายใน ตัวเสริมแรงภายในนี้ครอบคลุมถึงความคิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความ

พึงพอใจ ความสุข หรือความภาคภูมใจ เป็นต้น ซึ่งตัวเสริมแรงภายในนี้จะอธิบายได้ว่าทำไมบุคคลหลายคนจึง

8




แสดงพฤติกรรมบางอย่าง เมื่อแสดงแล้วไม่เห็นจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นอย่างเด่นชัด เช่น การทำบุญ หรือ
การให้เงินแก่คนขอทาน เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าบุคคลกระทำไปเพราะเกิดความรู้สึกเป็นสุข

ใจที่ได้ทำหรือบางพฤติกรรม เช่น การปีนภูเขาสูง ๆ หรือการขับ รถด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสี่ยง
อันตราย แต่ผู้แสดงพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายนั้นอาจจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย ถ้าทำได้สำเร็จก็จะเกิดความ

ภาคภูมิใจ เป็นต้น ซึ่งความรู้สึกภายในดังกล่าวก็จัดได้ว่าเป็นตัวเสริมแรงต่อการแสดงพฤติกรรมนั่นเอง

2. ความรับผิดชอบ
2.1 ความหมายของความรับผิดชอบ

กองการวิจัยทางการศึกษา (2542) กล่าวว่า ความรับผิดชอบ หมายถึง ความสนใจที่ จะปฏิบัติ

หน้าที่ด้วยความพากเพียรพยามยาม ความผูกพัน ความละเอียดรอบคอบ ไม่หลีกเลี่ยง ตรงต่อเวลาและยอมรับ
ผลของการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งด้านผลดีและผลเสีย เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จต่อความมุ่งหมาย ทั้ง

พยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2530 : 25) กล่าวว่า ความรับผิดชอบ หมายถึง การ
มีความสำนึกและปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งเป็นภารกิจส่วนตัว ภารกิจที่ได้รับมอบหมายและภารกิจทางสังคม

โดยจะต้องกระทำจนบรรลุผลสำเร็จ ไม่หลีกเลี่ยงภาระดังกล่าวและยอมรับผลในการกระทำของตน

ถวิล จันทร์สว่าง (2545) กล่าวว่า ความรับผิดชอบ หมายถึง การกระทำตามหน้าที่ปฏิบัติตาม
กฎระเบียบการงานที่ได้รับมอบหมาย การทำตามที่ตนได้พูดหรือให้คำมั่นสัญญาไว้ และการยอมรับในสิ่งที่

ตนเองได้พูดหรือได้กระทำลงไป ทั้งในด้านที่เป็นผลดี และข้อบกพรองต่าง ๆ ทุกครั้ง
ศิรินันท์ วรรัตนกิจ (2545) กล่าวว่า ความรับผิดชอบ หมายถึง การที่บุคคลประพฤติ ปฏิบัติงาน

ต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจ เอาใจใส่ ระมัดระวังที่จะทำงาน และติดตามผลงานที่ทำไปแล้วเพื่อ ปรับปรุงแก้ไขให้
สำเร็จด้วยดี ยอมรับในสิ่งที่ตนเองกระทำลงไปทั้งด้านที่เป็นผลดี และผลเสีย อีกทั้ง ยังไม่ปัดหน้าที่ของตนให้แก่

ผู้อื่น

ดังนั้น ความรับผิดชอบ หมายถึง ความสนใจจะปฏิบัติหน้าที่หรือการงานที่ได้รับมอบหมาย ด้วย
ความตั้งใจและเอาใจใส่ เพื่อให้การทำงานนั้นสำเร็จไปตามเป้าหมาย มีความขยันหมั่นเพียร และอดทน โดยไม่

ย่อท้อต่ออุปสรรคต่าง ๆ ไม่ผลักภาระหน้าที่ของตนเองให้ผู้อื่นและติดตามผลงานที่ทำไปแล้ว เพื่อปรับปรุง

แก้ไขด้วยความเต็มใจ รวมทั้งยอมรับในการกระทำของตนเองทั้งผลดี และผลเสีย ดังนั้นหากนำคำว่าพฤติกรรม
และความรับผิดชอบมารวมกัน นั้นคือ พฤติกรรมความรับผิดชอบ จะมีความหมายว่า พฤติกรรมความ

รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย โดยการที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน พฤติกรรมการ

ทำงานเสร็จและส่งงานตามที่กำหนดในวิชานาฏศิลป์ ซึ่งพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
จำแนกได้ดังนี้

1. พฤติกรรมตั้งใจเรียนซึ่งสังเกตได้จาก
1.1 จำนวนครั้งของการเข้าเรียน

1.2 ซักถามรายละเอียดและข้อสงสัยในงานที่ครูมอบหมายให้ทำ

9




1.3 ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากครูอย่างต่อเนื่องจนงานนั้นสำเร็จ
2. พฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด


2.2 ความสำคัญของความรับผิดชอบ
จินตนา ธนวิบูลย์ชัย (2540) กล่าวว่า ความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะทางจริยธรรมที่สำคัญ

ประการหนึ่ง ผู้ที่มีความรับผิดชอบจะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วยความสงบสุข เพราะบุคคลแต่ละ
บุคคลย่อมต้องมีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องกระทำมากมาย ถ้าทุกคนในสังคมมีความ รับผิดชอบในบทบาทหน้าที่

ของตนเป็นอย่างดี แล้วก็ย่อมทำให้เกิดความสันติสุขและความ เจริญก้าวหน้าในชีวิต ในประเทศที่ความเจริญ

ทางเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนั้น ยิ่งต้องการ บุคลากรที่มีความรับผิดชอบอย่างยิ่ง ประเทศไทยเป็น
ประเทศหนึ่งที่ในปัจจุบันความเจริญทาง เทคโนโลยี ซึ่งเป็นการพัฒนาด้านวัตถุ ทั้ง ๆ ที่การพัฒนาทางด้าน

จริยธรรมนั้นมีความจำเป็นไม่น้อยกว่าความเจริญทางวัตถุ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมมากขึ้น
การให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านจิตใจนั้นจะพิจารณาได้ว่ายังไม่สามารถพัฒนาได้รวดเร็วดังเช่นการพฒนา

เทคโนโลยี ดังนั้น การพัฒนาจริยธรรมด้านความรับผิดชอบจึงมีความสำคัญมาก

ทองคูณ หงส์พันธุ์ (2535 : 122) กล่าวว่า บุคคลที่มีความรับผิดชอบ ได้รับความเชื่อถือและ
ไว้วางใจจากผู้อื่น การงานสําเร็จเรียบร้อยได้ผลดี เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง


ครบถ้วน เกิดความมั่นคงในสังคมและประเทศชาติ สังคมและประเทศชาติสามารถพฒนาไปสู่ความเจริญได้
รวดเร็ว ก่อให้เกิดความสะดวกสบายและร่มเย็นเป็นสุขเกิดขึ้นในสังคมและประเทศชาติ

ทิศนา แขมมณี และคณะ (2546 : 3) กล่าวว่า การที่บุคคลจะพึ่งตนเองได้นั้น บุคคลจะต้องเป็นผู้
ึ่
มีความรับผิดชอบในตนเอง หากบุคคลขาดความรับผิดชอบในตนเองแล้วก็จะขาดจิตสํานึกในการพงตนเอง
สุวารินทร์ โรจน์ขจรนภาลัย (2547 : 11) กล่าวว่า ความรับผิดชอบเป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นต้อง
ปลูกฝังหรือเสริมสร้างให้กับนักเรียน ทั้งนี้เพราะบุคคลที่มีความรับผิดชอบจะมีความเพียรพยายาม อดทน และ

ตั้งใจทํางานให้สําเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อเกิดความก้าวหน้าต่อตนเองและสังคม

ดังนั้น ความรับผิดชอบจึงเป็นพฤติกรรมที่มีความสำคัญกับบุคคล โดยเฉพาะบุคคลที่ต้องอาศัยอยู่
ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เพราะถ้าหากบุคคลรู้จักความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดีแล้ว สังคมจะเกิด
ความสงบสุข และนำพาประเทศไปสู่ความเจริญต่อไป



2.3 การวัดความรับผิดชอบ

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2542) กล่าวว่า ความรู้สึกรับผิดชอบเป็นจริยธรรมอย่างหนึ่งที่
ควรได้รับการปลูกฝังพัฒนาให้มีขึ้น ซึ่งการที่จะรู้ได้ว่าความรับผิดชอบเกิดขึ้นหรือไม่นั้น จะสามารถวัดได้

โดยการใช้วิธีการได้หลายรูปแบบ เพราะการที่จะวัดจริยธรรมให้ครอบคลุมชัดเจน แน่นอน ควรจะต้องจัด
ออกแบบเครื่องมือการวัดให้ได้ทั้ง 3 ส่วน คือ

10




1. ความรู้ในเนื้อหาทางจริยธรรม
2. ความรู้สึกเกี่ยวกับจริยธรรม

3. พฤติกรรมทางจริยธรรม
ณัฐภัทร ธรณี (2548) กล่าวว่า การวัดความรับผิดชอบเป็นการวัดด้านความรู้สึกหรืออารมณ์ เป็น

เรื่องที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน จึงทำให้การวัดพฤติกรรมทางด้านนี้กระทำได้ยาก ทั้งนี้เพราะการสร้าง

เครื่องมือที่จะใช้วัดพฤติกรรมดังกล่าว เราไม่แน่ใจว่าวัดได้ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ แต่นักจิตวิทยาและนัก
วัดผลการศึกษาก็ได้หาวิธีการ และสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพดีเพียงพอที่จะ กระตุ้นให้เห็นลักษณะที่แท้จริง

ของผู้ถูกวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้

ผกา สัตยธรรม (2544 : 6) แบ่งการวัดหรือการประเมินความรับผิดชอบออกเป็น 2 รูปแบบ

ได้แก
1. ภาคปฏิบัติ ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การถามผู้ที่เกี่ยวข้องจะ ได้ข้อมูล

ตรงจุดมากขึ้น แต่ต้องใช้เวลาเป็นการบันทึกพฤติกรรมการแสดงออก เพื่อติดตามผลแก้ไข พฤติกรรมนั้น
2. ภาคทฤษฎี เป็นการประเมินด้วยข้อทดสอบ หรือแบบสอบถาม ตามระดับ ความมากน้อย

ซึ่งอาจจะมีระดับตั้งแต่ดีมาก ดี ค่อนข้างดี พอใช้ ต้องแก้ไข และต้องปรับปรุงใหม่
ดังนั้น สรุปได้ว่า การวัดความรับผิดชอบสามารถใช้เครื่องมือวัดได้หลายประเภท ซึ่งจะต้อง

พิจารณาตามความหมาะสมและลักษณะของผู้ถูกประเมิน โดยเครื่องมือที่ใช้วัดความรับผิดชอบได้แก่

แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบบันทึก พฤติกรรม และแบบสัมภาษณ์ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้
เครื่องมือวัด คือ แบบบันทึกพฤติกรรมเพื่อบันทึกพฤติกรรมความรับผิดชอบในรายวิชานาฏศิลป์ ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่งแมลงวัน (จิราธิวัฒน์อุปถัมภ์)
3. การเสริมแรงทางบวก



3.1 ความหมายของการเสริมแรงทางบวก
จีระพงศ์ เพียรเจริญ (2549 : 19) กล่าวว่า การเสริมแรง คือ การทําให้ความถี่ของพฤติกรรม


เพิ่มขึ้น อันเป็นเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น ผลกรรมที่ทําให้พฤติกรรมมความถี่เพมขึ้น เรียกว่า
ิ่
ตัวเสริมแรง (Reinforcer) ตัวเสริมแรงที่ใช้กันอยู่นั่นแบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ

1. ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer) เป็นตัวเสริมแรงที่มีคุณสมบัติด้วยตัวมันเอง
เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการทางชีวภาพของอินทรีย์ได้ หรือมีผลต่ออินทรีย์โดยตรง เช่น อาหาร

น้ำ อากาศ
2. ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ (Secondary Reinforcer) เป็นตัวเสริมแรงที่ต้องผ่าน

กระบวนการพัฒนาคุณสมบัติของการเป็นตัวเสริมแรง โดยการนําไปสัมพันธ์กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เช่น คํา

ชมเชย เงิน หรือตําแหน่งหน้าที่

ทิพย์วรรณ จุลิรัชนีกร (2552 : 28) การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง
การเพิ่มความถี่ของพฤติกรรม เป็นเป้ามายอันเป็นผลเนื่องมาจากการได้รับสิ่งเร้าบางอย่างหลังจากที่บุคคล

11




แสดงพฤติกรรมเป้าหมายแล้ว การเสริมแรงทางบวกสามารถใช้ได้กับพฤติกรรมเกือบทุกประเภทและทุก

สภาพการณ์ เพียงแต่ผู้นําไปใช้จะต้องเลือกตัวเสริมแรงให้เหมาะสม
ดังนั้นสรุปได้ว่า การเสริมแรงทางบวก คือ การเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมต่าง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
เป็นผลมาจากผลของการได้รับสิ่งเร้าบางอย่าง โดยเรียกสิ่งเร้าบางอย่างนั้นว่า การเสริมแรง

3.2 ชนิดการเสริมแรงทางบวก

ตัวเสริมแรงทางบวกที่นํามาใช้ในการเสริมแรงทางบวกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ (สมโภชน์ เอี่ยม
สุภาษิต. 2524 : 37)

1. ตัวเสริมแรงที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (Primary or Unconditioned Reinforce) คือตัว

เสริมแรงที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเสริมแรงด้วยตนเอง เนื่องจากมีอิทธิพลต่ออินทรีย์โดยตรง เช่น อาหาร น้ำ อากาศ
ฯลฯ

2. ตัวเสริมแรงที่ต้องวางเงื่อนไข (Secondary or Conditioned Reinforce) คือตัวเสริมแรง

ที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นตัวเสริมแรงด้วยตัวมันเอง แต่เนื่องจากได้นําไปสัมพันธ์กับตัวเสริมแรงที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
หรือตัวเสริมแรงอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเสริมแรงอยู่แล้ว โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ จึงเป็นผลให้มี

คุณสมบัติเป็นตัวเสริมแรง เช่น คําชมเชม เงิน คะแนน ดาว ฯลฯ
4. งานวิจัยเกี่ยวข้อง



ศิวพร พฤกษชาติ (2548 : 68) เรื่อง ผลการใช้เทคนิคเบี้ยอรรถกรควบคู่กับเทคนิคการเสริมแรงทาง
สังคม เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบด้านการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า 1)

นักเรียนที่ได้รับเทคนิคเบี้ยอรรถกรควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาความรับผิดชอบ

ด้านการเรียน โดยรวมด้านการเข้าเรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมายในเวลาเรียน และด้านการส่งงานในระยะ
ปรับพฤติกรรมสูงกว่าระยะเส้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 2) นักเรียนที่ได้รับเทคนิคเบี้ยอรรถกร

ควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาความรับผิดชอบด้านการเรียน โดยรวมด้านการเข้า
เรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมายในเวลาเรียน และด้านการส่งงาน ในระยะปรับพฤติกรรมสูงกว่าระยะติดตาม

ผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5

ลักษณา กฤษณา (2524 : 64) เรื่อง ผลของระบบการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรต่อการถาม-ตอบ
คำถาม และการทำการบ้านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมปีที่ห้า ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมถาม-

ตอบคำถามและทำการบ้านของผู้รับการทดลองทั้ง 4 คนเพิ่มขึ้นในระยะที่ให้ การเสริมแรง แสดงว่าการใช้

ระบบการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรช่วยเพิ่มพฤติกรรมถาม-ตอบคำถาม และทำการบ้านของผู้รับการทดลองได้
ฐานิตา ฦาชา (2553 : 71) เรื่อง ผลของการใช้เบี้ยอรรถกรควบคู่การเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อ

พฤติกรรมการรับประทานผักและผลไม้ของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการ
เสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคม มีพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้มากขึ้น 2)

นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคมหลังการทดลอง มี

คะแนนการรับประทานผักและผลไม้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทระดับ 0.5
ี่

12




วันดี จูเปี่ยม (2554 : 2) เรื่อง การศึกษาผลของการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อ
พฤติกรรมความรับผิดชอบในการทางานที่ได้รับมอบหมาย ในรายวิชาการบรรจุภัณฑ์อาหารของ นักเรียน

ระดับชั้นประถมศึกษาปี 3/5 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3/5 มีพฤติกรรมความ
รับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายใน รายวิชาการบรรจุภัณฑ์อาหารมากขึ้นหลังการใช้แรงเสริม

ทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกร และมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายสูงกว่าร้อยละ 70 ซึ่ง

เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
อารดา เรืองอ่อน (2560 : 28) เรื่อง ผลของการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อพฤติกรรม

ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ผลการวิจัย

พบว่า จากนักศึกษา 14 คนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายก่อนได้รับ
แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรเท่ากับ 45.67 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.83 ค่าเฉลี่ยของ

คะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบ ต่องานที่ได้รับมอบหมายหลังได้รับแรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรเท่ากับ

75.26 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.43 และ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความ
รับผิดชอบ ต่องานที่ได้รับมอบหมายก่อนและหลัง ได้รับแรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกร พบว่าหลังได้รับแรง

เสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรนักเรียนมี คะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย สูงกว่า
ก่อนได้รับแรงเสริมทางบวกด้วย เบี้ยอรรถกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

13




บทที่ 3

วิธีการดำเนินการวิจัย

การส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบ โดยการใช้แรงเสริมทางบวก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร โดยการใช้แรงเสริมทางบวก ต่องานที่ได้รับมอบหมาย โดยมี
วิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้


กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา

นาฏศิลป์ไทย ละคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling)



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ และแบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

ของนักเรียน


การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ

1. แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายของนักเรียน

1.1 แบบสังเกตพฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน
1) ศึกษาหนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตและบันทึกพฤติกรรม

2) จัดทำแบบสังเกตพฤติกรรมและบันทึกผลความตั้งใจในการเรียนเป็นแบบสังเกต พฤติกรรม
ตามที่เกิดขึ้นในการเรียนวิชานาฏศิลป์ ในขณะที่ปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย

3) นำแบบสังเกตพฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน ไปทดลองใช้จริง และหาข้อบกพร่อง

4) แก้ไขแบบสังเกตพฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน ตามข้อบกพร่อง
1.2 แบบสังเกตพฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งตามกำหนด

1) ศึกษาหนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตและบันทึกพฤติกรรม
2) จัดทำแบบสังเกตพฤติกรรมและบันทึกผลความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งตามกำหนดเป็น

แบบสังเกตพฤติกรรม ตามที่เกิดขึ้นในการเรียนวิชานาฏศิลป์ ในขณะที่ปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย

3) นำแบบสังเกตพฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งตามกำหนด ไปทดลองใช้จริง และ
หาข้อบกพร่อง

4) แก้ไขแบบสังเกตพฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งตามกำหนด ตามข้อบกพร่อง

14




วิธีการดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1. ช่วงก่อนการทดลอง
1.1 สำรวจปัญหา และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยคัดเลือกจากนักเรียนที่มีปัญหาด้านความ

รับผิดชอบบ่อยครั้ง

2. ช่วงทดลอง
2.1 แจ้งให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่า ผู้วิจัยมีความต้องการที่จะส่งเสริมพฤติกรรมความ

รับผิดชอบ ซึ่งความรับชอบมีความสำคัญในการเรียนและการทำงานในปัจจุบัน ถ้านักเรียนสามารถปฏิบัติตาม


เกณฑ์ทกำหนดไว้จะได้รับคะแนน และรางวัล โดยมีรายละเอยดดังนี้
ี่
2.1.1 พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน
- จำนวนครั้งของการเข้าเรียน

- การเข้าเรียนตรงเวลา
- การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น ปฏิบัติตามคำแนะนำของครู เป็นต้น

2.1.2 พฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด
- ทำงานที่ครูมอบหมายให้ทำอย่างต่อเนื่องจนงานนั้นสำเร็จ โดยไม่แสดง พฤติกรรม

อื่น โดยไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ส่งเสียงรบกวนเพื่อน เป็นต้น

- พฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด โดยนักเรียน สามารถ
ทำงานที่ครูมอบหมายได้และนำไปส่งครูตามเวลากำหนด

2.2 อธิบายเกณฑ์ให้นักเรียนทราบว่าพฤติกรรมความรับผิดชอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน และพฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด หากนักเรียน

สารมารถปฏิบัติตามเกณฑ์ จะได้รับคะแนนบวกเพิ่มตามที่กำหนด

2.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ พร้อมทั้งมอบหมายภาระงาน
กำหนดเวลาเวลาการส่งงานและให้นักเรียนเริ่มปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้

2.4 ขณะทำการทดลอง ผู้วิจัยจะสังเกตพฤติกรรมความตั้งใจในการเรียนของนักเรียน

2.5 นำผลคะแนนบันทึกพฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน และพฤติกรรมการทำงานเสร็จ
และส่งงานตามเวลาที่กำหนด มาคิดเป็นร้อยละ แล้วนำคะแนนร้อยละทั้ง 2 ส่วนมารวมกันแล้วหาร 2 จะได้ผล

ของพฤติกรรมความรับผิดชอบ
3. ระยะหลังการทดลอง

เป็นการนําผลการทดลองมาพิจารณา หากมีข้อบกพร่อง ผู้วิจัยจะได้หาแนวทางแก้ไขและ

ปรับปรุงต่อไป

15




การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการบันทึกพฤติกรรมความตั้งใจในการเรียนที่ได้รับมอบหมาย พฤติกรรม

ความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนดในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ตลอดระยะช่วงการทดลอง คือ ช่วง
ก่อนการทดลอง ช่วงระหว่างทดลอง ช่วงหลังการทดลอง



การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้มีการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ การคิดคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ

มอบหมายที่ได้รับมอบหมาย คำนวณจากการรวมคะแนนร้อยละของทั้ง 2 พฤติกรรมย่อย (พฤติกรรมความ

ตั้งใจ ในการเรียนพฤติกรรมการทำงานเสร็จและส่งงานตามเวลาที่กำหนด) หารด้วย 2 จะได้คะแนนพฤติกรรม
ความรับผิดชอบในแต่ละครั้ง ดังนี้



พฤติกรรม = พฤติกรรมตั้งใจเรียน + พฤติกรรมความตั้งใจทำงานให้เสร็จและส่งงานตามกำหนด
2


สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าร้อยละ

16




บทที่ 4

วิธีการดำเนินการวิจัย

จากการวิจัยการส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบ โดยการใช้แรงเสริมทางบวก ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร จำนวน 15 คน มีดังนี้


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายของนักเรียนโดย

พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งได้มาจากการคำนวณจาก
การรวมคะแนนร้อยละของทั้ง 2 พฤติกรรมย่อย (พฤติกรรมความตั้งใจในการทำงาน พฤติกรรมการทำงาน
เสร็จและส่งงานตามเวลาที่กำหนด) แล้วหารด้วย 2 ในการเสนอผล


โดยในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่าการใช้แรงเสริมทางบวก มีผลต่อพฤติกรรมความ
รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง ของนักเรียนหรือไม่ โดยทำการทดลอง

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 คน ในวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

ตารางที่ 1 พฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา
นาฏศิลป์ไทย ละคร จำนวน 15 คน



ร้อยละของพฤติกรรม คะแนนพฤติกรรมความ
ร้อยละของ
เลขที่ ความตั้งใจทำงานให้เสร็จ รับผิดชอบต่องานที่ได้รับ
พฤติกรรมตั้งใจเรียน
และส่งงานตามกำหนด มอบหมายที่ได้รับมอบหมาย
1 75.00 87.50 81.25

2 66.67 37.50 52.09

3 66.67 50.00 58.34

4 62.50 62.50 62.50
5 79.17 75.00 77.09

6 92.53 87.50 90.02

7 79.17 62.50 70.84
8 79.17 75.00 77.09

9 66.67 50.00 58.34

10 62.50 62.50 62.50
11 79.17 75.00 77.09

12 92.53 87.50 90.02

17




13 92.53 87.50 90.02
14 79.17 62.50 70.84

15 79.17 75.00 77.09


จากตารางที่ 1 เมื่อพิจารณาผลรวมคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายของ

ประชากรกลุ่มเป้าหมายพบว่า ทุกคนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายสูงกว่า

ร้อยละ 50 แสดงว่านักเรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายอยู่ในระดับสูง และแสดงว่า
นักเรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายในรายนาฏศิลป์ไทย ละคร

18




บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


จากการวิจัยการส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบ โดยการใช้แรงเสริมทางบวก ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร ซึ่งสามารถสรุป อภิปรายผลและมีข้อเสนอแนะดังนี้
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย

ละคร โดยการใช้แรงเสริมทางบวก ต่องานที่ได้รับมอบหมาย
สมมติฐานการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร มีพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่

ได้รับมอบหมายสูงขึ้นหลังการใช้แรงเสริมทางบวก


สรุปผลการวิจัย
หลังได้รับแรงเสริมทางบวกด้วยการให้คะแนนและของรางวัล นักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมความ

รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายสูงกว่าก่อนได้รับแรงเสริมทางบวก


การอภิปรายผล

เมื่อพิจารณาผลรวมคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายของประชากร
กลุ่มเป้าหมายพบว่า ทุกคนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายสูงกว่าร้อยละ 50

แสดงว่านักเรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายอยู่ในระดับสูง และแสดงว่านักเรียนมี

พฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง มากขึ้นหลังการใช้แรง
เสริมทางบวก นอกจากนี้มีการกำหนดให้ส่งงานอย่างชัดเจน มีการติดตามการทำงานของนักเรียนเป็นระยะ

อย่างต่อเนื่อง เมื่อนักเรียนนำงานมาส่งครูจะตรวจสอบความถูกต้องของ ท่ารำ คำตอบ และชี้แจงข้อบกพร่อง

ในการทำงานให้นักเรียนทราบเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพดีขึ้นใน
ครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังมีการให้แรงเสริมทางบวกด้วยการชื่นชมในเบื้องต้นเมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมความตั้งใจ

ในการทำงาน ทำงานเสร็จและส่งงานตามกำหนด และจะให้แรงเสริมทางบวกทันทีเมื่อนักเรียนมีคะแนนความ
ตั้งใจในการทำงาน คะแนนของพฤติกรรมการทำงานเสร็จและส่งงานตามกำหนดครบตามเกณฑ์ทครูกำหนด
ี่
ด้านการส่งงาน ในระยะปรับพฤติกรรมสูงกว่าระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5

นอกจากนี้ลักษณา กฤษณา (2524 : 64) เรื่อง ผลของระบบการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรต่อการถาม-ตอบ
คำถาม และการทำการบ้านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมปีที่5 ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมถาม-

ตอบคำถามและทำการบ้านของผู้รับการทดลองทั้ง 4 คนเพิ่มขึ้นในระยะที่ให้การเสริมแรง แสดงว่าการใช้ระบบ
การเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรช่วยเพิ่มพฤติกรรมถาม-ตอบคำถาม และทำการบ้านของผู้รับการทดลองได้

19




รวมถึงฐานิตา ฦาชา (2553 : 71) เรื่อง ผลของการใช้เบี้ยอรรถกรควบคู่การเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรม
การรับประทานผักและผลไม้ของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเสริมแรงด้วย

เบี้ยอรรถกรควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคม มีพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้มากขึ้น 2) นักเรียนกลุ่ม
ทดลองที่ได้รับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคมหลังการทดลอง มีคะแนนการ

รับประทานผักและผลไม้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 อีกทั้งวันดี จูเปี่ยม (2554 : 2) เรื่อง

การศึกษาผลของการใช้แรงเสริมทางบวกมีต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทางานที่ได้รับมอบหมาย ใน
รายวิชาการบรรจุภัณฑ์อาหารของ นักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปี 3/5 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 3/5 มีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายใน รายวิชาการบรรจุภัณฑ์

อาหารมากขึ้นหลังการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกร และมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทางานที่
ได้รับมอบหมายสูงกว่าร้อยละ 70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และอารดา เรืองอ่อน (2560 : 28) เรื่อง ผลของ

การใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายของ

นักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ผลการวิจัยพบว่า จากนักศึกษา 14 คนมีค่าเฉลี่ยของ
คะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายก่อนได้รับแรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรเท่ากับ

45.67 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.83 ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบ ต่องานที่
ได้รับมอบหมายหลังได้รับแรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรเท่ากับ 75.26 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.43

และ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบ ต่องานที่ได้รับมอบหมายก่อนและ

หลัง ได้รับแรงเสริมทางบวก พบว่าหลังได้รับแรงเสริมทางบวกนักเรียนมี คะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อ
งานที่ได้รับมอบหมาย สูงกว่าก่อนได้รับแรงเสริมทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้แรงเสริมทางบวกมีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการ
ทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง ของนักเรียนเพราะแรงเสริมทางบวกสามารถใช้

เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมเป้าหมายกับตัวเสริมแรงอื่น ๆ เช่น เชื่อมโยงกับอาหารที่เด็กชอบหรือ

กิจกรรมที่เด็กสนใจ เป็นต้น และสามารถให้ได้ทันทีหลังจากพฤติกรรมเกิดขึ้น ไม่ขัดขวางกิจกรรมที่กำลัง
ดำเนินอยู่และใช้ได้กับทุกคนรวมทั้งการทดลองกับกลุ่มใหญ่ ๆ แม้ว่าแต่ละคนจะชอบต่างกันก็ตาม และช่วย

ปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายในภายภาคหน้าถึงแม้ไม่ได้รับแรง

เสริมทางบวกแล้วก็ตาม

20




ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยในตัวแปรอื่น ๆ เช่น เจตคติในการ

เรียนวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง ความคงทนของพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายในระยะ
ยาว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ไทย เป็นต้น

2. ควรชี้แจงให้นักเรียนทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีพฤติกรรมความรับผิดชอบ

ต่องานที่ได้รับมอบหมาย และรู้จักหน้าที่ของตนเองโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
3. ควรศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการใช้แรงเสริมทางบวกที่มีต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบ

ต่องานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ละครนาง กับรายวิชาต่าง ๆ

21




บรรณานุกรม


กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :

กระทรวงศึกษาธิการ, 2551.


สมโภชน์. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2543.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 . กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษา

แห่งชาติ, 2545.
อารดา. ผลของการใช้แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ

มอบหมายของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.). ประกาศนียบัตร

บัณฑิต ป.บัณฑิต (วิชาชีพครู). กระบี่ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก, 2560.

ั่
ธนัญญา ธีระอกนิษฐ์. พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. อุดรธานี : สำนักวิชาศึกษาทวไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2555.

2542. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. 9 กันยายน 2563. ราชบัณฑตยสถาน :
www.rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. การปรับพฤติกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โครงการส่งเสริมการแต่งตํารา
ทบวงมหาวิทยาลัย, 2530.

2542. ความรับผิดชอบ. 10 กันยายน 2563. กองการวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ :
http://www.rtc.ac.th.

ถวิล จันทร์สว่าง. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความรับผิดชอบของ นักเรียนใน

โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการ
ศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545.

ศิรินันท์ วรรัตนกิจ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความรับผิดชอบต่อ ตนเองและ
ี่
ส่วนรวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท 3 โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์ คา
โนนิคอล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545.
จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. คุณสมบัติในการวัดและคุณภาพของมาตราวัดเจตคติเชิงจริยธรรมด้าน

ความรับผิดชอบที่สร้างขึ้นโดยประยกต์วิธีการของธอนไดค์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.

(จิตวิทยาการศึกษา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
2540.

22




ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น, 2538.
ณัฐภัทร ธรณี. การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนขยาย

โอกาสทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัย และ
สถิติทางการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

2548.

ี่
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. วิทยากรกับการปลูกฝังและสร้างค่านิยม (พิมพ์ครั้งท 2).
กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว, 2530.

สุวารินทร์ โรจน์ขจรนภาลัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาร

สาส์นพิทยา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา) กรุงเทพ ฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2547.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :

เสริมสนิ พรีเพรสซิสเท็ม, 2546.
ผกา สัตยธรรม. คุณธรรมของครู. กรุงเทพ ฯ : สํานักพิมพจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, 2544.

นภาพร ปรีชามารถ. จิตวิทยาการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สํานักพมพ์แว่น

แก้ว, 2545.

โสภิดา ลิ้มวัฒนาพันธ์. การเปรียบเทียบผลของการปรับพฤติกรรมโดยใช้การควบคุมตนเองกับ

การเสริมแรงทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อการเพิ่มและการคงอยู่ของพฤติกรรมความ

รับผิดชอบในงานทไี่ด้รับมอบหมายของนักศึกษาวทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ชั้นปีที่ 1. ปริญญา
นิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.

วันดี จูเปี่ยม. ผลของการใช้แรงเสริทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรที่มี ต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบใน

การทำงานที่ได้รับมอบหมาย. ในรายวิชาการบรรจุภัณฑ์อาหารของนักเรียน ระดับชั้น
ประถมศึกษาปี 3/5. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.

ลักษณา กฤษณา. ผลของระบบการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรต่อการถาม-ตอบคำถาม และการทำ
การบ้านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมปีที่ห้า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 2524.
ศิวพร พฤกษชาติ. ผลการใช้เทคนิคเบี้ยอรรถกรควบคู่กับเทคนิคการเสริมแรงทางสังคม เพื่อพัฒนา

ี่
ความรับผิดชอบด้านการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท 4. ปริญญานิพนธ์.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548
ฐานิตา ฦาชา. ผลของการใช้เบี้ยอรรถกรควบคู่การเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการ รับประทาน

ผักและผลไม้ของเด็กปฐมวย. วิทยานิพนธ์. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.


23




สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. การปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย,
2524.

จีระพงศ์ เพียรเจริญ. การลดพฤติกรรมการลุกออกจากที่ในชั้นเรียนของเด็กออทิสติก โดยวิธีการ
เสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรร่วมกับการปรับสินไหม. สารนิพนธ์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.

หัสดิน แก้ววิชิต. พฤติกรรมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. อุดรธานี : สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2559.

ทิพย์วรรณ จุลิรัชนีกร. ผลของการใช้เทคนิคการชี้แนะทางวาจาควบคู่กับการเสริมแรงทางบวกที่ม ี

ต่อ พฤติกรรม การเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท 1. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.
ี่
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2552.

24




























ภาคผนวก

25




แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชานาฏศิลป์ไทย ละคร

ครั้งที่.........วันที่..........................................ผู้สังเกต.................................................................................


ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน
เรียน มีส่วนร่วมในชั้นเรียน
เลขท ี่ ชื่อ-สกุล เข้า ตรง ทำงานเสร็จ ส่งงานตาม รวม
เรียน 1 2 3 4 5 6 7 8 กำหนด
เวลา
1

2
3

4

5
6

7

8
9

10

11
12

13

14
15

26

27

28

29


Click to View FlipBook Version