The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย

เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย

Keywords: เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย

วิชาภาษาไทย ขคงก

(........) เรื่อง เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย

ฯลฯ ฯ

เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่
เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ
เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบ
เสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอน
ต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษา
นั้นจะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มี
ความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน

(,)

เครืองหมายจุลภาค หรือ ลูกน้ำ คือ เครื่องหมายที่ใช้คั่นส่วนของข้อความที่ไม่ยาว
นัก อาจเป็นคำเพียงคำเดียว กลุ่มคำ หรือรวมทั้งตัวเลขตั้งแต่ ๔ หลักขึ้นไป
วิธีทำ ๑.คั่นคำหลายๆ คำที่เรียงกันไป เช่น ฉันชอบกินเงาะ, ทุเรียน,มะม่วง เป็นต้น

๒.คั่นประโยคเล็กที่ต้องรวมกันหลายๆ ประโยค เช่น เธอชอบอ่านหนังสือ, ชอบ
ฟังเพลงไทยสากล, ชอบเต้นรำ เป็นต้น

๓.คั่นจำนวนเลข ๔ หลักขึ้นไป เช่น ๒,๕๐๐ บาท, ๕๗,๐๐๐ บาท เป็นต้น
หมายเหตุ เครื่องหมายจุลภาคนิยมใช้คั่นคำในภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่ในภาษาไทยไม่
นิยมใช้ในการคั่นคำ หรือประโยคเท่าใดนัก เพราะในภาษาไทยจะใช้การเว้นวรรคแทน

(.)

เครื่องหมายมหัพภาค (.) คือ เครื่องหมายใช้คั่นข้อความทีมีขนาดยาว
หรือเมื่อจบข้อความสมบูรณ์
วิธีใช้ ๑. เขียนไว้หลังอักษรย่อ เช่น พ.ศ. (พุทธศักราช) ม.ค. (มกราคม)

๒. เขียนไว้เพื่อแสดงทศนิยมในจำนวนตัวเลข เช่น ๑๐.๒๕,
๖๗๕.๑๑

๓. เขียนไว้หลังตัวเลข หรืออักษรกำกับข้อย่อย เช่น ก. ๑. ข. ๒.

(_)

เครื่องหมายสัญประกาศ หรือ เครื่องหมายขีดเส้นใต้ (_)
วิธีใช้ เขียนไว้ใต้อักษร ใต้คำ หรือข้อความที่ต้องการให้ผู้อ่านสังเกต
เป็นพิเศษ เช่น

การผันวรรณยุกต์ ต้องคำนึง คำเป็น และคำตาย
เธอไม่ใช่เป็นคนใจน้อย แต่เธอรู้สึกน้อยใจ
แม่ กก คือ พยางค์ที่มีตัวสะกดเป็นเสียง ก ตัวสะกดใน
แม่กก มี ๔ ตัว คือ ก ฆ ฅ ฃ

(".....")

เครื่องหมายอัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด (''.....'')
วิธีใช้ ๑. เขียนไว้ให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ เช่น ตัว ''ทอ'' มี ๔ ชนิด คือ
ท ธ ฑ และ ฒ

๒. เขียนเพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่าเป็นความคิด เช่น ฉันคิดว่า ''ปีนี้ฝนจะ
ตกหนักกว่าปีที่แล้ว ฉันจะต้องทำอะไรสักอย่าง'' คิดดังนี้แล้วฉันจึงไปซื้อ
ทรายบรรจุถึงเตรียมไว้กันน้ำเข้าบ้าน

๓. เขียนไว้ในบทสนทนา เช่น ครูถามสมใจว่า ''ทำไมเมื่อวานเธอไม่
มาโรงเรียน'' ''หนูไม่สบายค่ะ'' สมใจตอบ

(!)

เครื่องหมายอัศเจรีย์ หรือ เครื่องหมายตกใจ !
วิธีใช้ ใช้เขียนหลังคำอุทาน หรือหลังข้อความที่มีลักษณะคล้ายคำอุทาน
เพื่อจะได้ใช้เครื่องหมายถูกต้องตามความจริงและเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่เกิด
ขึ้นในขณะนั้น เช่น ตกใจ ดีใจ เสียใจ แปลกใจ เป็นต้น เช่น โอ้โฮ!
สวยจัง ระวัง! รถชน เอ๊ะ! เสียงอะไร โครม! รถชนกันดังสนั่น ปัง! เสียง
ปืนดังลั่น ช่วยด้วย! เด็กตกน้ำ

()

เคื่องหมายนขลิขิต หรือ เครื่องหมายวงเล็บ ( )
วิธีใช้ ๑. ใช้สำหรับตัวเลขดังนี้

ตัวเลขที่บอกจำนวนข่อ เช่น (๑) (๒) (๓)
ตัวเลขที่ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เช่น ๖ + (๓๐ - ๑๕)
๒ สำหรับใช้กับตัวอักษรที่เป็นหัวข้อ เช่น (ก) (ข) (ค)

๓. ใช้กำกับข้อความที่อธิบายไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ใน
การสื่อ ความหมาย (สื่อสาร) ระหว่างบุคคล เราจะมีผู้พูด (หรือผู้เขียน) ผู้ฟัง
(หรือผู้อ่าน) และบุคคลที่ถูกกล่าวถึง วัดพระศรีศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
เป็นต้น

(ฯลฯ)

เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ)
วิธีใช้ ใช้เขียนไว้ข้างหลังข้อความ ที่จะมีต่อไปอีกมากมาย เช่น จง
เขียนเรียงความเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลสำคัญทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือล่วง
ลับไปแล้ว ๑ คน เช่น สุนทรภู่ ท้าวสุรนารี ศรีปราชญ์ ฯลฯ (ฯลฯ อ่านว่า
ละ) ในสวนมีผลไม้หลายชนิด เช่น มะม่วง มังคุด ลางสาด ฯลฯ

(ฯ)

เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)
วิธีใช้ ใช้เขียนไว้ข้างหลังคำที่เป็นชื่อเฉพาะ หรือสำนวนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี
อยู่แล้ว เช่น

โปรดเกล้าฯ อ่านว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
น้อมเกล้าฯ อ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม
กรุงเทพฯ อ่านว่า กรุงเทพมหานคร
ข้าฯ อ่านว่า ข้าพเจ้า

(?)

เครื่องหมายปรัศนี หรือ เคครื่องหมายคำถาม (?)
วิธีใช้ ๑. เขียนไว้หลังคำ หรือข้อความที่เป็นคำถาม เช่น

เธอกำลังทำอะไร?
เขาไปแล้วหรือ?
๒. ใช้สำหรับเขียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในการตั้งโจทย์ เช่น
๒๐ x ๑๐ = ?
๓๔ + ๒๑ = ?

(-)

เครื่องหมายยัติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีดเส้น (-)
วิธีใช้ ๑. เขียนไว้ระหว่างกลางคำที่เขียนแยกพยางค์กัน มักใช้คำประพันธ์ที่จำเป็นต้องแยกวรรค
เพื่อให้ได้จำนวนพยางค์ตามข้อบังคับ เช่น

เพ็ญพิศผุดผ่อง - ภาเปล่ง ปลั่งแฮ
เพื่อนตายถ่ายแทนชี - วาอาตม์
๒. ขีดไว้เมื่อไม่สามารถเขียนคำหลายพยางค์ให้จบในบรรทัดเดียวกันได้ ซึ่งการเขียนคำกล่าว
นั่นต้องไม่ฉีกคำโดยเด็ดขาด เช่น ถ้าพระิงค์มรงรับสั่งด้วย หรือทรงรับสั่งก่อนในฐานะคุ้นพระราช
อัธยาศัยอแล้ว ไม่ต้องใช้คำนำกราบบังคมทูล
๓. เขียนไว้เพื่อใช้แยกการเขียนคำอ่าน เช่น
ราชการ อ่านว่า ราด - ชะ - กาน
ประพฤติ อ่านว่า ประ - พรึด

(ๆ)

เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)
วิธีใช้ ใช้เขียนไว้หลังคำหรือข้อความหรือประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำกันสองครั้งและต้องเป็นคำ
หรือข้อความชนิดเดียวกัน เช่น

ใช้ซ้ำคำ เช่น ต้องพูดดี ๆ ถึงจะมีคนรัก (ดี ดี)
เมื่อเล็ก ๆ เธอน่ารักมาก (เล็ก เล็ก)

ใช้ซ้ำวลี เช่น วันหนึ่ง ๆ ฉันต้องเดินไปมาหลายเที่ยว (วันหนึ่ง วันหนึ่ง)
ใช้ซ้ำประโยค เช่น ฉันเล่นชนะแล้ว ๆ (ฉันเล่นชนะแล้ว ฉันเล่นชนะแล้ว)

('')

เครื่องหมายบุพสัญญา หรือ ละ (")
วิธีใช้ ใช้แทนคำหรือกลุ่มคำ ซึ่งอยู่ในบรรทัดเหนือขึ้นไป เพื่อไม่ต้องเขียนคำซ้ำกัน
บ่อย ๆ และประหยัดเวลาในการเขียน เช่น

ภัสสร อ่านว่า พัด - สอน
มัสสุ " มัด - สุ
ปลา หนัก ๒.๕๐ กิโลกรัม
เนื้อหมู " ๕.๕๐ "

(.........)

เครื่องหมายจุดไข่ปลา หรือ เครื่องหมายเส้นปรุ (..........)
วิธีใช้ ๑. เขียนไว้เป็นช่องว่างสำหรับเติมคำ เช่น

ผู้ส่งสาร หมายถึง..........................
ตรึกตร...ง
เกลี้....งเกลา
๒. เขียนไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ข้อความที่ยกมานั้นตัดตอนบางส่วนจากข้อความอื่น
เช่น ''......ปลาที่ใส่ในบ่อนั้นควรเป็นปลาชนิดเดียวกัน....ปลาสลิด ปลากระดี่ เลี้ยงรวมกันได้ ''
๓. เขียนละข้อความในบทประพันธ์ที่เขียนไม่ครบทั้งบท เช่น
ระวิวรรณแจ่มจ้า อำไพ
ราษฎร์ร่วมรวมอวยชัย ผ่านฟ้า.....

(/)

เครื่องหมายทับ (/) ใช้แบ่งตัวเลขออกเป็นแต่ละส่วน
วิธีใช้ ๑. ใช้แบ่งเลขที่ ดังนี้

บ้านเลขที่ ๒๓/๓ อ่านว่า บ้านเลขที่ยี่สิบสามทับสาม
ชั้น ป.๖/๑ อ่านว่า ชั้นปอหกทับหนึ่ง
๒. ใช้แบ่งเลขที่หนังสือ ดังนี้
มร. ๐๓๐๑/๒๒ อ่านว่า มอรอศูนย์สามศูนย์หนึ่งทับยี่สิบสอง
๓. ใช้แบ่งวันเดือนปี ดังนี้
๓/๑๐/๔๙ อ่านว่า วันที่สามเดือนตุลาคมพอศอสองพันห้าร้อยสี่
สิบเก้า

ผู้จัดทำ
นางสาวชลดา วิสุทธิไกรพงษ์
รหัสนักศึกษา 643110010205
สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


Click to View FlipBook Version