ผักชี ชื่อพื้นเมือง : ผักชี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum L. ชื่อวงศ์ : Umbelliferae ชื่อสกุล : Coriandrum ชื่อสามัญ : Coriander ลักษณะทางพฤกศาสตร์ ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล ใบ ลักษณะการออกของใบ จะเรียงคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น
ต้นผักชี ลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ใบผักชี คล้ายทรงกลม แต่มีรอยขอบหยักอยู่โดยรอบทำให้ดูเหมือนพัด มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ส่วนใบอ่อน จะมี ลักษณะคล้ายกับขนนก ลำต้นของผักชีนั้นก็เป็นอีกส่วนที่มีกลิ่นหอมไม่แพ้กัน เป็นช่อมีซี่ร่ม ดอกของผักชีนั้นมีทั้งแบบสีขาว และสีม่วงแดงอ่อนๆ
ผลผักชี กลมรี ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อผลแก่จัดเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม แหล่งปลูกที่เหมาะสม - สามารถปลูกได้กับดินแทบทุกชนิด แต่จะชอบดินร่วนมากกว่า - ปลูกได้ทั่วในดินที่มีความชื้นพอสมควร การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ บดเมล็ดพันธุ์ผักชีที่ซื้อมาให้แตกออกเป็น 2 ซีก แล้วนำเมล็ดไปแช่น้ำประมาณ 2-3 ชั่วโมง นำเมล็ดพันธุ์ผักชีที่แช่น้ำแล้วไปผึ่งลม ผสมกับทรายหรือขี้เถ้าเล็กน้อย การเตรียมดิน - เอาดินที่ขุดตากไว้ใส่ลงในหลุมดิน - พลิกดิน โดยเอาดินที่เป็นส่วนตอนบนใส่ลงไปข้างล่าง - เอาดินส่วนล่างก้นหลุมกลบไว้ข้างบน กดให้แน่น - คลุมดินไว้ เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม การเพาะกล้า นำเมล็ดผักชีไปแช่น้ำไว้ 1 คืน จากนั้นล้างน้ำอีก1รอบเพื่อทำความสะอาดสารต่างๆที่เคลือบเมล็ดอยู่ นำกาบมะพร้าวสับ มาเทลงที่ก้นกระถาง จากนั้นเติมดินปลูกที่เตรียมไว้ลงในกระถาง ความสูงพอประมาณ นำเมล็ดผักชีที่ผ่านการแช่และล้างน้ำ มาโรยลงไปให้ทั่ว กะระยะห่างระหว่างเมล็ด พอประมาณ
การปลูกผักชี - หมั่นรดน้ำ - ให้ผักชีโดนแดดตลอดวันหรือเกือบทั้งวัน - ดินต้องร่วนซุน ไม่ขังน้ำ - ถ้าผักชีงอกแล้วใบหงิก แสดงว่ามีเพลี้ยไฟ - ระวังมด หมวดหมู่ เมล็ดผัก East West Seed. การดูแลรักษา การให้น้ำ การให้น้ำ ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่ชอบน้ำขัง ดังนั้น ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น อย่าให้น้ำมากจนโชกเกินไป เพราะผักชีถ้าถูกน้ำหรือฝนมากๆ มักจะเน่าง่าย สำหรับวัชพืชที่ขึ้นใน ระยะแรกควรรีบกำจัดโดยเร็ว โดยใช้มือถอน อย่าปล่อยให้ลุกลามเพราะวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำและอาหารจากผักชี การใส่ปุ๋ย ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ประมาณ 15-30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร เมื่อผักชีแตกใบแล้ว ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ประมาณ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อผักชีอายุประมาณ 20 วันหลังหว่านเม็ด 4.3 โรคและแมลง ควรมีการสำรวจพืชเป็นประจำ โรคที่อาจพบในผักชี ได้แก่ โรคเน่าที่ใบและโคนต้น การเก็บเกี่ยวผักชี ผักชีจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 30-45 วัน เนื่องจากผักชีสามารถใช้ทุกส่วน บริโภค ควรเก็บเกี่ยวโดยการ ถอนด้วยมือติดทั้งต้นและรากไม่ขาด แต่ก่อนถอนควรรดน ้าบน แปลงให้ดินชุ่มชื้นเสียก่อนเพื่อสะดวกในการถอน เมื่อถอนเสร็จแล้วน าไปล้างดินออก ตกแต่ง โดยเด็ดใบเหลืองใบเสียทิ้ง แล้วมัดๆ ละกิโลกรัม น าไปผึ่งลมแล้ว บรรจุเข่ง
โรคที่สำคัญของผักชี โรคเหี่ยวหรือโรคใบเหลือง สาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum ลักษณะอาการ ใบเหี่ยวตก ขอบใบแห้ง ลำต้นบิดเบี้ยว ต้นพืชจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และแห้งตายในที่สุด การป้องกันกำจัด - ปลูกพืชหมุนเวียน - ทำลายพืชที่ติดเชื้อให้หมด - ใช้สารเคมีกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น - ใช้สารเคมีกลุ่ม Inorganic เช่น คอปเปอร์ ไฮดอรกไซด์(ฟังกุราน)
โรคใบไหม้ สาเหตุ เชื้อรา Alternaria ลักษณะอาการ มีจุดสีน้ำตาลดำ เริ่มจากใบล่าง สู่ใบยอด เมื่อใบเริ่มเป็นสีเหลืองจะทำให้ใบหลุดร่วง การป้องกันกำจัด - ปลูกพืชหมุนเวียน - กำจัดพืชที่ติดโรคด้วยการเผาทำลาย - ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ผสมน้ำมันมะพร้าวแล้วนำมาฉีดพ่นทุกๆ 3-7วัน - ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis(dithiocarbamate) เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล)
แมลงศัตรูพืช (เพลี้ยอ่อน) สาเหตุ : ลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงของยอดและฝัก ทำให้ลำต้นแคระ ฝักมีขนาดเล็กลง การป้องกันกำจัด - กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก - ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) - ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง - ใช้น้ำต้มผักที่มีรสขมเช่น สะเดา บอระเพ็ด หรือฟ้าทะลายโจรมาฉีดเป็นประจำ
เพลี้ยไฟ สาเหตุ ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น โดยจะทำให้ใบหรือยอดหงิก ม้วน ดอกพริกร่วงไม่ติด หรือ รูปทรงผลบิดงอ การป้องกันกำจัด - อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ - ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น - ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) - ใช้สารเคมีประเภทสารจับใบ
ประโยชน์ของผักชี 1. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก 2. ป้องกันโรคหวัด 3. แก้อาการกระหายน้ำ 4. ต่อต้านเชื้อโรคต่างๆ ในลำไส้ 5. ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร 6. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง 7. เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ขับถ่ายคล่องมากยิ่งขึ้น 8. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ 9. บำรุงสายตา 10. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเลือด และกล้ามเนื้อ สรรพคุณของผักชี ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมาและกล้ามเนื้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ใช้เป็นน้ำกระสายยา ช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว ไข้อีดำอีแดง ช่วยแก้อาการหวัด ช่วยแก้ไอ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
ข้อควรระวังการรับประทานผักชี มีคำเตือนเกี่ยวกับการกินผักชีมากเกินไปเหมือนกันว่า หากกินมากจนเกินไป อาจจะทำให้กลิ่นตัวแรง เพราะกลิ่น ผักชีจะฝังตัวแน่น และมีอาการตาลาย ความจำไม่ค่อยดี ลืมง่าย ทั้งนี้ เพราะในผักชีมีสารประกอบพวกน้ำมันหอม ระเหยต่าง ๆ อยู่มาก และสารประกอบต่าง ๆ บางตัวมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท