The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ถอดบทเรียน ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pop Sataporn, 2020-02-21 04:06:44

ถอดบทเรียน ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน

ถอดบทเรียน ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน

ถอดบทเรย� น

ถอดบทเรยี น ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งาน (Wellness Center)

ที่ปรึกษา นายแพทย์สวุ รรณชัย วัฒนายงิ่ เจรญิ ชยั
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวฒุ ิ
คณะบรรณาธกิ าร แพทยห์ ญิงสพุ ัตรา ศรวี าณชิ ชากร
ดร.สมพร เนตริ ฐั กร
นางนวลฉวี เนตรแสงทพิ ย์
นางสาวทยภร วงศศ์ รวี ิจติ ร
นางสาวพิชญาภคั ภคู ำ� อ้าย
พมิ พค์ รั้งที่ 1 2562
จ�ำนวน 500 เลม่
รวบรวมและเผยแพรโ่ ดย ส�ำนกั บริหารยุทธศาสตรส์ ุขภาพดวี ิถีชีวิตไทย
ส�ำนกั งานปลดั กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ�ำเภอเมอื งนนทบรุ ี
จงั หวดั นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 590 1238 โทรสาร : 02 590 1239
Website : http://thaip.ops.moph.go.th
พิมพท์ ่ี บริษัท เดอะ กราฟิโก ซสิ เตม็ ส์ จำ� กัด
119/138 หมู่ 11 เดอะเทอรเ์ รส ซอยติวานนท์ 3
ถนนติวานนท์ ตำ� บลตลาดขวัญ
อำ� เภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
ผสู้ นบั สนนุ งบประมาณ ส�ำนกั งานกองทุนสนับสนนุ การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ

ในการจัดท�ำ (สสส.)

2 ถอดบทเรียน ศูนย์สขุ ภาพดีวยั ทำ�งาน (Wellness Center) 4
6
เรือ่ ง 7
16
ค�ำนยิ ม 20
ค�ำนำ� 21
มมุ มองการพฒั นาศนู ย์สุขภาพดีวัยทำ� งาน 27
สรุปผลการประเมินการดำ� เนนิ งานศนู ยส์ ุขภาพดวี ัยท�ำงาน 31
พน้ื ท่กี ารดำ� เนินงาน 35
■ สถาบันบำ� ราศนราดูร 41
■ สถาบันราชประชาสมาสยั 49
■ โรงพยาบาลอุตรดติ ถ ์ 53
■ โรงพยาบาลพทุ ธชินราชพษิ ณโุ ลก 61
■ โรงพยาบาลหนองคาย 62
■ โรงพยาบาลพุทธโสธร 73
■ โรงพยาบาลสมทุ รสาคร 77
■ โรงพยาบาลบางปะกง 83
■ โรงพยาบาลพนมสารคาม 89
■ โรงพยาบาลบางเลน 93
■ โรงพยาบาลทัพทนั 101
■ โรงพยาบาลนภาลัย
■ โรงพยาบาลกาญจนดษิ ฐ ์ 102
■ โรงพยาบาลชัยบุร ี 104
น�ำเสนอ “ตกผลกึ บทเรยี น” และแนวทางการปรบั ปรุงการด�ำเนนิ งาน 106
ศูนย์สุขภาพดวี ยั ทำ� งาน 109
■ กลุ่มท่ี 1 : ผจู้ ัดการศูนยส์ ุขภาพดวี ยั ทำ� งาน 113
■ กลุ่มท่ี 2 : ผู้จัดการศูนย์สุขภาพดวี ัยท�ำงาน (รพ.ชุมชน) 115
■ กลมุ่ ที่ 3 : เทคนคิ บริการ A 117
■ กลมุ่ ท่ี 4 : เทคนิคบริการ B
■ กลมุ่ ที่ 5 : เทคนคิ บรกิ าร C
สรุป
ภาคผนวก



4 ถอดบทเรยี น ศนู ย์สขุ ภาพดวี ยั ท�ำ งาน (Wellness Center)

ค�ำ นิยม

ศนู ย์สขุ ภาพดีวัยทำ� งาน (Wellness Center) คือ การท�ำงานในรูปแบบบรกิ าร
ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อย่างผสมผสานในทุกด้าน เพื่อให้เป็นจุดบริการส�ำหรับ
ประชาชนวัยทำ� งานทีย่ งั ไมไ่ ด้ป่วยใหม้ สี ุขภาพแข็งแรง และใหบ้ ริการกลุ่มเสี่ยง เพือ่ การลด
ความเสี่ยง ป้องกันการเกิดโรค โดยการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ อาทิ
ใหค้ ำ� ปรกึ ษา ตดิ ตาม ประเมนิ ผลความกา้ วหนา้ ทงั้ ดา้ นสมรรถนะรา่ งกาย ภาวะความเสยี่ ง
และพฤติกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ เพ่ือส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพดี
มคี ณุ ภาพชวี ิตท่ีดีตามวัย
แนวทางการด�ำเนินงานและบริหารจัดการของศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน เน้น
ลกั ษณะทเี่ ปน็ องคร์ วม (Holistic) จงู ใจใหป้ ระชาชนอยากมาใชบ้ รกิ าร มชี ว่ งเวลาใหบ้ รกิ าร
ท่ีสะดวกทั้งในและนอกเวลาราชการ มีท้ังท่ีมีลักษณะจัดบริการในสถานพยาบาล และ
นอกสถานบรกิ าร (สถานทีท่ �ำงาน สถานศกึ ษา ชมุ ชนฯ) จัดใหม้ กี ารสอน สาธติ ฝึกหดั
โดยเนน้ ใหม้ กี ารเขา้ ถงึ ไดง้ า่ ย มชี ดุ กจิ กรรมการใหบ้ รกิ าร มกี ารบรู ณาการงานและทรพั ยากร
กบั หนว่ ยงานทใี่ หบ้ รกิ ารดา้ นสง่ เสรมิ สขุ ภาพรว่ มกนั เกดิ ผลลพั ธเ์ ชงิ ประจกั ษ์ คอื ประชาชน
และเจ้าหน้าที่มีสถานบรกิ ารส่งเสรมิ สขุ ภาพที่จบั ต้องได ้ มีสขุ ภาพดี และกลมุ่ เส่ียงสามารถ
ลดปัจจัยเส่ยี งลงได้
ประสบการณ์การทำ� งานของจรงิ 14 โรงพยาบาล (นำ� ร่อง) ใน 11 จังหวดั จาก
ทีมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นท่ี ที่ต่างต้ังใจถ่ายทอดเรื่องราวการท�ำงานของ
ตวั จรงิ เสยี งจรงิ ใหท้ กุ ทา่ นไดร้ บั รู้ จงึ ขอเชญิ ชวนผสู้ นใจรกั ษส์ ขุ ภาพรว่ มเรยี นรไู้ ปกบั บทเรยี น
ท่สี กดั ออกมาไปดว้ ยกนั นะครบั

นายแพทยย์ งยศ ธรรมวุฒิ
ท่ปี รกึ ษาระดบั กระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน)



6 ถอดบทเรียน ศนู ย์สุขภาพดีวยั ทำ�งาน (Wellness Center)

คำ�นำ�

บทเรียนการด�ำเนินงานศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน ที่ถอดจากแนวคิด หลักการ
ลงสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งหวังให้สถานพยาบาลสร้างพื้นที่บริการให้ค�ำปรึกษาการสร้างเสริม
สุขภาพแบบมืออาชีพ อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเสริมต่อยอดจากทุนประสบการณ์ของ
หน่วยบริการที่มีอยู่เดิม ท่ีมีความแตกต่างกันในแต่ละพ้ืนที่ เอกสารนี้ได้จากการประชุม
สรุปบทเรยี นการท�ำงานของโรงพยาบาลนำ� ร่องในปแี รก (2561) ท่สี กดั จากประสบการณ์
การท�ำงานจริงในพื้นที่ของบุคลากรส่วนต่างๆ ซ่ึงด�ำเนินการด้วยความต้ังใจ มีการริเร่ิม
พฒั นา ปรับปรุง ประยุกตก์ ารทำ� งานให้เหมาะกบั สภาพการท�ำงานทีเ่ ป็นทนุ เดมิ เรม่ิ ต้น
ขบั เคล่ือน พฒั นาวธิ กี ารสรา้ งเสริมสขุ ภาพ ลดความเสีย่ งของการเป็นโรคไมต่ ดิ ต่ออยา่ งมี
เปา้ หมายชัดเจน พรอ้ มกับติดตามผลอยา่ งต่อเน่ือง
ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งาน มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ สง่ เสรมิ สนบั สนนุ ใหป้ ระชาชนสามารถ
ดแู ลตนเองใหม้ สี ขุ ภาพดี ไดอ้ ยา่ งพอดลี งตวั แบบเหมาะกบั รายบคุ คลแตล่ ะคน มใิ ชล่ กั ษณะ
แบบทั่วไปที่ท�ำแบบเหมาโหลเหมือนกันหมดทุกคน เพราะวิถีชีวิตและปัจจัยที่กระทบต่อ
สุขภาพของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ การจัดตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน
เพื่อเป็นที่ต้ังของโครงสร้างการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพแบบประจ�ำที่มีคุณภาพ
แบบมืออาชีพ มิใช่เปน็ ลกั ษณะงานที่ทำ� เป็นครง้ั คราว มีการออกแบบวางแผนการท�ำงาน
ให้เหมาะกับบุคคล และกลุ่มคน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของการส่งเสริมสุขภาพ
และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างครอบคลุม
ทว่ั ถงึ สรา้ งคณุ คา่ ความสนใจตอ่ การดแู ลสขุ ภาพตนเอง มกี ารออกรปู แบบบรกิ าร ชดุ บรกิ าร
สง่ เสริมสุขภาพทมี่ ปี ระสิทธผิ ลและประสทิ ธิภาพเพิม่ มากขนึ้ ทั้งนี้ ในการส่งเสริมสุขภาพ
และป้องกันโรค สร้างสุขภาวะ ไม่ได้เป็นหน้าท่ีของคนใดคนหนึ่งแต่ต้องอาศัยการถักทอ
จากภาคีเครอื ข่ายหลายภาคส่วน
หวงั เป็นอย่างย่งิ ว่า หนังสือเลม่ นจ้ี ะเป็นตัวอยา่ งเร่ิมต้นของการจดั รปู แบบรกิ าร
และการบรหิ ารจดั การเพอื่ จดั ตงั้ ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งานใหแ้ กห่ นว่ ยงาน และหวงั วา่ จะเปน็
ประโยชนต์ อ่ บุคลากรสาธารณสขุ และประชาชนทม่ี ีความสนใจ

พญ.สพุ ัตรา ศรีวาณิชชากร
นายแพทยท์ รงคณุ วุฒิ (ด้านโรคไม่ตดิ ต่อ) กรมควบคุมโรค

ถอดบทเรียน ศนู ยส์ ุขภาพดีวัยท�ำ งาน (Wellness Center) 7

ดร.สมพร เนตริ ฐั กร มมุ มองการพัฒนาศนู ยส์ ขุ ภาพดีวัยทำ�งาน

การจดั ใหม้ ศี นู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งาน จะทำ� ใหม้ หี นว่ ย
ใหบ้ รกิ ารสง่ เสรมิ สขุ ภาพทเ่ี ปน็ รปู ธรรม มคี วามชดั เจนในบรกิ าร
มผี รู้ บั ผดิ ชอบโดยตรง และอาจเปน็ ผทู้ มี่ คี วามชำ� นาญโดยเฉพาะ
ซง่ึ ในการลงทนุ ดา้ นสง่ เสรมิ สขุ ภาพนน้ั จะทำ� ใหเ้ กดิ การประหยดั
ค่าใช้จ่าย ทั้งน้ี ในการด�ำเนินการศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน
ไม่ได้เริ่มต้นจากการไม่มีอะไรเลย โรงพยาบาลได้มีคลินิก/
หน่วยในการดูแลส่งเสริมสุขภาพต่างๆ อยู่แล้ว แต่มักเป็น
คลนิ กิ /หนว่ ยบรกิ ารเฉพาะเรอ่ื งนนั้ ๆ อาทิ คลนิ กิ DPAC คลนิ กิ
โรคจากการประกอบอาชพี คลินกิ ตรวจสุขภาพฯ ซง่ึ แต่ละ
คลินิกจะมุ่งเน้นเฉพาะงานหรือหน้าที่รับผิดชอบ ไม่มีการ
บรู ณาการงานดว้ ยกนั และมกั เนน้ ในกลมุ่ ปว่ ยหรอื กลมุ่ เสยี่ ง
ศนู ยส์ ขุ ภาพดเี ปน็ การจดั คลนิ กิ /หนว่ ยบรกิ ารทางดา้ นสง่ เสรมิ
สุขภาพให้มาท�ำงานร่วมกัน เกิดการบูรณาการ มีรูปแบบ
และการด�ำเนินการที่ชัดเจน เป็นระบบ ต่อเนื่อง โดยเน้น
ประชากรวัยท�ำงานที่มีสุขภาพดีหรือกลุ่มเสี่ยง ซ่ึงการ
ส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งส�ำคัญและจ�ำเป็นท่ีรัฐควรมีให้กับ
ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกชนช้ัน แต่ก็ยังไม่มีศูนย์
สร้างเสริมสุขภาพดีท่ีคอยให้บริการท่ีเป็นรูปธรรม เป็นท่ี
คัดกรอง ประเมิน ให้ค�ำแนะน�ำ ตลอดจนปฏิบัติการให้
สุขภาพดี มีความเข้มแข็ง ท้ังน้ี การพัฒนาการด�ำเนินงาน
ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งานนนั้ สอดคลอ้ งกบั พ.ร.บ.ระบบสขุ ภาพ
ปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 มาตร 34 (6) ที่ระบุให้ส�ำนักงาน
ปลดั กระทรวงสาธารณสขุ มอี ำ� นาจหนา้ ทสี่ ง่ เสรมิ ใหป้ ระชาชน
มีศักยภาพและความรู้ในการจัดการสุขภาพตนเองและ
ครอบครวั

8 ถอดบทเรียน ศูนยส์ ขุ ภาพดวี ัยท�ำ งาน (Wellness Center)

กระทรวงสาธารณสขุ ไดม้ งุ่ เนน้ การสง่ เสรมิ สขุ ภาพและปอ้ งกนั โรคใหก้ บั ประชาชน
ซึ่งได้ให้หน่วยงานสาธารณสุขแต่ละแห่งด�ำเนินการปรับเปล่ียนพฤติกรรมประชาชน
ทง้ั ในเรอ่ื งการรบั ประทานอาหารทเี่ หมาะสม การออกกำ� ลงั กาย การจดั การกบั ความเครยี ด
และการควบคมุ ปจั จยั เสยี่ ง ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งานจะเปน็ หนว่ ยบรกิ ารทง้ั เชงิ รบั และเชงิ รกุ
ในการดูแล ฝึกปฏิบัติด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้
(สามารถวดั ผลได้) ดว้ ยบคุ ลากรสาธารณสขุ ท่ีมคี วามชำ� นาญเฉพาะดา้ น หรือผู้ที่ไดร้ ับการ
อบรมมาเฉพาะในเร่ืองน้ันๆ การมีศูนย์สุขภาพดี จะเป็นสถานท่ีท�ำงานที่ท�ำให้เจ้าหน้าที่
สาธารณสขุ เกดิ ความภมู ใิ จกบั การทำ� งานสง่ เสรมิ สขุ ภาพทเ่ี กดิ ผลเปน็ รปู ธรรม อยา่ งมอื อาชพี
จากการพฒั นาและดำ� เนนิ การของศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งานมา 1 ปเี ศษ ขอนำ� เสนอ
ถึงรูปแบบการด�ำเนินการศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน ที่ได้จากรายงาน และการติดตาม
เยีย่ มเสริมพลัง ทีท่ �ำใหบ้ งั เกดิ ผล เปน็ รปู ธรรม ดงั น้ี
บคุ ลากร ประกอบด้วย
1. ผูจ้ ัดการศนู ย์ 1 ท่าน ซง่ึ มคี วามจำ� เปน็ ต้องมี โดยผู้จัดการศูนย์ควรเปน็ ผทู้ ่ีมี
ศกั ยภาพในการประสานและบูรณาการงานกับกล่มุ งานต่างๆ ทเ่ี กี่ยวขอ้ ง ทั้งน้ี ขึ้นอยกู่ ับ
ดุลพินิจของผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลวา่ จะมอบหมายใคร และกลมุ่ งานใดรับผิดชอบ
2. ผูด้ ำ� เนินการ ประกอบด้วย เจา้ หน้าท่ีจากหนว่ ยงานตา่ งๆ ท่เี กี่ยวข้อง อาทิ
พยาบาล/นกั ปรบั เปลยี่ นพฤตกิ รรม นกั โภชนาการ นกั กายภาพบำ� บดั /นกั เวชศาสตรก์ ารกฬี า
นกั วชิ าการสาธารณสขุ ทนั ตแพทย/์ ทนั ตาภบิ าล หรอื อนื่ ๆ ซงึ่ ขนึ้ อยกู่ บั บรกิ ารทด่ี ำ� เนนิ การ
และความพรอ้ มของโรงพยาบาล ทง้ั นี้ อาจหมนุ เวยี นเจา้ หน้าทด่ี งั กล่าวมาอยู่ประจ�ำศูนย์
หรอื สง่ ตอ่ ผรู้ บั บรกิ ารไปยงั หนว่ ยของผใู้ หบ้ รกิ ารนนั้ ๆ หรอื ไปทำ� งานรว่ มกนั ในการใหบ้ รกิ าร
เชงิ รกุ ในพนื้ ที่ โดยมกี ารบรู ณาการงานรว่ มกนั ตามสายงานทเ่ี กยี่ วขอ้ งใหต้ รงกบั ปญั หาหรอื
ความต้องการของผมู้ ารับบริการ
สถานท่ี ในการจัดตั้งศูนย์อาจจัดไว้ท่ีใดที่หน่ึงของโรงพยาบาล หรือแยกเป็น
ศนู ยโ์ ดยเฉพาะกไ็ ด้ เพอื่ เปน็ พน้ื ทขี่ องการใหบ้ รกิ าร ซงึ่ ขน้ึ อยกู่ บั ความพรอ้ มของโรงพยาบาล
แต่ท้งั น้ีใหค้ ำ� นึงถึงความสะดวกของผูร้ บั บรกิ าร ภาพลกั ษณท์ ดี่ ที ี่ชวนใหม้ ารับบรกิ าร หาก
เปน็ ไปได้ควรแยกศูนยด์ ังกล่าวออกจากพืน้ ทก่ี ารใหบ้ รกิ ารผ้ปู ว่ ยของโรงพยาบาล
เคร่ืองมือ อุปกรณ์ ควรจัดให้มีตามศักยภาพและความพร้อมของโรงพยาบาล
เช่น แบบคดั กรองความเส่ยี งตา่ งๆ เครอ่ื งช่งั น�ำ้ หนัก วดั สว่ นสูง สายวดั รอบเอว เคร่อื ง
วัดความดนั โลหิต เคร่ืองวดั สมรรถภาพรา่ งกาย ทั้งน้ี หากโรงพยาบาลใดที่มคี วามพรอ้ ม

ถอดบทเรยี น ศูนย์สุขภาพดวี ยั ทำ�งาน (Wellness Center) 9

ในการจดั หาเครอ่ื งออกก�ำลังกาย หรอื เครอ่ื งตรวจมวลกล้ามเนื้อ ไขมัน จะจัดให้มีเครอื่ ง
ดงั กลา่ วกไ็ ด้ แตโ่ ดยเบอ้ื งตน้ ขอใหม้ อี ปุ กรณแ์ ละการแนะนำ� สาธติ /ฝกึ ปฏบิ ตั กิ ารออกกำ� ลงั กาย
ท่ีง่ายๆ ที่ผรู้ ับบริการสามารถจดั หาได้ง่าย ราคาไม่แพง อาทิ ยางยดื ขวดน้�ำ เปน็ ต้น
การใหบ้ ริการ
1. กลุ่มเปา้ หมาย
1.1 การใหบ้ รกิ ารทโ่ี รงพยาบาล (บริการเชิงรับ) กลมุ่ เปา้ หมาย ไดแ้ ก่ ผ้มู ี
สขุ ภาพดี กลมุ่ เส่ียง และกลมุ่ ปว่ ยโรคไม่ติดต่อเรอ้ื รงั หรือโรคอน่ื ๆ เช่น โรคทีเ่ กิดจากการ
ประกอบอาชีพตา่ งๆ Office Syndrome ฯ
1.2 การให้บริการนอกโรงพยาบาล (บริการเชิงรุก) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
คนงานในสถานประกอบการ ข้าราชการ ผู้มีสิทธิประกันตน ประชาชนฯ ซ่ึงเป็นผู้มี
สุขภาพดี หรอื เปน็ กลมุ่ เสีย่ ง
2. บรกิ ารทใี่ ห้ ไดแ้ ก่
2.1 การตรวจคดั กรอง วนิ จิ ฉัยความเส่ยี งด้านสขุ ภาพ และให้ค�ำแนะน�ำหรอื
สง่ ต่อผรู้ ับบรกิ ารไปยังหนว่ ยบริการต่างๆ ตามสภาพปัญหาหรือปจั จัยเสยี่ งต่างๆ
2.2 ใหค้ ำ� ปรึกษาดา้ นสุขภาพ
2.3 ปรบั เปลี่ยนพฤตกิ รรมสุขภาพ
2.4 ฝกึ ปฏิบตั ิการออกก�ำลงั กาย
2.5 ตรวจสมรรถภาพทางรา่ งกาย อาทิ แรงบบี มอื ความจปุ อด แรงเหยยี ดขา
ความอ่อนตวั สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสงู สดุ
2.6 ประเมินการติดและหรือใหบ้ รกิ ารเลิกบุหรี่
2.7 ประเมนิ การตดิ และหรอื ใหบ้ ริการเลกิ แอลกอฮอล์
2.8 ตรวจคัดกรองโรคจากการประกอบอาชพี
2.9 บริการให้วัคซีนสำ� หรับวัยทำ� งาน
2.10 ตรวจสุขภาพช่องปาก
2.11 ตรวจหาโรคมะเร็ง (มะเรง็ ปากมดลกู /เตา้ นม)
2.12 ใหบ้ ริการตามชดุ บรกิ าร เชน่ การลดความอว้ น การแกป้ ญั หา Office
Syndrome ฯ
3. ชุดการให้บริการ (Package) มีความจำ� เป็นทที่ ุกศนู ย์ฯ ควรมี และควรพฒั นา
ใหเ้ หมาะกบั ผมู้ ารบั บรกิ ารในพน้ื ทน่ี น้ั ๆ เพราะการมชี ดุ บรกิ ารจะทำ� ใหล้ กู คา้ หรอื ผรู้ บั บรกิ าร

10 ถอดบทเรียน ศนู ยส์ ุขภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center)

สามารถพจิ ารณาเลอื กซอ้ื /ใชต้ ามปญั หาหรอื ความตอ้ งการได้ อกี ทง้ั ผใู้ หบ้ รกิ ารกม็ แี นวทาง
และการดำ� เนนิ ทชี่ ดั เจนตอ่ ผรู้ บั บรกิ าร ในการบรู ณาการงานกจ็ ะทำ� ใหผ้ ใู้ หบ้ รกิ ารรวู้ า่ ตนเอง
ตอ้ งใหบ้ ริการเมอื่ ไหร่ บรกิ ารอะไร
4. การบรู ณาการงานร่วมกนั กับหน่วยงานตา่ งๆ ที่เกย่ี วข้อง โดยจัดใหม้ รี ะบบ
การสง่ ตอ่ ผรู้ บั บรกิ ารใหก้ บั หนว่ ยงานทเี่ กย่ี วขอ้ งในการใหบ้ รกิ าร และเกดิ การใหบ้ รกิ ารแบบ
องค์รวม
5. การติดตาม ประเมินผลการปรบั เปล่ียนพฤติกรรมเป็นระยะๆ พรอ้ มดคู วาม
สำ� เรจ็ ท่เี กิดขน้ึ และเสริมพลังใหผ้ ู้รับบริการ
วิจารณ์
การพัฒนารูปแบบการด�ำเนินการศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน รูปแบบท่ีได้พัฒนานี้
ส่ิงส�ำคัญหลักๆ ได้แก่ การมีผู้จัดการศูนย์ มีการบูรณาการงานด้านส่งเสริมสุขภาพและ
ปอ้ งกนั โรคระหวา่ งกลมุ่ งานทเี่ กย่ี วขอ้ ง ใหม้ าทำ� งานรว่ มกนั เกดิ การดำ� เนนิ การแบบองคร์ วม
มีการจดั ทำ� และให้บริการตามชุดบริการ (Package) ซง่ึ จะท�ำใหเ้ กิดความชดั เจนในการให้
บริการในแต่ละครั้ง และในภาพรวม ผู้รับบริการสามารถพิจารณาว่าผลที่อยากจะท�ำให้
เกดิ ขนึ้ อะไร ตอ้ งทำ� อะไรบา้ ง เมอื่ ไหร่ และจะพบใครเมอ่ื มาตามนดั ในแตล่ ะครง้ั นอกจากนี้
สิ่งส�ำคัญอีกเรื่องคือ มีการประเมินและติดตามผลความก้าวหน้าจากการมารับบริการ
สามารถเหน็ การเปลี่ยนแปลง ในทางปฏบิ ัติ เจา้ หน้าท่ผี ้ใู หบ้ ริการก็สามารถปรับกิจกรรม
ได้ตามสภาพปัญหา และความก้าวหน้าในการให้บริการได้ แตกต่างจากการให้บริการ
ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบบเดิม ท่ไี ม่มีรูปแบบ วิธกี ารทีช่ ดั เจน และมกั จะไม่มีการ
ตดิ ตามประเมินผล ตา่ งคน/ตา่ งกล่มุ งานต่างทำ� แกไ้ ขปญั หาเป็นจดุ ๆ เฉพาะ ผูร้ ับบรกิ าร
ก็ได้รับบริการเฉพาะเรือ่ ง ทงั้ ทอ่ี าจมีอีกหลายเรอื่ งที่ผมู้ ารับบรกิ ารควรได้รบั แตไ่ มไ่ ดร้ บั
ในการจัดตั้งและด�ำเนินงานศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน เป็นการด�ำเนินการที่เน้น
การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เน้นการบริการกลุ่มคนปกติและกลุ่มเสี่ยง
โดยการบูรณาการงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เก่ียวข้องในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน
โรค พร้อมท้ังประสานงาน รว่ มกันทำ� งาน และสง่ ตอ่ ผู้รบั บรกิ ารให้หน่วยงานท่ีเก่ยี วข้อง
ซ่ึงหน่วยงานต่างๆ ก็จะมบี ทบาทหน้าทแ่ี ละศกั ยภาพทแ่ี ตกตา่ งกันไปตามสายงานวชิ าชพี
นนั้ ๆ อกี ทง้ั มีการเชือ่ มโยงในการท�ำหน้าทซี่ ง่ึ กันและกนั ท�ำให้ผมู้ ารับบรกิ ารได้รับบรกิ าร
แบบองค์รวม โดยผู้ที่มีศักยภาพหรือมีความช�ำนาญในเรื่องนั้นๆ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
อีกทั้งมีการจัดระบบในการส่งต่อ เชื่อมโยงให้เอ้ือต่อบริการที่ผู้มารับบริการควรได้รับ

ถอดบทเรยี น ศูนย์สขุ ภาพดีวยั ท�ำ งาน (Wellness Center) 11

นอกจากน้ี ในการให้บรกิ าร จดุ เร่ิมตน้ กจ็ ะมกี ารคดั กรองความเส่ียง หาสาเหตุของปญั หา
และน�ำมาปรับปรุงแก้ไข อีกทั้งมีการประเมินและติดตามผู้มารับบริการถึงความก้าวหน้า
ในการดำ� เนนิ การ ทำ� ใหเ้ กดิ การแกไ้ ขปญั หาตา่ งๆ ไดถ้ กู จดุ นบั เปน็ จดุ สำ� คญั ในการใหบ้ รกิ าร
ทั้งน้ี รูปแบบใหม่นี้ท�ำให้เกิดการท�ำงานเป็นทีมมากข้ึน นับเป็นรูปแบบที่มีความชัดเจน
ตอบโจทยค์ วามตอ้ งการรบั บรกิ าร มีทศิ ทางการให้บริการทชี่ ัดเจน อย่างเปน็ องคร์ วม
จดุ แขง็ ของการมีศนู ยส์ ุขภาพดีวัยท�ำงาน คอื
1. เป็นการบรู ณาการงานดา้ นสง่ เสริมสขุ ภาพและป้องกนั โรคระหวา่ งหน่วยงาน
ทเ่ี ก่ยี วขอ้ งต่างๆ เขา้ ด้วยกัน
2. มกี ารคดั กรองหรอื คน้ หาปญั หา แลว้ นำ� ปญั หาหรอื ความตอ้ งการนนั้ ๆ มาดแู ล
หรอื ใหบ้ รกิ าร โดยเนน้ ถงึ ปญั หาทม่ี ี แลว้ นำ� มาชว่ ยเหลอื ใหค้ ำ� แนะนำ� ปรบั เปลย่ี นพฤตกิ รรม
หรือฝึกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา หรือป้องกันปัญหาที่เกิด หรืออาจเกิดขึ้น อีกท้ังมีการ
ประเมินและติดตามความก้าวหน้าในการใหบ้ ริการเปน็ ระยะๆ
3. มีการเชื่อมโยงและส่งต่อผู้รับบริการให้ได้รับการบริการตามสายงานวิชาชีพ
ซง่ึ เปน็ ปญั หาหรอื ตามความตอ้ งการของผรู้ บั บรกิ าร เปน็ การแสดงถงึ ความใสใ่ จตอ่ การดแู ล
ผรู้ ับบริการของเจา้ หน้าที่ ทำ� ใหผ้ รู้ ับบรกิ ารเกิดการปฏบิ ัตทิ ถี่ กู ตอ้ ง เหมาะสมยง่ิ ขึ้น และ
เกดิ ผลลพั ธท์ างสขุ ภาพทดี่ ี ตลอดจนเปน็ การใหค้ วามมนั่ ใจในการดแู ลตนเอง วา่ ผรู้ บั บรกิ าร
ท�ำไดถ้ กู ตอ้ งเหมาะสม
ขอ้ ควรระวงั : ในการดำ� เนนิ การศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งาน หากผจู้ ดั การศนู ยส์ ขุ ภาพดี
วัยท�ำงาน ไม่มีศักยภาพในการบูรณาการงานต่างๆ ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ระหว่างหน่วยหรือกลุ่มงานต่างๆ ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกันแล้ว การมีศูนย์สุขภาพดีวัย
ท�ำงานกอ็ าจจะไมเ่ กิดผลทแี่ ตกต่างจากการไม่มศี นู ยด์ ังกลา่ ว หรอื การได้ผลลพั ธแ์ บบเดิมๆ
ผลการดำ� เนินงานศูนย์สุขภาพดวี ัยทำ� งาน ในการน�ำรปู แบบการบรหิ ารจัดการ
และด�ำเนนิ การศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงานไปใช้ พบว่า เกดิ ผลทีด่ ี อาทิ สามารถปรบั เปลยี่ น
พฤติกรรมสุขภาพได้ ลดน�้ำหนักลงได้ ทั้งน้ี รูปแบบดังกล่าวเป็นการจัดให้มีกิจกรรม
การตรวจคัดกรองหรือประเมินภาวะสุขภาพ ประเมินพฤติกรรม ให้ความรู้ ติดตามการ
ปฏิบัติตัวของผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีเน้ือหาสาระ การด�ำเนินการ การติดตาม
และประเมินผลท่ีชัดเจน เป็นรูปธรรม แตกต่างจากเดิมที่เคยท�ำ ซ่ึงเมื่อพิจารณาในทาง
ปฏิบัตนิ ั้น ถือว่ามคี วามเปน็ ไปไดใ้ นการด�ำเนนิ การของโรงพยาบาล โดยแต่ละโรงพยาบาล
ควรมีการด�ำเนินการดงั นี้

12 ถอดบทเรียน ศนู ยส์ ุขภาพดีวัยทำ�งาน (Wellness Center)

1. ก�ำหนดให้มีผูจ้ ดั การโครงการทชี่ ดั เจน มีการแบ่งหน้าทรี่ ับผดิ ชอบและส่งต่อ
ผรู้ บั บรกิ ารระหวา่ งหนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ งในโรงพยาบาลตามสายงานวชิ าชพี และตามสภาพ
ปญั หาหรอื ความตอ้ งการของผรู้ บั บรกิ าร ทง้ั นี้ อาจทำ� ในรปู ของคณะกรรมการศนู ยส์ ขุ ภาพดี
วยั ทำ� งาน โดยมผี อู้ ำ� นวยการโรงพยาบาล หรอื ผทู้ ผ่ี อู้ ำ� นวยการโรงพยาบาลมอบหมายใหเ้ ปน็
ประธาน และมีตวั แทนของหนว่ ยงานท่เี ก่ียวขอ้ งเปน็ คณะทำ� งาน มีผจู้ ดั การเปน็ เลขานุการ
2. มีการคดั กรองหรือประเมินภาวะสขุ ภาพ และพฤติกรรมของผรู้ บั บริการก่อน
การให้บริการในครั้งแรก เพ่ือทราบปัญหาและความต้องการ จะได้น�ำมาวางแผนการให้
บรกิ ารได้ตรงกับสภาพปญั หาหรอื ความตอ้ งการของผู้รบั บรกิ าร
3. ควรมกี ารเตรยี มเนอื้ หาสาระในการใหค้ ำ� แนะนำ� และการประเมนิ พฤตกิ รรม
พรอ้ มทง้ั มกี ารบนั ทกึ ประเดน็ สำ� คญั ทพี่ ดู คยุ โดยเฉพาะเรอื่ งทยี่ งั เปน็ ปญั หา เพอื่ การประเมนิ
ตดิ ตามถึงพฤตกิ รรมการดูแลตนเองของผู้รบั บรกิ ารอย่างต่อเน่อื ง สม�่ำเสมอ ทัง้ น้ี การให้
ความรู้ แนะวธิ กี ารปฏบิ ัติตนโดยเจา้ หน้าท่ี จะช่วยใหผ้ ู้รบั บริการได้รบั เนอ้ื หา และวธิ กี าร
ปฏิบัติตนได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ เป็นการส่ือสารท่ใี กล้ชดิ แบบ 2 ทาง สามารถสอบถาม
ได้ว่าผู้รับบริการเข้าใจหรือไม่ หรือหากผู้รับบริการไม่เข้าใจก็จะได้ซักถามได้ เกิดความ
สะดวก รวดเรว็ ชว่ ยในการตดิ ตามและประเมนิ สภาพผรู้ บั บรกิ ารและใหค้ วามรแู้ กผ่ รู้ บั บรกิ าร
ไดค้ รอบคลุมมากขึน้ ช่วยให้ผรู้ บั บริการปฏิบัตติ วั ได้เหมาะสม การติดตามผรู้ ับบรกิ ารเป็น
ระยะๆ เพอ่ื ทราบความกา้ วหนา้ ในการปฏบิ ตั ติ วั เปน็ การสง่ เสรมิ ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารมพี ฤตกิ รรม
สขุ ภาพทีถ่ ูกต้อง
4. ด�ำเนนิ การตดิ ตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพอื่ ทราบถงึ ความกา้ วหน้าใน
การปรับเปลยี่ นพฤติกรรม และการให้บริการต่างๆ พรอ้ มทัง้ ให้กำ� ลงั ใจแกผ่ ้รู ับบรกิ ารเป็น
ระยะๆ ตามสภาพและความกา้ วหน้าในการดำ� เนินการ
5. ในการด�ำเนินการควรมีการด�ำเนินการท้ังในเชิงรับ (ในโรงพยาบาล) และ
เชงิ รกุ (นอกโรงพยาบาล) อาทิ ในโรงงาน โรงเรียน หนว่ ยราชการ เปน็ ต้น
6. บคุ ลากรในการดำ� เนนิ การ อยา่ งนอ้ ยควรมผี จู้ ดั การโครงการ พยาบาลวชิ าชพี
นักกายภาพบ�ำบัด และมีการเชื่อมโยงกับหน่วยบริการต่างๆ ท่ีท�ำหน้าที่ทางด้านส่งเสริม
สุขภาพและป้องกันโรค ซ่ึงจะท�ำให้มีบุคลากรในการด�ำเนินงานเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหาก
โรงพยาบาลมผี ู้รบั บริการมาก หรอื มีศกั ยภาพในการจา้ งบุคลากร ก็อาจจะพิจารณาจัดให้
มีนักเวชศาสตรก์ ารกฬี า นักโภชนาการ หรอื อนื่ ๆ เพิ่มมากขนึ้

ถอดบทเรียน ศนู ย์สุขภาพดีวัยท�ำ งาน (Wellness Center) 13

กลา่ วโดยสรปุ การใหบ้ รกิ ารศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งาน
ได้มุ่งเน้นการดูแลตนเองของผู้รับบริการ ซ่ึงเป็นแนวคิด
และวิธีการที่ถูกต้องในการด�ำเนินการส่งเสริมสุขภาพและ
ปอ้ งกนั โรค เพอ่ื ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารมพี ฤตกิ รรมทถ่ี กู ตอ้ ง เหมาะสม
กระทรวงสาธารณสขุ ควรส่งเสรมิ และให้ความรู้ในการดแู ล
ตนเอง เพราะการมพี ฤตกิ รรมทเี่ สย่ี งหรอื ไมเ่ หมาะสม จะเปน็
ตัวการส�ำคัญในการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเร้ือรัง
การท�ำให้ผู้รับบริการมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ซึ่งจะท�ำให้
ประชาชนมีชีวิตที่ยืนยาว จะได้อยู่กับลูกหลานหรือคนใน
ครอบครัวไดน้ านขึน้

14 ถอดบทเรยี น ศูนยส์ ขุ ภาพดวี ยั ท�ำ งาน (Wellness Center)

ความเป็นมาและวตั ถปุ ระสงคก์ ารจดั ประชุม

ชแ้ี จงวตั ถปุ ระสงคก์ ารประชมุ โดย แพทยห์ ญงิ สพุ ตั รา ศรวี ณชิ ชากร
กล่าวถึง “จากการท�ำงานที่ผ่านมา 7 เดือน ซึ่งถือเป็นช่วงส�ำคัญและจาก
การไปดูในหลายพื้นท่ี พบว่าหลายพ้ืนท่ีท�ำได้ดี บางพื้นที่ยังมีอุปสรรคบ้าง
แต่แสดงให้เห็นว่ามีการจัดการปัญหาได้บางพ้ืนที่มีวิธีการพัฒนาต่อ โดยมี
Input สำ� คัญคอื พวกเราดว้ ยกนั เองเพราะเห็นวา่ พวกเราจดั การได้ด ี
การประชมุ รอบนจ้ี งึ ไมม่ วี ทิ ยากรขา้ งนอกมาใหค้ วามรู้ แตเ่ ปน็ การ
ใชข้ อ้ มลู จากพวกเรากนั เอง เปน็ การคยุ จากตวั เรา และยงั ทำ� ใหเ้ พอ่ื นรว่ มทมี
จากโรงพยาบาลเดยี วกันไดถ้ ือโอกาสเปน็ การสรปุ กันภายในและแลกเปลย่ี น
เรยี นรู้ดว้ ยกนั เอง สำ� หรบั งานน้ไี มใ่ ช่การเขยี นงานวจิ ยั แตเ่ ป็นแนวปฏบิ ัตทิ ่ี
เราจะไดใ้ ชก้ นั เองและเพอื่ ใหท้ มี รว่ มพนื้ ทอ่ี นื่ ๆ ไดน้ ำ� ไปใช้ หรอื หากมขี อ้ ปรบั ปรงุ
เสนอแนะ จะได้มีการน�ำเสนอกนั ส�ำหรบั คนมาใหม่อาจใชก้ ารตงั้ ค�ำถามว่า
อยากเรียนรู้เร่ืองอะไร ซึ่งอยากให้ทุกคนคุยกันโดยไม่ต้องพูดในเชิงทฤษฎี
แต่อยากให้พูดถึงขอ้ เทจ็ จริงว่าจุดน้ี มคี วามยาก มีความลำ� บาก หรอื ตดิ ขัด
ในเรือ่ งใด นค่ี อื Critical Point สำ� หรับคนทำ� งาน
ดงั นนั้ อยากใหเ้ ขยี นถงึ สง่ิ ทเี่ ปน็ จรงิ เพราะบางทแี ผนไมไ่ ดเ้ กดิ ขน้ึ
เป็นจรงิ ซึ่งมองว่าปญั หาใหญ่ คือ 1.เรอ่ื งการบรหิ ารจัดการ 2.การพดู คยุ
กับผู้บริหาร บางคนมีเทคนิคในการคุยกบั ทีม 3.การพดู คยุ กับคนในพื้นทโี่ ดย
อยากใหพ้ ดู ตามสถานการณจ์ รงิ สว่ นเงอื่ นไขในแตล่ ะบรบิ ทนนั้ มขี อ้ มลู ทวั่ ไป
ในแบบสอบถามอยู่แล้วและอยากเห็นตัวอย่างผลงานความส�ำเร็จที่มี
เพ่ือเป็นแนวทางให้เพ่ือนๆ ได้ จากนั้นมองส่ิงท่ีเป็น Practical Point
เพื่อดวู า่ จะแก้ไขและพฒั นา อย่างไรบา้ ง”

ถอดบทเรยี น ศูนย์สขุ ภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center) 15

บทเรียนการด�ำเนนิ งาน

ศนู ยส์ ุขภาพดีวยั ทำ� งาน (Wellness Center)
เพอ่ื สร้างเสรมิ สุขภาพและป้องกันโรค

16 ถอดบทเรียน ศูนยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ�งาน (Wellness Center)

สรปุ ผลการประเมนิ การดำ�เนนิ งานศูนยส์ ขุ ภาพดวี ัยทำ�งาน

โดย ดร.สมพร เนติรัฐกร นักวิชาการสาธารณสุขช�ำนาญการพิเศษ กล่าวถึง
การประเมินเป็นไปด้วยดี ซ่ึงในวันนี้จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจาก 1 ปีที่
ผา่ นมาว่าเปน็ อยา่ งไรกันบ้าง และน�ำองคค์ วามรู้เพื่อเปน็ แนวทางทท่ี ำ� ใหแ้ น่นขน้ึ สามารถ
อุดช่องว่างและอกี จุดประสงค์หนงึ่ คอื เพื่อพบปะแลกเปลีย่ นกัน
จากข้อมูลทไี่ ด้สรปุ มาในภาพรวม ลงพ้นื ที่จำ� นวน 13 โรงพยาบาล ในกลมุ่ ของ
ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ัยทำ� งาน มีรายละเอยี ด ดงั นี้
■ กล่มุ งานผรู้ ับผิดชอบหลัก คอื กลุม่ บริการด้านปฐมภูมแิ ละองค์รวม จ�ำนวน
5 แหง่ รองลงมา คอื กลุ่มอาชวี เวชกรรม จำ� นวน 4 แหง่ กลมุ่ ประกันสขุ ภาพ
ยุทธศาสตรแ์ ละสารสนเทศทางการแพทย์ จ�ำนวน 2 แห่ง กลมุ่ แนะแนวทาง
การแพทย์และจิตสังคม จ�ำนวน 1 แห่ง และกลุ่มเวชกรรมสังคม จ�ำนวน
1 แหง่
■ ตำ� แหนง่ ผู้จดั การ พบว่า เปน็ พยาบาลวิชาชพี มจี �ำนวน 12 แห่ง และเปน็
นกั วชิ าการสาธารณสุข จำ� นวน 1 แห่ง
■ สถานที่จัดตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน พบว่า ตั้งอยู่ท่ีคลินิกโรคจากการ
ประกอบอาชีพ จ�ำนวน 5 แห่ง อยรู่ ่วมกบั คลนิ กิ อ่ืน จ�ำนวน 3 แหง่ แผนก
ผู้ป่วยนอก จำ� นวน 2 แห่ง อาคารผปู้ ว่ ยหญงิ จ�ำนวน 1 แห่ง คลินกิ ตรวจ
สุขภาพ 1 แห่ง และห้องชมรมผู้สูงอายุ 1 แห่ง
■ ลักษณะพื้นท่ตี ั้งศนู ยฯ์ /โรงพยาบาล พบวา่ เปน็ ลกั ษณะเมือง จ�ำนวน 6 แห่ง
กึง่ เมือง จ�ำนวน 4 แหง่ และชนบท จ�ำนวน 3 แหง่
■ โรงงาน/สถานประกอบการ พบว่าไม่มี/ไม่ต้องรับผิดชอบโรงงาน/สถาน
ประกอบการ จ�ำนวน 2 แหง่ มีโรงงาน/สถานประกอบการท่ีต้องรบั ผิดชอบ
จ�ำนวน 11 แหง่ โดยแบ่งเป็นขนาดความรับผิดชอบ 50 โรงงานขึน้ ไป จ�ำนวน
7 แห่ง และขนาดความรับผิดชอบนอ้ ยกว่า 50 โรงงาน จ�ำนวน 4 แหง่
■ สถานทีร่ าชการในพน้ื ที่ พบวา่ ไม่มี/ไมต่ ้องรบั ผดิ ชอบ จ�ำนวน 2 แห่ง และ
มที ่ตี ้องรบั ผิดชอบ จ�ำนวน 11 แหง่

ถอดบทเรียน ศูนยส์ ขุ ภาพดีวยั ท�ำ งาน (Wellness Center) 17

การใหบ้ รกิ ารเชงิ รกุ พบว่าไมม่ ีการให้บริการเชิงรุก จ�ำนวน 2 แหง่ และมกี ารให้
บรกิ ารเชงิ รกุ จำ� นวน 11 แหง่ ซงึ่ ทตี่ อ้ งพดู ตรงน้ี เพราะตอ้ งมกี ารตงั้ รบั และเชงิ รกุ และใน
สถานทรี่ าชการสว่ นใหญ่มีในพืน้ ท่ีมกี ารใหบ้ รกิ ารเชิงรกุ เปน็ ส่วนใหญ่
■ เร่ืองทรัพยากรและการจัดการ มีบุคลากรที่ส�ำคัญ คือ แพทย์ พยาบาล
นกั กายภาพบำ� บดั นกั วชิ าการสาธารณสขุ นกั โภชนากร นกั เวชศาสตรก์ ารกฬี า
ซึ่งเป็นผู้สร้างสีสันในฟิตเนสเซ็นเตอร์ ทันตแพทย์ ทันตภิบาล นักก�ำหนด
อาหาร นักการแพทย์แผนไทย และอ่นื ๆ ไดแ้ ก่ พนกั งานผชู้ ว่ ยตา่ งๆ นกั การ
ตลาด นักจติ วทิ ยา เจ้าหน้าท่ีฝังเข็ม เป็นต้น
■ เคร่อื งมอื พบว่ามีศูนยท์ ่มี เี คร่ืองมอื ตรวจทางอาชวี อนามัย จ�ำนวน 11 แหง่
มเี ครอ่ื งประเมนิ ไขมนั และกลา้ มเนอ้ื จำ� นวน 9 แหง่ มเี ครอื่ งมอื ออกกำ� ลงั กาย
ตา่ งๆ จ�ำนวน 7 แห่ง และมี Fitness test จ�ำนวน 7 แหง่ ทงั้ นขี้ ึ้นกบั แตล่ ะ
บรบิ ทของพื้นท่ี
■ ลักษณะการมีเคร่ืองออกก�ำลังกาย พบว่า มีเคร่ืองออกก�ำลังกายที่งาน
กายภาพ จำ� นวน 7 แห่ง มีศูนย์ Fitness เฉพาะ จ�ำนวน 6 แห่ง และมีเครอ่ื ง
ออกกำ� ลงั กายตา่ งหากในศนู ย์สุขภาพดีวัยทำ� งาน จำ� นวน 1 แห่ง
■ งบประมาณในการด�ำเนินการ พบว่า มาจากเงินบ�ำรุงของโรงพยาบาล
จำ� นวน 8 แหง่ เงินบริจาค จ�ำนวน 1 แห่ง งบประมาณ จ�ำนวน 1 แหง่ และ
ไม่มีงบประมาณสนับสนุน จ�ำนวน 4 แห่ง คาดว่าปีน้ีอาจมีงบประมาณ
สนบั สนนุ เล็กน้อยแต่ยังไม่สรปุ
■ การเกบ็ ค่าบรกิ าร พบวา่ มรี ะบบสวัสดิการราชการ จ�ำนวน 10 แห่ง ระบบ
ประกนั สงั คม จ�ำนวน 6 แหง่ และระบบ UC จำ� นวน 4 แหง่
■ การมีคณะกรรมการศนู ยส์ ขุ ภาพดีวยั ทำ� งาน พบว่า มีจ�ำนวน 10 แหง่ และ
ไม่มี จ�ำนวน 3 แหง่
■ การมบี ทบาทรว่ มของหนว่ ยงานตา่ งๆ ในโรงพยาบาล พบวา่ มกี ารออกแบบ
การให้บริการศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน จ�ำนวน 13 แห่ง มีการวางแผน
ดำ� เนินการรว่ มกัน จ�ำนวน 13 แห่ง ให้บรกิ ารรว่ มกนั เป็นทีม ณ จุดบริการ
ตา่ งๆ จ�ำนวน 13 แหง่ หน่วยงานตา่ งๆ ทเี่ กย่ี วขอ้ งไดจ้ ดั บคุ ลากรมาท�ำงาน
ร่วมกนั จ�ำนวน 13 แห่ง มีการส่งตอ่ ผ้มู ารบั บริการให้หนว่ ยงานที่เก่ียวขอ้ ง
จ�ำนวน 12 แห่ง มีการประเมินผลการด�ำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
จำ� นวน 11 แหง่ และมีหน่วยงานตา่ งๆ สนับสนนุ งบประมาณ จ�ำนวน 3 แห่ง

18 ถอดบทเรยี น ศูนยส์ ุขภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center)

■ ประเภทการให้บรกิ าร พบว่า มีการตรวจคดั กรองภาวะสขุ ภาพ จ�ำนวน 13
แหง่ ใหค้ ำ� ปรกึ ษาดา้ นสขุ ภาพ จำ� นวน 13 แหง่ ปรบั เปลยี่ นพฤตกิ รรมสขุ ภาพ
จ�ำนวน 12 แหง่ ตรวจสมรรถภาพทางรา่ งกาย จ�ำนวน 12 แห่ง ฝึกปฏิบตั ิ
การออกกำ� ลงั กาย จำ� นวน 11 แหง่ ประเมนิ การตดิ และหรอื ใหบ้ รกิ ารเลกิ บหุ รี่
จ�ำนวน 11 แหง่ ประเมินการติดและหรือให้บริการเลกิ แอลกอฮอล์ จำ� นวน
10 แห่ง ตรวจคดั กรองโรคจากการประกอบอาชพี จ�ำนวน 10 แหง่ บริการ
ให้วคั ซนี ส�ำหรับวยั ทำ� งาน จำ� นวน 8 แห่ง ตรวจสุขภาพช่องปาก จ�ำนวน 8
แหง่ และตรวจหาโรคมะเร็ง (มะเร็งปากมดลูก/เตา้ นม) จ�ำนวน 8 แหง่
■ วันในการให้บริการ พบว่า มีการให้บริการทุกวัน (7 วัน/สัปดาห์) จ�ำนวน
3 แหง่ มกี ารใหบ้ รกิ ารวนั จนั ทร์ ถงึ ศกุ ร์ จำ� นวน 6 แหง่ มกี ารใหบ้ รกิ ารบางวนั
(1 วนั /สัปดาห)์ จ�ำนวน 4 แห่ง
■ ความเช่ือมโยงกบั คลนิ ิกต่างๆ พบว่า มีการเชอื่ มโยงกบั ทกุ คลินิกท่เี กยี่ วขอ้ ง
จ�ำนวน 9 แหง่ มีบ้างบางคลินิก จำ� นวน 4 แหง่
■ การใหบ้ รกิ ารในโรงพยาบาล พบว่า มีการใหบ้ ริการข้าราช/เจ้าหนา้ ทีส่ งั กัด
กระทรวงสาธารณสุข จ�ำนวน 10 แห่ง ข้าราชการนอกสังกัดกระทรวง
สาธารณสขุ จำ� นวน 8 แห่ง ผู้ใช้สิทธปิ ระกนั สงั คม จำ� นวน 8 แห่ง บคุ ลากร
ของทอ้ งถิ่น (อบต./อบจ.) จำ� นวน 6 แห่ง บุคคลทั่วไป จำ� นวน 5 แห่ง
■ การให้บรกิ ารนอกโรงพยาบาล พบว่า ใหบ้ รกิ ารผทู้ �ำงานในโรงงาน จ�ำนวน
7 แห่ง ข้าราชการ/เจ้าหน้าท่ีใน/นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จ�ำนวน
4 แห่ง นักศกึ ษา/เจา้ หน้าทีอ่ งค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่ิน จำ� นวน 3 แห่ง

ถอดบทเรียน ศนู ยส์ ุขภาพดวี ัยท�ำ งาน (Wellness Center) 19

ส่งิ ทตี่ ้องการสนบั สนนุ ได้แก่ สมุดประจ�ำตัวสุขภาพวยั ท�ำงาน จ�ำนวน 13 แหง่
คมู่ อื /แนวทางการดำ� เนินงานศูนยส์ ขุ ภาพดวี ยั ท�ำงาน จำ� นวน 11 แห่ง เครอ่ื งมือ จ�ำนวน
10 แหง่ การพฒั นาบคุ ลากร จ�ำนวน 10 แห่ง การบรกิ ารในเร่ืองตา่ งๆ จ�ำนวน 8 แห่ง
ปัญหาอปุ สรรคในการดำ� เนินการ พบว่า มีภาระงานหลายด้าน จ�ำนวน 4 แห่ง
สถานท่ี ที่เหมาะสม/ขาดเคร่ืองมือบางอย่าง จ�ำนวน 4 แห่ง ขาดแคลนเจ้าหน้าที่บาง
สายงาน จ�ำนวน 3 แห่ง เบิกจ่ายค่าบริการบางกจิ กรรมไมไ่ ด้ จ�ำนวน 2 แห่ง ไม่ไดร้ บั การ
สนบั สนุนงบประมาณ จำ� นวน 2 แห่ง มภี าระงานหลายด้าน จำ� นวน 4 แหง่ การเข้าถึง
สถานประกอบการ จ�ำนวน 1 แห่ง ต้องใช้เวลาในการให้บริการมาก จ�ำนวน 1 แห่ง
เครอื่ งออกกำ� ลงั กาย ไมเ่ หมาะสม (เปน็ แบบ Home use) จำ� นวน 1 แหง่ ไมม่ ศี นู ย์ Fitness
จำ� นวน 1 แหง่ ผรู้ ับบรกิ ารขาดความตอ่ เนือ่ งในการรับบริการ จ�ำนวน 1 แห่ง
โดยสรุปมกี ารด�ำเนินการอยู่ในเกณฑท์ ดี่ ี มีการ Action มากพอสมควร ส�ำหรับ
ในปี 2562 ยังมกี ารตดิ ตามอยา่ งต่อเน่อื ง และมกี ารวางแผนไว้วา่ จะท�ำเพม่ิ ในโรงพยาบาล
ตา่ งๆ อกี โดยผูอ้ ำ� นวยการตอ้ งสมัครใจใหก้ ารสนบั สนุนและเขา้ ร่วม จากทไ่ี ปประเมนิ กรณี
ทผ่ี ูอ้ �ำนวยการไม่สนบั สนุนจะท�ำใหท้ มี งานด�ำเนนิ การค่อนข้างยาก และสว่ นบางพ้นื ทที่ ไ่ี ม่
พร้อมกต็ ้องรอไปอีก

20 ถอดบทเรียน ศูนยส์ ุขภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center)

พืน้ ทกี่ ารดำ� เนินงาน

ศูนยส์ ุขภาพดวี ยั ท�ำงาน (Wellness Center)

ถอดบทเรียน ศนู ย์สุขภาพดวี ยั ทำ�งาน (Wellness Center) 21

สถาบนั บำ� ราศนราดรู

22 ถอดบทเรียน ศูนย์สขุ ภาพดวี ยั ทำ�งาน (Wellness Center)

นางอารี รามโกมทุ
พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
(ผูจ้ ัดการศนู ย์ฯ)
จุดแข็ง ศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน สถาบันบ�ำราศนราดูร คือ
เราเน้นเร่ืองการให้ค�ำปรึกษาในการสร้างแรงจูงใจ กระตุ้นเสริมพลัง
สร้างสุขภาพ การปรับเปล่ียนพฤติกรรมควบคู่กับผล Lab ซ่ึงกลุ่ม
ประชาชนส่วนใหญใ่ หก้ ารยอมรบั และเช่ือถอื มาฐานผล Lab ของสถาบัน
บ�ำราศนราดูรค่อนข้างมาก ทางสถาบันฯ จึงได้น�ำผล Lab มาเป็นตัว
เช่ือมโยง และได้ผลตอบกลับทุกราย Feedback ในเชิงการพูดคุยกัน
โดยใช้ Step of Change

ถอดบทเรยี น ศูนยส์ ุขภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center) 23

การบริหารจัดการศูนยส์ ขุ ภาพดีวยั ท�ำงาน
■ รปู แบบ/ลกั ษณะการจดั ตง้ั ศนู ยฯ์ : ภายหลงั จากผอู้ ำ� นวยการสถาบนั บำ� ราศนาดรู
ไดเ้ ขา้ ร่วมโครงการ จึงมอบหมายให้กลมุ่ บริการทางการแพทย์น�ำโดยหัวหน้า
กลุ่มงานสร้างทีมงาน โดยดึงพยาบาลในกลุ่มบริการทางการแพทย์ 8 คน
มารว่ มท�ำงานและด�ำเนนิ การศนู ย์สุขภาพดีวัยทำ� งาน มงุ่ เนน้ งานด้านการให้
ค�ำปรึกษา (consulting) ด้วยการให้บริการผ่านคลินิก NCD คลินิก HIV
คลินิก KCD รวมท้ังการจัดต้ังคณะกรรมการคณะท�ำงาน ผ่านกระบวนการ
จัดประชุมจดั ตัง้ คณะกรรมการทง้ั นีศ้ ูนย์สขุ ภาพดวี ยั ท�ำงาน ซ่งึ เปน็ งานที่ต้อง
ออกแบบใหม่ จงึ ไดม้ กี ารจดั ตงั้ ศนู ยฯ์ เปน็ คลนิ กิ ตงั้ รบั ในอาคารเฉลมิ พระเกยี รติ
ชั้น 3 สถาบันบ�ำราศนราดูร โดยแยกส่วนจุดให้บริการออกมาชัดเจนจาก
การบรกิ ารรกั ษาในสว่ นอืน่ ๆ
■ Core team ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มงานบริการทางการแพทย์ เป็น
หัวหน้าทีม โดยมีกลุ่มพยาบาลในกลุ่มบริการทางการแพทย์เป็นแกนหลัก
รับผิดชอบการด�ำเนินงานศูนย์ฯ และสร้างทีมท�ำงานจากกลุ่มพยาบาล
(หนว่ ยวคั ซนี หนว่ ยตรวจสขุ ภาพ กลมุ่ งานอาชวี อนามยั ) ทงั้ นมี้ คี ณะกรรมการ
ท่ีเป็นพยาบาลและเจ้าหน้าท่ีจากหน่วยต่างๆ ได้แก่ หน่วยบริการวัคซีน
หน่วยตรวจสุขภาพและคัดกรอง หน่วยอาชีวอนามัย นักส่งเสริมสุขภาพ
นกั จติ วิทยา และหนว่ ยทีเ่ กีย่ วขอ้ งอ่ืนๆ ใหค้ รอบคลมุ เน้อื งาน
■ การจดั หางบด�ำเนินการ การด�ำเนนิ งานของศูนย์ฯ ที่ผ่านมาใช้งบประมาณ
จากกรมควบคมุ โรคในการดำ� เนินงานผา่ นโครงการ

24 ถอดบทเรยี น ศูนย์สขุ ภาพดวี ยั ทำ�งาน (Wellness Center)

วิธกี ารด�ำเนนิ งานศนู ย์ฯ
การด�ำเนินงานของศูนย์ฯ มุ่งเน้นการให้บริการในลักษณะการ consulting
Individual ได้เร่ิมต้นข้ึนด้วยการจัดงานเปิดตัวศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน และค้นหากลุ่ม
เป้าหมาย โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนที่สนใจเข้ารับการตรวจสุขภาพประจ�ำปี แบ่งออกเป็น
2 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ 1. กลุ่มเสี่ยง 2. กลุ่มคนทั่วไป ผ่านการโทรเชิญชวนเข้าร่วม
กิจกรรม/โครงการ ท้ังน้ีการด�ำเนินงานของศูนย์ฯ ได้มีการจัดท�ำ Package บริการ 8 ชุด
โปรแกรมดแู ลสุขภาพ เพอ่ื รองรบั คนวัยทำ� งานเข้ารบั บรกิ ารไดส้ ะดวก ดงั น้ี
1. ชีวิตดี๊ดีวัยท�ำงาน (มีปัญหาออฟฟิตซินโดม) : การประเมินและส่งต่อ
นกั กายภาพ
2. ผอมไปกินไรดี (กลมุ่ คนทีม่ คี ่า BMI ต่�ำกว่า 8.5)
3. Firm Fit สขุ ภาพดี (BMI เกนิ 22.9)
4. ลดไปไมเ่ สี่ยงโรค (มผี เู้ ข้ารับ 71 ราย ไดแ้ ก่ กลุม่ NCDs)
5. สขุ ใจไร้กังวล
6. ปลุกพลังสรา้ งรอยยิ้ม
7. คนปอดเหล็ก (คนตดิ บหุ รี)่
8. เลกิ เหลา้ เราสุขภาพดี

ถอดบทเรยี น ศนู ยส์ ุขภาพดีวัยทำ�งาน (Wellness Center) 25

อกี ท้ังมีการโปรโมท และประชาสมั พนั ธจ์ ุดเด่น Package 3 และ Package 4
ซ่งึ มีผู้ใชบ้ ริการเปน็ จ�ำนวนมาก ผ่านการให้บรกิ ารทสี่ ะดวกสบาย การใหป้ รึกษาฟรี มีการ
ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลและติดต่อการให้บริการในเวลาราชการ
กลุ่มผู้รับบริการคนท่ัวไปทุกเพศ ทุกวัย มีการสร้างแรงจูงใจในการลดการเสี่ยงเป็นผู้ป่วย
ตดิ เตยี งและมกี ารเกบ็ คา่ บรกิ ารตามโปรแกรม นอกจากนย้ี งั มกี ารตดิ ตามผลในกลมุ่ เปา้ หมาย
ท่ีเข้าร่วมกิจกรรมทุก 4 เดือนในกลมุ่ ผดิ ปกติ
การบรู ณาการและการมสี ว่ นรว่ ม รปู แบบการบรู ณาการผา่ น Wellness Center
และคลินิกสุขภาพอ่ืนๆ ผ่านระบบจัดเวรให้บริการการให้ค�ำปรึกษาของนักโภชนาการ
นักกายภาพ และนกั อาชีวอนามัยรว่ มประเมินด้านกล้ามเน้อื ดว้ ย

วธิ ี/เทคนคิ การจดั การบริการหรือให้บรกิ ารของศูนย์ฯ
กลุ่มเป้าหมายเร่ิมต้น จากบุคลากรด้านสาธารณสุข เน่ืองจากสถาบันฯ ต้อง
ท�ำหนา้ ทีต่ รวจสขุ ภาพของบคุ ลากรของกระทรวงสาธารณสขุ อยูแ่ ลว้ และประชาชนทั่วไป
ทมี่ าตรวจสุขภาพประจำ� ปี สาเหตทุ เ่ี ลือก 2 กลมุ่ เปา้ หมาย คอื คนไขข้ องสถาบนั ฯ นอ้ ย
จงึ สามารถทำ� ได้ และเปน็ การด�ำเนินตามนโยบาย
ประเภทการใหบ้ ริการ และการจดั Package มี 8 Package อาทิ ลดเล่ียง
ไมเ่ ส่ยี งโรค ชีวติ ดดี้ วี ยั ท�ำงาน ผอมไปกินอะไรดี คนปอดเหลก็ เป็นตน้ ซ่งึ เกย่ี วขอ้ งกับ
อาหาร การออกก�ำลงั กาย วัคซนี เหลา้ บหุ ร่ี จิตเวช แต่ละ Package จะใช้เวลาไม่เกิน
30 นาที และมีการตดิ ตามผลผรู้ ับบรกิ ารอยา่ งต่อเน่ืองการสร้างความสนใจ คอื ให้บรกิ าร
ไม่เสียค่าใช้จ่าย (เนื่องจากไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เพราะเป็นการส่งเสริมสุขภาพ
ไม่ใชก่ ารรักษา) มีการประชาสัมพันธ์ Package ทตี่ ึก OPD โดยรับทกุ Case สามารถเลือก
บรกิ าร Package ไดต้ ามความเหมาะของแต่ละคน
ทีมงานให้บริการประกอบดว้ ย ดงั น้ี
ทีมงานหลัก คือ แพทย์ตรวจสุขภาพท่ัวไป กับแพทย์ให้วัคซีน ทีมพยาบาล
คอยให้ค�ำปรึกษาเฉพาะ เภสัชกรให้ความรเู้ รอ่ื งยา นักโภชนาการกบั นกั จิตวิทยา ให้ค�ำ
ปรกึ ษา และทีมสนบั สนนุ คอื จดั ทำ� ออกแบบวดิ ทิ ศั น์ (ช่วยออกแบบสอ่ื ) ทมี ประชาสมั พนั ธ์
ตัวอย่าง case ที่ใหบ้ ริการ มี 2 case ทน่ี ำ�้ หนักและเสน้ รอบเอวลดลง หลกั จาก
ไดร้ ับคำ� ปรึกษาจากโภชนาการ

26 ถอดบทเรยี น ศนู ย์สขุ ภาพดวี ยั ทำ�งาน (Wellness Center)

สิ่งท่ีไดเ้ รียนรู้จากการทำ� งาน
■ มีแรงจูงใจในการท�ำงานน้ี
มากขนึ้ ไมม่ องแคส่ ง่ เสริม
ไม่ให้ป่วย แต่จะท�ำงาน
ปอ้ งกัน
■ พัฒนาพื้นที่ให้ดีย่ิงข้ึนให้
เป็นศูนย์กลางของการ
ออกกำ� ลงั กาย
■ อ ย า ก ห า ก ลุ ่ ม เข ้ า ม า
รั บ บ ริ ก า ร โ ด ย ก า ร
ประชาสัมพนั ธม์ ากข้นึ

ถอดบทเรยี น ศูนย์สขุ ภาพดีวัยทำ�งาน (Wellness Center) 27

สถาบันราชประชาสมาสยั

28 ถอดบทเรยี น ศูนยส์ ขุ ภาพดวี ัยท�ำ งาน (Wellness Center)

การบรหิ ารจดั การศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน
■ รปู แบบ/ลกั ษณะการจดั ตง้ั ศนู ยฯ์ ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งาน
จดั ตงั้ ขนึ้ อยอู่ ยา่ งไมเ่ ปน็ ทางการ ตงั้ อยใู่ นกลมุ่ งานอาชวี อนามยั
ซ่ึงเป็นทีมหลักรับผิดชอบการด�ำเนินกิจกรรมของศูนย์
โดยผ่านการเชื่อมโยงการท�ำงานร่วมกับกลุ่มงานอ่ืนๆ
ท่เี กย่ี วขอ้ งเข้าร่วมจัดกจิ กรรมสง่ เสรมิ สขุ ภาพ
■ Core team ดงึ ผู้เกย่ี วขอ้ งในระดบั ปฏบิ ัตงิ านเขา้ มารว่ ม
ด�ำเนินงาน โดยองค์ประกอบหลักของคณะกรรมการ
คณะทำ� งาน ประกอบด้วย นกั อาชวี อนามัยเปน็ หลกั
■ การจัดหางบด�ำเนินการ พบวา่ การด�ำเนินงานของศูนย์ฯ
ผ่านการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณการสนับสนุน
จากกรมควบคมุ โรคในการดำ� เนนิ งาน อกี ทง้ั ผบู้ รหิ ารสถาบนั ฯ
ให้การสนบั สนุนและเปน็ ภารกิจท่ีด�ำเนนิ การอยแู่ ล้ว ท�ำให้
บางสว่ นเป็นงบประมาณในสถาบันฯ รับผดิ ชอบอยู่เดิม

ถอดบทเรียน ศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำ งาน (Wellness Center) 29

วธิ ีการด�ำเนนิ งานศนู ย์ฯ
มีการด�ำเนินงานทั้งในเชิงรับและเชิงรุก เริ่มต้นก�ำหนดกลุ่มเป้าหมายท่ีมุ่งเน้น
“คนทำ� งาน (work care worker)” โดยพิจารณาจากผลการตรวจสขุ ภาพ (การทำ� งาน
เชงิ รับ) ซึง่ จะมุ่งเนน้ ไปทก่ี ลมุ่ เป้าหมายทพี่ บปญั หาโรคอว้ น และ BMI เกนิ ค่ามาตรฐาน
ท้ังน้ีได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้เข้าร่วมโครงการผ่านใบประกาศ
และเสยี งตามสาย และการเปดิ ให้บรกิ าร (การทำ� งานเชิงรุก) จัดแบ่งออกเปน็ 2 กลมุ่ ดงั นี้
1. กลุ่มคนท�ำงานในสถาบันราชประชาสมาสัย จ�ำนวน 10 คนทส่ี มคั รเข้าร่วม
โครงการ โดยจดั กจิ กรรมสง่ เสรมิ สขุ ภาพ อาทเิ ชน่ การออกแบบเมนอู าหารกลางวนั การจดั
กจิ กรรมออกกำ� ลงั กาย (จนั ทร์ พธุ ศกุ ร)์ การใหบ้ รกิ าร 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำ� ลงั กาย)
ทกุ ๆ 3 เดือน โดยจะมกี ารตดิ ตามผล การจัดสภาพแวดล้อมใหเ้ ออื้ ตอ่ การเข้ารับบริการ
เชน่ การแตง่ กายดว้ ยชดุ ออกกำ� ลังกาย ท้ังทีมท�ำงานและผรู้ ับบรกิ าร รวมท้งั มกี ารประกัน
รับรองผลให้กบั ผู้รับบริการจากศูนยฯ์ ในระยะเวลา 3 เดอื น
2. กลมุ่ คนทำ� งานในโรงงาน เปน็ การนำ� โมเดลเขา้ ไปใหบ้ รกิ ารในโรงงานทสี่ มคั รใจ
โดยใหบ้ รกิ าร 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกก�ำลงั กาย)

30 ถอดบทเรียน ศูนย์สุขภาพดวี ยั ท�ำ งาน (Wellness Center)

การบูรณาการและการมี
ส่วนร่วม การท�ำงานร่วมกันระหว่าง
กลุ่มงานอาชีวะซึ่งเป็นทีมด�ำเนินงาน
หลกั นกั โภชนาการรบั ผดิ ชอบออกแบบ
เมนอู าหาร นกั กายภาพบำ� บดั รบั ผดิ ชอบ
ดแู ลเรอื่ งการจดั โปรแกรมออกกำ� ลงั กาย

การจดั การบรกิ ารหรอื ใหบ้ รกิ ารของศนู ย์
กลมุ่ เปา้ หมาย ประกอบดว้ ย
2กลมุ่ คอื 1.บคุ ลากรของโรงพยาบาลท่ี
สมคั รใจ 2. พนกั งานในสถานประกอบการ
ทม่ี โี ปรแกรมตรวจสขุ ภาพประจ�ำปีอยู่แล้ว โดยจะเพิ่มเติม Package อนื่ ๆ ดว้ ย เนือ่ งจาก
ปจั จบุ นั มผี ปู้ ว่ ยโรคเรอ้ื นนอ้ ยลง อกี ทง้ั ในพนื้ ทมี่ สี ถานประกอบการจำ� นวนมาก โรงพยาบาล
จึงมีนโยบายทำ� งานกับสถานประกอบการ
ประเภทการให้บริการ และการจัด Package อยู่ระหว่างการคิด Package
โดยเริม่ กับกลุม่ ทีส่ นใจก่อน มกี ารเก็บคา่ สมคั ร ระยะเวลา 3 เดอื น หากสามารถท�ำได้ตาม
เปา้ หมายจะได้รบั เงนิ คืน มกี ารจดั กจิ กรรมทกุ วนั จนั ทร์ - พธุ - ศุกร์ วนั ละ 1 ชวั่ โมง เชน่
กจิ กรรมออกกำ� ลังกาย ใหค้ ำ� ปรึกษาโภชนาการ มีการแลกเปลย่ี นผา่ นกลมุ่ ไลน์ เป็นตน้
ทมี พงึ่ เรม่ิ จดั ตงั้ ศนู ยฯ์ และสรา้ งทมี งาน โดยทมี งานใหบ้ รกิ ารประกอบดว้ ยแพทย์
พยาบาล นักโภชนาการ นกั กายภาพ นักวชิ าการสาธารณสขุ เป็นต้น

ถอดบทเรียน ศนู ย์สุขภาพดวี ยั ทำ�งาน (Wellness Center) 31

โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

32 ถอดบทเรยี น ศนู ยส์ ขุ ภาพดีวัยท�ำ งาน (Wellness Center)

การบริหารจดั การศูนย์สุขภาพดีวยั ท�ำงาน
รูปแบบ/ลักษณะการจัดต้ังศูนย์ฯ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาล
(คนเดมิ ) ไดม้ อบหมายใหห้ วั หนา้ กลมุ่ งานอาชวี เวชกรรมไปรบั ฟงั นโยบาย
ทงั้ นจ้ี งึ ไดม้ กี ารจดั ประชมุ ทมี เพอ่ื พจิ ารณาจดั หาคณะทำ� งาน การวางบทบาท
หนา้ ท่ี และแนวทางการเชื่อมประสานการท�ำงานรว่ มกนั แต่ยงั ไม่มกี าร
จดั ตงั้ คณะกรรมการอยา่ งชดั เจน โดยหวั หนา้ ทมี ทำ� งานไดจ้ ดั ทำ� รา่ งรปู แบบ
การบรหิ ารงานศนู ย์ข้นึ มา และด�ำเนินการจดั ตั้งศูนย์สขุ ภาพดีวัยท�ำงาน
ชวั่ คราว ณ กลมุ่ งานอาชวี เวชกรรม ในโรงพยาบาล ซงึ่ ทำ� หนา้ ทค่ี ดั กรอง
ก่อนส่งต่อไปยังคลินิกต่างๆ อย่างไรก็ตามอยู่ระหว่างการโยกย้ายห้อง
สำ� หรบั จดั ตง้ั ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งานทจี่ ะมสี ถานทท่ี ำ� การในรปู แบบถาวร
Core team ซึ่งมีบุคลากรจากกลุ่มงานอาชีวเวชกรรมเป็น
แกนหลกั ของทมี ทำ� งาน ทำ� หนา้ ทเ่ี ชอ่ื มประสานงานการทำ� งานกบั หนว่ ยอนื่ ๆ
ในโรงพยาบาล อาทิ กลุ่มงานสุขศึกษา กลุ่มงานจิตเวช นักโภชนาการ
เป็นต้น
การจัดหางบด�ำเนินการ มีการผนวกงบประมาณด�ำเนินการ
ของศนู ยฯ์ ร่วมไปกบั งบประมาณของคลนิ ิกโรคของโรงพยาบาล

ถอดบทเรยี น ศูนยส์ ขุ ภาพดีวัยท�ำ งาน (Wellness Center) 33

วธิ ีการด�ำเนินงานศนู ยฯ์
จุดเร่ิมต้น/วิธีการด�ำเนินงาน ศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงานได้จัดโมเดลน�ำร่องใน
การด�ำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ แต่ยังไม่มีการจัดท�ำ Package ให้บริการ การให้บริการ
ใน 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มพนักงานในโรงงาน และกลุ่มเจ้าหน้าท่ีโรงพยาบาลที่ผ่าน
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจ�ำปี โดยมีกลุ่มงานสุขศึกษา และกลุ่มงานจิตเวช ท�ำหน้าที่
ชว่ ยตรวจคดั กรองสขุ ภาพและกลมุ่ เสยี่ ง NCD บหุ ร่ี และสรุ า สำ� หรบั กลมุ่ เปา้ หมายในโรงงาน
การให้บริการภายใต้โครงการในคลินิกโรค ซึ่งมีการอบรมครบวงจรในสถานประกอบการ
โดยมกี ารดำ� เนนิ งานรว่ มกบั กลมุ่ งานอาชวี ะ ไดแ้ ก่ การอบรมเรอ่ื งการบาดเจบ็ จากการทำ� งาน
การตรวจสมรรถภาพ การสาธติ การบรโิ ภคอาหารกบั กลมุ่ เสย่ี ง การใหค้ ำ� ปรกึ ษาทงั้ รายกลมุ่
และรายบคุ คล การพดู คยุ เกย่ี วกบั ความเครยี ด รวมถงึ การสง่ ตอ่ กรณมี กี ารเจบ็ ปว่ ยเขา้ คลนิ กิ
ของโรงงาน เชน่ คนทต่ี อ้ งการเลกิ บหุ ร่ี นอกจากนย้ี งั จดั ใหม้ กี ารตดิ ตามเยยี่ มกลมุ่ เปา้ หมาย
ตามโรงงาน มีการจัดหาแพทย์เฉพาะทางไปให้ค�ำปรึกษาโดยตรงกับกลุ่มเส่ียง NCDs
รวมทง้ั จัดกจิ กรรมส่งเสรมิ ไลน์เด้น (ผู้น�ำเปน็ กลุ่มงานอาชีวะ) มที กุ วันจนั ทร์ถงึ ศุกร์ วันละ
1 ชั่วโมง
สำ� หรับกล่มุ เปา้ หมายที่เป็นเจ้าหนา้ ทีใ่ นโรงพยาบาล จะใหบ้ ริการผ่านการตรวจ
สุขภาพประจ�ำปี โดยมีนักสุขศึกษาเข้าประเมินพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเป้าหมายทุกคน
การประเมินกลุ่มเส่ียง การตรวจสุขภาพช่องปากโดยกลุ่มงานทันตกรรม โดยกลุ่มงาน
อาชีวะทำ� หนา้ ทีป่ ระสานสง่ ตอ่ HRD ของโรงพยาบาล กรณีเจบ็ ปว่ ย
การบูรณาการและการมีส่วนร่วม ลักษณะการบริหารจัดการศูนย์ฯ เพื่อไม่ให้
เป็นการเพ่ิมภาระงาน จึงใช้การประสานการท�ำงานกันระหว่างกลุ่มงานอาชีวะ กลุ่มงาน
สุขศึกษา กลุ่มงานจิตเวช กลุ่มงานทันตกรรม และนักโภชนาการ ในการตรวจคัดกรอง
การตรวจประเมินสขุ ภาพ การอบรมใหค้ วามรู้ และการให้คำ� ปรึกษา เปน็ ต้น

34 ถอดบทเรียน ศูนยส์ ขุ ภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center)

วธิ ี/เทคนคิ การจดั การบริการหรือให้บริการของศนู ย์
กลุ่มเป้าหมาย เริ่มต้นจากบุคลากรของโรงพยาบาลทุกคนต้องได้รับการตรวจ
สขุ ภาพ 100% เชน่ ตรวจเลอื ด เอกซเรย์ คัดกรองโรค NCDs จติ เวช เปน็ ตน้ เนื่องจาก
เป็นนโยบายของหนว่ ยงานเพอ่ื ดูแลสุขภาพเจ้าหนา้ ท่ี
ประเภทการใหบ้ รกิ าร และการจดั Package มี 2 กลมุ่ งาน คอื กลมุ่ อาชวี อนามยั
และกลุ่มงานตรวจสขุ ภาพประจำ� ปี โดยจะให้บริการไปตรวจสขุ ภาพท่สี ถานประกอบการ
แต่ยังไม่มี Package ซง่ึ ทำ� ตามหน้างานที่มภี าวะเสย่ี งแยกตามโรค เช่น NCDs หลอดเลอื ด
สำ� หรบั เจา้ หน้าท่จี ะมกี จิ กรรมการออกกำ� ลงั ทุกวันพธุ มกี ารคัดกรองกลุ่มเสยี่ ง และให้ค�ำ
ปรึกษาด้านโภชนาการ
ทีมงานให้บริการ ยังไม่มีการสร้างทีม ซึ่งจะท�ำงานในรูปแบบการส่งต่อไปยัง
ตามแผนกตา่ งๆ

ถอดบทเรียน ศูนยส์ ุขภาพดีวยั ท�ำ งาน (Wellness Center) 35

โรงพยาบาลพทุ ธชินราช พษิ ณุโลก

36 ถอดบทเรยี น ศนู ย์สุขภาพดีวัยทำ�งาน (Wellness Center)

นายแพทย์สชุ าติ พรเจริญพงศ์
ผูอ้ ำ�นวยการโรงพยาบาลพทุ ธชินราช
พิษณุโลก
ศูนยส์ ุขภาพดีวยั ท�ำงาน นับเปน็ สง่ิ ดีๆ ที่มอบใหค้ นวยั ทำ� งาน
โดยเฉพาะบคุ ลากรของโรงพยาบาล เพอื่ การดแู ลสขุ ภาพตนเอง โรงพยาบาล
พุทธชินราช พิษณุโลก มีจุดแข็งที่จะสามารถด�ำเนินการได้เป็นอย่างดี
เน่ืองจากมีบุคลากรสหสาขาวิชาชีพที่จะช่วยผลักดันเสริมแรง
ให้เจ้าหน้าท่ีมีสุขภาพท่ีดี และขยายเครือข่ายไปยังครอบครัว ชุมชนให้
เขม้ แขง็ ต่อไป

ถอดบทเรยี น ศูนย์สขุ ภาพดีวยั ท�ำ งาน (Wellness Center) 37

นางพสิ มยั จารชุ วลติ
นกั วชิ าการสาธารณสขุ ชำ�นาญการพิเศษ
(ผจู้ ัดการศนู ย์ฯ)

ศนู ยส์ ุขภาพดีวัยท�ำงาน น่าจะตอบโจทยข์ องการมสี ุขภาพดี
ของคนทำ� งานในโรงพยาบาล และชุมชน


ถา้ ท�ำใหด้ ี ตอ้ งท�ำให้สดุ



38 ถอดบทเรียน ศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center)

การบรหิ ารจดั การศูนย์สุขภาพดวี ัยทำ� งาน
■ รูปแบบ/ลักษณะการจัดต้ังศูนย์ฯ การด�ำเนินงานอยู่ระหว่างการจัดตั้ง
คณะกรรมการ ซง่ึ ไดม้ กี ารประชมุ ไปแลว้ จำ� นวน 1 ครง้ั เพอ่ื ระดมความคดิ เหน็
ก�ำหนดรูปแบบการให้บริการ และเพียงมีการติดต้ังป้ายศูนย์ฯ บริเวณหน้า
คลินิกอาชีวอนามัย ทั้งน้ีศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน โรงพยาบาลพุทธชินราช
อยรู่ ะหว่างการจดั ตงั้ ศูนยฯ์ อยา่ งเปน็ ทางการ รวมทั้งการวางรปู แบบการให้
บริการที่เหมาะสม มีแนวคิดจะน�ำกิจกรรมเดิมที่เคยท�ำแล้วมาด�ำเนินการ
ต่อไป เชน่ โครงการหมอชวนวิ่ง
■ Core team ประกอบด้วย ทีมงาน มหี วั หน้าทีมมาจากกลุ่มงานสุขศึกษา
มีคณะกรรมการประมาณ 20 คน จากตัวแทนกลุ่มงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประกอบดว้ ย กลมุ่ งานเวชกรรมสงั คม เภสชั กร พยาบาล เจา้ หนา้ ทป่ี ระชาสมั พนั ธ์
นักกายภาพ นักจติ เวช นักโภชนาการ และนกั สุขศกึ ษา
■ การจดั หางบดำ� เนนิ การ กจิ กรรมสว่ นใหญท่ ขี่ บั เคลอื่ นยงั ไมม่ กี ารดำ� เนนิ การ
จงึ ยังไม่มกี ารใชง้ บประมาณ

วธิ ีการดำ� เนนิ งานศนู ยฯ์
■ จุดเร่ิมต้น/วิธีการด�ำเนินงาน ศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน ในโรงพยาบาล
พทุ ธชินราชพษิ ณุโลก ยงั ไม่ได้เรม่ิ กจิ กรรม อยู่ระหวา่ งการจดั ตัง้ ศนู ย์ฯ และ
อยู่ระหว่างการก�ำหนดรูปแบบการบริการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามมีพื้นที่
ให้บรกิ ารเดิม“ศูนย์Fitness/ศนู ยส์ ร้างเสริมสขุ ภาพ”มีการให้บริการฟิสเนส
ต้งั แต่เวลา 09.00 - 21.00 น. โดยการหยอดเงนิ คา่ บรกิ ารครงั้ ละ 20 บาท
เฉพาะเจา้ หนา้ ที่ อกี ทงั้ ศนู ยด์ งั กลา่ วยงั มกี จิ กรรมในการใหบ้ รกิ ารอนื่ อกี เชน่
Health Star การตรวจสขุ ภาพประจำ� ปี กล่มุ เส่ียง กล่มุ ปว่ ย มีการตดิ ตามผล
ทุก 3 เดือน พบว่าพฤติกรรมไมเ่ ปลี่ยนแปลง ทัง้ นเ้ี มอ่ื มีโครงการจงึ มีทบทวน
ตามกรอบการท�ำงานเดิม มีทีมพี่เล้ียงประจ�ำหน่วยงาน เพ่ือดูแลสุขภาพ
เจา้ หนา้ ทใี่ นหนว่ ยงานของตนเอง และเชญิ กลมุ่ เปา้ หมายทไ่ี มม่ กี ารเปลยี่ นแปลง
เขา้ รว่ มกจิ กรรมปรบั เปลย่ี นพฤตกิ รรม รวมทง้ั มกี ารนดั หมายกลมุ่ ทมี่ ผี ลตรวจ
จาก Lab ผิดปกติ มีการตดิ ตามผลรายบุคคลอยา่ งตอ่ เน่อื งในทกุ วนั ที่ 1 และ
3 ของเดอื น เพอ่ื ประเมินจำ� แนกกลุม่ เสยี่ ง หากเป็นกล่มุ เสย่ี งจะท�ำการให้

ถอดบทเรยี น ศูนย์สขุ ภาพดีวยั ทำ�งาน (Wellness Center) 39

ค�ำปรกึ ษา และให้การรกั ษากลบั กลมุ่ เป็นโรค ท้งั นกี้ จิ กรรมสง่ เสริมสขุ ภาพที่
มีอยู่ในโรงพยาบาล ไดแ้ ก่ ผักปลอดสาร (จนั ทร์ - พุธ - ศุกร์) ร้านจ�ำหนา่ ย
สมนุ ไพร
■ การบูรณาการและการมีส่วนร่วม มีการท�ำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มงาน
สุขศึกษา และหน่วยงานอ่ืนในโรงพยาบาล ได้แก่ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าท่ีประชาสัมพันธ์ นักกายภาพ นักจิตเวช นัก
โภชนาการ PCU เพื่อดำ� เนนิ การตรวจสขุ ภาพ คัดกรองกลมุ่ เสย่ี ง และให้
คำ� ปรกึ ษา ตามความเชี่ยวชาญและบทบาทหน้าที่ใหก้ ารรกั ษาท่ที �ำอยเู่ ดมิ
■ สิง่ ที่ไดเ้ รยี นร้จู ากการทำ� งาน
- สิ่งที่ได้รูปแบบและกระบวนการ แรงจูงใจในการสร้างให้คนเข้ามาออก
ก�ำลังกาย
- เอารปู แบบการทำ� งานของแตล่ ะทีไ่ ปปรบั ใช้
- วธิ กี ารการติดตามผลผ้เู ข้าร่วมกิจกรรม



ถอดบทเรียน ศูนย์สุขภาพดวี ยั ท�ำ งาน (Wellness Center) 41

โรงพยาบาลหนองคาย

42 ถอดบทเรียน ศูนยส์ ขุ ภาพดีวยั ท�ำ งาน (Wellness Center)

นางสาวสริ ิลกั ษณ์ บญุ ประกอบ
พยาบาลวิชาชพี ชำ�นาญการพิเศษ
(ผจู้ ัดการศูนย์ฯ)
การดำ� เนนิ งานศนู ยส์ ขุ ภาพดวี ยั ทำ� งานจะยงั่ ยนื ตอ้ งเกดิ จาก
ความรว่ มมอื ของทมี สหสาขาวชิ าชพี โดยคำ� นงึ ถงึ ประโยชนท์ ปี่ ระชาชน
วยั ทำ� งานจะไดร้ บั และตอ้ งมกี ารพฒั นาชดุ บรกิ ารสง่ เสรมิ สขุ ภาพ ปอ้ งกนั
โรค (Package) อย่างต่อเน่อื ง ให้เปน็ ทส่ี นใจตอ่ ผู้มารบั บริการ

ถอดบทเรยี น ศูนย์สุขภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center) 43

การบรหิ ารจัดการศูนยส์ ขุ ภาพดวี ัยท�ำงาน
รูปแบบ/ลักษณะการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้มีการน�ำเสนอและปรึกษาหารือกับ
ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาล เพอ่ื หาแนวทางและรูปแบบการด�ำเนินงาน และการจัดประชุม
ผ้เู ก่ียวข้อง ได้แก่ กลุ่มงานอาชวี เวชกรรม กลุม่ งานทนั ตกรรม กลมุ่ งานสขุ ศกึ ษา กลุ่มงาน
เวชศาสตรฟ์ ้ืนฟู กลุม่ งานจติ เวช กลุ่มงานวคั ซนี กลุม่ งานเภสัช กลุ่มงานโภชนาการ และ
ทีม NCDs เพื่อทบทวนภารหน้าท่ีหลักที่รับผิดชอบ ก�ำหนดแนวทางการบูรณาการงาน
ร่วมกันก�ำหนดพ้ืนที่จัดต้ังศูนย์ โดยมีการจัดตั้งศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน ณ ที่ท�ำการของ
กลุ่มงานอาชีวะ เน่ืองจากมีภารกิจหลักในการให้บริการตรวจสุขภาพประจ�ำปี การตรวจ
สุขภาพตามความเส่ียงโรคจากการประกอบอาชีพ มีการเปิดบริการทุกวันจันทร์ - ศุกร์
เวลา 8.00 - 16.00 น. ทงั้ นกี้ ารจดั ตงั้ และบรกิ ารจดั การศนู ยฯ์ มเี จา้ ภาพหลกั มกี ารดำ� เนนิ การ
ในรปู แบบคณะกรรมการดำ� เนินงาน เพอื่ ให้เกดิ ความยั่งยนื และความภาคภมู ใิ จ
Core team มแี กนน�ำหลักเป็นกลุ่มงานอาชวี ศกึ ษา เนอ่ื งจากเปน็ ผ้รู ับนโยบาย
ตั้งแต่ต้น โดยมีหัวหน้ากลุ่มงานอาชีวศึกษา เป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการ
ท�ำงาน (หัวหน้ากลุ่มงาน/ตัวแทน) ประกอบด้วยกลุ่มงานเวชกรรม กลุ่มงานทันตกรรม
กลมุ่ งานเวชศาสตรฟ์ น้ื ฟู กลมุ่ งานโภชนาการ กลมุ่ งานเภสชั และทมี NCD ทง้ั นไ้ี ดม้ กี ารเชญิ
ให้นักเภสัชออกจากคณะกรรมการเน่ืองจากไม่มีเน้ืองาน แต่มีการเชิญกลุ่มงานแพทย์
แผนไทยเข้าร่วม
การจัดหางบด�ำเนินการ การ
ด�ำเนินงานของศูนย์ได้รับการสนับสนุน
สมุดคู่มือ 160 เล่ม และป้ายสติ๊กเกอร์
จากสว่ นกลาง (โครงการ) และการจดั ท�ำ
เอกสารหรือถ่ายเอกสารจะใช้งบปกติ
ของโรงพยาบาล ทั้งน้ีได้มีการน�ำเงินจาก
การเก็บค่าบริการมาบริหารจัดการใน
โปรแกรมตรวจสขุ ภาพ

44 ถอดบทเรียน ศนู ย์สุขภาพดีวยั ทำ�งาน (Wellness Center)

วธิ กี ารดำ� เนินงานศนู ยฯ์
จุดเริม่ ต้น/วิธกี ารด�ำเนินงาน การดำ� เนนิ งานศูนยฯ์ มงุ่ เน้นการท�ำงานทัง้ เชิงรกุ
และเชิงรับ เปน็ หน่วยให้บรกิ ารผสมผสานทกุ ดา้ น ใหบ้ ริการกับกลมุ่ เปา้ หมายทกุ ประเภท
โดยในช่วงเริ่มต้นเป้าหมายของศูนย์ฯ มุ่งเน้นการเพ่ิมโปรมแกรมในการการตรวจสุขภาพ
ของทุกคนที่เข้ามาบริการ ที่ต้องช�ำระเงินตามสิทธิในการตรวจสุขภาพปกติ ได้แก่ การ
ตรวจสุขภาพประจ�ำปี ทั้งนี้การด�ำเนินงานที่ผ่านมา “การจัดโปรแกรมพ่วงกับโปรแกรม
ตรวจสขุ ภาพประจำ� ปี” ทัง้ น้ี ลักษณะการให้บรกิ ารเสริมผ่านโปรแกรมตรวจสุขภาพของ
โรงพยาบาล (ภายใน 2 ชั่วโมง) แบบเสยี ค่าบริการ/ ชำ� ระเงิน มี 2 ลักษณะ ดังน้ี
1. การบริการเฉพาะรายเปิดให้บริการแก่ทุกคนท่ีเข้ามาขอรับบริการ ท้ังกรณี
Walk in และการนดั หมายจากหนว่ ยงานราชการ เอกชน สถานประกอบการที่จะเปิดให้
บริการในวนั ศุกร์ (ครึ่งวนั )
2. การบริการกรณีผิดปกติ ภายหลังการคัดกรองจะถูกส่งต่อไปยังคลินิกโรค
อายรุ กรรม โดยมแี พทย์อายุรกรรม 1 ทา่ น ให้บริการตรวจวนิ ิจฉัยทุกวันศกุ ร์กอ่ นส่งตอ่
ผปู้ ว่ ย เชน่ คลนิ กิ จติ เวช คลนิ กิ ฟสิ ฟอไลฟ์ (ตอ้ งการลดนำ้� หนกั : บรกิ ารเครอ่ื งออกกำ� ลงั กาย
วดั องคป์ ระกอบรา่ งกาย ตรวจสอบสมรรถนะทางกาย) ด้านช่องปากสง่ เขา้ ระบบการรกั ษา
ปกติ “คลินกิ ทนั ตกรรม”
ท้ังนี้ศูนย์ยังมีระบบการจัดเก็บบันทึกข้อมูลผู้เข้าใช้บริการ และการติดตาม
ประเมินผลการให้บริการผ่านแบบประเมินความพึงพอใจและใบลงทะเบียนผู้มาใช้บริการ
มกี ารเก็บค่าบรกิ ารเคร่อื งออกกำ� ลังกาย (Fitness) เพม่ิ ในอัตราค่าบริการ 150 บาท/คอรส์
(ระยะเวลา 1 คอร์ส ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน) นอกจากนก้ี ารท�ำงานเชิงรกุ ยงั ได้มกี ารน�ำ
ไอเดียน�ำเสนอกบั กลุ่มโรงงานเทพอรโุ ณทัย โดยมีทันตกรรมรว่ มออกทีม จดั หนว่ ยท�ำฟัน
ไปใหบ้ รกิ ารตรวจสขุ ภาพและความรดู้ า้ นการรกั ษาชอ่ งปาก ซงึ่ จะตอ้ งมกี ารเตรยี มความพรอ้ ม
ของการใหบ้ ริการใหเ้ พียงพอในระยะเวลาจ�ำกัด โดยจดั ใหม้ ีทมี บริการยอ้ มสีฟัน ขูดหนิ ปูน
เป็นต้น ซึ่งจะใชง้ บประมาณ สปสช. โดยศูนยฯ์ ท�ำหน้าประสานโรงงานทต่ี อ้ งการเข้ารับ
บริการ

ถอดบทเรียน ศูนย์สขุ ภาพดีวยั ท�ำ งาน (Wellness Center) 45

การบูรณาการและการมีส่วนรว่ ม
เปน็ การบรู ณาการงานศนู ยฯ์ กบั ระบบงานประจำ�
และการเชอื่ มตอ่ การให้บรกิ ารกบั กลุม่ งานตา่ งๆ เพอ่ื ให้
บรกิ ารรักษาภายหลงั การตรวจคัดกรองเบอ้ื งต้น โดยมี
กลมุ่ งานอาชวี ะ ทำ� หน้าทซ่ี กั ประวตั ิ ตรวจคดั กรองโรค
จากการประกอบอาชพี ชกั ชวนตรวจความเสยี่ งหู ตา ปอด
ตามลกั ษณะ ตรวจสขุ ภาพประจ�ำปี แจกสมดุ คู่มอื และมี
กลุ่มงานอืน่ ๆ เขา้ ร่วมใหบ้ ริการทกุ วันศุกร์ ประกอบดว้ ย
1. นักสุขศึกษา ท�ำหน้าที่ตรวจวัดสมรรถภาพทางกาย
ประเมนิ ความอว้ น ใหค้ วามรู้ 2. นกั โภชนาการ ทำ� หนา้ ท่ี
ประเมินพฤติกรรมการบริโภคเค็มและการรับประทาน
อาหารไม่ถูกสัดส่วน และ 3. ทันตแพทย์ น�ำเตียงมา
ทำ� หนา้ ที่ตรวจสุขภาพในชอ่ งปาก
อนง่ึ บทเรยี นทส่ี ำ� คญั จากการดำ� เนนิ งานทผ่ี า่ น
คือ การจัดทมี โดยต้องเร่ิมจากหวั หนา้ เพือ่ เป็นตวั เช่ือม
ในการชกั ชวนลกู นอ้ งเขา้ มาสำ� หรบั แนวทางการดำ� เนนิ งาน
ในอนาคตโดยในปี 2562 มกี ารม่งุ เน้นการท�ำงานเชงิ รุก
มากขน้ึ โดยการปรบั โครงการสรา้ งการทำ� งานดงึ กลมุ่ งาน
แพทยแ์ ผนไทยและทางเลอื กเขา้ มารว่ มเปน็ คณะกรรมการ
ซ่ึงจะมกี ารแจกยาสมุนไพรการให้บรกิ ารนวดประคบ

46 ถอดบทเรียน ศูนยส์ ุขภาพดวี ัยทำ�งาน (Wellness Center)

วิธี/เทคนิคการจัดการบริการหรือใหบ้ รกิ ารของศนู ย์ฯ
กลมุ่ เป้าหมายเร่ิมตน้ จากกลมุ่ วัยท�ำงานในสถานประกอบการอายุไมเ่ กนิ 59 ปี
ทเี่ ข้าโปรแกรมตรวจสุขภาพประจ�ำปี
ประเภทการใหบ้ ริการ และการจดั Package
■ งานด้านโภชนาการจะอยู่ในทุก Package ซ่ึงจะจัดให้เหมาะสมตามแต่ละ
ข้นั ตอน เช่น ข้ันตอนการใหค้ ำ� แนะน�ำใชว้ ธิ กี ารสกรนี เก็บรปู แบบพฤติกรรม
แนะน�ำสดั ส่วนพลังงานที่เหมาะสม
■ ส�ำหรบั Package การลดน้�ำหนกั จะมี Fitness การประเมินสมรรถนะ ซ่ึง
กลมุ่ งานสขุ ศกึ ษาจะมารบั ชว่ งตอ่ ในสว่ นของงานโภชนาการจะลงรายละเอยี ด
ในเร่ืองสัดส่วนอาหารท่ีแนะน�ำให้สอดคล้องกับการเข้า Fitness แต่ละช่วง
โดยพยายามให้แต่ละสหวิชาชีพได้สนับสนุนงานสอดคล้องแต่ละ Package
ให้มคี วามน่าสนใจมากขึน้
■ จุดทีด่ งึ ดดู คือ มีศนู ย์ Fitness เคร่อื งประเมนิ ไขมัน กล้ามเน้อื เปน็ ต้น
ทมี งานใหบ้ รกิ ารและการต่อยอดงานจากเดิม ได้จดั ตง้ั ตามค�ำสงั่ ประกอบด้วย
แพทย์ (ประธาน) พยาบาล ทันตกรรม นักกายภาพ นักจติ วิทยา นักโภชนาการ และแพทย์
แผนไทย โดยมีการขยายทมี งาน คอื แพทยแ์ ผนไทย เนื่องจากคดิ ต่อยอด Package เดมิ
ท่ีท�ำอยู่ นอกจากน้ียังมีนโยบายเชิงรุกให้ทันตกรรม และแพทย์แผนไทยขาย Package
เพราะสามารถสรา้ งรายได้
ตัวอย่าง case ท่ีให้บริการ ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่นท่ีมีรูปร่างใหญ่ท่ีสนใจมา
เข้าคอร์ส โดยมคี ุณแมพ่ ามา เจ้าหน้าทีค่ ยุ กบั คุณแมเ่ รอื่ งการเขา้ คอรส์ ของนอ้ ง เนื่องจาก
คุณแม่เป็นคนดูแลเร่ืองอาหารและพาน้องออกก�ำลังกาย แต่ปรากฏว่าคุณแม่น�้ำหนักลด
และท�ำได้ดี ท�ำให้น้องมีความพยายามมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อให้คนในครอบครัว
หนั มาใสใ่ จสขุ ภาพ เชน่ คณุ ยายมคี วามดนั ลดลง (สามารถสรา้ งแรงบนั ดาลใจให้คุณยาย
ออกกำ� ลังกายท่ีบ้าน) ก่อนหน้าน้คี ุณแมม่ ีภาวะซมึ เศรา้ แตป่ ัจจบุ ันมีสุขภาพจิตดี แพทย์สงั่
ลดยา

ถอดบทเรยี น ศนู ยส์ ุขภาพดวี ยั ท�ำ งาน (Wellness Center) 47



ถอดบทเรียน ศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำ งาน (Wellness Center) 49

โรงพยาบาลพุทธโสธร


Click to View FlipBook Version