( Self Assessment Report : SAR ) รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ก บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ตั้งอยู่เลขที่ 28 หมู่ที่5 ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง รหัสไปรษณีย์ 85120 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึง ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 มีครูบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย จำนวน 2 คน ได้แก่ข้าราชการครู จำนวน 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน จำนวนนักเรียนปฐมวัยจำนวน 29 คน ตามที่โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ได้ดำเนินการด้นประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันดำเนินงานตาม กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 บัดนี้การดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอผลการประเมิน คุณภาพภายในสถานศึกษา แสดงในตาราง สรุปผลได้ดังนี้ สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ประจำปีการศึกษา2565 มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ระดับคุณภาพ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ดีเลิศ 1.ผลการดำเนินงาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการดำเนินงาน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม 2. หลักฐานสนับสนุนผลการการดำเนินงาน โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ได้จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านอย่าง สมดุลและเหมาะสมกับวัย โดยจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2565 จัดประสบการณ์ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โดยเน้นการจัด
ข ประสบการณ์ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยกิจกรรมประจำวันทั้ง 6 กิจกรรม จัดโครงการและกิจกรรม ดังนี้ โครงการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย กิจกรรมหนูน้อยคนเก่ง กิจกรรมหนูน้อยรักษ์สุขภาพ กิจกรรมหนูน้อย รักศิลปะ กิจกรรมหนูน้อยรักดนตรี กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์ กิจกรรมหนูน้อยนักอ่าน ประเมินพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตพฤติกรรมและบันทึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน จากการดำเนินงานตาม กิจกรรมส่งผลให้มีพัฒนาการในภาพรวมระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม จำแนกเป็น ด้านร่างกายร้อยละ 100 ด้านอารมณ์ด้านจิตใจ ร้อยละ 100 ด้านสังคม ร้อยละ 100 และด้านสติปัญญาอยู่ในระดับ 85.78 โรงเรียนมีผลการดำเนินงาน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงาน สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด มาตรฐานที่ 2กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการดำเนินงาน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ 2. หลักฐานสนับสนุนผลการการดำเนินงาน โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ได้ดำเนินการ กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนพัฒนาคุณภาพการ จัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี โครงการหรือกิจกรรม และจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาโดยจัดทำ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ ได้แก่ โครงการพัฒนาบุคลากรปฐมวัย โครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โครงการพัฒนาหลักสูตร โครงการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย ประเมินผลประสิทธิภาพการ บริหารและการจัดการ เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานแผน เช่น ติดตามผลการดำเนินโครงการและกิจกรรม จัดทำติดตาม และแบบรายงานผลการโครงการ และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี โรงเรียนมีผล การดำเนินงาน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ ผลการดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมาย มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการดำเนินงาน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ 2. หลักฐานสนับสนุนผลการการดำเนินงาน โรงเรียนบ้านสุขสำราญ สนับสนุนให้ครูจัดประสบการณ์โดยจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ครบทุก สาระการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษา ครูจัดทำบันทึกผลหลังสอน มีเครื่องมือสำหรับ ประเมินหลังการสอน ข้อมูลหรือผลงานของเด็กที่เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดประสบการณ์ ครูมีวุฒิการศึกษา ตรงตามสายงาน การสอนสื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการจัด ประสบการณ์ที่เหมาะสม หลากหลาย แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่ โรงเพาะเห็ด ธนาคารขยะ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ สวนสมุนไพร แปลงผักสวนครัว โรงเรือนเพาะชำ บ่อปลา มุมประสบการณ์ภายใน ห้องเรียน และได้มีการตรวจสอบและประเมินเด็กอย่างเป็นระบบจากการจัดประสบการณ์ตามหน่วยการ เรียนรู้ที่กำหนดไว้ ใช้เครื่องมือ วิธีการประเมินผลที่เหมาะสมและหลากหลาย ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต พฤติกรรม แบบประเมินพัฒนาการตามหน่วยการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ปกครองและผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ มีการนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุและ ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาวางแผนในการพัฒนาเด็กและดำเนินการตามแผน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูล
ค ป้อนกลับเพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดประสบการณ์ ด้วยจัดกิจกรรม PLC ของครูปฐมวัย มีการทำวิจัย มีวิธีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลายระหว่างเพื่อนครู และการนิเทศ กำกับ จากผู้บริหารมีโครงการสนับสนุนการ ดำเนินงาน เช่น โครงการประชุมผู้ปกครองนักเรียนปฐมวัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครอง โรงเรียนมีผล การดำเนินงาน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ ผลการดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมาย 3. ข้อเสนอแนะ แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญา ด้านการมีความคิดรวบยอดควรจัด กิจกรรมเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอด การเล่นกับผู้อื่นโดยปราศจากความรุนแรง อยู่ร่วมในสังคมอย่าง มีความสุขและมีการคิดและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆได้ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญ ด้านการจัด ประสบการณ์ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การจัดสภาพแวดล้อมและการใช้สื่อเทคโนโลยีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยความสนใจ
ข คำนำ ร า ย ง า น ก า ร ป ร ะ เ ม ิ น ต น เ อ ง ข อ ง ส ถ า น ศ ึ ก ษ า (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านสุขสำราญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ฉบับนี้ จัดทำ ขึ้นเพื่อสรุปผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาและยกระดับ คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของระดับปฐมวัยสูงขึ้น เนื้อหาสาระของรายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ประกอบด้วย บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ข้อมูล พื้นฐานของสถานศึกษา ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการ การช่วยเหลือของสถานศึกษาทั้ง 3 มาตรฐาน โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของ โรงเรียน คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ร่วมพัฒนา ร่วมประเมินคุณภาพ และร่วม จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ให้สมบูรณ์ครบถ้วน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลสารสนเทศ และข้อเสนอแนะในรายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สูงขึ้นต่อไป โรงเรียนบ้านสุขสำราญ
ค สารบัญ หน้า บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ............................................................................................................................. ..ก คำนำ ........................................................................................................................ ................................... ข สารบัญ ...................................................................................................................... .................................. ค ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ...................................................................................................... 1 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ..................................................................................... .... 22 ส่วนที่ 3 สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ ...................................................... 32 ภาคผนวก ............................................................................................................................. ...................... 34 ประกาศมาตรฐานสถานศึกษา ประกาศค่าเป้าหมายสถานศึกษา ภาพถ่าย การดำเนิน โครงการ กิจกรรม
1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 1. ข้อมูลทั่วไป โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ตั้งอยู่เลขที่ 28 หมู่ที่ 5 ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง รหัสไปรษณีย์85120 โทรศัพท์ 077844077 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง อำเภอสุข สำราญ จังหวัดระนอง เปิดสอนระดับปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ห้องเรียน โรงเรียนมีเนื้อที่ จำนวน … ไร่ ประวัติความเป็นมาโรงเรียน โรงเรียนเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ เดิมเป็นอาคารไม้เสากลม หลังคามุงจาก โดยราษฎรร่วมกับนายกา รุณ โฆษิตสกุล อดีต สส.จังหวัดระนอง เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยมีนายชื่น กตัญญู เป็นครูใหญ่คนแรก และในปีงบประมาณ ๒๕๒๐ ได้รับ งบประมาณก่อสร้างอาคารถาวรแบบ ป.๑ ขนาด ๔ ห้องเรียน ๑ หลัง บ้านพักครูแบบกรมสามัญ ๑ หลัง ส้วมแบบ กรมสามัญ ๒ ที่นั่ง ๑ หลัง ปัจจุบัน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ จำนวน ๑ หลัง ๘ ห้องเรียน อาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ (ใต้ถุนโล่ง) ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน ส้วมแบบ สปช.๖๐๑/๒๖ ๔ ที่นั่ง ๒ หลัง มีข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน ๑๓ คน มีนักเรียนทั้งหมด ๑๓๖ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔) ภายใต้การบริหารงานของ นายอนุสรณ์ คงเจริญเมือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้าน สุขสำราญ 2. ข้อมูลผู้บริหาร 1.) ผู้อำนวยการสถานศึกษา นายอนุสรณ์ คงเจริญเมือง วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา โทรศัพท์ 093-3959453 E-mail: [email protected] ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ ..22.. ธันวาคม พ.ศ .2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ..6…ปี .....4… เดือน 3. ข้อมูลครูและบุคลากรสนับสนุนการสอน (เฉพาะครูปฐมวัย) 3.1 ข้าราชการครู ที่ ชื่อ – สกุล อายุ อายุ ราชการ สอน ระดับชั้น ตำแหน่ง/วิทยฐานะ วุฒิการศึกษา/สาขา 1. นางอนุรี กรีมละ 48 18 ปี อนุบาล 3 ครูชำนาญการพิเศษ ปริญญาตรี/ปฐมวัย 3.1 พนักงานราชการ ที่ ชื่อ – สกุล อายุ อายุราชการ สอนระดับชั้น ตำแหน่ง/วิทยฐานะ วุฒิการศึกษา/สาขา - - - - - - -
2 3.3 บุคลากรสนับสนุนการสอน(พี่เลี้ยงเด็ก ครูอัตราจ้าง เจ้าหน้าที่ธุรการ นักการภารโรง ฯลฯ) ที่ ชื่อ – สกุล อายุ อายุงาน การปฏิบัติงาน วุฒิการศึกษา สาขาวิชา 1. นางสาวอาทิตยา ปานพิทักษ์ 48 - อนุบาล 2 ครูอัตราจ้าง ปริญญาตรี/ปฐมวัย 3.4 สรุปจำนวนบุคลากร (ข้อมูลเฉพาะปฐมวัย) 3.4.1 จำนวนบุคลากรจำแนกตามประเภท/ตำแหน่ง และวุฒิการศึกษา ประเภท/ตำแหน่ง จำนวนบุคลากร (คน) รวม ต่ำกว่า ปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก 1. ผู้บริหารสถานศึกษา - ผู้อำนวยการ 1 1 รวม 1 1 2. สายงานการสอน - ข้าราชการ 1 1 - พนักงานราชการ(ปฏิบัติหน้าที่สอน) -บุคลากรสนับสนุนการสอน 1 1 - อื่นๆ (ระบุ) รวม 2 1 2 รวมทั้งสิ้น 2 1 3 4. ข้อมูลนักเรียน ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 4.1 จำนวนนักเรียนในโรงเรียน ปีการศึกษา2565 ทั้งสิ้น 29 คน จำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน ระดับชั้นเรียน จำนวนห้อง เพศ รวม เฉลี่ยต่อห้อง ชาย หญิง อนุบาล2 ( 4-5 ขวบ) 1 10 7 17 1 : 17 อนุบาล3 ( 5-6 ขวบ) 1 6 6 12 1 : 12 รวมทั้งสิ้น 2 16 13 29 2 : 29 จำนวนเด็กพิเศษในโรงเรียน ชาย .....2..... คน หญิง .....-...... คนรวมจำนวน ......2........ คน อัตราส่วนนักเรียน : ครูระดับปฐมวัย = ....15.... : ......1.... เป็นไปตามเกณฑ์ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์
3 4.2 จำนวนนักเรียน (3 ปีการศึกษาย้อนหลัง) ปีการศึกษา 2563 - 2565 ระดับชั้น จำนวนนักเรียนปฐมวัย ปีการศึกษา2563 จำนวนนักเรียนปฐมวัย ปีการศึกษา2564 จำนวนนักเรียนปฐมวัย ปีการศึกษา2565 อนุบาลปีที่ 1 - - - อนุบาลปีที่ 2 13 13 17 อนุบาลปีที่ 3 7 14 12 5. ข้อมูลพัฒนาการปฐมวัย( ข้อมูล 3 ปี) 5.1 ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น ที่ ประเมิน ระดับชั้น จำนวน นักเรียน พัฒนาการ ด้านร่างกาย(จำนวน) ด้านอารมณ์ จิตใจ (จำนวน) ด้านสังคม(จำนวน) ด้านสติปัญญา(จำนวน) (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดีขึ้น ไป (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดีขึ้น ไป (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดีขึ้น ไป (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดีขึ้น ไป อนุบาล 2 (4-5 ปี) อ. 2 17 17 17 17 2 15 รวม 17 17 17 17 2 15 ร้อยละ 100 100 100 88.23 อนุบาล 3 (5-6 ปี) อ. 3 12 12 12 12 2 10 รวม 12 12 12 12 2 10 ร้อยละ 100 100 100 25 83.33 รวมทุกระดับชั้น 29 29 29 29 3 10 ร้อยละรวม 100 100 100 85.78 ด้านร่างกาย 100 ด้านอารมณ์-จิตใจ 100 ด้านสังคม 100 ด้านสติปัญญา 85.78 พัฒนาการระดับปฐมวัยปี การศึกษา2565 ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา
4 5.2 ปีการศึกษา 2564 ระดับชั้น ที่ ประเมิน ระดับชั้น จำนวน นักเรียน พัฒนาการ ด้านร่างกาย(จำนวน) ด้านอารมณ์ จิตใจ (จำนวน) ด้านสังคม(จำนวน) ด้านสติปัญญา(จำนวน) (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี อนุบาล 2 (4-5 ปี) อ. 2 13 13 3 10 1 12 2 11 รวม 13 3 10 1 12 2 11 ร้อยละ 100 23.07 76.92 7.69 92.31 7.69 84.61 อนุบาล 3 (5-6ปี) อ. 3 14 14 1 13 1 13 2 12 รวม 14 1 13 1 13 2 12 ร้อยละ 100 7.14 92.86 7.14 92.86 14.29 85.71 รวมทุกระดับชั้น 27 27 4 23 2 25 4 23 ร้อยละรวม 100 15.11 84.89 7.40 92.60 14.81 85.16 ด้านร่างกาย 100 ด้านอารมณ์-จิตใจ 84.89 ด้านสังคม 92.60. ด้านสติปัญญา 85.61 พัฒนาการระดับปฐมวัยปี การศึกษา2564 ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา
5 5.3 ปีการศึกษา 2563 ระดับชั้น ที่ ประเมิน ระดับชั้น จำนวน นักเรียน พัฒนาการ ด้านร่างกาย(จำนวน) ด้านอารมณ์ จิตใจ (จำนวน) ด้านสังคม(จำนวน) ด้านสติปัญญา(จำนวน) (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี (1) ปรับปรุง (2) ปาน กลาง (3) ดี อนุบาล 2 (4-5 ปี) อ. 2 13 1 12 1 12 2 11 2 11 รวม 1 12 1 12 2 11 2 11 ร้อยละ 7.69 92.31 7.69 92.31 15.38 84.62 15.38 84.62 อนุบาล 3 (5-6 ปี) อ. 3 7 7 7 7 2 5 รวม 7 7 7 2 5 ร้อยละ 100 100 100 28.57 71.43 รวมทุกระดับชั้น 20 1 19 1 19 2 18 4 16 ร้อยละรวม 5 95 5 95 10 90 20 80 ด้านร่างกาย 95 ด้านอารมณ์-จิตใจ 95 ด้านสังคม 90 ด้านสติปัญญา 80 พัฒนาการระดับปฐมวัยปี การศึกษา2563 ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา
6 6. ข้อมูลอาคารสถานที่ ที่ รายการ จำนวน 1 ห้องเรียนปฐมวัย 2 7. ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม 7.1 สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนเป็นที่ราบ และเป็นชุมชน ขนาดเล็ก บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่สวนยางพารา บ้านเรือนของนักเรียน มีบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ โรงเรียน อาชีพหลักของชุมชน คือทำสวน รับจ้าง ประมง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การถือศีลอดของชาวมุสลิม วันฮารีรายอ สงกรานต์ 7.2 ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีพหลัก คือ รับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนา อิสลาม ในฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 20,000 บาท /ครอบครัว รายได้ของประชากร โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ 7.3 โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน โอกาส 1. ชุมชนให้การสนับสนุน 2. ครูได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ 3. ชุมชนมีการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ลูกหลานได้สืบทอด 4. สภาพชุมชนแต่ละหมู่บ้านรวมกันอยู่ส่งผลต่อการติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล 5. เทศบาลตำบลกำพวนในการให้งบประมาณสนับสนุน อาหารกลางวัน นมโรงเรียน ข้อจำกัด 1. ผู้ปกครองในชุมชนบางส่วนทำงานต่างจังหวัดไม่ค่อยมีเวลาให้กับนักเรียน 2. ผู้ปกครองใช้เวลาในการประกอบอาชีพมากส่งผลให้ไม่มีเวลาในการดูแลบุตรหลานในวัย เรียน 3. ครอบครัวนักเรียนบางส่วนแตกแยกและทิ้งบุตรหลานให้อยู่กับผู้สูงอายุ ซึ่งไม่สามารถดูแล นักเรียนได้อย่างเต็มที่
7 8. หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสุขสำราญ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษา โดยได้จัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี และเวลาเรียนใน 1 ปีการศึกษา ดังนี้ 8.1 โครงสร้างการจัดประสบการเรียนรู้ชั้นอนุบาลปีที่ 2 – 3 โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 (ปีการศึกษา 2565) ช่วงอายุ อายุ 4 -6 ปี สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้ - ด้านร่างกาย - ด้านอารมณ์และจิตใจ - ด้านสังคม - ด้านสติปัญญา - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและ สถานที่แวดล้อมเด็ก - ธรรมชาติรอบตัว - สิ่งต่างๆรอบตัว โครงสร้างการจัดหน่วยประสบการณ์ สาระการเรียนรู้ สัปดาห์ หน่วยเรื่อง เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 1 ปฐมนิเทศ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 2 ปฐมนิเทศ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 3 โรงเรียน เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 4 ตัวเรา เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 5 หนูทำได้ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 6 ครอบครัวมีสุข เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 7 อาหารดีมีประโยชน์ ธรรมชาติรอบตัว 8 ฝน ธรรมชาติรอบตัว 9 ข้าว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 10 ปลอดภัยไว้ก่อน เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 11 วันเฉลิม
8 โครงสร้างการจัดหน่วยประสบการณ์ สาระการเรียนรู้ สัปดาห์ หน่วยเรื่อง สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 13 รักเมืองไทย สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 14 ของเล่นของใช้ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 15 ชุมชนของเรา ธรรมชาติรอบตัว 16 ต้นไม้ที่รัก ธรรมชาติรอบตัว 17 ดิน หิน ทราย ธรรมชาติรอบตัว 18 สัตว์น่ารัก สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 19 คมนาคม สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 20 รู้รอบปลอดภัย เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 21 ลอยกระทง ธรรมชาติรอบตัว 22 กลางวันกลางคืน เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 23 ค่านิยมไทย เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 24 วันชาติ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 25 เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 26 เทคโนโลยีและการสื่อสาร เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 27 วันขึ้นปีใหม่ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 28 สนุกกับตัวเลข สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 29 ขนาด รูปร่าง รูปทรง เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 30 วันเด็ก วันครู ธรรมชาติรอบตัว 31 โลกสวยด้วยสีสรรค์ ธรรมชาติรอบตัว 32 ฤดูหนาว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 33 แรงและพลังงาน ธรรมชาติรอบตัว 34 เสียงรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 35 รักการอ่าน สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 36 ปริมาตร น้ำหนัก ธรรมชาติรอบตัว 37 ฤดูร้อน สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 38 วิทยาศาสตร์น่ารู้
9 8.2 ตารางการจัดกิจกรรมประจำวัน โครงสร้างการจัดหน่วยประสบการณ์ สาระการเรียนรู้ สัปดาห์ หน่วยเรื่อง สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 39 ผักและผลไม้ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 40 หนูน้อยรอบรู้ ตารางกิจกรรมประจำวัน เวลา กิจกรรม 07.30 – 08.15 รับเด็ก 08.15 – 08.30 เข้าแถวเคารพธงชาติ 08.30 – 08.40 ตรวจสุขภาพ ไปห้องน้ำ 08.40 – 09.10 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 09.10 – 09.40 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 09.40 – 10.20 กิจกรรมสร้างสรรค์ 10.20 – 11.00 กิจกรรมเสรี เล่นตามมุม 11.00 – 11.30 กิจกรรมกลางแจ้ง 11.03 – 12.00 ล้างมือ/รับประทานอาหาร 12.00 – 14.00 นอนพักผ่อน 14.00 – 14.20 ตื่นนอน เก็บที่นอน ล้างหน้า เข้าห้องน้ำ 14.20 – 14.30 ดื่มนม 14.30 - 15.00 กิจกรรมเกมการศึกษา 15.00 -15.30 เตรียมตัวกลับบ้าน
10 9. แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 9.1 แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ที่ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้ จำนวนครั้ง/ปี 1 ห้องสมุด 12 2 ห้องคอมพิวเตอร์ 2 3 ห้องวิทยาศาสตร์ 2 4 ธนาคารขยะ 6 5 สวนสมุนไพร 2 6 บ่อปลา 12 9.2 แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ที่ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้ จำนวนครั้ง/ปี 1 สถานีตำรวจ 1 2 โรงพยาบาล 1 3 ศูนย์ผีเสื้อ 1 4 สถานีวิจัยชายฝั่งอันดามัน 1 5 ห้องสมุดประชาชน 1 6 ศูนย์เรียนรู้นวดแผนโบราณ 1 9.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร เชิญมาให้ความรู้แก่ครู นักเรียน (ในปี การศึกษาที่รายงาน) ที่ ชื่อ – สกุล ให้ความรู้เรื่อง จำนวนครั้ง/ปี 1 นางสาวประไพ เรืองฤทธิ์ การกำจัดขยะ 2 2 หน่วยงานสาธารณสุข รณรงค์การป้องกันการจมน้ำในเด็ก 1
11 10. ผลงานดีเด่นในรอบปีที่ผ่านมา (ภายใน 3 ปีการศึกษา) 10.1 ผลงานดีเด่นของสถานศึกษา(ระดับปฐมวัย) ที่ ระดับรางวัล รายการ วัน เดือน ปี จากหน่วยงาน 10 เหรียญทอง การแข่งขัน ฉีก ตัด ปะ กระดาษ 22 ธันวาคม 2565 สพป.ระนอง 10.2 ผลงานดีเด่นของผู้บริหาร ที่ ชื่อ-สกุล ระดับรางวัล รายการ วัน เดือน ปี จากหน่วยงาน - - - - - - 10.3 ผลงานดีเด่นของครูปฐมวัย ที่ ชื่อ-สกุล ระดับรางวัล รายการ วัน เดือน ปี จากหน่วยงาน - - - - - - 10.4 ผลงานดีเด่นของนักเรียนปฐมวัย ที่ ชื่อ-สกุล ระดับรางวัล รายการ วัน เดือน ปี จากหน่วยงาน 1 เด็กชายซาบิต มะเล็ก เหรียญทอง การแข่งขันการ ฉีก ตัด ปะ กระดาษ 22 ธันวาคม 2565 สพป. ระนอง 2 เด็กชายเศรษฐศาสตร์ เรียบร้อย เหรียญทอง การแข่ขันการ ฉีก ตัด ปะ กระดาษ 22 ธันวาคม 2565 สพป.ระนอง 3 เด็กหญิงมาเรียม ซามี เหรียญทอง การแข่ขันการ ฉีก ตัด ปะ กระดาษ 22 ธันวาคม 2565 สพป.ระนอง
12 11. ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาในปีที่ผ่านมา ปีการศึกษา 2564 ระดับการศึกษาปฐมวัย มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ระดับคุณภาพ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ดีเลิศ จุดเด่น คุณภาพเด็ก เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพ และหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี กระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ มีการจัดครูที่เพียงพอต่อชั้นเรียน มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เด็กเรียนรู้จากการเรียนปนเล่นและลงมือปฏิบัติจริง มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย จุดควรพัฒนา คุณภาพเด็ก การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการ อ่าน การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ การเล่นกับผู้อื่นโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ จึงจัดกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการบริหารและการจัดการ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย พัฒนาเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภค
13 แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้สูงขึ้น 1.มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาความคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย 2.ส่งเสริมให้ครูได้เข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ 3. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต 1. จัดทำโครงการเพื่อยกระดับศักยภาพของเด็กปฐมวัย 12. การนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาอย่าง ต่อเนื่อง ด้านผู้เรียน โรงเรียนบ้านสุขสำราญได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาตามข้อเสนอแนะโดยการ จัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการค้นหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มีการส่งเสริมเด็กได้ทำกิจกรรมนอก ห้องเรียน ส่งเสริมทักษะด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยจัดกิจกรรมที่มีชื่อว่าหนูน้อยรักศิลปะขึ้นเพื่อ พัฒนาด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อส่งเสริมทักษะการ สังเกตและการสำรวจ ด้านครูปฐมวัย โรงเรียนบ้านสุขสำราญได้ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาวิชาชีพ เพิ่มความรู้ในการจัดประสบการณ์การ เรียนการสอนโดยการให้คุณครูได้มีโอกาสไปอบรมกับหน่วยงานต่างๆและสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมวิชาชีพในการ แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ ได้จัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมส่งเสริม การจัดสภาพแวดล้อมน่าอยู่น่าเรียน กิจกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนในโครงการพัฒนา กระบวนการบริหารและการจัดการ ครูปฐมวัยมีการบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ ทั้งการบันทึกการสังเกต พฤติกรรมและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆทุกสัปดาห์มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 เรื่อง 13. การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำของสถานศึกษา 13.1 การบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ได้จัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 ฝ่าย โดยแบ่งเป็น ฝ่าย ได้แก่ 1. ด้านการบริหารวิชาการ 2. ด้านการบริหารงานบุคคล 3. ด้านการบริหารงบประมาณ 4. ด้านการบริหารทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหาร/เทคนิคการบริหารแบบการพัฒนาตามกระบวนการ PDCA
14 13.2 ปรัชญาการจัดการศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายเพื่อการพัฒนา อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของ สถานศึกษาปรัชญา การศึกษา คือ รากฐานของชีวิต วิสัยทัศน์ “จัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใฝ่เรียนรู้คู่คุณธรรมตามมาตรฐานชาติโดยใช้เทคโนโลยีและการมีส่วนร่วม” พันธกิจ (ระดับปฐมวัย) 1. ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ให้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ 2. ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสมกับวัย 4. ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามวัย เป้าประสงค์(ระดับปฐมวัย) 1. โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ให้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ 2. โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่พัฒนาทักษะ การเรียนรู้ของเด็ก 3. โรงเรียนมีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นในเด็กอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสมกับวัย 4. โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมตามวัย อัตลักษณ์ของสถานศึกษา สุขภาพดีมีน้ำใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เอกลักษณ์ของสถานศึกษา โรงเรียนสวยด้วยมือเรา
15 โครงการ/กิจกรรมพิเศษ ที่ดำเนินการตามนโยบายชาติ นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ฯลฯ ได้แก่ ที่ มาตรฐาน ลำดับที่ โครงการ/กิจกรรม 1 ด้านคุณภาพของเด็ก มาตรฐานที่1 (ประเด็นพิจารณา)ที่ (1,2,3,4) 1.1 กิจกรรมหนูน้อยคนเก่ง 1.2 กิจกรรมหนูรักงานศิลปะ 1.3 กิจกรรมวันสำคัญ 1.4 กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ 1.5 กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์ 1.6 กิจกรรมหนูน้อยนักอ่าน 1.7 กิจกรรมหนูน้อยรักดนตรี 1.8 กิจกรรมโลกสวยด้วยมือเรา 1.9 กิจกรรมพัฒนาสมรรถภาพทางกาย 2 กระบวนการบริหารและการ จัดการ มาตรฐานที่ 2 ประเด็นพิจารณา (1,2,3,4,5,6) 2.1 กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2.2 โครงการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ 2.3 โครงการพัฒนาบุคลากร 2.4 โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย 2.5 โครงการส่งเสริมการประกันคุณภาพภายใน 3 การจัดประสบการณ์เน้นเด็กเป็น สำคัญ มาตรฐานที่ 3 ประเด็นพิจารณา (1,2,3,4) 3.1 กิจกรรมทัศนศึกษา 3.2 กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม 3.3 กิจกรรมสื่อและเทคโนโลยีเพื่อเด็กปฐมวัย 3.4 กิจกรรมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 3.5 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
16 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา 1. ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีจุดเน้น เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดี สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อภาวะที่ เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและสิ่งเสพติด มีการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ได้ย่างเหมาะสม มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมีการเรียนรู้โดยการด้วยความสนใจ พยายามค้นหาคำตอบ มีความคิด รวบยอด ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ประเด็นการพิจารณา เป้าหมาย ผลการประเมิน สรุปผล การประเมิน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก 1.1 มีการพัฒนาด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และ ดูแลความปลอดภัยของ ตนเองได้ 90 100 ยอดเยี่ยม 1.2 มีการพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม แลและ แสดงอออกทางอารมณ์ได้ 90 100 ยอดเยี่ยม 1.3 มีการพัฒนาการด้านสังคม ช่วยแหลือตนเอง และ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม 90 100 ยอดเยี่ยม 1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการ คิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ 85 85.78 ดีเลิศ วิธีดำเนินการ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ได้การระบุเป้าหมายคุณภาพของเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 90 มีวิธีพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ ตามเป้าหมายการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย โดยดำเนินงานแผนพัฒนาการจัดการศึกษาปี พ.ศ. 2565 และดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 และจัดการศึกษาโดยยึดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาฉบับปรับปรุง ปี 2564 ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 4 สาระ จัดหน่วยประสบการณ์ จำนวน 40 หน่วยต่อปีการศึกษา เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1.1 มีการพัฒนาด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้โดย สอดคล้องกับโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย เด็กมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน กรมอนามัย จากการชั่ง
17 น้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุกเดือน มีกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง มีอาหารกลางวัน มีอาหารเสริมดื่ม นม ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี มือและตาประสาน สัมพันธ์กัน เด็กมีสุขนิสัยที่ดี จากการทำกิจกรรมการแปรงฟันตอนเช้า และหลังรับประทานอาหาร การล้างมือก่อน รับประทานอาหาร การตรวจสุขภาพประจำสัปดาห์ การตรวจสุขภาพดูแลนักเรียนจากโรงพยาบาลส่งเสริมคุณภาพ ส่งผลให้เด็กรักษาสุขภาพตนเองและปฏิบัติจนเป็นนิสัยที่ดีเด็กดูแลความปลอดภัยของตนเองได้จากการที่เด็ก ปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน เกี่ยวกับความปลอดภัย ทำให้ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียน รู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคติดต่อ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด รู้จักระวังภัยจากบุคคล แปลกหน้า มีกิจกรรมการซ้อมหนีไฟร่วมกับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างทักษะ การ เอาตัวรอด เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน 1.2 มีการพัฒนาด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุม และแสดงงอออกทางอารมณ์ได้ เด็กระดับชั้นอนุบาลโรงเรียนบ้านสุขสำราญ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ จากการจัดกิจกรรมนั่งสมาธิ ก่อนเรียนทุกวัน ไหว้ ทักทาย สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนกลางวัน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ กิจกรรมเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง ในการทำกิจกรรมทำให้เด็กร่าเริงแจ่มใสสมวัย กล้าแสดงออก รู้หน้าที่ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้สมวัย จากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเล่นตามมุมกิจกรรม กลางแจ้ง กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ เป็นต้น ส่งผลให้เด็กรู้จักควบคุม อารมณ์ ยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอยสิ่งต่างๆ มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก และมั่นใจในตนเอง ได้มีการ จัดทำโครงการส่งเสริมอารมณ์ดี มีความสุข สุขภาพจิตงดงามเพื่อเป็นการพัฒนาเด็กในด้านอารมณ์นอกเหนือจาก กิจกรรมพื้นฐานประจำวันที่มีอยู่ 1.3 มีการพัฒนาการด้านสังคม ช่วยแหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เด็กอนุบาลโรงเรียนบ้านสุขสำราญ สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ เช่น ช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย แปรงฟัน รับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ ร่วมกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมได้ มีวินัยใน ตนเอง มีความรับผิดชอบ รู้จักประหยัดพอเพียง มีการฝากเงินออมทรัพย์ทุกวัน ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและ ในห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยเหมาะสมกับวัย มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ ยิ้ม ไหว้ ทักทาย พูดจาไพเราะ สามารถเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ มีจิตอาสาทำความดี ยอมรับและเคารพความ แตกต่างระหว่างบุคคลได้ ไม่ใช้ความรุนแรงหรือทะเลาะวิวาทกัน 1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ เด็กอนุบาลโรงเรียนบ้านสุขสำราญ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา ประเมินผลจากการจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง มีทักษะการสังเกต รู้จักการคิดแก้ปัญหา กล้าแสดงออกซักถาม มีการค้นหาคำตอบ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สื่อสารได้สมวัย รู้จักการตั้งคำถาม การตอบคำถาม สามารถใช้ภาษาได้ เหมาะสมกับวัย พูดคุยในเรื่องเดียวกันได้อย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการได้ มีทักษะ การคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้ จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ กิจกรรมเสริมประสบการณ์
18 ผลการดำเนินการ เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ได้มีการ พัฒนาพร้อมทุกด้าน มีการจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน จุดเด่น เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพ และหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี จุดที่ควรพัฒนา การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจาก การอ่าน การเล่นกับผู้อื่นโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงจัดกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ ข้อมูล ประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ได้แก่ 1. ผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ในภาพรวมร้อยละ 100 2. ผลการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ในภาพรวมร้อยละ 100 3. ผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคม ในภาพรวมร้อยละ 100 4. ผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา ในภาพรวมร้อยละ 85.78 เอกสาร เชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง 1 บันทึกการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก 2. บันทึกประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ 3. บันทึกการประเมินพัฒนาการด้านสังคม 4. บันทึกการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา 5. รายงานผลการดำเนินกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์ 6. บันทึกการตรวจสุขภาพเด็กมีสุขภาพดี
19 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีจุดเน้นครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับระสบ การณ์ตรง เล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้และใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ระดับคุณภาพ ดีเลิศ ประเด็นการพิจารณา เป้าหมาย ผลการประเมิน สรุปผล การประเมิน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ 2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น 4 4 ดีเลิศ 2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน 4 5 ยอดเยี่ยม 2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัด ประสบการณ์ 4 5 ยอดเยี่ยม 2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่าง ปลอดภัย และเพียงพอ 4 4 ดีเลิศ 2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ 4 4 ดีเลิศ 2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายมีส่วนร่วม 4 4 ดีเลิศ วิธีดำเนินการ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ได้วางแผนการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 ดังนี้ 2.1 โรงเรียนบ้านสุขสำราญ มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เป็นหลักสูตรที่ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกิจกรรม เคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเล่นตามมุม กิจกรรม กลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและคำนึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีแผนการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการ
20 การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนให้ครูได้ร่วมกันระดมความคิดในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่าง ต่อเนื่องทุกปี 2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน สถานศึกษาได้จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการจัด ประสบการณ์โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัย จำนวน 2 คน ซึ่งมีความเพียงพอห้องเรียน 2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ สถานศึกษาได้พัฒนาครูและบุคลากรให้มี ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์ การประเมินพัฒนาการเด็ก ใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรม มีการสังเกต และประเมิน พัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล โดยการเข้ารับการอบรม นอกจากนี้สถานศึกษายังได้จัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาบุคลากร เช่น โครงการนิเทศภายในส่งครูเข้าอบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงานในหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่จัดขึ้น มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและ ครอบครัวด้วยโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อทราบข้อมูล เกี่ยวกับนักเรียนจากผู้ปกครอง จัดโครงการนิเทศภายใน โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลการจัด ประสบการณ์ของครู โดยผู้บริหาร และคณะกรรมการ และนำผลการประเมินมาแก้ไข ปรับปรุงการจัดกิจกรรม ด้วย การ ประชุม การทำ PLC ระหว่างเพื่อนครูเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ของครู ประเมินพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้านและนำผลการประเมินมาพัฒนา เด็กด้วยการทำวิจัยในชั้นเรียนทุกคนเพื่อพัฒนาเด็ก โดยได้ทำวิจัยเรื่อง การ พัฒนาการรู้ค่าตัวเลขของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และเพียงพอ โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียน มีความร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการจัด ประสบการณ์ จัดการเรียนรู้ครูใช้สื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตร มีการจัดมุมประสบการณ์ ที่หลากหลายภายในห้องเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก 2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ โรงเรียนจัดให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน จัดให้มีคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ส่งเสริมการจัดทำสื่อการสอนของครู 2..6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) จัดกิจกรรมภาคี 4 ฝ่าย มีการประชุมครูและผู้ปกครอง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมกันจัดทำหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี สรุปโครงการและกิจกรรมตามแผนแล้ว จัดทำรายงานสถานศึกษา (SAR) อย่างต่อเนื่อง
21 ผลการดำเนินการ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ จุดเด่น โรงเรียนบ้านสุขสำราญ มีการจัดครูที่เพียงพอต่อชั้นเรียน มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง จุดที่ควรพัฒนา - ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีจุดเน้น ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้และใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ระดับคุณภาพ ดีเลิศ ประเด็นการพิจารณา เป้าหมาย ผลการประเมิน สรุปผล การประเมิน มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาการทุก ด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ 4 4 ดีเลิศ 3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและ ปฏิบัติอย่างมีความสุข 4 4 ดีเลิศ 3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับวัย 4 4 ดีเลิศ 3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผล ประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และ พัฒนาเด็ก 4 4 ดีเลิศ
22 วิธีดำเนินการ ครูมีการวางแผนการจัดประสบการณ์โดยยึดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560เป็นแนวทาง ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา 2565 และจัดทำแผนการจัดประสบการณ์รายปีครบทุกหน่วยการ เรียนรู้ และทุกชั้นปีครูทุกคนมีการนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ได้จัดโครงการพัฒนาหลักสูตร ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็น รายบุคคลแบบบันทึกผลพัฒนาการเด็ก จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษาผ่านกินกรรมประจำวัน ทั้ง กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมเสิรม ประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี(มุมประสบการณ์) กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมการศึกษา ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว 3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข วิธีดำเนินการ ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ทำกิจกรรมอย่างอิสระ หลากหลายตามความต้องการ ตามความสนใจ ของเด็ก เด็กได้เรียนรู้ลงมือทำด้วยตนเอง มีการนำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนให้เด็กได้ทำกิจกรรม บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ทำให้เด็กได้มีความสุขกับการเรียน เช่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเล่น 3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย วิธีดำเนินการ ครูมีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ เน้นความสะอาด ปลอดภัย มีสื่อการเรียน การสอนที่เหมาะสมกับวัยและชั้นเรียน ส่งผลให้เด็กได้มีความสุขในการเรียนรู้ ครูใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัด ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเวลาและวัย มีคอมพิวเตอร์ช่วยสนับสนุนในการจัดการกิจกรรม ครูจัดทำสื่อและใช้สื่อ การสอนประกอบการทำกิจกรรมได้เหมาะสมกับวัยและชั้นเรียน 3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัด ประสบการณ์และพัฒนาเด็ก วิธีดำเนินการ ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงและนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาเด็ก มีการจัดทำงานธุรการในชั้นเรียนอย่างเป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง จัดทำรายงานประเมินผลพัฒนาผู้เรียน และนำเสนอ ผู้ปกครองเพื่อร่วมกันส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเด็กเป็นรายบุคคล ครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องนำผลการประเมิน พัฒนาการเด็กมาวิเคราะห์เพื่อใช้ปรับปรุงการจัดประสบการณ์และแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็ก
23 ผลการดำเนินการ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ โดยจัดประสบการณ์ให้ครอบคลุมพัฒนาการ และมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง จุดเด่น - เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย - เด็กเรียนรู้จากการเรียนปนเล่นและลงมือปฏิบัติจริง - มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ - ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย จุดที่ควรพัฒนา - จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย - พัฒนาเครื่องเล่นสนาม - จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน
24 ส่วนที่ 3 สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาถือเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่ สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อสรุปนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา ในปีต่อไป ดังนั้น ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมของจุดเด่น จุดควรพัฒนาของแต่ละมาตรฐานพร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้นและความ ต้องการช่วยเหลือ ดังนี้ สรุปผล จุดเด่น จุดควรพัฒนา ⧫ คุณภาพของเด็ก เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตาม เกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแล สุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ที่ พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มี อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตาม กิจกรรมประจำวันอย่างดี ⧫ กระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านสุขสำราญมีการจัดครูที่เพียงพอต่อชั้น เรียน มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง ⧫ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เด็กเรียนรู้จากการ เรียนปนเล่นและลงมือปฏิบัติจริง มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประเมินผลเด็ก ด้วยวิธีการหลากหลาย ⧫ คุณภาพของเด็ก การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจาก การอ่าน การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ การเล่น กับผู้อื่นโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง เพื่อพัฒนา ให้เด็กเป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงจัดกิจกรรม สนับสนุนให้เด็กมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ ⧫ กระบวนการบริหารและการจัดการ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัด ประสบการณ์ ⧫ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย - พัฒนาเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภค
25 แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้สูงขึ้น 1.มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาความคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย 2.ส่งเสริมให้ครูได้เข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต 1. จัดทำโครงการเพื่อยกระดับศักยภาพของเด็กปฐมวัย ความต้องการและการช่วยเหลือ -
26 ภาคผนวก แนบเอกสาร - ประกาศมาตรฐานสถานศึกษา - ประกาศค่าเป้าหมายสถานศึกษา - ภาพถ่าย การดำเนิน โครงการ กิจกรรม
27 ประกาศโรงเรียนบ้านสุขสำราญ เรื่อง การใช้มาตรฐานการศึกษาและการกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 --------------------------------------------- โดยที่มีประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 นโยบายการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนไทยและ การศึกษาไทยใน อนาคต ประกอบกับมีนโยบายปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพทั้งภายใน และภายนอกของ ทุกระดับ การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ต้อง ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยการ จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกัน คุณภาพภายนอก โรงเรียนบ้านสุขสำราญ จึงประกาศการกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย เพื่อสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561 และการ ประเมินคุณภาพภายใน สำหรับปีการศึกษา 2565 ดังรายละเอียดแนบท้าย ประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ( นายอนุสรณ์ คงเจริญเมือง) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสุขสำราญ
28 การให้ความเห็นชอบ ประกาศมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสุขสำราญ ประจำปีการศึกษา ๒๕65 ในการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2./๒๕๖5 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาปีการศึกษา ๒๕๖6 ของโรงเรียนบ้านสุขสำราญ เห็นชอบให้ ดำเนินการตามประกาศได้ นายสมหวัง สันประเสริฐ์ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสุขสำราญ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
29 การกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ เรื่อง กำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย .................................................................................................. มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ค่าเป้าหมายมาตรฐาน/ ประเด็นการพิจารณา มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก ดีเลิศ ๑.๑ มีการพัฒนาด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของ ตนเองได้ ดีเลิศ ๑.๒ มีการพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม แลและแสดงงอออกทางอารมณ์ได้ ดีเลิศ ๑.๓ มีการพัฒนาการด้านสังคม ช่วยแหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดีเลิศ ๑.๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ดีเลิศ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและจัดการ ดีเลิศ ๒.๑ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทขอองท้องถิ่น ดีเลิศ ๒.๒ จัดครุให้เพียงพอกับชั้นเรียน ดีเลิศ ๒.๓ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ดีเลิศ ๒.๔ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ ดีเลิศ ๒.๕ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ ดีเลิศ ๒.๖ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ดีเลิศ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ดีเลิศ ๓.๑ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ดีเลิศ ๓.๒ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ดีเลิศ ๓.๓ จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ดีเลิศ ๓.๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงแลละนำผลประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุง การจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ดีเลิศ สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ดีเลิศ
30 การกำหนดค่าเป้าหมาย ๑. ศึกษาข้อมูลเดิม ผลการประเมินต่าง ๆ ที่ผ่านมา เพื่อเป็นข้อมูลฐานในการกำหนดค่าเป้าหมาย ๒. การกำหนดค่าเป้าหมาย แต่ละมาตรฐาน ควรกำหนดเป็น ระดับคุณภาพ ๕ ระดับ เพื่อให้สอดคล้องกับ การประเมิน ดังนี้ ระดับ ๙๐.๐๐ ขึ้นไป ระดับยอดเยี่ยม ระดับ ๘๐.๐๐ – ๘๙.๙๙ ระดับดีเลิศ ระดับ ๗๐.๐๐ – ๗๙.๙๙ ระดับดี ระดับ ๖๐.๐๐ – ๖๙.๙๙ ระดับปานกลาง ระดับ ๖๐.๐๐ ขึ้นไป ระดับกำลังพัฒนา ๓. การกำหนดค่าเป้าหมาย ในแต่ละประเด็นพิจารณา จะกำหนดเป็นระดับคุณภาพ หรือเป็นร้อยละ ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
31 โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กิจกรรมพัฒนาสมรรถภาพทางกาย
32 โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กิจกรรมวันส าคัญ
33 โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กิจกรรมหนูน้อยรักดนตรี
34 โครงการทศันศกึษาแหล่งเรียนรู้
35 โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กิจกรรมหนูน้อยคนเก่ง
36 กิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐาน กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลง ครูเคาะจังหวะช้าให้เด็กๆ เคลื่อนไหวตามจังหวะช้า ครูเคาะจังหวะเร็วให้เด็กๆ เคลื่อนไหวตามจังหวะเร็ว เมื่อได้ยินสัญญาณเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กหยุดเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที ครูเปิดเพลง บรรเลงที่มี ท่วงทำนองช้า - เร็ว โดยเด็กแต่ละ คนคิดท่าท่างการ เคลื่อนไหว เด็กผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ โดยการ นั่งเหยียดขา/นอนใน ท่าสบาย ภาพประกอบ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
37 เด็กเลือกใบไม้คนละ 1 ใบ เด็กจับคู่ใบไม้ของตนเองกับใบไม้ของเพื่อน บอกรายละเอียดของใบไม้ที่พบ เด็กเลือกอุปกรณ์เพื่อช่วยนำสีออกจากใบไม้ แล้วนำใบไม้วางบนกระดาษ เด็กเลือกวิธีนำสีออกจากใบไม้และลงมือปฏิบัติ สังเกตสีและสิ่งที่เกิดขึ้นกับใบไม้ เด็ก ๆ เก็บของเข้าที่และทำความสะอาดบริเวณที่ทำกิจกรรม ภาพประกอบ กิจกรรมเสริมประสบการณ์
38 ครูนำภาพไดโนเสาร์ขนย้ายไข่ให้เด็กสังเกต และถามคำถาม ร่วมกันออกแบบในการขนย้ายไข่ไดโนเสาร์ ร่วมกันสร้างอุปกรณ์ในการขนย้ายไข่ได้โนเสาร์ และ นำเสนอผลงานกลุ่มของตนเอง ภาพประกอบ กิจกรรมเสริมประสบการณ์
39 เด็กสำรวจอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน เด็กตัดภาพเส้นโค้งใบไม้ ตามเส้นขอบรูปภาพใบไม้คนละ 1 ใบ เด็กร่วมกันวางแผนสร้างผลงานศิลปะของกลุ่มและร่วมกันสร้างผลงานศิลปะร่วมกัน เด็กเก็บวัสดุอุปกรณ์ เข้าที่ ให้เรียบร้อย เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง โดยบอกชื่อผลงาน ครูรวบรวมผลงานของเด็กไปจัดแสดงตามความเหมาะสม ภาพประกอบ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
40 ภาพประกอบกิจกรรม กิจกรรมการเล่นตามมุม เด็กเลือกหนังสือนิทานที่ชอบ คนละ 1 เล่ม และให้เด็กเล่านิทานพร้อมเปิดหนังสือนิทานทีละหน้าให้เพื่อนฟังตั้งแต่ต้นจนจบทีละ คน เมื่อเด็กเล่านิทานให้เพื่อนฟังครบทุกคนแล้ว ให้เลือกเล่นมุมประสบการณ์อื่นที่สนใจร่วมกับเพื่อน
41 ยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายโดยการยืน ทรงตัว เขย่งปลายเท้า ยกแขนสองข้างแนบใบหู ประสานมือไว้เหนือศีรษะ ยืดลำตัวให้สูง ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ กางแขนออกไปข้าง ลำตัว แตะสลับกันข้างละ 5 ครั้ง ยืนทรงตัวขาเดียว สลับเท้าซ้ายขวา ข้างละ 5 วินาที กระโดดเท้าคู่อยู่กับที่ 5 ครั้ง วิ่งอยู่กับที่ ช้า -เร็ว ตามลำดับประมาณ 10 วินาที ภาพประกอบ กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง (การเตรียมความพร้อมเด็ก)
42 เดินต่อเท้าถอยหลังตามแนวเส้นตรง 3 เมตร กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง ระยะทาง 3 เมตร รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้น วิ่งซิกแซกอ้อมสิ่งกีดขวาง จำนวน 6 หลัก ระยะห่างหลักละ 80 เซนติเมตร ภาพประกอบ กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง
43 เด็ก ๆ สังเกตภาพรูปเรขาคณิตที่มีรูปร่าง สี และขนาด เหมือนกันและต่างกัน เด็ก ๆ จัดหมวดหมู่ภาพรูปเรขาคณิตตามเกณฑ์ของตนเอง ภาพประกอบ กิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจัดหมวดหมู่ภาพรูปเรขาคณิต)
44 ภาพประกอบกิจกรรม กิจกรรมเกมการศึกษา (เกมเรียงลำดับขนาดโทรทัศน์) ) เด็กสังเกตรายละเอียดของภาพในแผ่นเกมทุกแผ่น เด็กเลือกภาพมาวาง เรียงตามลำดับขนาดโทรทัศน์