The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการเฝ้าระวังติดตามและแผนรองรับการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ชินกฤต, 2021-11-14 09:34:18

คู่มือการเฝ้าระวังติดตามและแผนรองรับการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ

คู่มือการเฝ้าระวังติดตามและแผนรองรับการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ

คมู่ อื การเฝา้ ระวงั ติดตามและแผนรองรบั

การแพรร่ ะบาดโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพฒั นาการสุวรรณภูมิ

ทีป่ รึกษา
นายศภุ กฤต ดิษฐสวุ รรณ ผู้อำนวยการโรงเรยี น
นางสาวศิรพิ ร ศักดศ์ิ รกี รม รองผู้อำนวยการกลมุ่ บรหิ ารงานงบประมาณ
นางสาวธัญพร บญุ สภุ า รองผู้อำนวยการกลุม่ บรหิ ารงานบุคคล
นางสาวเกตุกาญจน บัวนาค รองผ้อู ำนวยการกลุ่มบรหิ ารงานวิชาการ
ว่าท่ีร.ต.หญงิ คณิตา ขนั ธชัย รองผู้อำนวยการกลมุ่ บริหารงานท่ัวไป

กองบรรณาธกิ าร

นางสาวนันทวัน ตอบงาม ผ้ชู ่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานทัว่ ไป ประธานกรรมการ
กรรมการ
นางสาวพรรษชล ศิริพันธ์ หวั หนา้ กล่มุ งานบรหิ ารงานทั่วไป กรรมการ
กรรมการ
นายภัคพงษ์ โพธิส์ มิ หนา้ กลุ่มงานบรกิ าร กรรมการและเลขานกุ าร
กรรมการและผู้ชว่ ยเลขานกุ าร
นางสาวจันทร์ทพิ ย์ พันสวัสดิ์ หัวหน้างานอนามัย

นายชินกฤต ศรสี ุข หวั หน้าสำนักงานกล่มุ บริหารงานทัว่ ไป

นางสาวกนษิ ฐา มสี ารพนั ธุ์ สำนกั งานกล่มุ บรหิ ารงานท่ัวไป

ออกแบบปก : นางสาวพรรณนรี เทียนกระจา่ ง

พมิ พ์ท่ี : โรงเรียนเตรยี มอดุ มศึกษาพฒั นาการสวุ รรณภูมิ

คำนำ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย
ได้ขยายขอบเขตการแพร่ของโรคออกไปในวงกว้างกระจายไปในหลายพื้นที่การตรวจพบผู้ป่วยยืนยัน
ติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจํานวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ประกอบ
กับการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กําหนดให้เป็นเข ตพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งส่วนใหญ่
ยังไม่ปรากฏอาการของโรคเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ออกไปในลักษณะเป็นกลุ่มก้อน ผู้ติดเชื้อโรคบางส่วน
ปกปิดข้อมูลการเดินทาง ทําใหข้ ้ันตอนการสอบสวนโรคเกิดความล่าช้าและเป็นอุปสรรคตอ่ การ ปฏบิ ตั ิงานอื่น
ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้เกิดการระบาดขยายเป็นวงกว้าง รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยศูนย์บริหาร
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงได้กําหนดนโยบายและ
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ให้กับประชาชนทั้งประเทศ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ขยายผลการดําเนินงานตาม นโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าว
เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ก้าวต่อไปในภาวะฉุกเฉินนี้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ
มีความห่วงใย ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนทุกคน จึงได้จัดทํา “คู่มือการ เฝ้าระวัง
ติดตาม และแผนรองรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 (COVID – 19) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พัฒนาการสุวรรณภูมิ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บุคลากรของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ
และผู้เกี่ยวข้องจะได้นำไปใช้ ประกอบและเป็นแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวัง กำกับติดตาม และเตรียมพร้อม
ต่อการเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
อย่างทันเหตุการณ์อันจะส่งผลให้นักเรียน บุคลากรของสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ปลอดภัยไม่เสี่ยง
ไม่มีอาการป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถดำเนิน ชีวิตอย่างปกติสุข
ตามแนวชวี ติ วิถใี หม่ (New Normal)

กลมุ่ บริหารงานท่วั ไป
โรงเรียนเตรียมอุดมศกึ ษาพฒั นาการสวุ รรณภมู ิ

สารบญั

เร่อื ง หน้า

ส่วนที่ 1 แนวทางการเตรยี มการเปิดเรยี นภายใต้สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาด

ของโรคตดิ เช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 (Covid-19) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน… 1

ความร้เู บือ้ งต้นทคี่ วรรู้.......................................................................................................................... 1

แนวปฏบิ ัตกิ ารเตรียมการก่อนเปิดภาคเรียนของสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน.......... 4

ขอ้ กำหนดของ 6 มาตรการหลกั (DMHT-RC), 6 มาตรการเสรมิ (SSET-CQ)

และแนวทาง 7 มาตรการเขม้ สำหรบั สถานศึกษา................................................................................ 10

แนวปฏิบตั ริ ะหวา่ งเปดิ ภาคเรียนกรณเี ปดิ เรยี นไดต้ ามปกติ (Onsite)

และกรณีโรงเรยี นไม่สามารถเปิดเรยี นได้ตามปกติ............................................................................... 11

มาตรการ Sandbox : Safety Zone in School ประเภทไป-กลับ.................................................... 18

ส่วนท่ี 2 เกณฑ์การพจิ ารณาความเสี่ยง และสถานการณท์ ่กี ำลังเผชิญเหตภุ ายในประเทศ…………………… 22

เกณฑก์ ารพิจารณาระดับความรุนแรงของการระบาดของโรคโควิด 19 ระดบั ประเทศ....................... 22

เกณฑก์ ารพจิ ารณากรอบการปฏบิ ัติตามตารางประสานสอดคล้อง

ในการบริหารสถานการณ์โควิด 19 ในสถานศกึ ษา……………………………………………………………………. 33

ส่วนท่ี 3 แผนรองรบั สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคโควิด 19

โรงเรียนเตรยี มอดุ มศึกษาพฒั นาการสุวรรณภมู ิ......................................................................... 35

การเตรยี มความพรอ้ มเพ่ือเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19…………………………. 35

แผนรองรบั สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควดิ 19…………………………………………….. 36

ภาคผนวก................................................................................................................................................ 42

ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร เรอ่ื ง หลกั เกณฑ์การเปิดโรงเรยี นหรือสถาบันการศกึ ษาตามข้อกำหนด

ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณฉ์ กุ เฉนิ พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 32)

ลงวนั ท่ี 20 กันยายน 2564………………………………………………………………………………………………………………… 42

ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรือ่ ง หลักเกณฑก์ ารเปิดโรงเรยี นหรอื สถาบนั การศกึ ษาตามข้อกำหนดออก

ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณฉ์ กุ เฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบบั ท่ี 34)

ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2564…………………………………………………………………………………………………………………… 52

สว่ นท่ี 1
แนวทางการเตรยี มการเปดิ เรียนภายใตส้ ถานการณก์ ารแพร่ระบาด

ของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความตระหนักยิ่งถึงความปลอดภัยของนักเรียน ที่จะได้รับ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และยึดถือและปฏิบัติ
ตาม มาตรการการระวัง ป้องกัน ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ข้อ 1 การห้ามการดำเนินการหรือจัดกิจกรรมหรือ
ที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค จึงได้ประกาศเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นวันที่ 14 มิถุนายน
2564 เพื่อให้สามารถเตรียมการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แก่นักเรียน
ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสถานศึกษา สามารถเลือกใช้
รปู แบบการจัดการเรยี นการสอนแบบผสมผสานใน 5 รูปแบบ (ON-LINE, ON-AIR, ON DEMAND, ON-HAND
และ ON-SITE) ตามความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งนี้ ไม่ว่าสถานการณ์ จะเป็นเช่นไร เด็กทุกคนต้อง
ไม่พลาดโอกาสในการเรียนรู้โดยการจัดการศึกษาตอ้ งคํานึงถึงความ ปลอดภัยสูงสุดของทุกคน รวมทั้งมีการ
ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด การ์ดต้องไม่ตกในทุกพื้นที่ และ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558 อย่างเครง่ ครดั

ความรเู้ บ้ืองตน้ ท่ีควรรู้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564) แนวทางการเตรียมการเปิดภาคเรียนที่ 2
ปกี ารศกึ ษา 2564 ภายใตส้ ถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) การเปิด
ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2564 รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสขุ และกระทรวงศึกษาธกิ าร

เร่งดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน 2 เรื่องที่สำคัญและนำสู่การปฏิบัติ ได้แก่
การรณรงค์ให้นักเรียนอายุ 12-18 ปีเข้ารับการฉีดวัคซีน Pfizerและให้สถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการ
Sandbox : Safety Zone in Schoolอย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียน ครู บุคลากรทางการ
ศึกษา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะต้องรับรู้และสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน Pfizerและปฏิบัติตามมาตรการได้
อย่างเคร่งครัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานนอกจากวัคซีน Pfizer ที่รัฐนำมาให้กับนักเรียน
อายุ 12-18 ปเี ขา้ รับการฉีดแล้ว ยงั มวี ัคซีนทางเลือกอกี หนึง่ ย่หี ้อ ได้แก่ Sinopharm ทีร่ าชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ดำเนินการฉีดวัคซีน ให้กับเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10-18 ปี ในโครงการ VACC 2 School ดังนั้น

เพื่อให้ความรู้เบ้ืองต้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน จึงขอนำเสนอข้อมูลที่ควรรู้ของ วัคซนี
Pfizer วัคซนี SinopharmและมาตรการSandbox : Safety Zone in School พอสังเขป ดังน้ี

1. วัคซนี Pfizer
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ช่วงปีที่ผ่านมาและปัจจุบนั มี
การกล่าวถึง เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน (COVID-19Vaccines) กันมากมาย โดยเฉพาะการเร่งสร้าง “ภูมิคุ้มกัน
หมู่”ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย มีวัคซีนที่ผ่านการรองรับจากองค์การอนามัยโลก
(WHO)และทุกประเทศได้เลือกและนำมาให้ประชาชนรับการฉีด วัคซีน (COVID-19Vaccines) มีหน้าท่ีสำคัญ
คอื การเพิ่มประสิทธภิ าพในการเข้าไปเพม่ิ จำนวน และเสรมิ ความแข็งแรงของภูมิคุ้มกนั ให้พร้อมเข้าทำลายสิ่ง
แปลกปลอม หรือไวรสั ชนดิ ต่างๆ ที่แฝงเข้ามาในรา่ งกายได้ในทนั ที ซึ่งเป็นถอื เป็นอาวุธชิ้นสำคัญที่ชว่ ยยับยง้ั
ความรุนแรง หมายรวมถึงช่วยลดอัตราการติดเชื้อและการเสียชีวิตของประชาชน ปัจจุบันวัคซีนที่ผ่าน
การรองรับจากองค์การอนามยั โลก(WHO) มีหลายยห่ี อ้ มปี ระสิทธิภาพในการทำหน้าท่ีแตกต่างกัน (สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน 2564 อ้างถึงใน โรงพยาบาลวิชัยเวชอนิ เตอรเ์ นช่นั แนล. 6 ตุลาคม 2564)
ไดแ้ ก่
1. Pfizer ผลิตโดยประเทศสหรัฐอเมริกา มปี ระสิทธิภาพ 95%
2. Moderna ผลติ โดยประเทศสหรัฐอเมริกา มปี ระสทิ ธิภาพ 94.5%
3. Johnson and Johnson ผลิตโดยประเทศสหรัฐอเมรกิ า มีประสิทธิภาพ 66%
4. AstraZeneca ผลิตโดยประเทศองั กฤษ มปี ระสทิ ธภิ าพ 65%
5. Covishield ผลติ โดยประเทศอินเดีย มีประสิทธภิ าพ 72%
6. Sinovac ผลติ โดยประเทศจีน มีประสทิ ธิภาพ 50%
7. Sinopharm ผลติ โดยประเทศจนี มีประสิทธภิ าพ 79-86%
สำหรับวัคซีนที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ฉีดกับนักเรียนอายุระหว่าง 12-18 ปี นั้น
ได้แก่Pfizer ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองการใช้วัคซีน Pfizer เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
และประเทศไทยโดยองค์การอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนเม่อื วันท่ี ๒๔ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดให้
สามารถฉีดวัคซีน Pfizer ให้กับนักเรียน นักศึกษา อายุระหว่าง 12-18 ปี ดังนั้นรัฐบาลโดยกระทรวง
สาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการกำหนด Kick Off การฉีดวัคซีน Pfizer ให้กับนักเรียนนักศึกษาอายุ
ระหว่าง 12-18 ปี ในวันที่ 4 ตุลาคม 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษามีความปลอดภัยและ
นักเรียนได้รับวัคซนี อยา่ งถว้ นเพ่ือรองรับการเปดิ ภาคเรียนที่ 2 ปกี ารศึกษา 2564 ในรปู แบบ Onsite วันที่ 1
พฤศจิกายน 2564 ซ่ึงสอดคล้องกบั ราชวิทยาลัยกุมารแพทยแ์ ห่งประเทศไทย (22 กนั ยายน 2564) ได้ติดตาม
ข้อมูลด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 ในเด็กและวัยรุ่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัย
และประโยชนท์ างดา้ นสุขภาพของเด็กเป็นสำคัญ และได้แนะนำใหฉ้ ีดวัคซีนท่ีได้รับการรับรองโดยสำนักงาน

2

คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ใช้กับเด็กและวัยรุ่นต้ังแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งขณะนี้มีชนิดเดียวที่มีใน
ประเทศไทยคือ วคั ซนี Pfizer

วัคซีน Pfizer เป็นวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine)กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้
ดี(Antigen) ให้ร่างกายรู้จักกับเชื้อโรคโควิด19 หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 แล้ว จะมีประสิทธิภาพใน
การป้องกันโรคโควิด19 สูงถึง 91.3% ในช่วง 7 วันถึง 6 เดือนหลังฉีดป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 100%
ปอ้ งกันการติดเชื้อมีอาการที่ 94% ป้องกนั การตดิ โรค 96.5% ปอ้ งกันการเสยี ชวี ิต 98-100% นอกจากนี้ยังมี
ประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด19 สายพันธุ์อังกฤษ หรืออัลฟ่า ได้ถึง 89.5% ป้องกันโควิด 19 สายพันธ์ุ
แอฟริกาใต้ หรือเบต้า ได้ถึง 75% งานวิจัยของหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ พบว่าวัคซีน Pfizer
มีประสิทธิภาพ 88% ในการป้องกันการป่วยแบบมีอาการจากไวรัส เดลต้าหรืออินเดียการรับวัคซีน Pfizer
รับการฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21-28 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน
ภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดหลังจากฉีดวัคซนี ไฟเซอรไ์ ปแล้ว 12 วัน แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานเต็มที่หลังจากฉดี ครบ 2
เข็มหลงั การฉีดวคั ซีนเข็ม 1 หรือเขม็ 2 ผู้รบั การฉีดอาจมผี ลขา้ งเคยี งบา้ งแต่ไมร่ นุ แรง

2. วัคซนี Sinopharm
วัคซีน Sinopharm เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ผลิตโดยสถาบันชีววัตถุแห่งปกั กิง่ (Beijing Institute of
Biological Products: BIBP) นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียนในประเทศ
ไทย เมือ่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 มีขอ้ บ่งใชส้ ำหรับฉีดเพื่อกระตุน้ ให้รา่ งกายสรา้ งภูมิคุ้มกันในผู้ท่มี ีอายุตั้งแต่
18 ปขี นึ้ ไป ฉดี คร้งั ละ 1 โดส จำนวน 2 ครัง้ ห่างกนั 21-28 วนั ในประเทศไทย วัคซีน Sinopharm เปน็ วคั ซนี
ทางเลือกที่กระจายให้กับองค์กร นิติบุคคล รวมถึงบุคคลธรรมดาผ่านราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตั้งแต่วันท่ี
20มถิ นุ ายน จนถงึ ปจั จุบนั เป็นจำนวนทงั้ สิ้น 15 ลา้ นโดส โดยที่ผ่านมาเป็นการฉีดให้กับผูท้ ี่มอี ายุต้ังแต่ 18 ปี
ขน้ึ ไป
วัคซีน Sinopharmอยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อมูลเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพและ
ความปลอดภัยในเด็ก และขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ยงั ไม่ได้รับรองให้ใช้ในเด็กและ
วัยรุ่น (ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แหง่ ประเทศไทย. 22 กันยายน 2564)ซึ่งสอดคล้องกับราชวทิ ยาลัยจุฬาภรณ์
(ชนาธิป ไชยเหลก็ . 21 กนั ยายน 2564) กล่าววา่ การฉีดวคั ซีน Sinopharm ในกลมุ่ อายุตำ่ กวา่ 18 ปี จะต้อง
ได้รับการอนมุ ัติขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ก่อน ถึงแม้จะเป็นชนิดเชื้อตาย
แต่ก็จำเป็นต้องมีข้อมูลการวิจยั ในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะที่มีการศึกษาทัง้ ความปลอดภัยและประสิทธิผลของ
วัคซีนรองรับ และในเมื่อ อย. ยังไม่อนุมัติ การฉีดวัคซีน Sinopharm ให้กับนักเรียนอายุ 10-18 ปีเป็นเพียง
โครงการวิจัยของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เท่านั้น โดยวันที่ 20 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ
มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ฯ ได้เปิดโครงการ ‘VACC 2 School’ ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนตัวเลือก
ซิโนฟาร์ม บมจ.โทรคมนาคมแหง่ ชาติ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนกว่า 2,000

3

คน และจะดำเนินการฉีดจนถงึ กลางเดือนตุลาคม โดยมีสถานศึกษาในกรงุ เทพฯ และปริมณฑล สมัครเข้าร่วม
โครงการรวม 132 โรง คิดเป็นจำนวนนกั เรยี นทั้งหมด 108,000 คน

3. โรงเรียน Sandbox : Safety Zone in School
กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย (นายแพทย์สุวรรณชัย
วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย) มีการนำร่องเปิดการเรียนการสอนแบบ Onsite ตามมาตรการ
Sandbox Safety Zone in School ในโรงเรียนประเภทพกั นอน มีการดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน -
11 กันยายน 2564 ซึ่งมีการแบ่งโซนคัดกรอง โซนกักกันผู้สัมผัสเสี่ยง และโซนปลอดภัยสีเขียว ร่วมกับ
มาตรการต่าง ๆ มีการติดตามและประเมินผล พบว่าได้ผลดี แม้พบผู้ติดเชื้อ ก็เป็นการสัมผัสกับผู้ติดเช้ือ
ภายนอกและตรวจจับไดน้ ับได้วา่ เป็นระยะที่ 1 ทปี่ ระสบผลสำเร็จ จงึ เตรยี มขยายผลในโรงเรียนแบบไป-กลับ
และโรงเรียนพกั นอน-ไปกลับ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เป็นระยะที่ 2 โดยมาตรการจะเข้มขน้ กวา่
ระยะที่ 1 เน้น 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้มสถานศึกษา (ไทยรัฐออนไลน์.15
กันยายน 2564)
ดังนนั้ ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2564 สถานศึกษาของรัฐและสถานศกึ ษาของเอกชนทุกแห่งทง้ั แบบ
พักนอน แบบไป-กลับ แบบพักนอน-ไปกลับ และลักษณะอื่นๆ จะเปิดให้มีการเรียนการสอนตามปกติแบบ
Onsite ไดจ้ ะตอ้ งดำเนินการมาตรการที่เข้มข้น โดยเนน้ 6 มาตรการหลกั 6 มาตรการเสรมิ และ 7 มาตรการ
เขม้ สถานศึกษา อยา่ งเครง่ ครดั

แนวปฏิบัติการเตรยี มการกอ่ นเปดิ ภาคเรียนของสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษา
ขัน้ พืน้ ฐาน

การเตรียมการก่อนการเปิดเรยี น มีความสำคัญอย่างมากเน่ืองจากมีความเกี่ยวขอ้ งกับการปฏบิ ัติตน
ของนักเรียน ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกคนในสถานศึกษา เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อโรคโควิด 19
(Covid-19)ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน และสร้างความปลอดภัยแก่ทุกคน สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้มีแนวปฏิบัติการเตรียมการก่อนเปิดภาคเรียน ให้กับสำนักงานเขตพื้นท่ี
การศกึ ษา และสถานศกึ ษาในสังกดั ใช้เปน็ แนวทางในการปฏบิ ัติ ดงั นี้

1. การประเมินความพรอ้ มก่อนเปิดเรยี น
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้สร้างเครื่องมือสำหรับสถานศึกษาประเมินตนเองในระบบ
Thai Stop Covid Plus ตัวย่อ TSC+ เพื่อให้สถานศึกษาเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียน ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2564 ลิงก์ระบบ https://stopcovid.anamai.moph.go.th/th/school แบบประเมินตนเอง
ดงั กลา่ ว ประกอบด้วย 6 มิติ 44 ข้อ สถานศึกษาจะต้องผ่านการประเมนิ ทัง้ 44 ขอ้ ตามข้นั ตอนการประเมิน
ตนเอง ดงั ภาพ

4

ภาพการประเมินความพร้อมกอ่ นเปิดเรยี นThai Stop Covid Plus
ทม่ี า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน (2564 : 5)

กรอบการประเมนิ Thai Stop Covid Plus
มิตทิ ี่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชอื้ โรค
1. มีมาตรการคดั กรองวัดไข้ ให้กบั นักเรียน ครู และผู้เขา้ มาตดิ ต่อ ทกุ คน ก่อนเขา้ สถานศึกษา หรือไม่
2. มีมาตรการสังเกตอาการเสี่ยงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูก
ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษา
หรือไม่
3. มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือ
หนา้ กากอนามยั หรอื ไม่
4. มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียน ร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มี
หนา้ กากเขา้ มาในสถานศกึ ษา หรือไม่
5. มีจุดลา้ งมอื ด้วยสบู่ อย่างเพยี งพอ หรอื ไม่
6. มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตู
หอ้ งเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อยา่ งเพยี งพอ หรือไม่
7. มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน
อยา่ งนอ้ ย 1-2 เมตร (ยึดหลกั Social Distancing) หรอื ไม่

5

8. มกี ารทำสญั ลกั ษณแ์ สดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหวา่ งกนั หรือไม่
9. กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ มีการสลับวันเรียนของแต่ละชั้นเรียน
หรอื การแบ่งจำนวนนกั เรยี น หรือไม่
10. มกี ารทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่าง ๆ และอปุ กรณท์ ใ่ี ชใ้ นการเรยี นการสอน ก่อนและหลังใช้
งานทกุ คร้งั เชน่ ห้องคอมพวิ เตอรห์ อ้ งดนตรี อุปกรณ์กีฬา หรอื ไม่
11. มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยงร่วม ทุกวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ลิฟต์ กลอน
ประตูมอื จบั ประตู - หน้าตา่ ง หรอื ไม่
12. มถี งั ขยะแบบมฝี าปิดในหอ้ งเรยี น หรอื ไม่
13. มีการปรับปรุงซ่อมแซมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี
สำหรับใชป้ ดิ - เปดิ ใหอ้ ากาศถ่ายเทสะดวก หรอื ไม่
14. มกี ารแบ่งกลุม่ ย่อยนักเรียนในหอ้ งเรยี นในการทำกจิ กรรม หรือไม่
15. มีการปรบั ลดเวลาในการทำกิจกรรมประชาสมั พนั ธ์ ภายหลงั การเขา้ แถวเคารพธงชาติ หรอื ไม่
16. มีการจดั เหลื่อมเวลาทำกิจกรรมนกั เรยี น เหลอื่ มเวลากินอาหารกลางวนั หรอื ไม่
17. มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเขา้ แถวทำกิจกรรม หรอื ไม่
18. มีการกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน
ยาสฟี ัน ผ้าเชด็ หนา้ หรอื ไม่
19. มีห้องพยาบาลหรอื พน้ื ทสี่ ำหรบั แยกผ้มู ีอาการเส่ียงทางระบบทางเดินหายใจ หรือไม่
20. มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียน
ดว้ ยกนั หรือดูแลรนุ่ น้อง หรอื ไม่
มติ ิท่ี 2 การเรียนรู้
21. มกี ารติดป้ายประชาสมั พันธ์แนะนำการปฏิบตั ิเพ่อื สุขอนามัยท่ีดี เชน่ วิธลี ้างมือท่ถี กู ต้อง การสวม
หน้ากากอนามยั การเวน้ ระยะหา่ งระหว่างบคุ คล เป็นตน้ หรืออน่ื ๆ ท่เี กีย่ วกับโรคโควดิ 19 หรือไม่
22. มีการเตรยี มความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถงึ การเรียนรูต้ ามวัยและสอดคล้องกับ
พฒั นาการด้านสังคม อารมณ์ และสตปิ ัญญา หรือไม่
23. มีมาตรการกำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษา ในเด็กเล็ก(ประถมศึกษา)
ไม่เกนิ 1 ชัว่ โมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยมศกึ ษา) ไม่เกิน 2 ชว่ั โมงต่อวนั หรอื ไม่
24. มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website, Facebook, Line, QR
Code, E-mail หรอื ไม่
มติ ทิ ี่ 3 การครอบคลมุ ถึงเด็กด้อยโอกาส
25. มีการเตรียมหนา้ กากผ้า สำรองสำหรับเด็กเลก็ หรอื ไม่

6

26. มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์
การระบาดของโรคโควดิ 19 หรือไม่

27. มีมาตรการสง่ เสริมให้นักเรยี นได้รับบริการสขุ ภาพขน้ั พ้นื ฐานอย่างทัว่ ถึง หรอื ไม่
28. มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือนนอนให้ถูกสุขลักษณะ
พร้อมมตี ารางเวรทุกวนั หรอื ไม่ (กรณีมีทพี่ ักและเรอื นนอน)
29. มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบญั ญตั ิการปฏิบัติด้าน
ศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวนั หรือไม่ (กรณีมสี ถานทปี่ ฏิบตั ิศาสนากิจ)
30. มมี าตรการดูแลนักเรยี นท่ีมีความบกพร่องด้านพฒั นาการ การเรียนรู้ หรือดา้ นพฤติกรรมอารมณ์
รวมถงึ ภาวะสมาธสิ ้ัน และเด็กออทสิ ตกิ ทสี่ ามารถเรียนรว่ มกบั เด็กปกติ หรอื ไม่
มิตทิ ่ี 4 สวสั ดภิ าพและการคุม้ ครอง
31. มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิด
โรงเรยี น หรอื ไม่
32. มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social
Stigma) หรอื ไม่
33. มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากรของสถานศึกษา
หรือไม่
34. มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ
14 วนั กอ่ นมาทำการเรียนการสอนตามปกติ และทุกวนั เปิดเรยี น หรือไม่
35. มกี ารกำหนดแนวทางปฏบิ ตั ติ ามระเบียบสำหรบั นักเรยี น ครู และบคุ ลากรท่สี งสัยติดเช้อื หรือป่วย
ด้วยโรคโควดิ 19 โดยไม่ถือเปน็ วันลาหรอื วันหยุดเรยี น หรือไม่
มติ ทิ ่ี 5 นโยบาย
36. มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และ
ผู้ปกครอง โดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรยี น
หรือไม่
37. มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา อย่างเป็น
ลายลักษณห์ รอื มีหลกั ฐานชดั เจน หรือไม่
38. มีการประชมุ คณะกรรมการสถานศึกษา หรอื ไม่
39. มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และกำหนดบทบาทหน้าที่อย่าง
ชดั เจน หรือไม่

7

40. มมี าตรการบรหิ ารจดั การความสะอาดบนรถรับ-สง่ นักเรียน เวน้ ระยะหา่ งระหว่างบคุ คล จัดที่น่ัง
บนรถหรือมสี ญั ลักษณ์จุดตำแหน่งชดั เจน หรอื ไม่ (กรณรี ถรับ - ส่งนักเรียน)

มิติท่ี 6 การบรหิ ารการเงนิ
41. มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและ
เหมาะสม หรือไม่
42. มกี ารจัดหาซอ้ื วัสดอุ ุปกรณ์ป้องกันโรคโควดิ 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศกึ ษา เช่น
หนา้ กากผ้า หรอื หนา้ กากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรอื ไม่
43. มกี ารประสานแสวงหาแหลง่ ทุนสนบั สนนุ จากหนว่ ยงาน องค์กร หรือเอกชน เชน่ ทอ้ งถน่ิ บริษัท
หา้ งร้าน NGO เป็นตน้ หรอื มกี ารบรหิ ารจดั การดา้ นการเงนิ เพือ่ ดำเนนิ กิจกรรมการปอ้ งกันการแพรร่ ะบาดของ
โรคโควิด 19 หรือไม่
44. มีการจดั หาบุคลากรในการดูแลนกั เรียนและการจดั การส่ิงแวดล้อมในสถานศกึ ษา หรือไม่
เมื่อสถานศึกษาประเมินตนเอง ผ่านการประเมินทั้ง 44 ข้อ จะได้รับใบประกาศรับรองมาตรฐาน
จาก กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสขุ ดงั ภาพตัวอย่าง

ภาพตัวอย่างสถานศึกษาประเมินตนเอง ผา่ นการประเมินทงั้ 44 ขอ้
ทมี่ า สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน (2564 : 9)

8

ภาพแนวปฏิบัติการเตรียมการกอ่ นเปดิ ภาคเรียน
ท่มี า สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน (ออนไลน์)

9

ข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และ

แนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศกึ ษา

ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรอื่ ง หลักเกณฑก์ ารเปิดโรงเรียนหรอื สถาบันการศึกษาตามข้อกำหนด

ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
(ฉบบั ที่ 34) ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลกั (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-
CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเขม้ สำหรบั สถานศกึ ษา โดยมเี ง่ือนไข ดังนี้

ข้อกำหนด 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC)
(1) Distancing เวน้ ระยะห่าง
(2) Mask wearing สวมหน้ากาก
(3) Hand washing ลา้ งมอื
(4) T e s tin g คดั กรองวัดไข้
(5) Reducing ลดการแออดั
(6) Cleaning ทำความสะอาด

ขอ้ กำหนด 6 มาตรการเสรมิ (SSET-CQ)
(1) Self-care ดูแลตนเอง
(2) Spoon ใชซ้ อ้ นกลางสว่ นตวั
(3) Eating กนิ อาหารปรงุ สกุ ใหม่
(4) Track ลงทะเบยี นเชา้ ออกโรงเรียน
(5) Check สำรวจตรวจสอบ
(6) Quarantine กักกันตัวเอง

ข้อกำหนดแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรบั สถานศึกษา
(1) สถานศกึ ษาประเมินความพร้อมเปดี เรียนผ่าน TSC+ และรายงานการติดตามการประเมินผล

ผ่าน MOECOVID
(2) ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบ Small Bubble จัดนักเรียนเว้นระยะห่างในห้องเรียน

หลกี เลย่ี งการทำกิจกรรมชา้ มกล่มุ กนั
(3) จดั ระบบการใหบ้ รกิ ารอาหารตามหลกั สขุ าภิบาลอาหารและหลกั โภชนาการ
(4) จัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ การระบายอากาศภายใน

อาคาร การทำความสะอาด คุณภาพน้าํ อปุ โภคบริโภค และการจดั การขยะ
(5) จดั ให้มี School Isolation แผนเผชิญเหตุ และมกี ารซกั ข้อมอยา่ งเครง่ ครัด
(6) ควบคุมดูแลการเดินทางเช้าและออกจากสถานศึกษา (Seal Route) ทั้งกรณีรถรับ-ส่ง

นกั เรยี น รถสว่ นบุคคล และพาหนะโดยสารสาธารณะ
(7) จัดใหม้ ี School Pass สำหรับนักเรยี น ครู และบุคลากรในสถานศึกษา

10

ภาพ6 มาตรการหลกั (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ)
และแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศกึ ษา

ทีม่ า สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน (ออนไลน์)

แนวปฏิบตั ริ ะหวา่ งเปดิ ภาคเรยี นกรณีเปดิ เรยี นไดต้ ามปกติ (Onsite) และ
กรณโี รงเรียนไมส่ ามารถเปิดเรียนไดต้ ามปกติ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564) สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามมาตรการระหว่าง
เปิดเรียนตามที่กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการกำห นดให้ครอบคลุมทุกมิติอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของ
นักเรียน ครูและบุคลากรในสถานศึกษาสูงสุดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน จึงได้ดำเนินการ
จัดทำและรวบรวมแนวปฏิบตั ริ ะหวา่ งเปิดเรยี นเปน็ 2 กรณี ดงั น้ี

11

1. กรณเี ปดิ เรยี นไดต้ ามปกติ (Onsite) สถานศกึ ษาต้องปฏบิ ตั ิ ดังน้ี

มาตรการ แนวทางการปฏิบัติ
7 มาตรการเขม้ งวด 1) สถานศึกษาผ่านการประเมิน TSC+ และรายงานการติดตามการประเมินผล
ผ่าน MOE Covid
อนามยั สิง่ แวดล้อม 2) ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบ Small Bubble หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมข้าม
กลมุ่ และจัดนักเรียนในหอ้ งเรียนขนาดปกติ (6 x 8) ไม่เกิน 25 คน หรือจัดให้เว้น
ระยะห่างระหว่างนักเรียนในห้องไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พิจารณาตามความ
เหมาะสมโดยคณะกรรมการโรคตดิ ตอ่ จงั หวัด
3) จัดระบบการให้บริการอาหารสำหรับนักเรยี น ครูและบุคลากรในสถานศึกษา
ตามหลักมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ อาทิเช่น การจัดซื้อ
จัดหาวัตถุดิบจากแหลง่ อาหาร การปรุงประกอบอาหารหรอื การส่ังซ้อื อาหารตาม
ระบบนำส่งอาหาร(Delivery) ที่ถูกสุขลักษณะและต้องมีระบบตรวจสอบทาง
โภชนาการก่อนนำมาบริโภค ตามหลักสขุ าภิบาลอาหารและหลกั โภชนาการ
4) จัดการด้านอนามยั สิ่งแวดลอ้ มให้ได้ตามแนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมใน
การป้องกันโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาได้แก่ การระบายอากาศภายในอาคาร
การทำความสะอาดคุณภาพน้ำด่ืม และการจัดการขยะ
5) ให้นักเรียนท่ีมีความเสี่ยงแยกกักตัวในสถานศึกษา (School Isolation) และ
มกี ารซักซอ้ มแผนเผชิญเหตุ รองรับการดูแลรักษาเบื้องตน้ กรณนี กั เรยี น ครู หรือ
บุคลากรในสถานศึกษามีผลการตรวจพบเชื้อโรคโควิด19 หรือผล ATK เป็นบวก
โดยมกี ารซักซ้อมอย่างเครง่ ครดั
6) ควบคมุ ดแู ลการเดนิ ทางกรณีมกี ารเข้าและออกจากสถานศกึ ษา (Seal Route)
อย่างเข้มข้น โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดเส้นทาง
การเดนิ ทาง
7) ให้จัดให้มี School Pass สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา
ซ่ึงประกอบดว้ ยข้อมูล ผลการประเมนิ TST
1) การระบายอากาศภายในอาคาร

- เปิดประตหู น้าต่างระบายอากาศก่อนและหลงั การใชง้ าน อยา่ งน้อย 15 นาที
หน้าต่างหรือ ช่องลม อย่างน้อย 2 ด้านของห้อง ให้อากาศภายนอกถ่ายเทเข้าสู่
ภายในอาคาร

12

มาตรการ แนวทางการปฏิบตั ิ
อนามยั สง่ิ แวดล้อม - กรณใี ชเ้ คร่ืองปรับอากาศ ควรระบายอากาศในอาคารกอ่ นและหลังการอย่าง
น้อย 2 ชั่วโมง หรือเปิดประตูหน้าต่างระบายอากาศช่วงพักเที่ยงหรือช่วงที่ไม่มี
การใชอ้ าคารสถานท่ี การเรียนการสอน กำหนดเวลาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ และทำความสะอาด
ของสถานศกึ ษา สมำ่ เสมอ
2) การทำความสะอาด
- ทำความสะอาดวัสดุสิ่งของดว้ ยผงชกั ฟอกหรอื น้ำยาทำความสะอาด และล้าง
มือด้วยสบแู่ ละน้ำ
- ทำความสะอาดและฆา่ เชื้อโรคบนพนื้ ผวิ ทัว่ ไป อปุ กรณส์ ัมผสั รว่ ม เชน่ ห้องน้ำ
ห้องส้วม ลูกบิด ประตู รีโมทคอนโทรล ราวบันได สวิตช์ไฟ (กดลิฟท์ จุดน้ำดื่ม
เป็นตน้ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% นาน 10 นาที และฆ่าเชอื้ โรคบนพืน้ ผิววัสดแุ ข็ง
เช่น กระเบื้อง เซรามิก สแตนเลส ด้วยน้ำยาฟอกขาวหรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์
0.1% นาน 5-10 นาที อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และอาจเพิ่มความถี่ตามความ
เหมาะสมโดยเฉพาะเวลาท่มี ีผ้ใู ชง้ านจำนวนมาก
3) คณุ ภาพนำ้ เพื่อการอุปโภคบริโภค
- ตรวจดูคณุ ลักษณะทางกายภาพ สี กลิน่ และไมม่ ีสิง่ เจอื ปน
- ดแู ลความสะอาดจุดบรกิ ารนำ้ ดืม่ และภาชนะบรรจุนำ้ ดม่ื ทกุ วนั (ไม่ใช้แก้วน้ำ
ดมื่ รว่ มกนั เดด็ ขาด)
- ตรวจคณุ ภาพนำ้ เพอ่ื หาเช้ือแบคทีเรียดว้ ยชดุ ตรวจภาคสนามทุก 6 เดือน
4) การจัดการขยะ
- มกี ารคดั แยกลดปรมิ าณขยะ ตามหลกั 3R (Reduce Reuse Recycle)
- กรณีขยะเกดิ จากผสู้ ัมผัสเส่ยี งสงู / กักกนั ตัว หรือหนา้ กากอนามัยที่ใช้แล้วนำ
ใสใ่ นถังขยะปิดให้มิดชดิ
การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก สถานศึกษา
หรือผู้ขออนุญาต ต้องจัดทำมาตรการเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการโรคติดต่อ
กรุงเทพมหานครหรอื คณะกรรมการโรคตดิ ตอ่ จังหวัดจะพิจารณารว่ มกับผูแ้ ทน
กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะดำเนินการได้โดยมี แนวปฏิบัติ
ดังน้ี
1. แนวปฏบิ ัติดา้ นสาธารณสขุ

1) กำหนดจุดคัดกรองช่องทางเข้าออก หากพบว่ามีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูกหรอื
เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายเท่ากับหรือมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
ขึ้นไป แจ้งงดให้เข้ารว่ มกิจกรรม และแนะนำไปพบแพทย์ และอาจมีห้องแยก
ผทู้ ่มี อี าการออกจากพ้นื ที่

13

มาตรการ แนวทางการปฏิบตั ิ
2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และผู้มาติดต่อ ต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากาก
อนามยั ตลอดเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม
3) จัดใหม้ เี จลแอลกฮอล์ หรอื จดุ ล้างมอื สำหรบั ทำความสะอาดมือไวบ้ ริการ
บริเวณต่าง ๆ อยา่ งเพยี งพอ เชน่ บริเวณหนา้ หอ้ งประชมุ ทางเขา้ ออกหน้าลิฟต์
จดุ ประชาสมั พันธ์ และพนื้ ทีท่ ี่มกี จิ กรรมอ่ืน ๆ เป็นตน้
4) จัดบริการอาหารในลักษณะที่ลดการสมั ผัสอุปกรณท์ ่ีใช้ร่วมกนั เช่น
จดั อาหารว่างแบบกลอ่ ง (Box Set) อาหารกลางวนั ในรปู แบบอาหารชดุ เด่ียว
(Course Menu)
5) กรณที ีม่ ีการจดั ให้มรี ถรบั ส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม ใหเ้ ว้นระยะหา่ ง 1 ทนี่ ่งั
ทำความสะอาดรถรับส่งทกุ รอบหลังใหบ้ รกิ าร
6) กำกับใหน้ ักเรียนนั่งโดยมกี ารเวน้ ระยะห่างระหว่างทนี่ ง่ั และทางเดิน
อย่างน้อย 1.5 เมตร
7) จัดใหม้ ีถงั ขยะทมี่ ีฝาปดิ เก็บรวบรวมขยะ เพื่อสง่ ไปกำจัดอย่างถูกต้องและ
การจัดการขยะท่ดี ี
8) จดั ให้มกี ารระบายอากาศภายในอาคารทดี่ ี มีการหมนุ เวียนของอากาศ
อยา่ งเพยี งพอ ทง้ั ในอาคารและหอ้ งส้วม และทำความสะอาดเครอื่ งปรบั อากาศ
สมำ่ เสมอ
9) ให้ทำความสะอาดและฆา่ เชื้อท่วั ทั้งบริเวณ และเนน้ บรเิ วณทีม่ กั มีการ
สัมผัส หรือใชง้ านร่วมกันบอ่ ยๆ ด้วยน้ำยาฟอกขาวท่ีเตรียมไว้ หรอื แอลกฮอล์
70% หรือไฮโดรเจนเปอรอ์ อกไซด์ 0.5% เชด็ ทำความสะอาดและฆา่ เชอ้ื
อย่างนอ้ ยวนั ละ 2 ครงั้ ทำความสะอาดห้องสว้ มทุก 2 ชวั่ โมงและอาจเพิม่ ความถี่
ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะเวลาทม่ี ีผ้ใู ช้งานจำนวนมาก
10) มีมาตรการติดตามขอ้ มูลของผเู้ ข้ารว่ มกจิ กรรม เช่น การใชแ้ อปพลิเคชนั
หรอื ใช้มาตรการควบคุมการเข้าออกด้วยการบนั ทึกข้อมูล
11) มีการจดั การคุณภาพเพอ่ื การนำ้ อปุ โภคบริโภคที่เหมาะสม
- จัดใหม้ จี ุดบรกิ ารนำ้ ดื่ม 1 จุด หรอื หวั กอ๊ กตอ่ ผู้บรโิ ภค 75 คน
-ตรวจสอบคุณภาพนำ้ ด่ืมน้ำใช้
-ดแู ลความสะอาดจุดบรกิ ารน้ำด่ืม ภาชนะบรรจุน้ำด่ืม และใช้แก้วนำ้ สว่ นตัว

14

มาตรการ แนวทางการปฏบิ ตั ิ
การใช้อาคารสถานที่ 2. แนวทางปฏิบตั ิสำหรบั ผู้จัดกจิ กรรม

ของสถานศึกษา 1) ควบคุมจำนวนผเู้ ข้าร่วมกจิ กรรม ไม่ให้แออัด โดยคิดหลกั เกณฑจ์ ำนวนคน
ต่อพืน้ ทจี่ ัดงาน ไม่น้อยกวา่ 4 ตารางเมตรตอ่ คน พิจารณาเพิม่ พน้ื ที่ทางเดนิ ใหม้ ี
สดั ส่วนมากขึน้

2) จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และกระจายจุดลงทะเบียนให้เพียงพอ
สำหรบั ผเู้ ข้ารว่ มกิจกรรม เพ่อื ลดความแออัด โดยอาจใช้ระบบการประชุมผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนกิ ส์ ใชก้ ารสแกน QR Code ในการลงทะเบยี นหรือตอบแบบสอบถาม

3) ประชาสัมพันธ์มาตรการ คำแนะนำในการป้องกันการแพร่ระบาดให้แก่
ผเู้ ข้ารว่ มกจิ กรรมทราบ
3. แนวทางปฏิบตั สิ ำหรบั ผูเ้ ขา้ ร่วมกจิ กรรม

1) สังเกตอาการตนเองสม่ำเสมอ หากมีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ
ใหง้ ดการเขา้ รว่ ม กจิ กรรมและพบแพทย์ทนั ที

2) สวมหนา้ กากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เว้นระยะหา่ งระหว่างบุคคลอย่างน้อย
1-2 เมตร งดการรวมกลุ่ม และลดการพดู คุยเสยี งดงั

3) ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ ก่อนและหลังใช้บริการ หรือ
หลังจากสัมผัสจุดสัมผัสร่วมหรือสิ่งของ เครื่องใช้ เมื่อกลับถึงบ้านควรเปลี่ยน
เสื้อผ้าและอาบนำ้ ทันที
4) ปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามมาตรการ
สุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น ได้แก่ ๖ มาตรการหลัก (DMHT-RC) และ
6 มาตรการเสรมิ (SSET-CQ)

2. กรณโี รงเรียนไมส่ ามารถเปดิ เรยี นไดต้ ามปกติ
การจดั การเรียนการสอนในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
ซง่ึ สถานศกึ ษาไม่สามารถเปิดเรียนได้ตามปกติ เพื่อให้ผเู้ รียนได้รับการเรยี นรู้อย่างต่อเนื่องสถานศึกษาจึงควร
เลือกรูปแบบการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning)โดยพิจารณารูปแบบให้มีความเหมาะสม และ
ความพรอ้ มของสถานศึกษา ดังน้ี
1) การเรียนผ่านโทรทัศน์ (On Air) คือการเรียนรู้ที่ใช้สื่อวีดิทัศน์การเรียนการสอนของ
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีท่ี 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3
และใช้ส่ือวีดิทัศนก์ ารเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ในชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4
ถงึ ช้ันมธั ยมศึกษาปที ี่ 6

15

2) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) การจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและ
แอปพลิเคชั่น การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ สำหรับครูและนักเรียนที่มีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์เช่น
คอมพิวเตอร์ แท็บเลต็ โทรศพั ท์ และมกี ารเช่อื มต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต

3) การเรยี นผ่านหนงั สือ เอกสารและใบงาน (ON Hand) การจดั การเรยี นการสอนในกรณที นี่ ักเรยี นมี
ทรัพยากรไม่พร้อมในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบข้างต้น โดยสถานศึกษาจัดทำแบบฝึกหัดหรือให้
การบ้านไปทำทบ่ี า้ น อาจใช้รว่ มกับรูปแบบอ่นื ๆ ตามบริบทของท้องถิ่น

4) การจัดการเรียนการสอนแบบ (ON Demand) คือการเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ DLTV
(www.dltv.ac.th) หรือช่อง YouTube (DLTV Channel 1-15) และแอปพลิเคชัน DLTV บนสมาร์ทโฟน
หรอื แท็บเลต็

แนวปฏิบัตริ ะหว่างเปิดภาคเรียนกรณเี ปดิ เรียนไดต้ ามปกติ (Onsite) และกรณีโรงเรยี นไม่สามารถเปิดเรยี นไดต้ ามปกติ
ท่ีมา สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน (2564 : 20)

16

ภาพแนวปฏิบตั ริ ะหวา่ งเปิดภาคเรยี น
ท่มี า สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน (ออนไลน์)

17

มาตรการ Sandbox : Safety Zone in School ประเภทไป-กลับ

ประกาศกระทรวงศกึ ษาธิการ เร่อื ง หลักเกณฑก์ ารเปดิ โรงเรยี นหรอื สถาบนั การศึกษาตามข้อกำหนด
ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2543 (ฉบับที่ 32)
ลงวันที่ 20 กันยายน 2564 กำหนดมาตรการ Sandbox : Safety Zone in School เพื่อให้สถานศึกษา
นำไปใชใ้ นการการปฏบิ ัติตามมาตรการ Sandbox : Safety Zone in School ประเภทไป-กลับ มหี ลักเกณฑ์
ทต่ี อ้ งปฏบิ ตั อิ ย่างเคร่งครดั 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1. องคป์ ระกอบด้านกายภาพ ลักษณะอาคารและพืน้ ทโ่ี ดยรอบอาคารของโรงเรยี นหรือ
สถาบนั การศกึ ษาประเภทไป-กลับที่มคี วามพร้อมและผ่านเกณฑ์การประเมิน

1.1 พื้นที่/อาคารสนบั สนุนการบริการ
1.2 พื้นท่ี/อาคารเพอ่ื จดั การเรยี นการสอน
โดยจัดอาคารและพ้นื ทีโ่ ดยรอบใหเ้ ปน็ พื้นที่ปฏบิ ัติงานที่ปลอดภัย และมพี ้ืนทท่ี ีเ่ ป็น Covid free Zone
2. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของทุกฝ่าย โดยโรงเรียนหรือ
สถานศึกษาที่ประสงค์จะดำเนินการในรูปแบบ Sandbox: Safety Zone in School ต้องจัดให้มีการประชุม
หารือร่วมกันของคณะกรรมการสถานศึกษาขัน้ พื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และมีมติให้ความเห็นชอบ
ร่วมกันในการจัดพนื้ ท่กี ารเรยี นการสอนในรปู แบบ Sandbox: Safety Zone in School ตลอดภาคการศกึ ษา
ก่อนนำเสนอโครงการผ่านต้นสังกัดในพื้นที่ แล้วขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อ
กรุงเทพมหานครหรอื คณะกรรมการโรคตดิ ตอ่ จงั หวัด
3. องคป์ ระกอบดา้ นการประเมนิ ความพร้อมสู่การปฏบิ ัติ โรงเรยี นหรอื สถานศึกษาตอ้ งเตรียมการ
ประเมนิ ความพร้อม ดงั นี้
3.1 โรงเรียน หรอื สถานศึกษาตอ้ งดำเนนิ การ

1) ต้องผ่านการประเมินความพร้อมผ่าน TSC+ และรายงานการติดตามการประเมินผลผ่าน
MOE Covid

2) ต้องจดั ให้มสี ถานทแ่ี ยกกกั ตัวในโรงเรียน (School Isolation) สำหรบั รองรบั การดแู ลรักษา
เบื้องต้นกรณีนักเรยี น ครู หรือบคุ ลากรในสถานศกึ ษามีการตดิ เชอ้ื โควดิ 19 หรอื ผลตรวจ ATK เป็นบวก รวมถงึ
มีแผนเผชญิ เหตุและมีความรว่ มมือกับสถานพยาบาลเครือข่ายในพืน้ ทีท่ ่ดี ูแลอย่างใกล้ชิด

3) ต้องควบคุมดูแลการเดินทางระหว่างบ้านกบั โรงเรยี นอยา่ งเขม้ ข้น โดยหลกี เลีย่ งการเข้าไป
สมั ผัสในพื้นท่ตี า่ งๆ ตลอดเสน้ ทางการเดินทาง

4) ต้องจัดพื้นที่หรือบริเวณให้เป็นจุดคัดกรอง (Screening Zone) ที่เหมาะสมจัดจุดรับส่ง
สง่ิ ของ จดุ รับสง่ อาหาร หรือจุดเสย่ี งอน่ื เปน็ การจำแนกนักเรียน ครู บคุ ลากร ผู้ปกครอง และผู้มาติดต่อท่ีเข้า
มาในโรงเรยี น

5) ตอ้ งมีระบบและแผนรบั การติดตามประเมินความพรอ้ ม โดยทีมตรวจราชการ
บรู ณาการร่วมกนั ระหวา่ งกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสขุ ทง้ั ชว่ งก่อนและระหว่างดำเนนิ การ

18

3.2 นักเรยี น ครู และบคุ ลากรต้องปฏบิ ตั ิ
1) ครู และบุคลากร ต้องไดร้ ับการฉดี วคั ซีนครบโดส ตั้งแต่ร้อยละ 85 เปน็ ต้นไป สว่ นนักเรียน

และผู้ปกครองควรได้รับวัคซนี ตามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะ
สถานศกึ ษาทอ่ี ยใู่ นพน้ื ทค่ี วบคมุ สูงสุด (พื้นที่สีแดง) และพ้ืนท่คี วบคมุ สงู สดุ และเขม้ งวด (พ้ืนท่สี แี ดงเขม้ )

2) นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษาท่ีอยูใ่ นพ้ืนทีค่ วบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) และพื้นที่
ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด(พื้นที่สีแดงเข้ม)ทุกคนต้องตรวจคัดกรอง ATK ในวันแรกของการเปิดเรียนของ
สถานศึกษา

3) นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา มีการทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบ Small
Bubble และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมข้ามกลุ่มกัน โดยเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) และพื้นท่ี
ควบคุมสูงสดุ และเขม้ งวด (พน้ื ทีส่ แี ดงเขม้ )

4. องค์ประกอบด้านการดำเนินการของโรงเรียน หรือสถานศึกษา ระหว่างภาคการศึกษาต้อง
ดำเนนิ การดงั นี้

4.1 สามารถจัดการเรียนการสอนได้ ทั้งรูปแบบ Onsite หรือ Online หรือแบบผสมผสาน
(Hybrid)

4.2 นักเรียน ครู และบุคลากรที่อยู่ในพื้นที่ Safety Zone ต้องประเมิน Thai Save Thai (TST)
อยา่ งต่อเน่ืองตามเกณฑจ์ ำแนกตามเขตพ้นื ท่ีการแพรร่ ะบาด

4.3 ให้มกี ารส่มุ ตรวจ ATK นกั เรียน ครู และบคุ ลากรทีเ่ กี่ยวข้องกับสถานศึกษา เพ่ือเฝ้าระวังตาม
เกณฑจ์ ำแนกตามเขตพืน้ ที่การแพร่ระบาด

4.4 ปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น ได้แก่ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC)
และ 6 มาตรการเสรมิ (SSET-CQ)

4.5 นักเรียน ครูและบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เขียนบันทึก Timeline กิจกรรม
ประจำวนั และการเดนิ ทางเข้าไปในสถานทต่ี ่าง ๆ แต่ละวันอย่างสมำ่ เสมอ

4.6 ปฏิบัติตามแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรบั สถานศกึ ษาประเภทไป-กลับ อยา่ งเคร่งครดั
1) สถานศึกษาประเมินความพร้อมเปิดเรียนผ่าน TSC+ และรายงานการติดตาม

การประเมินผลผ่าน MOE Covid โดยถือปฏิบัตอิ ย่างเข้มข้น ต่อเนอ่ื ง
2) ทำกจิ กรรมรว่ มกนั ในรูปแบบ Small Bubble หลีกเลีย่ งการทำกิจกรรมขา้ มกลุ่มกนั และ

จัดนกั เรียนในห้องเรยี นขนาดปกติ (6 x 8 เมตร) ไมเ่ กิน 25 คน หรือจดั ให้เวน้ ระยะห่างระหวา่ งนกั เรยี นใน
ห้องเรยี นไมน่ อ้ ยกวา่ 1.5 เมตร พิจารณาตามความเหมาะสมโดยคณะกรรมการโรคตดิ ตอ่ จงั หวัด

3) จัดระบบการให้บริการอาหารสำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา ตามหลัก
มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ อาทิเช่น การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งอาหารการปรุง
ประกอบอาหาร หรือการสั่งซื้ออาหารตามระบบนำส่งอาหาร (Delivery) ที่ถูกสุขลักษณะและต้องมีระบบ
ตรวจสอบทางโภชนาการก่อนนำมาบริโภค เปน็ ตน้

19

4) จัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้ตามแนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกนั
โรคโควิด19 ในสถานศึกษา ได้แก่ การระบายอากาศภายในอาคาร การทำความสะอาด คุณภาพน้ำสำหรับ
อุปโภคบริโภค และการจัดการขยะ

5) จดั ให้มีสถานท่ีแยกกักตวั ในโรงเรียน (School Isolation) แผนเผชญิ เหตุสำหรับรองรับการ
ดแู ลรักษาเบ้อื งต้นกรณนี ักเรยี น ครู หรอื บคุ ลากรในสถานศกึ ษามกี ารติดเชอ้ื โควิด19 หรอื ผลตรวจ ATK เป็น
บวก โดยมีการซักซ้อมอยา่ งเครง่ ครดั

6) ควบคุมดูแลการเดินทางเข้าและออกจากสถานศึกษา ( Seal Route) อย่างเข้มข้น
โดยหลกี เลย่ี งการเขา้ ไปสัมผสั ในพ้นื ท่ีตา่ งๆ ตลอดเสน้ ทางการเดนิ ทางจากบ้านไป-กลบั โรงเรยี น ทั้งกรณรี ถรับ-
ส่งนักเรยี น รถส่วนบุคคล และพาหนะโดยสารสาธารณะ

7) ให้จัดให้มี School Pass สำหรับนกั เรยี น ครู และบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งประกอบดว้ ย
ข้อมูล ผลการประเมิน TST ผลตรวจ ATK ภายใน 7-14 วัน และประวัติการรับวัคซีน ตามมาตรการของ
กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาตามความเหมาะสมโดยคณะกรรมการโรคติดต่อ
จังหวัด เพื่อให้เกิดความปลอดภยั เม่ือเข้า-ออกโรงเรยี น โดยเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุด(พื้นที่สีแดง) และพื้นท่ี
ควบคุม สูงสดุ และเข้มงวด (พน้ื ท่สี แี ดงเขม้ )

4.7 กรณสี ถานศกึ ษาตั้งอยู่ในพนื้ ท่ีควบคมุ สงู สดุ (พน้ื ท่สี ีแดง) และพน้ื ทคี่ วบคุมสูงสุดและเข้มงวด
(พื้นที่สีแดงเข้ม) กำหนดให้สถานประกอบกิจการ กิจกรรม ที่อยู่รอบรั้วสถานศึกษาให้ผ่านการประเมิน
Thai Stop Covid Plus (TSC+) Covid Free Setting

ภาพแนวปฏบิ ตั ติ ามมาตรการ Sandbox : Safety Zone in School ประเภทไป-กลบั
ท่มี า : https://www.hfocus.org/content/2021/09/23052

20

ภาพ 7 มาตรการเขม้ สำหรบั สถานศึกษา (โรงเรียนไป-กลับ)
ท่ีมา : https://www.hfocus.org/content/2021/09/23052

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ
ร่วมกันจัดแนวทางเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา ซึ่งเมื่อข้ารการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ ได้เดินทางมาทำกิจกรรม
ในสถานศึกษาโดยเฉลี่ย 8 – 10 ชั่วโมงต่อวนั อาจมีความเสี่ยงติดเชื้อในกลุ่มเพื่อนและเมื่อนักเรียนกลับบ้าน
อาจแพร่เชื้อไปสู่คนในครอบครัวได้ ดังนั้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ ได้ตระหนักถึง
สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของ นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนจึงได้กำหนดรูปแบบแนวทางและ
มาตรการปอ้ งกนั เตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษา เพอ่ื ให้พรอ้ มที่จะเปดิ ภาคเรยี นและเป็นคู่มือในการปฏิบัติ
สำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยเน้นความสอดคล้องกับบริบทของ
สถานศึกษาและเอื้ออํานวยให้เกิดการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนและบุคลากร
ใน สถานศึกษา สามารถดำรงชีวิตอยู่ไดอ้ ยา่ งปลอดภยั ดงั น้ัน โรงเรียนเตรยี มอุดมศกึ ษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ
จึงได้จัดทําคู่มือแผนเผชิญเหตุและการเฝ้าระวงั ติดตามแนวทางการปฏิบัติ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ covid-19 ที่อาจเกิดขึ้นกับ นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง
ให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยง และสามารถดําเนินชีวิต อย่างปกติสุขตามแนวชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และ
ไดใ้ หค้ วามรว่ มมอื กบั หน่วยงานที่เก่ียวขอ้ งในการแก้ปญั หา โรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรอื โรคโควดิ – 19
ได้แก่ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เครือข่ายผู้ปกครอง โดยยึดมาตรการความปลอดภัยให้เกิด
ขน้ึ กับนกั เรยี น ขา้ ราชการครแู ละบคุ คลากรทางการศึกษา

21

สว่ นที่ 2
เกณฑ์การพจิ ารณาความเสีย่ ง และสถานการณ์ท่ีกำลังเผชญิ เหตภุ ายในประเทศ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2563, น.6-35) ได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาความเสี่ยงและ
การเฝา้ ระวังโรคโควดิ 19 ดงั นี้

วตั ถปุ ระสงค์
1. เพอื่ จดั ระดบั ความรุนแรงของการระบาดของโควดิ 19
2. เพื่อนําไปใช้ในการกาํ หนดมาตรการ การป้องกันควบคุมโรค ระดับประเทศ
3. เพื่อให้จังหวัดนําไปปรับใช้ในระดับจังหวัด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ที่กําลังดําเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงได้มี การกําหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับความรุนแรงของการระบาด
ความเสี่ยงและการเฝ้าระวัง โดยจําแนกเป็น 3 ระดับ กล่าวคือ ระดับประเทศ ระดับชุมชน และระดับ
สถานศึกษา มดี ังนี้
เกณฑก์ ารพจิ ารณาระดบั ความรุนแรงของการระบาดของโรคโควิด 19 ระดบั ประเทศ
การพิจารณาระดับความรุนแรงของการระบาดของโรคโควิด 19 ระดับประเทศ ควรคํานึงถึง
ความสาํ คญั ของคุณลกั ษณะ 3 ประเดน็ ได้แก่

1) จํานวนผู้ตดิ เชือ้ รายใหม่สะสมต่อสปั ดาห์
2) ลักษณะการกระจายของโรคตามจังหวัดและเขตสุขภาพ
3) การกระจายของโรคตามลักษณะทางระบาดวิทยา แต่ละประเด็นมีการจําแนกระดับความ
รุนแรงของการระบาดของโรคโควิด 19 ตามลักษณะสี แบ่งเป็น 5 สี ได้แก่ สีขาว เขียว เหลือง ส้ม แดง
มีรายละเอยี ดคุณลักษณะ ดังน้ี
สีขาว (ปลอดภัย มีวัคซีน) หมายถึง ไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศมีผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
ผูเ้ ดนิ ทาง มาจากต่างประเทศเข้าสถานทกี่ กั กัน ผตู้ ิดเชือ้ เข้ารกั ษาในโรงพยาบาลทกี่ าํ หนด
สีเขียว (ไม่รุนแรง ไม่มีวัคซีน) หมายถึง มีผู้ติดเชื้อในประเทศมีผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
ผ้เู ดินทางจากต่างประเทศเขา้ สถานทก่ี ักกนั ผตู้ ดิ เชอื้ เขา้ รักษาในโรงพยาบาลที่กาํ หนด
สีเหลือง (รุนแรงน้อย) หมายถึง จํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสมต่อสัปดาห์น้อยกว่า 300 ราย
ต่อสัปดาห์ ลกั ษณะการกระจายของโรคตามจงั หวัดและเขตสขุ ภาพ ไมเ่ กิน 1 จังหวดั ตอ่ เขต และไม่เกิน 3 เขต
การกระจายของโรคตามลกั ษณะทางระบาดวทิ ยา ระบาดในวงจาํ กัด มีไม่เกนิ 3 กล่มุ ก้อน (Cluster)
สีส้ม (รุนแรงปานกลาง) หมายถึง จํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสมต่อสัปดาห์ 300-900 ราย ต่อ
สัปดาห์ ลักษณะการกระจายของโรคตามจังหวัดและเขตสุขภาพ ไม่เกิน 1 จังหวัดต่อเขต จํานวน 4-6 เขต

22

หรือ มากกว่า 1 จังหวัดต่อเขต และไม่เกิน 3 เขต การกระจายของโรคตามลักษณะทางระบาดวิทยา
ระบาด ในวงจํากดั มีมากกว่า 3 กลุ่มก้อน (Cluster) และมีความเชอ่ื มโยงกัน

สีแดง (รุนแรงมาก) หมายถึง จํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสมต่อสัปดาห์มากกว่า 900 ราย
ต่อสัปดาห์ลักษณะการกระจายของโรคตามจังหวัดและเขตสุขภาพ ไม่เกิน 1 จังหวัดต่อเขต และเกิน 6 เขต
หรือ มากกว่า 1 จังหวัดต่อเขต และเกิน 3 เขต การกระจายของโรคตามลักษณะทางระบาดวิทยา
มีการระบาดในวงกว้าง หาสาเหตไุ มไ่ ด้

เกณฑ์การพิจารณากรอบการปฏิบตั ิตามตารางประสานสอดคล้องในการบรหิ าร
สถานการณ์โควดิ 19 ในสถานศึกษา

การพิจารณากรอบการปฏิบัติตามตารางประสานสอดคล้องในการบริหารสถานการณ์โควิด 19
ในสถานศึกษา จําแนกเป็นระดับสี 5 ระดับสี ได้แก่ ขาว เขียว เหลือง ส้ม และแดง (สอดคล้องกับเกณฑ์
การพิจารณาระดับความรุนแรงของการระบาดของโรคโควิด 19 ระดับประเทศ) ซึ่งมีรายละเอียด
กรอบการปฏิบตั ติ ามระดบั และระดบั การผอ่ นคลายกจิ การหรือกิจกรรมทีส่ าํ คัญ มีดงั นี้

ระดบั การบรหิ ารสถานการณ:์ ระดบั ขาว
กรอบการปฏบิ ตั ิ
1. สามารถเดินทางข้ามจงั หวัดได้
2. ให้จัดกิจกรรมรวมกลมุ่ ไดแ้ ตต่ อ้ งปฏิบัติตามมาตรการปอ้ งกันโรคท่กี ําหนด
3. ให้ดําเนินกิจการหรือกิจกรรมไดท้ ุกประเภทตามปกติ ผู้ประกอบการหรือผู้จัดกิจกรรม ต้องมกี าร
คัดกรอง ผใู้ ช้บรกิ ารและตอ้ งปฏบิ ัตติ ามมาตรการหลัก ไดแ้ ก่

- ทําความสะอาดพ้ืนผวิ ทมี่ กี ารสัมผัสบอ่ ย ๆ
- การสวมหนา้ กากของเจา้ หนา้ ท่ี พนกั งาน ผู้ใชบ้ ริการ ผเู้ ขา้ ร่วมกิจกรรม
- ใหม้ จี ดุ บริการลา้ งมือด้วยสบ่หู รือแอลกอฮอลเ์ จลหรือนำ้ ยาฆา่ เชื้อโรค
- ให้มีการควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด ตัวอย่างระดับการผ่อนคลายกิจการ/
กจิ กรรมทส่ี ำคญั
- โรงเรียนเปดิ การเรียนการสอนทโ่ี รงเรยี น 100%
- สนามกฬี ากลางแจง้ เปดิ ใหม้ ผี ชู้ มได้ 70% / 50%
- สนามกีฬากลางในร่มเปิดให้มีผชู้ มได้ 50% / 25%
- ขนสง่ สาธารณะบรรทุกผ้โู ดยสารได้ 100%
- โรงภาพยนตร์เปิดให้มีผู้ชมได้ 100%

23

ตัวอยา่ งระดบั การผอ่ นคลายกิจการ/กิจกรรมท่ีสำคัญ
- โรงเรียนเปดิ การเรียนการสอนทโี่ รงเรยี น 100%
- สนามกีฬากลางแจ้งเปดิ ให้มผี ู้ชมได้ 70% / 50% (5000)
- สนามกฬี ากลางในรม่ เปดิ ใหม้ ผี ู้ชมได้ 50% / 25% (2000 / 1000)
- ขนสง่ สาธารณะบรรทุกผูโ้ ดยสารได้ 100%
- โรงภาพยนตร์เปิดใหม้ ีผูช้ มได้ 100% 7
ระดบั การบริหารสถานการณ์: ระดบั เขยี ว
กรอบการปฏิบตั ิ
1. ให้จดั กจิ กรรมรวมกลุ่มได้แต่ตอ้ งปฏบิ ัตติ ามมาตรการป้องกนั โรคทก่ี ําหนด
2. สามารถเดินทางขา้ มจงั หวดั ได้
3. ใหด้ ําเนินกิจการหรือกิจกรรมได้ทุกประเภท แตผ่ ูป้ ระกอบการหรือผูจ้ ดั กิจกรรม ต้องมกี ารคดั กรอง
ผู้ใชบ้ รกิ าร และตอ้ งปฏิบัตติ ามมาตรการหลัก ได้แก่
- ทาํ ความสะอาดพื้นผวิ ทมี่ กี ารสมั ผัสบ่อยๆ
- การสวมหนา้ กากของเจ้าหน้าท่ี พนกั งาน ผใู้ ช้บริการ ผ้เู ขา้ ร่วมกจิ กรรม
- ใหม้ จี ุดบริการลา้ งมอื ดว้ ยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลหรอื นำ้ ยาฆ่าเชื้อโรค
- ใหม้ กี ารควบคมุ จาํ นวนผู้ใชบ้ รกิ าร มิใหแ้ ออัด
- ลงทะเบียนใช้งาน “ไทยชนะ” และแอปพลิเคช่ัน ทีร่ ฐั กําหนด
(ผู้ว่าราชการจงั หวดั /กทม. สามารถกาํ หนดมาตรการเพม่ิ เติมได)้
ตัวอย่างระดับการผ่อนคลายกจิ การ/กิจกรรมท่สี ำคัญ
- โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนทโ่ี รงเรยี น 100%
- สนามกฬี ากลางแจ้งเปดิ ให้มผี ชู้ มได้ 50% / 25% (3000/2000)
- สนามกีฬากลางในร่มเปดิ ใหม้ ผี ูช้ มได้ 25% / 15% (1000/500)
- ขนส่งสาธารณะบรรทุกผโู้ ดยสารได้ 100%
- โรงภาพยนตร์เปิดใหม้ ผี ู้ชมได้ 70%
(ประกาศ ศบค. ที่ 8/2563 หรอื ตามท่ี คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผอ่ นคลายฯ กาํ หนด)
ระดบั การบรหิ ารสถานการณ:์ ระดับเหลอื ง
กรอบการปฏิบตั ิ
1. สามารถเดนิ ทางขา้ มจังหวดั ได้

24

2. ให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิตตลอดจนด้านการออกกําลังกายหรือดูแล
สขุ ภาพหรือสันทนาการได้แต่ ผู้ประกอบการ หรอื ผ้จู ดั กิจกรรม ตอ้ งมีการคดั กรอง ผใู้ ชบ้ ริการและต้องปฏิบัติ
ตามมาตรการหลัก

- ทาํ ความสะอาดพื้นผิวท่ีมีการสัมผสั บ่อยๆ
- การสวมหน้ากากของเจา้ หน้าท่ี พนกั งาน ผู้ใชบ้ รกิ าร ผเู้ ข้ารว่ มกจิ กรรม
- ใหม้ จี ดุ บริการล้างมอื ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลหรอื น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- ใหม้ ีการเวน้ ระยะหา่ งอย่างน้อย 1 เมตร
- ให้มกี ารควบคมุ จาํ นวนผู้ใช้บริการ มิให้แออดั
- ลงทะเบียนใชง้ าน “ไทยชนะ” และแอปพลิเคชนั่ ทร่ี ฐั กาํ หนด
(ผู้วา่ ราชการจังหวดั /กทม. สามารถกําหนดมาตรการเพมิ่ เติมได้)
ตวั อยา่ งระดับการผ่อนคลายกจิ การ/กจิ กรรมทีส่ ำคัญ
- โรงเรียนเปิดการเรยี นการสอนทโี่ รงเรียนได้ แต่ถา้ มคี วามแออัดใหจ้ ดั นักเรยี นสลบั กนั เรยี น
- สนามกีฬากลางแจ้งเปิดใหม้ ผี ู้ชมได้ 25% / 15% (3000/1000)
- สนามกีฬากลางในรม่ เปิดไม่ใหม้ ีผู้ชมได้
- ขนสง่ สาธารณะทางอากาศและ BTS บรรทุกผ้โู ดยสารได้ 100%
- รถขนส่งสาธารณะบรรทุกผู้โดยสารได้ 70% -
โรงภาพยนตร์เปดิ ให้มผี ้ชู มได้ 50%
- อ่นื ๆ ตามคําสง่ั ศบค. ที่3/2563,4/2563,5/2563และ 6/ 2563 หรอื ตามที่คณะกรรมการ
เฉพาะกิจพิจารณาการผอ่ นคลายฯ กาํ หนด
ระดบั การบรหิ ารสถานการณ์ : ระดับสม้
กรอบการปฏบิ ัติ
1. จํากัดการเดนิ ทางข้ามจังหวัด
2. ให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้เฉพาะเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกประชาชน
ในการทํากิจกรรมด้านเศรษฐกจิ และการดําเนินชีวิตตลอดจนด้านการออกกาํ ลังกาย หรือดูแล สุขภาพ หรือ
สันทนาการที่ไมเ่ สี่ยงต่อการแพรร่ ะบาดและผู้ประกอบการ หรือ ผู้จัดกิจกรรมตอ้ งมกี ารคัดกรอง ผู้ใช้บริการ
และต้องปฏิบัตติ ามมาตรการหลัก ไดแ้ ก่
- ทําความสะอาดพืน้ ผิวทมี่ ีการสัมผัสบอ่ ยๆ
- การสวมหน้ากากของเจ้าหน้าท่ี พนกั งาน ผ้ใู ชบ้ ริการ ผู้เขา้ ร่วมกจิ กรรม
- ให้มีจุดบรกิ ารลา้ งมอื ด้วยสบู่ หรอื แอลกอฮอล์เจลหรือนำ้ ยาฆา่ เชอ้ื โรค
- ใหม้ ีการเว้นระยะหา่ งอยา่ งนอ้ ย 1 เมตร

25

- ใหม้ กี ารควบคมุ จํานวนผู้ใชบ้ ริการ มใิ ห้แออดั
- ลงทะเบียนใชง้ าน “ไทยชนะ” และแอปพลิเคช่นั ทีร่ ัฐกาํ หนด
(ผวู้ ่าราชการจังหวดั /กทม. สามารถกําหนดมาตรการเพมิ่ เตมิ ได)้
ตัวอย่างระดบั การผ่อนคลายกิจการ/กจิ กรรมทสี่ ำคญั
- สถานศกึ ษาจดั การเรยี นการสอน ออนไลน์ และ/หรอื ออนแอร์
- ร้านอาหารจาํ หนา่ ยอาหารและเคร่อื งด่มื ได้ (เว้นเครอ่ื งด่มื ทีม่ ีแอลกอฮอลใ์ นสถานท่ีตา่ ง ๆ)
- ปิด สถานบริการ ผับ บาร์
- รา้ นค้าปลีก/ตลาดนดั /ตลาดสด เปดิ ไดแ้ ตต่ ้องปฏบิ ตั มิ าตรการที่กาํ หนด
- สนามกีฬา ลานกีฬา ประเภท กลางแจ้ง และเป็นกีฬาที่ ไม่มีการปะทะกัน สวนสาธารณะ
เปิดทําการได้
- อ่นื ๆ ตามคําส่ัง ศบค ท่ี 2/2563 หรอื ตามทคี่ ณะกรรมการเฉพาะกิจพจิ ารณา การผอ่ นคลายฯ
กาํ หนด
ระดบั การบรหิ ารสถานการณ์ : ระดับแดง
กรอบการปฏิบตั ิ
- เน้นทีก่ ารห้ามเข้าพืน้ ทเี่ สีย่ งและการปิดสถานที่เสี่ยงต่อการตดิ ต่อโรค
- ปดิ ชอ่ งทางเขา้ มาในราชอาณาจักร เว้นบุคคลบางประเภท
- หา้ มชมุ นุม
- ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจกั รออกนอกเคหะสถาน เว้นบุคคลท่มี ีเหตุจําเปน็
(ผ้วู ่าราชการจังหวดั /กทม. สามารถกําหนดมาตรการเพ่ิมเติมได้)
ตวั อย่างระดับการผ่อนคลายกิจการ/กิจกรรมทส่ี ำคัญ
- สถานศึกษาจดั การเรียนการสอน On-line และ/หรอื On-air
- ห้ามการเดินทางข้ามจังหวดั ยกเว้นขนสง่ สนิ คา้
- ปิดกิจการ/กิจกรรมต่าง ๆ ยกเว้นกิจการที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต เช่น ธนาคาร โรงงาน
สถาน บรกิ ารเช้ือเพลิง บริการส่งสินค้าและอาหารตามส่ังหรอื ตามที่คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อน
คลายฯ กําหนด
กลุ่มพัฒนาการศึกษา (2563) แจ้งว่าได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์
การแพร่ ระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควดิ - 19) คร้ังที่ 16/2563 วนั พฤหสั บดที ี่ 24 ธันวาคม
2563 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทําเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เป็นประธานการประชุมซ่งึ มมี มี ติทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกับกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ดงั นี้

26

1. ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) กําหนดการแบ่งพืน้ ที่สถานการณ์ออกเป็น 4 ระดับ
และได้กําหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดใหม่ของโควิด - 19 ที่เกี่ยวข้องกับ
กระทรวงศกึ ษาธิการ ในระดับตา่ งๆ ดังน้ี

1.1 พน้ื ทค่ี วบคมุ สูงสุด (สีแดง) ได้แก่ พนื้ ท่ที ี่มีผู้ตดิ เชือ้ จาํ นวนมาก และมมี ากกว่า 1 พน้ื ที่ (ยอ่ ย)
- เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรค ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย 100 % เน้นการทําความสะอาด

(มือ สถานท่หี รอื อปุ กรณ์ทสี่ มั ผัสบอ่ ย ๆ) หลกี เล่ียงการสมั ผัส หรือหลีกเล่ียงการเข้าไปในสถานท่ีท่ีมีคนจํานวน
มาก และมกี ารติดตง้ั Application หมอชนะ เพ่ิมเตมิ จากการใช้ Application ไทยชนะ

- จํากัดเวลาเปิด - ปดิ สถานประกอบการ ทม่ี ีความจําเปน็ - ปดิ สถานประกอบการ ที่มีความเส่ียง
ตอ่ การแพรร่ ะบาด

- สถานศึกษาปรบั รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์
- ใชม้ าตรการ Work from Home อยา่ งเตม็ ขีดความสามารถ
- งดจดั กิจกรรมที่มีการรวมคนจํานวนมากทุกรูปแบบ
1.2 พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) ได้แก่ พื้นที่ติดกับพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ เกินกว่า
10 ราย และมแี นวโน้มผตู้ ิดเช้อื เพ่ิมขึ้น (อาทิ กรุงเทพมหานคร ซ่ึงกระทรวงศกึ ษาธกิ ารตงั้ อย่)ู
- เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรค ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย 100 % เน้นการทําความสะอาด
(มอื สถานท่หี รืออุปกรณท์ ่สี ัมผัสบอ่ ย ๆ) หลกี เล่ยี งการสัมผสั หรือหลกี เลยี่ งการเข้าไปในสถานที่ ทมี่ คี นจาํ นวน
มาก และมกี ารตดิ ตัง้ Application หมอชนะ เพิ่มเติมจากการใช้ Application ไทยชนะ
- สถานศึกษาพิจารณาหยุดการเรียนการสอน หรือปรับรูปแบบการเรียนการสอน เป็นแบบ
ออนไลนต์ ามสถานการณ์ในพืน้ ท่ี
- พิจารณาจํากดั เวลาเปิด - ปดิ สถานประกอบการ ท่ีมคี วามจําเป็นตามความเหมาะสม
- พิจารณาปิดหรอื จาํ กดั เวลาเปิด
- ปิดสถานประกอบการทม่ี คี วามเส่ียงต่อการแพรร่ ะบาด
- ใหม้ กี ารใช้มาตรการ Work from Home สําหรับบคุ คลท่มี าจากพ้นื ทค่ี วบคมุ สูงสุด
- หลกี เลีย่ งการจดั กจิ กรรมทม่ี กี ารรวมคนจํานวนมาก
1.3 พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) ได้แก่ พื้นที่ท่ีมีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 ราย แต่มีแนวโน้มสามารถ
ควบคมุ สถานการณ์ได้
- เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรค ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย 100 % เน้นการทําความสะอาด
(มอื สถานท่ีหรืออุปกรณ์ท่ีสัมผัสบ่อยๆ) หลกี เล่ียงการสัมผัส หรือหลีกเล่ยี งการเข้าไปในสถานที่ ท่ีมีคนจํานวน
มาก และมกี ารตดิ ตั้ง Application หมอชนะ เพิม่ เติมจากการใช้ Application ไทยชนะ

27

- พิจารณาปิดหรือจํากัดเวลาเปิด – ปิดสถานประกอบการ ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่
ระบาดตามความเหมาะสม

- พิจารณาใช้มาตรการ Work from Home ตามความเหมาะสม
- พิจารณาใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ของระบบ
ตามความเหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมทีม่ ีการรวมคนจาํ นวนมากทุกรปู แบบ
1.4 พน้ื ท่เี ฝ้าระวงั (สเี ขียว) ไดแ้ ก่ พ้นื ทย่ี งั ไมม่ ผี ตู้ ิดเชื้อ และยงั ไม่มีส่ิงบอกเหตวุ ่าจะมผี ู้ตดิ เชือ้
- เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรค ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย 100 % เน้นการทําความสะอาด
(มือ สถานที่หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อย ๆ) หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่
ทมี่ ีคนจํานวนมาก และมกี ารติดตั้ง Application หมอชนะ เพิม่ เติมจากการใช้ Application ไทยชนะ
- พิจารณาปิดหรือจํากัดเวลาเปิด - ปิดสถานประกอบการ ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดตาม
ความเหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจํานวนมาก หากมีความจําเป็นต้องดําเนินการ
ให้มีการปรึกษาคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยให้พิจารณาลดจํานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมลง ให้มี
มาตรการลด ความหนาแน่นของผู้รว่ มกิจกรรม และให้มีการกาํ กบั ดูแลใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรการท่ีได้ วางแผนไว้
2. มาตรการการจดั กจิ กรรมฉลองปีใหม่ 2564 และการจดั กิจกรรมงานวันเดก็
2.1 พ้นื ทคี่ วบคุมสูงสุด งดการจัดกจิ กรรมฉลองทุกชนิด เว้นแต่การจดั กิจกรรมแบบออนไลน์
2.2 พื้นที่ควบคุม งดการจัดกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ แต่ผ่อนผันให้จัดกิจกรรมท่ีจํากัด ผู้เข้าร่วม
กจิ กรรม หรือกิจกรรมท่ีมเี ฉพาะผทู้ ี่รู้จกั ค้นุ เคยได้ หรือพิจารณาจดั กจิ กรรมแบบออนไลน์
2.3 พื้นที่เฝ้าระวังสูง สามารถจัดกิจกรรมได้ แต่ต้องลดขนาดของงานให้เล็กลงกว่าปกติ
มีมาตรการลดความหนาแนน่ ของผู้ร่วมกิจกรรม และมีมาตรการควบคุมมิใหเ้ กดิ ความคับคง่ั
2.4 พื้นที่เฝ้าระวงั สามารถจัดกิจกรรมได้ แต่ต้องลดขนาดของงานใหเ้ ล็กลงกว่าปกติ มีมาตรการ
ลดความหนาแนน่ ของผรู้ ่วมกจิ กรรม และมมี าตรการควบคุมมใิ ห้เกิดความคับคง่ั

28

ภาพแผนเผชญิ เหตุ
ทีม่ า สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน (ออนไลน์)

29

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย.
(2563) ได้แจ้งแนวทางประเมินและกําหนดพื้นที่สถานการณ์เพิ่มเติม เพื่อบริหารจัดการและเตรียมความ
พร้อม ในการปอ้ งกันการระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้

สถานการณก์ ารแพร่ระบาดภายในประเทศ
การแพรร่ ะบาดของผูต้ ิดเชอ้ื ยงั มีจํานวนเพ่ิมข้ึนอย่างต่อเน่ือง
1) การตดิ เชอ้ื จากบุคคลสบู่ คุ คล ซึง่ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

- ทราบว่าตนเองเข้าไปในพื้นที่ที่เสี่ยง/กิจกรรมที่เสี่ยง แต่ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติตนอย่างไร
หรือในบางราย ไม่ไดก้ ักกันตนเอง ทาํ ใหเ้ กดิ การเส่ยี งตอ่ การเปน็ พาหะ

- ไม่ทราบและไม่ระมดั ระวังตนเองว่าได้สมั ผสั หรือใกลช้ ิดกับผตู้ ิดเชื้อ
2) การตดิ เชอ้ื แบบกลมุ่ ก้อน ซง่ึ มีสาเหตุจากการเขา้ ไปรว่ มกจิ กรรมตา่ งๆ

- กิจกรรมทด่ี ําเนนิ การถูกตอ้ ง เช่น งานเล้ยี งสังสรรค์ การประชมุ ฯลฯ
- กิจกรรมที่ลักลอบดําเนินการ เช่น การพนัน การมั่วสุม ฯลฯ การจำแนกพื้นที่สถานการณ์
แพรร่ ะบาด ได้จําแนกพนื้ ทสี่ ถานการณ์แพรร่ ะบาดออกเป็น 4 ระดับ ดงั น้ี
1. พ้ืนทีค่ วบคมุ สงู สุด = พื้นท่ีทม่ี ผี ูต้ ิดเชือ้ จํานวนมากและมผี ้ตู ิดเชื้อในหลายพ้ืนที่ (ย่อย)
2. พืน้ ท่ีควบคุม = พื้นทท่ี ี่ติดกับพื้นที่ หรอื พน้ื ทท่ี ี่มีผ้ตู ิดเช้ือมากกวา่ 10 ราย
3. พืน้ ท่เี ฝ้าระวังสงู = พนื้ ท่ีที่มีผู้ติดเชอื้ ไม่เกนิ 10 ราย และสามารถควบคุมได้
4. พื้นท่เี ฝา้ ระวัง = พ้ืนทท่ี ยี่ งั ไมม่ ผี ตู้ ิดเชอ้ื และยงั ไม่มสี ิง่ บง่ ชี้วา่ จะมผี ้ตู ิดเช้อื
ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย
ร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข
โดยศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัด/คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด รับผิดชอบกําหนดระดับพื้นท่ี
สถานการณ์ ว่าพื้นทีน่ ้ันเป็นพื้นทีส่ ถานการณ์ระดบั ใด ทั้งนี้อาจเป็นพืน้ ท่ีระดับจังหวัดหรืออําเภอ ตามระดับ
ความรนุ แรงของ การแพร่ระบาด เงอื่ นไขของประสทิ ธผิ ลในการดำเนนิ การ
1. สถานการณ์การตดิ เชือ้ จะมอี ัตราการเพิม่ ของจํานวนผู้ตดิ เชื้ออยใู่ นสภาวะทค่ี วบคมุ ได้
2. ขีดความสามารถทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข สามารถรองรับต่อสถานการณ์ได้
ทงั้ ทางด้านบุคลากรและเวชภัณฑท์ างการแพทย์
3. ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุข
ให้การสนับสนนุ ศนู ย์ บริหารสถานการณแ์ พร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 กระทรวง สาธารณสุข
ตามบทบาท และหน้าที่ของตนอยา่ งเต็มขดี ความสามารถ
4. ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมต่างๆ มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบ
ของการแพร่ ระบาดและตระหนักถงึ มาตรการปอ้ งกันโรคโควิด -19 และให้ความรว่ มมืออย่างเตม็ ท่ี

30

มาตรการควบคมุ ที่เนน้ ย้ำ
1. พ้ืนที่ควบคมุ สงู สุด

- เรง่ รดั การตรวจคน้ หาผตู้ ดิ เชือ้ เชิงรุกและการสอบสวนโรคอยา่ งเต็มขีดความสามารถ
- ปดิ สถานประกอบการทีม่ คี วามเสยี่ งต่อการแพร่ระบาด
- คน้ หาและจบั กุมกล่มุ บุคคลทมี่ ัว่ สุมทําผิดกฎหมาย ซึ่งจะมีความเสย่ี งตอ่ การแพรร่ ะบาด
- กําหนดมาตรการควบคุมมิให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้า – ออกจากพื้นท่ี
โดยเด็ดขาด
- ควบคุมการเข้า-ออก ของยานพาหนะ และบุคคลคนไทย โดยมิให้กระทบต่อการค้าและ
การอุตสาหกรรมมากเกินความจาํ เป็น - งดจัดกิจกรรมทมี่ กี ารรวมกลุ่มคนจำนวนมากทุกรูปแบบ
- ให้มกี าร Work from Home อย่างเตม็ ขดี ความสามารถ
2. พ้นื ทคี่ วบคุม
- เร่งรัด การตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกและการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อและพื้นท่ี
เช่อื มโยง ทไ่ี ด้ขอ้ มลู จากการสอบสวนโรคของ สธ.
- จาํ กดั เวลาเปิด - ปดิ ดําเนินการของสถานประกอบการทม่ี ีความเสย่ี งต่อการแพรร่ ะบาด
- คน้ หาและจบั กมุ กลมุ่ บคุ คลที่มว่ั สุมทำผิดกฎหมาย ซ่ึงจะมคี วามเสย่ี งตอ่ การแพร่ระบาด
- กาํ หนดมาตรการควบคุมแรงงานตา่ งดา้ ว มใิ หม้ กี ารเคลื่อนย้ายเข้า - ออกจากพ้ืนที่
- หลีกเลีย่ งการจัดกจิ กรรมทม่ี ีการรวมกลุ่มคนจาํ นวนมาก
- ใหม้ ีการ Work from Home อย่างเต็มขดี ความสามารถ
3. พ้ืนที่เฝ้าระวังสูง
- พิจารณาการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกและการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อและพื้นที่
เชื่อมโยง ทไ่ี ดข้ ้อมลู จากการสอบสวนโรคของสาธารณสขุ
- จํากัดเวลาเปดิ -ปิดดําเนนิ การของสถานประกอบการทีม่ ีความเสยี่ งตอ่ การแพรร่ ะบาด
- คน้ หาและจับกมุ กลมุ่ บุคคลทม่ี ว่ั สุมทาํ ผิดกฎหมาย ซ่ึงจะมคี วามเสย่ี งตอ่ การแพร่ระบาด
- กําหนดมาตรการควบคมุ แรงงานต่างดา้ ว มใิ หม้ กี ารเคล่ือนยา้ ยเขา้ - ออกจากพน้ื ท่ี
- หลกี เล่ยี งการจัดกิจกรรมท่ีมีการรวมกลมุ่ คนจาํ นวนมาก
- ให้มีการ Work from Home อยา่ งเต็มขีดความสามารถ
4. พ้ืนทเ่ี ฝ้าระวัง
- พิจารณาการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก ใน “พื้นที่ที่เสี่ยง” “กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง” และ
“กิจกรรม/ กจิ การ ทเ่ี ส่ยี ง”
- จํากัดเวลาเปดิ -ปิดดาํ เนนิ การของสถานประกอบการที่มีความเสีย่ งตอ่ การแพร่ระบาด

31

- คน้ หาและจับกุมกลมุ่ บคุ คลท่มี ัว่ สุมทาํ ผิดกฎหมาย ซง่ึ จะมีความเสยี่ งตอ่ การแพร่ระบาด
- กําหนดมาตรการควบคมุ แรงงานตา่ งด้าว มิให้มกี ารเคลือ่ นย้ายเขา้ - ออกจากพืน้ ท่ี
- หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจาํ นวนมาก หากมีความจําเป็นตอ้ งจัดกจิ กรรม
ใหข้ ออนุญาตคณะกรรมการโรคตดิ ต่อจงั หวัด - ใหพ้ จิ ารณาการ Work from Home ตามความเหมาะสม
ขอ้ เน้นยำ้ สำหรบั ทกุ พ้นื ทส่ี ถานการณ์
D - Distancing = เว้นระยะระหวา่ งกนั หลกี เลี่ยงการสมั ผสั กับผอู้ ่นื
M - Mask wearing = สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยเสมอ เมื่อพบปะกับบุคคลหรือร่วม
กจิ กรรมกับผู้อน่ื
H - Hand washing = ล้างมือบอ่ ยๆ ทกุ สถานทีจ่ ดั ให้มจี ุดบรกิ ารเจลลา้ งมืออยา่ งท่วั ถงึ เพยี งพอ
T - Temperature check = ตรวจวัดอณุ หภมู ริ า่ งกาย และสงั เกตอาการ
T - Thaichana = ตดิ ต้ังและสแกนแอปพลเิ คชัน่ ไทยชนะ
แนวปฏิบตั สิ ำหรับสถานศกึ ษารองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควดิ 19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกและประเทศ
ใกลเ้ คียง โดยมีจำนวนผู้ป่วยตดิ เชื้อสะสมเพ่ิมข้นึ อย่างตอ่ เนอื่ ง อาจเป็นภาวะเสีย่ งต่อการติดเช้ือ โรคโควิด 19
ในเขตพ้นื ที่ของชมุ ชนและสถานศกึ ษา อาจสง่ ผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนน้ั สถานศึกษาควรมี
แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนตามตารางประสานสอดคล้อง ตามสถานการณ์ความรุนแรง
ของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของสถานศึกษาประเภทการศกึ ษา ขัน้ พ้ืนฐาน ดงั น้ี
1. กล่มุ นกั เรยี น
- สถานศึกษาจดั การเรยี นการสอนตามปกติ (ครบคน ครบห้องครบชน้ั เรียน)
สขี าว-สเี ขียว
- สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อไม่น้อยกว่า 90 วัน (พื้นที่สีเขียว) ได้รับการ
พิจารณาอนญุ าตจากศนู ยป์ ฏิบัตกิ ารควบคมุ โรคจงั หวดั ให้จัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
- โรงเรียนมีมาตรการให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ทุกคนสวมหน้ากาก
ผ้าหรือหน้ากากอนามัย มีอุปกรณ์ล้างมือและล้างมือบ่อยๆ มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องปฏิบัติ
การหรือโรงฝึกงาน และทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติ ก่อนและหลังใช้
งานทกุ ครง้ั ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
สเี หลือง-สสี ้ม
- สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยมีการสลับวันเรียนแต่ละชั้นเรียน
หรือมีการแบ่งจำนวนนักเรยี นให้เหมาะสมกับการเว้นระยะห่างระหวา่ งกัน (Social distancing)

32

- มีมาตรการให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ทุกคนสวมหน้ากากผ้าหรือ
หน้ากากอนามัย มีอุปกรณล์ ้างมอื และลา้ งมือบ่อยๆ

- มกี ารทำความสะอาดห้องเรียน หอ้ งปฏิบตั กิ ารหรือโรงฝกึ งาน และทำความสะอาดอุปกรณ์ท่ีใช้
ในการเรยี นการสอน การฝกึ ปฏิบตั ิ กอ่ นและหลงั ใชง้ านทกุ คร้ัง

สีแดง
- สถานศึกษาจดั การเรยี นการสอนแบบ On-line หรือ On-air

หมายเหตุ
- การจดั ทำบนั ทึกประจำวันการเดินทางของนกั เรียน

กำหนดให้นักเรียนบันทกึ การเดนิ ทางไปในสถานท่ีต่างๆ ประจำวัน ส่งใหค้ รูประจำช้นั ทุกเช้าหากมีบุคคลใน
ครอบครัวมีความเสี่ยงให้โทรแจง้ โรงเรียนทันที โดยโรงเรียนมคี วามพร้อมท้ังการเรียนการสอนทีโ่ รงเรียนและระบบ
ออนไลน์ หากเกิดสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคโควดิ 19
- ข้อมูลบนั ทึกการเดินทางของนักเรยี นนักศกึ ษา

โดยครูประจำชัน้ /อาจารย์ท่ีปรึกษาทุกคนสรปุ รวบรวมขอ้ มูลบนั ทกึ การเดนิ ทางของนักเรียน

แนวปฏบิ ตั ิแผนเผชญิ เหตรุ องรบั การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)
ในสถานศกึ ษา

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยได้
ขยายขอบเขตการแพร่ของโรคออกไปในวงกว้างกระจายไปในหลายพืน้ ทกี่ ารตรวจพบผู้ปว่ ยยืนยันติดเช้ือราย
ใหม่โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ในกรณีที่มีการเรียนการ
สอนตามปกติ 100% ควรกำหนดให้มีแผนเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ในสถานศกึ ษา เพ่อื เปน็ การเตรยี มการและเตรียมพรอ้ มรองรับสถานการณ์ทอี่ าจจะเกิดข้นึ อนั เป็นแนวปฏิบัติ
ตามมาตรการการปอ้ งกันการแพรร่ ะบาดของโรคโควิด 19 อยา่ งเคร่งครดั มีดงั นี้

1. การป้องกันเชือ้ โรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จากต่างประเทศ
1. มคี รตู ่างประเทศ ต้องรับการกักกนั ในสถานที่ท่ีรฐั จดั ให้ (State quarantine) เป็นเวลา 14 วนั
2. มีนกั เรยี นนกั ศึกษาต่างประเทศ/ตา่ งด้าวทพ่ี ักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใหจ้ ัดการเรียนการสอน

ตามปกติ สำหรบั นกั เรยี นนกั ศึกษาทไี่ ม่ไดพ้ กั อาศยั อยใู่ นประเทศไทย เม่อื เขา้ ประเทศไทย ต้องรับการกักกันใน
สถานทีท่ รี่ ัฐจดั ให้ (State quarantine/Local quarantine) เป็นเวลา 14 วัน

ขอ้ เสนอการพจิ ารณาสทิ ธิประโยชน์สำหรับนกั เรยี นรหัส G
1. การไดร้ บั สิทธิประกนั สงั คมหรือประกันสุขภาพ
2. การใช้กองทนุ ของ ศธ. เพอ่ื ซอื้ ประกนั สขุ ภาพให้นักเรยี นรหัส G
3. การใชร้ ะบบการศกึ ษาทางไกลแทน การเขา้ มาศกึ ษาในประเทศไทย

33

4. ด่านชายแดนทางเขา้ และ Organizational Quarantine
5. ประกนั ภัยโควิด 19 ระยะเวลา 1 ปี
2. การป้องกันการแพรร่ ะบาดของโรคโควดิ 19 ภายในประเทศ
1. มีศูนย์เฉพาะกจิ การจดั การศกึ ษาทางไกลในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
2. พัฒนาระบบสารสนเทศเพ่อื การบริหารในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคโควิด 19
3. เปดิ ศูนยร์ บั ฟังความคดิ เหน็ เก่ียวกับการจัดการศกึ ษาทางไกลในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของ
โรคโควิด 19
4. จดั ทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคโควดิ 19
5. จดั ทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ชดุ โปรแกรม และแพลตฟอร์มการเรียนร้คู รบวงจร
6. จัดทำแนวทางการบริหารจัดการสำหรับโรงเรียนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ
โรคโควดิ 19
7. แผนการเตรียมการรองรับนักเรียนจากต่างประเทศ ที่กลับเข้ามาเรียนในประเทศไทยของ
สถานศกึ ษา
8. แนวทางรับมือตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณกี ารระบาดของโรคโควดิ 19 ในสถานศึกษา
3. การเฝา้ ระวงั และการสอบสวนโรค
1. คดั กรองนกั เรยี น ผูบ้ รหิ าร ครู บุคลากร และผเู้ ก่ียวขอ้ ง มีการสวมหนา้ กาก การลา้ งมือการเว้น
ระยะห่าง การทำความสะอาด (หอ้ งเรียน หอ้ งปฏิบตั ิการ โรงฝึกงาน อาคารเรยี น โรงอาหาร พน้ื ท่ีส่วนกลาง)
และลดความแออัด
2. มีแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรในสถานศึกษาในการดำเนินการเกี่ยวกับ
โรคโควดิ 19 เช่น จดั ทำแนวทางการบริหารจดั การสำหรับโรงเรียนเพ่อื ป้องกนั และควบคุมการแพร่ระบาดของ
โรคโควิด 19 มาตรการคัดกรองสุขภาพด้านสาธารณสุข การดำเนินการเมื่อมีกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยยืนยันใน
สถานศกึ ษา
3. การปดิ สถานศกึ ษาทเี่ กิดการระบาดและควบคมุ การระบาดในสถานศกึ ษา
4. รายงานการประเมินสถานการณ์ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และให้ข้อเสนอแนะแก่
หนว่ ยงาน ต้นสงั กัด และคณะกรรมการโรคตดิ ต่อระดับจงั หวัดเพอ่ื การตัดสินใจ
4. การสร้างความร่วมมอื จากทกุ ภาคสว่ น
1. มศี นู ย์ประสานงานและตดิ ตามขอ้ มูลระหวา่ งสถานศกึ ษาและหนว่ ยงานตา่ งๆ
2. สถานศึกษาจับคู่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในความร่วมมือป้องกัน
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
3. สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่สาธารณสขุ เจา้ หนา้ ทีอ่ งคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิน่ ฝ่ายปกครอง คณะกรรมการสถานศกึ ษา

34

สว่ นที่ 3
แผนรองรบั สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคโควดิ 19

โรงเรยี นเตรยี มอุดมศกึ ษาพัฒนาการสวุ รรณภมู ิ

การเตรียมความพร้อมเพ่อื เฝ้าระวงั และป้องกนั การแพร่ระบาดของโรคโควดิ 19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีความรุนแรงข้ึน
ทั่วโลกจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจเป็นภาวะเสี่ยงต่อการติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่ชุมชนและสถานศึกษา ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน ดังน้ัน
โรงเรยี นเตรยี มอดุ มศึกษาพฒั นาการสุวรรณภมู ิ ได้จัดทำแผนรองรบั สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการประเมินตนเองตามกรอบการประเมิน Thai Stop Covid
Plus และได้รับใบประกาศรับรองมาตรฐานจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม
2564 ดังใบประกาศแนบ

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ได้ยึดหลัก
ข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้ม
สำหรับสถานศกึ ษา ตามมาตรการของโรงเรียนเตรยี มอดุ มศกึ ษาพฒั นาการสวุ รรณภูมิ

35

แผนรองรับสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

โรงเรียนเตรียมอดุ มศกึ ษาพฒั นาการสุวรรณภูมิ ตระหนกั ในการป้องกนั โรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019
(Covid 19) อันสร้างความสูญเสยี อย่างใหญ่หลวงต่อประชากรทว่ั โลก ทงั้ ดา้ นชวี ติ เศรษฐกจิ และสภาพสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพฒั นาการสุวรรณภูมิ ได้ดำเนินการครอบคลุมภายใต้
มาตรการการป้องกันอันจะมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในสถานศึกษาโรงเรียนได้ดำเนินการ
ประกาศ “มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเช้ือ ไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19)
เพื่อให้ครอบคลุมในมาตรการวิถีชีวิตการมาเรียนของนักเรียน รวมถึงทำความสะอาดพื้นที่สัมผัสที่มีการใช้
ร่วมกันบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น โรงอาหาร ห้องสมดุ ห้องน้ำ ลกู บดิ ประตู บนั ได ราวระเบยี งทางเดิน ลิฟท์
และมกี ารเตรียมความพรอ้ มตามขน้ั ตอนกระบวนการ ดังนี้

1. การเตรยี มความพรอ้ ม
1.1 มาตรการดา้ นการเตรียมความพรอ้ มก่อนเขา้ สถานศึกษา

1. จัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับคณะผู้บริหาร
ครู บุคลากรทางการศึกษาและนกั เรยี น โรงเรียนเตรียมอดุ มศึกษาพัฒนาการสุวรรณภมู ิ

1.2 มาตรการดา้ นการคดั กรอง ครู นักเรียนและผมู้ าตดิ ตอ่ ราชการ
1. คัดกรองก่อนเขา้ มาในบรเิ วณโรงเรยี นโดยการวดั อณุ หภมู ิ ล้างมือดว้ ยเจลหรือแอลกอฮอล์

พร้อมกบั การตรวจคดั กรองดว้ ย ATK ก่อนเขา้ โรงเรยี น ดังนี้
1.1 การคัดกรองกอ่ นเปดิ ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2564
วนั ท่ี 18 พฤศจกิ ายน 2564 คณะผู้บรหิ าร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน

อาสาสมัครเขา้ รบั การอบรมความรู้เก่ยี วกบั โรคติดเชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) การตรวจวดั ไข้ และ
การตรวจคดั กรองด้วย ATK

วนั ท่ี 19 พฤศจิกายน 2564 คณะผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผูม้ ีส่วน
เก่ยี วข้องเขา้ รบั การตรวจคัดกรองด้วย ATK

วันท่ี 22 พฤศจิกายน 2564 นกั เรียนโรงเรยี นเตรยี มอดุ มศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ
ทุกคนเข้ารับการตรวจคดั กรองดว้ ย ATK ก่อนเข้าเรียน

2. ทกุ คนลงทะเบียนการเข้าออกดว้ ยการสแกน QR Code “ไทยชนะ” ของโรงเรยี นเตรียม
อุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ

1.3 มาตรการด้านการเดินทาง
1.3.1 รถบสั รถตู้ และรถสองแถว รบั -ส่งนักเรยี น
1. พนกั งานขบั รถและคนประจำรถทุกคนต้องไดร้ ับการฉีดวคั ซนี ครบ 2 เขม็
2. พนกั งานขับรถ และคนประจำรถ ตรวจคดั กรองด้วย ATK 2 คร้งั ตอ่ สัปดาห์
3. พนกั งานขับรถฉีดพน่ น้ำยาฆ่าเชื้อในรถ ท้งั กอ่ นและหลงั รับนักเรียนในชว่ งเชา้ และช่วงเย็น
4. จัดจุดวางแอลกอฮอล์ เพ่ือใหน้ ักเรียนลา้ งมือกอ่ นขน้ึ รถ

36

5. พนักงานขับรถและนักเรียนสวมใส่หนา้ กากอนามยั ตลอดเวลามีนักเรียนท่เี ปน็ จติ อาสาประจำ
รถบสั แต่ละคันคอยเฝ้าระวงั

6. รถบัสเข้ามาส่งนักเรียนในโรงเรียนมีครคู อยกำกับให้นักเรียนผา่ นจุดคดั กรองตามทีโ่ รงเรียน
กำหนด

1.4. ด้านอนามัยสงิ่ แวดลอ้ มภายในโรงเรียน
1.4.1 ห้องเรยี น
สถานที่สำหรับการจัดการเรียนสอน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา ห้องประชุม

ห้องพักครู โรงอาหาร ห้องสมุด ห้องส้วม เป็นต้น ดำเนินการตามหลักปฏบิ ัติการป้องกันการแพร่ระบาดของ
โรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยา่ งเครง่ ครัด ไดแ้ ก่

1) จัดโต๊ะ เก้าอี้ หรือทน่ี ง่ั ใหม้ กี ารเวน้ ระยะหา่ งระหวา่ งบคุ คล อยา่ งนอ้ ย 1 - 2 เมตร
2) จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ให้อากาศถ่ายเท และทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์
การเรยี นทกุ คร้งั และจุดสมั ผัสเส่ยี ง ก่อน-หลังใชง้ าน
3) จัดใหม้ ีเจลแอลกอฮอลใ์ ชท้ ำความสะอาดมอื
ขอ้ ปฏิบัติตนในหอ้ งเรยี น
1) ครูท่ปี รกึ ษากำกับนักเรียนไปยงั ห้องเรียน และเว้นระยะหา่ งอยา่ งนอ้ ย 1 เมตร
2) จัดวางรองเท้าหน้าห้องเรียนใหเ้ ป็นระเบียบ
3) ปดิ อปุ กรณ์สือ่ สารและเก็บไวใ้ นที่จัดเก็บของแต่ละหอ้ งเรียน
4) ไม่อนุญาตให้นักเรียนชาร์จอุปกรณ์ส่ือสารในหอ้ งเรียน
5) เปดิ หน้าต่าง เพ่อื ใหอ้ ากาศถ่ายเท ในชว่ งเวลา Homeroom
6) เปิดผ้ามา่ น โดยคลอ้ งสายเกบ็ ผ้าม่านใหเ้ รยี บร้อยและปดิ ผา้ ม่านในยามจำเป็นเทา่ นั้น
7) ดแู ลทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอ้ี พื้นห้องเรยี นและจัดเก็บอปุ กรณ์ทำความสะอาดใหเ้ ปน็
8) ระเบยี บเรียบรอ้ ย ทงั้ น้ีหา้ มมีขยะในถงั ขยะข้ามวัน
9) เตรียมพร้อมสำหรบั การเรียน ตามมาตรการ 9 ส
หลงั เลกิ เรยี น
1) หลีกเลยี่ งการอยู่ร่วมกันหลังเลกิ เรียน
2) ทำความสะอาดหอ้ งเรียนทกุ วันหลงั เลกิ เรียน
3) นักเรยี นออกจากอาคารก่อนเวลา 17.00 น. และเดินทางกลับบ้านทันที
และได้ดำเนินการตามาตรการที่กำหนด โดยโรงเรียนมีมาตรการคัดกรองนักเรียน บุคลากร และ
ประชาชนที่มาติดต่อ ดังนี้ ด้วยบริบทของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ การดำเนินการจึงต้องเป็นไปอย่างรัดกุม
และมีประสิทธภิ าพ โรงเรยี นโดยคณะทำงานได้วางแผนและดำเนินการภายใต้ความร่วมประสานความร่วมมือ
ช่วยเหลือจากทุกภาคสว่ น โดยดำเนินการกำหนดจดุ คัดกรองทีช่ ัดเจน ประสานความรว่ มมือจากทุกภาคส่วน

37

โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากงานจราจร งานอาคารสถานที่และงานอนามัยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พัฒนาการสุวรรณภมู ิ คดั กรองอยา่ งเปน็ ระบบและดำเนินการอย่างเข้มแข็ง

1.4.2 โรงอาหาร
1) จดั บริการอาหาร เน้นป้องกนั การปนเปอ้ื นของเชอ้ื โรค เชน่ อาหารปรุงสำเรจ็ สกุ ใหม่ทกุ ครัง้
2) พจิ ารณาทางเลอื กให้ผปู้ กครองสามารถเตรียมอาหารกลางวนั (Lunch box) ให้นกั เรียน
3) การรับประทานอาหารในโรงอาหาร นักเรียนเข้าแถวโดยเว้นระยะห่างระหว่างกัน
โดยนั่งรับประทานอาหารตามจุดที่กำหนด และทิ้งขยะในที่ที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ผู้ปกครองควรจัดเตรียม
ภาชนะบรรจุอาหาร ช้อน-ซ้อม หรืออาหาร และน้ำดื่ม ใหก้ บั นักเรยี นสำหรับใช้ส่วนตวั เพ่อื รักษาสุขอนามัย
1.4.3 งานอนามัย
1) โรงเรียนมีการสอ่ื สารประชาสมั พนั ธ์แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ
เบื้องต้น เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทักษะการล้างมือ การสวมหน้ากากผ้าหรือ
หน้ากาก อนามยั สขุ ลกั ษณะส่วนบคุ คลที่ดี รวมทั้งการทำความสะอาดอยา่ งถกู วิธี
2) แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19)
ในสถานศกึ ษา ประกอบด้วย คณะผบู้ ริหาร ครู บุคลากร สถานศึกษา นกั เรียน และผ้เู ก่ียวขอ้ ง
3) จัดกิจกรรมอบรมความรู้เก่ียวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การตรวจวดั ไข้
และตรวจ ATK ใหก้ ับครู บุคลากรของสถานศึกษา นกั เรียน
4) กำหนดบทบาทหน้าที่ มอบหมายครู ครูงานอนามัยหรือบคุ ลากรของสถานศึกษา ทำหน้าที่
คัดกรอง วัดไข้ สังเกต สอบถามอาการเส่ียง และประสานงานเจา้ หน้าที่สาธารณสุขในพืน้ ที่ ให้บริการในหอ้ ง
พยาบาลดแู ลทำความสะอาดในบริเวณสถานศกึ ษา และบริเวณจดุ เส่ียง

2. การปฏบิ ัตติ นระหวา่ งอยใู่ นโรงเรียนสำหรบั บุคลากรในสถานศึกษา
2.1 ผูบ้ รหิ ารสถานศกึ ษา
1) ประกาศนโยบายและแนวปฏบิ ัติ พร้อมทั้งจัดต้ังคณะทางานดำเนนิ การปอ้ งกนั การแพร่

ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)
2) ทบทวน ปรับปรงุ ซอ้ มปฏิบัตติ ามแผนฉุกเฉนิ ของสถานศึกษา
3) สื่อสารประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกี่ยวกับ

นโยบาย มาตรการ การปฏิบัตติ นการจดั การเรียนการสอนให้กบั ผู้เก่ียวข้อง
4) กำกบั ติดตาม ดแู ลตามมาตรการคดั กรองสขุ ภาพทกุ คน บริเวณจดุ แรกเข้าไปในสถานศกึ ษา

(Point of entry)
5) พิจารณาการจัดให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเหมาะสม

ตามบริบทได้อย่างตอ่ เน่อื ง รวมถึงการตดิ ตามกรณีนกั เรียนขาดเรียน ลาป่วย

38

6) กรณีพบนักเรียน ครู บุคลากร หรือผู้ปกครองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยยืนยันเข้ามา
ในสถานศึกษา ให้รบี แจ้งเจา้ หนา้ ทีส่ าธารณสขุ ในพน้ื ท่ี

7) มมี าตรการใหน้ กั เรียนได้รบั อาหารกลางวันและอาหารเสริมตามสิทธทิ ่ีควรได้รับกรณีพบอยู่
ในกลุ่มเสย่ี งหรือกกั ตัว

8) ควบคุม กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดาเนินงานตามมาตรการอย่างเคร่งครัดและ
ตอ่ เนอ่ื ง

2.2 ครูผูด้ แู ลนักเรียน
1) ตดิ ตามข้อมลู ขา่ วสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจากแหล่งขอ้ มลู ทเี่ ชื่อถือได้
2) สังเกตอาการป่วยของตนเอง หากมีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้หยุด

ปฏบิ ตั งิ านและรีบไปพบแพทยท์ นั ที
3) ปฏิบตั ิตามมาตรการการปอ้ งกันโรคอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ล้างมอื บ่อยๆ สวมหนา้ กากผา้ หรือ

หนา้ กากอนามยั และเวน้ ระยะห่างระหว่างบคุ คล หลีกเลีย่ งการไปในสถานท่ีทีแ่ ออดั หรือแหลง่ ชุมชน
4) แจง้ ผู้ปกครองและนักเรียน ให้นำของใชส้ ว่ นตัวและอุปกรณ์ป้องกนั มาใชเ้ ป็นของตนเอง
5) สื่อสารความรู้คำแนะนาหรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ในการป้องกันและลดความเสี่ยงจาก

การแพรก่ ระจายโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)
6) ทำความสะอาดส่อื การเรียนการสอนหรืออุปกรณ์ของใช้ร่วมทเ่ี ปน็ จุดสมั ผสั เส่ียง ทกุ คร้ังหลัง

ใชง้ าน
7) ควบคุมดแู ลการจัดทน่ี ่ังภายในสถานท่ีในโรงเรียน ตามหลกั การเวน้ ระยะห่างระหว่างบุคคล

อยา่ งนอ้ ย 1 - 2 เมตร
8) ตรวจสอบ กำกบั ตดิ ตามการมาเรียนของนักเรียน
9) ตรวจคดั กรองสุขภาพทุกคนทเี่ ขา้ มาในสถานศกึ ษาตามข้นั ตอน
10) สงั เกตกลุ่มนักเรียนที่มปี ัญหาพฤติกรรม หรือนกั เรยี นทไ่ี มร่ ว่ มมอื ปฏบิ ตั ติ ามมาตรการที่ครู

กำหนดเพื่อใหไ้ ดร้ บั การช่วยเหลอื
11) ส่ือสารความรเู้ กย่ี วกบั ความเครียด กระบวนการการจดั การความเครียดให้แก่นักเรียนและ

บคุ ลากรในสถานศกึ ษา
2.3 นกั เรียน
1) ติดตามขอ้ มูลข่าวสารสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคจากแหลง่ ข้อมลู ท่เี ช่ือถือได้
2) สังเกตอาการป่วยของตนเอง หากมีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง รีบแจ้งครหู รอื

ผูป้ กครอง
3) มีและใช้ของใช้ส่วนตวั ไม่ใชร้ ว่ มกบั ผู้อืน่

39

4) ปฏิบตั ิตามมาตรการการป้องกนั โรคอย่างเคร่งครัด ไดแ้ ก่ ลา้ งมอื บอ่ ยๆ สวมหนา้ กากผา้ หรือ
หน้ากากอนามยั และเว้นระยะหา่ งระหว่างบุคคล หลีกเล่ยี งการไปในสถานทีท่ ่ีแออดั หรือแหลง่ ชุมชน

5) ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารปรงุ สุก ร้อน สะอาด อาหารครบ 5 หมู่ และผัก
ผลไม้ ออกกาลงั กาย และนอนหลับใหเ้ พียงพอ

6) กรณีนักเรียนขาดเรยี นหรือถูกกักตวั ควรติดตามความคบื หนา้ การเรียนอยา่ งสม่ำเสมอ
7) หลกี เลี่ยงการลอ้ เลียนความผดิ ปกติหรอื อาการไมส่ บายของเพอ่ื น
2.4 ผู้ปกครอง
1) ตดิ ตามขอ้ มูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจากแหล่งข้อมลู ที่เชอ่ื ถือได้
2) สังเกตอาการปว่ ยของบตุ รหลาน หากมอี าการทางเดนิ หายใจอย่างใดอยา่ งหนง่ึ ให้รบี พาไป
พบแพทย์
3) จดั หาของใชส้ ่วนตัวให้บตุ รหลาน
4) จัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคและการล้างมือ กำกับให้บุตรหลานปฏิบัติตามมาตรการ
การป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง
ระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงการไปในสถานท่ที ่ีแออัดหรือแหล่งชมุ ชน
5) ดูแลสุขภาพบุตรหลาน จัดเตรียมอาหารปรุงสุกใหม่
6) กรณีมีการจัดการเรียนการสอนทางไกล ออนไลน์ ผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือกับครูใน
การดแู ลจัดการเรยี นการสอนแกน่ ักเรียน
2.5 แมค่ รวั ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปฏบิ ัติงานแมบ่ า้ นและนกั พฒั นา
1) ติดตามข้อมูลขา่ วสารสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรค จากแหล่งขอ้ มลู ทเี่ ชอื่ ถือได้
2) สังเกตอาการปว่ ยของตนเอง หากมอี าการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนงึ่ ให้หยดุ
ปฏิบัตงิ าน และรบี ไปพบแพทย์ทนั ที
3) ลา้ งมือบ่อยๆ ก่อน – หลงั ปรุงและประกอบอาหาร ขณะจำหน่ายอาหาร หลังสัมผัส
ส่ิงสกปรก
4) ขณะปฏบิ ัตงิ านของผู้สมั ผัสอาหาร ตอ้ งสวมหมวกคลุมผม ผ้ากันเปือ้ น ถงุ มือ
สวมหนา้ กากผา้ หรือหน้ากากอนามัย และปฏิบตั ิตนตามสขุ อนามยั สว่ นบคุ คลทถี่ ูกต้อง
5) ปกปิดอาหาร ใส่ถงุ มอื และใช้ทค่ี ีบหยิบจบั อาหาร
6) จัดเตรียมอาหารปรงุ สกุ ใหม่ ใหน้ ักเรยี นกิน ภายในเวลา 2 ช่วั โมง
7) ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะ ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองและ
ปฏิบัตติ ามขน้ั ตอนการทำความสะอาดให้ถกู ตอ้ ง
3. แนวทางปฏบิ ตั ิการปดิ หรือไมป่ ิดสถานศกึ ษากรณีเกิดโรคโควิด 19
3.1 กรณนี กั เรยี นปว่ ย

40

เมื่อตรวจพบผู้มีไข้สูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้ส่งต่อไปยังห้องพยาบาลของโรงเรียน
เพื่อดำเนนิ การ

1) ตรวจวดั อณุ ภมู ิดว้ ยเครื่องวัดอณุ ภูมิแบบแท่งแกว้ หรอื แบบดิจิตอล โดยวดั ทางรักแร้
2) ซักประวัติเจบ็ ป่วย สงั เกตอาการและสอบถามอาการของระบบทางเดินหายใจ เชน่ ไข้ ไอ จาม
มนี ้ำมกู เจบ็ คอ หายใจลาบาก เหนอื่ ยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไมร่ รู้ ส
3) หากพบนักเรียนมีอุณภูมริ า่ งกายต้ังแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือมีอาการระบบทางเดิน
หายใจอย่างใดอย่างหน่ึง จะจดั ให้อยู่ในพื้นทีแ่ ยกส่วนเพื่อแจง้ ผูป้ กครองมารบั และพาไปพบแพทย์
4) จัดห้องนอนพักสำหรับนักเรียนระหว่างรอผู้ปกครองมารับ โดยจัดห้องนอนแยกจาก นักเรียน
ป่วยทั่วไป จำนวน 2 เตียง ระยะห่างระหว่างเตียง 1.5 เมตร ติดตั้งฉากพลาสติกใสกั้นระหว่าง เตียงนอน
ภายในห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก มีเจลแอลกอฮอลป์ ระจำทกุ เตียง มถี ังขยะท่ีมีฝาปิดมิดชิด
5) บนั ทึกรายช่อื และอาการป่วย
3.2 กรณีนกั เรียนกักตัว
เมือ่ พบว่านักเรยี นตดิ เชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดำเนินการดงั นี้
1) งานพยาบาลบันทึกรายงานข้อมูลนักเรียนที่เข้าข่าย หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) เสนอตอ่ ผู้อำนวยการพจิ ารณาอนมุ ัติ เพอ่ื กักตวั 14 วนั
2) โรงเรยี นดำเนนิ การ

2.1) ทำหนงั สือแจ้งผู้ปกครองทราบ เพอ่ื ใหน้ กั เรยี นหยดุ เรยี น กกั ตวั อยทู่ ่บี ้าน 14 วัน โดยไม่ถือ
วา่ เป็นการขาดเรียน

2.2) ครูที่ปรึกษารับทราบและประสานผู้ปกครองหรือนักเรียนเพื่อสอบถามอาการป่วยของ
นักเรยี นเป็นระยะ หรือชว่ ยเหลอื กรณมี เี หตจุ ำเปน็

2.3) ครูผู้สอนทุกรายวิชาที่นักเรียนเรียน ดำเนินจัดเตรียมแผนรองรับการเรียน เช่น การสอน
ออนไลน์ การสอนซ่อมเสริม และมอบหมายงานให้นักเรียนทำเพื่อให้นักเรียนได้เรียนตามหลักสูตร
จนกว่านกั เรยี นจะกลับมาเรียนตามปกตไิ ด้

3) นักเรียนนำหลักฐานใบรับรองแพทยม์ ายนื ยันกบั โรงเรียนเพื่อกลบั เข้าเรยี นตามปกติ
3.3 กรณีปิดโรงเรียน

1) โรงเรยี นขออนมุ ัตหิ นว่ ยงานต้นสังกดั เพอื่ ปดิ โรงเรยี น เป็นเวลา 14 วนั
2) โรงเรียนแจ้งนักเรยี น ครู ผปู้ กครอง และบคุ ลากรทางการศกึ ษา เก่ียวกบั สถานการณท์ ี่ทำให้ปิด
โรงเรียนกรณีเกิดโรคตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) เปน็ เวลา 14 วัน โดยไม่ถอื เปน็ วนั ลา หรอื วันหยดุ
เรียน
3) โรงเรียนเตรียมการสอนออนไลน์ โดยใช้ Google Meet, Google Classroom, Line,
Facebook ตาม ความถนัดของครู ตามตารางทีจ่ ดั ไว้
4) ฉดี น้ำยาฆ่าเชื้อเพอื่ ทำความสะอาดท่วั ทั้งโรงเรยี น

41

บรรณานกุ รม

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2563. คู่มือการเฝ้าระวังติดตามและแผนเผชิญเหตุรองรับการ
แพรร่ ะบาดของโรคโควิด 19 ในสถานศกึ ษา. กรงุ เทพมหานคร : สำนักงานกจิ การโรงพิมพอ์ งคก์ ารสงเคราะห์
ทหารผา่ นศกึ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2563. คู่มือสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาด
ของโรคโควิด 19. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั คิว แอดเวอรไ์ ทซ่งิ จำกัด.

กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. 2564. ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรยี นหรอื
สถาบันการศึกษาตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณฉ์ กุ เฉนิ พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 32). ลงวันท่ี 20 กันยายน 2564

กระทรวงศกึ ษาธิการ. 2564. ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรยี นหรอื
สถาบันการศึกษาตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉกุ เฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 34). ลงวันที่ 28 ตลุ าคม 2564

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2564. แนวทางการเตรียมการเปิดภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2564 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19).
สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

43

44

45

46


Click to View FlipBook Version