The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-10-03 21:37:44

633984CE-F9E8-4273-BE36-386806BE925B

โวหาร

Keywords: โวหาร

สาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

เรื่อง โวหาร

ความหมายของโวหาร

โวหาร หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบ
เรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการมีชั้นเชิงและมีศิลปะเพื่อสื่อ
ให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึก
ซึ้งรับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร

ประเภทของโวหาร

โวหารจำแนก ตามลักษณะของ

ข้อความหรือเนื้อหาเป็นประเภทต่างๆ

ได้ ดังนี้

1) 2) 3) 4) 5)
บรรยาย พรรณนา เทศนา สาธก อุปมา
โวหาร โวหาร โวหาร โวหาร โวหาร

๑.บรรยายโวหาร

โวหารที่ใช้เล่าเรื่องหรืออธิบายเรื่องราว
ต่างๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียน
บรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน
ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระ
สำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือ

ความปลีกย่อยเสริม

เช่น -การเขียนรายงานวิทยานิพนธ์

-ตำรา

-บทความ

หลักการเขียนบรรยายโวหาร

1) เรื่องที่ 2) เลือกเขียน 3) ใช้ภาษาให้เข้าใจ 4) เรียบเรียง
เขียนต้องเป็น เฉพาะสาระ ง่าย หากต้องการจะ ความคิดให้ต่อ
เรื่องจริง ผู้ สำคัญ ไม่เน้นราย เนื่อง และสัมพันธ์
ละเอียด แต่เขียน กล่าวให้ชัดอาจใช้
เขียนควรมี ตรงไปตรงมาไม่ อุปมาโวหารและสาธก กัน
ความรู้เกี่ยวกับ โวหารเข้าช่วยได้บ้าง
เรื่องที่จะเขียน อ้อมค้อ แต่ต้องไม่มากจนส่วน
เป็นอย่างดี ที่เป็นสาระสำคัญกลาย

เป็นส่วนด้อยไป

ตัวอย่างบรรยายโวหาร

มิ้ม คือ ผึ้งชนิดเล็ก รังโตขนาดจานข้าว ชอบจับอยู่ตามกอไผ่และ
ป่าละเมาะรก ๆ คอนที่มิ้มจับจะไม่โตเกินนิ้วมือ มันจะพอกน้ำหวาน

ไว้รอบคอน ใต้คอนทารังต่อย้อยลงมาสำหรับเป็นที่เกิดของตัว
อ่อน ตัวมิ้มจับหุ้มรังจนแน่นมองไม่เห็นรังสีเหลืองข้างใน ปกติมัน
จะเกาะกันนิ่งเงียบเหมือนไม่มีชีวิต มองเห็นเป็นสีดาเลื่อม แต่ถ้ามี
อะไรไปรบกวน ตัวมิ้มจะไหวตัวยั้วเยี้ย บ้างเตรียมออกจากรังเพื่อ

ต่อสู้และป้องกัน





( เรื่อง เรื่องสั้นชนบท ของ นิมิตร ภูมิถาวร )

๒.พรรณนาโวหาร

มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจาก
บรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง
ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์
ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้น

การเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่า
บรรยายโวหารมาก
เช่น-การเขียนนิยาย

หลักการ 1) ต้องใช้คำดี หมายถึง 2) ต้องมีใจความดี แม้
เขียน การเลือกสรรถ้อยคำ จะพรรณนายืดยาว แต่
พรรณนา ใจความต้องมุ่งให้เกิด
โวหาร เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อ ภาพ และอารมณ์ความ
ภาพ สื่ออารมณ์เหมาะ
สมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการ รู้สึกสอดคล้องกับ
เนื้อหาที่กำลังพรรณนา
บรรยาย
4) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหาร
3) อาจต้องใช้อุปมา ประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้
โวหาร คือ การเปรียบ เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่
ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและ
เทียบเพื่อให้ได้ภาพ อารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับ
ชัดเจน และมักใช้ศิลปะ การชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่
สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์
การใช้คำที่เรียกว่า ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น
ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ
เศร้าสลด เป็นต้น

ตัวอย่างพรรณนาโวหาร

“...หมอกมัวซัวทั่วทุกแห่งหน ลมหนาวกรูเกรียวมาจน
ร่างเขาสั่นสะท้าน ต้นไม้ใบหญ้าที่พอมีอยู่บ้างตามริม
ทาง สัมผัสละอองหมอกที่พราวพร่าง จนใบกลายเป็น
สีขาวหม่น แล้วไหลตามร่องใบหยดลงดังเปาะแปะเมื่อ

กระทบใบไม้ที่เกลื่อนตามใต้ต้น...”

๓.เทศนาโวหาร

โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่ม
แจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรือ
อาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน
คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิด
เห็นของผู้เขียน เทศนาโวหารจึง
ยากกว่าโวหารที่กล่าวมา เพราะ
ต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ

หลักการเขียนเทศนาโวหาร

การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มา
ประกอบ ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้ง
ความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจจนเกิดความรู้สึก
นึกคิดคล้อยตามผู้เขียน หากเป็นการแสดงความคิด
เห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือ

แสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้องมี
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบาย
อย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่าง
ลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความ

คิด

ตัวอย่างเทศนาโวหาร

ขยันหมั่นเพียร คือ ความมุ่งหมั่น ไม่เกียจคร้าน ต่อการ
ทำสิ่งต่างๆ ผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรจะนำมาซึ่งความ

สำเร็จในชีวิต ดังนั้นเพื่อความสำเร็จในชีวิตถึงแม้จะ
เหนื่อยยากอย่างไรก็ไม่ควรท้อถอย ต้องอดทนเพื่อ

อนาคตที่ดีในวันข้างหน้า

๔.สาธกโวหาร

โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการ
ยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้ง
หรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้
หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็น
โวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนา
โวหาร และเทศนาโวหาร การเลือกยก
ตัวอย่างจึงควรเลือกให้เข้ากับเนื้อ

ความ

หลักการเขียนสาธกโวหาร

ควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุด
มุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบาง
โอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดใน
งานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่า
ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่ง
หมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตาม

ลักษณะโวหารนั้น ๆ

ตัวอย่างสาธกโวหาร

…แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจในทางเห็นแก่ตัว เพื่อประโยชน์ของตัวฝ่ายเดียว
และผลแห่งการกระทำนั้นไม่เป็นคุณกับใคร แม้แก่ประเทศชาติบ้าน
เมืองของตัว เช่นนี้เราก็ไม่น่าจะยอมรับเป็นความยิ่งใหญ่ ตัวอย่างใน
ประวัติศาสตร์ไทยของเราเองก็มีอยู่เป็นอันมากไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่า
พระเพทราชาหรือพระเจ้าเสือไม่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ทางอำนาจวาสนา ท่าน

ได้สร้างอำนาจขึ้นมาด้วยความฉลาดเฉียบแหลมด้วยเล่ห์เหลี่ยม
กุศโลบายนานาประการ ด้วยความสามารถในการทำรัฐประหารแย่ง
ราชสมบัติทางทายาทโดยชอบธรรมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ถืออำนาจเต็มเปี่ ยมอยู่ในมือ การกระทำดังกล่าวเป็นตัวอย่างแห่ง
ความยิ่งใหญ่ทางการเมืองแท้ คือ ไม่ต้องนึกถึงศีลธรรมหรือความ
ผูกพันทางจิตใจ ฆ่าได้ไม่เฉพาะแต่ศัตรู และมิตรก็ฆ่าได้ ถ้ามิตรนั้น

ไม่มีประโยชน์อะไรต่อไปอีก

๕.อุปมาโวหาร

โวหารเปรียบเทียบ โดยยกตัวอย่าง สิ่งที่
คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความ
ชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิด
อารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น โดยอาจเปรียบ
เทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่าง
ละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมาโวหารนั้นจะ

นำไปเสริมโวหารประเภทใด

ลักษณะการใช้อุปมาโวหาร

๑. เปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันสองสิ่ง

๒. เปรียบเทียบโดยการโยงความคิด
จากสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งหนึ่ง

๓. เปรียบเทียบโดยการซ้ำคำ
๔. เปรียบเทียบโดยการยกตัวอย่างประกอบ
๕. เปรียบความขัดแย้งหรือเปรียบสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม

๖ เปรียบเทียบโดยใช้ชื่อเทียบเคียง

ตัวอย่างอุปมาโวหาร

…ถ้าแม้เจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริงๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบ
กลับเข้ามาแต่วี่วันไม่ทันรอน เออนี่เจ้าเที่ยวพเนจรนอน
ตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวัน สารพันก็มี ทั้งฤๅษีสิทธิ์
วิทยาธรคนธรรพ์ เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ เห็นแล้วก็
น่าเพลิดเพลินไม่เมินได้ หรือเจ้าปะผลไม้ประหลาดรสสด
สุกทรามเสวยไม่เคยกิน เจ้าฉวยชิมชอบลิ้นก็หลงฉันอยู่จึ่ง
ช้าอุปมาเสมือนหนึ่งภุมรินบินวะวินว่อน เที่ยวซับซาบเอา
เกสรสุคนธมาเลศ พบดอกไท้อันวิเศษต้องประสงค์หลง
เคล้าคลึงรสจนลืมรัง เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้าได้หน้าแล้วลืม

หลังไม่แลเหลียวเที่ยวทอดประทับมากลางทาง



(มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ชูชก : เจ้าพระยาพระคลัง
หน)

สรุปความรู้

บรรยายโวหาร : เทศนาโวหาร : อุปมาโวหาร :
อธิบาย สั่งสอน เปรียบเทียบ

พรรณนาโวหาร : สาธกโวหาร :
ทำให้เห็นภาพ ยกตัวอย่าง

จัดทำโดย

นางสาว ญัณน๊ะห์ เบนอาดัม 6411511980


Click to View FlipBook Version