The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานสรุปผล “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย”

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รายงานสรุปผล “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย”

รายงานสรุปผล “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย”

คำนำ การติดตามและประเมินผลโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เป็นการติดตามและประเมินผลโครงการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการเพื่อต้องการทราบถึง ผลสัมฤทธิ์ของโครงการและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการต่อผลการดำเนินงานและความต้องการใน การพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขผลการดำเนินงานในครั้งต่อไป ท้ายนี้ใคร่ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหาร ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ให้การสนับสนุนและ มองเห็นความสำคัญของการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงาน และขอขอบคุณผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม/ โครงการฯ ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ในการติดตามและ ประเมินผลโครงการดังกล่าว ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงได้นำเสนอรายงานผลการติดตามฯ ต่อคณะผู้บริหารฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาโครงการและการปรับปรุงแก้ไขผลการดำเนินงานในครั้งต่อไป ฝ่ายตรวจติดตามและประเมินผล กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์


สารบัญ หน้า บทสรุปผู้บริหาร ก – ค บทที่ 1 บทนำ 1 – 4 1.1 หลักการและเหตุผล 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.3 เป้าหมาย 1.4 วิธีการดำเนินงาน 1.5 ระยะเวลาดำเนินการ 1.6 สถานที่ดำเนินการ 1.7 ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.8 งบประมาณ 1.9 การเบิกจ่ายงบประมาณ 1.10 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ 1.11 การวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการ 1.12 การนำเสนอผลการติดตาม บทที่ 2 ผลการติดตามและประเมินผล 5 - 13 บทที่ 3 สรุปผลการติดตามและประเมินผล 14 - 16 บรรณานุกรม K.PAIROJ, สูตร Taro Yamane สำหรับคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากร, แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/bb24559r/khnad-khxng-klum-tawxyang-thi-hemaa-sm ภาคผนวก • ภาพกิจกรรมโครงการ • แบบสอบถาม • ตารางสูตร Taro Yamane สำหรับคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากร


ก บทสรุปผู้บริหาร โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สรุปผลการติดตามและประเมินผลโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ และทราบถึงระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ จึงได้มีการออกตรวจติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อติดตามและประเมินผลความพึงพอใจ รวมทั้งรับทราบถึงปัญหาของโครงการเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการ ดำเนินโครงการ ในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการติดตามและประเมินผลโครงการดังกล่าว กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน 400 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด จำนวน 61 คน คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอและสมาชิกกลุ่มสตรี จำนวน 23 อำเภอ รวม 289 คน หัวหน้าส่วน ราชการต่าง ๆ / เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง / รวม 50 คน ดังนั้น ผู้ประเมินจึงใช้ระดับความคลาดเคลื่อนจากตารางสูตร Taro Yamane ในการกำหนดจำนวนแบบสอบถาม โดยใช้ความคลาดเคลื่อนที่ ±10% จึงได้จำนวนแบบสอบถาม อย่างน้อย 80 แบบ ผู้ประเมินสามารถเก็บรวบรวมแบบสอบถาม ได้จำนวน 125 แบบ โดยการสุ่มจากกลุ่มเป้าหมาย แบบไม่เฉพาะเจาะจง โดยสรุปผลการติดตามและประเมินผลโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในภาพรวม ดังนี้ สรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เพศชาย จำนวน 14 คน (11.2) จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิง จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 88.8 รองลงมา คือ เพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 11.2 เพศหญิง จำนวน 111 คน (88.8)


ข ผู้สำรวจได้จำแนกกลุ่มอายุ ออกเป็น 6 กลุ่ม จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมาก ที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 50-59 ปีจำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ กลุ่มอายุระหว่าง 40-49 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 30-39 ปี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 ผู้สำรวจได้จำแนกกลุ่มระดับการศึกษา ออกเป็น 5 กลุ่ม จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามมากที่สุด คือ กลุ่มการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 รองลงมา คือ กลุ่มการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0 35.0 40.0 45.0 4.0 26.4 44.0 1.62.41.6 9.6 0.00.8 9.6 สถานภาพ ผู้สำรวจได้จำแนกกลุ่มสถานภาพ ออกเป็น 10 กลุ่ม จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามมากที่สุด คือ สมาชิกกลุ่มสตรี จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 44.0 รองลงมา คือ คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับอำเภอ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 26.4 และ น้อยที่สุด คือ สื่อมวลชน จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.8 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0 35.0 40.0 45.0 ต่่ากว่า 20 ปี 20–29 ปี30–39 ปี 40–49 ปี 50–59 ปี 60 ปี ขึ้น ไป 0.0 8.8 6.4 32.0 44.8 8.0 อายุ 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 ประถม มัธยม ป.ตรี สูงกว่าป.ตรี อื่นๆ 21.6 48.0 16.8 6.4 7.2 ระดับการศึกษา


ค สรุปผลการติดตามและประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 ในภาพรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.47) คิดเป็นร้อยละ 89.46 รายละเอียดแต่ละด้านมีดังนี้ • สรุปผลการประเมิน ด้านที่ 1 ด้านวัตถุประสงค์ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจด้านวัตถุประสงค์ ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.49) คิดเป็นร้อยละ 89.84 • สรุปผลการประเมิน ด้านที่ 2 ด้านกิจกรรม ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจด้านกิจกรรม ผลการประเมิน ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.50) คิดเป็นร้อยละ 90.05 • สรุปผลการประเมิน ด้านที่ 3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจด้านประโยชน์ ที่ได้รับ ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.42) คิดเป็นร้อยละ 88.48 สรุปผลการดำเนินโครงการฯ ในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.47) คิดเป็นร้อยละ 89.46 รายการประเมินความ พึงพอใจทั้งหมด 3 ด้าน ด้านที่ได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านที่ 2 ด้านกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.50) คิดเป็นร้อยละ 90.05 รองลงมา คือ ด้านที่ 1 ด้านวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.49) คิดเป็นร้อยละ 89.84 และ ด้านที่ 3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.42) คิดเป็นร้อยละ 88.48 ตามลำดับ สรุปข้อเสนอแนะอื่นๆ - ต้องการให้มีการส่งเสริมและอนุรักษ์การสวมใส่ผ้าไทยให้มาก - ต้องการให้จัดกิจกรรมแบบนี้ทุก ๆ ปี - จัดกิจกรรมให้ประชาชนได้รู้จักแบบต่าง ๆ ของผ้าไทย 4.49 4.50 4.42 4.47 4.38 4.40 4.42 4.44 4.46 4.48 4.50 4.52 ด้านที่ 1 ด้านที่ 2 ด้านที่ 3 รวม สรุปผลการด าเนินโครงการฯ ในภาพรวม


1 1. หลักการและเหตุผล ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ข้อ 4.3 การเสริมสร้างพลังทางสังคม ข้อย่อยที่ 4.3.4 ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและบทบาทของสตรีในการสร้างสรรค์ สังคม โดยการเพิ่มโอกาสของสตรีในการทำงานเชิงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพิ่ม ศักยภาพ ความรู้ความสามารถและภาวะผู้นำของสตรีเพื่อให้สามารถมีบทบาทในทางการเมืองและการบริหารทั้งใน ระดับสากล ระดับชาติและในระดับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมและกว้างขวาง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนา ชุมชนร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติได้สนับสนุนโครงการ "ผ้าไทยใส่ให้สนุก"ตามแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า สิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริม กระตุ้น ผ้าไทยให้ทันสมัย สู่สากลเป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส ส่งเสริมให้ทุกคนได้ใส่ผ้าไทย และ ส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มอาชีพโดยส่งเสริมให้ส่วนราชการ ทุกภาคส่วนได้สวมใส่ผ้าไทยในทุกโอกาส จากพระราชปณิธานฯ และนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว ข้างต้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ในจังหวัดที่มีศักยภาพ เพียงพอที่จะมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ ๆ ที่มีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รับผิดชอบ รวมทั้งให้เกิดการต่อยอดการสืบสาน อนุรักษ์ ผ้าถิ่นไทย ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าให้คงอยู่ สืบไป และให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดบุรีรัมย์ มีผ้าไทยหรือ ผ้าพื้นเมืองที่สวยงามขึ้นชื่อที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ผ้าไหมนาโพธิ์ ผ้าบาราย ประโคนชัย ผ้าซิ่นตีนแดงพุทไธสง ฯลฯ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้สตรีบุรีรัมย์ได้มีการนำภูมิปัญญา ที่โดดเด่นของแต่ละอำเภอมาสร้างมูลค่า สร้างอัตลักษณ์ และเชิดชูเกียรติการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของ แต่ละท้องถิ่น โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2540 มาตรา 45 บัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด (7ทวิ) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ประกอบกับ พระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 17 (18) การส่งเสริม กีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นจึงได้จัดทำโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566" ขึ้น เพื่อบูรณาการความร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลเป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจครัวเรือนและชุมชนนำมาซึ่ง ความสามารถในการพึ่งตนเองและเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศสู่ทุกชุมชนและครอบครัวให้เกิด ความมั่นคงในชีวิต และส่งเสริมให้ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ในด้านการอนุรักษ์ผ้าท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ รากเหง้า ของแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆให้คงอยู่สืบชั่วลูกหลานต่อไป บทที่ 1 บทนำ


2 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสวมใส่ และอนุรักษ์ผ้าไหม ผ้าไทยหรือผ้าพื้นถิ่น 2.2 เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้า และเครื่องแต่งกายในจังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 2.3 เพื่อส่งเสริมให้สตรีได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ด้านต่าง ๆ 2.4 เพื่อเพิ่มรายได้และหาช่องทางการขายให้กับผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย 2.5 เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่สตรีที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมและอนุรักษ์ผ้าพื้นถิ่น 3. เป้าหมาย 3.1 กลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน 400 คน ประกอบด้วย 3.1.1 คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด จำนวน 61 คน 3.1.2 คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอและสมาชิกกลุ่มสตรี จำนวน 23 อำเภอ รวม 289 คน 3.1.3 หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ / เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง / รวม 50 คน 3.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 3.2.1 หัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ระดับจังหวัดและภาคีเครือข่าย สื่อมวลชน ที่ร่วมเป็นเกียรติและร่วมรับชมการจัดแสดงแบบผ้าไหมพร้อมชม ช็อป การจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหม/ผ้าไทย/ผ้าพื้นเมืองบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่โครงการ ฯ 3.2.2 กลุ่มสตรีที่ร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหม/ผ้าไทย/ผ้าพื้นถิ่นแต่ละอำเภอในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ รวม 23 อำเภอ 4. วิธีการดำเนินงาน 4.1 ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหา และค้นหาศักยภาพสตรี จัดทำแนวทางการจัดโครงการ งบประมาณ การเขียนโครงการ 4.2 เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ 4.3 ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.4 ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ดังนี้ 4.4.1 จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อเรื่อง "สตรีไทยยุคใหม่ กับการส่งเสริมผ้าไหม ผ้าไทย หรือผ้าพื้นถิ่น" 4.4.2 มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่สตรีนักพัฒนาดีเด่นระดับจังหวัด และมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ แม่ดีเด่นแห่งชาติและสตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๕ 4.4.3 จัดกิจกรรมแสดงแบบผ้าไหม โดยมีการแสดงแบบผ้าไหม ผ้าไทยชุดกิตติมศักดิ์จากคณะกรรมการ เหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์และแขกผู้มีเกียรติ จำนวน 10 ชุด และการแสดงแบบผ้าไหมผ้าไทย หรือผ้าพื้นถิ่นจาก คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับจังหวัด/ระดับอำเภอ จำนวน 23 ชุด 4.4.4 จัดบูธแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าไทย หรือผ้าพื้นถิ่นของกลุ่มสตรี จำนวน 23 บูธ 4.4.5 จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น 4.4.6 การแสดงหน้าเวทีจากตัวแทน คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับจังหวัด/อำเภอ จำนวน 4 ชุด 4.5 รายงานผลการจัดทำโครงการ


3 5. ระยะเวลาในการดำเนินการ วันที่ 8 สิงหาคม 2566 6. สถานที่ดำเนินการ หอประชุมวิชชาอัตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 7. ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับ 7.1 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ 7.2 คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดบุรีรัมย์ 8. งบประมาณ งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ตามแผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชนข้อ 12 โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเงิน 200,000.- บาท (สองแสนบาทถ้วน) 9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ 9.1 ประชาชนหันมานิยมสวมใส่ และอนุรักษ์ผ้าไทยหรือผ้าในพื้นถิ่นเพิ่มมากขึ้น 9.2 ผลิตภัณฑ์ OTOP ประเกทผ้าและเครื่องเต่งกายในจังหวัด เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น 9.3 หน่วยงานต่าง ๆ หันมาแต่งชุดผ้าไทย เพื่อสืบสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก 9.4 หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งบุคคลทั่วไปแต่งกายด้วยผ้าไทย หรือผ้าพื้นถิ่น 9.5 ผู้ประกอบการ OTOP ประเกทผ้าและเครื่องแต่งกายมีรายได้เพิ่ม และช่องทางการขายเพิ่มมากขึ้น 10. การวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการ 10.1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นการวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) 10.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการ ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean, ¯x ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, S.D.) ❖ เกณฑ์การให้คะแนนและแปลความหมายโดยแบ่งระดับความคิดเห็นเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ให้คะแนน 5 ระดับความคิดเห็นมาก ให้คะแนน 4 ระดับความคิดเห็นปานกลาง ให้คะแนน 3 ระดับความคิดเห็นน้อย ให้คะแนน 2 ระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด ให้คะแนน 1 ระดับความคิดเห็นที่มีต่อโครงการฯ ใช้ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาค่าเฉลี่ย ไว้ 5 ระดับ ด้วยแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ใช้เกณฑ์ Ordinal ดังนี้


4 ช่วงระดับคะแนน ความหมาย 1.00 - 1.49 ความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.49 ความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 2.50 – 3.49 ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3.50 – 4.49 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 4.50 – 5.00 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ❖ การวิเคราะห์ข้อมูลและหาค่าสถิติต่าง ๆ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (1) ร้อยละ (Percentage) ใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด.2545 : 104) P = × 100 เมื่อ P แทน ร้อยละ f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด (2) ค่าเฉลี่ย (Mean) ใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด.2545 : 105) x¯ = ∑ เมื่อ ¯x แทน ค่าเฉลี่ย ∑X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม N แทน จำนวนคนทั้งหมด (3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด.2545 : 106) . . = √ ∑( − ̅) เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ¯x แทน คะแนนแต่ละตัว N แทน จำนวนคนทั้งหมด ∑X แทน ผลรวม 11. การนำเสนอผลการติดตาม ใช้การนำเสนอผลสรุปการติดตามและประเมินผลในรูปแบบของความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และใช้รูปแบบ ตารางและแผนภูมิ (กราฟ) เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ


5 สรุปผลการติดตามและประเมินผลโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการจากผู้ตอบ แบบสอบถาม ทั้งหมด 125 คน ผลการติดตามและประเมินผล ดังนี้ ❖ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 1 แสดงเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม เพศ จำนวน (N) ร้อยละ (%) ชาย 14 11.2 หญิง 111 88.8 รวม 125 100.0 รูปประกอบตารางที่ 1 แสดงข้อมูลเพศ ตารางที่ 2 แสดงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม อายุ จำนวน (N) ร้อยละ (%) ต่ำกว่า 20 ปี 0 0.0 20 – 29 ปี 11 8.8 30 – 39 ปี 8 6.4 40 – 49 ปี 40 32.0 50 – 59 ปี 56 44.8 60 ปี ขึ้นไป 10 8.0 รวม 125 100.0 เพศชาย จำนวน 14 คน (11.2) จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิง จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 88.8 รองลงมา คือ เพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 11.2 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0 35.0 40.0 45.0 ต่่ากว่า 20 ปี 20–29 ปี30–39 ปี40–49 ปี50–59 ปี 60 ปี ขึ้น ไป 0.0 8.8 6.4 32.0 44.8 8.0 อายุ บทที่ 2 ผลการติดตาม และประเมินผล รูปประกอบตารางที่ 2 แสดงข้อมูลอายุ เพศหญิง จำนวน 111 คน (88.8)


6 ผู้สำรวจได้จำแนกกลุ่มอายุ ออกเป็น 6 กลุ่ม จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 50-59 ปีจำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ กลุ่มอายุระหว่าง 40-49 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 30-39 ปี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 ตารางที่ 3 แสดงระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ระดับการศึกษา จำนวน (N) ร้อยละ (%) ประถมศึกษา 27 21.6 มัธยมศึกษา 60 48.0 ปริญญาตรี 21 16.8 สูงกว่าปริญญาตรี 8 6.4 อื่นๆ 9 7.2 รวม 125 100.0 ผู้สำรวจได้จำแนกกลุ่มระดับการศึกษา ออกเป็น 5 กลุ่ม จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ กลุ่มการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 รองลงมา คือ กลุ่มการศึกษาระดับ ประถมศึกษา จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 ตารางที่ 4 แสดงสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม สถานภาพ จำนวน (N) ร้อยละ (%) คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด 5 4.0 คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ 33 26.4 สมาชิกกลุ่มสตรี 55 44.0 หัวหน้าส่วนราชการ อบจ.บร. 2 1.6 หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ 3 2.4 หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด 2 1.6 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 12 9.6 ภาคีเครือข่าย 0 0.0 สื่อมวลชน 1 0.8 ประชาชนทั่วไป 12 9.6 รวม 125 100.0 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 50.0 21.6 48.0 16.8 6.4 7.2 ระดับการศึกษา รูปประกอบตารางที่ 3 แสดงข้อมูลระดับการศึกษา


7 0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0 35.0 40.0 45.0 4.0 26.4 44.0 1.6 2.4 1.6 9.6 0.0 0.8 9.6 สถานภาพ ผู้สำรวจได้จำแนกกลุ่มสถานภาพ ออกเป็น 10 กลุ่ม จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ สมาชิกกลุ่มสตรีจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 44.0 รองลงมา คือ คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับอำเภอ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 26.4 และน้อยที่สุด คือ สื่อมวลชน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.8 รูปประกอบตารางที่ 4 แสดงข้อมูลสถานภาพ


8 ❖ ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ตารางที่ 5 แสดงจำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม รายการ / ประเด็น ความพึงพอใจ ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย ( ¯x ) ส่วน เบี่ยงเบน (S.D.) ร้อยละ (%) มากที่สุด แปรผล อันดับ 5 มาก 4 ปานกลาง 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 ❖ ด้านวัตถุประสงค์ 1. เพื่อรณรงค์ส่ง เสริมให้ประชาชน สวมใส่ อนุรักษ์ผ้า ไหม ผ้าไทย หรือ ผ้าพื้นถิ่น 72 (57.6%) 46 (36.8%) 7 (5.6%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.52 0.60 90.40 มาก ที่สุด 2 2. เพื่อประชา สัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้า และเครื่องแต่งกาย ของจังหวัดบุรีรัมย์ ให้เป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวาง 66 (52.8%) 52 (41.6%) 7 (5.6%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.47 0.60 89.44 มาก 3 3. เพื่อส่งเสริมให้ สตรีได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้และถ่ายทอด ประสบการณ์ด้าน ต่าง ๆ 62 (49.6%) 56 (44.8%) 7 (5.6%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.44 0.60 88.80 มาก 4 4. เพื่อประกาศ เกียรติคุณแก่สตรี ที่มีบทบาทต่อการ ส่งเสริมและอนุรักษ์ ผ้าพื้นถิ่น 72 (57.6%) 49 (39.2%) 3 (2.4%) 1 (0.8%) 0 (0.0%) 4.54 0.59 90.72 มาก ที่สุด 1 ค่าเฉลี่ยรวม (N = 125) 4.49 0.60 89.84 มาก


9 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจด้านวัตถุประสงค์ ผู้ตอบแบบสอบถามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ด้านวัตถุประสงค์ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมได้อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.49) คิดเป็นร้อยละ 89.84 รายการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 4 ข้อ ข้อที่ได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ข้อที่ 4. เพื่อประกาศเกียรติ คุณแก่สตรีที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมและอนุรักษ์ผ้าพื้นถิ่น มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.54) คิดเป็นร้อยละ 90.72 รองลงมา คือ ข้อที่ 1. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนสวมใส่อนุรักษ์ผ้าไหม ผ้าไทย หรือผ้าพื้นถิ่น มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.52) คิดเป็น ร้อยละ 90.40, ข้อที่ 2. เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายของจังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็น ที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.47) คิดเป็นร้อยละ 89.44 และข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมให้สตรีได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ด้านต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.44) คิดเป็นร้อยละ 88.80 ตามลำดับ 4.52 4.47 4.44 4.54 4.49 4.38 4.4 4.42 4.44 4.46 4.48 4.5 4.52 4.54 4.56 ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 ข้อที่ 4 รวม ด้านรูปแบบการอบรม/วิทยากร รูปประกอบตารางที่ 5 แสดงข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม


10 ตารางที่ 6 แสดงจำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม รายการ / ประเด็น ความพึงพอใจ ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย ( ¯x ) ส่วน เบี่ยงเบน (S.D.) ร้อยละ (%) มากที่สุด แปรผล อันดับ 5 มาก 4 ปานกลาง 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 ❖ ด้านกิจกรรม 1. การเสวนาในหัว เรื่อง “สตรีไทยยุค ใหม่กับการส่งเสริม ผ้าไหม ผ้าไทยหรือ ผ้าพื้นถิ่น” 69 (55.2%) 52 (41.6%) 3 (2.4%) 1 (0.8%) 0 (0.0%) 4.51 0.59 90.24 มาก ที่สุด 2 2. การจัดบูธแสดง และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่น ผ้าไหม ผ้าไทย 67 (53.6%) 53 (42.4%) 4 (3.2%) 0 (0.0%) 1 (0.8%) 4.48 0.64 89.60 มาก 5 3. การแสดงแบบ ชุดกิตติมศักดิ์ 69 (55.2%) 49 (39.2%) 6 (4.8%) 1 (0.8%) 0 (0.0%) 4.49 0.63 89.76 มาก 4 4. การแสดงแบบ ผ้าไหม 73 (58.4%) 45 (36.0%) 7 (5.6%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.53 0.60 90.56 มาก ที่สุด 1 5. การแสดงหน้า เวทีจากคณะ กรรมการสตรี 67 (53.6%) 54 (43.2%) 4 (3.2%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.50 0.56 90.08 มาก ที่สุด 3 ค่าเฉลี่ยรวม (N = 125) 4.50 0.61 90.05 มาก ที่สุด


11 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจด้านกิจกรรม ผู้ตอบแบบสอบถามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ด้านกิจกรรม ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมได้อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.50) คิดเป็นร้อยละ 90.05 รายการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 5 ข้อ ข้อที่ได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ข้อที่ 4. การแสดงแบบผ้าไหม มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.53) คิดเป็นร้อยละ 90.56 รองลงมา คือ ข้อที่ 1. การเสวนาในหัวเรื่อง “สตรีไทยยุคใหม่กับการ ส่งเสริมผ้าไหม ผ้าไทยหรือผ้าพื้นถิ่น” มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.51) คิดเป็นร้อยละ 90.24, ข้อที่ 5. การแสดงหน้าเวทีจาก คณะกรรมการสตรีมีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.50) คิดเป็นร้อยละ 90.08, ข้อที่ 3. การแสดงแบบชุดกิตติมศักดิ์ มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.49) คิดเป็นร้อยละ 89.76, และข้อที่ 2. การจัดบูธแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่น ผ้าไหม ผ้าไทย มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.48) คิดเป็นร้อยละ 89.60 ตามลำดับ 4.51 4.48 4.49 4.53 4.50 4.50 4.45 4.46 4.47 4.48 4.49 4.50 4.51 4.52 4.53 4.54 ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 ข้อที่ 4 ข้อที่ 5 รวม ด้านกิจกรรม รูปประกอบตารางที่ 6 แสดงข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม


12 ตารางที่ 7 แสดงจำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม รายการ / ประเด็น ความพึงพอใจ ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย ( ¯x ) ส่วน เบี่ยงเบน (S.D.) ร้อยละ (%) มากที่สุด แปรผล อันดับ 5 มาก 4 ปานกลาง 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 ❖ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ 1. ประชาชนนิยม สวมใส่และอนุรักษ์ ผ้าไทยหรือผ้าพื้น ถิ่นมากขึ้น 56 (44.8%) 65 (52.0%) 4 (3.2%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.42 0.56 88.32 มาก 3 2. ผลิภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและ เครื่องแต่งกายของ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่รู้จักและได้รับ ความนิยมมากขึ้น 53 (42.4%) 66 (52.8%) 6 (4.8%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.38 0.58 87.52 มาก 4 3. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป แต่งกายด้วยผ้าไทย หรือผ้าพื้นถิ่น เพื่อ สืบสานเอกลักษณ์ ความเป็นไทยสู่ สายตาชาวโลก 65 (52.0%) 54 (43.2%) 6 (4.8%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.47 0.59 89.44 มาก 1 4. ผู้ประกอบการ OTOP ประเภท ผ้าและเครื่องแต่ง กายมีรายได้และ ช่องทางการขาย เพิ่มมากขึ้น 63 (50.4%) 53 (42.4%) 9 (7.2%) 0 (0.0%) 0 (0.0%) 4.43 0.63 88.64 มาก 2 ค่าเฉลี่ยรวม (N = 125) 4.42 0.59 88.46 มาก


13 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจด้านประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ตอบแบบสอบถามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมได้อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.42) คิดเป็น ร้อยละ 88.48 รายการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 4 ข้อ ข้อที่ได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ข้อที่ 3. หน่วยงาน ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป แต่งกายด้วยผ้าไทยหรือผ้าพื้นถิ่น เพื่อสืบสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยสู่ สายตาชาวโลก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.47) คิดเป็นร้อยละ 89.44 รองลงมา คือ ข้อที่ 4. ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า และเครื่องแต่งกายมีรายได้และช่องทางการขายเพิ่มมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.43) คิดเป็นร้อยละ 88.64, ข้อที่ 1. ประชาชนนิยมสวมใส่และอนุรักษ์ผ้าไทยหรือผ้าพื้นถิ่นมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.42) คิดเป็นร้อยละ 88.32 และข้อที่ 2. ผลิภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายของจังหวัดบุรีรัมย์เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.38) คิดเป็นร้อยละ 87.52 ตามลำดับ ❖ ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่นๆ - ต้องการให้มีการส่งเสริมและอนุรักษ์การสวมใส่ผ้าไทยให้มาก - ต้องการให้จัดกิจกรรมแบบนี้ทุก ๆ ปี - จัดกิจกรรมให้ประชาชนได้รู้จักแบบต่าง ๆ ของผ้าไทย 4.42 4.38 4.47 4.43 4.42 4.32 4.34 4.36 4.38 4.4 4.42 4.44 4.46 4.48 ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 ข้อที่ 4 รวม ด้านประโยชน์ที่ได้รับ รูปประกอบตารางที่ 7 แสดงข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม


14 สรุปผลการติดตามและประเมินผลโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ และทราบ ถึงระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ จึงได้มีการออกตรวจติดตามและประเมินผล โครงการเพื่อติดตามและประเมินผลความพึงพอใจ รวมทั้งรับทราบถึงปัญหาของ โครงการเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการ ในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการติดตาม และประเมินผลโครงการดังกล่าว กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน 400 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด จำนวน 61 คน คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอและสมาชิกกลุ่มสตรี จำนวน 23 อำเภอ รวม 289 คน หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ / เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง / รวม 50 คน ดังนั้น ผู้ประเมินจึงใช้ระดับ ความคลาดเคลื่อนจากตารางสูตร Taro Yamane ในการกำหนดจำนวนแบบสอบถาม โดยใช้ความคลาดเคลื่อนที่ ±10% จึงได้จำนวนแบบสอบถามอย่างน้อย 80 แบบ ผู้ประเมินสามารถเก็บรวบรวมแบบสอบถาม ได้จำนวน 125 แบบ โดยการสุ่มจากกลุ่มเป้าหมายแบบไม่เฉพาะเจาะจง โดยสรุปผลการติดตามและประเมินผลโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในภาพรวม ดังนี้ • เพศ จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิง จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 88.8 รองลงมา คือ เพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 11.2 • อายุจากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 50-59 ปีจำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ กลุ่มอายุระหว่าง 40-49 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 30-39 ปี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 • การศึกษา จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ กลุ่มการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 รองลงมา คือ กลุ่มการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 • สถานภาพ จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ สมาชิกกลุ่มสตรีจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 44.0 รองลงมา คือ คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับอำเภอ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 26.4 และน้อยที่สุด คือ สื่อมวลชน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.8 บทที่ 3 สรุปผลการติดตาม และประเมินผล


15 สรุปผลการติดตามและประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 ในภาพรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.47) คิดเป็นร้อยละ 89.46 รายละเอียดแต่ละด้านมีดังนี้ • สรุปผลการประเมิน ด้านที่ 1 ด้านวัตถุประสงค์ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจด้านวัตถุประสงค์ ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.49) คิดเป็นร้อยละ 89.84 • สรุปผลการประเมิน ด้านที่ 2 ด้านกิจกรรม ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจด้านกิจกรรม ผลการประเมิน ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.50) คิดเป็นร้อยละ 90.05 • สรุปผลการประเมิน ด้านที่ 3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจด้านประโยชน์ ที่ได้รับ ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.42) คิดเป็นร้อยละ 88.48 รายการ / ประเด็นความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ( ¯x ) ส่วน เบี่ยงเบน (S.D.) ร้อยละ (%) แปรผล อันดับ ❖ สรุปผลการดำเนินโครงการฯ ในภาพรวม 1. ด้านวัตถุประสงค์ 4.49 0.60 89.84 มาก 2 2. ด้านกิจกรรม 4.50 0.61 90.05 มากที่สุด 1 3. ด้านประโยชน์ที่ได้รับ 4.42 0.59 88.48 มาก 3 ค่าเฉลี่ยรวม 4.47 0.60 89.46 มาก 4.49 4.50 4.42 4.47 4.38 4.40 4.42 4.44 4.46 4.48 4.50 4.52 ด้านที่ 1 ด้านที่ 2 ด้านที่ 3 รวม สรุปผลการด าเนินโครงการฯ ในภาพรวม


16 สรุปผลการดำเนินโครงการฯ ในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.47) คิดเป็นร้อยละ 89.46 รายการประเมินความ พึงพอใจทั้งหมด 3 ด้าน ด้านที่ได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านที่ 2 ด้านกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.50) คิดเป็นร้อยละ 90.05 รองลงมา คือ ด้านที่ 1 ด้านวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.49) คิดเป็นร้อยละ 89.84 และ ด้านที่ 3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย (¯x = 4.42) คิดเป็นร้อยละ 88.48 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะอื่นๆ - ต้องการให้มีการส่งเสริมและอนุรักษ์การสวมใส่ผ้าไทยให้มาก - ต้องการให้จัดกิจกรรมแบบนี้ทุก ๆ ปี - จัดกิจกรรมให้ประชาชนได้รู้จักแบบต่าง ๆ ของผ้าไทย


ภาคผนวก


ภาพกิจกรรมโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566


±1% ±2% ±3% ±4% ±5% ±10% 500 * * * * 222 83 1,000 * * * 385 286 91 1,500 * * 638 441 316 94 2,000 * * 714 476 333 95 2,500 * 1250 769 500 345 96 3,000 * 1364 811 517 353 97 3,500 * 1458 843 530 359 97 4,000 * 1538 870 541 364 98 4,500 * 1607 891 549 367 98 5,000 * 1667 909 556 370 98 6,000 * 1765 938 566 375 98 7,000 * 1842 959 574 378 99 8,000 * 1905 976 580 381 99 9,000 * 1957 989 584 383 99 10,000 5000 2000 1000 588 385 99 15,000 6000 2143 1034 600 390 99 20,000 6667 2222 1053 606 392 100 25,000 7143 2273 1064 610 394 100 50,000 8333 2381 7087 617 397 100 100,000 9091 2439 1099 621 398 100 มากกว่า 100,000 10000 2500 1111 625 400 100 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ขนาดความคลาดเคลื่อน ขนาดประชากร สูตร Taro Yamane ส าหรับค านวณขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากร * หมายถึง ขนาดตัวอย่างไม่เหมาะสมที่จะ Assume ให้เป็นการกระจายแบบปกติ จึงไม่สามารถใช้สูตรค านวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้


Click to View FlipBook Version