The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบงานที่ ๑ ฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phongsathon Bamrungban, 2023-11-15 21:36:16

ใบงานที่ ๑ ฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา

ใบงานที่ ๑ ฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา

ใบงานที่ ๑ ศึกษาบทบาทหน้าที่ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ชื่อ-สกุล นายพงศธร บำรุงบ้าน กลุ่มที่ ๑ เลขที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยสาระที่สำคัญ ดังนี้ 1 ข้อมูลพื้นเกี่ยวกับสถานศึกษา ที่อยู่ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี 27 ถนนหนองจิก ตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 โทรศัพท์073-335913 โทรสาร 073-331853 E-mail [email protected] Website www.technictani.ac.th ประวัติสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี เลขที่ ๒๗ ถนนหนองจิก ตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ๙๔๐๐๐ โทร.๐๗๓ - ๓๓๕๙๑๓ โทรสาร ๐๗๓ - ๓๓๑๘๕๓ Website : www.technictani.ac.th E-mail : [email protected] สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เดิมชื่อโรงเรียน ช่างไม้สะบารัง ตั้งอยู่ ถนนสะบารัง เริ่มทำการสอนตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ ปีการศึกษา ๒๔๙๙ ได้รับงบประมาณจัดซื้อที่ดินสร้างอาคาร ที่ถนนหนองจิก ซึ่งเป็นถนนสายหลักในปัจจุบัน จำนวน ๓๑ ไร่ปี การศึกษา ๒๕๐๐ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนช่างไม้ปัตตานี ปีการศึกษา ๒๕๒๑ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่าง ปัตตานี และโรงเรียนเทคนิคปัตตานีตามลำดับ ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๕ ได้ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยเทคนิค ปัตตานี” วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี อยู่ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ห่างจากศาลากลางจังหวัดปัตตานี ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร มีอาคารเรียน จำนวน ๘ หลัง อาคารปฏิบัติการ จำนวน ๑ หลัง อาคารวิทยบริการ สำนักงาน นักการภารโรง โรงอาหาร ร้านค้าสวัสดิการ อาคารละหมาด อาคารประชาสัมพันธ์ อย่างละ ๑ หลัง บริเวณ โดยรอบวิทยาลัย ด้านหน้าติดถนนหนองจิก ด้านซ้ายติดอาคารพาณิชย์ ด้านขวาติดสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ ปัตตานี และองค์การโทรศัพท์สาขาย่อยจังหวัดปัตตานี ส่วนด้านหลังติดถนนมะกรูด บ้านพักอาศัยและวัดนพ วงศาราม ประชาชนในชุมชนรอบวิทยาลัย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพค้าขายและประกอบธุรกิจ ส่วนตัว นอกจากนี้วิทยาลัยเทคนิคปัตตานียังเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี และสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ R radio Network FM ๑๐๖.๒๕ MHz ปรัชญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ของสถานศึกษา ปรัชญา ทักษะดี มีวิชา พัฒนาเลิศ เทิดคุณธรรม อัตลักษณ์ ทักษะวิชาชีพเด่น เน้นวัฒนธรรมชายแดนใต้ เอกลักษณ์ เทคโนโลยีก้าวลำ้ นวัตกรรมก้าวหน้า สิ่งประดิษฐ์ก้าวไกล


2. บทบาทและภาระงานของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการที่ได้รับมอบหมาย ศึกษาระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ และ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๖ ส่วนที่เกี่ยวกับฝ่ายวิชาการ ซึ่งแบ่งออกเป็นแผนกและงาน ได้แก่ (1) แผนกวิชา (๒) งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน (๓) งานวัดผลและประเมินผล (๔) งานวิทยบริการและห้องสมุด (๕) งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (๖) งานสื่อการเรียนการสอน และมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ 2.1 แผนกวิชา มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ 1) จัดทำแผนการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและ ตารางสอนสุดคนของแผนกวิชา 2) ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการ สอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผลและการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของ ทางราชการ 3) วางแผนและดำเนินงานด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา 4) จัดหาดูแลรักษาวัสดุ คุรุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของพลเอกวิชาให้ใช้งานได้เป็น ปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน 5) สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์ การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบที่สอนต่างๆ 6) ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการ เรียนการสอน 7) ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน 8) ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่ เสมอ 9) คงดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และ เสนอความดีความชอบของบุคลากรในทางแผนกวิชา 10) ประสานงานไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 11) ทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น 12) ดูแลบำรุงรักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่รับมอบหมาย 13) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย 2.2 งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้ ๑) จัดทำรวบรวมและตรวจสอบแผนการเรียนของทุกแผนกวิชาให้ตรงกับโครงสร้างของหลักสูตร ๒) จัดทำตารางสอน ตารางเรียนร่วมกับแผนกวิชาการต่างๆและทางโครงการที่เกี่ยวข้อง ๓) จัดทำฟอร์มต่างๆที่เกี่ยวกับงานหลักสูตรการเรียนการสอน


๔) พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนทางสมรรถนะร่วมกับการประกอบการและหน่วยงาน ภายนอกเพื่อจะรายวิชาและสาขาให้สอดคล้องกับนโยบาย ความต้องการของตลาดแรงงาน ชุมชน ท้องถิ่น สภาพ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ๕) จัดหา รวบรวมและพัฒนาหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อความรู้หรือทักษะในการประกอบอาชีพด้วย การศึกษาต่อซึ่งจัดขึ้นเป็นโครงการหรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ๖) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและผู้สอนในสถานศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ จุดมุ่งหมายและ หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร จนระเบียบการจัดการศึกษา ๗) ประสานงานกับแผนกวิชาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ทั้งระบบการเทียบโอนความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ และสะสมหน่วยกิต ๘) ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนให้ตรงตามหลักสูตร ๙) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและผู้สอนจัดทำเอกสารประกอบการสอนและจัดการเรียนการสอน หนังสือเทคโนโลยีการสอนที่ทันสมัย ๑๐) รวบรวมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ ทางการศึกษา ๑๑) ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ๑๒) จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและแรงงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น ๑๓) ดูแล บำรุงรักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ๑๔) ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย ๒.๓ วัดผลและประเมินผล มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อไปนี้ ๑) ส่งเสริมสนับสนุนครูและและผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามระเบียบการวัดและ ประเมินผล ๒) กำกับ ดูแล จัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลในสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ ๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการประมวลผลการเรียน ๔) ตรวจสอบผลการให้ระดับคะแนนก่อนถึงหรือคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาและ ผู้อำนวยการวิทยาลัย เพื่ออนุมัติผลการเรียนปุ๋ย ๕) รวบรวมผลการเรียนที่ได้รับการอนุมัติแล้วส่งงานทะเบียน ๖) จัดสอบมาตรฐานวิชาชีพรวมกับคนในวิชาและรายงานผลการปฏิบัติตามระเบียบ ๗) ดำเนินการวิเคราะห์ข้อสอบและจัดทำข้อสอบมาตรฐาน ๘) เก็บรักษาและทำลายเอกสารการประเมินผลการเรียนและเอกสารเกี่ยวกับงานวัดผลและ กระบวนการเรียนตามระเบียบ ๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการที่ผู้นำการเรียน เทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ๑๐) ประสานงานและให้ความร่วมมือกับงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ๑๑) จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน และรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับ


๑๒) ดูแล บำรุงรักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ๑๓) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ๒.๔ งานวิทยบริการและห้องสมุด มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ ๑) วางแผนพัฒนาการบริหารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ๒) จัดระบบบริการให้ได้มาตรฐาน ๓) ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ๔) จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและแรงงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น ๕) ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ๖) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ๒.๕ งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ ๑) จัดการศึกษาวิชาชีพโดยร่วมมือกับสถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถไปประกอบอาชีพได้ ๒) จัดทำแผนและคู่มือการฝึกตามโครงสร้างของหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการในการ วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชาและมาตรฐานวิชาชีพที่จะฝึกอาชีพ ๓) วางแผนร่วมกับสถานประกอบการในการนิเทศ ติดตาม การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ และมีการวัดผลและประเมินผล พวกกลุ่มกำกับดูแล และแก้ปัญหาต่างๆ ๔) ประชุมสัมมนาครูฝึก ครูนิเทศ เพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี ๕) ติดต่อประสานงานกับแหล่งงานและสถานประกอบการเพื่อจัดหาที่ฝึกงานให้กับนักเรียน นักศึกษา ๖) ทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับ ๗) ดูแลบำรุงรักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ๘) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้มอบหมาย ๒.๖ งานสื่อการเรียนการสอน มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ ๑) วางแผนจัดหา จะทำ การให้บริการ สื่อการเรียนการสอนโสตทัศนูปกรณ์และพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศการเรียนรู้ ๒) จัดหารวบรวมวัสดุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสู่ทัศนูปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้บริการใน การศึกษาค้นคว้าของครู เพื่อให้บริการในการศึกษาค้นคว้าของครูนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้ สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษา ๓) อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ครูในการจัดทำสื่อการเรียนการสอน ๔) พัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ครูในการใช้และผลิตสื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาทางไกล การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕) รับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและให้บริการด้าน โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆหากใช้ห้องโสตทัศนศึกษา ๖) จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานเสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น ๗) ดูแลบำรุงรักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ๘) ปฏิบัติงานอื่นตามที่รับมอบหมาย


๓. ข้อมูลผลงานที่ประสบผลสำเร็จ แผนงานโครงการ นวัตกรรมฯ ๓.๑ ปัจจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จ รางวัลและผลงานของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 ที่เกี่ยวข้องกับงานฝ่ายวิชาการ รายการ รางวัล ระดับ ให้โดย ทักษะการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ระดับ ปวช./ปวส. ประเภท ทีม รางวัลอื่น ๆ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ทักษะการจัดการ Cloud Computing ระดับ ปวส. ประเภท ทีม รางวัลอื่น ๆ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ทักษะงานฝึกฝีมือ ระดับ ปวช. ประเภท เดี่ยว รอง ชนะเลิศ ภาค อาชีวศึกษาภาคใต้ ทักษะการจัดการ Cloud Computing ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ ภาค อาชีวศึกษาภาคใต้ ทักษะการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ระดับ ปวช./ปวส. ประเภท ทีม รอง ชนะเลิศ ภาค อาชีวศึกษาภาคใต้ ทักษะการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ระดับ ปวช./ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการจัดการ Cloud Computing ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการสำรวจเพื่อการก่อสร้าง ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะประมาณราคางานก่อสร้าง ระดับ ปวช.และ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกวดรักการอ่านภาษาไทย ระดับ ปวช./ ปวส. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกวดการพูดสาธิตเป็นภาษาอังกฤษ (English Demonstration Contest) ระดับ ปวช./ปวส. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการออกแบบระบบไฟฟ้าและเขียนแบบไฟฟ้าด้วย คอมพิวเตอร์ ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะงานไม้และงานสี ระดับ ปวช. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี


ทักษะงานยานยนต์แก๊สโซลีน ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะงานคอนกรีต ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกวดร้องเพลงไทยสากล หญิง ระดับ ปวช./ ปวส. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะงานยานยนต์ดีเซล ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะงานตรวจสอบและทดสอบวัสดุงานเชื่อม ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการเชื่อม SMAW & GTAW & GMAW ระดับ ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะงานฝึกฝีมือ ระดับ ปวช. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ ปวส. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ ปวช. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะงานปูน ระดับ ปวช. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกวดสุนทรพจน์ภาษาไทย ระดับ ปวช./ ปวส. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะงานจักรยานยนต์ ระดับ ปวช. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกวดมารยาทไทย ระดับ ปวช./ปวส. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกอบและตรวจซ่อมเครื่องขยายเสียง เคลื่อนที่ ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกอบและตรวจซ่อมเครื่องขยายเสียง เคลื่อนที่ Integrate Amplifier ขนาด 30 x 30 Watt ระดับ ปวช. ประเภท ทีม ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี


ทักษะการประกวดเล่านิทานพื้นบ้าน ระดับ ปวช./ปวส. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการประกวดเล่านิทานพื้นบ้าน ระดับ ปวช./ปวส. ประเภท เดี่ยว ชนะเลิศ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด ปัตตานี ทักษะการติดตั้งบล็อกประสานปูพื้นลาย PNU ชนะเลิศ จังหวัด มหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนคริทร์ ทักษะประกอบคอมพิวเตอร์ ติดตั้งระบบปฏิบัติการและ ซอฟท์แวร์ รางวัลอื่น ๆ จังหวัด มหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนคริทร์ ทักษะวิชาชีพสาขาวิชาช่างยนต์ การประกอบ-ถอด เครื่องยนต์ HONDA รางวัลอื่น ๆ จังหวัด มหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนคริทร์ 3.๒ วิเคราะห์องค์กร Strengths - เป็นวิทยาลัยขนาดกลาง มีครู และบุคลกรทาง การศึกษาเพียงพอต่อความต้องการ - สถานที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง ใกล้แหล่งชุมชน - มีการสอนเกี่ยวกับงานช่างอุตสาหกรรม ที่ตรง ตามความต้องการของตลาด Weaknesses - บุคลากรทางการศึกษา ยังขาดความกระตือรือร้น ในการพัฒนาตนเองทางด้านงานวิชาการ - การบริหารงานยังไม่เป็นระบบ - เจ้าหน้าที่ ยังขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน - เครื่องมือช่าง บางงานขาดความทันสมัย Opportunities - สามารถตั้งหน่วยบริการชุมชนได้ - สามารทำ MOU กับสถานประกอบการที่อยู่ใน พื้นที่ Threats - นักเรียนบางส่วนขาดแคลนทุนทรัพย์ ผลการวิเคราะห์องค์กร การใช้หลักการของ SWOT มาวิเคราะห์สถานศึกษา เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร และ พิจารณาความสามารถภายในองค์กรทุกๆด้าน ได้แก่ 1. Strengths (จุดแข็ง) การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่เป็นจุดเด่นหรือข้อได้เปรียบ เช่น คณะทำงานมีความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพ วัสดุครุภัณฑ์มีความพร้อม อาคารสถานที่มีความพร้อม สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการ จัดการเรียนการสอน เป็นต้น 2. Weakness (จุดอ่อน) จุดอ่อน หรือข้อเสียเปรียบขององค์กร เช่นการเข้า-ออก ของบุคลากรบ่อย ขาด เทคโนโลยีทางการศึกษาที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน เป็นต้น 3. Opportunities (โอกาส) โอกาสที่ส่งผลดีต่อการดำเนินงาน หรือการพัฒนาศักยภาพการทำงานของ ข้าราชการและบุคลากร ส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชน องค์กร สถานประกอบการ นโยบาย จุดเน้น สภาพการ แข่งขัน แนวโน้มด้านต่างๆ


4. Threats (อุปสรรคหรือข้อจำกัด) ได้แก่ปัจจัยภายนอกที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาค ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ สภาวะการแข่งขันเชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน สภาวะทาง เศรษฐกิจตกต่ำที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกสถานศึกษาให้ผู้เรียน ค่านิยมของผู้เรียน และ ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบและแนวปฏิบัติของการกู้ยืมเงินเรียน (กยศ.) หน้าที่และความรับผิดชอบ 1. เนื่องจากวิทยาลัยเทคนิคปัตตานี เป็นวิทยาลัยขนาดกลางมีครู และบุคลรทางการศึกษาเพียงพอต่อ ความต้องการ สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกิจกรรมชมรมต่าง ๆขึ้นภายในสถานศึกษา 2. ดำเนินการจัดตั้งและควบคุมดูแลองค์การวิชาชีพต่าง ๆ ขึ้นในสถานศึกษา เช่น องค์การนักวิชาชีพใน อนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) 3. จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษา สังคม ชุมชน และกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญของชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์สามารทำ MOU กับสถานประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ และตั้งหน่วยบริการชุมชนได้ 4. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษาและผู้เข้ารับ การฝึกอบรมให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายคุณธรรมพื้นฐานของกระทรวงศึกษาการ และตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งโครงการพัฒนานักเรียน นักศึกษาด้านบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์ 5. ควบคุมดูแลกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีวิสามัญ และนักศึกษาวิชาทหาร 6. ส่งเสริมการกีฬา นันทนาการและศิลปะวัฒนธรรมในสถานศึกษา 7. ควบคุมและดำเนินการให้มีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง 8. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 9. สรุปผลการประเมินและนำผลการประเมินเสนอฝ่ายบริหารและสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา 10. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการ และรายงานผลการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น 11. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย การบริหารจัดการคุณภาพภายใต้กรอบระยะเวลา การบริหารจัดการคุณภาพภายใต้กรอบระยะเวลา นำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตามเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสถาน ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ แหล่งวิทยาการ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในด้านการพัฒนา หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการฝึกอาชีพและการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ดังนี้ 1. จัดการศึกษาให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานสถาน ประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อการดำรงชีวิตตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม ท้องถิ่นวัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการปฏิบัติงานจริงตามความพร้อมและศักยภาพของสถานศึกษา 2. จัดการศึกษาโดยประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ทั้งในด้านการจัดการ วิชาการ การใช้บุคลากรและทรัพยากรร่วมกัน 3. จัดการศึกษาโดยการระดมทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพย์สินและบุคลากร ทั้งจากรัฐองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์การชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาน ประกอบการ สถาบันสังคมอื่น รวมทั้งความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและการจัดการทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา


4. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีสมรรถนะทางวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพ เป็นพลเมืองดีของสังคม มีความสามารถในการคิด เรียนรู้ วางแผนและพัฒนาตนเอง 5. เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและการให้บริการวิชาชีพ แก่ชุมชนและท้องถิ่น 6. วิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 7. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีส่งเสริมการกีฬา พลานามัยและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 8. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงธุรกิจ การรับงานการค้า และการรับจัดทำ รับบริการ รับจ้างผลิตเพื่อ จำหน่ายที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน จากประเด็นท้าทายของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้น การปฏิบัติราชการของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (8 Agenda) ดังนี้ (8 Agenda) ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ขยายโอกาสในการ เข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษา (Vocational for All) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เข้าถึงโอกาส ทางการอาชีวศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา เข้าถึงการเรียน อาชีวศึกษาได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ยกระดับครูอาชีวะให้มีสมรรถนะในการสอนนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็น พิเศษ สอศ. ได้ผลักดันมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือการดำเนินงานกับภาคีเครือข่าย โดยมีแนวทางปรับประยุกต์ ดังต่อไปนี้ 1. ส่งเสริมการสร้างวินัยในตนเอง ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 3. ส่งเสริมพัฒนาความเป็นเลิศทางทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ โดยสามารถสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้เรียนและ ทำงานไปในเวลาเดียวกัน รวมถึงการรู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขันและพัฒนาทักษะแห่ง อนาคตสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาให้สามารถนำไปใช้ในการทำงาน 4. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) สามารถใช้และสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัย ผสมผสานการเรียนการสอน แบบเดิมในห้อง กับการเรียนการสอนออนไลน์ (Hybrid Education) 5. จัดการศึกษาให้มีความเสมอภาค ความเท่าเทียม ด้วยการจัดอาชีวศึกษาสำหรับทุกคน (Education for all) ตามเกณฑ์สมรรถนะวิชาชีพอาชีวศึกษา 6. บริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ด้วยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดการ พัฒนาแบบยั่งยืน มิติการขับเคลื่อน 1. การทำงานร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว (Ovec One Team) 2. ให้ความสำคัญกับการศึกษาตลอดชีวิต แก่ประชาชนทุกช่วงวัยอย่างมีคุณภาพ เท่าเทียม เสมอภาค โดยจัดการฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อเพิ่มทักษะ ส่งเสริมการ มีงานทำ แก้ปัญหา ขาดแคลนแรงงานคุณภาพทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ผู้เรียนสามารถนำหน่วยกิตที่สะสม (Credit Bank System) มาใช้สำหรับเทียบคุณวุฒิรับรองมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรับใบประกาศในการประกอบวิชาชีพ ต่อยอดใน การเรียนและความก้าวหน้าในการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3. ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีการจัดทำระบบ หรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึง แหล่งเรียนรู้ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ผสมผสานการเรียนการสอนในห้องและการเรียนการ สอนออนไลน์ (Hydrid Education) โดยผู้เรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งในและนอกห้องเรียน 4. พัฒนาระบบการแนะแนวการศึกษา (Coaching) ในทุกระดับ เพื่อให้รู้เท่ากันการเปลี่ยนแปลงทักษะ เพื่อเท่ากันโลก (21st Century Skills) ได้แก่ ทักษะที่ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อภาวะวิฤติต่างๆ ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะด้านสังคมและอารมณ์ ทักษะและคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 รูปแบบ 4.1 การเรียนรู้เพื่อรู้คือการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด การแสวงหาความรู้และวิธีการ เรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต โดยกระบวนการเรียนรู้เน้นการฝึกสติ สมาธิ ความจำ ความคิด ผสมผสานกับสภาพจริงและประสบการณ์ในการปฏิบัติ 4.2 การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้คือ การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาความสามารถและความชำนาญ รวมทั้ง สมรรถนะทางด้านวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติงานและ อาชีพได้อย่างเหมาะสมกระบวนการเรียนรู้จะเป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ 4.3 การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน คือ การเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข มีความตระหนักในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันการแก้ปัญหาความ ขัดแย้งด้วยสันติ 4.4 การเรียนรู้เพื่อชีวิต คือ การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย และสติปัญญา ให้ความสำคัญกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ศีลธรรม สามารถปรับตัวและปรับปรุงบุคลิกภาพของตน เข้าใจตนเอง และผู้อื่น 5. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน สร้างโอกาสการมีงานทำ และแรงงานที่ตรงตาม ความต้องการของตลาดแรงงานที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม 6. เพิ่มศักยภาพให้กับผู้เรียน โดยการ (Upskill & Reskill) ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ ประกอบการสมัครงานและการขอขึ้นเงินเดือน รวมถึงการอบรมวิชาชีพทักษะใหม่ (New skill) เพื่อเพิ่มรายได้ และเสริมสร้างอาชีพแก่ครอบครัว ทั้งนี้ข้าพเจ้าจะให้ร่วมมือกับท่านผู้อำนวยการ ดำเนินการขับเคลื่อนการศึกษาอาชีวศึกษาคุณภาพ ภายใต้นโยบายการศึกษา “การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต”


Click to View FlipBook Version