มหาเวสสันดรชาดก
กัณฑ์มัทรี
จัดทำโดย
นายตรรกวิท ศรีสุข
ชั้น ม.๕/๖ เลขที่ ๙
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้
ประวัติผู้แต่ง
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้น
รัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิด
ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และ
ถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑
พ.ศ. ๒๓๔๘ ผลงานด้านวรรณคดีที่
ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน
หน้าที่การงาน
-หลวงสรวิชิต (ธนบุรี)
-นายด่านเมืองอุทัยธานี (ร.๑)
-พระยาพิพัฒน์โกษา (ร.๑)
-เจ้าพระยาพระคลังเสนาบดี
จตุสดม กรมท่า (ร.๑)
ผลงานด้านวรรณกรรม
-กากีคำกลอน
--แร่ปายลยวราวรมณหการชร
ามตเิกรืั่อณงฑส์กาุมมาก๊รกและกัณฑ์มัทรี
-ลิลิตเพชรมงกุฎ
-ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
ลักษณะคำประพันธ์
มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี แต่งเป็นร่ายยาว คำ
ประพันธ์ประเภทร่ายยาว หนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่ส่วน
มากมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป ถึง
๑๐ คำหรือมากกว่า มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำ
สุดท้ายของวรรคจะส่งสัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรค
ต่อไป เมื่อจบตอนมักมีคำสร้อย เช่น “นั้นแล” “นี้แล”
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์
จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อน แล้วแปลเป็นภาษาไทย แล้วจึงมี
ร่ายตามในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็น
ระยะๆคำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่
ตามมา
แผนผังฉันทลักษณ์ร่ายยาว
ที่มาของเรื่อง
มาจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นชาดก
เรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยกล่าวถึงเรื่องราวของพระ
โพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เดิมแต่งเป็น
ภาษาบาลี ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทยในสมัยกรุง
สุโขทัย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรด
เกล้าฯให้ปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง ซึ่งเป็น
มหาชาติสำนวนแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สวด ในสมัย
พระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าให้แต่งกาพย์มหาชาติ เพื่อใช้
สำหรับเทศน์ แต่เนื้อความในกาพย์มหาชาติค่อนข้างยาว
ไม่สามารถเทศน์ให้จบภายใน ๑ วัน จึงเกิดมหาชาติขึ้นใหม่
อีกหลายสำนวน เพื่อให้เทศน์จบภายใน ๑ วัน มหาชาติ
สำนวนใหม่นี้เรียกว่า มหาชาติกลอนเทศน์ หรือ ร่ายยาว
มหาเวสสันดรชาดก
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
โปรดเกล้าฯให้มีการชำระและรวบรวมมหาชาติกลอนเทศ
สำนวนต่าง ๆ แล้วคัดเลือกสำนวนที่ดีที่สุดของแต่ละกัณฑ์
นำมาจัดพิมพ์เป็นฉบับของหลวง ๒ ฉบับ คือ ฉบับหอพระ
สมุดวชิรญาณ และ ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อเรื่องย่อ
กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่ ๙ จากเรื่องมหา
เวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่เทวบุตร ๓ องค์
นิรมิตกาย เป็นสัตว์ร้ายขวางทางพระนา
งมัทรี เกิดลางแก่พระนางมัทรี พระนางจึง
ทรงวิงวอนขอทาง สัตว์ร้ายทั้งสาม เมื่อ
เสด็จกลับถึงอาศรม พระนางทูลถามพระ
เวสสันดรถึงพระกุมารทั้งสอง ต่อสัตว์ร้าย
พระเวสสันดรจึงทรงตัดพ้อต่อว่าถึงการที่
กลับมาผิดเวลา พระนางมัทรีทรงเฝ้า
รำพึงรำพันถึงสองกุมาร พลางเที่ยวเสด็จ
ตามหาจนสลบไป ครั้นพอพระนางมัทรี
ทรงฟื้ นคืนสติแล้ว พระเวสสันดรจึงตรัส
บอก ความจริงว่าได้พระราชทานสอง
กุมารเป็นทานแก่ชูชก พระนางมัทรีจึงทรง
อนุโมทนาบุตรทานบารมี
ถอดคำประพันธ์
คืนก่อนที่พระนางมัทรีจะออกจากอาศรมไปเก็บผล
ไม้ในป่า พระกุมารทั้งสองฝันร้าย ทำให้พระนางหวั่นวิตก
นึกถึงลูกตลอดเวลาจนน้ำตาอาบแก้มทั้งสองข้าง พลาง
สังเกตเห็นว่าต้นที่มีผลไม้กลับกลายเป็นดอกไม้ ส่วนต้นที่
มี
ดอกไม้กลับกลายเป็นผลไม้ขึ้นแทน ส่วนดอกไม้ที่เคยเก็บ
ไปร้อยให้ลูกก็ถูกลมพัดปลิวร่วงลงมา เมื่อมองไปรอบทิศ
ก็มืดมัวทุกหนแห่ง ท้องฟ้ากลับกลายเป็นสีแดงคล้ายกับ
ลางบอกเหตุร้าย สายตาของพระนางก็เริ่มพร่ามัว ตัวสั่น
ใจสั่น ของที่ถือก็หลุดจากมือ คานที่หาบไว้ก็ร่วงลงจากบ่า
ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยิ่งพระนางคิดเท่าไร
ก็ยิ่งทุกข์ใจมากขึ้นเท่านั้น
ด้วยความหวั่นใจเรื่องลูก พระนางจึงรีบเก็บผลไม้
เพื่อจะได้รีบกลับไปหาลูกที่อาศรม แต่ระหว่างทางกลับ
เจอ สิงโต เสือเหลือง และเสือโคร่ง ขวางทางไว้ นางกลัว
จนใจสั่นร่ำไห้ คิดไปว่าเป็นกรรมของตนเอง นางจะหนีไป
ทางไหนก็ไม่ได้เพราะถูกสัตว์ทั้งสามกั้นไว้ทุกทิศทางจน
ฟ้ามืด
ถอดคำประพันธ์
พระนางมัทรีไม่รู้จะทำอย่างไร จึงยกมือไหว้
อ้อนวอนขอให้สัตว์หิมพานต์ทั้งสามเปิดทางให้ตน โดย
กล่าวว่า พระนางคือพระนางมัทรีเป็นภรรยาของพระ
เวสสันดร ตามมาอยู่ที่อาศรมในป่าด้วยความบริสุทธิ์ใจ
และกตัญญูต่อสามี นี่ก็เวลาย่ำค่ำแล้วลูกคงหิวนม โปรด
เปิดทางให้พระนางกลับไปที่อาศรมแล้วตนจะแบ่งผลไม้
ให้ จากนั้นไม่นานสัตว์หิมพานต์ทั้งสามจึงยอมเปิดทางให้
พระนางมัทรีก็รีบวิ่งกลับไปที่อาศรมด้วยแก้มที่อาบ
น้ำตา
เมื่อถึงที่พักพระนางมัทรีก็ตกใจไม่เห็นลูกอยู่ใน
อาศรม ร้องเรียกหาเท่าไรก็ไม่มีใครตอบ ทั้งที่ก่อนหน้านี้
จะออกมาหาแม่กันพร้อมหน้า ทั้งกัณหาขอกินนม ส่วนชา
ลีจะขอกินผลไม้ พระนางมัทรีเสียใจมาก พร่ำบอกว่าที่
ผ่านมาก็ดูแลลูกอย่างดีแบบยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หวัง
จะกลับมาพบลูกให้ชื่นใจ ก่อนหน้านี้ยังได้ยินเสียงลูกเล่น
กันอยู่แถวนี้ นั่นก็รอยเท้าชาลี นี่ก็ของเล่นกัณหา แต่เมื่อ
ลูกหายไปอาศรมกลับดูเงียบเหงาเศร้าหม่น
ถอดคำประพันธ์
นางจึงไปถามพระเวสสันดรว่าลูกหายไปไหน เหตุใด
จึงปล่อยให้คลาดสายตา หากมีสัตว์ป่าจับไปจะทำอย่างไร
แต่พระเวสสันดรกลับไม่ตอบอะไร ทำให้นางกลุ้มใจยิ่งไป
ว่าเก่า
ด้วยความกลุ้มใจ ตัวก็ร้อน น้ำตาก็ไหล
กระวนกระวายพลางบอกว่า ไม่เคยมีครั้งใดที่นางรู้สึกแค้น
เคืองใจขนาดนี้ เพราะนางออกจากเมืองมาก็หวังว่าอย่าง
น้อยจะได้สุขใจเพราะอยู่พร้อมหน้ากับลูกและสามี แต่เมื่อ
ลูกหายตัวไป ความหวังนั้นก็คล้ายจะดับสิ้น
พระนางมัทรีอ้อนวอนขอให้พระเวสสันดรตรัสกับ
นางบ้าง เพราะการนั่งนิ่งเหมือนโกรธเคืองพระนางมัทรี
นั้นยิ่งทำให้ปวดใจราวกับมีคนเอาเหล็กรนไฟมาแทงที่
หัวใจ หรือเป็นคนไข้ที่หมอนำยาพิษมาให้ดื่ม อีกไม่กี่วันคง
สิ้นชีวิตอย่างแน่นอน เมื่อพระเวสสันดรได้ยินพระนางมัทรี
ดังนั้น ก็คิดว่าหากใช้ความหึงหวงคงเป็นวิธีคลายความโศก
ให้พระนางได้ จึงตรัสว่า ในป่าหิมพานต์แห่งนี้มีทั้งพระ
ดาบสและนายพรานจำนวนมาก เจ้าออกไปเก็บผลไม้
ตั้งแต่เช้าจนย่ำค่ำ หากไปทำอะไรในป่าแห่งนี้ก็คงจะไม่มี
ใครรู้เห็น เหตุใดจึงทิ้งลูกหนีเข้าไปในป่านานถึงเพียงนี้
พอกลับมายังห่วงแต่ลูก ไม่ห่วงสามีแต่อย่างใด หรือหาก
ไม่นึกถึงสามีก็ไม่ควรหายเข้าไปในป่านานถึงเพียงนี้ จะให้
เราเข้าใจได้อย่างไร
ถอดคำประพันธ์
เมื่อพระนางมัทรีได้ยินดังนั้น จึงกราบทูลว่า เหตุ
ใดพระองค์จึงไม่ได้ยินเสียงของราชสีห์ เสือโคร่ง และ
เสือเหลือง เพราะสัตว์ทั้งสามนี้ทำให้ทำให้พระนางไม่
สามารถกลับอาศรมได้ ทั้งยังเกิดเหตุร้ายหลายประการ
ขณะที่นางเข้าไปในป่า ทั้งของที่ถือก็หลุดจากมือ คานที่
หาบไว้ก็ร่วงลงจากบ่า ต้นไม้ที่เคยผลิดอกก็ออกผล
ต้นไม้ที่เคยออกผลก็ผลิดอกออกมา ชวนให้หวาดกลัวจน
ตัวสั่น อธิษฐานภาวนาให้ลูกและสามีปลอดภัย แล้วรีบ
กลับมายังอาศรมแต่ถูกสัตว์ร้ายทั้งสามตัวนอนขวาง
ทางเอาไว้ จึงต้องกราบอ้อนวอนสัตว์ทั้งสามให้เปิดทาง
ให้จนพระอาทิตย์ตกดินสัตว์ทั้งสามจึงหลีกทาง แล้ว
พระนางมัทรีก็รีบวิ่งกลับมายังอาศรมนี้ มิได้ไปทำสิ่งใด
ที่ไม่เหมาะไม่ควรแต่อย่างใด ฝ่ายพระเวสสันดรเมื่อฟัง
คำตอบของพระนามัทรีก็เอาแต่นิ่งเงียบทั้งคืน จน
กระทั่งรุ่งเช้า
ระหว่างนั้นพระนางมัทรีโศกเศร้าร่ำไห้ คร่ำครวญ
ว่าตนปฏิบัติต่อสามีดั่งศิษย์ปฏิบัติต่อครู ดูแลลูกทั้งสอง
แบบยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ทั้งบดขมิ้นไว้ให้อาบน้ำ
จัดหาอาหารมาให้มิได้ขาด แล้วอ้อนวอนให้สามีเรียกลูก
มากินอาหารที่ตนหามา ถามว่าลูกอยู่แห่งหนใดเหตุใด
จึงยังไม่ยอมออกมา แต่ไม่ว่าจะร้องขออ้อนวอนอย่างไร
สามีก็นิ่งเฉยไม่เอ่ยสิ่งใดออกมา พระนางจึงถวายบังคม
ลาออกไปตามหาลูกทั้งสองในป่าหิมพานต์ เมื่อออก
ตามหาจนทั่วแล้วไม่พบจึงกลับมาที่อาศรมพบว่าพระ
เวสสันดรยังคงนั่งนิ่งอยู่เหมือนก่อนหน้านี้ไม่มีผิด
ถอดคำประพันธ์
พระนางจึงตัดพ้อว่า เหตุใดพระเวสสันดรจึงยังนั่ง
นิ่งอยู่ไม่ลุกมาผ่าฝืน ตัดน้ำใส่บ่อ หรือก่อไฟไว้อย่างที่
เคยทำเป็นประจำทุกวัน พร้อมกับบอกว่าพระเวสสันดร
นั้นเป็นที่รักของพระนางมัทรีอย่างยิ่ง เมื่อกลับมาจาก
ป่าเห็นพระพักตร์ของพระองค์และได้เห็นลูกทั้งสองวิ่ง
เล่น ก็คลายความเหนื่อยล้าเป็นปลิดทิ้ง แต่วันนี้กลับ
กลายเป็นความทุกข์ร้อน เศร้าโศก เพราะพระองค์ไม่
ยอมตรัสสิ่งใดกับพระนาง แม้พระนางมัทรีจะได้ออก
ตามหาพระกัณหาและพระชาลีไปทั่วป่า ทั้งราตรี
แล้วกลับมาหาพระเวสสันดรอย่างไรพระองค์ก็ไม่ยอม
ตรัสสิ่งใดอยู่เช่นเดิม นางมัทรีสะอื้นไห้จนหมดสติล้มลง
กับพื้น
พระเวสสันดรบรรพชาเป็นดาบสมากว่า ๗ เดือน
ไม่เคยได้แตะต้องตัวพระนางมัทรี แต่วันนี้ด้วยความ
เศร้าโศกและตระหนกตกใจเกรงว่าพระนางจะเป็นอะไร
ไป พระเวสสันดรจึงเข้าไปตรวจชีพจรดูแลนางจนได้สติ
ตื่นฟื้ นขึ้นมา
ถอดคำประพันธ์
ฝ่ายพระนางมัทรีเมื่อฟื้ นขึ้นมาก็ทูลถามอีกครั้งว่า
ลูกทั้งสองอยู่แห่งหนใด กลับมาแล้วหรือไม่ พระ
เวสสันดรจึงตอบว่าตนได้ยกพระกัณหากับพระชาลีให้
กับชูชกไปแล้ว แต่พระองค์มิได้บอกกับพระนางมัทรี
ตั้งแต่ต้นเกรงว่าพระนางจะเศร้าโศกเสียใจ เมื่อได้รู้
ความจริงแล้ว พระนางมัทรีจึงคลายความทุกข์เศร้าลง
แล้วอนุโมทนาบุญกับบุตรทานที่พระเวสสันดรได้ปฏิบัติ
ในครั้งนี้
ข้อคิดจากเรื่อง
ความรักของแม่ที่มีต่อลูก เห็นได้จากความกังวลที่เกิด
ขึ้นเมื่อมีลางร้าย หรือความเศร้าโศก เสียใจเมื่อพระนา
งมัทรีไม่เจอลูกอยู่ในอาศรม สะท้อนให้เห็นว่าลูกเป็น
แก้วตาดวงใจของพ่อแม่ที่ไม่ว่ายุคสมัยไหนความรักแบบ
ไม่มีเงื่อนไขของพ่อแม่ยังเป็นเรื่องคลาสสิกที่ไม่
เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ความเชื่อเรื่องการทำนายฝัน หรือโชคลาง
แม้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะพัฒนาอย่างก้าว
กระโดด แต่ความ เชื่อเรื่องดวงชะตา การทำนายฝัน
หรือโชคลางยังคงอยู่ในสังคมไทย มาจนถึงปัจจุบัน แม้
จะลดน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต
ผู้ที่จะปรารถนาสิ่งต่างๆอันยิ่งใหญ่จะต้องทำด้วย
ความอดทนและเสียสละอันยิ่งใหญ่ด้วย
ความซื่อสัตย์ระหว่างสามีภรรยาทำให้ชีวิตครอบครัว
มี ความสุขเห็นได้จากที่พระนางมัทรีมีความจงรักภักดี
ต่อพระ เวสสันดร
ผู้มีปัญญาย่อมแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ดี เห็นได้
จากพระเวสสันดรที่ทรงมีปฏิภาณไหวพริบเป็นเยี่ยมใน
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
อ้างอิง
มหาเวสสันดรชาดก (กัณฑ์มัทรี).(ออนไลน์) สืบค้น
จาก:http://elearning.triamudom.ac.th/courses/55/un
it02/06.html (สืบค้นวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565)
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ตอนกัณฑ์มัทรี.
(ออนไลน์). สืบค้นจาก :
http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_de
tail.php?diary_id=1574 (สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2565)
ขอบคุณครับ