The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by meenklan, 2024-07-01 04:40:41

การไหว้ครูครู

การไหว้ครูครู

การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 1


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 2


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 3 ที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียรต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดทน และอดกลั้น สำรวม ระวังความ ประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ วางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ.. พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๙) พระราชทานแก่ครูอาวุโส ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๓ ..ครู


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ก ค าน า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ประกาศยกย่อง “พิธีไหว้ครู” เป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของมนุษยชาตินั้น ประกอบกับนโยบายในการเป็นสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตการ เรียนได้ ทุกที่ทุกเวลา Anywhere Anytime ส านักงานเขตพื้ นที่การศึกษา ประถมศึกษาตรัง เขต 2 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาในสังกัดในเรื่องการ อนุรักษ์วัฒนธรรมการไหว้ครูเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การสร้างอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมสู่มรดกโลก เอกสารการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็ น ไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 จัดท าขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุนและรวบรวมอัตลักษณ์ของ พิธีการไหว้ครู ของสถานศึกษาในสังกัด เผยแพร่การแสดงออกถึงวัฒนธรรมที่ดีงามสืบสาน อนุรักษ์ต่อไป คณะผู้เรียบเรียง ขอขอบคุณพระคุณ ผู้บริหารส านักงานเขตพื้ นที่ การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 คณะผู้อ านวยการโรงเรียน ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และทุกท่านที่เกี่ยวข้อง จนท าให้ เกิดผลงานที่ส าเร็จลุล่วง ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ข สารบาญ ค าน า ก สารบาญ ข ค ากล่าวบรรยายพิเศษ ผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 1 ครูกับการไหว้ครู 2 บทไหว้ครู 5 4 อย่างในพานวันไหว้ครู 6 แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม “พิธีไหว้ครู” อัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก 10 ประมวลภาพกิจกรรมการไหว้ครูสถานศึกษา ในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 เอกสารอ้างอิง 88


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 1 ค ากล่าวบรรยายพิเศษ นางพัทธนันท์ นิลพัฒน์ ผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ............................................................................................... ตามประเพณีไทย ความกตัญญูกตเวทีเป็นสิ่งที่ส าคัญ บุคคลที่มี ความกตัญญูกตเวที ได้ชื่อว่าเป็นมงคลแห่งชีวิต ความกตัญญูกตเวทีย่อมสร้างความปลาบปลื้มต่อ ผู้รับ เกิดความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ตามวัฒนธรรมไทยผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีจะเป็ นผู้ เจริญรุ่งเรืองในสังคม ท าการสิ่งใดก็จะประสบความส าเร็จ เนื่องจากเป็นบุคคลที่คนทั่วไปอยากจะ ชวนมาร่วมงานด้วย อยากคบหาสมาคมด้วย โดยเฉพาะความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ก็เชื่อ ว่าจะเป็นการสร้างสิริมงคลแก่ชีวิต พิธีไหว้ครูหรือบูชาครูเป็นพิธีที่ส าคัญตามประเพณีไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ และมีอยู่ใน แทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย โดยจัดขึ้นเพื่อให้ศิษย์ได้แสดงความกตัญญูกตเวที แสดงความ เคารพ ยอมรับนับถือ ต่อครูอาจารย์ว่า ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและความรู้ ศิษย์ใน ฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความ วิริยะอุสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษา ตามที่ตั้งใจเอาไว้ และการที่ศิษย์แสดงความ เคารพ ยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนท าให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยาก มอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ พิธีไหว้ครูจึงเป็นเหมือนการประกาศความผูกพันระหว่างครูกับ ศิษย์ที่จะมั่นคงยืนยาวตลอดไป ถึงแม้ในทุกวันนี้เทคโนโลยีต่างๆ จะมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น สื่อการเรียนการสอนมีอยู่แพร่หลาย แต่คนไทยก็ยังคงให้ ความส าคัญกับครูด้วยเหตุผลที่ว่า ความรู้ที่มาจากการทอด โดยบุคคลเป็นความรู้ที่เป็นทักษะเฉพาะเป็นสิ่งที่เกิดจาก การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์และการปฏิบัติจนเชี่ยวชาญ ที่อาจไม่สามารถถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือได้ครูจึงเปรียบเสมือน พ่อและแม่คนที่สองของศิษย์ ผู้ที่ประสบความส าเร็จได้ เป็ นเพราะมีแม่เป็ นผู้ให้ก าเนิด มีครูเป็ นผู้ให้ความรู้ ความคิด สติปัญญา และชี้ทางสว่างให้กับชีวิต ประเพณี การไหว้ครู จึงยังสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน ในนามตัวแทนของส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ จึงขอขอบคุณ ผู้บริหาร สถานศึกษา คณะครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของสถานศึกษาทุกโรงในสังกัด ที่ได้ ช่วยกันจัดพิธีไหว้ครูด้วยความตั้งใจเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและส่ิงศักด์ิสิทธ์ิท่เีคารพนับถือจงช่วยดลบันดาลให้อานิสงส์ของ ความกตัญญูกตเวทีของลูกศิษย์ที่มีต่อครู มีพลังกาย พลังใจ และพลังปัญญาที่เข้มแข็ง เพื่อช่วย ในการฟันฝ่ าอุปสรรคต่าง ๆ ได้ด้วยดี ประสบแต่ความสุข ความเจริญและประสบความส าเร็จใน ชีวิตตลอดไป “ประเพณี ดีงาม ตามกาลเก่า ฝังรากเหง้า ในใจ ไม่แปรผัน ศิษย์ต้องรู้ คุณครู ผู้แบ่งปัน สารพัน ความรู้ คู่ธรรมา”


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 2 กับการไหว้ครู “ครู” ทุกคนจะต้องมีครูและมักเรียกบุคคลที่ถ่ายทอด ความรู้ให้แก่เรา “ครู” ราชบัณฑิตยสถาน (2546) ให้ความหมายไว้ ว่า “ครู” ผู้สั่งสอนศิษย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ โดยมีรากศัพท์ มาจากมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ" หมายถึง หนัก ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อย มีความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนที่เป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนา และมีเรื่องราวไม่น้อยที่ต้องทำนอกเหนือจากการสอนหนังสือ เราจะพบว่าการที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโต เป็นผู้มีวิชาความรู้ สามารถดำรงชีพในสังคม เป็นคนดีของสังคม จำเป็นจะต้องมี"ครู" เป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชาความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างพื้นฐานที่ดีไปสู่หนทางหาเลี้ยงชีพหาเลี้ยงตนหาเลี้ยง ครอบครัวในภายภาคหน้าในโลกปัจจุบัน พวกเราทุกคนเคยได้ยินความหมายหรือนิยามคำว่า “ครู” มากมายที่กล่าวถึง “ครูคือผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา” “ครูคือเรือจ้าง” “ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ” “ครูคือพ่อแม่คนที่สองของชีวิต” ล้วน แต่แสดงให้เห็นว่าครูเป็นบุคคลที่เราควรเคารพบูชา ไม่เพียงเพราะคนที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนซึ่งทำ หน้าที่ของครูกว่านั้น ครูเป็นผู้ให้ความรู้ ให้ชีวิตและให้อนาคตด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู“มุ่งหวัง ให้ลูกศิษย์เป็นคนดีของครู” ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญู กตเวทิตาต่อท่านอย่างมากมาย "การไหว้ครู" (พิธีไหว้ครู) เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดง ถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู“การไหว้” ใน หนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กล่าวไว้ว่า “การทำความเคารพโดยยกมือ ขึ้นประนม ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือผู้ทรงศีลต้อง ก้มศีรษะลงแต่พองาม” ดังนั้น “การไหว้ครู” การ แสดงความเคารพครูบาอาจารย์ เป็นการแสดงตนว่า ขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง เป็นการฝากตัวเป็น ศิษย์ก่อนเริ่มเรียน ในสมัยก่อนพ่อแม่จะพาลูกหลาน ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูในวันพฤหัสบดี และจะต้อง เตรียมธูปเทียนดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของการบูชา ครูไปไหว้ครูด้วย การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรม เช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนใน วันครูการไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล ด้วย เหตุนี้ "การไหว้ครู" จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคน ไทย ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ ครู


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 3 วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและ ครอบครัวได้ในอนาคต เมื่อกล่าวถึง "การไหว้ครู" คือ วันที่บรรดาศิษย์ ทั้งหลายจะได้แสดงความเคารพและสักการะต่อครู บาอาจารย์ผู้มีพระคุณ ตลอดจนผู้เสียสละชี้ทาง และให้แสงสว่างแก่ศิษย์โดยไม่คำนึงถึงความ ยากลำบาก เป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวาย เครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้ง ปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์เป็น การขอขมาลาโทษหากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาด โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม เพื่อเตือนสติให้ศิษย์ ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ใน โอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์เป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน ประวัติของการไหว้ครู ส.พลายน้อย (2542) บันทึกไว้ว่ามีการไหว้ครูมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จากพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องเกี่ยวกับพระประวัติ ก่อนการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ต้องเริ่มเรียนวันแรกในวันพฤหัสบดีและต้องทำพิธีไหว้ครูด้วย หนังสือและเครื่องบูชา สำหรับหนังสือในสมัยนั้นไม่มีสิ่งพิมพ์ ต้องจ้างอาลักษณ์เขียนด้วยเส้นหรดาล ลงในสมุดดำ ส่วนเครื่องบูชานั้นประกอบด้วยธูปเทียน และดอกไม้ คือ ดอกเข็ม ดอกมะเขือ และหญ้า แพรก เพื่ออธิษฐานให้ปัญญาแหลมคมเหมือนชื่อ ดอกเข็ม มีความรู้มากเหมือนเมล็ดมะเขือและมี สติปัญญาแตกฉานเหมือนหญ้าแพรก ซึ่งหญ้าแพรกถือได้ว่า มีคุณสมบัติที่ดีสามารถเจริญงอกงามใน ทุกพื้นที่ ขึ้นง่าย ตายยาก มีความอดทน และหญ้าแพรก ในศาสนาพราหมณ์ถือว่า เป็นหญ้าอัน ศักดิ์สิทธิ์ของพระคเณศ จากความเชื่อและทางปฏิบัติดังกล่าว ได้สืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน จะ มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างขึ้นอยู่กับความสะดวกของเวลาและโอกาส ในปี พ.ศ. 2475 เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี(ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) ได้แต่งคำไหว้ครู ดังนี้ “ข้าพเจ้าขอประณตน้อมศิระวันทนาการ แด่พระอาจารย์ผู้ ทรงปกติการุญภาพ ให้ศิษยานุศิษย์ทั้งปวง ว่าโดยย่อเป็น 3 ประการ คือ เมตตาคุณ มีจิตปรารถนาและพยายามเพื่อชักนำให้ ศิษย์ประพฤติดีมีสันดานมั่นอยู่ในทางที่ชอบ และประกอบ แต่ล้วนคุณประโยชน์ประการ 1 กรุณาคุณ มีจิตปรารถนาและพยายามเพื่อขัดเกลา สันดานศิษย์คิดกำจัดความชั่วอันมัวหมอง และเป็นมูลแห่ง ทุกข์โทษภัยทั้งปวงให้ล่วงเสียประการ 1 อนุสิฏฐิคุณ มีจิตปรารถนาและพยายามพร่ำชี้แจง แสดงเวทขจัดเหตุสงสัยให้ได้ความสว่าง ประดุจนำไปด้วย ดวงประทีป เพื่อจะปลูกฝังความรู้ไว้ในสันดานแห่งศิษย์ ให้ เป็นผู้ฉลาดแหลมคมด้วยปัญญาประการ 1


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 4 ขอพระคุณจงรับเครื่องสักการะอันข้าพเจ้าน้อมนำมาและจงสำแดงซึ่งปกติคุณูปการแก่ ข้าพเจ้า ประดุจนายช่างหม้อผู้พยายามกล่อมเกลา เพื่อให้หม้อมีรูปอันดีงามฉันนั้น ข้าพเจ้าขอแสดงแก่พระคุณ พร้อมทั้งกาย วาจา และใจว่า ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความ สดับ เพื่อได้รับสาสโนวาทด้วยความเคารพอยู่ทุกเมื่อ ขอเดชะปูชนียธิษฐานอันนี้ จงบันดาลให้สติปัญญาของข้าพเจ้าแยกประดุจหญ้าแพรก ดอก มะเขือ แล้วให้งอกงามเจริญขึ้นโดยเร็วพลันนับแต่กาลวันนี้ ให้การศึกษาของข้าพเจ้า เป็นผลสำเร็จอัน ดีดุจคำอธิษฐานฉะนี้เทอญ” ม.ล. ปิ่น มาลากุล ได้กำหนดแบบพิธีไหว้ครูให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติเป็นแบบเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ ภาคต้นปีการศึกษา 2486 และกำหนดวันพฤหัสบดีแรก ของเดือนมิถุนายนเป็นวันไหว้ครู และปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ (นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ทำ หนังสือเพิ่มคำปฏิญาณตนต่อท้ายคำไหว้ครู คือ “เราคน ไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เรา นักเรียน จักต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของ โรงเรียน มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เรานักเรียน จักต้องไม่ทำตนให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตนเองและคนอื่น” ปัจจุบันสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครู ในช่วงต้นปีการศึกษาที่ 1 โดยกำหนดวัน พฤหัสบดีในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายนของ ทุกปีถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสถานศึกษาที่ จัดให้วันนี้เป็นวันไหว้ครูเพราะถือกันว่าพระ พฤหัสเป็นเทพที่ส่งเสริมวิทยาการและความ เฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติของครู จึงถือเอา วันนี้เป็นวันไหว้ครูเพื่อความเป็น สิริมงคล ส่วน วันที่นั้นก็จะแตกต่างกันไปตามแต่จะกำหนด นักเรียน นิสิต นักศึกษา จะนำพานดอกไม้ ธูปเทียน หญ้าแพรก ดอกเข็ม ดอกมะเขือ ไปกราบครู อาจารย์ ดอกไม้ธูปเทียนเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความเคารพ หญ้าแพรกมีความหมายว่า ให้มี ความรู้แตกฉานรวดเร็ว เพราะหญ้าแพรกเป็นหญ้าที่เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ดอกเข็ม มี ความหมายว่า ให้มีปัญญาเฉียบแหลม เพราะดอกเข็มมีลักษณะเหมือนเข็มที่แหลมคม และดอก มะเขือ มีความหมายว่า ให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดีกับครู เพราะดอกมะเขือเมื่อบานดอกจะ โน้มลง


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 5 บทไหว้ครู ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตฺตรานุสาสกา ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรประโยขน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทยเทอญฯ ปญฺญาวุฑฺฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหํ ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ประพันธ์


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 6 อย่างในพานวันไหว้ครู “หญ้าแพรก ดอกเข็ม ดอกมะเขือ ข้าวตอก” หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โต ได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ หญ้าแพรก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cynodon dactylon) เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีป ออสเตรเลีย และยุโรปใต้ส่วนชื่อ หญ้าเบอร์มิวดา มาจาก การที่หญ้าแพรกเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานในเบอร์มิวดา แต่ ไม่ได้เกิดขึ้นที่ในประเทศไทย ชาวเหนือ เรียกว่า "หญ้าเป็ด" ส่วนชาวกะเหรี่ยง เรียกว่า "หน่อเก่เด" ลักษณะ เป็นพืชที่ขึ้นบนผิวดินและมีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเรียวปลาย แหลม บริเวณใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย มีช่อดอกที่ปลายยอด ดอก ออกตลอดทั้งปี พบได้ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 40-400 เมตร บน พื้นที่แห้งแล้ง ทนดินเค็มและทนที่น้ำท่วมขัง แพร่พันธุ์เร็วมาก ประโยชน์เป็นหญ้าที่มีความสม่ำเสมอ คุณภาพดีพอใช้จึงจะได้หญ้า ที่สีเขียวสด ใช้ปลูกเป็นสนามหญ้า ทั่ว ๆ ไป เช่น สนามฟุตบอล รักบี้ ในสวนสาธารณะ ปลูกตามขอบถนน สนามเด็กเล่น ปลูกเป็นทุ่งหญ้า เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกในพื้นที่ ที่กว้าง ๆ เพียงเพื่อต้องการปลูกปกคลุม ดินป้องกันไม่ให้เกิดการพังทลายของดินได้ หญ้านี้มีความต้องการ ดูแลในระดับที่ปานกลางถึงระดับสูง จึงจะได้คุณภาพดี ถึงแม้จะทนต่อความแห้งแล้งและความร้อนได้ สูงก็ตาม แต่หญ้านี้จะคุณภาพไม่ดี ถ้าไม่ได้ให้น้ำอย่างเพียงพอ การใช้หญ้าแพรกทำสนามหญ้าต้อง ระมัดระวังอย่างหนึ่งคือ หญ้านี้จะกลายเป็นวัชพืชที่สำคัญได้ เนื่องจากการเจริญเติบโตเร็ว ทั้งยังมีเมล็ดแพร่พันธุ์ได้อีก และจะเป็นวัชพืชที่เข้าไปในแปลงดอกไม้ ไม้พุ่มเล็ก ๆ แม้กระทั่งตามถนนที่มีรอยแตก หญ้านี้จะแทรกตัวไปขึ้นได้ แต่ไม่พบว่ามีคุณสมบัติในการชะลอน้ำแต่อย่างใด สรรพคุณ ทางสมุนไพรทั้งต้น รสขมเย็น ตำกับสุราพอกหรือทาแก้พิษ อักเสบ ปวด บวม ในการไหว้ครูก็ใช้หญ้าแพรก เปรียบเสมือน กับให้นักเรียนทุกคนมีความอดทน 4 หญ้าแพรก


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 7 ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม ซึ่งเป็นปริศนาธรรมว่า ครู ต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความคิด ให้ นักเรียนนักศึกษาเป็น คนฉลาด (หัวแหลม) รู้จัก วิเคราะห์วิจารณ์ เข็ม เป็นไม้พุ่มจัดอยู่ในวงศ์Rubiaceous ลักษณะของดอกจะเกิดจากการอยู่รวมกันเป็น ช่อ ๆ มีหลากหลายสี มีคุณค่าทางสมุนไพร ดอกเข็มที่ยังตูม สามารถนำมาชุบแป้งหรือไข่ ทอดทานเป็นอาหารได้เข็มเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องการปริมาณน้ำ ปานกลาง สามารถทน ต่อความแห้งแล้ง การให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้น ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่ได้ผลดีและนิยมกัน คือ การปักชำและการตอนการเพาะปลูก ความเชื่อของดอกเข็ม คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบ แหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลม คมดังนั้นคนไทยโบราณจึงใช้ดอกเข็มใน พิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มี สติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ ยังใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อ ว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทาง ดอก ให้ปลูกในวันพุธ ดอกเข็ม


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 8 ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะ คว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึงนักเรียนที่จะ เรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคน สุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง มะเขือ ชื่อพื้นเมือง : มะเขือ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena L. ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE ลักษณะวิสัย : ไม้ล้มลุก ลักษณะเด่นของพืช : ไม้ล้มลุก ทุกส่วนมี ขนนุ่มสีเทา ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ถึง รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ดอกเดี่ยวสีม่วง ผล มีเนื้อหลายเมล็ด รูปไข่ รูปขอบขนาน รูปไข่ กลับ รูปกึ่งทรงกลม ถึงรูปทรงกลม เกลี้ยง มีขนาดใหญ่ ห้อยลง สีขาว เขียว เมล็ด ขนาดเล็ก สีน้ำตาลอ่อน จำนวนมาก ดอกมะเขือ โดยธรรมชาติของต้นมะเขือเมื่อมีดอก ดอกที่จะให้ผล จะต้องโค้งลง เหมือนผู้อยู่ในอาการแสดงความเคารพ หรือ คารวะบุคคลที่ตนเคารพบูชา ยกย่องถ้าดอกมะเขือดอกใด ชี้ดอกขึ้นเหมือนดอกไม้ชนิดอื่น ดอกนั้นจะไม่ติดผล จะ เน่าร่วงหล่นไป เหมือนบุคคลที่ขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน ขาดความเคารพก็จะหมดโอกาสที่จะได้รับการถ่ายทอด ความรู้จากครูๆ อีกทั้งยังงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เพราะ เมล็ดมีมาก ดอกมะเขือจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของความ เคารพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่ใช้ ในพิธีไหว้ครู ดอกมะเขือ


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 9 ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือก ที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุด หนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยก ออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนม ต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของ ความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตาม กฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจ คร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก ข้าวตอก ประกอบด้วยคำว่า ข้าว กับ คำว่า ตอก ที่แปลว่า แตก ข้าวตอก หมายถึง ข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่นำมาคั่วให้เปลือกแตกออกและ เมล็ดข้าวบานเป็นดอกสีขาวคล้ายดอกมะลิ ข้าวตอกใช้ในงานมงคล เช่นใส่ในกระทงหรือพานดอกไม้ ที่นักเรียนนำไปไหว้ครู โดยมีคติว่าสติปัญญาความรู้ที่ได้รับจากครูจะได้แตกฉานเหมือนข้าวตอก และ ในพิธีบวงสรวงบูชาเทพยดา จะใช้ข้าวตอกและดอกไม้เป็นส่วนประกอบด้วย นอกจากนี้ ข้าวตอกยัง ใช้รับประทานเป็นของหวานและทำเป็นขนม เช่นในงานมงคลนิยมรับประทานข้าวตอกกับน้ำกะทิที่ เรียกกันว่า มะลิลอย ข้าวตอกบดหยาบที่นำไปกวนกับมะพร้าว น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย แล้วปั้นเป็น ก้อนกลมหรือกลมแบน คลุกกับข้าวตอกบดละเอียด แล้วอบควันเทียน เรียกว่า ข้าวตอกตั้ง ข้าวตอก


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 10 แนวทางการส่งเสริมค ุณธรรมจริยธรรม “พิธีไหว้ครู” อัตลักษณ์ความเป็ นไทยสู่มรดกโลก ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ หรือยูเนสโก ประกาศยกย่อง “พิธีไหว้ ครู” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รายการตัวแทน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาตินั้น ประกอบกับนโยบายในการเป็นสังคมการเรียนรู้ตลอด ชีวิต คือ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาในสังกัดในเรื่องการ อนุรักษ์วัฒนธรรมการไหว้ครูเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่มรดกโลก สนับสนุนสถานศึกษาจัดกิจกรรม วันไหว้ครู ตามประเพณี วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ของสถานศึกษาในสังกัด สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ ความรู้กับนักเรียนให้เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมนี้ว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร โดยพิธีไหว้ครู เป็นเรื่องของการฝากตัว เป็นศิษย์ก่อนเข้าเรียน ถือเป็นประเพณีที่ดีงามที่ทำมาแต่ ดั่งเดิมก่อนที่จะเปิดภาคเรียนโดยใช้พานธูป เทียนแพ ใช้ ในการบูชาครู ในรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย สนับสนุนให้สถานศึกษานำกิจกรรม วันไหว้ครู สู่การจัดการเรียนการสอนสอดแทรกใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และ กิจกรรมชุมนุม เป็นต้น สนับสนุนสถานศึกษาจัดสถานที่ให้เอื้ออำนวยต่อการจัดพิธีไหว้ครู ให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน ร่วมถึงผู้ปกครองนำเรื่องราวข้าวตอก ดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับการไหว้ครู ได้แก่ ดอกมะเขือ ดอกเข็ม หญ้าแพรก รณรงณ์ปลูกหรือจัดสวนหย่อน เพื่อให้เด็กสามารถนำมาใช้ประกอบในการทำ พานไหว้ครูได้สะดวกมากขึ้นถือเป็นการรณรงค์อนุรักษ์วัฒนธรรมที่สวยงาม ที่ถูกต้องตามประเพณี สนับสนุนให้สถานศึกษา นำกิจกรรม วันไหว้ครู สู่การ ทำความดี การเป็นจิตอาสา พัฒนาสถานศึกษา สถานที่ ต่างๆ ในชุมชน เพื่อสร้าง คุณลักษณะที่นิสัยที่ดี การ อนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาศึกษาตรัง เขต 2


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 11 สถานศึกษาในสังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ประมวลพานไหว้ครู


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 12 สถานศึกษาในสังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ภาพประทับใจของนักเรียน


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 13 สถานศึกษาในสังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 กิจกรรมการสร้างบรรยากาศไหว้ครู


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 ประมวลภาพ กิจกรรมวันไหว้ครู ประชาสัมพันธ์เผยแพร่สถานศึกษาในสังกัด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 15


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 16


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 17


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 18


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 19


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 20 -


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 21


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 22


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 23


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 24


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 25


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 26


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 27


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 28


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 29


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 30


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 31


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 32


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 33


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 34


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 35


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 36


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 37


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 38


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 39


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 40


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 41


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 42


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 43


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 44


การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การไหว้ครูอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่มรดกโลก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 45


Click to View FlipBook Version