ทักษะการฟงั
ศิรพิ ร ดวงสวัสด์ิ
รายงานฉบบั นเ้ี ปน็ ส่วนหน่งึ ของรายวชิ า วาทวทิ ยาสำหรับครู
ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ทกั ษะการฟงั
ศิริพร ดวงสวัสดิ์
รหัสนกั ศึกษา 6401103001215
รายงานฉบับน้ีเปน็ ส่วนหนง่ึ ของรายวิชา วาทวิทยาสำหรับครู
ภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2564
มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสรุ าษฎร์ธานี
ก
คำนำ
รายงานฉบบั นีจ้ ดั ทำข้ึนเพื่อเป็นสว่ นหนง่ึ ของวชิ าวาทวิทยาสำหรับครู มจี ุดประสงค์เพื่อศึกษา
ความรู้เกี่ยวกับทักษะการฟัง โดยรายงานฉบับน้ีมีเน้ือหาเกี่ยวกับ ความหมายของการฟัง ความสำคัญของ
การฟัง วัตถปุ ระสงค์ในการฟัง ลักษณะการฟัง หลักการฟังสาร ประโยชนข์ องการฟัง วิธีพัฒนาทักษะการ
ฟังให้เกดิ ประสิทธิภาพ ลกั ษณะการฟังทดี่ แี ละลกั ษณะการฟังท่ไี ม่ดี และอปุ สรรคและปัญหาในการฟัง
ผจู้ ดั ทำคาดหวงั เป็นอยา่ งย่ิงว่าการจัดทำรายงานฉบบั นี้จะมีข้อมลู ท่ีเป็นประโยชน์ต่อผู้ท่ีสนใจ
ศึกษาในเรื่อง ทักษะการฟัง เป็นอย่างดี
ศิริพร ดวงสวสั ด์ิ
12 กนั ยายน 2564
ข
ข
สารบัญ
เร่อื ง หนา้
คำนำ............................................................................................................................................ ก
สารบัญ ........................................................................................................................................ ข
สารบญั รปู ภาพ............................................................................................................................. ค
ความหมายของการฟัง ........................................................................................................... 1
ความสำคญั ของการฟัง........................................................................................................... 2
วตั ถปุ ระสงคใ์ นการฟัง............................................................................................................ 3
ลักษณะการฟัง ...................................................................................................................... 4
หลักการฟังสาร...................................................................................................................... 5
วธิ ีพัฒนาทกั ษะการฟังให้เกิดประสทิ ธภิ าพ.............................................................................. 8
ประโยชนข์ องการฟัง.............................................................................................................. 9
ลกั ษณะการฟังที่ดแี ละลกั ษณะการฟงั ที่ไมด่ ี .......................................................................... 10
อปุ สรรคและปัญหาในการฟัง ............................................................................................... 12
บทสรปุ ...................................................................................................................................... 15
บรรณานกุ รม.............................................................................................................................. 16
ค
สารบญั รูปภาพ
หนา้
ภาพที่ 1 แผนภมู กิ ระบวนการฟังอย่างมวี ิจารณญาณ ............................................................................... 9
1
ทักษะการฟงั
การฟังเป็นกระบวนการของการรับสารซึง่ นับว่าเป็นทักษะที่สำคัญและมนุษย์ใช้มากที่สุด ทั้ง
เป็นการส่ือสาร ท่ีมากอ่ นการพูด การอ่านและการเขียน การฟังมคี วามสำคัญอยา่ งมากต่อความสำเร็จหรือ
ความล้มเหลวของการสื่อสาร มีผู้สำรวจว่า ความล้มเหลวของการสื่อสารนั้นเกิดจากการฟังมากทีส่ ดุ การ
ฟงั อย่างมปี ระสิทธภิ าพจงึ มคี วามสำคัญและทำให้การสื่อสารสมั ฤทธผิ ลได้
ความหมายของการฟัง
การฟังเป็นทักษะทางภาษาท่ีมนุษย์ใช้มากทีส่ ุด บางครั้งอาจมีผู้เข้าใจว่า การฟังมีความหมาย
เหมือนการได้ยิน แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังกับการได้ยินมีความหมายแตกต่างกัน พจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546, หน้า 811) ให้ ความหมายของคาว่า “ฟัง” ไว้ว่า “ตั้งใจสดับ คอย
รับเสียงด้วยหู” ส่วนการได้ยิน (2546, หน้า 419) หมายถึง “รับรู้เสียงด้วยหู” จากทั้งสองความหมายน้ี
เป็นทีน่ ่าสงั เกตว่า การฟงั มีความเก่ยี วข้องกบั การต้ังใจฟังตา่ งจากการได้ยนิ ซึ่งเปน็ เพียงการรับรู้เสียงด้วย
หูเท่าน้ัน
ปรีชา ช้างขวัญยืน กล่าวว่า การฟัง คือ พฤติกรรมการใช้ภาษาท่ีเกิดขึน้ ภายในตวั บุคคลของ
บุคคลหนึ่งหลังจากได้ยินเสียงพูดหรือเสียงอ่าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมการใช้ภาษา ภายนอกตัวบุคคลจากอีก
บุคคลหนึง่ เมื่อเสียงนัน้ มากระทบโสตประสาทของผูร้ ับ คือ ผู้ฟัง แล้ว ผู้ฟังก็จะนาเสียงพูดเหล่านัน้ เข้าสู่
กระบวนการทางสมอง คือ การคิด ด้วยการแปล ความ ตีความจนเกิดความเข้าใจ ทั้งนี้ถ้าเสียงดังกล่าว
เป็นเสียงในภาษาเดียวกันของทั้ง ผู้พูดและผู้ฟัง การฟังก็จะเกิดผลได้ง่าย ถูกต้องและชัดเจน (ปรีชา ช้าง
ขวญั ยืน, 2525, หน้า 4-5)
2
สรุป ความหมายของการฟงั จากทก่ี ล่าวมาขา้ งต้น สามารถสรปุ ความหมายของการฟงั ไดว้ า่ การ
ฟงั หมายถึง พฤติกรรมการรับสารผา่ นโสตประสาทอย่างตั้งใจเช่อื มโยงกับ กระบวนการคิดในสมอง โดย
สมองแปลความหมายของเสียงจนเกิดความเขา้ ใจ และมปี ฏิกิรยิ าตอบสนอง การฟงั จงึ เป็นกระบวนการที่
เกิดข้ึนภายในตัวบุคคล
ความสำคญั ของการฟงั
การฟังมีความสำคัญมากต่อการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน ดังจะเห็นว่ามนุษย์
ใช้เวลาไปการฟังมากที่สุดหากเปรียบเทียบกับการพูด การอ่านและการเขียน การฟังจึงมีความสำคัญใน
การกำหนดความลม้ เหลวหรอื ความสำเร็จของการส่อื สารอย่างมาก ความสำคัญของการฟัง สรุปได้ดงั นี้
1. การฟังทำให้ได้รับความรู้เพราะการฟังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เช่น การฟัง
บรรยายของอาจารยใ์ นชนั้ เรียน ฟงั วิธที าขนมไทย ฟงั วธิ ีปลูกไมด้ อก เปน็ ต้น
2. การฟงั ทำให้รูข้ ้อมลู ขา่ วสารตา่ งๆ ท่เี ปน็ ประโยชนต์ อ่ ตนเองและสังคม ทำให้รู้เท่าทันความ
เปล่ียนแปลงของคน และสังคม
3. การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหน่ึงของมนุษย์ ทั้งที่เกิดจากการฟังจากบุคคลโดยตรง
หรอื ฟังผา่ นสอ่ื อิเล็กทรอนิกส์
4. การฟังช่วยยกระดับจิตใจ ทำให้เข้าใจความเป็นมนุษย์หรือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี
ความสุขได้ เช่น การฟงั ธรรมเทศนา การฟงั โอวาท เป็นต้น
5. การฟงั ทำใหไ้ ด้รบั ความบนั เทิง ชว่ ยผอ่ นคลายความเครยี ด
5. การฟังช่วยพัฒนาทักษะการพูดให้มีประสิทธิภาพได้กล่าวคือ การฟังช่วยให้ผู้ฟังได้เรียนรู้
วิธีการพูด เนื้อหาสาระของสาร วิธีการน าเสนอสาร บุคลิกภาพ ฯลฯ ซึ่งสามารถนามาปรับใช้กับวิธีการ
พูดของตน ทำให้เกิดความมน่ั ใจขณะพดู และทำใหก้ ารพดู ของตนมปี ระสทิ ธภิ าพมากยิ่งข้ึน
7. การฟงั อยา่ งมีประสทิ ธิสามารถสร้างความเขา้ ใจอนั ดรี ะหวา่ งคนในสงั คม
3
8. การฟังเป็นเครื่องมือช่วยสืบทอดความงามทางวรรณศิลป์และฉันทลักษณ์ของไทย เช่น
การฟงั บทรอ้ ยกรอง บทกวี บทสวดมนต์ เพลงไทยเดมิ เปน็ ต้น
วตั ถปุ ระสงค์ในการฟัง
วัตถุประสงค์ในการฟังของคนเรานั้นย่อมต่างกันไปตามความต้องการของผู้ฟังแต่ละคน
ทิพวรรณ หอมพูล (2538 : 55) ศศิธร ธัญลักษณานันท์ (2542 : 154) จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ (2544 : 79)
และฐะปะนขี ์ นาครทรรพ และคณะ (2546 : 51 - 52) กล่าวถงึ วัตถุประสงค์ของการฟงั ไว้ตรงกนั ดังน้ี
1. การฟงั เพอ่ื ความสนุกสนานเพลิดเพลนิ การฟงั ชนดิ นี้ เป็นการฟังอยา่ งนิยมชมชอบ ผูฟ้ ังจะ
ได้รับความสนุกสนานเพลดิ เพลิน
2. ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ เพื่อให้เข้าใจในทัศนคติ และซาบซ้ึงในความรู้สึกของผู้พูด การฟัง
เพื่อให้เกิดความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนิสิตนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เช่น การฟังคำบรรยายในชั้นเรียน การ
ฟงั ในลกั ษณะนผี้ ฟู้ ังต้องร้จู ักจบั ใจความสำคัญของสารให้ได้ ฟงั แลว้ จดบนั ทกึ ได้
3. ฟังเพื่อให้ได้ข้อเกตการฟังลักษณะนี้ มุ่งหมายเพ่ือหาข้อคิดเป็นคติชีวิตของบุคคลจึงต้อง
อาศัยการพิจารณาด้วยเหตุผล ตัดสินว่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดและมีข้อคิดที่มีประโยชน์สามารถ
นำไปใชใ้ นการดำเนินชวี ิตของตนได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมบา้ ง เชน่ การฟังพระเทศน์ เปน็ ต้น
สรุปได้ว่าวัตถุประสงค์ของการฟัง มีหลากหลายประการทั้งเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์สามารถวิเคราะห์เหตุผลสนับสนุนความเชื่อหรือความขัดแข้ง และ
เพอ่ื ให้เกิดความซาบซึ้งในคุณคา่ ของเร่ืองท่ีฟัง
4
ลักษณะการฟงั
การฟงั สามารถแบง่ ไดห้ ลากหลายลกั ษณะ สรุปได้ดังนี้
1. การฟงั อยา่ งเขา้ ใจ เปน็ การฟงั ขน้ั พืน้ ฐานท่ีใช้ได้ทุกสถานการณ์ เช่น ฟงั เพ่อื ใหส้ ามารถรับรู้
เข้าใจเรื่องราว เข้าใจความคิดของบุคคล เข้าใจความหมายของสารแล้วสามารถนำสิ่งที่ได้ฟังไปปฏิบัติได้
ฯลฯ การฟังลักษณะนี้ผู้ฟังควรฟังโดยตลอด ใช้ความคิดพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลาง และยอมรับความรู้
ความคิดหรือมุมมองต่างๆ ของผ้สู ง่ สาร อาจมีการจดบันทึกประเดน็ สำคัญๆ ไปด้วยก็ได้
2. การฟังอย่างมีจุดม่งุ หมาย เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้ังวัตถปุ ระสงค์ใดวตั ถุประสงค์หนึ่งไว้ล่วงหน้า
เชน่ ต้องการฟงั เพื่อความรู้ เพอ่ื ความบันเทงิ เพ่อื การตดั สินใจ เป็นต้น การฟงั อย่างไม่ได้ตงั้ จุดมุ่งหมายจัด
ว่าเป็นการฟังแบบผ่านๆ ผู้ฟังจะไม่ได้ประ โยชน์จากสิ่งที่ได้ฟัง การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมายจึงเป็นพื้นฐาน
สำคญั ของการฟงั อย่างมปี ระสิทธิภาพ
3. การฟงั อย่างมวี ิจารณญาณ จัดเป็นการฟังท่ีต้องใช้ความคดิ วิเคราะห์สารท่ีได้ฟัง มักคำเนิน
ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สาร จัดเป็นการฟังขั้นสูง ผู้ฟังต้องจับประเด็นว่าจุดมุ่งหมายของผู้พูดคืออะไร
และแยกแยะวา่ สว่ นใดท่เี ปน็ ขอ้ เท็จจรงิ และเป็นข้อคิดเหน็ โดยใชก้ ระบวนการคิดใคร่ครวญดว้ ยเหตผุ ล จน
นำไปสู่การตอบสนองที่ถูกต้องเหมาะสม การฟังอย่างมีวิจารณญาณจะทำให้ผู้ฟังได้รับประโชชน์และได้
ขอ้ มูลทีเ่ ปน็ จรงิ
4. การฟังอย่างประเมินคุณค่า เป็นการฟังในระดับสูงต่อมาจากการฟังอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นการฟังที่ผู้ฟงั ต้องประเมนิ หรือตดั สินคณุ ค่าของสารที่ฟงั ว่าดหี รือไม่ มีประโยชน์หรอื ไม่ เหมาะแก่การ
นำไปปฏิบัติหรือไม่ ผู้ฟังควรฟังอย่างตั้งใจและสามารถวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ฟังได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
การฟังอยา่ งประเมินคุณคา่ ทำให้ผู้ฟังตระหนักได้ว่าข้อมูลนัน้ น่าเช่อื ถือมากน้อยเพยี งใด
5
หลกั การฟงั สาร
การฟังอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้ฟังได้รับความรู้และความเพลิดเพลิน ซึ่งจะช่วยพัฒนา
สติปัญญาให้เจริญงอกงามได้ การจะฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ฟังควรรู้หลักการฟังเพื่อนำไปพัฒนา
ทักษะการฟังของตนเอง ทง้ั ตอ้ งหมน่ั ฝึกฝนและพฒั นาประสิทธภิ าพในการฟังอยา่ งสม่ำเสมอ
การฟังสารประเภทต่าง ๆ ผู้ฟังควรรู้วิธีการฟังและลักษณะของสาร เพื่อให้ได้รับประโยชน์
สงู สดุ หลกั การฟังสารอาจแยกไดก้ ว้างๆ เปน็ 3 ประเภท ดงั นี้
1. การฟังสารที่ให้ความรู้ สารที่ให้ความรู้จะมีลักษณะเนื้อหาที่มุ่งให้สาระความรู้และ
ข้อเท็จจริงแก่ผู้ฟังมากกว่ามุ่งให้ความเพลิดเพลิน เช่น เรื่องทางวิชาการ เรื่องที่มีสาระประโยชน์ข่าวสาร
ตา่ งๆ ฯลฯ การฟงั สารท่ีให้ความรู้มีจดุ มงุ่ หมายเพื่อให้เกิดความรู้ความเขา้ ใจ และสามารถนำความรู้น้ันไป
ปรับใช้ได้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนทำให้เกิดการคิดและการตัดสินใจด้วย หลักการฟังสารประเภทให้
ความรมู้ ดี ังนี้
- ควรฟงั อย่างต้งั ใจและฟังตลอดท้ังเรือ่ ง
- ควรจดบนั ทึกประเด็นสำคญั เพ่อื ใหเ้ ข้าใจเนือ้ หาของสารและไว้เตือนความจำ
- พยายามจบั ใจความสำคญั ของเรอื่ งให้ได้
- ควรวิเคราะห์และตีความสารที่ได้ฟัง ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น
และพิจารณาวา่ เชอ่ื ถอื ไดม้ ากนอ้ ยเพียงใด ทัง้ น้ีเพ่ือให้ได้ส่วนท่ีเป็นความรูจ้ รงิ ๆ
- ฟังแล้วลองตัง้ คำถามหรือนำเสนอประเด็นที่ตอ้ งการอภิปราย เพื่อทบทวนความเข้าใจ
และเพ่ิมพนู ความรู้ (ในกรณที เี่ ป็นการฟงั ในช้นั เรยี น งานสมั มนา หรืองานประชุมกลุม่ ย่อย)
- พิจารณาถ้อยคำภายาว่ามีลักษณะอย่างไร โดยทั่วไปแล้วสารประเภทให้ความรู้มักใช้
ถอ้ ยคำภาษาท่ตี รงไปตรงมา ชดั เจน
- หลงั การฟังควรทบทวนสิง่ ทไี่ ดฟ้ ัง
6
สารที่ให้ความรู้จะช่วยให้ผู้ฟังได้เพิ่มพูนความรู้และ ได้ฝึกคิดพิจารณา ซึ่งเป็นการพัฒนา
สตปิ ญั ญา ผูฟ้ ังจงึ ควรฝึกฝนทักษะการฟังสารประเกทน้ีอย่างสม่ำเสมอ เป็นท่ีนา่ สงั เกตว่า การฟังสารที่ให้
ความรู้บางประเกทก็เข้าใจขาก เช่น เนื้อหาของบทเรียนที่มีความลึกซึ้งซับซ้อน ผู้ฟังต้องใช้ความอดทน
และตัง้ ใจเพื่อให้เกดิ ความเข้าใจ นอกจากน้ี สารประเภทขา่ ว บทสัมภาษณห์ รือบทแสดงความคิดเหน็ ผู้ฟัง
ก็ควรพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วนก่อนที่จะปักใจเชื่อ ดังนั้นการฟังสารที่ให้ความรู้บางประเภทผู้ฟังจึง
จำเปน็ ตอ้ งฟงั อย่างเขา้ ใจและมีวจิ ารณญาณควบคกู่ นั ไปดว้ ย
2. การฟังสารที่โน้มน้าวใจ สารประเภทโน้มน้าวใจเป็นสารที่พบได้ในชีวิตประจำวันมากท่สี ุด
สารประเกทนอี้ าจมาจากสอื่ มวลชน มาจากคำบอกเลา่ จากปากสูป่ าก มกั มลี กั ษณะโฆษณา ชวนเชื่อ ชักจงู
และ โน้มข้าวใจให้เชื่อหรือปฏิบัติตาม ด้วยการใช้ถ้อยคำที่น่าเชื่อถือ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด เช่น
การโฆษณาสนิ ค้า การหาเสียง การขอรอ้ ง วิงวอน ฯลฯ การฟงั สารประเกทน้จี ึงควรใชว้ จิ ารณญาณในการ
ฟังเสมอ หลักการฟังสารประเภทโน้มน้าวใจมีดังน้ี
- ต้ังใจฟังตลอดทง้ั เร่อื ง
- ควรแยกแยะให้ไดว้ ่าผู้พดู มจี ุดหมายอย่างไร
- พจิ ารณาวา่ จดุ มุ่งหมายน้นั ดหี รือไม่ เป็นประโยชนห์ รือไม่
- ควรใช้วิจารณญาณในการฟัง พิจารณาความสมเหตสุ มผล
- พิจารณาการใช้ภาษาว่าเป็นอย่างไร โดยทั่วไปแล้วสารประเภทโน้มน้าวใจมักใช้ภาษา
ในลกั ษณะชกั จูง ชวนเชื่อ และเร้าอารมณ์
- ประเมนิ ค่าวา่ ควรเช่อื ถือหรือนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ ไมค่ วรคถ้อยตามง่าย ๆ
7
3. การฟังสารท่ีจรรโลงใจ สารประเภทจรร โลงใจ คือสารที่มุ่งใหผ้ ู้ฟังไดร้ ับความสุข ได้ข้อคิด
ทำให้คลายความทุกข์ ได้รับความเพลิดเพลิน เกิดความซาบซึ้ง เกิดจินตภาพรวมถึงยกระดบั จิตใจ อาจได้
จากการฟงั บทเพลง คำประพนั ธ์ บทละคร สนุ ทรพจน์ โอวาท พระธรรมเทศนา เปน็ ต้น หลกั การฟังสารท่ี
จรรโลงใจมดี งั น้ี
- ทำจิตใจให้ผอ่ นคลาย
- ตง้ั ใจฟังและฟงั ให้ตลอดทัง้ เรอ่ื ง
- จบั สาระสำคัญของสารใหไ้ ดว้ ่าต้องการสือ่ ความหมายอะไร โดยการฟังอยา่ งเขา้ ใจ
- พจิ ารณาสารที่ได้ฟังวา่ มีเหตมุ ีผลสอดรับกันอย่างไร
- พิจารณาลักษณะการใชภ้ ายาว่าเป็นอย่างไร เหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่ โดยทั่วไปสาร
ประเภทจรร โลงใจมกั จะใชภ้ าษาที่สละสลวย มภี าพพจน์ ทำให้เกดิ จินตภาพ
- หลงั การฟงั สารประเภทโอวาทหรือพระธรรมเทศนา ผ้ฟู งั ควรทบทวนวา่ สารที่ได้ฟังน้ัน
มปี ระโยชนอ์ ยา่ งไร ควรแกก่ ารนำไปปฏิบัตติ ามหรอื ไม่
หลักการฟังสารประเภทต่างๆ ข้างต้น เป็นแนวทางในการฟังสารให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ฟัง
ควรนำไปฝึกฝน โดขอาจฝึกฝนจากเรื่องใกล้ตัว เช่น นักเรียนนักศึกษาอาจเริ่มฝึกฟังสารที่ให้ความรู้จาก
การบรรยายบทเรียนของอาจารย์ในชั้นเรียน หรือลองฝึกฟังโฆษณาสินค้าในโทรทัศน์โดยใช้หลักการฟัง
สารประเภทโน้มน้าว เป็นต้น การฝึกฝนทักษะการฟังอยู่เสมอจะทำให้สามารถพัฒนาการฟังให้มี
คณุ ภาพได้
8
วิธีพัฒนาทักษะการฟงั ให้เกิดประสิทธภิ าพ
การฟังให้เกิดประสิทธิภาพ ผู้ฟังจะต้องเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการฟังให้มี
ประสิทธภิ าพ วิธพี ฒั นาการฟงั ให้เกดิ ประสทิ ธิภาพมีขั้นตอนดงั นี้
1. สร้างความสนใจและความต้องการที่จะฟัง การฟังอย่างมีประสิทธิภาพควรเริ่มมาจากการ
พัฒนาให้ผู้ฟังมีนิสัยรักการฟัง โดขการฝึกฟังเรื่องต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการฟังอยู่เสมอให้ความ
สนใจกับเรอื่ งท่ีฟงั แม้เรอื่ งทีฟ่ งั จะไม่ตรงกบั ความสนใจของตนเองก็ตาม
2. กำหนดวัตถุประสงค์การฟังให้ชัดเจน ผู้ฟังควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการฟังทุกครั้งและ
ควรกำหนดให้ชัดเจนด้วย เช่น ฟังเพื่อความรู้ หรือฟังเพื่อความบันเทิง เป็นต้น การกำหนดวัตถุประสงค์
จะช่วยสรา้ งแนวทางในการฟงั ทำให้ผูฟ้ ังไดเ้ ตรียมความพร้อมอยา่ งเหมาะสม ซงึ่ จะชว่ ยให้ผฟู้ ังสามารถจับ
ประเดน็ สำคัญของสารท่ีฟังไดง้ ่ายข้ึน
3. ฝึกสมาธิในการฟัง ผู้ฟังควรตัง้ ใจฟัง มีสมาธิกับเรื่องที่กำลงั ฟัง ไม่พยายามสนใจต่อสิ่งรอบ
ข้าง เพอื่ ให้ไดข้ ้อมลู ครบถ้วน ตรงตามวัตถปุ ระสงค์ทีต่ ัง้ ไว้ หรือหากมีข้อสงสยั จะได้เตรยี มสอบถามผู้พูดได้
อยา่ งตรงประเด็น ท้งั จะทำให้สามารถจดบนั ทกึ ข้อมลู ต่างๆ ได้ครบถ้วนดว้ ย
4. ฝึกจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟัง การจับใจความสำคัญเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการ
พัฒนาทักษะการฟัง เนื้อหาของสารแต่ละประเภทจะประกอบด้วยส่วนที่เป็นใจความสำคัญ และส่วนท่ี
เป็นรายละเอียดซ่งึ ผู้ฟังจะต้องแยกแยะให้ออก ผฟู้ ังควรฟังเรื่องราวตลอดทงั้ เรื่องอยา่ งต้ังใจ และพยายาม
หาใจความสำคัญว่าคืออะไร การจับใจความสำคัญสามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกจับฟังและฝึกจับใจคว าม
สำคญั จากเรือ่ งท่ฟี ังนั้นบอ่ ยๆ
5. ฝึกวิเคราะห์สารที่ได้ฟัง การวิเคราะห์สารคือการแยกแยะเนื้อหาสาระของสารว่ามีกี่
ประเด็น มีลำดับอยา่ งไร ส่วนใดคือข้อเท็จจริงและสว่ นใดคือข้อคิดเหน็ โดยผู้ฟงั จะต้องตัง้ ใจฟังสารตลอด
ทั้งเรื่อง ขณะฟังให้พยายามสังเกตถ้อยคำ สีหน้า และน้ำเสียงของผู้พูดเพราะส่วนที่ลงเสียงหนักหรือเน้น
เสียงมกั เปน็ ส่วนท่สี ำคัญ การวิเคราะหส์ ารจะชว่ ยให้จับใจความสำคัญไดง้ า่ ยขน้ึ
9
6. ฝึกใช้วิจารณญาณในการฟัง การใช้วิจารณญาณในการฟังจัดเป็นกระบวนการคิดขั้นสูง มี
ความซับซ้อน การฟังอย่างมีวิจารณญาณจะต้องเริ่มจากความตั้งใจและความเข้าใจเรื่องที่ฟังทั้งหมด
เสียก่อน แล้วจึงนำมาพิจารณา ใคร่ครวญ โดขใช้ความรู้ ความคิด เหตุผลและประสบการณ์ของตน
ประกอบ ผู้ฟังควรพิจารณใหไ้ ดว้ า่ ผูพ้ ูดมีวัตถุประสงค์ในการพูดอย่างใด มีความเปน็ ไปได้มากน้อยเพียงใด
มคี วามจรงิ ใจหรือไม่ สารทไี่ ด้ฟังมคี วามนา่ เชื่อถอื เพียงใด และควรแกก่ ารนก็ไปปรบั ใช้กับชีวติ หรอื ไม่
ภาพที่ 1 แผนภูมกิ ระบวนการฟงั อยา่ งมวี จิ ารณญาณ
ทมี่ า : อภริ กั ษ์ อนะมาน (2549, หนา้ 34)
จากแผนภมู ิจะเหน็ วา่ การฟงั โดยปกตจิ ะเริ่มจากการ ไดย้ นิ เกดิ การรับรูแ้ ละเข้าใจความหมาย
ของสาร จากนั้นจะถึงขั้นการฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือการพิจารณาใคร่ครวญ แยกแขะ ได้ว่าส่วนใดคอื
ใจความสำคัญ ส่วนใดที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดที่เป็นข้อคิดเห็น และสามารถวินิจฉัยและประเมินค่าได้ว่า
สิ่งท่ไี ดฟ้ ังนนั้ เชอ่ื ถือไดห้ รือไม่ และจะนำไปใชป้ ระโยชน์ไดเ้ พียงใด
ประโยชนข์ องการฟงั
โรเบิร์ต แอล มอนต์โกเมอรี (วีรชัย ตันดีวีระวิทยา.2332) สรุปประโยชน์จากการตั้งใจฟังไว้
ดังน้ี
1. ปลกุ คณุ ใหต้ นื่ ตัวควา้ โอกาสกอ่ นคแู่ ข่งของคุณจะไหวตามตัวทัน
2. สร้างความเข้าใจอันลกึ ซ้ึง ซึง่ เป็นสง่ิ ทีน่ ักบริหารประเภท "ไมม่ ีเวลารบั ฟัง" มไี มไ่ ด้
10
3. ดึงดูดแรงสนับสนุนจากบุคคลทุกระดับ ไม่ว่าเจ้านาย คนระดับเดียวกัน และลูกน้องของ
คณุ ใหท้ ำงาน
4. เชื่อมประสานความสัมพันธ์ส่วนตัวท่ีดีงามกับลูกตั้ง เพื่อนร่วมงาน ครอบครัวและมิตร
สหายอยา่ งแน่นแฟ้น
5. ลดการกระทบกระทัง่ และแกไ้ ขข้อขดั แย้งอยา่ งได้ผล
6. ขจดั อปุ สรรคและเคร่อื งกีดขวางที่เขา้ มากางก้นั คณุ ไว้
7. เออื้ อำนวยใหง้ านวางแผน งานขาย และงานเจรจาต่อรองรุดหนา้ ไปดว้ ย
8. ตอกช้ำความเชอื่ ม่ัน อำนาจหนา้ ที่ และความเป็นผูน้ ำให้หนักแน่นกว่าใช้คำพูด
9. บอกคณุ ใหท้ ราบจังหวะ เวลา และวธิ ีทำงานทเี่ หมาะสม
10. ปิดช่องวา่ งของความเข้าใจผิดกอ่ นลกุ ลามไปสู่จุควกิ ฤตลิ กั ษณะการฟัง
ลกั ษณะการฟงั ทดี่ ีและลักษณะการฟังท่ไี ม่ดี
วธิ ีการเรียนรู้หลกั การฟังทีด่ ีอยา่ งหนึ่ง คอื ผู้ฟงั ควรรถู้ งึ ลกั ษณะการฟงั ที่ดีและไม่ดีเพื่อนำมาใช้
พฒั นาทกั ษะการฟงั ของตนเอง โดยสว่ นใดดกี ็นำมาใช้ สว่ นใดไมด่ ใี ห้ตระหนกั รู้และละเว้นเสยี
ลกั ษณะการฟังท่ีดี
1. มีสมาธิในการฟัง ผู้ฟังควรมีสมาธิในการฟัง ไม่นำเรื่องอื่นมาปะปนทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน
พยายามพุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่กำลังฟัง ผู้ฟังที่ไม่มีสมาธิในการฟังจึงควรหมั่นฝกึ สร้างสมาธิในการฟัง
ของตนเอง เพ่อื จะได้ฟงั เรือ่ งไดอ้ ยา่ งครบถ้วนสมบรู ณแ์ ละไดป้ ระโยชนจ์ ากการฟังเตม็ ที่
2. ตงั้ จดุ มงุ่ หมายในการฟงั การฟงั ทด่ี จี ะตอ้ งต้งั จุดมงุ่ หมายไว้ทุกคร้ังวา่ ฟังเพ่อื อะไร นำเร่ืองท่ี
ฟังไปใช้ประ โยชนไ์ ด้อยา่ งไร การฟงั อย่างไรจ้ ดุ ม่งุ หมาย ผ้ฟู ังจะไม่ได้ประ โยชนใ์ ดๆจากการฟงั เลย
3. สนใจและตั้งใจฟัง ผู้ฟังที่ดคี วรให้ความสนใจเร่ืองที่ผู้พูดพูด พร้อมกับตั้งใจฟังแมเ้ รื่องที่ฟงั
จะไม่อยู่ในความสนใจหรือรสนิยมก็ตาม และพิจารณาว่าผู้พูดกำลังพูดถึงอะไร การสนใจฟังควรสนใจฟัง
เฉพาะเรือ่ ง ไม่ใชเ่ อาใจใสฟ่ งั เสยี งทุกเสียงท่ผี ่านเข้ามา
11
4. ต้องไม่มีอคติ อคติ คือ ความลำเอียง เป็นได้ทั้งความชอบและความไม่ชอบความลำเอียง
อาจทำให้ผู้ฟังเข้าใจเจตนาของผู้พูดผิดไป หรือแปลสารจากเรื่องที่ ฟังผิดความหมายคลาดเคลื่อนจาก
ความเปน็ จรงิ ผูฟ้ งั ทีด่ จี ึงควรเปิดใจกวา้ ง มีใจเปน็ กลาง ยอมรบั ความคิดเหน็ ของผอู้ นื่
5. ขณะทฟี่ งั ควรจดบนั ทกึ ประเด็นสำคญั ไวอ้ ย่างมีระบบเพ่ือชว่ ยจำ
6. ถ้ามีตอนใดที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ ควรซักถามผู้พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย
การถามน้นั ควรถามเมอ่ื ผูพ้ ูดพดู จบความแลว้ หรอื เมอื่ ผพู้ ดู เปิดโอกาสใหถ้ าม
7. ฟงั อยา่ งมวี ิจารญาณ ผฟู้ งั ควรฟังเน้อื หาให้ครบถว้ น พิจารณาใครค่ รวญแยกแยะส่วนที่เป็น
เหตุผล และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูด มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และเหมาะนำไปปฏิบัติตาม
หรอื ไม่
8. จับประเด็นสำคัญ ขณะที่ฟังผู้ฟังควรจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟัง แล้วพยายามสรุป
ความคิดรวบยอด (Concept) จะทำใหผ้ ู้ฟังเขา้ ใจสารท่ีผู้พูดสง่ มาได้
9. หลังการฟัง ผู้ฟังควรพิจารณาทบทวนสิ่งท่ีได้ฟังอีกครั้ง ว่าสิ่งใดนา่ เช่ือถือผู้ฟงั ไดร้ ับความรู้
ความคดิ อันเป็นประ โยชนต์ อ่ ตวั ผฟู้ งั อย่างไร
ลกั ษณะการฟังที่ไม่ดี
1. คิดเอาเองว่าเรื่องที่ฟังไม่น่าสนใจ ผู้ฟังบางคนชอบคาดเดาเรื่องถ่วงหน้า การคิดเอาเอง
ล่วงหน้าจะเป็นการตีกรอบความคิดของผู้ฟังทำให้ความคิดและการรับรู้ถูกจำกัดและมุ่งไปในทิศทางท่ี
ตนเองคดิ ไว้ ซึ่งอาจทำใหเ้ กิดความเขา้ ใจคลาดเคล่ือนและสรปุ ประเด็นผิด
2. ชอบวิพากษ์วิจารณ์วิธีการพูดของผู้พูดหรือชอบวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาของสารที่ได้ฟังไป
ด้วย การวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวจะทำให้ผู้ฟังละเลยเนื้อหาสาระของผู้พูด ซึ่งอาจเป็นประเด็นที่น่าสนใจ
และเป็นประโยชนก์ ็ได้
12
3. เลือกฟังเฉพาะบางตอนที่ตนรสู้ กึ สนใจหรอื เลือกฟงั เฉพาะข้อเทจ็ จริงเท่านั้นการฟังลักษณะ
นีจ้ ะเปน็ การปิดก้นั โลกทัศนแ์ ละความรอบรขู้ องผู้ฟังเอง และจะทำให้ไม่เข้าใจเน้อื เรือ่ งได้ทั้งหมด
4. ฟังแล้วคดิ คดั ค้านอยู่ในใจตลอด การคดิ คัดค้านมักเกดิ มาจากการมีอคตติ ่อสิง่ ใดส่ิงหนึ่ง ไม่
วา่ จะเปน็ ตัวผู้พูด วธิ กี ารพูด หรอื เน้ือหาทพ่ี ูด ทำใหผ้ ู้ฟังร้สู ึกไมพ่ อใจและคดิ ขดั แย้งตลอดเวลา
5. จดทุกสิ่งทุกอยา่ งท่ีผู้พูดพูด ผู้ฟังไม่ควรจดทุกอย่าง เพราะละทำให้ไม่ได้ฟังเรื่องราว พะวง
แต่การจด ผฟู้ ังจงึ ควรเลือกจดแตป่ ระเด็นสำคัญจากความเข้าใจของตนเอง
6. เสแสร้งวา่ ฟังเข้าใจ ผฟู้ ังไม่คารเสแสร้งทำเปน็ ว่าฟังเข้าใจ เม่ือฟังไม่เข้าใจหรือฟังตามผู้พูด
ไม่ทันควรซกั ถาม ให้ผู้พดู ขยายความหรือพูดอีกครั้งในเวลาท่เี หมาะสม
อปุ สรรคและปญั หาในการฟงั
อุปสรรคและปญั หาในการฟังเกดิ ได้จากหลายสาเหตุ แต่เมื่อเกิดข้ึนแลว้ ล้วนสง่ ผลให้การสือ่ สาร
ไม่สัมฤทธิ์ผล เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างผู้พูดกับผู้ฟงั และอาจทำให้ผูฟ้ ังไม่สามารถวิเคราะห์สิ่ง
ทีฟ่ ังได้ สาเหตุของอุปสรรคและปัญหาทที่ ำให้การฟังไมส่ ัมฤทธผ์ิ ลสรปุ ได้ 5 สาเหตุใหญๆ่ ดงั นี้
1. สาเหตุจากผ้ฟู ัง สาเหตุจากผฟู้ งั สว่ นใหญ่เกิดมาการขาดความพร้อมของผู้ฟังและนิสัยการฟังที่
ไม่ดี เช่น ทนฟังนานๆ ไม่ได้ ขาดสมาธิ เช่อื คนง่าย ไมม่ คี วามรู้เก่ียวกับเรื่องทีฟ่ งั ขาดทักษะการจับใจความ
สำคัญ ไมช่ อบบนั ทึกข้อมูล มปี ัญหาสุขภาพ เป็นตน้ ผู้ฟงั ท่ดี คี วรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและนิสัยดังกล่าว
และพยายามพัฒนาทักษะการฟังอยู่เสมอ อุปสรรคและปัญหาเหล่านี้ ผู้ฟังสามารถปรับให้ดีขึ้นได้เพราะ
เกิดมาจากตัวผู้ฟังเองนอกจากนสิ ัยการฟังแล้ว ปัญหาในการฟังอาจเกิดมาจากการที่ผู้ฟงั ไม่รูจ้ ักวิธีการฟงั
ที่ถูกต้อง อาทิเช่น ผู้ฟังบางคนฟังไม่ถูกวิธี เช่น เข้ามาฟังอาจารย์บรรยายในชั้นเรียนแต่กลับฟังแบบ
สบายๆ เหมือนการพักผ่อนแทนที่จะมีการจดบันทึก และคิดตามหรือบางคนชอบฟังผ่านๆ ไม่ใช้
กระบวนการคดิ ทำให้ความรู้ทีไ่ ด้รับมีลกั ษณะผวิ เผิน หรอื บางคนชอบประเมินคา่ สงิ่ ที่ไดฟ้ งั ตลอดเวลาไม่ว่า
จะเป็นการวิเคราะห์สาร วิเคราะห์กลวิธีพูดและบุคลิกภาพของผู้พูด ซึ่งอาจทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมาย
13
หรืออยากฟังเข้าใจสารผิดวัตถุประสงค์เช่น ผู้พูดส่งสารที่ตลกขบขันเพื่อสร้งบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่
ผฟู้ งั เอาแตป่ ระเมนิ คำสารอยจู่ นอาจไม่ไดร้ ับสาระบนั เทิงตังกลา่ วกไ็ ด้
2. สาเหตจุ ากผพู้ ดู ผพู้ ดู เป็นอีกฝา่ ยหนึ่งทมี่ ีส่วนสำคัญตอ่ กระบวนการฟงั ทม่ี ปี ระสิทธิภาพ การฟงั
ท่ีมปี ระสิทธิภาพนอกจากผู้ฟังจะต้องมีทักษะการฟังที่ดีแลว้ ผู้พดู ควรมที ักษะการพูดทีด่ ีดว้ ยเช่นกนั หากผู้
พดู มขี ้อบกพร่องเกีย่ วกับวิธีการพูดการนำเสนอสาร หรือบคุ ลิกภาพอาจจะทำให้ผู้ฟังเชา้ ใจประเด็นผิด ไม่
เช่อื ถอื และไม่สนใจฟังก็เป็นได้ สาเหตจุ ากผพู้ ูดพอสรุปได้ดงั น้ี
2.1 ผพู้ ูดขาดทักษะการสง่ สาร เช่น ไม่สามารถถ่ายทอดความคิดหรือความรู้เป็นคำพูดได้
ไม่คุน้ เคยต่อการนำเสนอต่อหนา้ ทปี่ ระชมุ ชน ฯลฯ
2.2 ผ้พู ดู รสู้ กึ ประหม่า ต่นื เตน้ หรือกลวั จนพูดไม่ออกหรือพูดติดขัด ซึ่งอาจทำให้ฟังแล้ว
เข้าใจยากและอาจทำใหไ้ ม่
2.3 ผู้พูดกังวลเรื่องเนื้อหาที่จะพูดยังไม่สมบูรณ์ ปัญหานี้อาจทำให้ผู้พูดขาดความมั่นใจ
จนทำให้การถา่ ยทอดสารขาดประสทิ ธิภาพ ส่วนผ้ฟู งั จะได้รบั สารไม่ครบถว้ นหรืออาจเข้าใจสารผิดไปได้
2.4 ขาดบุคลิกภาพที่ดีขณะพูด บุคลิกภาพที่ดีจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้พูดได้
การขาดบุคลกิ ภาพจะทำให้ผูฟ้ ังรู้สึกสงสัยและไม่เชื่อถือสิง่ ทผ่ี ู้พดู พูด
3. สาเหตุจากสาร สาเหตุจากสารส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผู้ฟังไม่เข้าใจสาร โดยเกิดได้จาก
หลายสาเหตุ พอสรุปสาเหตุจากสารครา่ ว ๆ เป็น 2 ลกั ษณะ ตังน้ี
3.1 สาเหตุจากเนื้อหา ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่มาจากเนื้อหาของสารมักจะเกิดจากสารที่
เข้าใจยาก สารที่มีความซับซ้อนและสึกซึ้งมาก หรือมีตาราง แผนภูมิ กราฟที่เข้าใจยาก ซึ่งปัญหาเหล่าน้ี
อาจทำให้ฟงั ไมเ่ ขา้ ใจหรือเข้าใจสารผดิ ก็ได้
3.2 สาเหตุจากภาษา ภาษาที่ปรากฏในสารนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาได้ โดยสารนั้นมี
คำศัพทเ์ ฉพาะมากเกินไป เป็นศัพทท์ ไ่ี ม่ได้ใช้อยู่ทว่ั ไป หรอื ใช้ศัพท์ภาษาต่างประเทศมากเกนิ ไปหรือบทกวี
ที่เข้าใจยากซึ่งอาจทำใหผ้ ู้ฟังไม่เข้าใจสาร เกิดความรู้สึกงุนงงก็เป็นได้ ปัญหาการฟังที่มีสาเหตุมาจากสาร
ข้างตันนี้ ส่งผลให้ผู้ฟังไม่สมารถจับประเด็นหรือเข้าใจเรื่องที่ฟังได้ทั้งหมด และอาจ ทำให้ผู้ฟังรู้สึก
เบือ่ หน่ายได้อีกด้วย
14
4. สาเหตุจากสื่อ สื่อ คือ วิธีทางหรือช่องทางการนำเสนอสารของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร สื่อมี
หลายประเภท เช่น สื่อที่เป็นบุคคล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อทางธรรมชาติ เป็นต้น หากสื่อเกิดขัดข้องหรือ
ตอ้ ยคุณภาพ เช่น ไมโครโฟนเสยี งขาดหายเปน็ ช่วงๆ หรือโทรทัศนพ์ ร่มวั สญั ญาณไมต่ ี หรือบุคคลท่ีที่ฝาก
สารไปส่งต่อเข้าใจสารผิด ฯลฯ จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารไม่เข้าใจสาร ส่งผลให้การสื่อสารขาด
ประสทิ ธภิ าพ
5. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นส่วนที่ช่วยสร้างบรรยากาศในการฟัง แต่หาก
สภาพแวดล้อมไม่เอ้ืออำนวยอาจเป็นอปุ สรรคตอ่ การฟังได้ เช่น แสงสวา่ งนอ้ ยเกนิ ไป อยูใ่ นบรเิ วณท่ีมีเสียง
ตงั เกินไป ร้อนหรือหนาวเกนิ ไป เปน็ ตน้
อปุ สรรคและปัญหาในการฟังข้างต้น อาจทำให้ประสิทธิภาพในการฟังลดน้อยลง ทั้งน้ีปัญหาบาง
ปัญหาไม่ได้เกิดมาจากผู้ฟัง ทว่าผู้ฟังควรเตรียมความพร้อมในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของ
การฟังท่มี าจากผฟู้ งั เอง เป็นสิ่งที่ผฟู้ งั ควรแก้ไขและเป็นส่ิงท่ีแก้ไขไดเ้ พราะเกิดจากตวั ผู้ฟงั เอง
15
บทสรุป
การฟังเป็นทักษะท่ีสำคญั ยิ่ง เพราะเป็นพืน้ ฐานแห่งการเรยี นรู้ท้ังปวง เป็นทักษะแรกที่มนษุ ย์
ใช้เรียนรู้วิธีการพูด ทำให้เกิดการเลียนแบบการพูดส่งผลให้มนุษย์สามารถพูดจาสื่อสารกันได้ บุคคลที่ฟัง
ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้การสื่อสารสัมฤทธิผล ช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างบุคคล และระหว่าง
คนในสังคม อันจะทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองมีความสงบสุข ทักษะการฟังที่ดียังจะนำมาซึ่งความสำเร็จ
ในชวี ิต เนื่องจากเป็นพน้ื ฐานสำคัญของทักษะการเข้าสังคม เพราะจะสามารถลดความเข้าใจผิดและความ
ขดั แยง้ ในการปฏิสมั พนั ธก์ บั บุคคลอ่นื การฟงั ท่ดี ผี ู้ฟังจงึ ตอ้ งฝึกทกั ษะการฟงั ของตนอยา่ งสม่ำเสมอ
16
บรรณานุกรม
คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสวนสนุ นั ทา.
(ม.ป.ป.). GEL 101 การใช้ภาษาไทย Thai Usage. สืบค้นเมอื่ 2 กันยายน 2564 ,
จาก http://www.elfhs.ssru.ac.th/saowalak_sa/file.php/1/from_59/Unit6.pdf
จิระภพ สุคันธ์กาญจน์, จุมพล วัฒน์บุณย์, บำรุง สุวรรณรัตน์, และศุภวรรณ สอนสังข์. (ม.ป.ป.).
ภาษาไทยเพื่อการส่ือสาร. สุราษฎรธ์ านี : คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์
มหาวิทยาลยั ราช ราษฎร์ธานีภฏั สรุ าษฎรธ์ านี.
วลักษณ์ เมฆแดง. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการฟังอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีท่ี 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยศิลปกร. สืบคน้ เมื่อ 2 กนั ยายน 2564, จาก www.thapra.lib.su.ac.th
_________. (ม.ป.ป.). การฟัง. สืบคน้ เม่ือ 2 กันยายน 2564, จาก
http://110.164.59.3/chomlearning/media/TH3.pdf