The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kittiput2725, 2022-01-02 11:47:09

รายงาน

.

คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ



จัดทำโดย:
นายกิตติพศ คำนนท์

รายงาน



เรื่อง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ





เสนอ
คุณครู สุทธิ์สินี หุ้นย่อง




จัดทำโดย
นายกิตติพศ คำนนท์
มัธยมศึกษาปีที่5/4 เลขที่11




โรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา
(มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย)

คำนำ

เพื่อได้เห็นทราบในเรื่องประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยทักษิณและ
การตั้งขึ้นชองคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ รวมไปถึง
สัญญาลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและคณะศึกษาศาสตร์และกลุ่มการ
ศึกษาต่างๆของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมที่สำคัญต่อมหาวิทยาลัย
เพื่อเป็นแนวคิดในการศึกษาต่อใน มหาลัยทักษิณ คณะศึกษาศาสตร์
และเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการค้นคว้าหาข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจต่อ
ไปในภายภาคหน้า

ผู้จัดทำ
นายกิตติพศ คำนนท์

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ประวัติของมหาวิทยาลัย............................................1
สัญญาลักษณ์ของมหาวิทยาลัย...................................2
การศึกษา.................................................................3
กิจกรรมสำคัญ..........................................................4-5
ประวัติของคณะศึกษาศาสตร์......................................6
สัญญาลักษณ์ประจำคณะ............................................7
บรรณานุกรม.............................................................8
อ้างอิง.......................................................................9
ภาคผนวก................................................................10

ประวัติมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ ได้รับการยกวิทยฐานะเป็น
มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรม ในทบวงมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย
ทักษิณ พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยทักษิณได้พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ในปีการศึกษา 2547 เริ่มเปิดการ
เรียนการสอนอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ที่ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม
จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 สภามหาวิทยาลัยทักษิณ ได้มีมติให้มหาวิทยาลัยทักษิณ
วิทยาเขตสงขลา และวิทยาเขตพัทลุง มีการบริหารงานแบบ 2 วิทยาเขต ประกอบด้วย วิทยาเขตสงขลา (วิทยาเขต
1) บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา (เป็นส่วนของสถาบันคดีศึกษา) (วิทยาเขต 2)
ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา วิทยาเขตพัทลุง (วิทยาเขต 1) ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน
จังหวัดพัทลุง (วิทยาเขต 2) ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยทักษิณได้พัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่
เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐด้วยการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัวสามารถจัดการศึกษา
ในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2551 และ
ภายใต้ปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนา”

1

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณมีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปตำราการศึกษา 3 เล่ม
สีเทา (สีประจำมหาวิทยาลัย) สะท้อนปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม และการพัฒนา” ล้อมรอบด้วยอักษรสีฟ้า
(สีประจำมหาวิทยาลัย) เป็นภาษาไทย “มหาวิทยาลัยทักษิณ” และภาษาอังกฤษ “THAKSIN UNIVERSITY” ซึ่งหมายถึง
มหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้ ด้านบนเหนือรูปตำราการศึกษาเป็นมงกุฎเปล่งรัศมีสีฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศและ
เกียรติยศ ด้วยในปีพุทธศักราช 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย
ทักษิณ ตรงกับวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี
ต้นไม้และดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณมีต้นไม้และดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือ ต้นปาริชาต หรือ
ทองหลาง (ชื่อสามัญ: Tiger’s Claw หรือ Indian Coral Tree ชื่อวิทยาศาสตร์:Erythrina variegata L.) เป็นไม้ยืนต้นผลัด
ใบ อยู่ในวงศ์ถั่ว (LEGUMINOSAE หรือ FABACEAE) ดอกมีลักษณะเป็นช่อสีแดงเข้ม เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ในพระไตรปิฎก คนไทยโบราณเชื่อว่าเป็นไม้มงคล หรือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลูกบนสวรรค์ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
ต้นประวาลพฤกษ์ ซึ่งประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์จะเริ่มออกช่อดอกแล้วบานสะพรั่งเมื่อถึงปลายเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่นิสิต
มหาวิทยาลัยทักษิณสำเร็จการศึกษา
สีประจำมหาวิทยาลัย สีประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ สืบเนื่องมาจากสีประจำวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สงขลา คือสีเทา-ฟ้า

สีเทา เป็นสีของสมอง หมายถึง ความคิดหรือปัญญา (นอกจากนี้ สีเทา ยังเป็นสีร่วมกันของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒและอดีตวิทยาเขตทั้ง 4 แห่งด้วย)

สีฟ้า เป็นสีของทะเล และท้องฟ้า หมายถึง ความกว้างไกล

2

การศึกษา

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนที่จัดการสอนและงานวิจัยเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย

คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา

คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันทักษิณคดีศึกษา

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ

คณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนาทุนมนุษย์

วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน

วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา สำนัก/สถาบัน/ศูนย์

วิทยาลัยนานาชาติ สำนักคอมพิวเตอร์ (Computer Center)

โครงการจัดตั้งคณะ สำนักหอสมุด (University’s Library)
โครงการจัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์ สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน (Business
โครงการจัดตั้ง คณะทันตแพทยศาสตร์ Incubation Center)
โครงการจัดตั้ง คณะเภสัชศาสตร์ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Creative Lab Center)
โครงการจัดตั้ง คณะรัฐศาสตร์ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
โครงการจัดตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ
สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยทักษิณ
โรงเรียน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ

โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว.)

มหาวิทยาลัยทักษิณ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม โดย

ความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยทักษิณ (วมว.-ม.ทักษิณ)

3

กิจกรรมสำคัญ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร



ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระ
กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
แทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยทักษิณ และพิธี
พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยทักษิณเป็น
ประจำทุกปีนับแต่แรกเริ่มก่อตั้งจวบจนกาลปัจจุบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ
มหาวิทยาลัยจัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน โดยในอดีตได้ประกอบพิธี ณ หอประชุมปาริชาติ
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้ย้ายมาจัด ณ
หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2559
เป็นต้นมา

4

กิจกรรมสำคัญ

งานเทา-งามสัมพันธ์

กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็น

มหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยนเรศวร แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ
แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่
มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุก
วิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-
งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพ
โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้ง 5 มหาวิทยาลัย โดยอธิการบดีร่วมเล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและ
ประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลง
ชัดเจนใน 4 ด้านคือด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัย
ในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การ
จัดการและวิชาการ

5

ประวัติความเป็นมา
ของคณะศึกษาศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์เป็นคณะที่ผลิตบัณฑิต
และมหาบัณฑิตเป็นคณะแรกของ
มหาวิทยาลัยทักษิณ ในชื่อเดิมเมื่อแรกก่อตั้ง
วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลาคือ "คณะ
วิชาการศึกษา" โดยเริ่มการก่อตั้งเมื่อวันที่ 1
ตุลาคม พ.ศ. 2511 ณ ตำบลเขารูปช้าง
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ
เป็นคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมกับการยกฐานะ
วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา ขึ้นเป็น
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 และได้เริ่มเปิด
สอน หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต 4 ปี หลังจากนั้นก็ได้
พัฒนาภารกิจด้านต่าง ๆ ขึ้นมาตามลำดับ และเมื่อวัน
ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ได้กำหนดชื่อใหม่เป็น
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ ตามภารกิจ
มหาวิทยาลัยที่ได้ขยายพื้นที่ไปยังพัทลุง จนกระทั่งวัน
ที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ก็ได้รับการจัดตั้ง
เป็นคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมกับ
การยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้
เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยทักษิณ

6

สัญลักษณ์ประจำคณะ

ปรัชญา การศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญา คุณธรรม จริยธรรม สร้างสรรค์สังคม ประเทศชาติ
สีประจำคณะ ได้แก่ ฟ้า
ดอกไม้ประจำคณะ ได้แก่ ดอกกล้วยไม้
ซึ่งคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้ มีลักษณะและความหมายคล้ายคลึงกับสภาพชีวิตครู กล่าวคือ กว่ากล้วยไม้
แต่ละช่อจะผลิดอกออกผลให้ชื่นชมได้ ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียวกับครูแต่ละ
คน กว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็ญศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในชีวิตได้ ก็ต้องใช้เวลาอบรม
สั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน นอกจากนี้ กล้วยไม้ยังเป็นพืชที่อยู่ในที่สูงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่าย
เปรียบเสมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทยที่ต้องอดทนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ

วิสัยทัศน์
เป็นคณะที่ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคอาเซียน

พันธกิจ
ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาที่รอบรู้และรู้ลึกมีปัญญาคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกความเป็น
ครูและจิตสำนึกในการพัฒนาสังคมมีทักษะการวิจัยการจัดการโดยเน้นกระบวนการจัดการเรียน
รู้ที่มีคุณภาพและมุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการและการจัดการศึกษา
ของคณะสู่ระดับชาติ และระดับภูมิภาคอาเซียน
พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพทางการศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้
ตลอดชีวิตเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นและรองรับการขยายตัวสู่อาเซียน
เป็นคณะที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาศาสตร์เพื่อนำไปสู่การเป็น
คณะที่ผลิตบัณฑิตชั้นนำและได้รับการยอมรับในระดับชาติและภูมิภาคอาเซียน
เป็นศูนย์กลางเรียนรู้และเป็นแกนขับเคลื่อนของเครือข่ายการเรียนรู้ทางศึกษาศาสตร์ในระดับ
ชาติและภูมิภาคอาเซียน

7

บรรณานุกรม

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของบทความ "มหาวิทยาลัยทักษิณ"
ชื่อบทความ: มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้เขียน: อาสาสมัครวิกิพีเดีย
ผู้เผยแพร่: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2021 03:46 UTC
สืบค้นเมื่อ: 30 ธันวาคม 2021 03:46 UTC
ลิงก์ถาวร: //th.wikipedia.org/w/index.php?
title=%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8
%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8
%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8
%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93&oldid=9830921
หมายเลขรุ่นของหน้ า: 9830921

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของบทความ "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ"
ชื่อบทความ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้เขียน: อาสาสมัครวิกิพีเดีย
ผู้เผยแพร่: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2021 19:49 UTC
สืบค้นเมื่อ: 7 กันยายน 2021 19:49 UTC
ลิงก์ถาวร: //th.wikipedia.org/w/index.php?
title=%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%
B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2
%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%A1
%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%
E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0
%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%
B8%93&oldid=9618333
หมายเลขรุ่นของหน้ า: 9618333




8

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4
%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97
%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93#%E0%B8%99%E0%B8%B4
%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2
%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84
%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82
%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4

%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A
8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8
%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0
%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%
E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B

1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93

9

ภาคผนวก

ภาพ: บริเวณป้ายสถาบันมหาวิทยาลัยทักษิณ ภาพ: ลานปู่เลียบที่พึ่งทางจิตใจของนิสิต
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

ภาพ: เครื่องแบบ ชาย-หญิง สถาบันมหาวิทยาลัยทักษิณ

10


Click to View FlipBook Version