บันทึกข้อความ ฝ่าย วิชาการ ที่ 1/2564 วันที่ 30 เมษายน 2564 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการแนะแนว เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ด้วยฝ่ายวิชาการ ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้า นางสาวนุจรี หล่อวิจิตร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖3 เพื่อดำเนินการบริหารโครงการให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานระหว่างวันที่ 9 มีนาคม 2563 ถึง วันที่ 9 มีนาคม 2564 บัดนี้โครงการแนะแนวได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลการดำเนินงานโครงการบรรลุตาม วัตถุประสงค์ การปฏิบัติตนของนักเรียนในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 96.06 ระดับการปฏิบัติมากที่สุด จึงขอ นำส่งรายงานผล การดำเนินงานโครงการพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ (นางสาวนุจรี หล่อวิจิตร) ผู้รับผิดชอบโครงการ ความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่าย .............................................................. ................................................................ .............................................................. (นางสาวน้ำเพชร สายสุวรรณ) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ความคิดเห็นของผู้อำนวยการ ................................................................ ................................................................ ............................................................... (นางสาวลำยงค์ อุ้นวุ้น) ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์
บทที่ ๑ บทนำ ๑.หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พุทธศักราช 2562 หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา ที่ 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมี ความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม ศักยภาพ การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้น ความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่องความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข (พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ ฉบับที่ 4 พุทธศักราช 2562 หมวดที่ 4 มาตราที่ 23 (5) โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดี ต่ออาชีพสุจริต จึงได้ดำเนิน “โครงการแนะแนว” เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้เชิงพหุปัญญาและการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวโรงเรียน สตรีมารดาพิทักษ์จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น 2. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ๒.๒ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ค้นพบศักยภาพของตนเอง ๒.๓ เพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้รู้จักการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อและการดำรงชีวิตในสังคม อย่างมีความสุข 3. เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ ๓.๑.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ จำนวน 491 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ ๓.1.๒ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑- ๖ จำนวน 1,389 คน ที่เข้าร่วมโครงการแนะแนว ๓.1.๓ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ จำนวน 455 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ๓.1.๔ ดำเนินการจัดกิจกรรมปฐมนิเทศให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ จำนวน 1 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง ๓.1.๕ ดำเนินการจัดการแนะแนวให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวนครั้งละ 30 นาที ๓.1.๖ ดำเนินการจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ จำนวน 1 ครั้ง ครั้งละ 16 ชั่วโมง 3.2 เชิงคุณภาพ ๓.๒.๑ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙0 ค้นพบ ศักยภาพของตนเองและรู้จักการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อและการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ๓.๒.๒ ความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศและ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
4. วิธีดำเนินงาน ๑. ขั้นเตรียมการ (Plan) 1.๑ จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๑.2 เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ๑.3 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๒. ขั้นดำเนินการ (Do) ๒.๑ กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ ๒.๒ กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ 2.3 กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ๓. ขั้นสรุปและประเมินผล (Check) ๓.๑ สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน ๓.๒ จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงาน ๔. สรุปและรายงานผล (Action) ๔.๑ รายงานผลการดำเนินโครงการต่อผู้บริหารของโรงเรียน ๔.๒ ดำเนินการการประชุมเพื่อทบทวนกระบวนการทำงานและวางแผนพัฒนาปรับปรุง 5. สถานที่ดำเนินงาน 5.1 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ห้องอนุสรณ์ 50 ปี อาคารมารีรักษ์ 5.2 กิจกรรมปฐมนิเทศ ที่ลานเอนกประสงค์ ตึกอนุบาล อาคาร SANCTA MARIA 5.3 กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ๕.๓.๑ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสิริวจนาตถ์ ๕.๓.๒ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารพระแม่มารีย์ ๕.๓.๒ ห้องอนุสรณ์ 50 ปี อาคารมารีรักษ์ 5.4 กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เสม็ดงามรีสอร์ท อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี 6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - 7. งบประมาณ ได้รับการจัดสรรจากโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จำนวน 10,560 บาท (หนึ่งหมื่นห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) จำแนกรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 7.1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1,800 บาท 7.2 ค่าวัสดุสำนักงาน จำนวน 5,100บาท 7.3 ค่าพาหนะ จำนวน 1 คน x 300 กิโลเมตร กิโลเมตรละ 4 บาท จำนวน 1,200 บาท x ไป และกลับ จำนวน 2,400 บาท 7.4 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน x 20 กิโลเมตร กิโลเมตรละ 4 บาท จำนวน 80 บาท x ไป และกลับ จำนวน 160 บาท 7.5 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 1 มื้อ x มื้อละ 35 บาท จำนวน 700 บาท 7.6 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 2 คน x 1 มื้อ x มื้อละ 200 บาท จำนวน 400 บาท * ขอถัวจ่ายทุกรายการตามที่จ่ายจริง
8. การประเมินผล ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ วิธีการวัดและ ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัดและ ประเมินผล 8.1 ร้อยละของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีทักษะในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น มีเจตคติทีดีต่ออาชีพสุจริต - การสอบถามข้อมูล นักเรียน - แบบสอบถามข้อมูล นักเรียน 8.2 ร้อยละของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ ที่ค้นพบศักยภาพของตนเองและรู้จักการวางแผนเพื่อ การศึกษาต่อและการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข - - การสำรวจข้อมูล นักเรียนการศึกษาต่อ - - แบบสำรวจข้อมูล นักเรียนการศึกษาต่อ 8.3 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีต่อกิจกรรมปฐมนิเทศและกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ - การประเมิน ความพึงพอใจ - แบบสอบถาม ความพึงพอใจ 9. ปัจจัยชี้วัดความเสี่ยง ๙.๑ ความร่วมมือของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ ๙.2 ข้อจำกัดเรื่องเวลาในการดำเนินงาน 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑๐.๑ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกคนได้รับทราบข้อแนวปฏิบัติในการประพฤติปฏิบัติตนและ แนวทางการศึกษาตามที่โรงเรียนกำหนดขึ้น ๑๐.๒ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกคนได้รับโอกาสในการแนะแนวทางการศึกษา อาชีพและ เรื่องส่วนตัวอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ๑๐.๓ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙0 ค้นพบศักยภาพของตนเองและมีการวางแผน เพื่อการศึกษาต่อและการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ๑๐.๔ โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์มีระบบการแนะแนวที่ดีและมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกคนเกิดความมั่นใจในการศึกษาต่อและมองเห็นภาพอนาคตใน การประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ๑1. นิยามศัพท์ ๑1.๑ ครู หมายถึง ครูผู้สอนและครูสายสนับสนุนการสอนระดับก่อนประถมศึกษา โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ๑1.๒ นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ๑1.๓ ผู้ปกครองนักเรียน หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์
บทที่ ๒ วิธีดำเนินการ ในการสรุปผลการดำเนินโครงการแนะแนว ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ปีการศึกษา ๒๕๖3 มีรายละเอียดของการดำเนินงาน ดังนี้ ๑.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๑,389 คน ๒.กลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ตามตารางวิเคราะห์ การสุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 297 คน ๒.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโครงการแนะแนวระดับมัธยมศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ ๑ แบบสอบถามข้อมูลนักเรียน ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ และระดับชั้นการศึกษา ตอนที่ ๒ การปฏิบัติตนของนักเรียน เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) จำนวน ๑๐ ข้อ และข้อเสนอแนะ ฉบับที่ 2 แบบสำรวจการศึกษาต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ที่มีต่อกิจกรรม แนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ปีการศึกษา 2563 ๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล ครูผู้รับผิดชอบโครงการได้แจกแบบสอบถามและรับแบบสอบถามกลับคืน ด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 297 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ๔. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ๔.๑ ฉบับที่ ๑ แบบสอบถามข้อมูลนักเรียน ใช้ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ๔.๒ ฉบับที่ ๒ แบบสำรวจการศึกษาต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ที่มีต่อ กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ใช้ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ๕. การแปลความหมายข้อมูล ใช้เกณฑ์การแปลความหมายข้อมูลของบุญชม ศรีสะอาด ( 2546 : 162) รายละเอียดดังนี้ ค่าเฉลี่ย เทียบค่าร้อยละ ความหมาย ระดับการปฏิบัติ 4.๕1 - 5.00 90-100 มากที่สุด 3.๕1 - 4.๕0 80-89 มาก 2.๕1 - 3.๕0 70-79 ปานกลาง 1.๕1 - 2.๕0 60-69 น้อย 1.00 - 1.๕0 50-59 น้อยที่สุด
บทที่ ๓ ผลการดำเนินงาน ในการสรุปผลการดำเนินโครงการแนะแนว โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ปีการศึกษา ๒๕๖3 มีรายละเอียดผลการดำเนินงาน ดังนี้ ฉบับที่ ๑ แบบสอบถามข้อมูลนักเรียน ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ และระดับชั้นการศึกษา ตอนที่ ๒ ร้อยละการปฏิบัติตนของนักเรียน เป็นแบบตรวจสอบ รายการ(Check List) จำนวน ๑๐ ข้อ ปรากฏผลข้อมูล ดังนี้ ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย หญิง 132 165 44.44 55.56 ระดับการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ 50 33 35 60 69 50 16.84 11.11 11.78 20.20 23.23 16.84 จากตารางที่ 1 พบว่า 1.ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.56) รองลงมาเป็นเพศชาย (ร้อยละ 44.44) 2 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ร้อยละ 23.23) รองลงมา กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ร้อยละ 20.20) กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และกำลัง ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 16.84) ตามลำดับ กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ร้อยละ 11.78) และกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ร้อยละ 11.11) เป็นอันดับสุดท้าย
ตารางที่ ๒ ร้อยละการปฏิบัติตนของนักเรียน ข้อ รายการประเมิน ร้อยละ ๑ นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในตนเอง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 78.79 ๒ นักเรียนช่วยเหลืองานบ้านของผู้ปกครอง 91.58 ๓ นักเรียนช่วยเหลือตัวเองให้มีสุขลักษณะที่ดีได้ 100.00 ๔ นักเรียนรับผิดชอบดูแลรักษาความสะอาดเครื่องแต่งกาย ของตนเอง 98.99 ๕ นักเรียนรับผิดชอบวางแผนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 97.64 ๖ นักเรียนรู้จักการเลือกคบเพื่อน 100.00 ๗ นักเรียนสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ทุกสถานการณ์ 94.28 ๘ นักเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ปกครอง ครูและผู้มีพระคุณ 100.00 ๙ นักเรียนค้นพบตนเองเกี่ยวกับความถนัด ความสนใจ ในการเรียนรู้ 99.33 ๑๐ นักเรียนสามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 100.00 รวม 96.06 จากตารางที่ ๒ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้มี การปฏิบัติตนในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 96.06 โดยมีการปฏิบัติตนช่วยเหลือตัวเองให้มีสุขลักษณะที่ดีได้ รับผิดชอบวางแผนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ปกครอง ครูและผู้มีพระคุณและสามารถ ปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาค้นพบตนเอง เกี่ยวกับความถนัด ความสนใจในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 99.33 และรับผิดชอบดูแลรักษาความสะอาด เครื่องแต่งกายของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 98.99 ตามลำดับ โดยมีภูมิคุ้มกันในตนเอง ใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 78.79 เป็นอันดับสุดท้าย
ฉบับที่ 2 แบบสำรวจข้อมูลนักเรียน ข้อมูลนักเรียนและร้อยละการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ ปรากฏผลข้อมูล ดังนี้ ตารางที่ 1 สรุปจำนวนนักเรียนศึกษาต่อและประกอบอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้น จำนวนนักเรียน ศึกษาต่อ ไม่ศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ สายสามัญ สายอาชีพ มัธยมศึกษาปีที่ 3/1 14 12 2 - - มัธยมศึกษาปีที่ 3/2 35 32 1 1 1 มัธยมศึกษาปีที่ 3/3 46 45 1 - - มัธยมศึกษาปีที่ 3/4 46 33 12 - 1 มัธยมศึกษาปีที่ 3/5 45 29 16 - - มัธยมศึกษาปีที่ 3/6 46 34 11 - 1 มัธยมศึกษาปีที่ 3/7 33 33 - - - รวม 265 218 43 1 3 ร้อยละ 100.00 82.26 16.23 0.38 1.13 จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 265 คน นักเรียนที่ศึกษาต่อสายสามัญ จำนวน 218 คน (ร้อยละ 82.26) ศึกษาต่อสายอาชีพ จำนวน 43 คน (ร้อยละ 16.23) ไม่ศึกษาต่อ จำนวน 1 คน เนื่องจากมีโรคประจำตัว (ร้อยละ 0.38) และประกอบอาชีพ จำนวน 3 คน (ร้อยละ 1.13) ตารางที่ 2 สรุปจำนวนนักเรียนศึกษาต่อและประกอบอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชั้น จำนวน นักเรียน ศึกษาต่อ ไม่ศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย อาชีวศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6/1 25 25 - - - มัธยมศึกษาปีที่ 6/2 46 42 - 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6/3 40 38 - 2 - มัธยมศึกษาปีที่ 6/4 20 19 - 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6/5 22 22 - - - มัธยมศึกษาปีที่ 6/6 37 37 - - - รวม 190 183 - 7 - ร้อยละ 100.00 96.32 - 3.68 -
จากตารางที่ 2 พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 190 คน นักเรียนที่ศึกษาต่อในระดับ มหาวิทยาลัย จำนวน 183 คน (ร้อยละ 96.32) ไม่ศึกษาต่อ จำนวน 7 คน (ร้อยละ 3.68) งบประมาณที่จ่ายจริงตามโครงการ ได้รับงบประมาณ 10,560 บาท ใช้จริง 7,820บาท คงเหลือ 2,740 บาท ใช้เกินงบประมาณที่ ได้รับการจัดสรร - บาท ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมปฐมนิเทศ และกิจกรรมปัจฉิมนิเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2563 จึงไม่ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ในการทำกิจกรรมโดยการนำนักเรียนทุกคนเข้ารับการอบรมและให้คำแนะนำ ชี้แจงการเรียน กฎระเบียบของ โรงเรียนแยกตามระดับสายชั้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการครั้งต่อไป คณะผู้จัดทำโครงการแนะแนว จะจัดกิจกรรมปฐมนิเทศและกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ในปีการศึกษา 2564
บรรณานุกรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา , สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน , กระทรวงศึกษาธิการ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ภาคผนวก โครงการ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ตัวอย่างแบบประเมิน ภาพถ่ายกิจกรรมในโครงการ