กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน Management Process of community enterprises for Sustainable Development Case Study : Enterprise Community in Nan Province
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน ๒. เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน ๓. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) โดยได้ทาการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่กาหนดไว้
ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า มีการดาเนินกิจกรรมด้วยการนาภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกันมีบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการแบ่งโครงสร้างการทางาน การผลิต/ทรัพยากรการผลิต เน้นคนในชุมชนร่วมกันระดมความคิด เพื่อการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้ การเงิน/บัญชี มีการบริหารจัดการการเงินและบัญชีที่เป็นระบบและตรวจสอบได้ มีการเปิดเผยข้อมูลการเงิน บัญชีอย่างสม่าเสมอ การตลาด เน้นจัดจาหน่ายสินค้าของวิสาหกิจชุมชน มีจาหน่ายทั้งปลีกและส่ง ภายใน/ต่างจังหวัด ตลาด Online และตลาดต่างประเทศ และมีการกาหนดกฎระเบียบหรือข้อตกลง ให้ความสาคัญกับ การจัดสรรผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน มีการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชนอย่างเหมาะสม ๒. การวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า (Plan) การวางแผน ชาวบ้านเกิดการริเริ่มรวมกลุ่มกัน ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน และพัฒนากระบวนการอย่างมีขั้นตอน ด้วยการวางแผนอย่างมีส่วน (Do) การลงมือปฏิบัติ วิสาหกิจชุมชนมีโครงสร้างการบริหารองค์กรที่ชัดเจน และการบริหารจัดการคนให้เหมาะสมกับบทบาท (Check) การตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใสในการดาเนินงาน มีกฎระเบียบ หรือข้อตกลง ข้อบังคับ ในการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชน เน้นการจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิกให้ (Action) ดาเนินการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา จาเป็นต้องยกระดับปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานภูมิปัญญาสากล มีการพัฒนาเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการจัดเก็บภูมิปัญญาเกี่ยวกับสมุนไพรและทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนอย่างมีระบบต่อไป

๓. แนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มต้องเป็นผู้มีบทบาทสาคัญ เป็นแกนนาผลักดันให้กลุ่มมีความเข็มแข็ง โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ผลิตภัณฑ์ชุมชนต้องมี อัตลักษณ์ นาเสนอ Story เรื่องราวความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ ที่แสดงถึงความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของสินค้า สู่ Smart Product และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีความทันสมัย เพื่อเพิ่มกระบวนการผลิตสินค้าให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และการพัฒนาช่องทางการตลาด พัฒนาช่องทางการจัดจาหน่ายเพื่อเพิ่มฐานกลุ่มลูกค้าให้มีความหลากหลาย เช่น เว็บไซต์ Line Facebook Appication และสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เป็นต้น สมาชิกทุกคนต้องได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม สมาชิกสามารถดารงชีพอยู่ได้ ภายใต้การส่งเสริมอาชีพของวิสาหกิจชุมชน เมื่อมีงาน มีรายได้ ชุมชนก็ได้รับประโยชน์จากวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ด้วยรายได้ที่ได้จากการประกอบอาชีพที่ย้อนคืนไปสู่สังคม นามาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป
View Text Version Category : 0
  • Follow
  • 0
  • Embed
  • Share
  • Upload
Related publications