ซามูไร ชิ้ น ง า น อั น ท ร ง เ กี ย ร ติ์ ข อ ง นั ก เ รี ย น น้ อ ย ๆ ห้ อ ง 5 / 4 อ้ า ย ม า 4 ค น นั ก ร บ โ บ ร า ณ ที่ จ ง รั ก ภั ก ดี ข อ ง ญี่ ปุ่ น ซ า มู ไ ร ใ น ยุ ค ส มั ย ญี่ ปุ่ น ฉ บั บ ที่ 0 กั น ย า ย น 2 6 6 9
หน้า 01 จุดกำ เนิด หน้า 03 สารบัญ หน้า 04 00 หน้า 05 หน้า 07 หน้า 06 หน้า 08 ยุคเฮอัน ยุคคะกะมุระ ยุคมูโรมาจิ ยุคเซ็นโงคุ ยุคเอโดะ ยุคเมจิ
เป็นที่เชื่อกันว่า รูปแบบของเหล่านักรบบนหลังม้า มือธนู และทหารเดินเท้าในช่วงศตวรรษที่ 6 น่าจะเป็นตัวบทต้นแบบของชะมุไรดั้งเดิมขณะที่จุดกำ เนิดของซะมุไรสมัยใหม่ยังเป็นปัญหาที่โต้เถียงกัน อยู่ หลังจากการสู้รบในสงครามนองเลือดกับฝ่ายราชวงศ์ถังและจีน และอาณาจักรชิลลาของเกาหลี ญี่ปุ่นก็เข้า สู่ยุคแห่งการปฏิรูปไปทั่วทุกหัวระแหง โดยการปฏิรูปครั้งสำ คัญที่สุดคือการปฏิรูปไทกะ ซึ่ง กระทำ โดย จักรพรรดิ โดโลกเมื่อ ค.ศ. 646 การปฏิรูปในครั้งนั้น ได้เริ่มนำ เอาวัฒนธรรมการปฏิบัติ และเทคนิคการ บริหารต่าง ๆ ของจีนมาใช้กับกลุ่มชนชั้นสูงและระบบราชการของญี่ปุ่น ถึง ค.ศ. 702 ประมวลกฎหมาย โยโรและประมวลกฎหมายไทโฮก็ถือกำ เนิดขึ้น พร้อมกับคำ สั่งที่ให้ ประชาชนมารายงานตัวเป็นประจำ กับทางการเพื่อเก็บข้อมูลมาสร้างสำ มะโนประชากร ที่ต่อมาจะถูกนำ มา ใช้เป็นตัวชี้วัดสำ หรับการเกณฑ์ทหาร หลังจากนั้น เมื่อการทำ สำ มะโนประชากรเสร็จสิ้นลงจนทำ ให้รู้ ว่า ประชากรในญี่ปุ่นมีการกระจายตัวกันอย่างไร จักรพรรดิคับมุก็ได้ริเริ่มกฎหมายให้ประชากรเพศชาย ที่เป็น ผู้ใหญ่ 1 ใน 3 ถึง 4 คนต้องถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ โดยผู้ที่จะเข้ามาเป็นทหารเหล่านี้ จะถูกขอ ความร่วมมือให้ส่งมอบอาวุธของตนแก่ทางการ แต่พวกเขาจะได้รับการยกเว้นในการเสียภาษี และการรับ หน้าที่ต่างๆ เป็นสิ่งตอบแทน ในช่วงต้นของยุคเฮอังประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 จักรพรรดิคัมมุ (ญี่ปุ่น : AB TUK = Kanmu Tenne ) ได้หาทางทำ ให้อำ นาจของตนทรงพลังและแผ่ขยายไปทั่วตอน เหนือ ของเกาะฮนซู (แผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น) แต่กระนั้นเอง ความหวังดังกล่าวก็เริ่มเกิดปัญหา เมื่อ กำ ลังทหารที่ จักรพรรดิส่งไปเพื่อปราบกบฏเอมิ กลับไร้ซึ่งแรงจูงใจและระเบียบวินัยจนต้องแพ้ทัพ กลับมา จักรพรรดิต้ม มุจึงต้องแก้เกมใหม่ โดยการสถาปนาตำ แหน่งเซอิไตโชง (ญี่ปุ่น : F# / F Selitaishogun, "แม่ทัพ ใหญ่ผู้ปราบคนเถื่อน" ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โขง (ภาษาไทยนิยมทับศัพท์ว่า โชกุน) ขึ้นมา เพื่อให้พวก เขาเหล่านี้ไปพิชิตกลุ่มกบฏเอมิชิ เป็นผลให้ทั้งหน่วยประจัญบานบนหลังม้าและนักแม่นธนู (คิวโตะ (ญี่ปุ่น : B≡ Kyudo ) ที่มีทักษะฝีมือ ต้องถูกเรียกเข้ามาเป็นเครื่องมือ สำ คัญในการคว่ำ กำ ลัง กบฏ ทั้งหลาย ซึ่งถึงแม้ว่านักรบเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาก็ตาม แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว (ประมาณคริสต์ ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9) ตามสายตาของทางการแล้ว พวกเขายังถูกมองว่าเป็นชนชั้นที่ สูงกว่า คนเถื่อนขึ้นมานิดเดียว 01
แต่ในที่สุด จักรพรรดิคัมมุก็ยุติการบัญชาทัพของพระองค์ไป และอำ นาจของพระองค์ก็อ่อนแอลง เรื่อยๆ ขณะเดียวกัน กลุ่มตระกูลที่ทรงอิทธิพลในนครเคียวโตะ ก็ได้เข้าครองตำ แหน่งเสนาบดี และ บางส่วนก็มีอานาจเป็นผู้ปกครองหรือศาลแขวง กลุ่มผู้ปกครองเหล่านี้มักจะเรียกเก็บภาษี จาก ประชาชนอย่างหนักหน่วง เพื่อที่จะสะสมความมั่งคั่งและเป็นการคืนกำ ไรให้กับพวกตน จึงส่ง ผลสำ คัญ ให้ชาวนาหลายต่อหลายคนไร้ที่ดินอยู่ อัตราการปล้นสดมภ์ก็เพิ่มขึ้น เหล่าผู้ปกครอง จึงแก้ปัญหาโดย การรับสมัครผู้ถูกเนรเทศในเขตคันโตให้มาฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อย่างเข้มงวด เพื่อที่จะใช้พวกเขาเป็น หน่วยรักษาความปลอดภัยที่ทรงประสิทธิภาพ บางครั้งก็ให้ไปช่วยเก็บ ภาษีและยับยั้งการทํางานของ เหล่าหัวขโมยและโจรป่า พวกเขาเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่า ซะบุไร (saburai) หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นข้ารับใช้ ให้แก่กองทัพ ซึ่งผู้ที่เป็นซะบุไรมักจะได้เปรียบกว่าคนอื่น เนื่องจากพวกเขาจะได้รับอำ นาจทางการเมือง และมีชนชั้นที่สูงขึ้น แต่ซะบุไรบางกลุ่มก็เป็นเพียงชาวนาและพันธมิตรที่จับอาวุธขึ้นปกป้องตนเองจากกลุ่มซาบุไรที่มี อำ นาจ สูงกว่า และผู้ปกครองที่จักรวรรดิส่งมาเพื่อเก็บภาษีและครอบครองที่ดินของพวกเขา ซึ่ง ต่อมา ใน ช่วงยุคเฮอังตอนกลาง ซะบุไรกลุ่มนี้เองได้น่าเอาลักษณะพิเศษของชุดเกราะและอาวุธ ต่างๆ ของ ญี่ปุ่นมาวางไว้เป็นพื้นฐานของกฎแห่งบุชิโต ซึ่งเป็นกฎที่ประมวลรวมหลักจรรยาต่างๆ ของพวกเขา หลังจากการผ่านพ้นของซามูในพเนจรศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ผู้ที่จะมาเป็นซะมุไรต่างได้รับการ คาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมและอ่านออกเขียนได้ โดยพวกเขาจะต้องสามารถใช้ชีวิต ให้กลมกลืนไปกับค่ากล่าวโบราณที่ว่า บุง บุ เรียว โดะ (สว่าง, ศิลปะอักษร, ศิลปะการทหาร, วิถี ทั้งสอง) หรือ ความกลมกลืนแห่งพู่กันและดาบ ให้ได้ โดยจะเห็นจากชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกเหล่า นักรบในช่วงแรกๆ ว่า อุรุวะ คำ นี้ถูกเขียนขึ้นมาด้วยตัวอักษรคันจิที่มีการผสมรวมระหว่าง ลักษณะเฉพาะตัวของศิลปะอักษร (ญี่ปุ่น: X bun ตรงกับภาษาจีน "บ่น") และศิลปะการทหาร (ญี่ปุ่น: Et bu ตรงกับภาษาจีน "") เข้าด้วยกัน และมโนทัศน์เช่นเดียวกันนี้ ยังถูกกล่าวไว้ใน เรื่องเล่าแห่งเฮ เกะ (เฮเกะ โมะโนะงะตะริ, สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12) โดยมีการอ้างอิงไว้ใน คำ กล่าวของตัวละคร ที่มีต่อการตายของ ไทระ โนะ ทะตะโนริ นักดาบ-นักกวีผู้มีการศึกษาคน หนึ่งว่า: “เหล่าเพื่อนและพวกศัตรูต่างก็มีน้ำ ตาชุ่มเปียกที่แขนเสื้อ และพากันกล่าวว่า "น่าเสียดายเหลือ เกิน! ทะ ตะโนะริเป็นขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ มีฝีมือทั้งศิลปะการใช้ดาบและการกวี" " วิลเลี่ยม สก็อตต์ วิลสัน ได้กล่าว เอาไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ ไอเดียลส์ ออฟ เดอะ ซะมุไร ว่า "เหล่านักรบในเฮเกะ โมะโนะงะตะริ ถือได้ ว่าเป็นตัวแบบสำ หรับนักรบที่มีการศึกษาในรุ่นต่อๆ มา และอุดมการณ์ต่างๆ ที่ถูกอธิบายโดยนักรบ แต่ละคน ในเรื่องเล่า ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามัน เป็นสิ่งที่ยากที่จะทําตามหรือเอื้อมถึง ยิ่งกว่านั้น อุดมการณ์เหล่านี้ยังเป็นที่ต้องการอย่างมากใน สังคมนักรบชั้นสูง และยังเป็นสิ่งที่ถูกแนะนำ ว่าเหมาะ สมที่จะนำ ว่าใช้เป็นรูปแบบของมนุษย์ติด อาวุธชาวญี่ปุ่นทุกคน ด้วยอิทธิพลของเฮเกะ โมะโนะงะตะริ นี่เอง ภาพลักษณ์ของนักรบญี่ปุ่นใน งานวรรณกรรมต่างๆ จึงสุกงอมอย่างเต็มที่” ต่อมา วิลสันยังได้ แปลงานเขียนของนักรบบางคนที่ มีชื่อในเรื่องเล่าแห่งเฮเกะนี้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้คนที่ได้อ่านปฏิบัติตน ตามอีกด้วย 02
ยุคเฮอัน STRENGTH | หน้า 3 มัยเฮอันเกิดขึ้นก่อนสมัยนาราและเริ่มในปี ค.ศ. 794 หลังจากการย้ายจากเมืองหลวง ของญี่ปุ่นไปยังเฮอัน - เกียวโดย จักรพรรดิองค์ที่ 50 จักรพรรดิคันมู ภารกิจของญี่ปุ่นไปยังจีนถูกระงับและการ ไหลเข้าของการส่งออกของจีนหยุดลงซึ่ง เป็นข้อเท็จจริงที่เอื้อต่อการเติบโตของ วัฒนธรรมอิสระของญี่ปุ่นที่เรียกว่า kokufu bunka. ดังนั้นสมัยเฮอันจึงถือเป็นจุดสูงสุดของ วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่คนรุ่นหลังชื่นชมมาโดย ตลอด ช่วงเวลาดังกล่าวยังระบุถึงการ เกิดขึ้นของชนชั้นซามูไรซึ่งในที่สุดจะถือว่า มีอำ นาจและเริ่มต้นขึ้น สมัยศักดินาของ ญี่ปุ่น. 03 จักรพรรดิคัมมุ
ยุคคะกะมูระ ดิมทีซามูไรเป็นเพียงนักรบรับจ้างให้กับองค์พระ จักรพรรดิและกลุ่มชนชั้นสูง (คุเงะ (ญี่ปุ่น: 公 家; โรมาจิ: kuge) เท่านั้น แต่ต่อมาอำ นาจของ พวกเขาได้ก่อตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ จนในที่สุดพวก เขาสามารถยึดอำ นาจของผู้ปกครองชั้นสูงไว้ได้ และก่อร่างกลุ่มคณะที่ปกครองโดยซามูไรขึ้นมา แทน พวกเขาได้สร้างลำ ดับขั้นการบังคับบัญชา ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ โทเรียว หรือหัวหน้าของพวก เขาขึ้นมา เพื่อทำ การสะสมกำ ลังคนกับ ทรัพยากรต่างๆ และผูกพันธมิตรกับกลุ่มอื่นๆ ผู้ ที่เป็นโทเรียวจะมีระยะห่างเฉพาะในความสัมพันธ์ ที่มีต่อองค์จักรพรรดิ และต่อสมาชิกส่วนน้อย ของหนึ่งในสามตระกูลมีระดับ (ตระกูลฟุจิวะระ ตระกูลมินะโมะโตะ และตระกูลไทระ) ในด้าน ระเบียบการปกครอง ตามหลักการแล้ว โทเรียว เหล่านี้จะถูกส่งไปรับตำ แหน่งเป็นผู้ปกครองหรือ ผู้พิพากษาศาลแขวงตามจังหวัดต่างๆ เป็นเวลา สี่ปี แต่ในความเป็นจริง เมื่อพวกเขาหมดสมัย ปกครองแล้ว ก็มักปฏิเสธที่จะกลับมาสู่เมือง หลวงอีกครั้ง และยังได้นำ ทายาทของตนมาสืบ ต่อตำ แหน่งแทน เพื่อให้การทำ งานต่อเนื่องไป และให้เป็นผู้นำ ทัพออกปราบกบฏทั่วทั้งญี่ปุ่น โดยเฉพาะในช่วงตอนกลางและตอนปลายของ ยุคเฮอัง กลุ่มซามูไรผู้ทรงอำ นาจก็กลายเป็นนักรบ ชนชั้นนำ (บุเกะ) ผู้ซึ่งมีเพียงชื่อเท่านั้นที่ ดำ รงอยู่ภายใต้สำ นักกลุ่มผู้ปกครอง ชนชั้นสูง หรือราชสำ นัก เมื่อซามูไรเริ่ม เข้าไปเป็นเจ้าของเครื่องจรรโลงใจต่างๆ ของกลุ่มชนชั้นสูง อย่างศิลปะลายมือ บทกวี และเพลง ในทางกลับกัน สำ นักผู้ ปกครองชนชั้นสูงบางสำ นักก็เข้าไปเป็น เจ้าของธรรมเนียมต่างๆ ของซามูไรบ้าง แต่ถึงแม้ว่าจักรพรรดิหลายๆ พระองค์ จะสร้างแผนการอันชั่วร้ายและกฎระยะสั้น ต่างๆ ออกมาเพื่อลดบทบาทของกลุ่ม ซามูไร อำ นาจที่แท้จริงในขณะนั้นก็ยังอยู่ ในกำ มือของโชกุนและซามูไรอยู่ดี 04 ภาพวาดแนวป้องกันหินขนาดใหญ่รอบอ่าวฮะกะตะที่สร้างขึ้นโดยซามูไรเพื่อป้องกันการบุกรุก ของกองทหารมองโกล วาดโดยโมะโกะ ชุไร เอะโกะโตะบะ เมื่อปี พ.ศ.1836
ยุคมูโรมาจิ เป็นยุคที่พัฒนาดาบ อยู่ใน ศตวรรษที่ 14 ช่างตีดาบที่ชื่อ มะซะมุเนะ ได้พัฒนา เหล็กกล้าที่มีโครงสร้างสองชั้นผสมกัน ระหว่างเหล็กอ่อนและเหล็กแข็งขึ้นเพื่อใช้ใน การตีดาบ โครงสร้างนี้ได้สร้างความ ก้าวหน้าในพลังและคุณภาพการตัดอย่าง มาก ซึ่งเทคนิคการผลิตดังกล่าวได้นำ ไปสู่ การสร้างดาบญี่ปุ่น (ดาบคะตะนะ) ซึ่งเป็นที่ รู้จักกันในฐานะของหนึ่งในอาวุธคู่มือที่ทรง อานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกช่วงยุค ก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ดาบหลาย ๆ เล่มที่สร้างขึ้นมาโดยเทคนิคดังกล่าวนี้ได้ถูก ส่งออกข้ามทะเลจีนตะวันออกไป ซึ่งจุดที่ ไกลที่สุดที่ดาบเดินทางไปถึงคือดินแดน อินเดีย ประเด็นในเรื่องการสืบทอดตำ แหน่งโดยทายาท เป็นเหตุให้การต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงตำ แหน่งโดย ตระกูลต่าง ๆ เป็นเรื่องธรรมดา ถึงแม้ว่าจะ เป็นวิธีการที่ขัดต่อระเบียบการสืบทอดอำ นาจที่ ตราเอาไว้ในกฎหมายของญี่ปุ่นก่อนศตวรรษที่ 14 ก็ตาม เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการใช้วิธีชิง อำ นาจดังกล่าว การบุกรุกเข้ามาของกลุ่ม ซามูไรที่อยู่ในเขตแดนติดกันจึงเป็นเรื่อง ธรรมดาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และการวิวาท ระหว่างซามูไรด้วยกันเองก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น มาตลอดเวลาสำ หรับเมืองคะมะกุระและสมัย การปกครองของโชกุนอาชิกางะ ยุคเซงโงะกุ (ยุคภาวะสงคราม) เป็นยุคที่ ซามูไรสูญเสียวัฒนธรรมของตนเองให้กับกลุ่ม คนที่เกิดในชนชั้นทางสังคมอื่น ๆ ที่บางครั้งได้ อุปโลกน์ตัวเองว่าเป็นนักรบซามูไร โดยไม่ได้ คำ นึงถึงความถูกต้องตามครรลองแห่งการ เป็นซามูไรหรือไม่ ดังนั้นในช่วงที่ไร้ความ ควบคุมเช่นนี้ หลักจรรรยาแบบบูชิโดจึงถูกนำ มาใช้เป็นปัจจัยสำ คัญในการควบคุมสังคม สาธารณะ 05 ภาพเหมือน มะซะมุเนะ
ยุคเซ็นโงคุ STRENGTH | หน้า 3 ยุคเซ็นโงคุ (戦国時代)” เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งสงครามกลางเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุค หนึ่งของญี่ปุ่น และเป็นช่วงเวลาที่นองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ มัน เป็นช่วงเวลาของการต่อสู้ของซามูไรเพื่อความยิ่งใหญ่หลังจากที่ประเทศถูกแบ่งออกหลัง สงครามโอนิน (応仁の乱) ทำ ให้ญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทางการค้ากับจีนเพื่อสร้าง โอกาสใหม่ทั้งทางด้านการเงินและอำ นาจทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นำ ไปสู่การ เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในประเทศตามมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1467-1603 (หรือราวปลาย ศตวรรษที่ 15 จนถึงปลายศตวรรษที่ 16) ญี่ปุ่นประสบกับช่วงเวลาที่เจ็บปวดและวุ่นวาย ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในขณะที่อำ นาจของผู้สำ เร็จราชการยุคมูโรมาจิ (室町幕府)หรือผู้มี อำ นาจส่วนกลางถูกยุบ ประเทศถูกแบ่งโดยระหว่างขุนศึกที่บาดหมางกัน และมันคือช่วง เวลาของ “ยุคแห่งสงครามกลางเมืองเซ็นโงคุ (戦国時代)” ที่กินเวลานานกว่า 130 ปี โดยในยุคนี้ได้เกิดบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นจำ นวนมาก ทั้งนักรบซามูไร, นักปราชญ์ หรือสุด ยอดนักกลยุทธ์ต่างๆ 06 สงครามกลางเมือง ยุคเซ็นโงคุ
ยุคเอโดะ STRENGTH | หน้า 3 ยุคเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸時代; โรมาจิ: Edo-jidai) หรือ ยุคโทกูงาวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai; ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868) คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทกูงาวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทกูงาวะ อิเอยาซุ ได้รวบอำ นาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือ โตเกียว) ใน ค.ศ. 1603 และหลังจากนั้นอีก 260 ปี การปกครองทั้งหลายก็ตกอยู่ใน อำ นาจของตระกูลโทกูงาวะ รัฐบาลเอโดะได้ลิดรอนอำ นาจจากจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และ พระสงฆ์จนหมดสิ้น และปกครองเกษตรกรไปทีละเล็กละน้อย เมื่อเกษตรกรอันเป็นฐาน อำ นาจของรัฐบาลเอโดะยากจนลงจนเดือดร้อน การปกครองของตระกูลโทกูงาวะก็เริ่มสั่น คลอนลงตั้งแต่เข้าศตวรรษที่ 19 ยุคนี้เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฎรสามัญเจริญจนถึงที่สุด ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18 เป็นยุคของวัฒนธรรมเก็นโรกุ (元禄⽂化 Genroku-bunka) ซึ่ง เป็นของนักรบผสมกับราษฎรสามัญ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ อย่างเกียวโตหรือโอซา กะ เอกลักษณ์คือละครหุ่น ละครคาบูกิ และหัตถกรรมต่าง ๆ 07 โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ
ยุคเมจิ STRENGTH | หน้า 3 ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidar)เป็น ศักราช ใน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ถึง 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912[1] ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นศักดินาโชชูและแคว้นศักดินาซัตสึมะ ผนึก กำ ลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซามูไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนา รัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำ นาจ จักรพรรดิทรง ย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จ พระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุก ๆ ด้าน มีการทำ สงครามกับจักรวรรดิรัสเซีย และมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำ นาจในขณะนั้น 08 ซามูไรของแคว้นซะสึมะ ในช่วงสงครามโบะชิง ถ่ายโดย เฟลีเซ บีอาโต