37 บทที่ 2 พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียน พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งครูมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม พัฒนาการและการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของนักเรียน ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายของพัฒนาการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการ หลักพัฒนาการ ประเภทของพัฒนาการ มนุษย์พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ที่ควร กล่าวถึง 3 ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development Theory) ทฤษฎี จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis Theory) และทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคม (Psychosocial Development Theory) เพื่อให้ครูได้เข้าใจถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของนักเรียน ตลอดจนนำแนวคิดทฤษฎีไปใช้ใน การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้แก่นักเรียนได้อย่างสอดคล้อง และเหมาะสม ความหมายของพัฒนาการ นักวิชาการทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศได้ให้ความหมายคำว่า พัฒนาการ (Development) ไว้ ดังนี้ พัฒนาการ หมายถึง ลำดับของการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Process of Change) ของมนุษย์ทุกส่วนที่ต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต การ เปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เป็นขั้น ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่งเพื่อที่จะไปสู่วุฒิภาวะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามลำดับ (สุชา จันทร์เอม, 2540: 1) พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง ตายเกิดขึ้นจากภายในร่างกาย ประกอบด้วย กระบวนการของความงอกงาม (Growth) และความเสื่อม (Decline) โดยมีพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดผลของพัฒนาการซึ่งพัฒนาการนี้จะนำไปสู่ วุฒิภาวะและการเรียนรู้ของบุคคล การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากพัฒนาการ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน ร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และด้านสังคม (จินตนา ณ สงขลา, 2555: 5) พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบและมีความต่อเนื่องภายในตัวบุคคล ซึ่ง เกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งตาย (Shaffer, 2002: 2)
38 สรุปได้ว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดช่วงชีวิตอย่างมีแบบแผนและดำเนินไปตามลำดับขั้น ซึ่งอาจเร็วช้าแตกต่าง กันไปในแต่ละบุคคลในแต่ละช่วงอายุและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีวุฒิภาวะของ Arnold L. Gesell (1880- 1961) ประกอบด้วย พันธุกรรม การเจริญเติบโต วุฒิภาวะ การเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม (Gesell, 1949) 1. พันธุกรรม (Heredity) คือ ลักษณะต่าง ๆ ทางด้านร่างกายและพฤติกรรมที่ได้รับการ ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษผ่านทางยีน (Gene) ซึ่งอยู่ในโครโมโซม (Chromosome) เช่น เพศ รูปร่าง หมู่เลือด สีผม สีผิว บุคลิกภาพบางอย่าง ระดับสติปัญญาหรือโรคทางพันธุกรรมบางชนิด เป็นต้น 2. การเจริญเติบโต (Growth) คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายทั้งภายในและ ภายนอกในเชิงปริมาณ เช่น มีขนาดของแขนหรือขาเพิ่มขึ้น มีการเพิ่มจำนวนของฟัน มีการเพิ่ม สัดส่วนของกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นต้น 3. วุฒิภาวะ (Maturation) คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ อย่างเต็มที่จนถึงขั้นขีดสุดและพร้อมจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามวัย โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดหรือ การฝึกฝน เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีกำหนดเวลาเป็นของตนเอง ดังนั้นจึงสามารถทำนาย วุฒิภาวะได้ เช่น เด็กอายุประมาณ 6 เดือนจะสามารถนั่งได้ เด็กอายุประมาณ 10 เดือนจะสามารถยืน ได้ เป็นต้น 4. การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวรอันเกิด จากประสบการณ์หรือการฝึกฝน เช่น การพูดภาษาอังกฤษ การพิมพ์ดีดคอมพิวเตอร์ การเล่นกีฬา ฟุตบอล เป็นต้น 5. สิ่งแวดล้อม (Environment) คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมถึง ระบบต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการ เช่น มารดาที่ได้รับ สารอาหารอย่างเพียงพอในขณะตั้งครรภ์จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดีเป็นต้น สรุปได้ว่า พันธุกรรมจะถ่ายทอดคุณลักษณะต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาการ ส่วนวุฒิภาวะจะมี อิทธิพลค่อนข้างมากในช่วงแรกของวัย ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมจะเข้ามามี บทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ
39 หลักพัฒนาการ หลักพัฒนาการ (Principle of Developmental) มีลักษณะที่สำคัญ (Gesell, 1949) สรุปได้ ดังนี้ 1. พัฒนาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuity) ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น สมองจะถูกพัฒนาขึ้นมาหลังจากปฏิสนธิประมาณ 3-4 สัปดาห์จนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นต้น 2. พัฒนาการเป็นไปตามลำดับขั้น (Sequence) จึงทำนายได้เนื่องจากอัตราพัฒนาการ ของเด็กปกติส่วนใหญ่จะมีรูปแบบเฉพาะ ไม่ข้ามขั้น เช่น เมื่อเด็กอายุประมาณ 4 เดือนจะสามารถ พลิกตัวและคว่ำได้เมื่อเด็กอายุประมาณ 7 เดือนจะเริ่มนั่งได้ เป็นต้น 3. พัฒนาการมีทิศทาง (Developmental Directions) 2 ทิศทาง ดังนี้ 3.1 เริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalocaudal Growth) เป็นพัฒนาการใน แนวดิ่งมีทิศทางการพัฒนาจากศีรษะไปสู่ปลายเท้า เช่น ศีรษะของเด็กจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าส่วน อื่น ๆ ของร่างกาย เป็นต้น 3.2 เริ่มจากส่วนกลางไปสู่ส่วนปลายของลำตัว (Proximodistal Growth) เป็น พัฒนาการในแนวนอน มีทิศทางการพัฒนาจากแกนกลางของลำตัวไปสู่ส่วนข้างที่อยู่ไกลลำตัวออกไป เริ่มจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย ดังจะเห็นได้จากเมื่อเรียกชื่อเด็ก เด็กจะหันมาหาทั้งตัวซึ่งแตกต่างจาก ผู้ใหญ่ที่หันมาเพียงบางส่วนได้หรือเด็กจะเคลื่อนไหวทั้งลำตัวได้ก่อนการเคลื่อนไหวแขนขาหรือขยับ แขนขาได้ก่อนขยับนิ้ว ดังจะเห็นได้จากการที่เด็กใช้ฝ่ามือกำดินสอเขียนหนังสือ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใหญ่ ที่สามารถใช้นิ้วจับดินสอในการเขียนหนังสือ 4. พัฒนาการของแต่ละคนจะมีอัตราแตกต่างกัน (Ratio) บางคนอาจมีพัฒนาการเร็วใน ขณะที่บางคนอาจมีพัฒนาการช้า เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน 5. พัฒนาการในแต่ละช่วงอายุจะมีอัตราเร็วไม่เท่ากัน (Individual Growth Rate) เช่น ขนาดของสมองจะเจริญสูงสุดเมื่อเด็กอายุประมาณ 6-8 ปี ส่วนความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาอย่าง รวดเร็วในวัยเด็กและถึงขีดสูงสุดเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น เป็นต้น 6. พัฒนาการจะดำเนินไปพร้อม ๆ กันทั้ง 4 ด้าน เช่น เมื่อเด็กเติบโตขึ้นขนาดและ สัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนสูงและน้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะสามารถ ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น รู้จักปรับตัว เข้าใจผู้อื่นเพิ่มขึ้น สื่อสารได้ดีขึ้น เป็นต้น 7. พัฒนาการในทุก ๆ ด้านมีความสัมพันธ์กัน หากพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งเป็นไป ด้วยดีจะทำให้พัฒนาการในด้านอื่น ๆ ดีตามไปด้วย โดยส่วนใหญ่เด็กฉลาดมักมีร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใสและปรับตัวได้ดี แต่หากมีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งด้อยก็จะมีผลต่อ พัฒนาการในด้านอื่น ๆ เช่นเดียวกัน
40 สรุปได้ว่า พัฒนาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นไปตามลำดับขั้น มีทิศทางเริ่มจากส่วนบน ไปสู่ส่วนล่าง เริ่มจากส่วนกลางไปสู่ส่วนปลายของลำตัว โดยพัฒนาการของแต่ละบุคคลจะมีอัตราเร็ว-ช้า แตกต่างกันและในแต่ละช่วงอายุจะมีอัตราเร็วไม่เท่ากัน แต่มีความสัมพันธ์และดำเนินไปพร้อม ๆ กัน ในทุก ๆ ด้าน ประเภทของพัฒนาการมนุษย์ พัฒนาการมนุษย์แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ซึ่งครูควรทำความเข้าใจพัฒนาการของนักเรียนใน ทุกด้านอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแต่ละช่วงวัย ดังนี้ 1. พัฒนาการทางร่างกาย (Physical Development) หมายถึง ความเจริญงอกงามที่ เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายทั้งในด้านขนาด สัดส่วนและวุฒิภาวะ เช่น มีน้ำหนักส่วนสูงเพิ่มขึ้น มีความสามารถในการใช้อวัยวะต่าง ๆได้ดีขึ้น เป็นต้น 2. พัฒนาการทางอารมณ์ (Emotion Development) หมายถึง ความเจริญงอกงามที่ เกี่ยวข้องกับความรู้สึกต่าง ๆ เช่น มีความสามารถในการตระหนักรู้ถึงอารมณ์ มีความสามารถในการ ควบคุมและจัดการกับอารมณ์เป็นต้น 3. พัฒนาการทางสังคม (Social Development) หมายถึง ความเจริญงอกงามที่เกี่ยวข้อง กับความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม เช่น มีความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความสามารถในการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น 4. พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development) หมายถึง ความเจริญงอกงามที่ เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น มีความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีความ สามารถในการคิด มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม มีความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เป็นต้น พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนในแต่ละช่วงวัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระบบ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในช่วงของวัยเด็กตอนต้นถึงวัยรุ่นตอนกลางซึ่งมี ลักษณะเด่นในแต่ละช่วงวัยที่สำคัญ ดังนี้ พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนระดับปฐมวัย วัยเด็กตอนต้น (Early Childhood) มีอายุประมาณ 3-6 ปีในช่วงวัยนี้เพิ่งเริ่มพึ่ง ตัวเองได้จึงเรียนรู้ที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเดิน การพูด การควบคุม การขับถ่าย แต่ทั้งนี้ผู้ใหญ่อาจเห็นว่ายังไม่สามารถทำได้ดีนักจึงห้ามไม่ให้ทำซึ่งเด็กจะไม่ยอมเชื่อฟัง
41 เนื่องจากเป็นช่วงวัยของการปฏิเสธ (Negativistic Period) ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism) คือ สนใจแต่ตนเอง ยึดถือความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่เข้าใจในเหตุผลของผู้อื่น จึงถูกมองว่าเอาแต่ใจ ตนเอง ดื้อหรือสอนยาก พัฒนาการด้านร่างกาย วัยนี้พัฒนาการของเด็กหญิงจะมีความก้าวหน้ามากกว่า เด็กชาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา จึงสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและทำ กิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองได้มากขึ้น กล้ามเนื้อมัดเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อ มือยังไม่ประสานสัมพันธ์กัน ครูจึงควรให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางด้านร่างกายเพื่อฝึกใช้กล้ามเนื้อ เช่น การปั้นดินน้ำมัน การร้อยลูกปัด การวาดภาพระบายสีการจัดกิจกรรมเคลื่อน ไหวและจังหวะ การ เล่นหรือการออกกำลังกลางแจ้ง เป็นต้น พัฒนาการด้านอารมณ์ วัยนี้มีการแสดงอารมณ์อย่างอิสระเปิดเผยเช่นเดียวกับวัย ทารกแต่จะมีการแสดงออกทางอารมณ์มากกว่า เช่น การแสดงความรักต่อพ่อแม่ สัตว์เลี้ยงหรือของ เล่นที่ชอบ การแสดงความอิจฉาในกรณีที่คิดว่าพ่อแม่รักพี่หรือน้องมากกว่าตน การแสดงความโกรธที่ รุนแรงด้วยการร้องไห้ ทิ้งตัวลงนอน ชักดิ้นชักงอ ขว้างปาสิ่งของ ทำร้ายตนเองหรือผู้ใกล้ชิดหากไม่ได้ ในสิ่งที่ต้องการ การแสดงความกลัวเมื่อได้พบกับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่แปลกใหม่เมื่อต้องไป โรงเรียนในครั้งแรก เป็นต้น พัฒนาการด้านสังคม วัยนี้เริ่มเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างเพศ มีการเลียนแบบ พฤติกรรมทางเพศ มีการเล่นแบบคู่ขนาน (Parallel Play) คือ ต่างคนต่างเล่น อาจมีการเล่นกับเพื่อน บ้างแต่จะเล่นได้ไม่นานนักโดยมักจะทะเลาะหรือแย่งของเล่นกันเสียก่อน เนื่องจากยึดตนเองเป็น ศูนย์กลาง ซึ่งเมื่อเด็กไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้จึงสมมุติเพื่อนเล่นขึ้นมาแทนเพื่อ ตอบสนองความต้องการและเพื่อความสุขของตน ครูจึงควรจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ เด็กได้รู้จักการประนีประนอมเพื่อช่วยให้สามารถเข้าสังคมได้ดีขึ้น พัฒนาการด้านสติปัญญา วัยนี้มีความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ แต่ยังไม่สามารถ คิดหาเหตุผลได้ จึงขาดความเข้าใจ เรื่องการคงตัวของสสาร มีข้อจำกัดเรื่องการจำ เนื่องจากยังไม่ สามารถจัดกลุ่มของคำเพื่อช่วยในการจำได้มีความอยากรู้อยากเห็น มีจินตนาการสูง ซึ่งเห็นได้จาก การตั้งคำถามและการเล่นสมมุติของเด็ก ครูจึงควรให้ความสนใจ ตอบคำถาม ไม่แสดงความรำคาญ หรือไม่ตอบ และควรส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนด้วยการเล่น การจัดกิจกรรมเสรีและจัด กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงวัย ส่วนในช่วงปลายวัยเริ่มมีความพร้อม ในการอ่านครูจึงควรส่งเสริมและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านร่วมด้วย พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนในระดับประถมศึกษา วัยเด็กตอนกลาง (Middle Childhood) มีอายุประมาณ 7-9 ปีในช่วงวัยนี้จะให้ ความสนใจไปที่การเล่นสนุกสนานกับเพื่อน โดยอาจมีการเล่นรวมกลุ่มกันทั้งสองเพศหรืออาจมีการ
42 รวมกลุ่มกันเล่นเฉพาะกับเพื่อนสนิทที่ตั้งขึ้นเป็นแก๊ง (Gang Age) เพื่อทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน พัฒนาการด้านร่างกาย วัยนี้เด็กชายจะโตกว่าเด็กหญิง อัตราการเจริญเติบโตช้าลง เล็กน้อย มีการเปลี่ยนแปลงด้านความสูงมากกว่าความกว้างของลำตัว จึงทำให้ดูผอมกว่าในช่วงวัย เด็กตอนต้น กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้น มีความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น คล่องแคล่วว่องไวขึ้น ไม่ค่อยอยู่นิ่ง มีพลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ พัฒนาการด้านอารมณ์วัยนี้มีความสุขสนุกสนานไปกับการเล่นและการทำกิจกรรม ต่าง ๆ เริ่มควบคุมอารมณ์ได้บ้างแต่ยังมีอารมณ์ไม่ค่อยมั่นคงนัก มีความวิตกกังวลเรื่องการเรียนและ การคบเพื่อน กลัวว่าตนจะไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม ชอบการชมเชยและต้องการทำให้ครูพึงพอใจ พัฒนาการด้านสังคม วัยนี้จะเริ่มเรียนรู้ความต้องการของสังคมจึงปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด เริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศ และการแสดงบทบาทที่เหมาะสมกับเพศของตน ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนในวัยเดียวกัน รู้จักเข้าใจ สงสารและเห็นใจผู้อื่น ครูจึงควรจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การฝึกความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย การพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เพื่อให้มีความสอดคล้องกับพัฒนาการในช่วงวัยนี้ พัฒนาการด้านสติปัญญา วัยนี้เมื่อมีอายุประมาณ 7 ปีขึ้นไป สมองจะเจริญเต็มที่ เทียบเท่ากับวัยผู้ใหญ่แต่กระบวนการคิดยังขึ้นอยู่กับการรับรู้เฉพาะในสิ่งที่เห็น เริ่มมีความเข้าใจเรื่อง จำนวน สามารถจัดลำดับได้ มีพัฒนาการทางภาษาเจริญรวดเร็วขึ้นจึงชอบพูดมากกว่าเขียน อ่าน หนังสือได้คล่องขึ้น เมื่ออายุประมาณ 8-9 ปี เริ่มสนใจอ่านหนังสือชีวประวัติ ชีวิตสัตว์และนิทาน ผจญภัย มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จึงเป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องกับพัฒนาการหากฝึก และส่งเสริมให้เกิดนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง วัยเด็กตอนปลาย (Late Childhood) มีอายุประมาณ 10-12 ปี ในช่วงวัยนี้เด็กมี ความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น รับผิดชอบต่องานที่มอบหมายได้ดีขึ้น มีความร่าเริงสนุกสนานในการเล่น และการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ โดยเฉพาะเพื่อนเพศเดียวกันซึ่งแตกต่างไปจากวัยเด็กตอนกลาง พัฒนาการด้านร่างกาย วัยนี้มีพัฒนาการของกล้ามเนื้อ กระดูกและระบบประสาท ดีขึ้นจึงทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของกระดูกและสัดส่วนเพื่อเตรียมเข้าสู่วัยรุ่นโดยเด็กบางคนอาจมีประจำเดือน (Menarche) หรือมี การฝันเปียก (Nocturnal Ejaculation) เด็กหญิงจะสูงและมีน้ำหนักมากกว่าเด็กชาย พัฒนาการด้านอารมณ์วัยนี้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น แต่หากโกรธอาจยังไม่ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีนักจึงมักเห็นเด็กในวัยนี้ทะเลาะ ต่อสู้หรืออาจใช้วาจาที่รุนแรงต่อกัน ครูจึงควรส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ด้วยการฝึกให้นักเรียนรู้จักควบคุมอารมณ์และเป็น ตัวแบบที่ดีด้านการแสดงออกทางอารมณ์
43 พัฒนาการด้านสังคม วัยนี้ชอบเข้ากลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ ล้อเลียนครู ผู้ใหญ่หรือ เพศตรงข้าม มีความรักในหมู่คณะ ให้ความสำคัญกับกลุ่ม เพื่อนจึงมีบทบาทสำคัญต่อเจตคติและ ค่านิยมของเด็ก การพัฒนาทักษะทางสังคมและการปรับตัวจะช่วยให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุขเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ พัฒนาการด้านสติปัญญา วัยนี้สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ตามความเป็นจริง คิดพิจารณาได้อย่างมีเหตุผล แก้ไขปัญหาได้ คิดเปรียบเทียบ จัดกลุ่มและเข้าใจเรื่องความคงตัวของ สสารทั้งในด้านปริมาณ ปริมาตรและน้ำหนัก พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) มีอายุประมาณ 13-15 ปีในช่วงวัยนี้เพศหญิง จะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเพศชายประมาณ 2 ปีเพศชายจึงยังคงเล่นซนเป็นเด็กอยู่ในขณะที่เพศหญิงเริ่ม ให้ความสนใจกับเพศตรงกันข้ามและเริ่มมีลักษณะทางเพศอย่างเด่นชัด มีการเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา สับสนและต้องการค้นหา เอกลักษณ์ต่อต้านผู้ใหญ่ เริ่มแยกตัว ต้องการความเป็นอิสระ อยากโดดเด่น อยากรู้อยากลอง เริ่มมี ความต้องการและมีจินตนาการทางเพศ พัฒนาการด้านร่างกายวัยนี้เริ่มมองเห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายทั้งในเพศ ชายและเพศหญิง เนื่องจากฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมน เพศ (Sex Hormones) เห็นได้จากแขนขาที่ยาวขึ้น ในวัยรุ่นชายกล้ามเนื้อจะเพิ่มมากขึ้น มีลักษณะทาง เพศอย่างเด่นชัด เป็นหนุ่ม นมขึ้นพาน เสียงแตก มีหนวดเครา มีขนาดของอัณฑะเพิ่มขึ้นและเริ่ม ฝันเปียก ส่วนวัยรุ่นหญิงมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ทำให้ดูเป็นสาวขึ้น เต้านมมีขนาดโตขึ้น สะโพก ผายออก รูปร่างมีทรวดทรง พัฒนาการด้านอารมณ์วัยนี้มีอารมณ์ค่อนข้างแปรปรวน (Storm and Stress) คือ มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรวดเร็ว ขัดแย้งในตัวเอง หงุดหงิด เครียด โกรธหรือเศร้าได้ง่าย ยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก อาจมีความหุนหันพลันแล่นขาดความยั้งคิดในบางครั้ง นอกจากนี้ยังมี ความสนใจในเรื่องเพศ เนื่องจากมีอารมณ์และความต้องการทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง พัฒนาการด้านสังคม วัยนี้ต้องการความเป็นอิสระ ให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อน จึงให้ความสนิทสนมกับเพื่อนมากกว่าคนในครอบครัว ทำตามกลุ่ม คบเพื่อนเพศเดียวกันและปรับปรุง บุคลิกภาพของตนตามตัวแบบที่ชื่นชอบ พัฒนาการด้านสติปัญญา วัยนี้มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาอย่างเต็มที่มีความคิด เป็นเหตุเป็นผล คิดในสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้ช่างฝัน มีจินตนาการ ใช้ภาษาได้ดี วัยรุ่นตอนกลาง (Middle Adolescence) มีอายุประมาณ 16-18 ปีในช่วงวัยทั้งสอง เพศเริ่มให้ความสนใจซึ่งกันและกัน อาจมีการแยกออกไปเป็นคู่ ๆ มีความเพ้อฝันเกี่ยวกับความรักและ
44 อนาคต มีทั้งความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่ในตนเองบางครั้งจึงมีความสับสนในบทบาท ต้องการ อิสรเสรี ต้องการความผูกพันและการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนหรือจากสังคม กระบวนการหล่อหลอม จากสังคม ตลอดจนการคบเพื่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวัยนี้ เพราะเมื่อวัยรุ่นอยู่ในกลุ่มสังคมหรือคบ เพื่อนประเภทใดก็มักจะมีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกัน พัฒนาการด้านร่างกาย วัยนี้มีความพร้อมทางด้านร่างกายอย่างเต็มที่และมีพัฒนาการ ทางเพศอย่างสมบูรณ์ลักษณะทางเพศมีความเจริญมากพอที่จะทำหน้าที่สืบพันธ์ได้ตามธรรมชาติ พัฒนาการด้านอารมณ์วัยนี้เริ่มควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นแต่ยังคงวู่วามและมีอารมณ์ที่ รุนแรงอยู่บ้าง เมื่อเกิดอารมณ์ในลักษณะต่าง ๆ (กลัว กังวล โกรธ รักหรืออิจฉาริษยา) จึงแสดงออกอย่าง เต็มที่และมักเปลี่ยนอารมณ์อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังให้ความสนใจกับเรื่องเพศ อยากรู้อยากลอง ตลอดจนมีอารมณ์ความต้องการทางเพศ จึงอาจมีวัยรุ่นบางคนที่หมกมุ่นในเรื่องเพศหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศ พัฒนาการด้านสังคม วัยนี้เริ่มห่างจากครอบครัว เนื่องจากให้ความสนใจกับเพื่อน สนิท เพศตรงกันข้ามหรือคู่รัก แสวงหาความอิสระ ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นซึ่งส่งผลต่อการเห็น คุณค่า ความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเอง มีการควบคุมตนเองได้มากขึ้น เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้า กับกฎเกณฑ์หรือกติกาของกลุ่ม เริ่มสนใจสังคมสิ่งแวดล้อมจึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งและแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม การส่งเสริมให้ทำกิจกรรมจิตอาสาและพัฒนาทักษะทางสังคมจะมีความ สอดคล้องกับพัฒนาการในช่วงวัยนี้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นต่อไป พัฒนาการด้านสติปัญญา วัยนี้สติปัญญาจะพัฒนาอย่างเต็มที่ มีเหตุผล มีความคิด เป็นระบบ สามารถจำแนกแยกแยะมองเห็นความแตกต่างได้ดีมีความสามารถในการคิดแบบ นามธรรม คิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้การจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนด้วยการฝึกทักษะการคิดขั้นสูง โดยเฉพาะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจะช่วยป้องกันความ ผิดพลาด อันเนื่องมาจากการขาดประสบการณ์หรือขาดการไตร่ตรองของวัยรุ่นลงได้นอกจากนี้ควร ส่งเสริมให้รู้จักวางแผนในการเรียนและการเตรียมความพร้อมเพื่อการประกอบอาชีพซึ่งจะช่วยให้ วัยรุ่นมีเป้าหมายในชีวิตเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่าพัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนที่ครูควรทำความเข้าใจ คือ ช่วงวัย เด็กตอนต้นถึงวัยรุ่นตอนกลางที่มีอายุประมาณ 3-18 ปีเนื่องจากเป็นนักเรียนในระดับชั้นปฐมวัยถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีลักษณะเด่นของพัฒนาการและธรรมชาติของในแต่ละช่วงวัยที่ แตกต่างกัน ซึ่งหากครูมีความรู้เรื่องทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการร่วมด้วยแล้วจะช่วยให้เกิดความ เข้าใจในความคิด อารมณ์จิตใจ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของนักเรียนได้เพิ่มขึ้น
45 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ทฤษฎีพัฒนาการที่สำคัญมีหลายทฤษฎีในเนื้อหานี้กล่าวถึงเพียง 3 ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎี พัฒนาการทางสติปัญญา ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีจิตสังคม โดยจะนำเสนอเฉพาะหลักการสำคัญ ของทฤษฎีเนื่องจากในแต่ละทฤษฎียังมีรายละเอียดของเนื้อหาอีกมากที่ไม่สามารถกล่าวถึงได้ทั้งหมด ซึ่งหากท่านมีความสนใจขอให้ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือหรือตำราจิตวิทยาพัฒนาการโดยตรง 1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development Theory) พัฒนาขึ้นโดย Jean Piaget ซึ่งให้ความสำคัญกับความพร้อมทางการเรียนและได้อธิบายว่า การเรียนรู้จะเป็นไปตาม พัฒนาการทางสติปัญญาอย่างเป็นลำดับขั้น ครูจึงควรสอนนักเรียนตามลำดับขั้นของพัฒนาการและ ส่งเสริมนักเรียนให้มีประสบการณ์ตรงในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนได้จัดข้อมูล เรียบเรียง รวบรวมและซึมซับประสบการณ์ใหม่เข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญาจนเกิดการปรับขยาย โครงสร้างทางปัญญาขึ้นจากการผสมผสานความคิดหรือความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือ ประสบการณ์ใหม่เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นพัฒนาการทางการรู้คิด ขั้นพัฒนาการทางการรู้คิด (Stages of Cognitive Development) ประกอบด้วย 4 ขั้น ซึ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยเมื่อสำเร็จถึงขั้นหนึ่งแล้วจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าตามลำดับ ดังนี้ 1. ขั้นการสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) เป็นขั้นพัฒนาการของ เด็กอายุประมาณ 0-2 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วย การสัมผัสและการเคลื่อนไหว เด็กจึงแก้ไขปัญหาได้ด้วยการกระทำเท่านั้น แบ่งออกเป็น 6 ขั้นย่อย ได้แก่ 1.1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive) ช่วงอายุประมาณ 0-1 เดือน ซึ่งเป็นวัย ของเด็กทารกแรกเกิดที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังภาพประกอบที่ 2.1
46 ภาพประกอบที่ 2.1 เด็กทารกแรกเกิด ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (13 กันยายน 2553) วัยนี้พฤติกรรรมการตอบสนองเป็นไปตามระบบประสาทอัตโนมัติเพื่อปรับตัวให้เข้า กับสิ่งแวดล้อมและจะค่อย ๆ หายไปเมื่อทารกอายุเพิ่มขึ้น เช่น Moro Reflex (เมื่อถูกทำให้สะดุ้ง ตกใจทารกจะผวา สองแขนจะตวัดขึ้นพร้อมกับงอมืองอเท้า จับหรือคว้าบางสิ่งไว้อย่างรวดเร็วมักจะ หายไปในช่วงอายุประมาณ 3-6 เดือน) Grasping Reflex (การกำมือและเกี่ยวเท้าแน่นไว้กับสิ่งใดสิ่ง หนึ่งมักจะหายไปในช่วงอายุประมาณ 4 เดือน) Swimming Reflex (เมื่อคว่ำหน้าทารกลงในน้ำ ทารก จะใช้ขาเตะน้ำ และเอามือตีน้ำมักจะหายไปในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน) เป็นต้น 1.2 ขั้นพัฒนาอวัยวะเคลื่อนไหวด้านประสบการณ์เบื้องต้น (Primary Circular Reactions) ช่วงอายุ 1-3 เดือน เป็นวัยที่เด็กแสดงพฤติกรรมง่าย ๆ และกระทำซ้ำ ๆ โดยไม่มีจุดมุ่งหมาย เช่น การกำมือเข้า กำมือออกซ้ำ ๆ เป็นต้น 1.3 ขั้นพัฒนาอวัยวะเคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย (Secondary Circular Reactions) ช่วงอายุ 4-6 เดือน เป็นวัยที่เด็กแสดงพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพราะสนใจในผลของพฤติกรรมนั้น เช่น เด็กยก ขาแตะปลาตะเพียนที่แขวนอยู่บนอู่ เพราะสนใจการเคลื่อนไหวของปลาตะเพียนหรือเด็กสั่นกระดิ่งซ้ำ ๆ ไปมา เพราะสนใจในเสียงของกระดิ่ง เป็นต้น ดังภาพประกอบที่ 2.2
47 ภาพประกอบที่ 2.2 การสั่นกระดิ่งซ้ำ ๆ ไปมา ของเด็กวัย 4 เดือน ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (20 พฤศจิกายน 2551) 1.4 ขั้นพัฒนาการประสานของอวัยวะ (Coordination of Secondary Reactions) ช่วง อายุ7-10 เดือน เป็นวัยที่เด็กแก้ไขปัญหาง่าย ๆ ได้ด้วยประสบการณ์เดิม เช่น เด็กสามารถหาขนมที่ ผู้ใหญ่ซ่อนไว้ใกล้ๆ ได้ เป็นต้น 1.5 ขั้นพัฒนาความคิดริเริ่มแบบลองผิดลองถูก (Tertiary Circular Reactions) ช่วง อายุ 11-18 เดือน เป็นวัยที่เด็กเริ่มลองผิดลองถูกด้วยการทดลองทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ หลายรูปแบบและ สนใจในผลของพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น การแสดงพฤติกรรมจึงมีจุดมุ่งหมายและมีความคิดริเริ่มเพิ่มขึ้นซึ่ง มีความแตกต่างไปจากขั้นพัฒนาอวัยวะเคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมายที่ทำซ้ำ ๆ ในพฤติกรรมแบบเดิม 1.6ขั้นเริ่มต้นของความคิด (Beginning of Thought) ช่วงอายุ 18 เดือน-2 ปีที่มีการ พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาขึ้น เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เริ่มใช้ ความคิดในการแก้ไขปัญหา เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม มีจินตนาการและสามารถเลียนแบบ ผู้ใหญ่ได้จากการจำ 2. ขั้นก่อนการคิดแบบเหตุผล (Preoperational Stage) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ ประมาณ 2-7 ปีซึ่งเป็นขั้นเริ่มคิด เริ่มเข้าใจ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นย่อย ได้แก่ 2.1 ขั้นก่อนเข้าใจความคิดรวบยอด(PreconceptualStage) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ ประมาณ 2-4 ปีที่พัฒนาการทางภาษาเจริญอย่างรวดเร็ว เด็กสามารถเข้าใจและใช้ภาษาเพื่อแก้ไขปัญหา ต่างๆ ได้เริ่มมีเหตุผลแต่เหตุผลยังมีขอบเขตจำกัด เนื่องจากยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจึงไม่สามารถเข้าใจ ความคิดของผู้อื่น ความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ ยังอยู่ในระดับต้นความคิดยังพัฒนาไม่เต็มที่ มีการรับรู้ใน มิติเดียว ไม่เข้าใจเรื่องแสงและเงา เช่น ครูนำภาพนก 1 ตัวที่เมื่อบินผ่านพระอาทิตย์จะเกิดเงาของนก
48 ที่ด้านล่างของภาพมาให้ดูแล้วถามนักเรียนว่าในภาพมีนกทั้งหมดกี่ตัว ซึ่งนักเรียนจะตอบว่ามีนก 2 ตัว โดยนับนกตัวที่อยู่ด้านบน 1 ตัวและนับนกตัวที่อยู่ด้านล่างด้วยอีก 1 ตัว เป็นต้น ไม่สามารถคิดย้อนกลับได้ เช่น ไม่เข้าใจว่า 3 + 3 = 6 แล้ว 6 –3 = 3 หรือหมีแพนด้า 2 ตัว ชื่อ หลินปิงเหมือนกัน นักเรียนจะเข้าใจว่าหมีแพนด้าทั้ง 2 ตัวที่มีชื่อเหมือนกันจะเป็นตัวเดียวกัน และมีทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด เป็นต้น ไม่สามารถจัดเรียงลำดับได้ เช่น การทดลองเรื่อง การจัดเรียงลำดับตามกิจกรรม สัมภาษณ์เด็กของ Piaget โดยให้นักเรียนดูลำดับขั้นการล้มของดินสอ เป็นต้น ดังภาพประกอบที่ 2.3 ภาพ A ภาพ B ภาพ C ภาพ D ภาพประกอบที่2.3 ลำดับขั้นการล้มของดินสอ หลังจากนั้นจึงนำดินสอจริงมาจับตั้งให้ตรงและปล่อยให้ล้ม โดยให้นักเรียนสังเกต การล้มของดินสอและให้เรียงรูปภาพดินสอที่ตั้งตรงจนกระทั่งล้มลงบนพื้นให้ถูกต้องตามลำดับขั้น ดังภาพประกอบที่ 2.4 ภาพประกอบที่ 2.4การทดลองความเข้าใจเรื่องการจัดเรียงลำดับ ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (4 กรกฎาคม 2558)
49 จากภาพประกอบที่ 2.4 พบว่า นักเรียนไม่สามารถจัดเรียงลำดับได้ โดยนักเรียนจะ ตอบลำดับการล้มของดินสอถูกต้องเฉพาะรูปในภาพประกอบที่ 2.3 ภาพ A (เริ่มต้น) และภาพ D (สิ้นสุด) ส่วนภาพ B และภาพ C นักเรียนจะตอบลำดับการล้มของดินสอไม่ถูกต้อง (ตอบสลับกันไปมาระหว่าง ภาพ B และภาพ C) จึงแสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีอายุประมาณ 2-4 ปียังไม่สามารถจัดเรียงลำดับได้ ขาดความเข้าใจเรื่อง การอนุรักษ์ (Conservation of Substance) ดังเช่น การทดลอง ความเข้าใจ เรื่อง การอนุรักษ์ของสสารตามกิจกรรมสัมภาษณ์เด็กของ Piaget โดยให้นักเรียนดูรูปวงกลม 2 รูป ที่สมมุติว่าเป็นขนม 2 อัน แล้วถามนักเรียนว่าขนม 2 อันนี้เท่ากันหรือไม่ หลังจากนั้นจึงแบ่งวงกลม อันหนึ่งออกเป็น 2ส่วนเท่าๆ กัน แล้วถามนักเรียนซ้ำว่าขนม 2อันนี้เท่ากันหรือไม่ อันไหนมากกว่าหรือ น้อยกว่ากัน ซึ่งนักเรียนจะตอบว่าขนมที่มีอยู่เต็มอันมีมากกว่า ดังภาพประกอบที่ 2.5 ภาพประกอบที่2.5การทดลองความเข้าใจ เรื่องการอนุรักษ์ของสสาร เทปวีดีทัศน์โดย วีนัส ภักดิ์นรา (17 ธันวาคม 2558) นอกจากนี้ยังเป็นช่วงวัยของการเลียนแบบจากตัวแบบที่มีชีวิต (พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู พี่ น้อง) และตัวแบบที่ไม่มีชีวิต (นักแสดง นักร้อง ซุปเปอร์ฮีโร่หรือการ์ตูน) จึงมีการเล่นขายของ เล่น กับตุ๊กตา การใช้กล่องกระดาษแทนรถยนต์ การเล่นม้าก้านกล้วย การแสดงท่าทางตามตัวแบบหรือ แสดงความพึงพอใจเมื่อเห็นตัวแบบที่ตนชื่นชมชื่นชอบ ดังภาพประกอบที่ 2.6
50 ภาพประกอบที่2.6 เด็กแสดงความพึงพอใจโดยการถ่ายภาพกับตัวแบบที่ตนชื่นชอบ ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (7 ธันวาคม 2553) 2.2 ขั้นเข้าใจเหตุผล (Intuitive Stage) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุประมาณ 4-7 ปี ที่เด็กมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รู้จักจัดหมวดหมู่ (Multiple Classification) จำแนก ประเภท เข้าใจความหมายของจำนวน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ สามารถนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบาย หรือแก้ไขปัญหาในสิ่งอื่น ๆ ได้ แต่การคิดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้เห็นด้วยตาหรือได้สัมผัสจากของจริง เท่านั้นจึงยังขาดความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ซึ่งต้องอาศัยความสามารถด้านเหตุผล ดังภาพประกอบที่2.7 แท่งไม้A แท่งไม้A แท่งไม้B แท่งไม้B ภาพประกอบที่2.7 การทดลองตามกิจกรรมสัมภาษณ์เด็กของ Piaget เรื่อง การอนุรักษ์
51 จากภาพประกอบที่ 2.7 นี้อธิบายเรื่อง การอนุรักษ์จากการทดลองตามกิจกรรม สัมภาษณ์เด็กของ Piaget ได้ว่าเมื่อนำแท่งไม้ A และแท่งไม้ B ซึ่งมีความยาวเท่ากันมาให้นักเรียนที่มี อายุย่างเข้าปีที่ 7 ดูและถามนักเรียนว่าแท่งไม้ 2 แท่งนี้ยาวเท่ากันหรือไม่ ซึ่งนักเรียนจะตอบว่ายาว เท่ากัน หลังจากนั้นจึงเลื่อนแท่งไม้ B ออกไปและถามนักเรียนอีกครั้งว่า แท่งไม้ทั้ง 2 แท่งยาวเท่ากัน หรือไม่ ซึ่งนักเรียนจะตอบว่าแท่งไม้ทั้ง 2 แท่งมีความยาวไม่เท่ากัน โดยตอบว่าแท่งไม้ B มีความยาว มากกว่าแท่งไม้ A ดังภาพประกอบที่ 2.8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักเรียนไม่สามารถเข้าใจเรื่อง การอนุรักษ์ ความยาวและสามารถรับรู้ได้เฉพาะในสิ่งที่ตนมองเห็น ภาพประกอบที่2.8 การทดลองความเข้าใจ เรื่องการอนุรักษ์ความยาว ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (13 ธันวาคม 2558) เริ่มรู้จักการจัดหมวดหมู่ ดังเช่น การทดลองเรื่อง การจัดหมวดหมู่ตามกิจกรรม สัมภาษณ์เด็กของ Piaget โดยนำกล่อง 2 กล่องพร้อมกับกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลมและรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมีรูปร่างและสีที่แตกต่างกันสองสีวางไว้ตรงหน้านักเรียน แล้วให้นักเรียนหยิบกระดาษที่มีรูปร่าง เหมือนกันใส่ลงในกล่อง หลังจากนั้นจึงหยิบกระดาษทั้งหมดออกมาวางบนโต๊ะอีกครั้ง โดยจัดกลุ่มใหม่ให้ แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งพบว่านักเรียนสามารถจัดกลุ่มจากสีได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความคิด ของนักเรียนว่า เริ่มรู้จักจัดหมวดหมู่ แยกประเภทและเริ่มเรียนรู้ว่าการจัดประเภทนั้นจะมีวิธีการ มากกว่า 1 วิธี(การจัดกลุ่มจากรูปร่างและการจัดกลุ่มจากสี) ดังภาพประกอบที่ 2.9
52 ภาพประกอบที่2.9 การทดลองความเข้าใจ เรื่องการจัดหมวดหมู่ เทปวีดีทัศน์โดย วีนัส ภักดิ์นรา (18 ธันวาคม 2558) ขาดความเข้าใจเรื่อง ปริมาณของของเหลว โดยเมื่อนำแก้วน้ำ 2 ใบที่มีขนาดเท่ากัน มาให้นักเรียนดู แล้วเทน้ำใส่ลงไปในแก้วทั้ง 2 ใบด้วยปริมาณเท่ากัน (ภาพ A) หลังจากนั้นจึงเทน้ำไป ยังแก้วอีกใบที่สูงกว่า (ภาพ B) และถามนักเรียนว่าแก้วใบไหนมีน้ำมากกว่ากัน ซึ่งนักเรียนจะตอบว่า แก้วใบที่สูงกว่ามีน้ำมากกว่า (ภาพ C) ดังการทดลองในภาพประกอบที่ 2.10 ที่แสดงให้เห็นว่านักเรียน ขาดความเข้าใจ เรื่อง การอนุรักษ์ปริมาณของของเหลวและสามารถรับรู้ได้เฉพาะจากสิ่งที่ตนมองเห็น ภาพ A ภาพ B ภาพ C ภาพประกอบที่2.10การทดลองความเข้าใจ เรื่อง ปริมาณของของเหลว ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (13 ธันวาคม 2558) 3. ขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงรูปธรรม (Concrete Operations Stage) เป็นขั้น พัฒนาการของเด็กอายุประมาณ 7-11 ปี วัยนี้สามารถจัดกลุ่ม แบ่งหมวดหมู่ เริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของ
53 เหตุและผล แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) เปรียบเทียบ ลำดับ (Seriation)สร้างภาพในใจ(Mental Representation)รู้เวลาและอัตราเร็ว มีความสามารถในการจำ ดีขึ้น สื่อสารกับผู้อื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้เพิ่มขึ้น เริ่มมีความเข้าใจเรื่อง การอนุรักษ์ปริมาตร ของแข็งและปริมาณของของเหลว 4. ขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงนามธรรม (Formal Operations Stage) เป็นขั้นพัฒนาการ ของเด็กอายุประมาณ 11 ปีขึ้นไป วัยนี้จะเริ่มมีความคิดแบบผู้ใหญ่จึงสามารถคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจาก ข้อมูลที่เห็นหรือมีอยู่ คิดแก้ไขปัญหา แยกแยะและใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบได้ด้วยกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นจึงได้สรุปขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ตามช่วง อายุโดยประมาณและลักษณะของพัฒนาการที่สำคัญ ไว้ในตารางที่ 2.1 ตารางที่ 2.1 ขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ขั้น อายุ ประมาณ ลักษณะของพัฒนาการ 1. ขั้นการสัมผัสและ การเคลื่อนไหว 0-2 ปี - รับรู้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า - จำในสิ่งที่น่าสนใจและเริ่มเลียนแบบ - เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสและการ กระทำ - เริ่มมีพัฒนาการทางภาษา 2. ขั้นก่อนการคิด แบบเหตุผล 2-4 ปี ขั้นก่อนการเข้าใจความคิดรวบยอด - ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางไม่เข้าใจในความคิดของผู้อื่น - รับรู้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า - มีจินตนาการ 4-7 ปี ขั้นเข้าใจเหตุผล - แยกประเภทได้ - เข้าใจในความเหมือนแต่ยังไม่เข้าใจในความแตกต่าง - เริ่มเข้าใจเหตุผลแต่ยังไม่สามารถใช้เหตุผลในการแก้ไข ปัญหาได้ - คิดเปรียบเทียบได้ - เริ่มเข้าใจเรื่องปริมาณ ปริมาตรและน้ำหนัก
54 ขั้น อายุ ประมาณ ลักษณะของพัฒนาการ 3. ขั้นการคิดแบบ เหตุผลเชิงรูปธรรม 7-11 ปี - คิดแบบรูปธรรมได้ - จัดเรียงลำดับได้ - จัดหมวดหมู่ได้ - คิดย้อนกลับได้ - เริ่มมีการถ่ายโยงการเรียนรู้ 4. ขั้นการคิดแบบ เหตุผลเชิงนามธรรม 11 ปีขึ้นไป - คิดแบบนามธรรมได้ - คิดอย่างมีเหตุผล - คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์และคิดแก้ไขปัญหาได้ - คิดเชิงวิทยาศาสตร์ ตั้งสมมุติฐานอย่างมีเหตุผลได้ จากตารางที่ 2.1 สรุปได้ว่า พัฒนาการทางสติปัญญาจะมีความซับซ้อนขึ้นตามอายุ โดย ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามลำดับขั้น ทั้งนี้อาจพบว่ามีเด็กบางคนที่มีพัฒนาการต่ำกว่าหรือสูงกว่าลำดับขั้น พัฒนาการทางสติปัญญาตามที่ Piaget ได้กำหนดไว้ ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการให้แก่นักเรียนจึงควร พิจารณาให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและสอดคล้องกับสติปัญญาของนักเรียนเป็น สำคัญ การนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการ 1. ครูควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียน โดยขั้นพัฒนาการทางสติปัญญา ของ Piaget ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในช่วงวัยเรียนจะอยู่ในขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดแบบเหตุผลถึงขั้นที่ 4 ขั้น การคิดแบบเหตุผลเชิงนามธรรม ตามแนวคิดของ Piaget พัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับ ขั้น ดังนั้นจึงไม่ควรเร่งให้เด็กข้ามจากพัฒนาการในขั้นหนึ่งไปสู่พัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง ไม่บังคับให้เรียนรู้ หากนักเรียนยังไม่พร้อม เนื่องจากการสอนเมื่อขาดความพร้อมย่อมไม่ได้ผลดีและการสอนในสิ่งที่ยากเกิน กว่าพัฒนาการจะทำให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียน ต่อรายวิชาหรือต่อครูผู้สอนได้ทั้งนี้การจัด ประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการในช่วงที่นักเรียนกำลังจะข้ามจากพัฒนาการหนึ่งไปสู่ขั้นที่สูงขึ้นจะ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า 2. ครูควรจัดลำดับความยากง่ายของบทเรียน เริ่มสอนจากสิ่งใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว สอนในสิ่งที่นักเรียนเคยมีประสบการณ์เดิมก่อนแล้วจึงสอนในสิ่งใหม่ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่นักเรียน เคยรู้มาแล้ว นอกจากนี้การสอนจากประสบการณ์ตรงจะทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์จากการมี ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้นักเรียนซึมซับข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างความคิดและ เรียนรู้ไปสู่สิ่งใหม่ในขั้นที่สูงขึ้น
55 3. ครูควรมีการปรับเนื้อหา เลือกใช้วิธีการสอนและนำสื่อต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับ พัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียน มีการกระตุ้นและท้าทายความคิดเพื่อให้นักเรียนเกิดการคิดใน ขั้นที่สูงขึ้น ดังนี้ 3.1 ในระดับปฐมวัย มีพัฒนาการทางสติปัญญาอยู่ในขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดแบบ เหตุผล ครูจึงควรใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม มองเห็นได้จับต้องได้ โดยมีการอธิบายเนื้อหาหรือใช้คำสั่งสั้น ๆ ด้วยถ้อยคำที่เข้าใจได้โดยง่าย มีการใช้นิทานเป็นสื่อ การใช้ท่าทางประกอบการสาธิตจะช่วยให้ นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ครูจัดประสบการณ์ให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากในเด็กเล็กโครงสร้างความคิดในรูปของ การกระทำ (Operative Knowledge) และโครงสร้างความคิดในรูปของข้อเท็จจริง (Figurative Knowledge) ยังไม่ซับซ้อนซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นโครงสร้างความคิดนี้จึงจะมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น 3.2 ในระดับประถมศึกษา มีพัฒนาการทางสติปัญญาอยู่ในขั้นที่ 3 ขั้นการคิดแบบ เหตุผลเชิงรูปธรรม ครูจึงยังคงมีการใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม มองเห็นได้ จับต้องได้โดยอาจมีการจัด สถานการณ์จำลองต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้คิด ได้ทดลองหรือได้ปฏิบัติด้วยตนเองให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วย ขยายความเข้าใจและส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยควรเพิ่มการสอนในรายวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เนื่องจากเด็กเริ่มมีความสามารถในการคิดย้อนกลับ จัดหมวดหมู่ได้และ มีการคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น 3.3 ในระดับมัธยมศึกษา มีพัฒนาการทางสติปัญญาอยู่ในขั้นที่ 4 ขั้นการคิดแบบ เหตุผลเชิงนามธรรม ครูจึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พิสูจน์สมมุติฐานต่าง ๆ มีการจัดการเรียนการ สอนเพื่อให้นักเรียนได้แก้ไขปัญหาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการสอนให้เกิดความคิดรวบยอด และฝึกทักษะกระบวนการคิดในขั้นสูงให้แก่นักเรียน เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณาณ การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น 2. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) พัฒนาขึ้นโดย Sigmund Freud ซึ่งได้อธิบายถึง โครงสร้างบุคลิกภาพไว้3 ส่วน ดังนี้ Id เป็นแรงขับและความต้องการพื้นฐานที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งยังไม่ได้รับการ ขัดเกลา เปรียบเสมือนสันดานดิบที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองต่อความต้องการตามสัญชาตญาณและ ผลักดันให้กระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุขตามหลักความพึงพอใจโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้อง หรือความเหมาะสม ego เป็นส่วนของจิตซึ่งทำหน้าที่วางแผนการตอบสนองต่อความต้องการของ Id ด้วย กระบวนการคิด การใช้หลักของเหตุและผลการใช้สติปัญญาและการรับรู้มาช่วยในการตัดสินใจเพื่อ แสดงพฤติกรรมให้ถูกต้องตามกาลเทศะและเหมาะสมกับหลักความเป็นจริง
56 Super ego เป็นส่วนของจิตที่ได้รับการขัดเกลาอันเกิดจากประสบการณ์ต่าง ๆ และ เพื่อควบคุมจริยธรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานและบรรทัดฐานของสังคม จึงนำหลักการทางศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและค่านิยมต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้แสดงพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง โครงสร้างของบุคลิกภาพทั้ง 3 ส่วนนี้หากมีความสัมพันธ์กันดีจะทำให้แสดงพฤติกรรม หรือมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แต่หากทำหน้าที่ขัดแย้งกันซึ่งอาจเกิดจากความคับข้องใจ ความผิดหวัง ความกลัว ความวิตกกังวลหรืออื่น ๆ จะทำให้บุคคลสร้างกลไกในการป้องกันตนเอง เช่น เก็บกด โยน ความผิดให้ผู้อื่น รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง องุ่นเปรี้ยวมะนาวหวาน ถดถอย แสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความรู้สึกหรือความต้องการที่แท้จริง แสแสร้ง สร้างวิมานในอากาศ ฝันกลางวัน แยกตัว หาสิ่งมาทดแทน ชดเชย และย้ายอารมณ์ซึ่งอาจมีข้อดีในการช่วยลดความทุกข์ผ่อนคลาย ความเครียด แต่หากมีความขัดแย้งภายในจิตใจอย่างรุนแรงหรือคับข้องใจมากอาจส่งผลต่อพฤติกรรม หรือบุคลิกภาพที่ผิดปกติได้เป็นต้น นอกจากนี้Freud ยังได้จำแนกระดับความรู้ตัวในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคล ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ จิตสำนึก (Conscuios) คือ พฤติกรรมที่แสดงออกมาในขณะที่รู้ตัวจึงเป็นพฤติกรรมที่ มีเจตนาและมีจุดมุ่งหมาย เช่น นักศึกษาตั้งใจเรียนเพื่อการประกอบอาชีพครูในอนาคต นักศึกษา เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของสังคม เป็นต้น จิตกึ่งรู้สำนึก (Subconscuios) คือ พฤติกรรมที่ก้ำกึ่งระหว่างการมีสติรู้ตัวกับการขาด สติไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อพลั้งเผลอคิด พูดหรือทำตามจิตใต้สำนึกไปแล้วนึกขึ้นได้ว่าไม่ควรคิด ไม่ควรพูด หรือไม่ควรกระทำเช่นนั้น จึงเปลี่ยนให้จิตสำนึกเข้ามามีบทบาทแทนที่และรวมถึงการแสดงพฤติกรรม บางอย่างตามความเคยชินหรือพฤติกรรมที่ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ จิตใต้สำนึก (Unconscuios) คือ พฤติกรรมภายในส่วนที่เป็นอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความใฝ่ฝัน การรอคอย ความทรงจำ ประสบการณ์ต่าง ๆ ในอดีตที่เป็นพลังผลักดันให้เกิดพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมที่แสดงออกไปแบบขาดสติ ไม่รู้ตัว มักปรากฏอยู่ในรูปของความฝันหรือการ พลั้งปากพูด ซึ่งในเวลาที่จิตใจอยู่ในสภาวะปกติจะถูกเก็บกดเอาไว้ไม่ให้แสดงออกมา แต่เมื่อได้รับ ความกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจอย่างรุนแรงจึงจะเปิดเผยออกมา เปรียบเสมือนกับก้อนน้ำแข็งที่ จมอยู่ใต้ผิวน้ำซึ่งมองไม่เห็น แต่เมื่อต้องเจอกับโขดหิน คลื่นลมแรง พายุที่โหมกระหน่ำ ภูเขาน้ำแข็งที่ เคยจมอยู่ใต้น้ำก็จะโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมา เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น จึงได้สรุประดับความรู้ตัวในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของ บุคคลไว้ดังภาพประกอบที่ 2.11
57 ภาพประกอบที่2.11 ระดับความรู้ตัวในการแสดงพฤติกรรมตามแนวคิดของ Freud ที่มา: Gleitman, Gross and Reisberg (2011: 607) พัฒนาการทางบุคลิกภาพ พัฒนาการทางบุคลิกภาพ แบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้ 1. ขั้นปาก (Oral Stage) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 0-18 เดือน เป็นขั้นแสวงหาความสุข และความพึงพอใจที่ได้รับทางปาก เช่น การดูดนม การสัมผัสสิ่งแปลกใหม่ด้วยปาก การเคี้ยว การกัด การทำเสียงอ้อแอ้การพูด เป็นต้น ซึ่งหากเด็กได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ โตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่ที่มี บุคลิกภาพเหมาะสมแต่หากมีการยึดติดจะทำให้เกิดบุคลิกภาพที่เรียกว่า Oral Personalityคือ เมื่อโต ขึ้นยังคงแสดงพฤติกรรมการแสวงหาความสุขด้วยปากอยู่ เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่กินจุบจิบ พูดจาเยาะเย้ย ถากถาง ใส่ร้ายป้ายสีหรือนินทาผู้อื่น เป็นต้น 2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 18 เดือน-3 ปี เป็นขั้นแสวงหา ความสุขและความพึงพอใจบริเวณทวารหนัก ในระยะนี้เด็กเริ่มมีความสามารถในการควบคุมอวัยวะ ขับถ่าย การฝึกให้เด็กขับถ่ายจึงควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและสามารถ พัฒนาบุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและอ่อนโยน แต่หากเด็กถูกฝึกให้ขับถ่ายด้วยวิธีการที่รุนแรงจะทำให้มีการยึดติด เกิดบุคลิกภาพที่เรียกว่า Anal Personality และเก็บความรู้สึกไม่พอใจนี้ไว้ในจิตใต้สำนึก ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมา จิตสำนึก จิตกึ่งรู้สำนึก จิตใต้สำนึก Id หลักพึงพอใจ Ego หลักความเป็นจริง Super ego หลักปฏิบัติ จรรยาบรรณ
58 เช่น หากพ่อแม่เข้มงวดเรื่องขับถ่ายจะทำให้เด็กมีนิสัยดื้อรั้น หากพ่อแม่ควบคุมเรื่อง ความสะอาดมาก จนเกินไปจะทำให้เป็นคนเจ้าระเบียบ จู้จี้พิถีพิถัน เป็นต้น ซึ่งหากมีการยึดติดในขั้นนี้อย่างรุนแรงอาจ ทำให้เด็กมีบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น มีการร่วมเพศแบบที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เป็นต้น 3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 3-6 ปี เป็นขั้นเปลี่ยน ความสนใจและความพึงพอใจมาที่อวัยวะเพศ จึงพบว่าวัยนี้ชอบเล่นอวัยวะเพศของตนเองและเริ่ม เลียนแบบบทบาททางเพศจากผู้เลี้ยงดูในเด็กชายจะเริ่มติดแม่และเลียนแบบพ่อ อาจรู้สึกอิจฉาและ เป็นศัตรูกับพ่อ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปม Oedipus ในเด็กหญิงจะเริ่มติดพ่อและเลียนแบบแม่ เมื่อ เห็นว่าพ่อรักแม่จึงอาจรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปม Electra ดังใน ภาพประกอบที่ 2.12 ที่เด็กเลียนแบบพฤติกรรมความเป็นหญิงจากแม่โดยนำแป้งแต่งหน้าของแม่มา ทาหน้า ภาพประกอบที่2.12 การเลียนแบบความเป็นหญิง ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (1 มกราคม 2556) ขั้นนี้หากพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปด้วยดีจะทำให้เด็กแสดงบทบาทได้เหมาะสม กับเพศของตนและมีเจตคติที่ดีต่อเรื่องเพศเมื่อโตขึ้น แต่หากมีการยึดติดในเพศชายอาจเป็นพวกรัก ร่วมเพศหรือชอบอวดอวัยวะเพศหรืออวัยวะเพศไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่แข็งตัว ส่วน เพศหญิงอาจเป็นลักเพศหรือมีความรู้สึกเย็นชาเกี่ยวกับเรื่องเพศ 4. ขั้นแฝง (Latency Stage) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 6-11 ปีเป็นขั้นที่เด็กหันเห ความสนใจจากเรื่องเพศไปสนใจกับการแสวงหาความสุขจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยเริ่มเรียนรู้การ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และเริ่มรู้จักการปรับตัวทางสังคมเพื่อให้เข้ากับผู้อื่น
59 5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage) หรือขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย อยู่ในช่วง อายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและมี ความต้องการตามสัญชาตญาณทางเพศ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ต้องการเป็น ตัวของตัวเอง ต้องการเป็นผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ต้องการความอบอุ่นและการดูแลเอาใจใส่จาก ครอบครัว ซึ่งหากมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นปกติก็จะสามารถแสดงบทบาทของตนเองและแสดง บทบาททางเพศได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นจึงได้สรุปพัฒนาการทางบุคลิกภาพของ Freud ไว้ใน ภาพประกอบที่ 2.13 ภาพประกอบที่2.13 พัฒนาการทางบุคลิกภาพของ Freud การนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการ 1. พัฒนาการทางบุคลิกภาพในแต่ละขั้นของทฤษฎีจิตวิเคราะห์จะทำให้ครูเข้าใจ พฤติกรรมทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย ซึ่งครูควรมีความรู้ความ เข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการ โดยขั้นพัฒนาการทาง บุคลิกภาพของ Freud ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในช่วงวัยเรียนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา จะอยู่ในขั้นที่ 3 ขั้นอวัยวะเพศถึงขั้นที่ 5 ขั้นสนใจเพศตรงข้าม การส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละขั้น สามารถทำได้ ดังเช่น นักเรียนในระดับชั้นปฐมวัยซึ่งมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอยู่ในขั้นที่ 3 ขั้น อวัยวะเพศ ครูจะพบว่า เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างเพศและสนใจเรื่องอวัยวะสืบพันธ์ การ ขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้น อวัยวะเพศ ขั้นแฝง ขั้นสนใจ เพศตรงข้าม แสวงหาความสุข ด้วยปาก: Oral Personality แสวงหาความสุข และความ พึงพอใจบริเวณ ทวารหนัก: Anal Personality เลียนแบบบทบาท ทางเพศ: - ปม Oedipus - ปม Electra แสวงหาความสุข จากสังคม สิ่งแวดล้อม: ความสามารถใน การปรับตัว สัญชาตญาณทาง เพศ: การแสดง บทบาททางเพศ
60 สอน การอธิบายให้เด็กฟังถึงความแตกต่างระหว่างเพศและบทบาททางเพศด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และการเป็นตัวแบบที่ดีจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ถึงการแสดงบทบาททางเพศได้อย่างเหมาะสม ส่วนใน ระดับชั้นประถมศึกษาซึ่งมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอยู่ในขั้นที่ 4 ขั้นแฝง การส่งเสริมให้เด็กได้ทำ กิจกรรมทางสังคมร่วมกับเพื่อน ๆ จะทำให้ได้เรียนรู้กฎ กติกาและการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และในระดับชั้นมัธยมศึกษาซึ่งมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอยู่ในขั้นที่ 5 ขั้นสนใจเพศตรงข้ามที่เป็นช่วง เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น จึงควรจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ได้เรียนรู้ในเรื่องเพศอย่างเหมาะสมและพัฒนาความเป็น ตัวของตัวเอง 2. ครูควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมนักเรียนว่ามีการใช้กลไกในการป้องกันตนเองที่มาก เกินไปหรือไม่ เพื่อหาทางลดและสนับสนุนให้นักเรียนรู้จักปรับตัวในเชิงสร้างสรรค์แทน เช่น หาก ต้องการได้เกรด A ในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ก็ต้องพัฒนาตนด้านความขยันในการเรียน เลิกสร้าง วิมานในอากาศแต่ลงมืออ่านหนังสือด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจแทน เป็นต้น ในส่วนของครูเองนั้นก็ควรลด การใช้กลไกการป้องกันตนเองลง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านบุคลิกภาพและส่งผลเสียต่อ นักเรียน เช่น ครูไม่ระบายอารมณ์กับสิ่งที่ไม่ใช่ต้นเหตุคือ ทะเลาะกับบุคคลในครอบครัวและยังไม่หาย โกรธให้ลูกกับสามี เมื่อมาถึงห้องเรียนจึงย้ายอารมณ์โกรธนั้นมาดุด่านักเรียน เป็นต้น 3. ทฤษฎีจิตสังคม ทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial Theory) พัฒนาขึ้นโดย Erik Erikson ซึ่งให้ความสำคัญ กับการอบรมเลี้ยงดู สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล (Woolfolk, 2007) สรุปได้ ดังนี้ 1. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของเด็ก เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมีแบบแผนการพัฒนาเช่นเดียวกันทุกสังคม 2. พัฒนาการจะเป็นไปตามลำดับขั้น โดยพัฒนาจากขั้นต้นไปสู่ขั้นที่สูงกว่าตามลำดับ 3. ตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์จะแบ่งพัฒนาการออกเป็นขั้น ๆ ในแต่ละขั้นจะมีปมขัดแย้ง ที่เป็นวิกฤตการณ์หากไม่สามารถเอาชนะหรือผ่านวิกฤตการณ์ที่แตกต่างกันไปตามขั้นของการพัฒนา นี้ได้ จะทำให้เกิดปัญหาการผ่านวิกฤตการณ์ในขั้นต่อ ๆ ไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสังคม และมีปัญหาทางด้านจิตใจตามมา 4. วิกฤตการณ์ในแต่ละช่วงอายุมีความสำคัญมาก เพราะบุคคลต้องพัฒนาความรู้สึก 2 อย่างที่ตรงข้ามกัน คือ ความรู้สึกในทางบวกกับความรู้สึกในทางลบ 5. การพัฒนาทางจิตสังคมจึงเป็นการผ่านพ้นวิกฤตการณ์จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพื่อพัฒนาไปสู่การมีความรู้สึกในทางบวกมากกว่าความรู้สึกในทางลบ
61 พัฒนาการทางจิตสังคม แบ่งออกเป็น 8 ขั้น ซึ่ง Erikson ให้ความสนใจกับ 5 ขั้นแรกซึ่งอยู่ ในช่วงวัยทารก-วัยรุ่นมากกว่า 3 ขั้นหลังที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่-วัยชรา โดยพัฒนาการทางจิตสังคมใน ขั้นแรก ๆ จะส่งผลถึงพัฒนาการทางจิตสังคมในขั้นต่อ ๆ มา ดังนี้ ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ-ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ (Trust-vs.- Mistrust) อยู่ในช่วงอายุ ประมาณ 0-1 ปี ซึ่งเป็นช่วงแรกของพัฒนาการที่เด็กยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงต้องการความ ช่วยเหลือจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ภาพประกอบที่2.14 วัยทารก ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (14 กันยายน 2553) พัฒนาการของวัยทารกในขั้นแรกนี้ถือเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการในขั้นต่อไป ซึ่ง หากเด็กได้รับการตอบสนองทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างเพียงพอจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ ต่อผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม หากได้รับความสุขกายสบายใจมากเกินไปจะทำให้เชื่อใจไว้วางใจผู้อื่นง่าย แต่ หากไม่ได้รับการตอบสนองในขั้นนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกหวาดระแวง หวาดกลัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ หลีกหนีจากสังคม สิ่งแวดล้อม ก้าวร้าวและไม่ไว้วางใจในผู้อื่น ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายและสงสัย (Autonomous-vs.- Shame and Doubt) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 1-3 ปี ซึ่งมีความอยากรู้อยากเห็น และค้นพบว่าตนสามารถทำสิ่ง ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น จึงต้องการอิสระ ต้องการเป็นตัวของตัวเองแต่อาจถูกห้ามไม่ให้ทำ เพราะอาจเกิด อันตราย หรือเมื่อทำสิ่งใดด้วยตัวเองแล้วกลับพบว่ายังทำได้ไม่ดีนัก หรือไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ทั้งหมดซึ่งทำให้ยังต้องพึ่งพาผู้อื่นหรือถูกตำหนิหากทำไม่ได้จึงทำให้เด็กเกิดความรู้สึกขัดแย้ง เกิด
62 ความสงสัยไม่แน่ใจในความสามารถของตน นอกจากนี้การอบรมเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไปก็ส่งผล ต่อความสงสัยไม่แน่ใจในตนเองเช่นกัน ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม-ความรู้สึกผิด (Initiative-vs.-Guilt) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 3-5 ปี เป็นระยะของวัยเด็กตอนต้นที่เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้เพิ่มขึ้น คิดว่าตนสามารถทำสิ่ง ต่าง ๆ ได้ จึงเริ่มดื้อ ผู้ใหญ่พูดมักไม่ค่อยเชื่อฟัง เริ่มมีจินตนาการ อยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ในสิ่ง ต่าง ๆ รอบตัว ชอบเล่น ชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ ภาพประกอบที่2.15 วัยเด็กตอนต้น ถ่ายภาพโดย วีนัส ภักดิ์นรา (8 พฤษภาคม 2554) จากภาพประกอบที่ 2.15 การปล่อยให้เด็กมีอิสระในการเล่น การทำกิจกรรมที่ท้าทาย กับความสามารถจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจและกล้าคิดริเริ่ม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิด สร้างสรรค์แต่หากไม่ได้รับการกระตุ้นหรือการสนับสนุน ถูกห้าม ถูกตำหนิจากผู้ใหญ่จะทำให้เกิด ความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถทำตามความคาดหวังของผู้ใหญ่ได้ ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะมีคุณค่า-ความรู้สึกเป็นปมด้อย (Industry-vs.- Inferiority) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 5-13 ปีเป็นระยะของวัยเด็กตอนกลางที่เด็กมีประสบการณ์ใหม่ ๆ เข้ามาใน ชีวิต เนื่องจากเริ่มเข้าโรงเรียนและต้องการแสดงออกให้ผู้ใหญ่รับรู้ว่าตนโตแล้ว ซึ่งหากพบว่าตน ประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะทำกิจกรรมนั้นอย่างต่อเนื่อง เกิดเจตคติที่ดีต่อตนเอง ภาคภูมิใจและเห็นว่าตนมีความสามารถเมื่อเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน แต่หากล้มเหลวจากการทำ
63 กิจกรรมต่าง ๆ จะมองตนเองว่ายังเป็นเด็ก ทำอะไรยังไม่ได้ไม่เก่ง ขาดความสามารถและเกิดความรู้สึก เป็นปมด้อย ขั้นที่ 5 ความมีเอกลักษณ์แห่งตน-การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาททางสังคม (Identity-vs.-Role Confusion) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 13-20 ปีเป็นระยะที่เด็กเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ วัยรุ่น ซึ่งต้องการค้นหาและเข้าใจในเอกลักษณ์ของตน เริ่มรู้ว่าตนต้องการอะไรหรือมีเป้าหมายอะไร ในชีวิต ให้ความสำคัญกับเพื่อนหรือผู้ที่มีความสำคัญกับตนซึ่งไม่ใช่พ่อแม่ จึงอาจทำตามเพื่อนเพื่อให้ เกิดการยอมรับและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หากมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ปกครองและไม่มี ปัญหาในขั้นพัฒนาการที่ผ่านมาจะสามารถค้นหาเอกลักษณ์ของตนได้ แต่หากไม่สามารถปรับตัวหรือ ล้มเหลวในการกระทำสิ่งต่าง ๆ จะเกิดความรู้สึกสับสนขัดแย้งในตนเองซึ่งส่งผลต่อบุคลิกภาพใน อนาคต ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน-ความโดดเดี่ยว อ้างว้าง (Intimacy-vs.- Isolation) อยู่ใน ช่วงอายุประมาณ 20-40 ปี ซึ่งเป็นวัยผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมสำหรับการทำงานและการมีความสัมพันธ์ กับเพื่อนต่างเพศ ต้องการมีความรักและความผูกพัน แต่หากไม่สามารถสร้างความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด กับผู้อื่นได้จะรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้างและแยกตัวจากสังคม ขั้นที่ 7 ความรู้สึกเป็นห่วงชนรุ่นหลัง-ความรู้สึกที่คำนึงถึงแต่ตนเอง (Generativityvs.- Stagnation) อยู่ในช่วงอายุประมาณ 40-60 ปีซึ่งเป็นวัยกลางคนที่ต้องการความสนใจและการ ยอมรับจากสังคมจึงทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม หากได้แต่งงานก็ต้องการมีบุตรหลานไว้สืบสกุล ต้องการอบรมสั่งสอนให้ลูกหลานเป็นคนดี แต่หากมีปัญหาในขั้นต่าง ๆ ที่ผ่านมาจะรักและคำนึงถึงแต่ ตัวเอง ไม่ช่วยเหลือไม่เสียสละเพื่อผู้อื่น ขั้นที่ 8 ความรู้สึกพอใจในตนเอง-ความรู้สึกสิ้นหวัง (Ego- Integrity-vs.-Despair) อยู่ใน ช่วงอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยชราที่ต้องการความสุขในบั้นปลายของชีวิต หากผ่าน พัฒนาการทั้ง 7 ขั้นมาด้วยดี จะรู้สึกพึงพอใจในตนเอง มีความสุขสงบทางจิตใจ แต่หากมีปัญหาในแต่ ละขั้นจะเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้คับข้องใจ ไม่พึงพอใจในตนเองและเสียดายเวลาที่ผ่านมาเป็นวัย ชราที่ต้องการจะกลับไปแก้ไขอดีต เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นจึงได้สรุปพัฒนาการทางจิตสังคมไว้ในภาพประกอบที่ 2.16
64 ภาพประกอบที่2.16 ขั้นพัฒนาการทางจิตสังคม การนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการ ทฤษฎีจิตสังคมมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางสังคมในทุกช่วงของชีวิต โดยพัฒนาการ ในช่วงที่เกี่ยวข้องกับวัยเรียน คือ พัฒนาการทางจิตสังคมอยู่ในขั้นที่ 3 ขั้นความคิดริเริ่ม-ความรู้สึกผิด ถึงขั้นที่ 5 ขั้นความมีเอกลักษณ์แห่งตน-การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทางสังคม ซึ่งครูมี บทบาทสำคัญในการนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม ให้สอดคล้องกับนักเรียนในแต่ละคนและในแต่ละช่วงวัย ดังเช่น ครูพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ให้แก่นักเรียนในระดับชั้นปฐมวัย เนื่องจากมีความสอดคล้องกับพัฒนาการทางจิตสังคมในขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม-ความรู้สึกผิด โดยให้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้จินตนาการผ่านการเล่านิทานหรือ ผ่านการเล่นบทบาทสมมุติ ให้เด็กได้ซักถามในสิ่งที่สงสัยใครรู้ ให้เด็กได้ทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ ก่อให้เกิดอันตรายด้วยตัวเองเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นตามช่วงวัย สร้างความภาคภูมิใจ และกล้าคิดริเริ่ม เมื่อเข้าสู่ระดับชั้นประถมศึกษาครูควรฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ตามระดับความสามารถ เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนหรือการทำกิจกรรม ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ - ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ขั้นที่ 2 ความเป็นตัว ของตัวเอง - ความ ละอายและสงสัย ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม - ความรู้สึกผิด 0-1 ปี 1-3 ปี 3-5 ปี ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะมีคุณค่า - ความรู้สึกเป็นปมด้อย 5-13 ปี ขั้นที่ 5 ความมีเอกลักษณ์แห่ง ตนเอง - การไม่รู้จักตนเองหรือ สับสนในบทบาททางสังคม 13-20 ปี ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน - ความโดดเดี่ยว อ้างว้าง 20-40 ปี ขั้นที่ 7 ความรู้สึกเป็นห่วงชนรุ่นหลัง - ความรู้สึกที่คำนึงถึงแต่ตนเอง 40-60 ปี ขั้นที่ 8 ความรู้สึกพอใจในตนเอง - ความรู้สึกสิ้นหวัง 60 ปีขึ้นไป
65 ต่าง ๆ การตั้งวัตถุประสงค์จึงตั้งขึ้นเพื่อให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ โดยครูแสดง ความชื่นชม ให้กำลังใจ ชี้แนะและหาแนวทางในการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนที่เพิ่มสูงขึ้นหรือสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้น เกิดความกระตือรือร้น ขยัน มุมานะและมี ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองว่าตนสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับพัฒนาการทางจิตสังคม ในขั้นที่ 4 ขั้นความต้องการที่จะมีคุณค่า-ความรู้สึกเป็นปมด้อย และเมื่อขึ้นระดับชั้นมัธยมศึกษาควร ให้เด็กได้ค้นหาความต้องการ ความถนัด ความสนใจและเป้าหมายของชีวิตเพื่อการศึกษาและการ ประกอบอาชีพในอนาคต โดยให้อิสระทางความคิด คอยให้คำปรึกษาและให้กำลังใจหากนักเรียน ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งมีความสอดคล้องกับพัฒนาการทางจิตสังคมในขั้นที่ 5 ความมีเอกลักษณ์ แห่งตน-การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาททางสังคม เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น จึงได้สรุปเปรียบเทียบลำดับขั้นทฤษฎีพัฒนาการของทั้ง 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud และทฤษฎีจิตสังคมของ Eriksonซึ่งพัฒนาการในแต่ละขั้นของทฤษฎีมีช่วงอายุที่คาบเกี่ยวกัน ไว้ในตารางที่ 2.2
66 ตารางที่2.2 เปรียบเทียบลำดับขั้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ช่วงวัย ทฤษฎีพัฒนาการ ทางสติปัญญาของ Piaget ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของ Freud ทฤษฎีจิตสังคมของ Erikson 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 วัยรุ่น ความมีเอกลักษณ์แห่งตน-การไม่รู้จักตนเองหรือ สับสนในบทบาททางสังคม (13-20ปี) วัยผู้ใหญ่ ความใกล้ชิดผูกพัน-ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง (20-40ปี) วัย กลางคน ความรู้สึกเป็นห่วงชนรุ่นหลัง-ความรู้สึกที่คำนึงถึง แต่ตนเอง (40-60ปี) วัยชรา ความรู้สึกพอใจในตนเอง-ความรู้สึกสิ้นหวัง (60ปีขึ้นไป) หมายเหตุ: ช่วงอายุโดยประมาณ จากตารางที่ 2.2 จะเห็นได้ว่าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทั้ง 3 ทฤษฎีที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ มีลักษณะเด่นของพัฒนาการในแต่ละทฤษฎีที่แตกต่างกัน โดยทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget เน้นพัฒนาการทางด้านความคิดและการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ทฤษฎี จิตวิเคราะห์ของ Freud เน้นพัฒนาการทางด้านจิตใจและประสบการณ์ในอดีต ซึ่งแบ่งพัฒนาการทาง บุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น และทฤษฎีจิตสังคมของ Erikson เน้นพัฒนาการทางด้านจิตใจและ ขั้นการสัมผัสและ การเคลื่อนไหว (0-2 ปี) ขั้นก่อนการคิดแบบเหตุผล (2-7 ปี) ขั้นการคิดแบบเหตุผล เชิงนามธรรม (11 ปีขึ้นไป) ขั้นการคิดแบบเหตุผล เชิงรูปธรรม (7-11 ปี) ความเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายสงสัย (1-3ปี) ความคิดริเริ่ม-ความรู้สึกผิด (3-5ปี) ขั้นอวัยวะเพศ (3-6ปี) ขั้นแฝง (6-11ปี) ขั้นทวารหนัก (18 เดือน-3ปี) ขั้นปาก (0-18 เดือน) ความต้องการที่จะมีคุณค่า-ความรู้สึก เป็นปมด้อย(5-13ปี) ขั้นสนใจ เพศตรงข้าม (12 ปีขึ้นไป) ความรู้สึกไว้วางใจ-ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ (0-1ปี)
67 ประสบการณ์ทางสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ขั้น ครูจึงควรเลือกใช้ทฤษฎีให้เหมาะสมกับช่วงวัยและ สอดคล้องกับขั้นพัฒนาการของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละด้านตามความแตกต่าง ระหว่างบุคคล
68 สรุป พัฒนาการมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาซึ่ง เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผน ต่อเนื่องกันและ เป็นไปตามลำดับขั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าขึ้นหากได้รับการตอบสนองหรือการส่งเสริม อย่างเหมาะสมตามปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการ ได้แก่ พันธุกรรม การเจริญเติบโต วุฒิภาวะ การเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาการแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันและในแต่ละช่วงอายุจะมี อัตราเร็วไม่เท่ากัน แต่ทั้งนี้จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันทั้ง 4 ด้าน เนื่องจากพัฒนาการในทุกด้านมีความ สัมพันธ์กัน ซึ่งพัฒนาการและธรรมชาติในแต่ละช่วงวัยที่ครูควรให้ความสนใจคือ วัยเด็กตอนต้น วัยเด็กตอนกลาง วัยเด็กตอนปลาย วัยรุ่นตอนต้นและวัยรุ่นตอนกลาง ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนา ทางในแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป การมีความรู้ความเข้าใจในหลักพัฒนาการและธรรมชาติของ นักเรียนในแต่ละช่วงวัยร่วมกับทฤษฎีพัฒนาการต่าง ๆ จะช่วยให้ครูส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนได้ อย่างถูกต้อง เนื่องจากในแต่ละทฤษฎีจะมีมุมมองเรื่องพัฒนาการที่แตกต่างกัน โดยทฤษฎีพัฒนาการ ทางสติปัญญาของ Piaget เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับขั้นของพัฒนาการและประสบการณ์โดยแบ่ง พัฒนาการออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นการสัมผัสและการเคลื่อนไหว ขั้นก่อนการคิดแบบเหตุผลที่แบ่ง ออกเป็นอีก 2 ขั้นย่อย คือ ขั้นก่อนเข้าใจความคิดรวบยอดและขั้นเข้าใจเหตุผล ขั้นการคิดแบบเหตุผล เชิงรูปธรรมและขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงนามธรรม ในขณะที่ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud ให้ ความสำคัญกับโครงสร้างบุคลิกภาพ 3 ส่วน ได้แก่ Id ego และ Super ego โดยแบ่งพัฒนาการ ออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ ขั้นแฝงและขั้นสนใจเพศตรงข้าม ส่วน ทฤษฎีจิตสังคมให้ความสำคัญกับการอบรมเลี้ยงดู สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อ บุคลิกภาพของบุคคล โดยแบ่งพัฒนาการออกเป็น 8 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ-ความรู้สึก ไม่ไว้วางใจ ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายและสงสัย ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม-ความรู้สึก ผิด ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะมีคุณค่า-ความรู้สึกเป็นปมด้อย ขั้นที่ 5 ความมีเอกลักษณ์แห่งตน-การ ไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาททางสังคม ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน-ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ขั้นที่ 7 ความรู้สึกเป็นห่วงชนรุ่นหลัง-ความรู้สึกที่คำนึงถึงแต่ตนเอง และขั้นที่ 8 ความรู้สึกพอใจในตนเองความรู้สึกสิ้นหวัง
69 กิจกรรมและแบบฝึกหัดท้ายบท คำสั่ง: จงทำกิจกรรมและตอบคำถามในแบบฝึกหัดท้ายบทดังต่อไปนี้ กิจกรรม 1. ให้นักศึกษาช่วยกันจัดเก้าอี้เป็นรูปวงกลมเพื่อทำกิจกรรมเส้นชีวิต ดังนี้ 1.1 นักศึกษานึกถึงช่วงชีวิตที่ผ่านมาแล้วพิจารณาเลือกเหตุการณ์ที่รู้สึกประทับใจมาก ที่สุดมา 1 เหตุการณ์ 1.2 นักศึกษาตั้งชื่อเหตุการณ์สั้น ๆ (ไม่เกิน 3 พยางค์) ที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของ เหตุการณ์นั้นและเขียนลงบนกระดาษ A4 พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม 1.3 นักศึกษานำกระดาษ A4 ของตนมาร้อยเข้ากับเส้นเชือก โดยเรียงลำดับตามช่วงวัย และอายุแล้วนั่งตามลำดับที่ได้จัดเรียงไว้ 1.4 นักศึกษาเล่าเรื่องราวของตนให้เพื่อนฟัง เมื่อเล่าเสร็จให้อธิบายว่าเรื่องราวที่เล่านั้น มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการในด้านใด (ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมหรือด้านสติปัญญา) มี ความสอดคล้องกับธรรมชาติของนักเรียนในช่วงวัยใด (วัยเด็กตอนต้น วัยเด็กตอนกลาง วัยเด็กตอนปลาย วัยรุ่นตอนต้นหรือวัยรุ่นตอนปลาย) และมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการใด (ทฤษฎีพัฒนาการทาง สติปัญญาของ Piaget ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud หรือทฤษฎีจิตสังคมของ Erikson) 1.5 นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมเส้นชีวิตลงในกระดาษที่แจกให้ 2. นักศึกษาแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 6-8 คน แบบ คละเพศ คละความสามารถ คละความถนัด คละความสนใจเพื่อร่วมกันศึกษาพัฒนาการและธรรมชาติ ของนักเรียนในแต่ละช่วงวัยในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยทำการสรุปผลการศึกษาและ นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนด้วยรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ (วีดิโอ หนังสั้น สารคดี เพลง รายการ เกมโชว์ต่าง ๆ ฯลฯ) แบบฝึกหัดท้ายบท 1. จงสรุปความหมายของคำว่าพัฒนาการมาให้เข้าใจ 2. จงอธิบายว่าพันธุกรรม การเจริญเติบโต วุฒิภาวะ การเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมส่งผล ต่อพัฒนาการอย่างไร 3. จงอธิบายว่าเพราะเหตุใดครูจึงควรทำความเข้าใจหลักพัฒนาการ ประเภทของ พัฒนาการและธรรมชาติของนักเรียนในแต่ละช่วงวัย 4. จงสรุปแนวคิดที่สำคัญของทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และ ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจิตสังคมมาให้เข้าใจ 5. จงนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจิตสังคมมาทฤษฎีละ 2 วิธี