The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เนื้อหาวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ E-BOOK

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nuttira12aum, 2022-09-04 10:45:36

วิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เนื้อหาวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ E-BOOK

146

สำหรบั คุณสมบตั ิอ่ืนๆ ของไอซีเร็กกูเลเตอร์ เบอร์ 78xx และ 79xx ท่จี ะใช้อธิบายในหนังสือเล่มน้ีจะ
ยกตัวอยา่ งเฉพาะ MC7800 และ MC7900 เพื่อเปรยี บเทียบกนั เทา่ น้ัน สำหรับอนกุ รมอนื่ ๆ ควรศกึ ษาเพิ่มเติม
จากคมู่ อื ของบริษัทผู้ผลิตนั้น ๆ

2. ไอ.ซ.ี คมุ ค่าแรงดนั แบบปรับได้
ไอ.ซี.คุมค่าแรงดันแบบปรับได้ (Adjustable Voltage Regulated ICs) ในบทเรียนนี้จะ
นำเสนอ 2 ชนดิ ทีส่ ำคญั และเปน็ ท่ีนิยมใช้กนั มากที่สดุ คอื ไอซีเบอร์ LM317 และ LM337 และไอซเี บอร์ 723
2.1 ไอ.ซ.ี เบอร์ 317 และ 337
ไอ.ซี.เร็กกูเลเตอร์ชนิดปรับค่าแรงดันเอาต์พุตได้ มีชื่อว่า Three-Terminal Adjustable
Output Voltage แบ่งออกเป็น 2 เบอร์ คือ (1) LM317 เร็กกูเลเตอร์แรงดันเอาต์พุตบวก และ (2) LM337
เร็กกูเลเตอร์แรงดันเอาต์พุตลบเช่นเดียวกับไอ.ซี.เร็กกูเลอตอร์78xx และ 79xx คือมีบริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท
ผลิตและให้ตัวอักษรกำกับที่แตกต่างกัน แต่ยังคงใช้เบอร์ 317 สำหรับไอ.ซี.เร็กกูเลเตอร์ที่ปรับค่าแรงดันบวก
และใช้เบอร์ 337 สำหรับไอ.ซี.เร็กกเู ลเตอร์แรงดันลบ ลักษณะตวั ถังที่บรรจุไอ.ซี.อนุกรม LM337 และLM337
นี้จะมีตัวถังเหมือนกันในหนงั สือเล่มนี้จะยกตวั อย่างเบอร์ LM317M และ LM337M เนื่องจากของบริษทั อื่นๆ
ก็ไม่แตกต่างกันโดยไอซี LM 317 และ LM337 นี้จะมีขนาดกระแสเอาต์พุตที่แตกต่างกันอยู่ 3 ขนาดคือ 500
mA, 1.0 A และ 1.5 A ทำให้ลักษณะขนาดตวั ถงั แตกต่างกันออกไป สำหรบั ในรูปที่ 5.15

รปู ที่ 5.15 การจัดวางขา LM317/ LM337
ที่มา : วิชา อปุ กรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ บทท่ี 7 รหสั วิชา 2104 – 2205 (g-tech.ac.th)

คุณสมบัติที่สำคัญของไอซี LM317M และ LM337M
1 . ไ อ ซ ี LM3 1 7 M ช ื ่ อ เ ต ็ ม ว่ า 3 - Terminal Adjustable Output Positive Voltage

Regulator จ่ายกระแสเอาต์พุตได้ไม่เกิน 500mA ให้แรงดันเอาต์พุตต่ำาสุด +1.2 V และสูงสุด+37 V โดยใช้
อุปกรณ์ภายนอกเพียงความต้านทานปรับค่าได้ 1 ตัว เพื่อปรับแรงดันเอาต์พุต (ไม่นับ C ที่ต่ออินพุตและ
เอาต์พุต) ภายในไอซีมีวงจรป้องกันอุณหภูมิ และป้องกันกระแสลัดวงจรสำหรับอนุกรม LM317 จะมีย่าน
อณุ หภมู ิใช้งานท่ีตา่ งกนั ดังนี้

1. เบอร์ LM317MT อุณหภมู ิระหว่าง 0º C ถงึ +125º C

147

2. เบอร์ LM317MBT อุณหภมู ริ ะหว่าง -40º C ถึง +125º C
3. เบอร์ LM317MDT อุณหภมู ริ ะหว่าง 0º C ถงึ 125º C

2. ไอ.ซี. LM337M ชื่อเต็มว่า 3-Terminal Adjustable Output Negative Voltage
Regulator จา่ ยกระแสออกได้ไมเ่ กิน 500mA ทแ่ี รงดันเอาตพ์ ุตต่ำสุด -37 V และสงู สดุ -1.2 V มวี งจรป้องกัน
อณุ หภูมแิ ละโหลดเกนิ มกี ารปอ้ งกันการลัดวงจรภายในและย่านการทำงานที่อุณหภมู ิท่แี ตกต่างกนั ดงั น้ี

1. เบอร์ LM337MT ทำงานในย่าน 0º C ถึง 125º C
2. เบอร์ LM337MBT ทำงานในย่าน -40º C ถงึ +125º C
5.1.3 การอ่านคูม่ ือไอซเี รก็ กเู ลเตอร์
ตารางท่ี 5.4 เบอรไ์ อซเี ร็กกูเลเตอร์

เบอร์ คา่ แรงดนั เบอร์ ค่าแรงดัน
7805 +5V 7905 -5V
7809 +9V 7909 -9V
7812 +12V 7912 -12V
7815 +15V 7915 -15V
7818 +18V 7918 -18V
7824 +24V 7924 -24V
จากตาราง การเลือกซื้อไอซีเร็กกูเลเตอร์ให้ตรงกับการใช้งานนั้นหสำหรับเบอร์ 78xx และ 79xx จะ
ตัวจากตัวเลข 2 ตวั ทา้ ย ดังในตาราง เฃน่ 7805 ค่าแรงดันเอาต์พุตจะออกท่ี +5V เปน็ ตน้

5.1.4 การประยกุ ตใ์ ช้ไอซีเร็กกเู ลเตอร์
1. วงจรเร็กกเู ลเตอร์ +15 V 1 A
การทำงานของวงจร วงจรเร็กกเู ลเตอรข์ นาด +15 V 1.0 A อินพุตใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแบบมีแทปกลาง
ลดแรงดัน 220V: 24-0-24 และใช้วงจรไดโอดเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นเบอร์ 1N5402 ใช้ตัวเก็บประจุกรอง
แรงดันให้เรียบด้วย C=200µF ที่เอาต์พุตใช้ไอซีเร็กกูเลเตอร์เบอร์ MC7815 เป็นตัวคุมค่าแรงดันเอาต์พุตให้
เรียบและมีคําคงท่ีท่ี +15V และจ่ายกระแสเอาต์พุตให้กบั โหลดได้ 1.0 A ตามคาํ พกิ ัดท่ีบริษัทผู้ผลิตกำหนดดัง
รปู ท่ี 5.16

148

รปู ที่ 5.16 วงจรเรก็ กูเลเตอร์ขนาด +15 V 1.0 A ที่ใช๎ไอซี MC7815
2. วงจรเร็กกูเลเตอร์ +15 V 1 A
ลักษณะของวงจร วงจรเร็กกูเลเตอร์ ±15 V คือแหล่งจ่ายไฟตรงทใี่ หเ้ อาต์พุตแรงดนั 2 ค่า จ่ายกระแส
ได้ 0.5 A หรอื มากกว่า ขน้ึ อยู่กบั การเชอื กใชไ้ อซีเร็กกเู ลเตอร์ โดยใช้ไอซี MC7815 สำหรับ +15 V และใช้ไอซี
เบอร์ MC7915 สำหรับ -15 V เหมาะทีจ่ ะนำไปใช้ในห้องทดลองหรือสำหรับจ่ายไบแอสให้กับวงจรออปแอมป์
ดังแสดงในรูปที่ 5.17

รปู ที่ 5.17 วงจรเรก็ กเู ลเตอร์ ±15 V 1.0 A ใช้ไอซีเร็กกูเลเตอรเ์ บอร์ MC7815/MC7915
การทำงานของวงจร หม้อแปลงในวงจร T1 ใช้ขนาด 220 V/12 V-0-12 V, 1.0 A แต่ต่อผ่านวงจร
เรยี งกระแสแบบบริดจ์ใช้ D1 – D4 เบอร์ 1N4001 ให้ไดแ้ รงดนั ± โดยจดุ กง่ึ กลางของหม้อแปลง คือ GND C1
คอื ตวั กรองแรงดันด้านบวกก่อนป้อนเข้า IC1, ทำหนา้ ท่หี อ้ งกัน IC1 และไดโอด D7–D8 ทำหนา้ ที่ปอ้ งกัน IC2

149
ที่เอาต์พุตจะได้แรงดันคงที่ +15 V เมื่อเทียบกับ GND หากต้องการแรงดัน ±12 V สามารถเปลี่ยน IC1 เป็น
7812 และเปลี่ยน IC2 เปน็ 7912 ได้ทนั ทโี ดยไมต่ อ้ งเปล่ยี นอุปกรณ์ตวั อืน่ ๆ

3. วงจรการใชง้ านจริง LM317 และ LM337
วงจรแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่าได้ทั้งในย่านแรงดันบวกและลบ เหมาะสำหรับนำไปใช้สร้าง
เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงในห้องทดลอง โดยใช้ไอซีเบอร์ 317 และ 337 วงจรนี้คือวงจรเร็กกูเลเตอร์รบั
ค่าได้ ±1.2 V ถึง 33 V 1 A
ลักษณะของวงจร วงจรเรก็ กูเลเตอร์ปรบั ค่าได้ทง้ั บวกและลบตั้งแต่ 1.2 V ถึง 33 V (+1.2V ถึง +33V)
ออกแบบได้โดยใช้ไอซีเร็กกูเลเตอร์เบอร์ LM317 เมื่อคุมค่าแรงดันเอาต์พุตด้านบวกและใช้ไอซีเบอร์ LM337
เพื่อคุมค่าแรงดันเอาต์พุตด้านลบโดยมีโวลลุ่ม VR1 ปรับค่าแรงดันเอาต์พุตบวก และ VR2 ปรับค่าแรงดัน
เอาต์พุตลบลักษณะของวงจรแสดงในรูปท่ี 5.18

รูปท่ี 5.18 วงจรเรก็ กเู ลเตอร์ปรับค่าได้ ±(1.2 V -33 V) 1.0 A ท่ใี ช้ LM317/LM337

การทำงานของวงจร มีหม้อแปลง 220V/24 V-0-24 V เพื่อแปลงแรงดัน 220V ให้ต่ำลงและจ่ายให้
วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ที่ใช้ไดโอด D1 – D4 เบอร์ HER303 ทำให้ได้แรงดันบวกและแรงดันลบ โดยจุด
ก่งึ กลางของหมอ้ แปลง คอื จุด 0 V เปน็ GND แรงดันบวกจ่ายเขา้ อนิ พตุ ของ IC1 เบอร์ LM317 ประมาณ +34
V โดยมี C1 เป็นตวั กรองแรงดนั และจ่ายแรงดนั ลบ เข้าทีข่ าอินพุตของ IC2 เบอร์ LM337 เอาตพ์ ุตแรงดันบวก
ปรับค่าได้ระหว่าง +1.2 V ถึง +33 V ปรับได้โดย VR1 และแรงดันลบปรับค่าได้ระหว่าง -1.2 V ถึง -33 V
ปรับได้โดย VR2 นี่คือแหล่งจ่ายๆ ไฟฟ้าปรับค่าได้ทั้งบวกและลบ สำหรับไดโอด D5-D6 เป็นตัวป้องกัน IC1
และไดโอด D7-D8 เปน็ ตัวป้องกัน IC2

150

5.3 ออปแอมป์ (Operational Amplifiers,Op-Amp)
ออปแอมป์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นวงจรขยายแรงดัน โดยออปแอมป์มีโครงสร้าง

ภายในเป็นวงจรทีซ่ ับซ้อน ประกอบไปด้วย ตัวต้านทาน, ทรานซิสเตอร์, ตัวเก็บประจุ และไดโอด จำนวนมาก
โดยมีสัญลักษณด์ ังรูปท่ี 5.19 แตเ่ พอื่ ความง่ายในการศกึ ษาเบ้ืองต้นน้ี เราจะแทนออปแอมป์ดว้ ยวงจรสมมูลดัง
รูปที่ 5.20

5.3.1 โครงสรา้ งและสญั ลกั ษณ์

Non-inverting terminal

Output

Inverting terminal

รูปท่ี 5.19 สญั ลักษณ์ของออปแอมป์

Non-inverting terminal Output

Inverting terminal
รูปที่ 5.20 วงจรสมมูลของออปแอมป์แบบง่าย
รปู ที่ 5.20 โครงสรา้ งของออปแอมป์

ออปแอมป์จะมีขั้วอินพุต(ป้อนเข้า) 2 ขั้ว นั่นคือ ขั้วอินพุตบวกเรียกว่า Non-inverting terminal
และข้วั อินพตุ ลบเรียกว่า Inverting terminal และข้ัวเอาตพ์ ุต(ป้อนออก) 1 ข้ัว

จากวงจรสมมูลของออปแอมป์) ส่วนทางด้านอินพุตของออปแอมป์จะประกอบด้วยตัวต้านทาน RIN
ซึ่งเป็นความต้านทานทางด้านอินพุตของออปแอมป์ โดยจะมีแรงดันตกคร่อมระหว่างขั้วอินพุตบวกและข้ัว
อินพุตลบ เท่ากับ vd ส่วนทางด้านเอาต์พุตจะประกอบด้วยตัวต้านทาน RO เป็นความต้านทานที่มองเข้าไป
ทางขั้วเอาต์พุตของออปแอมป์ และแหล่งจ่ายแรงดันที่ควบคุมด้วยแรงดันที่มีค่าเท่ากับ Avd ค่า A นี้เรียกว่า
อัตราขยายวงเปดิ (Open loop gain) ของออปแอมป์

151

รปู ที่ 5.21 ตัวอยา่ งสญั ลักษณ์ออปแอมป
ที่มา : (https://www.rmuti.ac.th/user/kittiwut/company_files/measure_pdf/unit_7.pdf)
ขาหรือขว้ั ทสี่ ำคญั ที่ใชบอ่ ยและใชมากมอี ยู่ 5 ข้วั คอื

1. ขาดา้ นเข้ากลับขั้ว (-) 2 (Inverting Input)
2. ขาดา้ นเขาไมก่ ลับขวั้ (+) 3 (Noninverting Input)
3. ขาดานออก 6 (Output)
4. ข้ัวแหล่งจ่ายไฟบวก 7
5. ขั้วแหล่งจ่ายไฟลบ 4
ออปแอมปแ์ บบอุดมคติ (Ideal Op-Amp)
เพ่อื ความง่ายในการวเิ คราะหว์ งจรเราจะกำหนดให้ออปแอมป์เป็นอุดมคตซิ ึ่งจะมีคุณสมบัติดังนี้
- อัตราขยายวงเปดิ มีคา่ เป็นอนันต์ A ≅ ∞
- ความต้านทานอนิ พตุ มคี ่าเป็นอนนั ต์ Rin ≅ ∞
- ความตา้ นทานเอาต์พตุ มคี า่ เป็นศูนย์ Ro ≅

รูปที่ 5.22 ออปแอมป์แบบอุดมคติ

152

เนือ่ งจากออปแอมป์ในอุดมคตมิ ีความตา้ นทานทางด้านอินพตุ มคี ่าเป็นอนันต์ ดงั นัน้ กระแสท่ีไหลเขา้
ทางขวั้ อินพตุ ท้ังสองจงึ มีค่าเท่ากับศนู ย์

i1 = 0, i2 = 0

การต่อออปแอมป์เพื่อใช้งานเป็นวงจรขยายเพื่อให้มีเสถียรภาพนั้น เราจะต่อออปแอมป์ให้มีการ
ป้อนกลับแบบลบ (Negative feedback) ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดเรื่องเสถียรภาพและการป้อนกลับ
แบบลบในที่นี้ แต่สำหรับออปแอมป์แล้วการป้อนกลับแบบลบคือ มีการต่อขั้วเอาต์พุตกลับมายังขั้วอินพุตลบ
ของออปแอมป์ ซึง่ อาจจะผา่ นวงจรหรืออุปกรณห์ นงึ่ ก่อนก็ได้ เม่ือออปแอมป์มีการป้อนกลับแบบลบแล้วจะได้
วา่ แรงดนั ระหวา่ งขัว้ อินพุตของออปแอมป์มคี ่าประมาณศนู ย์คอื

Vd = V2 – V1 ≈ 0

หรอื อาจกลา่ วไดว้ า่ แรงดนั ท่ขี ้ัวบวกกบั แรงดันท่ีขั้วลบของออปแอมปม์ ีคา่ เทา่ กนั

V2 = V1

5.3.2 หลกั การทำงานและคุณสมบัติของออปแอมป์
การไบแอส สำหรบั แหล่งจ่ายไฟฟ้าทีจ่ ่ายไบอัสให้กับตวั ไอ.ซ.ี ออปแอมป์ ปกตจิ ะใชไ้ บแอสแบบคู่ คือ
VCC=+, VEE=- ค่าแรงดันบวกและลบปกติไมเ่ กิน 15V และต้องไบอัสทั้งสองขัว้ ด้วยแรงดันเท่ากนั เสมอ ทั้งนี้
ควรพิจารณาจากคู่มือออปแอมป์อีกครั้งหนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้หากวงจรใดไม่ได้บอกค่ าแรงดันไบแอส
หมายความว่า วงจรออปแอมป์นั้น ได้รับแรงดัน VCC=+15V, VEE=-15V แรงดันอิ่มตัว แรงดันเอาต์พุตของ
ออปแอมป์ไม่สามารถเกินกว่าค่าแรงดันไบแอสที่ป้อนให้กับตัวออปแอมป์ได้ นี้คือขีดจำกัด เรียกว่า แรงดัน
อิ่มตัว (Saturation output voltage) โดยปกติค่าแรงดันอ่ิมตัวสูงสุดจะต่ำกว่าค่าแรงดันไบแอส ประมาณ 1
– 1.5 V

5.3.3 การอ่านคูม่ อื ออปแอมป์

ตารางท่ี 5.5 ตัวอย่างพิสยั พารามิเตอร์ของออปแอมป

พารามเิ ตอร์ พสิ ัย ค่าอดุ มคติ

อัตราขยายวงเปิด (A) 105 ถงึ 108 ∞
0
ความตา้ นทานด้านเขา (Ri) 106 ถงึ 1013
ความตา้ นทานดานออก (RO) 10Ω ถึง 100Ω
แรงดันแหล่งจ่าย (VCC) 5V ถงึ 24V

เมื่อไมม่ ีการตออปุ กรณภายนอกเขากับขั้วต่าง ๆ ของออปแอมปเม่อื ปอนแรงดนั เขาที่ขาอินพตุ กลับขวั้
และขาอนิ พุตไมก่ ลับขวั้ จะมีแรงดันแตกต่างเกิดขน้ึ ระหว่างข้วั ด้านขาเขาทงั้ สอง Vd เมอ่ื อัตราขยายวงรอบเปิด

153

(A) มีคามาก 105 ถึง 108 เทา จะทำใหไดแ้ รงดันขว้ั ดานขาออกมีคาเทากับผลคณู ของ Vd กบั อตั ราขยายวงรอบ
เปิดได้คาแรงดันขั้วดานขาออกที่สูงมาก ซึ่งทางปฏิบัติจะสูงสุดได้ไม่เกินแรงดันแหล่งจ่าย โดยปกติจะมีค่า
แรงดันแหล่งจ่ายสำหรับแหล่งจ่ายบวกลบประมาณ ±15 โวลต์ ดังนั้นแรงดันด้านขั้วดานขาออกจะมี
ค่าประมาณ ±14 โวลต์ ซึ่งคา่ ท่ีได้จะเป็นบวกหรอื ลบขึ้นกับคาแรงดนั แตกตา่ ง Vd ว่ามีค่าเป็นบวกหรือลบ

5.3.4 การประยุกต์ใช้ออปแอมป์
5.3.4.1 วงจรขยายแบบกลับขวั้ (Inverting Amplifiers)

รูปที่ 5.23 วงจรขยายแบบกลับขวั้

KCL ท่โี นด V1 i1 = i2 → Vs − V1 = V1 − V0
แต่ V2 = V1=0 จะได้ R1 RF
หรือ
Vs = − V0
R1 RF

Vo = − RF
Vs R1

จะพบว่าวงจรขยายแบบกลับขั้วนี้มีอัตราส่วนของแรงดันเอาต์พุตต่อแรงดันอินพุต (หรือเรียกว่า
อัตราขยาย) มีค่าที่ติดลบ โดยค่าอัตราขยายนี้จะขึ้นกับค่าความต้านทานที่ใช้ในวงจร ส่วนค่าติดลบหมายถึง

154

การที่เราปอ้ นสัญญาณอนิ พุตมีค่าเป็นบวกสัญญาณทางเอาต์พุตจะมคี ่าเป็นลบ หรือในทางตรงขา้ มถา้ เราป้อน
สัญญาณอนิ พตุ มคี ่าเปน็ ลบสญั ญาณทางเอาต์พุตจะมีคา่ เปน็ บวก

5.3.4.2 วงจรขยายแบบไม่กลับข้วั (Non-inverting Amplifiers)

รปู ท่ี 5.24 วงจรขยายแบบไม่กลับขวั้

KCL ท่โี นด V1 :

i1 = i2 → 0 − V1 = V1 − V0
R1 RF

แต่ V2 = V1= VS จะได้

Vs = − Vs − V0
R1 RF

หรอื

Vo = 1 + RF
Vs R1

จะพบว่าวงจรขยายแบบไม่กลับขั้วนี้มีอัตราส่วนของแรงดันเอาต์พุตต่อแรงดันอินพุต มีค่าเป็นบวก
โดยค่าอัตราขยายนี้จะขึน้ กับค่าความต้านทานท่ีใช้ในวงจร ส่วนค่าที่เป็นบวกหมายถึง การที่เราป้อนสัญญาณ
อินพตุ มคี ่าเปน็ บวกสญั ญาณทางเอาต์พตุ จะมีคา่ เปน็ บวกด้วย หรือในทำนองเดยี วกันถ้าเราป้อนสญั ญาณอินพุต
มีคา่ เปน็ ลบสญั ญาณทางเอาตพ์ ตุ จะมีค่าเป็นลบด้วย

155

5.3.4.3 วงจรตามแรงดัน (Voltage Follower)

รปู ที่ 5.25 วงจรตามแรงดนั

กรณีที่วงจรขยายแบบไม่กลับข้ัวกรณีที่มีค่า (ลดั วงจร) และ (เปิดวงจร) จะไดว้ งจรเป็นดังรูปท่ี 5.24
โดยวงจรนี้จะมีอัตราขยายเป็น 1 ซึ่งก็คือ นั่นเอง เราจะเรียก วงจรนี้ว่าวงจรตามแรงดันหรือวงจรบัฟเฟอร์
(Buffer)

5.3.4.4 วงจรขยายผลบวก (Summing Amplifiers)

รูปท่ี 5.26 วงจรขยายผลบวก

KCL ท่โี นดอินพุตลบของออปแอมป์:

iT = i1 + i2 + i3 → 0 − = 0 − 1 + 0 − 2 + 0 − 3
RF R1 R2 R3

จะได้

V0 = RF V1 − RF V2 − RF V3
R1 R2 R3

ถ้า R1 = R2 = R3 จะได้

156

V0 = RF (V1 + V2 + V3)
R1

จะพบวา่ วงจรขยายผลบวกมคี ่าเอาต์พุตเป็นผลบวกของแรงดนั อนิ พตุ แต่ละคา่ ซ่ึงมีอตั ราขยายเป็นลบ
ที่มีค่าขน้ึ กบั คา่ ความต้านทานที่ใชใ้ นวงจร

5.3.4.5 วงจรขยายผลตา่ ง (Difference Amplifiers)

รูปที่ 5.27 วงจรขยายผลต่าง

KCL ท่โี นดอินพุตลบของออปแอมป์:

V1 − V3 = V3 − V0
R1 R2

KCL ที่โนดอินพุตบวกของออปแอมป:์

V2 − V3 = V3 − 0
R3 R4
แกส้ มการทัง้ สองได้

0 = R2 (1 + RR12) 2 − R2 1
R1 (1 + RR43) R1

ถา้ R1 = R3 จะได้
R2 R4

0 = R2 (V1 − V2)
R1
จะพบวา่ วงจรขยายผลต่างมีค่าเอาต์พตุ เปน็ ผลลบของแรงดันอินพุต ซ่ึงมีอัตราขยายเป็นลบทีม่ คี ่า

ข้นึ กบั ค่าความตา้ นทานที่ใช้ในวงจร

157

คิวอารโ์ คด้

แบบทดสอบหลังเรียนหนว่ ยที่ 5

ใบงานท่ี 12 ใบงานท่ี 13 ใบงานท่ี 14

158

บรรณานุกรม

วรี ะศกั ดิ์ สุวรรณเพชร. (ตุลาคม 2561). อปุ กรณ์อิเล็กทรอนิกสแ์ ละวงจร. คร้งั ที่ 2. นนทบรุ ี: บรษิ ัทศูนย์
หนงั สือ เมืองไทย จำกดั

Thana. (2554). การจำลองการทำงานทรานซิสเตอร์ (Transistor). สบื คน้ 4 มกราคม 2565, จาก
http://www.pattayatech.ac.th/files/1305292020243060_15102013133432.pdf

ศิรพิ งศ์ ชาลีนอ้ ย. (ม.ป.ป.) เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร. สืบคน้ 9
มกราคม 2565, จาก http://www.tl.ac.th/document.html#siripong

Admin. (2563). เอส.ซ.ี อา ซี ร์ (Silicon-controlled Rectifier : SCR). สืบค้น 11 มกราคม 2565, จาก
http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=show&article_id=2498

Admin. (2563). ไดแอค (Diac). สืบคน้ 11 มกราคม 2565, จาก
http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=show&article_id=2506

Pongkung. (2560). ไอซี 555 (IC Timer) ไอซตี ั้งเวลา. สืบคน้ 13 มกราคม 2565, จาก
http://know2learning.blogspot.com/2017/02/555-ic-timer-555-ic-555-timer-1971-555.html

Unknown. (2560). IC555. สืบคน้ 13 มกราคม 2565, จาก http://59543207038-
0.blogspot.com/2017/09/ic555.html

ELWE(Thailand). (2556). ไอ.ซี.คุมค่าแรงดัน. สืบคน้ 14 มกราคม 2565, จาก วิชา อุปกรณอ์ ิเล็กทรอนกิ ส์
บทท่ี 7 รหสั วชิ า 2104 – 2205 (g-tech.ac.th)


Click to View FlipBook Version