ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา
กับการใช้ประโยชน์
Meteorological Information and Utilization
คำนำ
คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่องข้อมูลสารสนเทศทาง
อุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยชน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและ
อวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการ
ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับครูผู้สอนและนักเรียนในการเรียนรู้
ในหน่วยการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่10 เรื่องข้อมูลสารสนเทศทาง
อุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยชน์
ผู้จัดทำหวังว่า คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ
การเรียนรู้ของนักเรียนและการจัดกิจกรรมการเรียนกิงสอนสำหรับครูผู้สอนใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศต่อไป
สารบัญ หน้า
เนื้อหา 1
2
ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยชน์ 2
10.1 ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา 7
13
10.1.1 แผนที่อากาศผิวพื้น 16
10.1.2 ข้อมูลและสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาอื่นๆ 17
10.2 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา
สรุปเนื้อหาภายในบทเรียน
บรรณานุกรม
สภาพลมฟ้าอากาศบนโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
และมีผลต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การท่องเที่ยว
การประกอบอาชีพ ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาช่วยให้เราสามารถ
คาดการณ์สภาพลมฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทำให้เราดำรงชีวิตได้
เหมาะสมกับสภาพลมฟ้าอากาศ รวมทั้งหลีกเสี่ยงหรือเตรียมรับมือกับภัย
ธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น
บทนำ
การพยากรณ์อากาศมีการใช้ข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้น
ในอดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อนำไปคาดการณ์สภาพลมฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้นใน
อนาคตทั้งนี้หากมีข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศจำนวนมากก็จะช่วย
ให้การพยากรณ์อากาศมีความแม่นยำมากขึ้นข้อมูลจากองค์การ
อุตุนิยมวิทยาโลกแสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ.2561 มีการรวบรวมข้อมูลองค์
ประกอบลมฟ้าอากาศจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก โดย
เป็นสถานีตรวจอากาศผิวพื้น ประมาณ 10,000 แห่ง สถานีตรวจอากาศ
ชั้นบนประมาณ 1,000 แห่ง สถานีตรวจอากาศบนเรือประมาณ 7,000 ลำ
ทุ่นลอยในมหาสมุทรประมาณ 1,100 แห่ง สถานีเรดาร์ตรวจอากาศหลาย
ร้อยแห่ง อุปกรณ์ตรวจวัดบนเครื่องบินกว่า 3,000 ลำ และดาวเทียม 66
ดวง
10.1 ข้อมูลและสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา
นักอุตุนิยมวิทยารวบรวมข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศจาก
สถานีตรวจอากาศทั่วโลกมาแสดงผลในรูปแบบของสารสนเทศทาง
อุตุนิยมวิทยาเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในการพยากรณ์อากาศใน
ประเทศไทยมีการใช้สารสนเทศท่างอุตุนิยมวิทยาหลายประเกทเพื่อช่วย
ในการพยากรณ์อากาศเช่นแผนที่อากาศชนิดต่าง ๆข้อมูลเรดาร์ตรวจ
อากาศ ภาพดาวเทียม โดยสารสนเทศแต่ละประเภทแสดงข้อมูลองค์
ประกอบลมฟ้าอากาศแตกต่างกัน ดังนี้
10.1.1 แผนที่อากาศผิวพื้น
แผนที่อากาศผิวพื้นเป็นแผนที่อากาศชนิดหนึ่งซึ่งแสดงข้อมูลองค์
ประกอบลมฟ้าอากาศที่ได้จากการตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศผิวพื้น
หรือจากแบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข ข้อมูลองค์ประกอบลม
ฟ้าอากาศ ณ ตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก จะแสดงด้วสัญลักษณ์ ดัง
รูป
สัญลักษณ์แสดงข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ เช่น อุณหภูมิ
อากาศ อุณหภูมิ จุดน้ำค้าง ทิศทางและอัตราเร็วลม สัดส่วนเมฆใน
ท้องฟ้า ความกดอากาศ จะปรากฎ ณ ตำแหน่งเดิมเสมอ ยกเว้น
สัญลักษณ์แสดงทิศทางลมที่จะเปลี่ยนตำแหน่งตามทิศทางลมในขณะ
ตรวจวัดในสัญลักษณ์แสดงข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศอาจแสดง
ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศที่ตรวจวัดได้
แผนที่อากาศผิวพื้นใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงสภาพลมฟ้า
อากาศที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างได้แก่ เส้นความกคอากาศเท่า หย่อม
ความกดอากาศต่ำ บริเวณความกดอากาศสูง พายุหมุนเขตร้อน แนว
ปะทะอากาศ และร่องความกดอากาศต่ำ โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวช่วยให้
ทราบสภาพลมฟ้าอากาศเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมพื้นที่ระดับประเทศ
ภูมิภาค และทวีป ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศ
เบื้องต้นได้ ดังนี้
แผนที่อากาศในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยมักปรากฎ
สัญลักษณ์หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศไทยและบริเวณโดย
รอบ ซึ่งบ่งชี้ว่าในขณะนั้นอากาศที่ปกคลุมประเทศไทย และประเทศใกล้
เคียงเป็นอากาศร้อน ในขณะเดียวกัน เส้นความกดอากาศเท่ารอบ
บริเวณความกดอากาศสูงที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศจีน มี
ลักษณะคล้ายลิ่มมาทางประเทศไทย ดังรูป ลักษณะดังกล่าวบ่งชี้ว่า
อากาศเย็นจากประเทศจีนกำลังเคลื่อนที่ลงมาบริเวณประเทศไทย โดย
ถ้ามวลอากาศเย็น
เคลื่ อนที่มาถึงบริเวณที่อากาศร้อนปกคลุมอยู่จะทำให้เกิดลมกระโชก
แรง พายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ในช่วงดังกล่าว
ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือใต้ป้ายโฆษณาที่ไม่
แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า
แผนที่อากาศในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย มักปรากฎสัญลักษณ์
ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทย สัญลักษณ์ดังกล่าวบ่งชี้
ว่าบริเวณนั้นเกิดการยกตัวของอากาศเป็นแนวยาวทำให้เกิดเมฆ
ก่อตัวในแนวตั้งที่ส่งผลให้เกิดพายุผนฟ้าคะนอง ดังนั้น หากพบ
สัญลักษณ์ดังกล่าวปรากฎ ณ ตำแหน่งประเทศไทยแสดงว่าในช่วง
เวลานี้จะมีปริมาณฝนมากกว่าในช่วงอื่น ๆ จึงควรเฝ้าระวังและเตรียม
รับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น เช่น อุทกภัย แผ่นดินถล่ม
แผนที่อากาศในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย มักปรากฏเส้น
ความกดอากาศเท่าอยู่ใกล้กันและมีลักษณะเป็นแนวแผ่จากประเทศจีน
ลงมาปกคลุมประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ลักษณะดังกล่าวบ่งชี้
ว่ามวลอากาศเย็นจากประเทศจีนกำลังเคลื่ อนที่ลงมายังประเทศไทย
และประเทศใกล้เคียง ดังรูป ส่งผลให้เกือบทุกภาคของประเทศไทยมี
อุณหภูมิอากาศลดต่ำลง ส่วนภาคใต้ฝั่ งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น
เนื่องจากอากาศเคลื่อนที่ผ่านอ่าวไทย ดังนั้น เกือบทุกภาคควรเตรียม
พร้อมรับมือกับอากาศหนาว ส่วนภาคใต้ควรระมัดระวังอันตรายจาก
ปริมาณฝนที่เพิ่มมากขึ้น
ในบางช่วงอาจพบสัญลักษณ์พายุหมุนเขตร้อนปรากฏอยู่บริเวณ
ประเทศไทย โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวจะช่วยให้สามารถพยากรณ์พื้นที่ที่มี
โอกาสเกิดฝนตกได้ ข้อมูลบนแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงว่าบริเวณ
ทะเลจีนใต้มีพายุไต้ฝุ่นชื่อ ทกซูรี (1719) (DOKSURI (1719) กำลัง
เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนมาทางตะวันตก (west
northwest, WNW) ลักษณะดังกล่าวทำให้เกาะไหหลำและชายฝั่ ง
ประเทศเวียดนามได้รับผลกระทบโดยตรงทำให้เกิดภัยพิบัติ เช่น คลื่มลม
แรง การกัดเซาะชายฝั่ ง น้ำท่วม ดินถล่ม สำหรับประเทศไทยจะพบฝนตก
ทั่วประเทศโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทยมีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ส่วนอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาจมีคลื่นลมแรง จึงควรเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิด
ขึ้น เช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม
นอกจากนี้ แผนที่อากาศผิวพื้นยังช่วยให้สามารถพยากรณ์
สภาพลมฟ้าอากาศในพื้นที่ตได้อีกด้วย มีสัญลักษณ์แนวปะทะอากาศ
เย็นและแนวปะทะอากาศอุ่นอยู่บริเวณประเทศญี่ปุ่น โดยแนวปะทะ
อากาศเย็นกำลังเคลื่ อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และแนวปะทะ
อากาศอุ่นกำลังเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ ลักษณะดังกล่าวจะทำให้ทาง
ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นเกิดลมพัดแรง พายุฝนฟ้าคะนอง และอาจมี
หิมะตก หลังจากนั้นอุณหภูมิอากาศจะลดลง ในขณะเดียวกันทางตอน
เหนือของประเทศญี่ปุ่นจะมีลมแรง เกิดฝนตกพรำ ๆ อาจมีหิมะตก
เป็นบริเวณกว้างและเป็นระยะเวลานาน หลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสภาพลมฟ้าอากาศบนแผนที่อากาศผิวพื้น
เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา
อื่นๆ ร่วมด้วย
10.1.2 ข้อมูลและสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ
ในการติดตามสภาพลมฟ้าอากาศ นอกจากข้อมูลจากแผนที่อากาศ
แล้ว ยังมีสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม
ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ ที่ถูกนำมาใช้ในการคาดการณ์สภาพลมฟ้า
อากาศให้มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยสารสนเทศทาง
อุตุนิยมวิทยาที่นำมา
ใช้มีข้อมูลและรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้
ก.ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่ให้ข้อมูลทาอุตุนิยมวิทยา
เช่น ชนิดและปริมาณของเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้า ความรุนแรง และ
ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนข้อมูล
อุ ตุนิยมวิทยาเหล่านี้ได้จากการตรวจวัดคลื่ นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วง
ความยาวคลื่ นที่แตกต่างกัน
และประมวลผลออกมาเป็นภาพ สำหรับภาพถ่ายดาวเทียมที่ศึกษาในบท
เรียนนี้ ประกอบด้วยภาพถ่ายดาวเทียมใน 2 ช่วงคลื่นสำคัญที่เผยแพรใน
สื่อต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย คือ ภาพถ่ายดาวเทียม ช่วงคลื่นอินฟราเรด
(infrared satellite image) และภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นแสง
(visible satellite image) ลักษณะภาพที่ได้และการแปลความหมาย
ของภาพถ่ายดาวเทียมแต่ละช่วงความยาวคลื่นมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1)ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรด
เป็นภาพที่ได้จาการตรวจวัดปริมาณของรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกมาจาก
วัตถุสามารถตรวจวัดได้ทุกช่วงเวลา ภาพที่ได้จะเป็นภาพที่มีเฉดสีเทาไล่
ระดับสีแตกต่างกันตามอุณหภูมิของพื้นผิววัตถุ ถ้าภาพมีเฉดสีขาวถึงเทา
อ่อนแสดงว่าวัตถุนั้นมีอุณหภูมิต่ำ ถ้าภาพมีเฉดสีเทาเข้มถึงดำแสดงว่า
วัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงดังนั้นภาพถ่าย
ดาวเทียมช่วงคลื่ นอินฟราเรดของเมฆ
จึงมีสีแตกต่างกันตามอุณหภูมิของเมฆ
ชนิดต่างๆ เมฆที่อยู่สูงหรือมียอดเมฆสูง
มีอุณหภูมิต่ำ เช่น เมฆชั้นสูง เมฆฝนฟ้า
คะนอง ภาพจะปรากฎเป็นสีขาวหรือ
สีขาวสว่าง ส่วนเมฆที่อยู่ในระดับต่ำลง
มาใกล้พื้นผิวโลก มีอุณหภูมิสูงขึ้นตาม
ระดับความสูงที่ลดลง จะปรากฎเฉดสี
เป็นสีเทามากขึ้นส่วนพื้นดินและพื้นน้ำ
ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าเมฆจะปรากฎเป็น
สีเทาเข้มถึงดำ
การแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียมอุ ตุนิยมวิทยาช่วงคลื่ น
อินฟราเรดยังมีข้อจำกัด คือ ถ้าวัตถุมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันมาก สีของ
ภาพจากการตรวจวัดจะมีความแตกต่างกันน้อย ทำให้แปลความหมาย
ของภาพได้ยาก ดังนั้นจึงต้องใช้การปรับสีของภาพในแต่ละช่วงอุณหภูมิ
ให้มีความละเอียดมากขึ้น ดังรูป
2) ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นแสง
เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรังสีของวัตถุดังนั้นการใช้ประโยชน์จาก
ข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงคลื่ นนี้จึงใช้เฉพาะภาพถ่ายดาวเทียม
ในช่วงที่มีแสงซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพที่มีเฉดสีเทาไล่ระดับสีตามอัตราส่วน
รังสีสะท้อนของวัตถุสำหรับอัตราส่วนรังสีสะท้อนของเมฆจะสัมพันธ์กับ
ความหนาของเมฆ ถ้าเมฆที่มีความหนามากจะมีอัตราส่วนรังสีสะท้อนสูง
กว่าเมฆที่มีความหนาน้อย ภาพถ่ายดาวเทียมจึงแสดงเฉดสีของเมฆที่
แตกต่างกันโดยไล่ระดับเฉดสีจากสีขาวไปจนถึงสีเทาอ่อนตามความหนา
ของเมฆที่ลดลง สำหรับเมฆที่มีความหนาน้อยมากจะมีสีเทาเข้มถึงสีค่อน
ข้างดำจนเกือบกลมกลืนกับสีของพื้นผิวโลก เช่น รูป แสดงให้เห็นว่า
บริเวณ (ก) พบเมฆที่มีความหนาและมีอัตราส่วนรังสีสะท้อนมากกว่า
บริเวณ (ข) และ (ค) ตามลำดับ
นอกจากการสังเกตสีแล้ว ภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงคลื่นแสงยัง
แสดงรูปทรง และลักษณะพื้นผิวของเมฆทำให้สามารถระบุได้ว่า เมฆดัง
กล่าวเป็นเมฆก้อนหรือเมฆแผ่น ถ้าเป็นเมฆก้อนภาพถ่ายดาวเทียมส่วน
ใหญ่จะแสดงรูปทรงที่มีลักษณะเป็นก้อน พื้นผิวไม่เรียบ เช่น บริเวณ (ก)
ดังรูป ส่วนเมฆแผ่นมักมีพื้นผิวเรียบ หรือมีรูปทรงไม่ชัดเจน เช่น
บริเวณ (ค) ดังรูป
จากความรู้ข้างต้น เมื่อพิจารณาทั้งสี รูปทรง และลักษณะพื้นผิว
ของเมฆฝนฟ้าคะนองในภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณประเทศไทย จะพบว่า
มีลักษณะเป็นก้อน พื้นผิวไม่เรียบ และมีสีขาวจนถึงเทาอ่อน โดยบริเวณ
ที่มีสีขาวแสดงว่ามีฝนฟ้าคะนองรุนแรงมากกว่าบริเวณอื่น ดังรูป แสดง
ให้เห็นว่าภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บางบริเวณมีเมฆทำให้มีโอกาสเกิดฝนมาก
จากที่นักเรียนได้ศึกษาเป็นการใช้ข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาใน
รูปของภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมของแต่ละช่วงคลื่ นนั้นมี
ข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลใน
ภาพถ่ายดาวเทียมต้องนำข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมในหลายช่วงคลื่ น
มาประมวลผลร่วมกันเพื่อให้สามารถแปลผลข้อมูลได้แม่นยำ และ
สามารถนำมาคาดการณ์สภาพลมฟ้าอากาศเบื้องต้นได้ แต่สำหรับการ
พยากรณ์อากาศนั้นต้องใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อนำไปวิเคราะห์ด้วย
ระบบที่ซับช้อนเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับแบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขที่
ให้ข้อมูลลมฟ้าอากาศเพิ่มมากขึ้นและมีความถูกต้องที่สุดอย่างไรก็ตาม
ภาพถ่ายดาวเทียมนั้นให้ข้อมูลชนิดและปริมาณของเมฆที่ปกคลุม
ท้องฟ้า ถ้าหากต้องการคาดการณ์ปริมาณฝนฟ้าคะนอง ต้องใช้เครื่อง
มือที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เรดาร์ตรวจอากาศ (weather radar)
ซึ่งสามารถบอกข้อมูลของหยาดน้ำฟ้า ทำให้คาดการณ์ความแรงของ
ฝน ทิศทางการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนและปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ได้
ซึ่งศึกษาได้จากในหัวข้อต่อไป
ข. ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ
เรดาร์ตรวจอากาศเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามข้อมูลหยาดน้ำฟ้าที่
เกิดขึ้นแล้วในบรรยากาศขณะทำการตรวจวัด ซึ่งยังไม่ใช้ปริมาณฝน
หรือหยาดน้ำฟ้าที่ตกถึงพื้นดิน โดยมีรัศมีการตรวจวัดหลายร้อย
กิโลเมตร และตรวจวัดค่าความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อน
กลับมายังเรดาร์ตรวจอากาศ
เรดาร์ตรวจอากาศจะตรวจวัดหยาดน้ำฟ้าโดยการปล่อยคลื่ น
ไมโครเวฟออกไปกระทบกับเมฆฝนฟ้าคะนองเพื่ อให้คลื่ นสะท้อนกลับมา
สู่ตัวรับสัญญาณ โดยความเข้มของคลื่นที่สะท้อนกลับจะแตกต่างกัน
ตามบริเวณของเมฆที่คลื่นไปกระทบ เช่น บริเวณยอดเมฆ บริเวณตอน
กลางของเมฆ บริเวณใต้ฐานเมฆ ซึ่งความเข้มของคลื่นที่สะท้อนกลับมี
หน่วยเดซิเบลหรือ dBZ ในการตรวจวัดด้วยเรดาร์ตรวจอากาศของ
กรมอุตุนิยมวิทยาจะตรวจวัดค่การสะท้อนกลับของคลื่น โดยกำหนดค่า
มุมเงยเพียงค่าเดียวในระดับที่ใกล้พื้ นโลกมากที่สุดที่คลื่ นสามารถข้ามสิ่
งกิดขวางต่าง ๆ ได้ เช่น อาคารสูง เพื่อให้เรดาร์กวาดทำมุมได้ 360
องศา รอบตำแหน่งที่ตั้งของเรดาร์ ภาพจากเรดาร์ตรวจอากาศเป็น
ภาพที่มีมุมมองเช่นเดียวกับการมองจากด้านบน (top view) เรียกว่า
ภาพแบบ PPI (the plan position indicator) ตามที่ได้เห็นใน
รายการโทรทัศน์หรือในเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
ความเข้มของคลื่ นที่ตรวจวัดได้จะแสดงด้วยสีที่แตกต่างกันตาม
ความแรงและชนิดของหยาดน้ำฟ้า โดยฝนที่มีกำลังอ่อนที่สุดจะตรวจวัด
ค่าความเข้มของคลื่นที่สะท้อนได้ 20 เดซิเบล ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์สีที่
ปรากฎในพื้นที่ต่าง ๆ จึงสามารถบอกข้อมูลได้ว่าบริเวณใดมีฝน ซึ่งจะ
ปรากฎเป็นสีที่แสดงค่าความเข้มของคลื่นที่สะท้อนกลับมากกว่า 20
เดซิเบลขึ้นไป พบบริเวณสีเขียวล้อมรอบบริเวณสีเหลืองและสีส้ม ใน
พื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและนครปฐมโดยบริเวณสีส้มและสีเหลืองแสดง
ถึงกลุ่มฝนที่มีกำลังแรงมากกว่าบริเวณสีเขียว ซึ่งแปลความหมายได้ว่า
พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกเล็กน้อยไปจนถึงฝนตกหนักปานกลาง นอกจาก
เรดาร์ตรวจอากาศจะบอกพื้นที่ที่พบความแรงของกลุ่มฝนแล้ว ยัง
สามารถนำข้อมูลตรวจวัดในเวลาใกล้เคียงกันมาคาดคะเนการเคลื่ อนตัว
ของกลุ่มฝนได้ แต่ไม่สามารถนำมาพยากรณ์ฝนที่จะเกิดขึ้นได้ อย่างไร
ก็ตามการแปลความหมายข้อมูลเรดาร์อาจต้องระวังเรื่องข้อมูลที่ไม่ได้
แสดงถึงค่าความแรงของฝนที่แท้จริง โดยมักพบข้อมูลดังกล่าวมี
ลักษณะเป็นแถบยาวออกจากสถานีไปตามรัศมีตรวจวัดหรือบริเวณขอบ
ของรัศมีเรดาร์และข้อมูลนี้จะมีค่าความเข้มของคลื่ นที่สะท้อนกลับสูง
กว่าปกติ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อมูลร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียม
สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาทั้งแผนที่อากาศผิวพื้น ภาพถ่าย
ดาวเทียม และเรดาร์ตรวจอากาศทำให้ทราบสภาพลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้น
ในแต่ละช่วงเวลาและในแต่ละพื้นที่ นักเรียนคิดว่าข้อมูลจากสารสนเทศ
เหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนการประกอบอาชีพและการ
ดำรงชีวิตได้หรือไม่ อย่างไร ให้ศึกษาจากหัวข้อต่อไป
10.2 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ
ทางอุตุนิยมวิทยา
ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาถูกนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต
และประกอบอาชีพต่างๆรวมทั้งการป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติ แต่ละ
อาชีพใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศแตกต่างกัน
ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยามีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ใน
การวางแผนประกอบอาชีพ เช่น เกษตรกรรม การท่องเที่ยว โดย
เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาวางแผนการ
เพาะปลูกในระยะสั้นและระยะเวลาที่ยาวขึ้น เช่น พยากรณ์อากาศเพื่อ
การเกษตร7 วันข้างหน้า รายปักษ์ (14 วัน) ราย 3 เดือน หากข้อมูล
แสดงว่า ปีนี้จะเกิดสภาวะแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับ
การเกษตร เกษตรกรควรวางแผนในการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย หรือติดตั้ง
อุปกรณ์การจ่ายน้ำ ในทางกลับกันหากคาดการณ์ว่า ปีนั้นจะมีปริมาณน้ำ
มาก เกษตรกรอาจเลือกปลูกพืชที่ต้องการน้ำมาก หรือวางแผนการ
ระบายน้ำที่เหมาะสม ดังนั้นข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาจึงเป็น
ประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตและลดความเสี่ยงลงได้
ในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวนั้น ข้อมูลสารสนเทศทาง
อุตุนิยมวิทยามีความสำคัญในการวางแผนการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับ
สภาพลมฟ้าอากาศ ซึ่งสภาพลมฟ้าอากาศนั้นเป็นปัจจัยที่นักท่องเที่ยว
พิจารณาเป็นลำดับต้น ๆ ในการตัดสินใจเลือกสถานที่และเตรียมความ
พร้อมให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่าง ๆ
นอกจากนี้ ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาและพยากรณ์
อากาศถูกนำมาใช้ในการวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดการสูญเสีย
ที่อาจเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การเตือนภัยพายุไต้ฝุ่นเชบี
ซึ่งพัฒนากำลังแรงขึ้นมาจากพายุดีเปรสชันบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
โดยจะเคลื่อนที่เข้าสู่ทางชายฝั่ งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ระหว่าง
วันที่
4 - 5 กันยายน พ.ศ. 2561 ผลจากพายุไต้ฝุ่นเชบีครั้งนี้ ได้สร้าง
ความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง อาคาร บ้านเรือน สนามบินเสียหาย
ต้องยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมากกว่า 700 เที่ยวบิน แต่จากการติดตาม
ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าว ทำให้สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (Japan
Meteorological Agency) ได้ประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ที่อาจได้รับ
ผลกระทบกว่า 1 ล้านคน เตรียมความพร้อมและอพยพได้ทันจึงลดการ
สูญเสียชีวิตและความเสียหายในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศนั้นส่งผลต่อสิ่งมี
ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยาจึงจำเป็น
ต่อทุกหน่วยงาน องค์กร และทุกอาชีพ เช่น หน่วยงานที่มีภารกิจใน
การบริหารจัดการน้ำ การทำฝนหลวง การคมนาคมขนส่งทั้งทางบก
ทางน้ำ และทางอากาศการปฏิบัติการนอกชายฝั่ ง กิจกรรมกลางแจ้ง
ต่างๆ ซึ่งทุกฝ่ายมีการนำข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยาไปวางแผน
การใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพใน
การทำงาน
การเตรียมความพร้อม รวมทั้งป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อ
ชีวิตและทรัพย์สินได้
สรุปเนื้อหาภายในบทเรียน
• แผนที่อากาศผิวพื้นเป็นสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาที่แสดงสภาพลม
ฟ้าอากาศในรูปแบบของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เส้นความกดอากาศ
เท่า บริเวณความกดอากาศสูง หย่อมความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขต
ร้อน แนวปะทะอากาศ และร่องความกดอากาศต่ำ
• การแปลความหมายข้อมูลสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนแผนที่อากาศผิวพื้น
ทำให้ทราบสภาพลมฟ้าอากาศเป็นบริเวณกว้างซึ่งสามารถนำมาคาด
การณ์สภาพลมฟ้าอากาศและวางแผนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับ
สภาพลมฟ้าอากาศ
• ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นข้อมูลที่แปลงจากค่าการตรวจ
วัดคลื่ นแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายช่วงความยาวคลื่ นของดาวเทียม
อุตุนิยมวิทยา โดยข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละช่วง
ความยาวคลื่น ทำให้ทราบตำแหน่งที่พบเมฆ ชนิด และอุณหภูมิของเมฆ
รวมทั้งตำแหน่งของพายุหมุนเขตร้อน และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล
ในภาพถ่ายดาวเทียม ต้องนำข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมในหลายช่วง
ความยาวคลื่ นมาประมวลผลร่วมกันเพื่ อให้สามารถแปลผลข้อมูลได้ถูก
ต้องมากขึ้น
• เรดาร์ตรวจอากาศเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามข้อมูลหยาดน้ำฟ้าที่
เกิดขึ้นแล้วในบรรยากาศในขณะทำการตรวจวัด โดยตรวจวัดค่าความ
เข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนกลับมายังเรดาร์ตรวจอากาศ ทำให้
ทราบพื้นที่ที่ตรวจพบกลุ่มฝน ความแรง และทิศทางการเคลื่อนตัวของ
กลุ่มฝน และควรตรวจสอบข้อมูลร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อให้
สามารถแปลผลข้อมูลได้ถูกต้องมากขึ้น
• ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยามีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและ
วางแผนประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพลมฟ้าอากาศ รวม
ทั้งลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
บรรณานุกรม
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์โลก
และอวกาศ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551
จัดทำโดย
นายพรรษกร แย้
มยวน เลขที่ 7
นางสาวบุษกร ไชย
ตะวงศ์ เลขที่ 16
นางสาวอคิราภ์ บึง
กาญจนา เลขที่
30 ชั้นมัธยมศึกษาปี่ ที่ 6/11
เสนอ
คุณครูนพรัตน์ นามเนาว์